January 22, 2025

YDM Thailand ถอดกลยุทธ์คอนเทนต์ครีเอเตอร์ เทรนด์มาร์เก็ตติ้งมาแรงปี 2024 ขานรับดีมานด์ตลาดโต เผยกลเม็ดสร้างแบรนด์ แนะทริคสร้างคอนเทนต์ทรงพลังเพิ่ม Engagement สตอรี่เทลลิ่งผ่านไลฟ์สไตล์ พลิกเกมธุรกิจคว้าโอกาสท่ามกลางการแข่งขันในตลาด โชว์เคสหนุนธุรกิจ Streaming Platform ดึง KOLอินฟลูเอนเซอร์ ผสมคอนเทนต์ครีเอทีฟ สร้าง Engagement เพิ่ม 50% เพิ่มยอด New streaming สูงที่สุดใน South East Asia ในระยะเวลา 1 เดือน

นายธนพล ทรัพย์สมบูรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วายดีเอ็ม (ไทยแลนด์) จำกัด เผยว่า เทรนด์มาร์เก็ตติ้งปีนี้ การสื่อสารแบรนด์อาจไม่ได้จบเพียงแค่สื่อโฆษณาผ่านทีวี ออนไลน์ หรือป้ายโฆษณา แต่ถึงยุคที่แบรนด์ต้องปรับตัวใช้กลยุทธ์คอนเทนต์ครีเอเตอร์ KOL และอินฟลูเอนเซอร์ ซึ่งเป็นเทรนด์มาร์เก็ตติ้งมาแรงในปี 2567 โดยพบว่าผู้บริโภคมากกว่า 46% เลือกเชื่อข้อมูลแนะนำ หรือการรีวิวใช้จริงในออนไลน์จากผู้บริโภคคนอื่น พอ ๆ กับการเชื่อคำแนะนำจากคนใกล้ชิดหรือครอบครัว ซึ่งสอดรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่ใช้เวลาแต่ละวันมากกว่า 5 ชั่วโมงไปกับโซเชียลมีเดีย โดยแต่ละกลุ่มเจเนอเรชั่นต่างเลือกเสพสื่อบนแต่ละแพลตฟอร์มที่ต่างกัน อาทิ ในกลุ่ม Gen X ใช้แพลตฟอร์ม Facebook รองลงมาคือ Youtube, Tiktok Gen Y เลือกใช้แพลตฟอร์ม Facebook รองลงมาคือ Youtube, Instagram, Tiktok และกลุ่ม Gen Z ใช้แพลตฟอร์ม Tiktok มากที่สุด รองลงมาคือ Instagram และ Youtube

 

เมื่อผู้บริโภคเข้าถึงโซเชียลมีเดียบนหลากหลายแพลตฟอร์ม ทำให้มีพื้นที่สื่อสาร สร้างสตอรี่เทลลิ่ง แสดงความคิดเห็นที่เป็นตัวเองมากขึ้น นำไปสู่โอกาส พลิกบทบาทจากผู้เล่นโซเชียลสู่การเป็นคอนเทนต์ครีเอเตอร์เพิ่มขึ้น ปัจจุบันประเทศไทยมีคอนเทนต์ครีเอเตอร์มากกว่า 2 ล้านคน ซึ่งยังไม่นับรวมคนไทยที่ใช้งานโซเชียลมีเดีย เพื่อติดตามข้อมูลข่าวสาร และเพื่อความบันเทิง ทั้งในรูปแบบแสดงความคิดเห็น พูดคุยกันในกลุ่มชุมชนของตนเอง ทำให้แบรนด์จำเป็นต้องเข้าถึงแก่นแท้ของกลเม็ดในการใช้คอนเทนต์ครีเอเตอร์เพื่อการสร้างแบรนด์ ซึ่งการใช้คอนเทนต์ครีเอเตอร์ให้ทรงประสิทธิภาพที่สุด วายดีเอ็ม แนะ 4 ขั้นตอน ดังนี้

1. กำหนดเป้าหมายแบรนด์ให้ชัดเจน ต้องรู้ตำแหน่งของแบรนด์ในตลาด และกำหนดความต้องการของแบรนด์ในการสื่อสารสู่เป้าหมายให้ชัดเจน เช่น ต้องการสื่อสารกับผู้บริโภคเพื่อสร้างการรับรู้ เพื่อให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ สร้างการมีส่วนร่วม หรือเพื่อสร้างยอดขาย เป็นต้น

2. ทำความเข้าใจคอนเทนต์ครีเอเตอร์ โดยเฉพาะบทบาทของคอนเทนต์ครีเอเตอร์แต่ละกลุ่ม ที่มีจุดแข็งต่างกัน เช่น อินฟลูเอนเซอร์ แค่ชูผลิตภัณฑ์ก็สามารถทำให้สินค้าเป็นที่ต้องการจนทำให้ขาดในตลาด และ KOL เน้นมุมมองการแสดงความเห็นอันทรงพลัง พูดอะไรคนก็เชื่อถือ หรือคอนเทนต์ครีเอเตอร์สร้างคอนเทนต์

สตอรี่เทลลิ่งผ่านไลฟ์สไตล์ที่เป็นเอกลักษณ์ และ Mix บางคนเป็นหลายอย่าง เป็นทั้ง KOL + คอนเทนต์ครีเอเตอร์ นำเสนอเรื่องราวยาก ๆ ผ่านการทำคอนเทนต์แนวเล่าให้ง่าย สนุก ไปพร้อม ๆ กัน

3. ใช้เทคโนโลยีช่วยเลือก การดึงเทคโนโลยี AI ช่วยวิเคราะห์เลือกใช้คอนเทนต์ครีเอเตอร์ เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ หรือแคมเปญที่ตอบโจทย์เหมาะกับแบรนด์ ทั้งไลฟ์สไตล์ รูปแบบคอนเทนต์ มีฐานแฟนคลับหรือผู้ติดตามที่เป็นกลุ่มเป้าหมายในการสื่อสารเดียวกับแบรนด์ โดย YDM มองเห็นบทบาทความสำคัญในส่วนนี้ ในการพัฒนาเครื่องมือ AI ช่วยวิเคราะห์การเลือกใช้คอนเทนต์ครีเอเตอร์ เพื่อขับเคลื่อนทุกแคมเปญการตลาดให้กับทุกแบรนด์พาร์ทเนอร์อย่างมีศักยภาพที่สามารถวัดผลได้ในระยะเวลาที่กำหนด

4. คอนเทนต์สร้าง Trust ต้องไม่ยัดเยียด ให้พื้นที่คอนเทนต์ครีเอเตอร์ได้สร้างเรียลคอนเทนต์ บนสตอรี่เทลลิ่งผ่านคาแรกเตอร์และไลฟ์สไตล์ของตัวเองอย่างเป็นธรรมชาติ โดยไม่ตีกรอบหรือยัดเยียดคอนเทนต์แบรนด์เข้าไปในการสื่อสารมากเกินไป เพราะอาจทำให้กลบจุดเด่นคอนเทนต์ครีเอเตอร์ไม่เป็นตัวเอง คอนเทนต์ก็จะไม่สนุก และอาจจะส่งผลต่อ Engagement

5. วัดผลให้ได้ กำหนดตัวชี้วัดเกณฑ์ความสำเร็จที่ชัดเจน เช่น online วัดผลผ่านการแทรค Offline ต้องทำ Correlation เพื่อหาความสัมพันธ์ในการใช้ KOL กับยอดขาย ส่วน KOL ไม่ใช่ one time marketing แต่จำเป็นต้องทำอย่างสม่ำเสมอจึงวัดผลได้ และที่สำคัญแบรนด์ไม่ควรมองข้ามการลงทุนกับอินฟลูเอนเซอร์กระแสที่มีค่าตัวสูง แม้จะกระตุ้นยอดขายได้เพียงครั้งเดียว ซึ่งหลายแบรนด์อาจมองว่าเหมือนจะไม่คุ้ม หรือขาดทุน แต่ทางกลับกัน การลงทุนดังกล่าวเป็นหนึ่งในการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ทำให้คนรู้จัก จดจำแบรนด์ได้ เปิดใจทดลองผลิตภัณฑ์ เพิ่มโอกาสการซื้อซ้ำ

 

“พร้อมกันนี้ แนวคอนเทนต์ทรงพลังเพิ่ม Engagement ให้แบรนด์คือหนึ่งในกลยุทธ์ที่สำคัญมากในการร่วมงานกับคอนเทนต์ครีเอเตอร์ ซึ่งแนวคิดที่แบรนด์ควรตระหนักคือ 1. ครีเอทีฟคอนเทนต์ที่ไม่เหมือนใคร แตกต่างอย่างมีไลฟ์สไตล์ 2. ตามเทรนด์ กระแสที่ถูกพูดถึงในช่วงเวลานั้น เทรนด์มาต้องทำเลย ก่อนตกเทรนด์ ไม่ว่าจะเป็น แอคติ้ง เพลง แฮชแท็ก กระแสต่าง ๆ ในโซเชียลแพลตฟอร์ม แต่ข้อควรระวัง คือต้องวิเคราะห์ภาพลักษณ์และความเหมาะสม เพราะไม่ใช่ทุกเทรนด์ที่แบรนด์จะเกาะกระแสได้ 3. Unknown fact การนำเสนอคอนเทนต์แบบที่คนไม่เคยรู้มาก่อน จะสร้างความน่าสนใจ 4. Build Discussion เช่น ทานหมี่หยก “ทีมลวก/ไม่ลวก” คอนเทนต์ที่ให้คนมาแสดงความคิดเห็นหรือถกเถียงกันต่อ และ 5. คอนเทนต์เหมาะกับ Platform เช่น Tiktok ต้องเสนอเป็นวิดีโอสั้น ๆ ดูเรียล Facebook เสนอเป็นภาพหรือ Photo album หรือ IG เน้นรูปสวย Reels ดูดีมีระดับตั้งแต่ภาพแรก” นายธนพล กล่าวเสริม

อย่างไรก็ดี หากแบรนด์ดำเนินกลยุทธ์การตลาดอย่างถูกต้อง จะสามารถขับเคลื่อนธุรกิจสู่ผลลัพธ์ตามเป้าหมายได้อย่างชัดเจน ยกตัวอย่างโชว์เคสของ YDM จากกลุ่มธุรกิจ Streaming Platform ดึง KOLอินฟลูเอน

เซอร์ ผสมคอนเทนต์ครีเอทีฟ สามารถสร้างผลลัพธ์เพิ่ม Engagement มากขึ้น 50% และเพิ่มยอด New streaming สูงที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในระยะเวลา 1 เดือน

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเกี่ยวกับการศึกษาและแนวทางการใช้กลยุทธ์คอนเทนต์ครีเอเตอร์ ที่สอดรับกับเทรนด์มาร์เก็ตติ้งในปี 2567 ได้ที่วายดีเอ็ม (ไทยแลนด์) https://www.ydmthailand.com

X

Right Click

No right click