บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ผู้นำในธุรกิจพลังงานสะอาด โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เสนอขายหุ้นกู้ให้กับผู้ลงทุนทั่วไปและผู้ลงทุนสถาบัน (Public Offering) จำนวน 3 รุ่น ผ่านสถาบันการเงินชั้นนำ 7 แห่ง โดยหุ้นกู้ดังกล่าวได้รับการจัดอันดับเครดิตจากทริสเรทติ้ง ที่ระดับ A- สะท้อนถึงกระแสเงินสดที่แข็งแรงจากธุรกิจพลังงานทดแทน ธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ธุรกิจผลิตแบตเตอรี่ และ ยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะเปิดจองซื้อระหว่างวันที่ 26-28 กันยายน 2566 ซึ่งเป็นการเสนอขายแก่ประชาชนเป็นการทั่วไป

 

โดยหุ้นกู้เสนอขายครั้งนี้ มีจำนวน 3 รุ่น และกำหนดจ่ายดอกเบี้ยทุก 6 เดือน (ตลอดอายุหุ้นกู้) ได้แก่

1. รุ่นอายุ 1 ปี อัตราผลตอบแทน 3.20% ต่อปี

2. รุ่นอายุ 3 ปี อัตราผลตอบแทน 3.70% ต่อปี

3. รุ่นอายุ 5 ปี อัตราผลตอบแทน 4.10% ต่อปี

เสนอขายผ่านสถาบันการเงิน 7 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) บริษัทหลักทรัพย์ บียอนด์ และ บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย)

สำหรับหุ้นกู้ EA มีอันดับความน่าเชื่อถือระดับ “A-” เมื่อดูระดับความเสี่ยงที่มี 8 ระดับ (ต่ำสุดอยู่ที่ระดับ 1 และสูงสุดที่ระดับ 8) กรีนบอนด์ของ EA รุ่นอายุ 1 ปี มีความเสี่ยงเพียงระดับ 2 เท่านั้น ส่วนรุ่นอายุ 3 ปี และ 5 ปี มีความเสี่ยงอยู่ที่ระดับ 3 ในขณะที่ผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนจะได้รับ สูงกว่าผลตอบแทนจากการฝากเงินทั่วๆ ไปอย่างชัดเจน

EA เป็น “ผู้นำในธุรกิจพลังงานสะอาด” เข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมากว่า 10 ปี ด้วยผลการดำเนินงานที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยผลการดำเนินงานงวด 6 เดือน ปี 2566 บริษัทฯ มีรายได้รวมอยู่ที่ 16,860.42 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 6,589.79 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 64.16 เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน โดยรายได้ที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจากธุรกิจรถโดยสารไฟฟ้าและรถเพื่อการพาณิชย์ ธุรกิจแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน รวมถึงธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน

EA ขับเคลื่อนธุรกิจ ภายใต้แนวคิด "MISSION NO EMISSION" โดยมีโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไออนที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์กำลังการผลิตเริ่มต้นที่ 1 GWh และกำลังขยายกำลังการผลิตที่ 4 GWh ในช่วงไตรมาสที่ 2/2567 อีกทั้งมีโรงงานผลิตและประกอบยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ มีกำลังการผลิตสูงสุด 9,000 คันต่อปี โดยที่ผ่านมา EA ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ด้านยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์อย่างต่อเนื่อง เช่น รถโดยสารไฟฟ้าหรือ E-Bus ที่วิ่งให้บริการในหลากหลายเส้นทางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รถบรรทุกไฟฟ้า เรือโดยสารไฟฟ้า ตลอดจนมีสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้ากว่า 490 สถานี ครอบคลุมทุกภูมิภาค

EA ได้รับรางวัลที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการและผลการดำเนินงานที่ดีหลายรางวัล เช่น รางวัลด้านองค์กรยอดเยี่ยม ได้แก่ รางวัล Most Innovative Energy Solution Provider Thailand 2021 โดย World Business Outlook, รางวัล Outstanding Company Performance Awards 2022 ในกลุ่มบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดสูงกว่า 100,000 ล้านบาท โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและวารสารการเงินธนาคาร

การที่ EA ออกหุ้นกู้เป็น “กรีนบอนด์” ดังกล่าว สามารถบ่งบอกได้ว่า ผู้ลงทุนจะได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วย เนื่องจากธุรกิจของ EA เป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับพลังงานสะอาด เพื่อโลกที่ยั่งยืน โดยบริษัทฯ ได้รับการประเมินเป็นสมาชิกดัชนีความยั่งยืน MSCI ESG Ratings 2023 ระดับ A โดย MSCI และล่าสุดยังได้รับรางวัล Corporate Excellence Award ในเวทีระดับสากล Asia Pacific Enterprise Award s จัดโดย Enterprise Asia Enterprise Asia ซึ่งเป็นอีกหนึ่งรางวัลที่สะท้อนประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริหารจัดการองค์กรที่ดีเลิศ มีการเติบโตที่มั่นคงแข็งแกร่งและยั่งยืน

นอกจากนี้ EA ยังมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาเทคโนโลยีและสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ อยู่เสมอ โดยจะเห็นได้จากรางวัลต่างๆ ที่ได้รับ เช่น รางวัลประเภทนวัตกรรมยอดเยี่ยมด้านผลิตภัณฑ์ยานยนต์ไฟฟ้า ได้แก่ รางวัล Emerging Technology of the Year : The 2020 Global Energy Awards ผลงานเรือโดยสารไฟฟ้า MINE Smart Ferry โดย : S&P Global Platts, รางวัลนวัตกรรมยอดเยี่ยมแห่งปี ผลงานเรือโดยสารไฟฟ้า MINE Smart Ferry โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน), รางวัล Best Innovative Company Awards 2022 ผลงานนวัตกรรมแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน AMITA Technology (Thailand) โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและวารสารการเงินธนาคาร

ผู้ลงทุนที่สนใจจองซื้อหุ้นกู้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.sec.or.th หรือติดต่อผ่านสถาบันการเงินทั้ง 7 แห่ง ดังนี้

· ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ยกเว้นสาขาไมโคร โทร. 1333 หรือจองซื้อทางออนไลน์ผ่าน Bualuang mBanking

· ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) * หรือ โทร. 02-777-6784 (โดยบุคคลธรรมดาสามารถจองซื้อทางออนไลน์ผ่านแอป SCB EASY ได้อีก 1 ช่องทาง)

· ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) โทร. 02-626-7777 (โดยบุคคลธรรมดาสามารถจองซื้อทางออนไลน์ผ่าน แอปพลิเคชัน - CIMB Thai Digital Banking ได้อีก 1 ช่องทาง)

· บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) โทร. 02-658-5050

· บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) จำกัด โทร. 02-846-8675

· บริษัทหลักทรัพย์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน) โทร. 02-820-0410

· บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด โทร.02-009-8351-59

* ซึ่งรวมถึงบริษัทหลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ จำกัด ในฐานะหน่วยงานขายของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

CPL ดันบริษัทย่อย “ซีพีแอล เวนเจอร์ พลัส” ผนึกความร่วมมือพันธมิตร ตั้งบริษัทใหม่ “นาว เอนด์ออฟเวสท์” รุกธุรกิจผลิตและจำหน่ายเครื่องย่อยเศษอาหาร ภายใต้แบรนด์ NOW สอดรับกระแสอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตอบโจทย์ผู้ประกอบการที่ต้องการลดปริมาณขยะเศษอาหารโดยไม่ก่อมลภาวะเพิ่มเติม นำร่องทดลองใช้เครื่องใน 3 โครงการ ทั้งเซ็นทรัล เวสต์เกต, โครงการคอนโดมิเนียม เดอะแสตรนด์ ทองหล่อ และเดอะ ฟู้ด สคูล แบงคอก โรงเรียนสอนทำอาหารของกลุ่มดุสิตธานี วางกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ทั้งอาคารสำนักงาน คอนโดมิเนียม โรงแรม โรงพยาบาล ตลาดสด และอื่นๆ มั่นใจเสริมความแข็งแกร่งให้ธุรกิจหลัก สร้างโอกาสเติบโตแบบ New S-Curve

นายภูวสิษฏ์ วงษ์เจริญสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีพีแอล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ CPL เปิดเผยว่า บริษัท ซีพีแอล เวนเจอร์ พลัส จำกัด (CPLV) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ CPL ถือหุ้น 99.97% ได้เข้าถือหุ้นในสัดส่วน 50% ในบริษัท นาว เอนด์ออฟเวสท์ จำกัด (NOW End of Waste) ซึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่ร่วมกับพันธมิตรอีก 2 ราย เพื่อดำเนินธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องย่อยสลายเศษอาหารภายใต้แบรนด์ NOW โดยล่าสุดได้ร่วมงานแสดงเทคโนโลยีในงานสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย ซึ่งจัดขึ้นที่อิมแพ็คเมืองทองธานี เมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา และได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดี

ทั้งนี้ NOW เป็นเครื่องย่อยสลายเศษอาหารตามแนวคิดลดของเสียในระบบ โดยเทคโนโลยีดังกล่าวจะแปรสภาพเศษอาหารเป็นของเหลวด้วยเครื่อง NOW Digester หรือแปรสภาพเศษอาหารเป็นดินด้วยเครื่อง NOW Composter ซึ่งจะช่วยลดปริมาณขยะที่ต้องนำไปฝังกลบและลดภาระเตาเผาขยะ ทำให้เตาเผาขยะสามารถเผาขยะอื่นได้เต็มประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังช่วยลดมลภาวะ รวมถึงพาหะนำเชื้อโรคในพื้นที่ใช้งานได้อีกด้วย ซึ่งขณะนี้ บริษัทฯ ได้ทดลองติดเครื่องย่อยสลายเศษอาหารเพื่อใช้งานใน 3 โครงการนำร่อง ได้แก่ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล เวสต์เกต โครงการคอนโดมิเนียม เดอะ แสตรนด์ ทองหล่อ ซึ่งใช้ระบบแปรเศษอาหารเป็นของเหลว (NOW Digester) ขณะที่โครงการเดอะ ฟู้ด สคูล แบงคอก โรงเรียนสอนทำอาหารของกลุ่มดุสิตธานี ใช้เครื่องย่อยสลายระบบแปรเศษอาหารเป็นดิน (NOW Composter)

“ที่ผ่านมา ‘ซีพีแอล เวนเจอร์ พลัส’ มองหาโอกาสที่จะเข้าลงทุนในธุรกิจที่สร้างการเติบโตแบบ New S-Curve ขณะที่ NOW เป็นหนึ่งในธุรกิจที่สอดรับกับกระแสอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างความยั่งยืน ซึ่งตอบโจทย์ดังกล่าวได้เป็นอย่างดี เพราะด้วยกลไกการทำงานของเครื่องที่หลังจากเครื่องแปรเศษอาหารเป็นของเหลวแล้ว ของเหลวจะถูกส่งต่อไปยังระบบบำบัดน้ำเสียก่อนจะปล่อยออกสู่ภายนอก ซึ่งจะช่วยลดปัญหาปริมาณขยะและของเสียได้ เช่นเดียวกับการแปรเศษอาหารเป็นดิน สำหรับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายที่บริษัทฯ มีแผนจะทำตลาดหลังจากนี้ จะประกอบด้วย กลุ่มอาคาร

สำนักงาน คอนโดมิเนียม โรงแรม โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า ศูนย์อาหาร ตลาดสด รวมทั้งเรือเดินสมุทร ซึ่งเรามั่นใจว่า NOW จะเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่สามารถเติบโตได้อย่างมีศักยภาพในอนาคต” นายภูวสิษฏ์กล่าว

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร CPL กล่าวด้วยว่า มั่นใจว่า ธุรกิจลดของเสีย (Food Waste Management) จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจหลักของ CPL ตามหลักของการกระจายการลงทุนและการแสวงหาโอกาสใหม่ๆ อีกทั้งยังสอดรับกับธุรกิจเซฟตี้โปรดักส์ หรือสินค้าด้านความปลอดภัยของ CPL ซึ่งที่ผ่านมาได้เดินหน้าพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีสมาร์ท เซ้นส์ (Smart Sense) เพื่อยกระดับโรงงานต่างๆ ให้เป็น “สมาร์ท แฟคตอรี่” (Smart Factory) รวมถึงการยกระดับเครื่องจักรในโรงงานให้เป็น Machine Safety ซึ่งการพัฒนาธุรกิจใหม่ในรูปแบบที่หลากหลายของ CPL จะเป็นมิติใหม่ทั้งด้านความปลอดภัย และความยั่งยืน

นายสาระ ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า

X

Right Click

No right click