December 22, 2024

ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้มอบหมายให้ ดร.กร จันทรวิโรจน์ ที่ปรึกษาเลขานุการรัฐมนตรีกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานเปิดงาน “U2T for BCG บทเรียนจากอดีต สู่ความต่อเนื่องยั่งยืน” ที่ศูนย์สินค้าและผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ (IN-C Coffee) มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ต.แม่ทราย อ.ร้องกวาง จ.แพร่ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งพื้นที่เป้าหมายจัดแสดงสินค้าออกสู่ตลาดผู้บริโภค เพื่อขยายโอกาส เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและพัฒนาช่องทางการตลาดทั้งออฟไลน์และออนไลน์ให้แก่ผู้ประกอบการในภาคธุรกิจและภาคบริการต่างๆ นอกจากนี้ยังถือเป็น 1 ใน 4 จังหวัดเป้าหมายประกอบด้วย จ.แพร่ จ.ชลบุรี จ.ระยอง และจ.จันทบุรี ที่ อว.จะถอดบทเรียนโครงการ U2T for BCG ที่ผ่านมาตั้งแต่เริ่มโครงการถึงปัจจุบันว่ามีข้อดี ข้อเสียอย่างไร และจะนำมาปรับปรุงอย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้นในอนาคต

โดย ดร.กร จันทรวิโรจน์ ที่ปรึกษาเลขานุการรัฐมนตรีกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า กิจกรรมโครงการส่งเสริมการตลาดเพื่อประชาสัมพันธ์และแนะนำผลิตภัณฑ์สินค้า U2T for BCG เป็นโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ หรือ โครงการ U2T โดยมีมหาวิทยาลัยในพื้นที่เป็นหน่วยบูรณาการโครงการ (System Integrator) การจ้างงาน การฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่มีความครอบคลุมในประเด็นต่าง ๆ ตามปัญหาและความต้องการของชุมชน

ทั้งนี้ งานวันที่ 8 พ.ค.นี้ มีการเสวนาในหัวข้อ “U2T for BCG บทเรียนจากอดีต สู่ความต่อเนื่องยั่งยืน” โดยผู้แทนเครือข่ายการดำเนินงานของ อว.(คลินิกเทคโนโลยี/Science park /OTOP /UBI) มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ และตัวแทนผู้ประกอบการด้วย

“ผมหวังว่าการร่วมกันถอดบทเรียนภาพรวมผลการดำเนินงานในพื้นที่ภาคเหนือที่ผ่านมา จะนำปัญหาและอุปสรรคที่พบระหว่างการดำเนินงานมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน เพื่อเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนกลไกการดำเนินงานและพัฒนาโครงการฯ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงเป็นการบูรณาการ

การทำงานร่วมกันของเครือข่าย อว. เพื่อยกระดับเศรษฐกิจ สังคม พร้อมขจัดปัญหาความยากจนในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคอื่นๆ ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมสร้างชีวิตใหม่ สร้างผู้ประกอบการมืออาชีพในแต่ละตำบล และทำให้เกิดการสานต่อผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม”

ดร.กร กล่าวว่า ที่ผ่านมา อว.ได้เห็นศักยภาพในแต่ละพื้นที่ แต่ละตำบลว่ามีศักยภาพ ทั้งในด้านทุนทางมนุษย์ ทุนประวัติศาสตร์ ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางสังคม ทุนทางประเพณีวัฒนธรรม และทุนอื่นๆ มากมาย ที่นำมาสร้างสรรค์สู่การพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนและยกระดับให้เกิดมาตรฐานต่างๆ มากขึ้น พร้อมทั้งยังทำให้ผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนเข้าถึงผู้บริโภคทั่วประเทศได้มากขึ้น ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เป็นสินค้า BCG เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย

อย่างไรก็ตาม ภายในเดือนนี้ อว.ก็พร้อมปูพรมกิจกรรม “U2T for BCG บทเรียนจากอดีต สู่ความต่อเนื่องยั่งยืน” ต่อเนื่องในทุกพื้นที่จังหวัดภาคตะวันออกด้วย โดยวันที่ 10 พ.ค.จะจัดที่มหาวิทยาลัยบูรพา ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี วันที่ 11 พ.ค.จัดที่หมู่บ้านเอื้ออาทรระยอง(วังหว้า) ต.วังหว้า อ.แกลง จ.ระยอง และวันที่ 12 พ.ค.จัดที่มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ต.ท่าช้าง อ.เมือง จ.จันทบุรี

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) ร่วมกับ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมมือทางวิชาการโครงการแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map) เพื่อใช้ข้อมูลในการวางนโยบายด้านการเกษตรและวางแผนบริหารจัดการการผลิตสินค้าเกษตรผ่านระบบ Agri-Map ทั้งแบบออนไลน์ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์(Agri-Map Online) และแอปพลิเคชันผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Agri-Map Mobile) เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย

ล่าสุด. นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ ศ. ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมลงนามข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ โครงการแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map) ระหว่าง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยมีนายปราโมทย์ ยาใจ อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน ศ. ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ นางสาวภัทราภรณ์ โสเจยยะ รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องประชุม 115 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า “กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีนโยบายในการขับเคลื่อนงานภายใต้ 5 ยุทธศาสตร์ 15 แนวทางนโยบายหลัก ปรับตามสถานการณ์และปรับเปลี่ยนเป็นการทำงานเชิงรุกในการพัฒนาภาคการเกษตรอย่างเป็นระบบ ซึ่ง Agri-Map ถือเป็นเครื่องมือที่สามารถนำมาใช้ในการขับเคลื่อนงานดังกล่าว ให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ สอดคล้องตามสภาพพื้นที่และสถานการณ์ในปัจจุบัน

นายปราโมทย์ ยาใจ อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน กล่าวถึงความร่วมมือและการสนับสนุนด้านการวิจัยเพื่อร่วมพัฒนาระบบ Agri-Map “กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายจัดทำแผนที่สำหรับบริหารจัดการภาคการเกษตรของประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพและครอบคลุมทุกพื้นที่ โดยบูรณาการข้อมูลพื้นฐานด้านการเกษตรและการพาณิชย์ สำหรับวิเคราะห์การจัดการสินค้าเกษตร ตามความต้องการของผู้ผลิตและผู้บริโภค และความเหมาะสมของการใช้ที่ดิน

โดยที่ผ่านมาได้รับความร่วมมือจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ทำให้ Agri-Map ถูกพัฒนาเป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้บริหารจัดการภาคการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทันสมัย สะดวก และติดตามความเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา สามารถใช้ได้บนแพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์ Agri-Map Online และบนแพลตฟอร์มมือถือ Agri-Map Mobile เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนนโยบายด้านการเกษตร และวางแผนการบริหารจัดการภาคเกษตรภายใต้โครงการสำคัญต่างๆ โดยมุ่งหวังให้เกษตรกรและผู้สนใจสามารถใช้งานได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว”

ศ. ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวถึงความร่วมมือและการสนับสนุนด้านการวิจัยเพื่อร่วมพัฒนาระบบ Agri-Map โดยเนคเทค สวทช. ได้นำงานวิจัยทางเทคโนโลยีด้านบูรณาการข้อมูลไปใช้กับข้อมูลจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไปเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านการเกษตร และพัฒนาเครื่องมือสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ร่วมกับเทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ มาสร้างแบบจำลองในการโซนนิ่งภาคการเกษตร โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและผลผลิตให้ดีขึ้น นอกจากนี้ ยังได้วิจัยพัฒนาระบบการจัดการข้อมูลแบบอัตโนมัติเพื่อการเตรียมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล อย่างมีมาตรฐานสากล เพื่อใช้ในการแสดงผลในแบบแผนที่บนระบบ Agri-Map ในรูปแบบออนไลน์ผ่านเครือข่ายทางคอมพิวเตอร์ (Agri-Map Online) และแอปพลิเคชันผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Agri-Map Mobile) ซึ่งช่วยลดภาระเวลาการทำงานให้กับการจัดการข้อมูลในการส่งเข้าระบบ Agri-Map รวมทั้งได้พัฒนาระบบ Map Server ด้วย Opensource ที่ให้ประสิทธิภาพเทียบ Business Software ซึ่งช่วยลดภาระค่าลิขสิทธิ์ลงได้

สำหรับความร่วมมือที่เกิดขึ้นครั้งนี้ กรมพัฒนาที่ดิน ได้สนับสนุนปรับปรุงข้อมูลพื้นที่เพาะปลูกของพืชเศรษฐกิจ 13 ชนิดพืช ตามรอบการสำรวจของกรมฯ และเพิ่มข้อมูลพืชเศรษฐกิจทางเลือกในการเพาะปลูกให้แก่เกษตรกรอีก 5 ชนิด ได้แก่ มะม่วง กล้วย ลองกอง โกโก้ และส้มโอ ส่วนเนคเทค สวทช. ยังสนับสนุนการนำงานวิจัยการวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาโมเดลการทำนายพื้นที่เพาะปลูกพืชมาใช้ เพื่อช่วยลดภาระงานสำรวจพื้นที่ของทางกรมพัฒนาที่ดิน ปัจจุบัน ระบบ Agri-Map ได้

เปิดให้ใช้งานได้ทั้งแบบออนไลน์ผ่านระบบเครือข่ายทางคอมพิวเตอร์ (Agri-Map Online) และแบบแอปพลิเคชันผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Agri-Map Mobile) ซึ่งยังคงต้องมีการพัฒนาปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยและดูแลรักษาระบบให้ใช้งานได้อย่างต่อเนื่องต่อไป

ภายหลังการปรับบทบาท มหาวิทยาลัย เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม และชุมชนในพื้นที่ บูรณาการแก้ไขปัญหาในมิติต่างๆจนสามารถยกระดับเศรษฐกิจให้เกิดความยั่งยืนได้จริงและประสบผลสำเร็จด้วยดีสำหรับ โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) หรือ โครงการ U2T โดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ผสานความร่วมมือกับอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โดย U2T เป็นโครงการภายใต้ อว. ที่ดำเนินงานมาเป็นระยะเวลา 10 ปี ในการทำงานแบบบูรณาการและเป็นรูปธรรมตลอดปี 2565 ในพื้นที่ 7,435 ตำบล ครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศ มีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับคำปรึกษาและพัฒนาแล้วกว่า 15,000 ชนิด

 

สำหรับปีงบประมาณ 2566 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ยังคงมุ่งเน้นเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการด้าน BCG หรือ Bio Circular Green Economy การผสมผสานระหว่างเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green) ในพื้นที่ด้วยองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อให้ผลิตภัณฑ์และบริการออกสู่ตลาดอย่างเป็นระบบ มีการทำตลาดและขายสินค้าทั้ง online/offline ทั้งในและต่างประเทศ โดย อว.เป็นผู้พัฒนาระบบ ในการเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์ม (Platform) ที่สำคัญมีการจัดทำข้อมูล Thailand Community Data (TCD) ให้สมบูรณ์ครบทุกพื้นที่ รวมถึงการถ่ายทอดการใช้ประโยชน์จาก TCD ให้ผู้ที่จะใช้ประโยชน์ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและชุมชน

 

ในการนี้ ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมคณะ ประธานเปิดงาน มหกรรม U2T For BCG ช็อป ชิม โชว์ ยอยศยิ่งฟ้าอยุธยามรดกโลก ณ ศูนย์วัฒน์ธรรมเฉลิมพระเกียรติราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา วาสุกรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อันเป็นพื้นที่เป้าหมายได้จัดกิจกรรมตาม “โครงการส่งเสริมการตลาด เพื่อประชาสัมพันธ์และแนะนำผลิตภัณฑ์สินค้า U2T for BCG” จัดแสดงสินค้าออกสู่ตลาดผู้บริโภค เพื่อขยายโอกาสและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและพัฒนาช่องทางการตลาดให้แก่ผู้ประกอบการในภาคธุรกิจและภาคบริการ

ดร. ดนุช ตันเทอดทิตย์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวถึงการดำเนินโครงการ U2T ในปี 2566 ว่า “หลังจากประสบความสำเร็จจากโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) หรือ โครงการ U2T เราได้นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้าไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนในรูปแบบต่างๆ สำหรับปีนี้ อว. ตอกย้ำด้วย โครงการส่งเสริมการตลาดเพื่อประชาสัมพันธ์และแนะนำผลิตภัณฑ์สินค้า U2T for BCG หลังจากใช้แนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแบบ BCG หรือ Bio Circular Green Economy การผสมผสานระหว่างเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green) เข้าไปพัฒนาผลผลิตของพี่น้องประชาชน ประสบความสำเร็จด้วยดี มีผลิตภัณฑ์ที่โครงการของเราได้ให้คำปรึกษากว่า 15,000 ชนิด เมื่อมีสินค้าแล้วก็ต้องมีการจัดจำหน่ายแต่จะจำหน่ายอย่างไร จะเข้าถึงผู้บริโภคอย่างไร นี่คือสิ่งที่ อว. ต้องส่งเสริมและสนับสนุนเพื่อให้ประชาชนได้เป็นผู้ประกอบการมืออาชีพในอนาคต สร้างความเข้าใจและปรับตัวในการผลิตสินค้าให้สอดคล้องกับ BCG ได้ ซึ่ง อว. ผสานความร่วมมือกับอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย หรือ Science Park ,คลินิกเทคโนโลยี ผู้ผลิตสินค้าระดับโอทอป และ หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา หรือ University Business Incubator : UBI เข้ามาช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ U2T อย่างเต็มที่ ถือเป็นการโชว์สินค้า แชร์เทคโนโลยี และนำไปต่อยอดต่อไปได้ อาทิเช่นผลิตภัณฑ์น้ำพริก หรือ พริกแกงต่างๆ เขาจะมีอายุสั้น เสียเร็ว จำหน่ายในห้างสรรพสินค้าไม่ได้ แต่ Science Park หรือ คลินิกเทคโนโลยี จะเป็นผู้คิดค้นหาวิธีให้ผลิตภัณฑ์มีอายุนานขึ้น นี่คือนวัตกรรมที่เราทำ พี่น้องประชาชนก็จะได้ผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น ขายได้มากขึ้น หรือผลผลิตทางการเกษตรอย่างอะโวคาโด หากเก็บผลผลิตได้ 1,000 กิโลกรัม แต่จำหน่ายได้เพียง 600 กิโลกรัม ที่สุกงอมจนขายไม่ได้ราว 400 กิโลกรัม ซึ่งเกษตรกรต้องแบกรับภาระนี้มานาน แต่ตอนนี้ไม่ต้องทิ้งแล้วครับ เรานำมาทำเป็นคุกกี้อะโวคาโด ไอศกรีม และ แยมอะโวคาโด รสชาติอร่อยมาก สำหรับผลิตภัณฑ์ที่นำมาแสดงที่ อยุธยา วันนี้ ก็เป็นผลิตภัณฑ์เด่นของจังหวัดภายใต้โครงการ U2T FOR BCG ซึ่งเขาได้นำองค์ความรู้ที่ได้รับจากทางมหาวิทยาลัยไปปรับใช้จริง มีการอบรม สาธิตการทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ จำหน่ายสินค้า โดยงานแสดงสินค้าเหล่านี้จะจัดขึ้นในจังหวัดเป้าหมายหลัก ตลอดเดือน มกราคม – มีนาคม 2566 จังหวัดต่อไปคือ หนองคาย สกลนคร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ราชบุรี นครปฐม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ฯลฯ กระจายในทุกภาคทั่วประเทศ และเพิ่มศักยภาพการจำหน่ายช่องทางออนไลน์ด้วย เราลงพื้นที่ไปให้ความรู้ ให้เขาเรียนรู้อย่างเป็นระบบ ทุกวันนี้พี่น้องประชาชนทำห้องไลฟ์ขายของกันแล้ว เขาสนุกกับสิ่งที่ทำ และขายสินค้าได้ การท่องเที่ยวก็เป็นส่วนหนึ่งของ BCG ในการเอาอารยธรรมของชุมชนมาสร้างคอนเท้นท์

นำพาสู่นักท่องเที่ยวเพื่อให้มาเยี่ยมเยียนเรา เมื่อเขามาเยี่ยมเยียน ก็เกิดการจับจ่ายสนับสนุนสินค้าและการท่องเที่ยวในจังหวัดนั้นๆ

 

สุดท้ายผมฝากถึงพี่น้องประชาชน เกษตรกร ผู้ประกอบการทั่วประเทศ เรามีหน่วยงานหลักสำหรับให้คำปรึกษาและร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนอยู่ในทุก มหาวิทยาลัย ทั้ง คลินิกเทคโนโลยี , Science Park/ OTOP และ UBI หากท่านมีความสนใจหรือต้องการพัฒนาสินค้าต่างๆ สามารถติดต่อไปได้ที่ มหาวิทยาลัย ใกล้บ้าน เราให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยี การตลาด การจัดการ เพื่อต่อยอด กระทวงเราไม่ได้ห่างเหินจากประชาชน แต่เราลงพื้นที่ ดูแลและเป็นกองหนุนให้กับทุกกระทรวง หวังว่าพี่น้องประชาชนจะได้ใช้โครงสร้างของเราในการทำงานอย่างยั่งยืน สร้างชีวิตใหม่ สร้างผู้ประกอบการมืออาชีพในแต่ละตำบล และทำให้เกิดการสานต่อผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม” ดร. ดนุช ตันเทอดทิตย์ กล่าวปิดท้าย

สนับสนุนอย่างต่อเนื่องทั้งทุนวิจัยและการพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์อย่างเข้มข้น สำหรับกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund)  กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กับเครือข่ายร่วมพัฒนาผู้ประกอบการ (TED Fellow) จำนวน 18 หน่วยงานทั่วประเทศ หวังบ่มเพาะ พร้อมให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการที่ต้องการเงินทุนวิจัย และพัฒนาต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click