นายวิทิต สัจจพงษ์ (แถวนั่งที่ 2 จากซ้าย) ประธานกรรมการบริษัท/กรรมการอิสระ นายสรรเพชญ ศลิษฏ์อรรถกร (แถวนั่งที่ 1 จากซ้าย) กรรมการบริษัท/ประธานกรรมการบริหาร/กรรมการผู้จัดการ พร้อมด้วยคณะกรรมการ บริษัท ยงคอนกรีต จำกัด (มหาชน) หรือ YONG จัดการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-AGM) โดยที่ประชุมมีมติอนุมัติทุกวาระตามที่คณะกรรมการเสนอ พร้อมทั้งการจ่ายเงินปันผลสำหรับผลการดำเนินงานประจำปี 2566 (มกราคม-ธันวาคม 2566) ในอัตราหุ้นละ 0.08 บาท กำหนดจ่ายเงินปันผลในวันที่ 7 พฤษภาคม นี้ โดยงานดังกล่าวจัดขึ้นเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2567 ณ บริษัท ยงคอนกรีต จำกัด (มหาชน) สาขาบางเลน จ.นครปฐม

โดย YONG สร้างความเชื่อมั่นต่อผู้ถือหุ้น และทิศทางการดำเนินธุรกิจปี 2567 บริษัทฯ มั่นใจในศักยภาพกำลังการผลิต ที่สามารถส่งมอบงานดีมีคุณภาพได้ตรงตามกำหนด พร้อมรับรู้รายได้ต่อเนื่อง อีกทั้งยังเดินหน้าก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่ ที่จังหวัดระยอง เพื่อเปิดโอกาสในการเติบโต เพิ่มยอดขาย ขยายฐานลูกค้าในเขตโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ปัจจุบัน YONG มีมูลค่างานรอส่งมอบ (Backlog) อยู่ที่ 524 ล้านบาท ประกอบด้วยงานผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์คอนกรีต 361 ล้านบาท และงานรับเหมาติดตั้งโครงสร้างสำเร็จรูป 163 ล้านบาท โดยตั้งเป้ารายได้ปีนี้เติบโตเพิ่มขึ้น 15% จากปีก่อน

 “เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์” เตรียมเสนอขายหุ้นกู้มีประกัน อายุ 2 ปี 6 เดือน ให้แก่นักลงทุนสถาบันและหรือนักลงทุนรายใหญ่ อัตราดอกเบี้ยคงที่ 7.10% ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือนตลอดอายุหุ้นกู้ โดยมีหลักประกันเป็นอสังหาริมทรัพย์ มูลค่าไม่ต่ำกว่า 1.30 เท่าของมูลค่าหุ้นกู้ที่เสนอขาย อันดับความน่าเชื่อถือของบริษัทและหุ้นกู้ที่ระดับ “BB” แนวโน้มอันดับเครดิต “คงที่” โดยทริสเรทติ้ง คาดเปิดจองซื้อระหว่างวันที่ 22-24 เมษายนนี้ นำทุนรุกแผนธุรกิจปี 2567 เดินหน้าพัฒนาโครงการใหม่ มูลค่ากว่า 10,000 ล้านบาท และชำระคืนหุ้นกู้และเงินกู้ยืมสถาบันการเงิน ตั้งเป้ายอดขายกว่า 9,000 ล้านบาท และยอดโอนมากกว่า 3,000 ล้านบาทในปีนี้

ดร. สุริยา พูลวรลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ “MJD” เปิดเผยว่า บริษัทเตรียมเสนอขายหุ้นกู้ชุดใหม่ ครั้งที่ 2/2567 เพื่อรองรับการเติบโตตามแผนธุรกิจปี 2567 โดยนำศักยภาพและความเชี่ยวชาญในการดำเนินธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยในระดับลักชัวรี มาต่อยอดธุรกิจและพัฒนาโครงการใหม่ๆ เพื่อส่งมอบสินค้าและบริการให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคในภาวะที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์โดยรวมมีความท้าทายอย่างมาก โดยในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ บริษัทประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง ได้รับกระแสตอบรับที่ดีจากการเปิดตัวโครงการคอนโดมิเนียมแบรนด์มิวนีค (MUNIQ) 2 โครงการ ใจกลางกรุงเทพฯ มียอดพรีเซล (Pre-sale) แล้วกว่า 4,400 ล้านบาท

 

หุ้นกู้ที่จะเสนอขายในครั้งนี้ เป็นหุ้นกู้มีประกัน ประเภทไม่ด้อยสิทธิ และมีหลักประกันเป็นอสังหาริมทรัพย์ มูลค่าไม่ต่ำกว่า 1.30 เท่าของมูลค่าหุ้นกู้ที่เสนอขาย ซึ่งเป็นการเสนอขายให้แก่นักลงทุนสถาบันและหรือนักลงทุนรายใหญ่ อายุ 2 ปี 6 เดือน อัตราดอกเบี้ยคงที่ 7.10% ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือนตลอดอายุหุ้นกู้ ครบกำหนดไถ่ถอนปี 2569 โดยบริษัทได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในระดับ “BB” แนวโน้มอันดับเครดิต “คงที่ (Stable)” จากบริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2566 และคาดว่าจะเสนอขายระหว่างวันที่ 22 – 24 เมษายน 2567 โดยจำนวนหุ้นกู้ที่เสนอขายไม่เกิน 1,000,000 หน่วย คิดเป็นมูลค่าไม่เกิน 1,000,000,000 บาท โดยมีหุ้นกู้สำรองอีก 250,000 หน่วย คิดเป็นมูลค่าไม่เกิน 250,000,000 บาท จำนวนหุ้นกู้ที่เสนอขายรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 1,250,000 หน่วย คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้นไม่เกิน 1,250,000,000 บาท มูลค่าที่ตราไว้หน่วยละ 1,000 บาท ราคาเสนอขายหน่วยละ 1,000 บาท

โดยในปี 2567 นี้ เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง เดินหน้าต่อตามแผนธุรกิจ โดยได้เปิดตัวโครงการใหม่แล้ว มูลค่ากว่า 10,000 ล้านบาท ได้แก่ คอนโดมีเนียมระดับลักชัวรี 2 โครงการ คือ โครงการมิวนีค พร้อมพงษ์ (MUNIQ Phrom Phong) และโครงการมิวนีค เจริญกรุง (MUNIQ Charoen Krung) และโครงการอื่นๆที่กำลังจะเปิดตัวภายในปีนี้อีกหลายโครงการ ตั้งเป้ายอดขายกว่า 9,000 ล้านบาทและเป้าหมายยอดโอนมากกว่า 3,000 ล้านบาทในปี 2567 ภายใต้กลยุทธ์สำคัญขับเคลื่อนองค์กรให้เปลี่ยนสถานะจากผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ สู่การเป็นผู้พัฒนารูปแบบการใช้ชีวิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับการใช้ชีวิตของผู้บริโภคทุกมิติ

นักลงทุนที่สนใจจองซื้อหุ้นกู้มีประกัน สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.sec.or.th หรือติดต่อผ่าน 7บริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ในครั้งนี้ ได้แก่

· บริษัทหลักทรัพย์ บลูเบลล์ จำกัด โทรศัพท์ 02-249-2999

· บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด โทรศัพท์ 02-680-4004

· บริษัทหลักทรัพย์ กรุงไทย เอ็กซ์สปริง จำกัด โทรศัพท์ 02-695-5000

· บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) โทรศัพท์ 02-658-5050

· บริษัทหลักทรัพย์ เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ จำกัด (มหาชน) โทรศัพท์ 02-660-6624

· บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด โทรศัพท์ 02-687-7543

· บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) โทรศัพท์ 02-659-5272-73

คำเตือน : การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ ผู้ลงทุนสามารถศึกษารายละเอียดได้จากแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ www.sec.or.th

หมายเหตุ : บริษัทฯ อยู่ระหว่างการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสำนักงาน ก.ล.ต. ซึ่งยังไม่มีผลใช้บังคับ การจัดสรรเป็นไปตามที่ผู้จัดการการจัดจำหน่ายกำหนด รายละเอียดเป็นไปตามเงื่อนไขการจัดจำหน่ายเป็นไปตามที่กำหนดในร่างหนังสือชี้ชวน

นักลงทุนจองหุ้น BPS 120 ล้านหุ้นเกลี้ยง พร้อมเทรด 3 เมษายนนี้ สะท้อนความเชื่อมั่นของธุรกิจ ในฐานะผู้นำด้านนวัตกรรมและโซลูชั่นด้านไฟฟ้าและสื่อสาร เพื่อก้าวสู่ SMART HOME ในอนาคต

นายวิชา โตมานะ กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวาณิชธนกิจ บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป(ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน และผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายหุ้น BPS เปิดเผยว่า การเสนอหุ้น IPO ของบริษัท บีพีเอส เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ BPS จำนวน 120 ล้านหุ้น ระหว่างวันที่ 27-29 มีนาคมที่ผ่านมา ปรากฎว่านักลงทุนให้ความสนใจจองซื้อหุ้นและให้การตอบรับเป็นอย่างดี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเข้าใจและเชื่อมั่นในศักยภาพของ BPS ที่จะเป็นหนึ่งในหุ้นมีโอกาสเติบโตในอนาคต ด้วยภาพลักษณ์ของธุรกิจ ในฐานะผู้นำด้านนวัตกรรมและโซลูชั่นเพื่อการอยู่อาศัยครบวงจร และตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่หลากหลาย เพื่ออำนวยความสะดวกสบายในทุกฟังก์ชั่นการใช้งาน

นายสุรพงษ์ สาเรชพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บีพีเอส เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ถือเป็นก้าวสำคัญที่จะสร้างให้ BPS เป็นที่รู้จักและได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าและคู่ค้าเพิ่มมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นการสร้างความแข็งแกร่งให้กับบริษัท พร้อมทั้งจะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้บริษัทสามารถพัฒนานวัตกรรมและโซลูชั่นต่างๆ ด้านไฟฟ้า การประหยัดพลังงาน และการสื่อสาร เพื่อต่อยอดและสร้างมูลค่าให้กับสินค้าและบริการของบริษัทต่อไปในอนาคต

สำหรับเงินระดมทุนในครั้งนี้ ถือเป็นส่วนสำคัญที่จะสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ด้วยการลงทุนด้านอุปกรณ์และการติดตั้งงานเดินโครงข่ายไฟเบอร์ออพติกเพื่อการสื่อสาร (Fiber to the Home : FTTx) สำหรับคอนโดมิเนียมและอาคารสูง ซึ่งมีโอกาสขยายตัวอย่างมากในอนาคต นอกจากนี้จะนำเงินไปใช้สำหรับก่อสร้างศูนย์การเรียนรู้สำหรับช่างและบุคคลทั่วไป ทั้งในด้านการติดตั้งโซลาร์เซลบนหลังคา และระบบ Edge Data Center Facilities 24x7 Monitoring ซึ่งจะทำให้บุคลากรของ BPS มีความรู้ความเชี่ยวชาญในงานด้านต่างๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพทำงานให้กับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ในปี 2567 บริษัทมีแผนที่จะขยายธุรกิจการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา ทั้งแนวราบและแนวสูง โดยตั้งเป้าผลิตไฟฟ้าจำนวน 30 เมกะวัตต์ นอกจากนี้บริษัทจะนำเสนอนวัตกรรม Green Home Solution เพื่อตอบสนองในเรื่องของบ้านอยู่สบาย บ้าน Internet ความเร็วสูง บ้านประหยัดพลังงาน เป็น One Stop Service ในเรื่องอุปกรณ์ และงานติดตั้ง ซึ่งบริษัทมีความเชี่ยวชาญด้าน Supply Chain Management โดยจะเน้นไปยังตลาดบ้านมือสอง และกลุ่มประชากรสูงอายุมีความต้องการซ่อมแซม แก้ไข ปรับปรุงที่อยู่อาศัยให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ในปัจจุบัน พร้อมทั้งมองถึงการขยายโอกาส ให้สอดคล้องกับแนวคิด SMART HOME เช่น การติดตั้งโรงรถ พร้อมระบบ Solar roof-top (Garage Roof) การติดตั้งระบบระบายอากาศ (Airflow) และการติดตั้งเครื่องชาร์จไฟฟ้า (EV Charger) อีกด้วย

SAWAD ปิดงบปี 66 ทำกำไรสุทธิรวม 5,254 ล้านบาท พอร์ตสินเชื่อจ่อพุ่งทะยานสู่ 100,000 ล้านบาท หลังควบรวมสินเชื่อเงินสดทันใจ ด้านผู้บริหาร ธิดา แก้วบุตตา ชี้ปี 67 เป็นขาขึ้นเต็มตัว จากแนวโน้มดอกเบี้ยขาลงหนุนต้นทุนทางการเงินลด คุณภาพสินทรัพย์ดีขึ้น พร้อมเบรกความเสี่ยงผ่านการให้สินเชื่ออย่างมีคุณภาพมากขึ้น เพื่อคุมระดับ NPLs ตามกรอบ 3-4% ตั้งเป้าปีมังกรรุกตลาดอาเซียนและดันพอร์ตสินเชื่อขยายตัวอย่างต่ำ 20% ส่วนบอร์ดอนุมัติปันผลประจำปี 66 เป็นหุ้นด้วยอัตราส่วน 10 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นปันผล รอผู้ถือหุ้นไฟเขียว พร้อมจ่าย 23 พฤษภาคมนี้

ธิดา แก้วบุตตา ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์องค์กร บริษัท ศรีสวัสดิ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SAWAD เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานประจำปี 2566 ของบริษัทและบริษัทย่อย (สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566) มีกำไรสุทธิรวม 5,254 ล้านบาท โดยบริษัทมีรายได้ดอกเบี้ยราว 15,743.7 ล้านบาท และรายได้อื่นราว 3,170.8 ล้านบาท รวมรายได้อยู่ที่ 18,914.5 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นกว่า 54% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้การเติบโตในปี 2566 มาจากธุรกิจหลักสามารถดำเนินงานได้ตามเป้าหมาย รวมถึงการควบรวมกิจการของบริษัท เงินสดทันใจ จำกัด ส่งผลให้รับรู้รายได้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ผลักดันพอร์ตสินเชื่อทั้งปีขยายตัวสูงที่ระดับ 98,569 ล้านบาท อีกทั้งค่าใช้จ่ายสำรองลดลงเนื่องจากการบันทึกค่าใช้จ่ายสำรองพิเศษเพียงครั้งเดียวในช่วงไตรมาสที่ 2/2566 จึงสนับสนุนให้ทั้งปีมีรายได้และกำไรสุทธิเติบโตอย่างต่อเนื่องตามแผนงานที่วางไว้

ขณะที่ผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 4/2566 มีรายได้ดอกเบี้ย 4,546 ล้านบาท และรายได้อื่นอยู่ที่ 769 ล้านบาท รวมรายได้อยู่ที่ 5,313 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้น 42% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ด้วยขนาดของสินเชื่อคงเหลือที่มีการเติบโตอย่างมั่นคง

“ปี 66 เป็นปีที่เราได้ปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นกว่าช่วงโควิด อีกทั้งยังได้ซื้อคืนเงินสดทันใจเพื่อมาบริหารธุรกิจต่อ จึงทำให้พอร์ตสินเชื่อรวมของปีนี้โตขึ้นจากปีก่อนเป็นอย่างมาก และในปี 67 เรายังคงเดินหน้าปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นโดยยึดหลักเกณฑ์แบงก์ชาติในการให้สินเชื่อด้วยความรับผิดชอบและเป็นธรรม ดังนั้นพอร์ตสินเชื่อปีนี้จะอยู่ในอัตราเติบโต 20-30% และคุมเอ็นพีแอลให้อยู่ในช่วง 3-4% ซึ่งเป็นระดับปกติของเครือศรีสวัสดิ์ในช่วงที่มีการปล่อยสินเชื่อเพิ่ม ส่วนปัจจัยหนุนคาดว่าปีนี้จะได้อานิสงส์ที่อัตราดอกเบี้ยเป็นขาลง ทำให้ต้นทุนทางการเงินของบริษัทลด กอร์ปกับคุณภาพหนี้ที่ดีมากยิ่งขึ้นของพอร์ตโดยรวม ขณะเดียวกันมีโอกาสขึ้นอัตราดอกเบี้ยในบางผลิตภัณฑ์และเริ่มกลับมาโฟกัสในการขยายฐานลูกค้าในกลุ่มอาเซียนเพิ่ม ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะหนุนให้ผลการดำเนินงานในปี 67 ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ” ธิดา กล่าว

ทั้งนี้ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทมีมติอนุมัติจัดสรรกำไรประจำปี 2566 ด้วยการจ่ายปันผลเป็นหุ้นในอัตรา 10 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นปันผล โดยกำหนดเสนอที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 เพื่อขออนุมัติจากที่ประชุม โดยหากที่ประชุมอนุมัติ บริษัทจะดำเนินการกำหนดขึ้นเครื่องหมาย XD ในวันที่ 8 พ.ค. 2567 และจ่ายปันผลในวันที่ 23 พ.ค. 2567

จัดห้องสมุดส่วนตัวรอบนี้ ได้พบ Stock Trader’s Almanac สมัยปี 1968 จำได้ว่าประมูลมาจาก eBay นานมาแล้ว


นักลงทุนหรือนักเรียนการเงินรุ่นพวกผมย่อมรู้จัก Newsletter ยี่ห้อนี้ดี เพราะเขามีชื่อเสียงพอๆ กับ Value Line และอุดมไปด้วยสถิติข้อมูล เทรนด์ และแพทเทิร์นซื้อขายจำนวนมาก นับว่ามีประโยชน์ในยุคที่ยังไม่มีอินเทอร์เน็ต


เจ้าของคือ Yale Hirsch เป็นเจ้าของไอเดียที่เรียกว่า “Presidential Cycle” ซึ่งครั้งหนึ่งเคยฮือฮาพอควร และก็น่าจะยังช่วยเสริมวิธีคิดของเราได้ หากจะนำมาจับสังเกตุแพทเทิร์นของตลาดหุ้นในยุคนี้


ลองตามผมมา และเทียบตลาดอเมริกากับของเราในใจเอาเองนะครับ


ไอเดียนี้มีอยู่ว่า ผลตอบแทนของตลาดหุ้นในสหรัฐฯ นั้นมักจะฟอร์มแพทเทิร์นขึ้นตามแต่ละช่วงของ เทอม 4 ปี ของประธานาธิบดีสหรัฐฯ
ตามลำดับก่อนหลังดังนี้


ปีที่ 1 โดยทั่วไปแล้ว ปีแรกหลังจากได้รับเลือกตั้งแล้ว ประธานาธิบดีคนใหม่ มักจะมาพร้อมกับ “ภาระรับมอบ” จากประชาชน (ขอใช้คำของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่ท่านแปลคำว่า “Mandate”)

ให้มาเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างๆ เปลี่ยนแนวไปจากเดิม ซึ่งอาจทำให้เกิดความไม่แน่นอน ของแสลงของนักลงทุน เพราะ “ความไม่แน่นอน” คือความเสี่ยง ดังนั้นหุ้นช่วนปีนี้จึงไม่ค่อยดี


ปีที่ 2 เป็นปีที่สิ่งต่างๆ เริ่มจะเห็นเป็นตัวเป็นตนชัดขึ้น นโยบายที่ทำไปเมื่อเข้ามา เริ่มออกดอกผล รัฐบาลกระชับอำนาจได้มากขึ้น “ความไม่แน่นอน” เริ่มกลายเป็นความแน่นอน

และนโยบานเศรษฐกิจสำคัญๆ ย่อมได้รับการคิดค้นและนำมาใช้ในช่วงนี้เพราะหวังว่าจะได้ผลงานก่อนการเลือกตั้งครั้งต่อไป ดังนั้นผลตอบแทนของตลาดหุ้นในช่วงปีนี้จะเริ่มดีขึ้นจากปีก่อนหน้า


ปีที่ 3 มักจะเป็นปีที่ผลตอบแทนของตลาดหุ้นดีที่สุด เพราะในทางการเมือง มันเป็นปีที่เริ่มเตรียมตัวเลือกตั้งใหม่ รัฐบาลจึงมักมุ่งเน้นไปที่การยกระดับเศรษฐกิจให้ดี เพื่อสร้างแต้มต่อทางการเมือง


ปีที่ 4 ก็จะเป็นปีที่ดีอีกเช่นกัน แต่บางทีก็อาจมีแย่ผสมผสานบ้าง เพราะมันเป็นปีที่ต้องจัดเลือกตั้งใหม่ “ความไม่แน่นอน” จึงกลับมาครอบคลุมเหนือตลาดและอารมณ์ความรู้สึกของนักลงทุน แต่รัฐบาลจะพยายามทุ่มเททุกทางให้เศรษฐกิจดี เพื่อเตรียมรับเลือกตั้ง


ถ้าเราลองใช้ไอเดียนี้มาจับสังเหตุตลาดหุ้นสหรัฐฯ เปรียบกับตลาดหุ้นไทย อาจพูดได้ว่า ตลาดสหรัฐฯ ปีนี้ เป็น “ปีกระทิง” แต่ของไทยเรา เป็น “ปีหมี”


สำหรับท่านที่เอียนการเมือง ผมเข้าใจได้ และสำหรับประเทศที่ไม่มีการเลือกตั้งหรือเลือกตั้งแต่พรรคเดียวผูกขาด อย่างจีนกับเวียดนาม ไอเดียนี้ก็จนปัญญา แต่ไอเดียนี้ก็พอมีประโยชน์อยู่บ้าง เมื่อประกอบกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานอย่างรอบคอบ
โดยเฉาพะในภาวะดอกเบี้ยแพงกระทันหันแบบปัจจุบัน มีกิจการจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ที่เริ่มผิดนัดชำระหนี้ และต้องขอเจรจากับเจ้าหนี้


เพื่อเป็นการสกรีนเบื้องต้น ผมขอแนะนำให้ท่านทั้งหลายพิจารณา Ratio ง่ายๆ ตัวหนึ่งที่เรียกว่า “Current Ratio”


คำนวณได้โดยเอา “สินทรัพย์หมุนเวียน” เป็นตัวตั้ง แล้วหารด้วย “หนี้สินหมุนเวียน” (ดูได้จากงบดุลของทุกกิจการ)

ผลลัทธ์ที่ต่ำว่า 1 หมายความว่า กิจการนั้นมีความเสี่ยง (ยิ่งตัวเลขออกมาน้อย ความเสี่ยงยิ่งสูง) เพราะมันหมายความว่ากิจการนั้นจะมีสินทรัพย์ไม่พอใช้หนี้ในปีหน้า
ราคาหุ้นของกิจการแบบนี้ย่อมมีปัญหา

 

ถ้าตัวเลขมากกว่า 1 ยิ่งมากยิ่งดี
ในเวลาแบบนี้ ควรหากิจการที่มีสุขภาวะทางการเงินที่ดีไว้ก่อน

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click