November 21, 2024

จุฬาฯ เปิดตัวศูนย์นวัตกรรมการวิจัยและพัฒนาโกโก้ไทยเพื่อความยั่งยืน ISTC กู้วิกฤตราคาโกโก้ตกต่ำโดยส่งเสริมแนวปฏิบัติอย่างยั่งยืนและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัญศิภรณ์ ณ น่าน สำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร จุฬาฯ ศูนย์นวัตกรรมแห่งนี้จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและธุรกิจด้านระบบนิเวศโกโก้ในประเทศไทย โดยใช้การศึกษา งานวิจัย และนวัตกรรม โดยมีเป้าหมายหลัก คือ การนำผลผลิตโกโก้ไปสู่ตลาดสินค้าคุณภาพสูงด้วยรสชาติและกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพื่อทำให้โกโก้ไทยได้เปรียบในการแข่งขันกับตลาดทั่วโลก

ผลผลิตได้น้อยลง ด้วยสภาพอากาศที่เหมาะสม ประเทศไทยจึงถูกมองว่าเป็นศูนย์กลางการปลูกโกโก้แห่งใหม่ที่มีศักยภาพ เกษตรกรชาวไทยจำนวนมาก โดยเฉพาะในจังหวัดน่าน (ซึ่งได้รับการขนานนามว่าเป็น “ จังหวัดโกโก้” ในปัจจุบัน) ก็ได้เริ่มหันมาเพาะปลูกโกโก้โดยมองว่าเป็นผลผลิตที่จะมีมูลค่าทางเศรษฐกิจที่ดีในอนาคต อย่างไรก็ตามเกษตรกรก็ยังขาดความรู้ที่ถูกต้องสำหรับการเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว และการหมักโกโก้ ทำให้ได้ผลผลิตไม่ได้มาตรฐาน อีกทั้งยังทำให้เมล็ดโกโก้มีคุณภาพต่ำ ส่งผลให้ไม่มีผู้รับซื้อ ผลผลิตราคาตก และถูกทิ้งเป็นจำนวนมาก

เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ศูนย์ ISTC ซึ่งดำเนินการภายใต้โครงสร้างของบริษัท ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมจามจุรี จำกัด จึงได้เข้ามามีบทบาทในการให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่เกษตรกรในด้านวิธีการเพาะปลูกโกโก้ที่เน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ พร้อมทั้งเสริมสร้างศักยภาพและความสามารถในทุกหน่วยธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับโกโก้ นอกจากนี้ทางศูนย์ฯ ยังได้ส่งเสริมการแปรรูปและการหมักโกโก้ในท้องถิ่น เพื่อคงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ลดการสูญเสียคุณภาพระหว่างการขนส่ง

ทางศูนย์ฯ ยังมีบริการด้านการรับรองคุณภาพด้วยระบบการจัดการคุณภาพโกโก้ที่ทันสมัย และระบบรับรองมาตรฐานคุณภาพเมล็ดโกโก้ เพื่อยกระดับคุณภาพและมาตรฐานโกโก้ไทยในระดับโลก นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับเกษตรกรเพื่อแนะนำการเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมกับการปลูกโกโก้เป้าหมายระยะยาวของ

ศูนย์ ISTC คือ การสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวให้กับโกโก้ของไทย โดยการสร้างกลิ่นและรสชาติที่โดดเด่นตามพื้นที่เพาะปลูกที่แต่ละที่ การหมักในลักษณะที่เป็นงานคราฟ และการเล่าเรื่องราวเพื่อเพิ่มคุณค่า

ของผลิตภัณฑ์ ทางศูนย์ฯ ยังได้ส่งเสริมให้เกษตรกรมุ่งเน้นไปที่การผลิตโกโก้คุณภาพสูงที่เป็น Single Origin ซึ่งมีมูลค่าสูงในตลาดเฉพาะกลุ่ม ศูนย์ ISTC ได้มุ่งหวังที่จะยกระดับโกโก้ไทยให้เป็นพืชเศรษฐกิจแบบยั่งยืน

สร้างผลประโยชน์ให้แก่เกษตรกรและอุตสาหกรรมในวงกว้าง โดยใช้การศึกษา การรับรองคุณภาพ และนวัตกรรม

 

บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ดำเนินธุรกิจค้าส่งค้าปลีก แม็คโคร-โลตัส ได้ลงนามบันทึกความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น และสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (BEDO) สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อเดินหน้านโยบายสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ภายใต้โครงการ “เปลี่ยนขยะเป็นประโยชน์” โดยนำอาหารส่วนเกินจากสาขาแม็คโครและโลตัสทั่วประเทศ มอบให้เกษตรกรเพื่อนำไปใช้เพาะเลี้ยงแมลงโปรตีน (Black Soldier Fly – BSF) ในการลดขยะอาหารสู่เป้าหมาย Zero Food Waste ภายในปี 2573

โครงการนี้มีความมุ่งมั่นที่จะลดการสูญเสียอาหารและลดปริมาณขยะอาหารตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง นางศิริพร เดชสิงห์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ซีพี แอ็กซ์ตร้า กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า “ซีพี แอ็กซ์ตร้า มุ่งเน้นการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกมิติ ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ (ESG) เราร่วมกับพันธมิตรอย่างมหาวิทยาลัยขอนแก่นและ BEDO เพื่อนำอาหารส่วนเกินจากสาขากว่า 230 แห่งไปให้เกษตรกรเพาะเลี้ยงแมลงโปรตีน ซึ่งช่วยลดต้นทุนอาหารสัตว์ได้ถึง 50% อีกทั้งยังได้ประโยชน์จากปุ๋ยที่ได้จากมูลหนอนและซากแมลงอีกด้วย”

นอกจากนี้ ความร่วมมือนี้ยังเป็นการแก้ปัญหาขยะอาหารที่ยั่งยืน ช่วยเกษตรกรลดต้นทุน และส่งเสริมเทคโนโลยีสีเขียวเพื่ออนาคตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ภายในพิธีมีบุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นและ BEDO ร่วมงานด้วย

ซีพี แอ็กซ์ตร้าคาดหวังว่าโครงการนี้จะไม่เพียงลดขยะอาหารเท่านั้น แต่ยังสามารถขยายโอกาสทางธุรกิจและสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชนและเกษตรกรทั่วประเทศอีกด้วย

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานในงานประกาศผลและพิธีมอบรางวัลการประกวดข้าวหอมมะลิของประเทศไทย ประจำปี 2566 (ครั้งที่ 41) และรางวัลการประกวดข้าวสารคุณภาพดีเด่นแห่งประเทศไทยประจำปี พ.ศ. 2566 ซึ่งจัดโดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ในวันนี้ (24 เมษายน 2567) ที่ห้องบุรฉัตรไชยากร กระทรวงพาณิชย์ เพื่อเฟ้นหาและอนุรักษ์ข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศไทย ส่งเสริมการเพาะปลูกข้าวหอมมะลิคุณภาพดี และสร้างต้นแบบเกษตรกร ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่นิยมข่าวคุณภาพสูงเป็นหลัก และยังมีการเชื่อมโยงการตลาดให้เกษตรกรผู้ชนะการประกวดเพิ่มมูลค่า สร้างรายได้ ขยายช่องทางการจำหน่ายให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรอย่างยั่งยืน

นายภูมิธรรม กล่าวว่า ข้าว เป็นพืชเศรษฐกิจหลักของไทย เกี่ยวข้องกับพี่น้องเกษตรกร

กว่า 4.7 ล้านครัวเรือน และประชาชนในประเทศส่วนใหญ่บริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก สะท้อนถึงความมั่นคงทางอาหารและเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงเกี่ยวข้องกับพี่น้องเกษตรกรจำนวนมาก รัฐบาลโดยกระทรวงพาณิชย์เล็งเห็นถึงความสำคัญของพี่น้องเกษตรกรไทยที่เปรียบเสมือนเป็นกระดูกสันหลังของชาติ ดำเนินนโยบาย พัฒนา สนับสนุน และส่งเสริมชาวนา ภายใต้หลักการ “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น

นายภูมิธรรมเน้นย้ำว่า ข้าวหอมมะลิถือเป็นข้าวในตลาดข้าวพรีเมียมที่มีชื่อเสียงด้วยอัตลักษณ์เฉพาะตัว  มีเม็ดยาวเรียวสวย สีมันวาว หุงแล้วมีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นใบเตย รสสัมผัสนิ่มนวล จึงได้รับความนิยมจากผู้บริโภคมากที่สุดทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ แม้ราคาจะสูงกว่าข้าวชนิดอื่นแต่ยังคงเป็นที่ต้องการของตลาด เพื่อเป็นการรักษาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง การยกระดับเชิงนโยบายทั้งด้านการผลิตและการควบคุมคุณภาพจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภค และให้ประเทศไทยยังคงไว้ซึ่งแหล่งผลิตและส่งออกข้าวหอมมะลิชั้นเลิศของโลก ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตข้าวสำคัญของโลก โดยในปี 2566 ไทยสามารถส่งออกข้าวได้สูงถึง 8.76 ล้านตัน นับได้ว่าสูงสุดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา คิดเป็นมูลค่ากว่า 178,135 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาร้อยละ 28 โดยข้าวหอมมะลิยังคงรักษาระดับการส่งออกได้ดีแม้ราคาสูงกว่าคู่แข่ง โดยมีปริมาณส่งออกในปี 2566 อยู่ที่ 1.32 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 5.6 ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน แคนาดา และฮ่องกง

“ตนเดือนเดินทางไปหลายประเทศได้รับความชื่นชมในข้าวไทย ไม่ว่าจะเป็นจีนในหลายมณฑล สหรัฐอเมริกา และอีกหลายประเทศ ทุกคนต่างชื่นชมถึงแม้ราคาจะสูงกว่าที่อื่น แต่ยังสัมผัสได้ในความพิเศษของข้าวหอมมะลิไทย ”นายภูมิธรรมกล่าว

นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยเพิ่มเติมว่า การประกวดข้าวหอมมะลิของประเทศไทยวันนี้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทเกษตรกรรายบุคคล และประเภทสถาบันเกษตรกร ในครั้งนี้มีเกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิจาก 22 จังหวัด ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ส่งตัวอย่างข้าวเข้าประกวดจำนวนรวม 967 ตัวอย่าง และได้นำตัวอย่างข้าวขาวของผู้ที่สมัครเข้าร่วมประกวดฯ ตรวจสอบคุณภาพข้าวทางวิชาการ ทั้งเคมีและกายภาพ ส่งให้คณะกรรมการตัดสินการประกวดทั้งในระดับจังหวัดและระดับประเทศพิจารณาคัดเลือกจนได้ผู้ได้รับรางวัลรวมจำนวน 21 ราย แบ่งเป็น เกษตรกรรายบุคคล 18 ราย และสถาบันเกษตรกร 3 ราย เป็นโล่รางวัลเกียรติยศและใบประกาศเกียรติคุณ พร้อมเงินรางวัล รวมกว่า 625,000 บาท

โดยในวันนี้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้มอบรางวัลแก่เกษตรกรและผู้ประกอบการโรงสี ผู้ผลิตข้าวสารคุณภาพ ผู้ชนะการประกวดข้าวสารคุณภาพดีเด่นแห่งประเทศไทยประจำปี พ.ศ.2566 รวม 11 รางวัล ในประเภทต่างๆ อาทิ ข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมไทย และข้าวสารเหนียวเมล็ดยาว สำหรับรายชื่อผู้ชนะการประกวดข้าวหอมมะลิของประเทศไทย ประจำปี 2566 ประกอบด้วย

ประเภทเกษตรกรรายบุคคล : ได้แก่

รางวัลชนะเลิศ นายณรงค์  จันทรุ่ง จ.อุบลราชธานี

รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 นางจันทร์สมสบบง จ.พะเยา

รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 นายสุเรียนสังข์ลาย จ.สุรินทร์

ประเภทสถาบันเกษตรกร :  ได้แก่

รางวัลชนะเลิศ วิสาหกิจชุมชนข้าวหอมมะลิสงเปลือย ม.5 ต.เมืองทอง จ.ร้อยเอ็ด

รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. นครพนม จำกัด จ.นครพนม

รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ศูนย์ข้าวชุมชนข้าวปลอดสารพิษตำบลแม่อ้อ จ.เชียงราย

โดยภายในงานได้มีการ MOU ซื้อ-ขายข้าวเปลือกหอมมะลิล่วงหน้าในราคานำตลาด สูงกว่าราคาตลาด 500 บาท/ตัน จำนวน 6 คู่ กว่า 343.4 ตัน ด้วย เพื่อสร้างความมั่นใจว่าข้าวที่มีคุณภาพสูงมีตลาดรองรับ ทั้งนี้สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์กรมการค้าภายใน www.dit.go.th หรือ Line@ MR.DIT

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดตัว DAPBot (แดปบอท) แพลตฟอร์มสนับสนุนการจำแนกศัตรูพืชและการเข้าถึงชีวภัณฑ์เกษตร ในรูปแบบ Line Official เพื่อให้เข้าถึงการใช้งานโดยง่ายของเกษตรกร

เป็นแพลตฟอร์มที่เชื่อมต่อระหว่าง 3 หัวใจหลัก (เกษตรกร นักวิชาการ และผู้ผลิตชีวภัณฑ์) เป็นผู้ช่วยส่วนตัวเกษตรกรในไลน์ เพียงแค่กดเพิ่มเพื่อน โดย DAPBot จะให้บริการตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของพืช ทั้งปัญหาโรคและแมลงศัตรูพืชต่าง ๆ พร้อมรวบรวมกลุ่มผู้ผลิตชีวภัณฑ์ที่มีคุณภาพและมาตรฐานจากทั่วประเทศ รวมถึงยังให้บริการตรวจวัดสภาพอากาศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานชีวภัณฑ์ นอกจากนี้ยังเป็นระบบที่เผยแพร่ความรู้และแจ้งเตือนการระบาดของศัตรูพืช ช่วยให้เกษตรกรสามารถวินิจฉัยปัญหาในแปลงเกษตรได้อย่างตรงจุด เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดใช้สารเคมี เสริมสร้างความเข้มแข็งการใช้ชีวภัณฑ์ในประเทศอย่างยั่งยืน ยกระดับภาคเกษตรไทยเป็นเกษตรปลอดภัยตามนโยบาย BCG

 

ดร.อลงกรณ์ อำนวยกาญจนสิน หัวหน้าทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ ไบโอเทค สวทช. ผู้พัฒนาระบบ DAPBot กล่าวว่า จากการถอดบทเรียนการทำงานของทางห้องปฏิบัติการและออกเผยแพร่ในแปลงทดสอบร่วมกับเกษตรกรในหลายพื้นที่ทั่วประเทศไทย ทำให้ทีมวิจัยเราพบว่า ปัญหาหลักหนึ่งคือ เกษตรกรเข้าถึงเชื้อชีวภัณฑ์ที่มีคุณภาพได้จำกัดมาก ไม่ว่าจะเป็นแหล่งที่ซื้อ ซื้อที่ไหน ซื้อออนไลน์ได้ไหม หรือพอซื้อแล้วกลับได้ชีวภัณฑ์ปลอมเป็นน้ำผสมสี นำไปใช้แล้วไม่ได้ผล ทำให้มุมมองต่อการใช้ชีวภัณฑ์ติดลบ ไม่ใช้แล้ว กลับไปใช้สารเคมีดังเดิมดีกว่า และอีกหนึ่งปัญหาหลักคือ เกษตรกรมักมีความเข้าใจผิดค่อนข้างมากว่า สิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นเกิดจากแมลง แท้จริงแล้วเกิดจากเชื้อรา จึงใช้ยาไม่ถูกโรคเสียที เพิ่มการใช้สารเคมีมากขึ้นหรือใช้ชีวภัณฑ์ไม่ได้ผลอย่างที่ต้องการ เหตุผลเหล่านี้คือที่มาหลักในการพัฒนา DAPBot ขึ้นมา

DAPBot เป็นแพลตฟอร์มที่รวบรวมชีวภัณฑ์ในประเทศไทยไว้ โดยเฉพาะชีวพันธุ์ที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานจากผู้ประกอบการไทย คือได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจาก สวทช. และได้รับการขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร โดย DAPBot จะเป็นตัวช่วยส่วนตัวของเกษตรกรในการตอบคำถามความผิดปกติของพืช ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโรคพืชแมลง เรื่องปุ๋ย เรื่องสภาพอากาศ เรื่องน้ำ แล้วยังมีการรวบรวมแอปพลิเคชัน ที่ช่วยตอบคำถามเรื่องสภาพอากาศ เพราะการจะใช้ชีวภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด หนึ่งจะต้องมีคุณภาพ สองใช้ให้ถูกโรคถูกแมลง และสามต้องตรวจสอบสภาพอากาศก่อนใช้งาน เช่น ถ้าใช้ก่อนฝนตกหนัก ชีวภัณฑ์จะหายไปหมดไม่ได้คุณภาพ หรือถ้าจะใช้วันนี้อากาศร้อนมากแต่พรุ่งนี้ฝนตก ให้รอใช้พรุ่งนี้ดีกว่า เป็นต้น

ด้าน น.ส.เชษฐ์ธิดา ศรีสุขสาม ผู้ช่วยวิจัยทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ ไบโอเทค สวทช. กล่าวเสริมว่า ทีมวิจัยมุ่งมั่นให้ DAPBot เป็นระบบที่ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน เกิดการอัพสกิลด้วยตัวเอง เช่น เมื่อเจออาการแบบนี้ส่งมาถามในแชทได้ความรู้ที่ถูกต้อง เกษตรกรจะเริ่มจำได้ในคราวต่อไป และทางทีมมีแผนจะรวบรวมภาพที่เกษตรกรส่งมานำไปทำ AI Training เพื่อที่ว่าต่อไปเมื่อเกษตรกรสอบถามมาจะได้คำตอบเร็วขึ้น ไม่ต้องรอผู้เชี่ยวชาญตอบ และจากที่ต้องรอสองชั่วโมงจะเหลือแค่หนึ่งวินาที เป็นต้น นอกจากนี้ DAPBot ยังนับเป็นช่องทางให้ผู้ผลิตชีวภัณฑ์ที่มีคุณภาพของประเทศไทยได้มาเจอกันกับลูกค้าที่เป็นกลุ่มผู้ใช้งานโดยตรงคือเกษตรกร ซึ่งผู้ใช้งาน DAPBot จะไม่ได้จำกัดเพียงแค่เกษตรกรในกลุ่มเกษตรอินทรีย์และเกษตรปลอดภัยเท่านั้น แต่เกษตรทั่วไปที่อยากหันมาใช้ชีวภัณฑ์ในช่วงที่แมลงไม่ได้ระบาดมาก สามารถใช้ได้ หรือเกษตรกรตามบ้านที่ปลูกผักปลูกกุหลาบ ไม่อยากซื้อยามาฉีด อยากใช้ชีวภัณฑ์ก็ได้เช่นกัน โดย DAPBot นับเป็นตัวเชื่อมให้กลุ่มผู้ใช้งานและกลุ่มผู้ใหบริการชีวภัณฑ์ได้มาเจอกันนั่นเอง

ทั้งนี้ DAPBot จะมีแอดมินที่เป็นทีมวิจัยซึ่งมีความรู้เรื่องโรคและแมลงคอยดูแลตอบคำถามอยู่ และพร้อมส่งต่อคำถามให้ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง เช่น อาจารย์มหาวิทยาลัยหรือนักวิชาการเกษตร โดย DAPBot ตั้งใจทำถึง ทำมาก ด้วยความพยายามตอบทุก ๆ คำถามไม่เกิน 24 ชั่วโมง ผู้สนใจใช้งาน เพียงแค่แอดไลน์ @dapbot สามารถเริ่มใช้งานได้ทันที โดยทีมวิจัยคาดหวังว่าระบบนี้จะสามารถเป็นผู้ช่วยของเกษตรกรและเป็นประโยชน์สนับสนุนให้เกิดการใช้ชีวภัณฑ์เป็นวงกว้างและยั่งยืนต่อไป

สำหรับเกษตรกรและผู้ที่เกี่ยวข้องที่สนใจ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทาง กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีไบโอรีไฟเนอรีและชีวภัณฑ์ ไบโอเทค สวทช. โทร. 02-5646700 ต่อ 3378, 3364 อีเมล This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. และช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ Facebook Page: ชีวภัณฑ์ไบโอเทค เพื่อผักผลไม้ปลอดภัย Blockdit: ชีวภัณฑ์ไบโอเทค เพื่อผักผลไม้ปลอดภัย X (Twitter): Green Crop Defender @GCD_Squad และ TikTok: ชีวภัณฑ์ไบโอเทค

กรุงเทพฯ 15 กุมภาพันธ์ 2567 - บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ร่วมกับกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ช่วยสนับสนุนสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดงด้วยการเพิ่มช่องทางการกระจายสินค้า รับซื้อหอมแดงจากเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดงในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมาสมนาคุณลูกค้า โดยสมาชิกบางจากกรีนไมลส์ เติมน้ำมันทุกชนิดตั้งแต่ 300 บาทขึ้นไป รับฟรีหอมแดง 1 มัด ขนาด 250 กรัมมูลค่า 20 บาท ตั้งแต่วันที่ 16 - 18 กุมภาพันธ์ 2567 หรือจนกว่าของจะหมด ที่สถานีบริการน้ำมันบางจากและสถานีบริการน้ำมันเอสโซ่เดิม ในเขตกรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ ที่ร่วมรายการ ดูรายละเอียดได้ที่ www.bcpgreenmiles.com

บางจากฯ ได้ร่วมช่วยเหลือชุมชนเกษตรกรมาอย่างต่อเนื่องด้วยการคัดสรรผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากผลผลิตทางการเกษตร เช่น กล้วยหอมทองกวน เผือกอบกรอบ ลูกหยีกวน กล้วยอบกรอบ ลูกไหนอบแห้ง เป็นต้น มาเป็นของสมนาคุณลูกค้า และร่วมมือกับกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ รับซื้อผลผลิตที่ออกมาพร้อมกันจำนวนมากตามฤดูกาล เช่น ส้ม มะนาว ไข่ไก่ มังคุด สับปะรด ลำไย มะม่วง เป็นต้น ฯลฯ เพื่อร่วมดูดซับผลผลิตและพยุงราคา นำมาเป็นของสมนาคุณลูกค้า ซึ่งนอกจากได้ช่วยสร้างงานสร้างรายได้ให้ชุมชนเกษตรกรแล้ว ยังสามารถช่วยค่าครองชีพให้ผู้บริโภคได้อีกทางหนึ่งด้วย บางจากฯ ดำเนินงานไปพร้อมกับการดูแลสิ่งแวดล้อมและสังคม ด้วยแนวคิด Greenovative Destination ของสถานีบริการน้ำมันบางจากที่มีเป้าหมายให้ผู้บริโภคได้ใช้พลังงานคุณภาพสูงและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตอบโจทย์ความสะดวกสบายในชีวิตประจำวัน เป็นจุดหมายของการแบ่งปันและสร้างสรรค์สังคมไทยที่น่าอยู่

 

Page 1 of 4
X

Right Click

No right click