January 22, 2025

ในยุคปัจจุบันที่สภาพภูมิอากาศผันแปรอย่างรวดเร็ว อาจนำมาสู่การสูญพันธุ์ครั้งที่ 6 ของสิ่งมีชีวิต ทุกภาคส่วนจึงต้องตื่นตัว รวมถึงภาคธุรกิจ หากตระหนักและใส่ใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จะเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญและช่วยให้ธุรกิจยั่งยืนได้ finbiz by ttb จึงชวนผู้ประกอบการมาทำความเข้าใจและจัดเก็บข้อมูลเพื่อจัดการคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร ให้ธุรกิจสามารถจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างถูกต้องตรงจุด และเสริมภาพลักษณ์ที่แข็งแกร่งให้กับองค์กร

การสูญพันธุ์ครั้งที่ 6 สัญญาณเตือนที่ไม่ควรมองข้าม

โลกได้เผชิญกับการสูญพันธุ์มาแล้วถึง 5 ครั้ง ซึ่งในแต่ละครั้งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การปะทุของภูเขาไฟที่เป็นไปโดยธรรมชาติ และอีก 1 ครั้งจากการชนโลกของอุกกาบาตขนาดใหญ่ และในครั้งนี้ที่โลกกำลังเผชิญกับการสูญพันธุ์ครั้งที่ 6 ซึ่งจะมีอัตราการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตเร็วกว่าปกติถึง 100-1,000 เท่า และมีการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ของสภาพแวดล้อมเร็วกว่าการทำนายโดยสถิติที่เคยคาดการณ์ไว้ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รวดเร็วด้วยอัตราความเร่งที่สูงกว่าอดีต ซึ่งสาเหตุหลักมาจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การตัดไม้ทำลายป่าและการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล ปัญหานี้ไม่ได้กระทบเฉพาะธรรมชาติ แต่ยังส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจและการดำเนินธุรกิจอย่างชัดเจน ธุรกิจจึงต้องเริ่มปรับตัวตั้งแต่วันนี้ ก่อนที่จะต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่คาดไม่ถึงและกฎระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ที่จะมีเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต

พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป เมื่อความยั่งยืนของโลกคือสิ่งที่ลูกค้าต้องการ

อีกหนึ่งปัจจัยที่ธุรกิจต้องให้ความสนใจด้านสิ่งแวดล้อม คือ พฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของความยั่งยืนในธุรกิจมากขึ้น ผลสำรวจจาก Nielsen ในปี 2023 พบว่า 73% ของผู้บริโภคทั่วโลกยินดีจ่ายเงินเพิ่มเพื่อสนับสนุนแบรนด์ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะกลุ่ม Gen Z และ Millennials ที่มองว่าความยั่งยืนไม่ใช่แค่ “ตัวเลือก” แต่เป็น “มาตรฐาน” เช่น การตัดสินใจซื้อสินค้าจากแบรนด์ที่ลดการใช้พลาสติก หรือมีการชดเชยคาร์บอน (Carbon Offset) ธุรกิจที่ไม่ปรับตัวให้สอดคล้องกับแนวโน้มนี้ อาจเสี่ยงเสียส่วนแบ่งตลาดให้กับคู่แข่งที่นำเสนอมูลค่าด้านความยั่งยืนได้ดีกว่า

ความสมดุลระหว่าง ต้นทุน กำไร และความเสี่ยง คือหัวใจความยั่งยืนของธุรกิจ

การผสมผสานเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมเข้ากับกลยุทธ์ทางธุรกิจ ไม่ได้แค่สร้างภาพลักษณ์ที่ดีและมีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภค แต่ยังช่วยลดต้นทุนระยะยาว และรักษาสมดุลของต้นทุน กำไร และความเสี่ยง เช่น การใช้พลังงานทดแทนหรือการปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นเกราะป้องกันความเสี่ยงที่เกิดจากกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดขึ้น จึงเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้เป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม กลายเป็นความยั่งยืนทั้งของโลกและของธุรกิจ

ก๊าซเรือนกระจก 7 ชนิด ที่ธุรกิจต้องลดให้ได้

ก๊าซเรือนกระจกที่มีบทบาทสำคัญในการเพิ่มอุณหภูมิโลก ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ คิดเป็น 74% ของก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด มาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง มีเทน เกิดจากภาคเกษตรกรรมและการทิ้งขยะ ไนตรัสออกไซด์ มาจากปุ๋ยเคมีและการผลิตอุตสาหกรรม กลุ่มก๊าซเปอร์ฟลูออไรคาร์บอน เกิดจากกระบวนการถลุงอะลูมิเนียม และใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิต กลุ่มก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน ที่ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องทำความเย็น ไนโตรเจนไตรฟลูออไรด์ อยู่ในกระบวนการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ นำมาใช้เป็นฉนวนไฟฟ้าจากอุปกรณ์สวิตช์ไฟฟ้าแรงสูง หากธุรกิจสามารถวิเคราะห์และลดการปล่อยก๊าซเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การลดใช้พลังงานที่มาจากฟอสซิล ก็จะช่วยลดต้นทุนในกระบวนการผลิตและเพิ่มโอกาสทางธุรกิจในระยะยาวได้

ก๊าซเรือนกระจกในขอบเขตขององค์กร

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรสามารถแบ่งเป็น 3 Scope ที่สำคัญ ธุรกิจต้องทำความเข้าใจในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแต่ละ Scope จึงจะดูแลได้อย่างตรงจุด

  • Scope 1: การปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยตรง การปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกทางตรงจากกิจกรรมของธุรกิจเอง เห็นได้ง่าย ๆ คือ มีควันออกมาจากปล่อง มีการรั่วออกมาโดยตรง
  • Scope 2: การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมที่ถูกซื้อมา การปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงาน ที่องค์กรของเราซื้อหรือนำเข้ามาโดยที่องค์กรไม่ได้ผลิตเอง มีทั้งหมด 5 รายการ ได้แก่ ไฟฟ้า ไอน้ำ ความร้อน ความเย็น และ อากาศอัด
  • Scope 3: การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่น ๆ การปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่น ๆ เช่น จากซัพพลายเชนของธุรกิจ

 

คาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร สิ่งที่ทุกธุรกิจต้องใส่ใจ

การจัดการคาร์บอนองค์กร เช่น การตั้งเป้า Net Zero หรือการพัฒนาสินค้าคาร์บอนต่ำ ไม่เพียงสร้างความยั่งยืนในสายตาของผู้บริโภค แต่ยังเพิ่มความน่าสนใจให้กับนักลงทุนที่มองหาองค์กรที่มีเป้าหมายระยะยาวที่ชัดเจน บริษัทใหญ่หลาย ๆ บริษัทมีเป้าหมายที่ชัดเจน เช่น ตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากผลิตภัณฑ์ทุกชิ้นให้เป็นศูนย์ภายในปีที่กำหนด ซึ่งนอกจากจะเป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อมแล้วยังช่วยเสริมภาพลักษณ์ที่เข้มแข็งของธุรกิจในตลาดโลก ธุรกิจที่ตื่นตัวและเร่งใส่ใจด้านสิ่งแวดล้อม ไม่เพียงสร้างความเชื่อมั่นในระยะสั้นให้ผู้บริโภค แต่ยังช่วยปูทางสู่ความสำเร็จในอนาคตที่ยั่งยืนและเติบโตได้อย่างมั่นคง

ขั้นตอนสู่การจัดการคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร

ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดขอบเขตองค์กร แบบควบคุมทางการเงินและควบคุมการดำเนินงาน หรือ แบบปันส่วนตามกรรมสิทธิ์ และการกำหนดขอบเขตการดำเนินงานตาม 3 Scope

ขั้นตอนที่ 2 การระบุกิจกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในขอบเขตและ Value Chain ขององค์กร

ขั้นตอนที่ 3 การจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมและแหล่งที่มาของก๊าซเรือนกระจก

ขั้นตอนที่ 4 การคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ขั้นตอนที่ 5 วิเคราะห์ข้อมูลกิจกรรมและค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อปรับปรุงคุณภาพข้อมูล การจัดลำดับความสำคัญของกิจกรรมตามความเกี่ยวข้องและนัยยะสำคัญขององค์กร

ขั้นตอนที่ 6 รายงานและทวนสอบ จัดทำรายงานเพื่อแสดงแหล่งที่มาและกิจกรรมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการตรวจสอบโดยองค์กรภายนอกที่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

ขั้นตอนที่ 7 ขึ้นทะเบียน ผู้ตรวจสอบจะออกรายงานการทวนสอบ และถ้อยแถลงส่งมาที่องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ซึ่งจะพิจารณาอนุมัติขึ้นทะเบียนคาร์บอนฟุตพริ้นท์และออก Certificate เพื่อรับรองว่าองค์กรปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่าไหร่ในแต่ละ Scope

การจัดการคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรเป็นก้าวแรกของการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นธุรกิจที่ยั่งยืน เพื่อนำไปสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ เพื่อให้องค์กรรู้ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่แท้จริง และจัดการก๊าซเรือนกระจกได้ถูกต้องตรงจุด อันจะส่งผลระยะยาวกับความยั่งยืนของโลกและธุรกิจ ทั้งนี้ปัจจุบันมีแหล่งเงินทุนสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่ความยั่งยืนที่ธุรกิจสามารถเข้าถึงได้ง่าย เพื่อสร้างความยั่งยืนของโลกและให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน

ปัจจุบันธุรกิจในไทยมีหลากหลายขนาด ซึ่งหลาย ๆ บริษัทเติบโตมาจากธุรกิจครอบครัว แต่กว่าจะเติบโตมาเป็นบริษัทที่มั่นคงได้นั้นจะต้องผ่านเรื่องราวต่าง ๆ มากมาย  finbiz by ttb ได้รวบรวมประสบการณ์และกลยุทธ์ของบริษัทที่เติบโตจากธุรกิจครอบครัวสู่การเป็นบริษัทที่แข็งแกร่ง จนสามารถแข่งขันในตลาดอาเซียนได้ มาแบ่งปันสูตรความสำเร็จไว้ดังนี้

โจทย์มีไว้แก้ไข เป้าหมายมีไว้พุ่งชน ธุรกิจครอบครัวที่ดำเนินการมาอย่างยาวนาน มีเป้าหมายที่จะขยายธุรกิจให้ก้าวไปสู่ตลาดอาเซียนและตลาดโลกในอนาคต ซึ่งความท้าทายหลัก ๆ ได้แก่

  • การทำงานร่วมกันในครอบครัว ต้องปราศจากความขัดแย้งและไปกันได้ด้วยดี
  • การสร้างนวัตกรรมและปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพ
  • การจัดการกับพอร์ตโฟลิโอและซัพพลายเชน ที่มีความหลากหลายและซับซ้อน

รู้ปัญหาที่แท้จริงก่อนการทรานส์ฟอร์ม ปัญหาที่พบในธุรกิจซึ่งมีความซับซ้อนมากขึ้น มักเกิดจากการขาดการสื่อสารที่ดีในองค์กร ขาดการทำงานที่มีประสิทธิภาพระหว่างหน่วยงาน การใช้ข้อมูลที่ไม่เกิดประสิทธิภาพ และความไม่เชื่อใจระหว่างหน่วยงานหรือคนทำงาน ไม่กล้าปรับเปลี่ยนสิ่งที่ทำมาตลอด ดังนั้นการทรานส์ฟอร์ม ต้องเริ่มจาก

  1. การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ในองค์กรด้วยเป้าหมายที่ชัดเจน
  2. การรักษาสมดุลระหว่างหน่วยงาน ด้วยการตั้ง KPI ที่ชัดเจนและสอดคล้องไปกับเป้าหมายองค์กร
  3. การมีข้อมูลที่ถูกต้องและสอดคล้องกันในทุกภาคส่วน
  4. การให้ความไว้วางใจกัน โดยลด “ค่าเผื่อ” ออกทุก ๆ กิจกรรม
  5. การลงไปดูหน้างานจริงเพื่อตรวจสอบข้อมูล โดยจะเป็นการสะท้อนปัญหาและตรวจเช็คความถูกต้องของข้อมูล
  6. ยอมรับความคิดเห็นใหม่ ๆ และพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนตัวเองและองค์กรอยู่เสมอ

สร้าง LEAN เป็นวัฒนธรรมองค์กร “หาเงินข้างนอก 1 บาท ยากกว่าการลดต้นทุน 1 บาทในโรงงาน” คำกล่าวนี้ถือเป็นหนึ่งในแนวคิด LEAN คือ การมุ่งเน้นเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดในการผลิต ซึ่งการบริหารจัดการธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ผู้บริหารจะต้องสามารถสร้าง LEAN ให้เป็นวัฒนธรรมองค์กรได้ ดังนี้

  1. สร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจในทีมงาน
  2. เริ่มต้นจากการปรับปรุงกระบวนการที่ทำได้ทันทีและมีผลกระทบเชิงบวกสูง
  3. วัดผลและติดตามการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
  4. ชมเชยและให้รางวัลแก่คนที่ทำงานดีทันทีและเหมาะสม
  5. ลงทุนในข้อมูลที่ถูกต้อง และลงทุนกับการใช้ข้อมูลให้เป็นประโยชน์
  6. เปิดโอกาสและเปิดใจให้ทีมงานได้ปรับปรุงและทดลองทำสิ่งใหม่ ๆ
  7. เปลี่ยนความสัมพันธ์เป็นความร่วมมือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในซัพพลายเชน ทั้งการทำงานภายในองค์กร และภายนอกองค์กร

การนำแนวคิด LEAN มาใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจครอบครัว จะทำให้สามารถปรับปรุงกระบวนการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพ และลดต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิผล ทำให้ธุรกิจครอบครัวสามารถเติบโตและขยายไปสู่ตลาดที่กว้างขึ้นได้อย่างมั่นคง 


ที่มา : จากหลักสูตร “LEAN for Sustainable Growth by ttb” รุ่นที่ 19 สำหรับอุตสาหกรรมเฮลท์แคร์ (Healthcare) แหล่งรวมเรื่องราวความรู้ดี ๆ ที่ SME ไม่ควรพลาด ที่ finbiz by ttb (Link >https://www.ttbbank.com/link/pr/finbiz)

ปัจจุบันมี SME เกิดขึ้นมากมาย แต่ทราบหรือไม่ว่า SME ที่เปิดกิจการใหม่ในแต่ละปีจะอยู่รอดเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น ด้วยเหตุผลหลาย ๆ ประการ แต่หนึ่งในเหตุผลที่สำคัญก็คือ การที่ธุรกิจยังไม่ได้เข้าไปอยู่ในดวงใจของลูกค้านั่นเอง  finbiz by ttb จึงจะพาไปสำรวจความต้องการของลูกค้าในยุคปัจจุบัน และเสนอตัวช่วยที่จะทำให้ SME สามารถวิเคราะห์ลูกค้าได้อย่างแม่นยำ ทำแต่สิ่งที่โดนใจลูกค้า ทำให้ SME ธรรมดากลายเป็นธุรกิจที่อยู่ในดวงใจของลูกค้าได้ไม่ยาก

สิ่งที่ลูกค้าสมัยนี้ต้องการ คืออะไร

ก่อนอื่นผู้ประกอบการ SME ต้องเข้าใจสิ่งที่ลูกค้าในยุคปัจจุบันว่าต้องการในทุกแง่มุม ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าจากแบรนด์ต่าง ๆ ดังนี้

1) ลูกค้าเลือกแบรนด์จากมุมมองของสังคม ซึ่งมีผลวิจัยระบุว่า ลูกค้า 84% สนใจภาพลักษณ์ในสิ่งที่สังคมมองมาที่แบรนด์ ดังนั้น แบรนด์จึงต้องนำเสนอตัวเองได้อย่างชัดเจน มีจุดยืน และต้องแน่ใจว่านั่นคือจุดยืนที่ลูกค้าของแบรนด์ต้องการ

2) ธุรกิจต้องตอบสนองลูกค้าได้ตั้งแต่ต้นจนจบ ธุรกิจต้องเสนอสินค้าและบริการที่ครบวงจร การซื้อขายต้องตอบสนองลูกค้าได้ตั้งแต่ต้นจนจบในเส้นทางการตัดสินใจของลูกค้า รวมไปถึงบริการหลังการขายด้วย

3) ใส่ใจสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เพราะลูกค้ายุคใหม่มีความตระหนักในเรื่องสุขภาพและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งให้ความสำคัญกับความยั่งยืนมากขึ้น ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการ

4) ให้คุณค่ากับสุขภาพองค์รวม ผู้บริโภคยุคใหม่ให้คุณค่ากับสุขภาพองค์รวม ทั้งร่างกาย จิตใจ และคุณค่าต่อสังคม ดังนั้นธุรกิจจึงต้องให้ความสำคัญทั้งด้านคุณภาพสินค้า คุณภาพชีวิตของผู้บริโภคและสังคมโดยรอบ

ดังนั้น จะเห็นได้ว่าความต้องการของลูกค้าในยุคปัจจุบัน ไม่ได้หยุดอยู่ที่ความต้องการสินค้า หรือการตอบสนองความต้องการใช้งานสินค้าเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีเรื่องของภาพลักษณ์องค์กร ความเข้าอกเข้าใจ สิ่งที่แบรนด์นำเสนอ จริยธรรม และองค์ประกอบอื่น ๆ ซึ่ง SME จะเป็นแบรนด์ที่โดนใจได้ก็ต่อเมื่อธุรกิจสามารถวิเคราะห์ลูกค้ารายบุคคลได้อย่างเข้าอกเข้าใจนั่นเอง

ประเด็นสำคัญที่ SME ต้องวิเคราะห์ให้ถูกต้อง

การจะเป็นแบรนด์ที่เข้าอกเข้าใจลูกค้านั้น มี 4 มิติสำคัญหลัก ๆ ที่ SME จะต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ ดังนี้

1) ต้องเห็นภาพรวมของร้านค้าตัวเอง ถ้าร้านค้าเห็นภาพรวมที่ผ่านมา จะทำให้สามารถวิเคราะห์แนวโน้มการขายในอนาคต และเห็นลักษณะของลูกค้า ซึ่งนำไปสู่การวิเคราะห์ได้ถึงแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

2) ช่วงเวลาไหน ยอดขายเป็นอย่างไร เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถจัดสรรทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปได้ และช่วงเวลาที่ขายดีก็สามารถเพิ่มโปรโมชันที่เร้าใจเข้าไปได้อีกด้วย

3) รู้สินค้าเรือธงของร้านค้า หากร้านค้าสามารถวิเคราะห์ได้ถึงแนวโน้มความต้องการของลูกค้า ก็จะสามารถทำให้ธุรกิจจับสินค้าเรือธงได้อย่างถูกต้อง และทำการกระตุ้นได้ตรงใจลูกค้า

4) แยกพฤติกรรมลูกค้าแต่ละกลุ่มได้ เพื่อให้ธุรกิจสามารถเลือกกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจน หรือนำเสนอสินค้าและบริการได้ตรงใจ และมีความเข้าใจลูกค้าในแต่ละกลุ่ม

ตัวช่วยดี มีชัยในการวิเคราะห์ลูกค้าได้อย่างแม่นยำ

สำหรับ SME แล้ว การหาตัวช่วยวิเคราะห์ดี ๆ ก็มักจะมีค่าใช้จ่ายตามมา ซึ่งเป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ธุรกิจสามารถเข้าถึง Analytic Report ดี ๆ ได้ไม่ยาก จากเครื่องมือของสถาบันทางการเงินที่รู้และเข้าใจความสำคัญของการวิเคราะห์ลูกค้า อย่างทีทีบี ที่มีแอปพลิเคชันระบบการจัดการร้านค้า ttb smart shop ที่ได้พัฒนาต่อยอดให้มีฟีเจอร์ตัวช่วยใหม่อย่าง ttb smart shop analytic report ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าใจและเห็นภาพรวมเชิงลึกของธุรกิจในมิติต่าง ๆ ที่ตอบสนองทั้ง 4 มิติที่สำคัญ โดยจะช่วยให้ธุรกิจเห็นภาพรวมร้านค้า รู้ช่วงเวลาการขาย รู้ว่าสินค้าไหนขายดี และยังแสดงข้อมูลลูกค้าขาประจำและขาจร โปรไฟล์ลูกค้าและพฤติกรรมการซื้อของลูกค้าได้อีกด้วย ttb smart shop analytic report จึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ธุรกิจเข้าถึงข้อมูลการขายรายเดือนในเชิงลึก ครบทุกมิติ และยังไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับผู้ประกอบการที่ใช้งานแอปพลิเคชันจัดการร้านค้า ttb smart shop

นอกจากนั้น ttb smart shop ยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้การทำธุรกิจเป็นไปอย่างคล่องตัว ลดต้นทุนและมีประสิทธิภาพสูงสุด อาทิ เงินเข้าบัญชีทันทีเมื่อรับชำระเงินผ่าน QR Code ได้จากทุกธนาคาร พร้อมมีบริการแจ้งเตือนเงินเข้า โดยแยกยอดเงินเข้าแต่ละยอดอย่างชัดเจน มีรายงานสรุปการขาย สามารถเลือกดูตามช่วงเวลาได้ตลอดตามความต้องการ และมีรายงานรายวันที่มีข้อมูลครบ รอบด้าน ในรูปแบบ Excel ส่งให้ทางอีเมลโดยอัตโนมัติ สามารถกำหนดและตั้งค่าสิทธิ์ของพนักงานได้อย่างไม่จำกัด จึงมีความคล่องตัวสำหรับธุรกิจที่มีหลายสาขา หรือพนักงานที่มีการรับเงินหลายตำแหน่ง พร้อมทั้งสามารถกดขอป้าย QR Code ผ่านแอปได้ โดยไม่ต้องเดินทางไปสาขาธนาคาร

ผู้ประกอบการ SME ที่สนใจแอปพลิเคชันระบบการจัดการร้านค้า ttb smart shop สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เจ้าหน้าที่บริหารความสัมพันธ์ลูกค้าธุรกิจของท่าน (หากท่านเป็นลูกค้าธุรกิจของทีทีบี) หรือติดต่อศูนย์บริการลูกค้าธุรกิจ ทีเอ็มบีธนชาต โทร. 0 2643 7000 วันจันทร์ถึงวันเสาร์ เวลา 08:00 - 20:00 น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ และวันหยุดธนาคาร

ธนาคารไทยพาณิชย์ จัดงานสัมมนา “Digital Marketing Trends 2024 เจาะลึก AI ช่วยการตลาดธุรกิจ SME” ณ ศูนย์ฝึกอบรมตะวันรอน จ.ชลบุรี เพื่อสานต่อภารกิจเสริมแกร่งเอสเอ็มอีด้วยการนำปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาเพิ่มประสิทธิภาพในการทำการตลาดให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า กลุ่ม ลูกค้า Supply chain ให้เริ่มเตรียมพร้อมปรับตัวใช้นำปัญญาประดิษฐ์ (AI) ช่วยธุรกิจ SME พร้อมกับแนะเคล็ดลับการเลือกใช้ AI อย่างเหมาะสมและทันสถานการณ์ ตอบสนองความสนใจของผู้บริโภคได้อย่างแม่นยำ ขยายโอกาสในการเพิ่มยอดขายให้ปัง และสร้างแต้มต่อในการแข่งขัน โดยมี นางกนกวรรณ ใจศรี ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน SME Upcountry 1 ธนาคารไทยพาณิชย์ ให้การต้อนรับ

ภายในงานสัมมนา ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ร่วมรับฟังการบรรยายจากผู้เชี่ยวชาญที่มาวิเคราะห์เจาะลึกภาพรวมธุรกิจในปีนี้ จาก นางสาวชญานิศ สมสุข และ นางสาววรรณโกมล สุภาชาติ นักวิเคราะห์ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ ธุรกิจธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ในหัวข้อ “เจาะลึก Trends ธุรกิจในปี 2024” พร้อมทั้งเรียนรู้การตลาดดิจิทัลและการใช้ AI ช่วยในเรื่องการตลาดเพื่อให้ธุรกิจไปได้ในยุคปัจจุบัน จาก ดร.ชินาวุธ ชินะประยูร ผู้ช่วยผู้อำนวยการ (กลุ่มงานส่งเสริมระบบนิเวศเศรษฐกิจดิจิทัล) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) และการใช้เครื่องมือ AI ด้าน Digital Marketing เพิ่มยอดขายอย่างไรให้ปัง จาก นายชนกานต์ ชินชัชวาล CEO และ Founder บริษัท โรโบลิงโก้ จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้ AI Chatbot และ Automation Platform สำหรับการตลาดใน Social Media นายอดิศักดิ์ จิระกิตติดุลย์ Business Development Manager บริษัท ช็อคโก้ คาร์ด เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มด้าน CRM และการตลาดดิจิทัล นอกจากนี้ยังได้รับฟังประสบการณ์ตรงจาก ดร.พงศ์ศักดิ์ ตฤณธวัช Head of Robinhood Academy บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด ที่มาบอกเล่ากรณีศึกษา แบรนด์ที่ใช้ Digital Marketing จนประสบความสำเร็จ

ปัจจุบันกระแส ESG กำลังกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก ธุรกิจยุคใหม่จึงต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับแนวทางนี้ โดยหลังจากประเทศไทยได้ประกาศเป้าหมายจะเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065 ซึ่งจะส่งผลต่อนโยบายและกลยุทธ์ต่าง ๆ ของภาครัฐ รวมไปถึงการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐด้วย

สำหรับ SME ที่ต้องการคว้าโอกาสทางธุรกิจกับภาครัฐที่มีมูลค่าการจัดซื้อจัดจ้างสูงถึง 12% ของ GDP ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว และ 30% ของ GDP ในประเทศกำลังพัฒนาหลายแห่งจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม และด้วยภาครัฐกำลังให้ความสำคัญกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) นำมาสู่แนวทางการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐอย่างยั่งยืน  finbiz by ttb จึงขอแนะโอกาสสำหรับ SME ที่มีความรับผิดชอบ โปร่งใส และยั่งยืนตามแนวคิด ESG เพื่อให้สามารถกุมความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจบนเวทีภาครัฐเอาไว้ได้

 ทำไม ESG ถึงสำคัญสำหรับ SME

  1. นโยบายภาครัฐ ภาครัฐกำลังให้ความสำคัญกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SGDs) การสร้างหลักประกันให้มีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนที่กำหนดโดยสหประชาชาติ จึงส่งเสริมแนวปฏิบัติด้านการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐที่ยั่งยืน โดยกำหนดให้หน่วยงานภาครัฐให้ความสำคัญกับการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการจากผู้ประกอบการที่คำนึงถึง ESG
  2. เทรนด์โลก นักลงทุนและผู้บริโภคทั่วโลกให้ความสำคัญกับ ESG มากขึ้น ธุรกิจที่ไม่คำนึงถึง ESG อาจสูญเสียโอกาสทางธุรกิจ
  3. การเติบโตอย่างยั่งยืน ESG ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับธุรกิจ เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ลดความเสี่ยงและสร้างความยั่งยืนในระยะยาว

จากปัจจัยดังกล่าว SME ที่มีความรับผิดชอบ โปร่งใส และยั่งยืนตามแนวคิด ESG จึงมีความได้เปรียบบนเวทีการค้ากับภาครัฐ ซึ่งส่งผลดีต่อธุรกิจอย่างยั่งยืน

  1. โอกาสทางธุรกิจ ภาครัฐมีงบประมาณการจัดซื้อจัดจ้างที่แน่นอนต่อปี ทำให้ SME สามารถนำเสนอสินค้าและบริการที่มี คุณภาพ ราคา และ มาตรฐานการผลิตต่าง ๆ รวมไปถึงมาตรฐานองค์กร และแนวคิดด้าน ESG จะช่วยเสริมสร้างโอกาสให้สามารถคว้างานจากภาครัฐได้มากขึ้น
  2. ข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน SME ที่ดำเนินการด้าน ESG จะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความมั่นใจให้กับภาครัฐว่าธุรกิจนั้นมีความรับผิดชอบ โปร่งใส และยั่งยืน
  3. การเข้าถึงแหล่งเงินทุน ธนาคารและสถาบันการเงินต่าง ๆ สนับสนุน SME ที่มีการดำเนินการด้าน ESG ผ่านสินเชื่อและผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจ

สำหรับการดำเนินการด้าน ESG สำหรับ SME แบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อม (E : Environment)

ลดการใช้พลังงาน จัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ และสนับสนุนการใช้สินค้ารีไซเคิล ด้านสังคม (S : Social) ดูแลพนักงานอย่างเป็นธรรม สนับสนุนชุมชนท้องถิ่น ส่งเสริมความหลากหลายและการรวมเข้าด้วยกัน และด้านธรรมาภิบาล (G : Governance) ดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส ป้องกันการคอร์รัปชัน การไม่สนับสนุนการทุจริตใด ๆ มีระบบตรวจสอบภายในที่มีประสิทธิภาพ

เพิ่มโอกาสให้ SME เข้าถึงการเป็นคู่ค้ากับภาครัฐด้วยสินเชื่อธุรกิจที่เข้าใจ

เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจเข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้าง สนับสนุนการส่งมอบงานให้ได้เป็นคู่ค้ากับภาครัฐมากขึ้น SME ควรมีสถาบันทางการเงินที่เข้าใจลักษณะของธุรกิจและการทำงานกับภาครัฐ เพื่อให้ธุรกิจสามารถเสนอและรับงานจากหน่วยงานภาครัฐและนำไปต่อยอดได้ ด้วยการสนับสนุนแหล่งเงินทุนที่เหมาะสม

ทีทีบี มุ่งมั่นเป็นพันธมิตรที่ SME ไว้วางใจ พร้อมสนับสนุนให้ SME ไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน จึงมีสินเชื่อธุรกิจ ทีทีบี เอสเอ็มอี สนับสนุน SME เข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างเป็นคู่ค้าภาครัฐ ที่เข้าใจลักษณะการทำงานกับภาครัฐโดยเฉพาะ ซึ่งจะเป็นโอกาสให้ SME สามารถกุมความได้เปรียบในการแข่งขันบนเวทีภาครัฐได้


ที่มา : ttb และ สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (สทสย.)

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click