November 05, 2024

เอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ SCGC ผู้นำธุรกิจพอลิเมอร์ครบวงจรเพื่อความยั่งยืน ร่วมกับ บริษัท คาโอ อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคและเคมีภัณฑ์ชั้นนำจากประเทศญี่ปุ่น ภายใต้แบรนด์สินค้า อาทิ แอทแทค บิโอเร ไฮเตอร์ มาจิคลีน ลอรีเอะ แฟซ่า ฯลฯ พัฒนาบรรจุภัณฑ์รีไซเคิลรักษ์โลกสำหรับผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม “แฟซ่า” (Feather) ผลิตจากเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง SCGC GREEN POLYMERTM ด้วยเทคโนโลยีรีไซเคิลจาก SCGC เพื่อผลิตเป็น บรรจุภัณฑ์ที่มีคาร์บอนฟุตพริ้นท์ต่ำ และสามารถรีไซเคิลได้ 100% มุ่งใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สู่วิถีสังคมคาร์บอนต่ำอย่างเป็นรูปธรรม โดยยังคงรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่อยู่ภายในและให้ความสะดวกกับผู้บริโภคได้เช่นเดิม  

นายยูจิ ชิมิซึ ประธานกรรมการ บริษัท คาโอ อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “หากพูดถึงคาโอ หนึ่งในสินค้าที่ทุกคนต้องรู้จักคือ แชมพูแบรนด์ “แฟซ่า” ที่อยู่คู่คนไทยมานานกว่า 60 ปี ซึ่งแฟซ่าเป็นสินค้าแรกที่คาโอจำหน่ายในประเทศไทย โดยมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่แฟซ่าแบบซองซึ่งอยู่ในรูปแบบผง และได้พัฒนามาตามยุคสมัยจนกลายมาเป็นรูปแบบปัจจุบัน ซึ่งนอกจากการพัฒนาสูตรเองแล้ว คาโอยังไม่หยุดยั้งในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อตอบโจทย์ด้านสิ่งแวดล้อม โดยในปี 2024 นี้ คาโอได้ปรับโฉมบรรจุภัณฑ์ใหม่โดยร่วมมือกับ SCGC ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีพลาสติกรีไซเคิลครบวงจร เพื่อพัฒนาขวดบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกสำหรับผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม “แฟซ่า” โดยเลือกใช้เม็ดพลาสติกรีไซเคิลประเภทพอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นสูง (High Quality PCR HDPE Resin) นับเป็นการชุบชีวิตพลาสติกใช้แล้วให้กลับมามีคุณค่าใหม่อีกครั้ง”  

นายศักดิ์ชัย ปฏิภาณปรีชาวุฒิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ SCGC กล่าวว่า “SCGC มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีรีไซเคิล และมีโซลูชันด้าน Green Polymer ที่หลากหลายเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่แตกต่างกันในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม เช่น บรรจุภัณฑ์  เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น โดย SCGC จะพัฒนาสูตรการผลิตและเทคโนโลยีให้เหมาะกับความต้องการโดยคำนึงถึงคุณภาพและสิ่งแวดล้อมควบคู่กัน สำหรับความร่วมมือกับคาโอนั้น SCGC ได้พัฒนาสูตรเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูงประเภทพอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นสูง (High Quality PCR HDPE Resin) จาก SCGC GREEN POLYMERTM ให้กับขวดแชมพูแฟซ่า เพื่อผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีคาร์บอนฟุตพริ้นท์ต่ำ สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ 100% และมีความปลอดภัย สามารถสัมผัสกับเนื้อผลิตภัณฑ์ภายในได้โดยไม่ส่งผลต่อคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์”  

ทั้งนี้ “ขวดแชมพูรักษ์โลกของแฟซ่า” เป็นดีไซน์ซึ่งสอดคล้องกับวิถีสังคมคาร์บอนต่ำ สามารถนำกลับมารีไซเคิลใหม่ได้ทุกชิ้นส่วน 100% เนื่องจากไม่มีการเติมแต่งสีในเนื้อพลาสติก นอกจากนี้ ในส่วนของฉลากยังออกแบบให้สามารถฉีกแยกออกได้ง่ายตามรอยประ เพื่อเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้ง่ายยิ่งขึ้น ช่วยลดปริมาณขยะพลาสติก และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ส่งผลต่อภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ยกระดับโรงงานด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ให้อุตสาหกรรมและชุมชนอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน

เอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ SCGC ผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมพอลิเมอร์เพื่อความยั่งยืน ร่วมกับ อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ สถาบันยานยนต์ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทย สู่การเป็นอุตสาหกรรมยานยนต์คาร์บอนต่ำ” เพื่อยกระดับศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดโลกให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมและผู้ผลิตชิ้นส่วนพลาสติกเพื่อยานยนต์ของไทย เดินหน้าพัฒนานวัตกรรมพอลิเมอร์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และนำดิจิทัลโซลูชันสู่อุตสาหกรรมยานยนต์อย่างครบวงจร เน้นการใช้พลังงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ขานรับนโยบายของภาครัฐที่ผลักดันให้ใช้วัสดุและชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศไทย เพื่อเป็นยานยนต์ที่ “สะอาด ประหยัด และปลอดภัย” สร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจควบคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อม พร้อมก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำอย่างเป็นรูปธรรม

  • ความร่วมมือระหว่าง SCGC และสถาบันยานยนต์ ได้แก่ การพัฒนานวัตกรรมพอลิเมอร์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสำหรับอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ และการพัฒนาวัสดุสำหรับแบตเตอรีรถยนต์ไฟฟ้า รองรับความนิยมใช้รถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภคที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง
  • การเปลี่ยนผ่านสู่การผลิตแบบใหม่ด้วยเทคโนโลยี Industrial and Digital Solutions เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในกระบวนการผลิตอย่างครบวงจร

ดร.สุรชา อุดมศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานปฏิบัติการ และประธานเจ้าหน้าที่สายงานนวัตกรรม SCGC เผยว่า “ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของอุตสาหกรรมยานยนต์ ถือเป็นอันดับ 1 ในอาเซียน ซึ่งการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์คาร์บอนต่ำ จะช่วยยกระดับศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดโลกได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป  ทั้งนี้ SCGC มีความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนานวัตกรรมพอลิเมอร์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Polymers) ตามแนวทาง Low Waste, Low Carbon  โดยได้พัฒนานวัตกรรมพอลิเมอร์เพื่อความยั่งยืนให้กับภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ อาทิ บรรจุภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งช่วยตอบโจทย์การใช้งาน พร้อมทั้งแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กัน สำหรับความร่วมมือกับสถาบันยานยนต์ในครั้งนี้  ได้แก่ 1) การพัฒนานวัตกรรมพอลิเมอร์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสำหรับอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ ครอบคลุมทั้งการออกแบบ การขึ้นรูป และการคำนวณคาร์บอน  2) พัฒนาวัสดุสำหรับแบตเตอรีรถยนต์ไฟฟ้า และ 3) นำความเชี่ยวชาญด้านดิจิทัลโซลูชันสำหรับภาคอุตสาหกรรม (Industrial & Digital Solutions) จาก REPCO NEX ในกลุ่มธุรกิจ SCGC มาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในกระบวนการผลิตอย่างครบวงจร พร้อมทั้งช่วยผลักดันสู่ยานยนต์เพื่อความยั่งยืน เน้นการใช้พลังงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์”

ดร.เกรียงศักดิ์ วงศ์พร้อมรัตน์ ผู้อำนวยการ สถาบันยานยนต์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “สถาบันยานยนต์มีความตั้งใจที่จะผลักดันวงการยานยนต์สู่การเป็น Future Mobility ไปพร้อมกับการพัฒนาวัสดุในการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งในปัจจุบัน อุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านจากการผลิตแบบดั้งเดิม เป็นการผลิตแบบใหม่ที่มุ่งเน้นการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ รวมทั้งสอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐที่ผลักดันให้ใช้วัสดุและชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศไทย เพื่อเป็นยานยนต์ที่ “สะอาด ประหยัด และปลอดภัย” สร้างความยั่งยืนให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ควบคู่ไปกับการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชน  การร่วมมือกับ SCGC ในครั้งนี้ เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการใช้องค์ความรู้ทางนวัตกรรมพอลิเมอร์และดิจิทัลโซลูชันมาช่วยเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถของผู้ประกอบการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย ให้เกิดความยั่งยืนทางเศรษฐกิจควบคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อม เพื่อก้าวไปสู่การเป็นอุตสาหกรรมยานยนต์คาร์บอนต่ำอย่างเป็นรูปธรรม”

บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ เอสซีจีซี (SCGC) พร้อมด้วย บริษัท มาบตาพุด แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด ในกลุ่มธุรกิจ SCGC  ร่วมกับจังหวัดระยอง เทศบาลเมืองมาบตาพุด และกลุ่มประมงเรือเล็กพื้นบ้าน จัดกิจกรรมตลาดนัดชุมชน “ชอป ชิม ริมเล” หวังกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนและการท่องเที่ยวบริเวณปากคลองตากวนและชุมชนใกล้เคียง โดยเปิดตลาดนัดเพื่อเป็นพื้นที่ขาย สร้างรายได้ให้กับกลุ่มประมงเรือเล็กพื้นบ้าน กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ร้านค้า และผู้ประกอบรายย่อย จำนวนกว่า 60 ร้านค้า ระหว่างวันที่ 26 - 30 มิถุนายน 2567 โดยเริ่มเปิดตลาดตั้งแต่เวลา 16.00 – 22.00 น. ณ ปากคลองตากวน หาดสุชาดา จังหวัดระยอง

นายมงคล เฮงโรจนโสภณ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานปฏิบัติการ บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC กล่าวว่า “SCGC มีแนวทางและเจตนารมย์ที่จะช่วยผลักดันและพัฒนาให้จังหวัดระยองเป็นเมืองที่น่าอยู่ อุตสาหกรรมและชุมชนเติบโตไปด้วยกัน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สำหรับปากคลองตากวนซึ่งเป็นสถานที่จัดงานในปีนี้ เป็นหนึ่งในอัตลักษณ์สำคัญของระยอง ซึ่งเต็มไปด้วยเรื่องราวของวิถีชีวิตประมงพื้นบ้านจากรุ่นสู่รุ่นสืบต่อกันมายาวนาน พร้อมกับการประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านด้วยจิตสำนึกรักและดูแลสิ่งแวดล้อมทางทะเล ทำให้พื้นที่แห่งนี้อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งอาหารทะเลและแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ จึงขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวให้ลองมาสัมผัสกับวิถีชีวิตของประมงพื้นบ้านให้มากยิ่งขึ้น พร้อมรับประทานอาหารทะเลสด ๆ จากเมืองระยอง”

นายอนุสรณ์ แสงกล้า นายอำเภอเมืองระยอง กล่าวว่า “จังหวัดระยองพร้อมสนับสนุนส่งเสริมทุกกิจกรรมและทุกช่องทางที่จะช่วยให้ชาวระยองเติบโตทางด้านเศรษฐกิจไปพร้อม ๆ กับภาคอุตสาหกรรม นับเป็นโอกาสอันดีที่จะได้ช่วยกันสนับสนุนสินค้าจากชาวระยอง รวมทั้งอาหารทะเลที่สด ใหม่ สะอาด และสินค้าจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่มีคุณภาพ นอกจากนี้ ในด้านการท่องเที่ยวนั้น ชายหาดในเมืองระยองมีความสวยงามแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ ซึ่งเป็นจุดเด่น และจุดขายที่จะช่วยให้นักท่องเที่ยวได้รับประสบการณ์ที่แตกต่าง และกลับมาท่องเที่ยวอีกครั้ง หรือต่อยอดเป็นการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน ที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและช่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อม”

นายถวิล โพธิบัวทอง นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองมาบตาพุด กล่าวว่า “เทศบาลเมืองมาบตาพุดอยู่คู่กับโรงงานอุตสาหกรรมมาอย่างยาวนาน คนมาบตาพุดได้ร่วมทำประโยชน์กับภาคอุตสาหกรรมมาโดยตลอด ทั้งการส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อมและการสนับสนุนการสร้างรายได้ให้ชุมชน การจัดงานในวันนี้ พิสูจน์ให้เห็นว่า พื้นที่รอบโรงงานอุตสาหกรรม มีความสวยงามที่สามารถเป็นจุดท่องเที่ยวได้เช่นกัน มาซื้อสินค้าอาหารทะเลที่มีคุณภาพ พร้อมๆ ไปกับการชมวิวธรรมชาติที่สวยงาม เป็นเอกลักษณ์ ไม่แพ้พื้นที่อื่น ๆ ในระยอง  เทศบาลเมืองมาบตาพุดจึงร่วมกับ SCGC จัดตลาดนัดชุมชนครั้งนี้ขึ้น เพื่อให้คนได้มาท่องเที่ยวและซื้อสินค้าของชุมชน ทั้งจากกลุ่มประมงเรือเล็กพื้นบ้าน วิสาหกิจชุมชน และร้านค้ารายย่อยโดยรอบ ซึ่งจะช่วยให้คนรู้จักพื้นที่นี้ รู้จักของดีในมาบตาพุด และมาท่องเที่ยวหลังจากนี้อย่างต่อเนื่อง”

ตลาดนัดชุมชน “ชอป ชิม ริมเล” นอกจากจะมีสินค้าและอาหารจำหน่ายอย่างหลากหลายแล้ว  ยังมีกิจกรรมบนเวทีเพื่อสร้างความสนุกสนานอีกมากมาย อาทิ การแข่งขันทำอาหาร แข่งขันรับประทานอาหารทะเล เป็นต้น รวมทั้งไฮไลต์ที่จัดมาเป็นพิเศษเอาใจสายกิน คือ บุฟเฟต์อาหารทะเล ราคา 99 บาท พร้อมบริการปิ้ง ย่าง ยำ และน้ำจิ้มรสเด็ด (รับจำนวนจำกัด) ซึ่งเงินที่ได้จากการจำหน่ายบุฟเฟต์โดยไม่หักค่าใช้จ่าย SCGC จะมอบให้กับประมงจังหวัดเพื่อนำไปซื้อพันธุ์สัตว์น้ำสำหรับปล่อยสู่ระบบนิเวศทางทะเลเพื่อสร้างสมดุลทางธรรมชาติต่อไป

นอกจากนี้ ในงานดังกล่าว SCGC ยังได้นำพนักงานจิตอาสามาเก็บขยะชายหาดตลอดสัปดาห์ เพื่อทัศนียภาพที่สวยงาม รวมทั้งมีการคัดแยกขยะจากบริเวณงานเพื่อเข้าสู่กระบวนการจัดการที่ถูกต้อง โดยจะนำไปรีไซเคิลเพื่อสร้างประโยชน์ต่อไปตามแนวทาง ESG

Page 1 of 10
X

Right Click

No right click