โครงการสำรวจคุณภาพอากาศภายในอาคารระดับโลก โครงการแรกของ Dyson ซึ่งเป็นการศึกษาเกี่ยวกับคุณภาพอากาศภายในพื้นที่ปิดที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา เก็บข้อมูลจากเครื่องฟอกอากาศ Dyson กว่า 2.5 ล้านเครื่องทั่วโลก

· ผลสำรวจพบว่าค่าเฉลี่ยต่อเดือนของระดับ PM2.5 ภายในอาคารของทุกประเทศ เกินค่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกแนะนำอย่างน้อย 6 เดือนต่อปี

· จากผลสำรวจของ Dyson ในประเทศไทย ค่าเฉลี่ยต่อปีของระดับ PM2.5 ภายในอาคารอยู่ที่ 14.70 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร สูงกว่าค่ามาตรฐานขององค์การอนามัยโลกเกือบ 200% ทำให้ไทยเป็นประเทศที่มีค่า PM2.5 ภายในอาคารสูงสุด ลำดับที่ 11 ของโลกและลำดับที่ 6 ของภูมิภาคเอเชีย

· ค่า PM2.5 ภายนอกอาคารโดยเฉลี่ยต่อปีของประเทศไทยอยู่ที่ 22.36 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งสูงกว่าค่ามาตรฐานของ WHO เกือบ 350%

· ช่วงเวลาที่พบ PM2.5 จะอยู่ระหว่างหกโมงเย็นถึงเที่ยงคืน ซึ่งตรงกับเวลาที่ผู้คนมักจะอยู่ภายในบ้าน

กรุงเทพฯ, 22 มกราคม 2567 - Dyson เผยผลลัพธ์โครงการวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพอากาศระดับโลก (Global Connected Air Quality Data project) เป็นครั้งแรก โดยศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพอากาศภายในอาคาร ที่รวบรวมโดยเครื่องฟอกอากาศ Dyson กว่า 2.5 ล้านเครื่อง ตั้งแต่ปี 2565 ถึง 2566 เพื่อสร้างข้อมูลภูมิทัศน์ (Data Landscape) ของคุณภาพอากาศจริงในบ้านของผู้คนทั่วโลก โดยการศึกษานี้เก็บข้อมูลทั้งขนาดของเม็ดฝุ่น (Granularity) ชนิดของก๊าซและอนุภาคมลพิษต่าง ๆ ตลอดจนวิเคราะห์แนวโน้มตามวัน เดือน ฤดู และตลอดทั้งปี ข้อมูลทั้งหมดเก็บรวบรวมมาจากเครื่องฟอกอากาศ Dyson ที่เชื่อมต่อกับ แอปพลิเคชัน MyDyson™ ปริมาณข้อมูลที่รวบรวมได้มากกว่าห้าแสนล้านชุดข้อมูล สามารถสะท้อนภาพรวมของสถานการณ์คุณภาพอากาศภายในครัวเรือนของเมืองใหญ่และประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ช่วยสร้างความเข้าใจและความตระหนักรู้ถึงปัญหามลพิษทางอากาศภายในอาคาร

 

PM2.5 คืออะไร? และ VOCs คืออะไร?

โครงการนี้มุ่งเน้นศึกษามลพิษ 2 ประเภท ได้แก่ PM2.5 และสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) - PM2.5 หมายถึงอนุภาคที่มีขนาดเล็กเพียง 2.5 ไมครอน ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 1 ใน 25 ของเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์ทั่วไป ตามข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) การสัมผัสกับ PM2.5 ในระยะยาวอาจ

สร้างผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจและหลอดเลือด และภาวะต่างๆ เช่น มะเร็งปอด จากรายงานความเข้มข้นของ PM2.5 ตามสัดส่วนของประชากรประจำปีค.ศ. 2019 อ้างอิงจากฐานข้อมูล Global Ambient Air Quality Database ขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่าบริเวณที่มีความเข้มข้นของ PM 2.5 สูงที่สุดคือภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อนุภาคเหล่านี้มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่สามารถเข้าไปในระบบทางเดินหายใจได้ อนุภาคขนาดเล็กเหล่านี้มาจากการเผาไหม้ เตาเผาไม้ การทำอาหารและทำความร้อนด้วยแก๊ส ขนสัตว์เลี้ยง เถ้าและฝุ่น อย่างไรก็ดีการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และสุขภาพเกี่ยวกับอนุภาคขนาดเล็กเหล่านี้กำลังมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น

สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) เป็นมลภาวะในสถานะก๊าซ รวมถึงพวกเบนซีนและฟอร์มัลดีไฮด์ ซึ่งอาจปล่อยออกมาจากกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การทำความสะอาดหรือการทำอาหารด้วยแก๊ส รวมถึงจากผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย บอดี้สเปรย์ เทียน เฟอร์นิเจอร์และของแต่งบ้าน สำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริกา (EPA) ระบุว่า ผลิตภัณฑ์ในครัวเรือนทั่วไป เช่น สี สเปรย์ละออง น้ำยาทำความสะอาด และน้ำยาปรับอากาศ เป็นแหล่งที่มาของ VOCs ตามข้อมูลขององค์การอนามัยโลก(WHO) สาร VOCs เช่น เบนซีน มีความเกี่ยวข้องกับผลกระทบต่อสุขภาพและโรคที่ร้ายแรงเฉียบพลันและเรื้อรังมากมาย รวมถึงโรคมะเร็งและผลกระทบต่อระบบเลือด

“ข้อมูลคุณภาพอากาศที่รวบรวมโดย Dyson ช่วยให้เข้าใจปัญหาที่แท้จริงของมลพิษทางอากาศภายในอาคารทั่วโลก ตลอดจนทำให้เราเข้าใจความท้าทายที่เครื่องฟอกอากาศ Dyson เผชิญในสภาพแวดล้อมจริง และมอบองค์ความรู้ในการออกแบบทางวิศวกรรมเพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ดีขึ้นในการรับมือสภาวะอากาศที่ท้าทาย ข้อมูลที่เรารวบรวมมาไม่ได้เป็นเป็นเพียงแค่เครื่องมือทางวิศวกรรมเท่านั้น แต่ยังช่วยให้เจ้าของบ้านแต่ละคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ข้อมูลนี้จะถูกแบ่งปันผ่านแอปฯ MyDyson™ ในแบบเรียลไทม์และแบบรายงานประจำเดือน เพื่อช่วยให้ผู้ใช้เครื่องฟอกอากาศมีความเข้าใจคุณภาพอากาศในบ้านของตนได้ดีขึ้น” Matt Jennings วิศวกรอำนวยการกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องฟอกอากาศของ Dyson กล่าว

“เราทุกคนต่างคิดว่ามลพิษทางอากาศภายนอกอาคารหรือตามริมถนนเป็นปัญหาหลัก แม้ว่าการศึกษาวิจัยมลพิษทางอากาศภายในครัวเรือนกำลังเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังคงมีจำนวนน้อยอยู่ ผลการวิจัยของ Dyson ให้ข้อมูลเชิงลึกที่มีค่าแก่เราเกี่ยวกับระดับมลพิษที่แท้จริงในครัวเรือนทั่วโลก ช่วยให้เราเข้าใจรูปแบบของมลพิษในแต่ละวัน เดือน และตามฤดูกาล ข้อมูลของ Dyson เป็นเครื่องมือการศึกษาที่มีประสิทธิภาพอย่างเหลือเชื่อ และสร้างส่งผลกระทบในเชิงบวกอย่างไม่สิ้นสุด – การทำความเข้าใจมลพิษที่อยู่รอบตัวเราเป็นก้าวแรกในการต่อสู้กับมลพิษ” ศาสตราจารย์ Hugh Montgomery ประธานสาขาเวชศาสตร์การดูแลผู้ป่วยหนักที่ University College London และประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ของ Dyson กล่าว

“มลพิษทางอากาศภายในครัวเรือนอาจเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพได้หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่มีการตรวจสอบ การศึกษาของ Dyson แสดงให้เห็นถึงความชุกชุมของคุณภาพอากาศภายในครัวเรือนที่แย่บริเวณภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และลบล้างความคิดที่ว่าคุณภาพอากาศภายนอกอาคารนั้นแย่กว่าภายในอาคารเสมอ ผลการศึกษาในครั้งนี้ช่วยสร้างความเข้าใจให้ผู้คนเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศภายในครัวเรือน และเป็นการกระตุ้นให้แพทย์มีมุมมองที่ครอบคลุมมากขึ้นในการรับมือกับโรคภูมิแพ้ โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ โรคหอบหืด และหลอดลมอักเสบ รวมถึงปัญหาสุขภาพอื่น ๆ” ดร. Ong Kian Chung แพทย์โรคระบบทางเดินหายใจและประธานสมาคมโรคปอดอุดตันเรื้อรัง (COPD) แห่งสิงคโปร์ กล่าว

 

ค่าเฉลี่ยรายปีของ PM2.5 ในประเทศไทยเกินเกณฑ์มาตราฐานตามที่ WHO ระบุไว้เกือบ 3 เท่า!

จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงคุณภาพอากาศภายในอาคารในหลากหลายพื้นที่ทั่วโลก ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลมาจากเครื่องฟอกอากาศ Dyson ตลอดปี 2022 สิ่งที่ทำให้ต้องประหลาดใจ คือ เมื่อนำระดับ PM2.5 โดยเฉลี่ยของแต่ละประเทศมาจัดอันดับ พบว่า อินเดีย จีน และตุรกี ครองตำแหน่ง 3 อันดับแรกตามลำดับ และมีอีก 4 ประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทยติดอยู่ใน 15 อันดับแรกของประเทศที่มีคุณภาพอากาศภายในครัวเรือนแย่ที่สุดในโลก

เนื่องด้วยระดับ PM2.5 โดยเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 14.70 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งประเทศไทยตรวจพบระดับ PM2.5 สูงเกินจากเกณฑ์มาตรฐานไปกว่า 5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร หรือเกือบ 200% โดยประมาณ และจากข้อมูลดังกล่าวยังพบว่าในทุกเดือนตลอดปีที่ผ่านมาจะมีระดับ PM2.5 ภายในครัวเรือนสูงเกินจากที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ระบุไว้ โดยในปี 2022 พบระดับต่ำสุดอยู่ที่ 6.68 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรในเดือนสิงหาคม และสูงสุดถึง 21.99 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรในเดือนเมษายน

เช่นเดียวกับระดับ PM2.5 ภายนอกอาคารโดยเฉลี่ยต่อปีของประเทศไทยตรวจพบอยู่ที่ 22.36 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งเกินจากค่ามาตรฐานที่ WHO ได้กำหนดไว้ที่ 5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร หรือ 350% โดยประมาณ

 

ทั่วโลกรวมถึงไทย ไม่ชอบใช้โหมด Auto ในเครื่องฟอกอากาศ

จากสถิติทั่วโลกพบว่ามีเพียง 8% ของผู้ใช้งานเครื่องฟอกอากาศ Dyson ที่จะเปิดระบบโหมดอัตโนมัติมากกว่า 3 ใน 4 ของช่วงเวลาที่ใช้งาน ซึ่งกาทำงานของโหมดนี้จะเป็นการช่วยตรวจสอบคุณภาพอากาศและช่วยกรองมลพิษที่ตรวจพบทันทีโดยอัตโนมัติ ชี้ให้เห็นว่าโดยทั่วไปแล้วไม่ได้มีการเปิดใช้เครื่องฟอกอากาศ Dyson เพื่อกำจัดมลพิษภายในครัวเรือนโดยอัตโนมัติ ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับข้อมูลเชิงลึกด้านคุณภาพอากาศที่แสดงผลให้เห็น ทั้งนี้ประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่ในลำดับต้นๆ ในการเปิดใช้เครื่องฟอกอากาศในโหมดอัตโนมัติ โดยมีสัดส่วนอยู่ที่ 14%

ผลสำรวจพบว่าเมืองบางแห่งที่มีอัตราส่วนของการใช้งานเครื่องฟอกอากาศในโหมดอัตโนมัติต่ำมีความสัมพันธ์กับค่าระดับมลพิษที่สูงเกินมาตรฐาน จากค่าเฉลี่ยรายวัน และรายเดือน โดยเฉพาะค่าPM2.5 อาทิเช่น เชินเจิ้น (2.2%) เม็กซิโกซิตี้ (2.4%) และเซี่ยงไฮ้ (3%) ซึ่งเป็นเมืองที่มีการเปิดใช้งานเครื่องฟอกอากาศในโหมดอัตโนมัติต่ำที่สุด ในประเทศไทยมีเพียง 4% เท่านั้น ที่เปิดใช้โหมด Auto แม้ว่าระดับมลพิษภายในครัวเรือนจะสูงมากแค่ไหนหรืออยู่ในช่วงของฤดูกาลที่มีหมอกควันมากก็ตาม

ครั้งแรกกับโครงการใหญ่ “Alipay+-in-China” (A+China) ที่ช่วยให้ผู้ใช้โมบายวอลเล็ท 10 แบรนด์ชั้นนำจากไทย มาเลเซีย มองโกเลีย สิงคโปร์ เกาหลีใต้ เขตบริหารพิเศษฮ่องกง และเขตบริหารพิเศษมาเก๊า สามารถใช้อีวอลเล็ทของประเทศตนเองในจีนแผ่นดินใหญ่ได้แล้ว สร้างการเข้าถึงให้กับประชากรกว่า 175 ล้านคน  ถือเป็นการขยายอีโคซิสเต็มการชำระเงินผ่านมือถือ หรือโมบายเพย์เมนต์ระหว่างประเทศครั้งใหญ่ของ Alipay+ สู่เครือข่ายผู้ค้าจำนวนมากของจีน

โครงการ A+China เป็นความคิดริเริ่มของแอนท์กรุ๊ปที่จะช่วยแนะนำบริการชำระเงินผ่านมือถือระหว่างประเทศในจีน โดยร่วมมือกับพันธมิตรอีวอลเล็ท และองค์กรบัตรระหว่างประเทศ ก่อนที่จะมีการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ที่หางโจว

ภายใต้โครงการนี้ นักท่องเที่ยวยังสามารถเลือกที่จะผูกบัตรธนาคารระหว่างประเทศของตนกับ Alipay เวอร์ชั่นสากลที่อัปเดตแล้ว เพื่อเพลิดเพลินกับการชำระเงินผ่านมือถือและบริการดิจิทัลไลฟ์ขณะที่ท่องเที่ยวในประเทศจีน

  

การเพิ่มของอีวอลเล็ทดังกล่าวจะส่งผลให้จำนวนอีวอลเล็ทต่างประเทศที่ได้รับการยอมรับในจีนแผ่นดินใหญ่เพิ่มขึ้นเป็น 10 ราย โดย AlipayHK (เขตปกครองพิเศษฮ่องกงของจีน), Touch ’n Go eWallet (มาเลเซีย) และ Kakao Pay (เกาหลีใต้) เป็นบริการนำร่องภายใต้โครงการนี้ตั้งแต่ปลายปี 2565 โดยรวมแล้ววิธีการชำระเงินเหล่านี้สามารถเข้าถึงประชากรกว่า 175 ล้านคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียตะวันออก

ผู้ใช้อีวอลเล็ทเหล่านี้สามารถใช้แอปชำระเงินของตนเองได้ทุกที่ที่มีการให้บริการของ Alipay เพื่อเพลิดเพลินกับการชำระเงินแบบไร้เงินสดที่ราบรื่นและปลอดภัย รวมถึงอัตราแลกเปลี่ยนที่โปร่งใสและแข่งขันได้ นอกจากนี้ ยังได้รับสิทธิประโยชน์มากมายจากโปรโมชั่นต่างๆ ผ่าน Alipay+ Rewards ซึ่งเป็นฮับการตลาดดิจิทัลระหว่างประเทศที่อยู่ในวอลเล็ท โดยทีมงานของวอลเล็ทต่างๆ ยังคงให้บริการสนับสนุนลูกค้าที่ใช้โรมมิ่ง โดยอาศัยความสามารถด้านเทคโนโลยีการชำระเงินแบบอัจฉริยะของ Alipay+

ภายใต้โครงการ A+China ทาง Alipay+ ยังได้ต้อนรับพันธมิตรการชำระเงินผ่านมือถือรายใหม่อย่างเป็นทางการอีก 5 ราย ซึ่งได้แก่ Hipay, Changi Pay, OCBC, Naver Pay และ Toss Pay เข้าสู่เครือข่ายผู้ค้าทั่วโลกของ Alipay+

Alipay+ ซึ่งเป็นชุดโซลูชั่นการชำระเงินผ่านมือถือระหว่างประเทศ รวมถึงโซลูชั่นการตลาดและดิจิทัลที่พัฒนาโดยกลุ่มธุรกิจระหว่างประเทศของแอนท์กรุ๊ป ช่วยให้พันธมิตรด้านการชำระเงินสามารถเชื่อมผู้ค้าทั่วโลกและผู้ค้าในระดับท้องถิ่นเข้ากับผู้บริโภคดิจิทัลจากต่างประเทศได้เป็นอย่างดี

นอกจากประเทศจีน Alipay+ ยังเข้าถึงผู้ค้า 5 ล้านรายใน 56 ตลาด และทำงานร่วมกับพันธมิตรด้านการชำระเงินผ่านมือถือกว่า 20 รายทั่วเอเชีย ซึ่งรวมกันแล้วสามารถให้บริการกับผู้บริโภคได้มากกว่า 1.4 พันล้านบัญชี ตอนนี้โครงการ A+China ได้ขยายบริการ Alipay+ เข้าสู่เครือข่ายผู้ค้าขนาดใหญ่ของจีนที่มีจุดขายสินค้าและบริการ (POS) หลายสิบล้านแห่ง

โครงการ A+China จัดตั้งขึ้นภายใต้การแนะนำของธนาคารประชาชนจีน และได้รับการสนับสนุนจาก NetsUnion Clearing Corporation รวมถึงพันธมิตรด้านอีวอลเล็ท องค์กรบัตรระหว่างประเทศ ตลอดจนสถาบันการเงินอื่นๆ ในจีน นักท่องเที่ยวยังสามารถเลือกที่จะผูกบัตรธนาคารระหว่างประเทศของตนกับ Alipay เวอร์ชั่นสากลที่อัปเดตแล้ว เพื่อเพลิดเพลินกับการชำระเงินผ่านมือถือและบริการดิจิทัลไลฟ์ขณะที่พำนักอยู่ในประเทศจีน

พร้อมกันนี้ แอนท์กรุ๊ปยังได้เปิดตัวแคมเปญด้านการตลาดและให้ความรู้แก่ผู้ค้าทั่วจีนแผ่นดินใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองท่องเที่ยวชั้นนำ เพื่อต้อนรับเหล่านักกีฬา แฟนๆ และนักท่องเที่ยวชาวเอเชีย

ดักลาส ฟีกิน รองประธานอาวุโสของแอนท์กรุ๊ป และหัวหน้าฝ่ายบริการการชำระเงินผ่านมือถือระหว่างประเทศของ Alipay+ กล่าวว่า การขยายจำนวนพันธมิตรและเครือข่ายร้านค้า และการยกระดับขีดความสามารถการดำเนินงานด้านดิจิทัลของเอสเอ็มอี ถือเป็นกุญแจสำคัญสำหรับกลยุทธ์ในอนาคตของ Alipay+ “ผู้ให้บริการชำระเงินผ่านมือถือจำนวนมากเข้าร่วมอีโคซิสเต็มของการค้าดิจิทัลระหว่างประเทศมากขึ้น ตั้งแต่โมบายวอลเล็ท ไปจนถึงแอปธนาคาร แอปของผู้ค้าอิสระ และซูเปอร์แอป เรามีแผนที่จะลงทุนเจาะลึกให้รวดเร็วมากขึ้นสำหรับเทคโนโลยีการชำระเงินและดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง เพื่อช่วยให้พันธมิตรและผู้ค้าของเราเติบโตอย่างแข็งแกร่งในทุกช่องทาง” ฟีกินกล่าว

ในฐานะสถาบันผู้ให้บริการเคลียร์ริ่งที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารประชาชนจีน NetsUnion Clearing Corporation ให้บริการแลกเปลี่ยนข้อมูลการทำธุรกรรมที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพและบริการหักบัญชีกองทุนสำหรับการชำระเงินมือถือระหว่างประเทศของแอนท์กรุ๊ป และดิจิทัลวอลเล็ทในต่างประเทศ เรามุ่งมั่นที่จะให้การสนับสนุนที่แข็งแกร่งสำหรับการชำระเงินผ่านมือถือระหว่างประเทศในเหตุการณ์ต่างๆที่สำคัญ เช่น หางโจวเอเชียนเกมส์ เพื่อช่วยบ่มเพาะการบริโภคระหว่างประเทศที่เปิดกว้างและครอบคลุมในประเทศจีน รวมถึงส่งเสริมการหมุนเวียนคุณภาพสูงของวัฏจักรเศรษฐกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ NetsUnion Clearing Corporation of China กล่าว

เอริก จิง ประธานและซีอีโอของแอนท์กรุ๊ป กล่าวว่า “ในฐานะพันธมิตรด้านการชำระเงินอย่างเป็นทางการของเอเชียนเกมส์ เรารู้สึกขอบคุณอย่างมากสำหรับคำแนะนำของธนาคารประชาชนจีน การสนับสนุนของ NetsUnion Clearing Corporation และความช่วยเหลือจากสถาบันการเงินและองค์กรบัตรระหว่างประเทศรายใหญ่ ซึ่งทั้งหมดนี้ช่วยให้เราสามารถดึงดูดผู้ใช้โมบายวอลเล็ททั่วโลกและผู้ใช้บัตรธนาคารในต่างประเทศมายังจีน นับเป็นการสร้างแรงบันดาลใจอย่างดีเยี่ยมที่เราได้เห็นความร่วมมือของภาคส่วนต่างๆ ในระดับภูมิภาค เพื่อช่วยให้นักท่องเที่ยวเพลิดเพลินกับทางเลือกและความสะดวกสบายมากขึ้น ขณะที่ธุรกิจขนาดเล็กก็ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจการค้าระหว่างประเทศด้วยนวัตกรรมที่แปลกใหม่ เรามุ่งหวังที่จะสร้างความร่วมมือที่กว้างและเจาะลึกมากขึ้น เพื่อสานต่อภารกิจร่วมกันของเราในการทำให้โลกน่าอยู่มากขึ้นโดยอาศัยพลังของเทคโนโลยีดิจิทัล”

จำนวนธุรกรรมการชำระเงินทั้งหมดในประเทศจีนผ่านวอลเล็ทนำร่องของ A+China ซึ่งได้แก่ Kakao Pay, Touch ’n Go eWallet และ AlipayHK เพิ่มขึ้น 47 เท่าในช่วงหกเดือน ระหว่างเดือนมีนาคมถึงสิงหาคม 2566 ทั้งนี้ เซี่ยงไฮ้ กวางโจว และเซินเจิ้นเป็นเมืองยอดนิยมสำหรับนักท่องเที่ยวจากเกาหลีใต้ มาเลเซีย และเขตบริหารพิเศษฮ่องกง โดยอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจค้าปลีก และการคมนาคมขนส่งเป็นสามหมวดหมู่ที่มีการทำธุรกรรมเหล่านี้มากที่สุด

จากข้อมูลของ PricewaterhouseCoopers1 ภายในปี 2573 จำนวนธุรกรรมไร้เงินสดจะเพิ่มขึ้นประมาณสองเท่าหรือสามเท่า ขณะที่จีนเป็นผู้นำในภูมิภาคสำหรับการใช้ดิจิทัลวอลเล็ท ส่วนพื้นที่อื่นๆ ในเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้กลายเป็นตลาดการชำระเงินผ่านมือถือที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ผลการศึกษาของ FIS2 ชี้ว่า ระหว่างปี 2561 ถึง 2566 ดิจิทัลวอลเล็ทในภูมิภาคนี้ (ไม่รวมจีน) มีส่วนแบ่งมูลค่าธุรกรรมอี-คอมเมิร์ซเพิ่มขึ้นกว่าสองเท่า และส่วนแบ่งมูลค่าธุรกรรมการชำระเงิน ณ จุดขายเพิ่มขึ้นหกเท่า

 

 

เดลล์ เทคโนโลยีส์ เผยผลการสำรวจ ดัชนีชี้วัดนวัตกรรม (Innovation Index) ระบุ 66% ขององค์กรธุรกิจในประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 60% และทั่วโลก 57%) เกรงว่าองค์กรของตัวเองอาจตกกระแสได้ในอีก 3-5 ปีข้างหน้า

เมื่อพิจารณาจากความแข็งแกร่งของวัฒนธรรมการสร้างนวัตกรรมและแผนงานนวัตกรรมในกระบวนการทำงาน (Pipeline) การทำวิจัยเพื่อสำรวจความคิดเห็นทั่วโลกครั้งใหม่นี้ เป็นการทำโพลล์ด้วยการพูดคุยกับพนักงานองค์กรจำนวน 6,600 คนในกว่า 45 ประเทศทั่วโลก เพื่อให้สามารถเห็นภาพที่ชัดเจนว่าเพราะเหตุใดนวัตกรรมจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการดำเนินธุรกิจ และองค์กรธุรกิจเองควรเตรียมความพร้อมของคนทำงาน กระบวนการในการทำงาน และเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อการสร้างนวัตกรรมให้เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพอย่างไรได้บ้าง ขณะเดียวกัน รายงานในส่วนของประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเกิดจากการทำโพลล์จากการพูดคุยกับพนักงาน 1,700 คนทั้งในประเทศไทย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ อินเดีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย สิงคโปร์ และเกาหลีใต้

“เทคโนโลยียังคงเป็นแกนหลักที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจของแต่ละองค์กร ในการที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถทรานส์ฟอร์มและเติบโต การเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วของตลาดได้สร้างโอกาสอย่างมหาศาลให้กับธุรกิจต่างๆ และในขณะที่ผลการศึกษาของดัชนีชี้วัดด้านนวัตกรรม หรือ Innovation Index เผยให้เห็นว่าองค์กรธุรกิจของไทยจัดอยู่ในระดับแนวหน้าในกลุ่มของผู้นำนวัตกรรม (Innovation Leader) เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ภายในภูมิภาค องค์กรส่วนใหญ่ยังคงต้องตัดสินใจว่าในจุดไหนที่ต้องการไปให้ถึงในอนาคตอันใกล้นี้” ฐิตพล บุญประสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการ ประจำประเทศไทย เดลล์ เทคโนโลยีส์ กล่าว “ทั้งนี้ องค์กรธุรกิจสามารถดำเนินการในรูปแบบนี้ได้ด้วยการปรับเป้าหมายต่างๆ ที่บริษัทมีอยู่ให้สอดคล้องกัน พร้อมทั้งบ่มเพาะวัฒนธรรมของการความอยากรู้และอยากลองด้วยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี ผู้คน และกระบวนการรูปแบบต่างๆ”

นวัตกรรมคือสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินธุรกิจ

ด้วยการประเมินองค์กร ผู้ตอบแบบสอบถามจะถูกประเมินหรือตรวจสอบโดยการเปรียบเทียบกับมาตรฐาน (Benchmark) เพื่อดูเกณฑ์มาตรฐานความพร้อมด้านนวัตกรรม ตั้งแต่ผู้นำด้านนวัตกรรมไปจนถึงผู้ที่ยังคงล้าหลังด้านนวัตกรรม จากการวิเคราะห์ องค์กรต่างๆ เพียง 31% ในประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 17% และทั่วโลก 18%) เท่านั้นที่สามารถกำหนดให้เป็นผู้นำทางนวัตกรรม (Innovation Leaders) และผู้ที่นำนวัตกรรมเข้ามาใช้งาน (Innovation Adopters) องค์กรในกลุ่มนี้มีกลยุทธ์ด้านนวัตกรรมแบบครบวงจร (End-to-End) และวางตัวเองอยู่ในตำแหน่งที่ดีในการฟันฝ่าอุปสรรคและปัญหาที่มาจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก ปัญหาซัพพลายเชน ไปจนถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และอื่นๆ อีกมากมาย ขณะที่ยังคงเติบโตต่อไป

ในความเป็นจริง 52% ของผู้นำทางนวัตกรรม (Innovation Leaders) และผู้นำนวัตกรรมเข้ามาใช้งาน (Innovation Adopters) ของประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 51% และทั่วโลก 50%) มั่นใจว่าตัวเองสามารถเร่งสร้างนวัตกรรมได้ในช่วงที่เศรษฐกิจถดถอย ซึ่ง “ความยืดหยุ่นของนวัตกรรม” หรือที่เรียกว่า “innovation resilience” นี้ (เช่น ความมุ่งมั่นและความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ในช่วงเวลาที่ยากลำบาก) ส่งผลดีให้กับผู้นำทางนวัตกรรม โดย 32% ของผู้นำทางนวัตกรรม และผู้นำนวัตกรรมเข้ามาใช้งานของประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 33% และทั่วโลก 32%) ได้รับประสบการณ์ที่ระดับของรายได้เติบโตเพิ่มขึ้นถึง 15% ในปี 2022 นอกจากนี้ ยังพบความท้าทายที่ลดลงในการรักษาบุคลากรที่มีทักษะด้านไอทีที่จำเป็นต่อการขับเคลื่อนนวัตกรรม ปัจจัยสนับสนุนอีกประการหนึ่งอาจเป็นเพราะ 65% ของผู้นำทางนวัตกรรม และผู้นำนวัตกรรมเข้ามาใช้งานของไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 73% และทั่วโลก 75%) ได้ตอบรับการใช้งานระบบอัตโนมัติอย่างเต็มที่เพื่อสู้กับกระบวนการไอทีทั้งแบบแมนนวลและทั้งใช้เวลายาวนาน เพื่อเร่งการพัฒนานวัตกรรมให้เร็วยิ่งขึ้น

 

ตามที่เส้นกราฟการเติบโตอย่างเต็มที่ของนวัตกรรมแสดงให้เห็น องค์กรธุรกิจในส่วนที่เป็นผู้ล้าหลังด้านนวัตกรรม (Innovation Laggards) และผู้ตามทางนวัตกรรม (Innovation Followers) ยังขาดการกำหนดกลยุทธ์ด้านนวัตกรรมหรือกำลังพยายามดิ้นรนเพื่อให้ได้มาซึ่งผลกำไรสำหรับกลุ่มที่เป็นผู้ที่กำลังประเมินเพื่อการใช้งานนวัตกรรม (Innovation Evaluators) ทั้งนี้ ดัชนีชี้วัดทางนวัตกรรม (Innovation Index) คือการจับภาพหรือการสรุปภาพรวมของสถานการณ์ได้ทันเวลา องค์กรธุรกิจสามารถพัฒนาปรับปรุงได้ด้วยการพิจารณาถึงบุคลากร กระบวนการทำงาน และการใช้เทคโนโลยีในแบบองค์รวม และสร้างกลยุทธ์นวัตกรรมที่แข็งแกร่งแต่คล่องตัว

นวัตกรรมที่ให้ความสำคัญบุคลากร

องค์กรธุรกิจต่างต้องการความช่วยเหลือในการพัฒนาวัฒนธรรมนวัตกรรมที่ให้ความสำคัญกับแนวความคิดทุกรูปแบบเพื่อที่จะสามารถสร้างความต่าง อีกทั้งสามารถเรียนรู้ผ่านความผิดพลาด โดยผลการสำรวจชี้ให้เห็นว่า

· 64% ของผู้ตอบแบบสอบถามคนไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 59% และทั่วโลก 59%) เชื่อว่าการที่มีคนลาออกจากบริษัทเกิดจากการที่ไม่สามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ได้มากเท่าที่คาดว่าจะทำได้

· 61% ในประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 63% และทั่วโลก 64%) ระบุว่าวัฒนธรรมของบริษัทในด้านต่างๆ คือสิ่งที่สกัดกั้นทำให้ไม่สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมได้มากเท่าที่ต้องการหรือสามารถทำได้

วัฒนธรรมในบริษัทได้ถูกกำหนดและสร้างขึ้นเป็นแบบอย่างโดยผู้นำ แต่ 71% ของผู้ตอบแบบสอบถามในประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 73% และทั่วโลก 71%) ระบุว่าผู้นำของตัวเองมีแนวโน้มที่จะชอบความคิดของตัวเองมากกว่า นอกจากนี้ ยังมีการระบุถึงอุปสรรคส่วนบุคคลในอันดับต้นๆ ที่มีต่อการสร้างนวัตกรรมที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด คือความกลัวที่จะความล้มเหลว ไปจนถึงการขาดความมั่นใจในการแบ่งปันความคิดกับผู้นำของตัวเอง

นวัตกรรมที่ให้ความสำคัญต่อกระบวนการ

ในทำนองเดียวกัน รายงานดัชนีชี้วัดทางนวัตกรรมยังเผยให้เห็นว่าธุรกิจต่างกำลังดิ้นรนที่จะนำเอากระบวนการนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยดาต้าและมีสตรัคเจอร์เข้ามาฝัง (Embed) ไว้ภายในองค์กร เพื่อให้สามารถประสบความสำเร็จในการสร้างนวัตกรรมให้เกิดขึ้นในทุกภาคส่วนขององค์กร โดยผลการสำรวจสำคัญชี้ให้เห็นว่า

· ผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีมากถึง 56% ในประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 28% และทั่วโลก 26%) กล่าวว่าความพยายามด้านนวัตกรรมทั้งหมดของพวกเขาขึ้นอยู่กับข้อมูล

· มีเพียง 37% ขององค์กรในประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 46% และทั่วโลก 52%) กำลังจัดโครงการนวัตกรรมให้สอดคล้องกับเป้าหมายของบริษัท เป็นไปได้ว่า การขาดกระบวนการและกลยุทธ์นี้อาจเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุที่องค์กรต่างๆ พยายามดิ้นรนเพื่อจัดลำดับความสำคัญของนวัตกรรม: อุปสรรคสำคัญต่อนวัตกรรมที่ส่งผลกระทบต่อทีมคือการไม่มีเวลาสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เนื่องจากมีภาระงานล้นหลาม (ประเทศไทย: 36% เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 40% และทั่วโลก 38%)

นวัตกรรมที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี

ผลการศึกษาชี้ให้เห็นถึงพลังของเทคโนโลยีในการก่อให้เกิดนวัตกรรมและผลที่ตามมาของการถูกทิ้งไว้ข้างหลัง โดยส่วนใหญ่ หรือ 99% ขององค์กรที่ตอบแบบสอบถามในประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 84% และทั่วโลก 86%) ต่างกำลังแสวงหาเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้พวกเขาสามารถบรรลุเป้าหมายด้านนวัตกรรม และในทางกลับกัน 49% ขององค์กรในประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 58% และทั่วโลก 57%) เชื่อว่าเทคโนโลยีของตัวเองยังไม่ใช่เทคโนโลยีที่ล้ำสมัยและหวั่นเกรงว่าจะถูกทิ้งให้ตามหลังคู่แข่ง

การศึกษามุ่งที่จะสำรวจในรายละเอียดเพื่อดูว่าองค์กรธุรกิจสามารถได้รับผลประโยชน์ และเผชิญกับอุปสรรคใดบ้างจาก 5 เทคโนโลยีหลักที่ถือเป็นตัวกระตุ้น (Catalysts) สำหรับนวัตกรรม อันได้แก่ เทคโนโลยีมัลติ-คลาวด์ เอดจ์ โครงสร้างพื้นฐานโมเดิร์น ดาต้า การทำงานจากทุกที่ที่ต้องการ (Anywhere-work) และการรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์ และในเกือบทุกภาคส่วน สิ่งที่เป็นอุปสรรคที่ใหญ่ยิ่งที่สุดในการปลดล็อคศักยภาพทางนวัตกรรมนั่นคือความซับซ้อน (Complexity) หากให้ยกตัวอย่าง จะเห็นได้ว่ามีองค์กรธุรกิจในจำนวนที่มากจนเกินไปที่เข้ามาสู่สภาพแวดล้อมแบบมัลติ-คลาวด์โดยบังเอิญ ทำให้เกิดการควบรวมกันของแพลตฟอร์มต่างๆ ด้านคลาวด์ ตลอดจนแอปพลิเคชัน ทูลส์ และอื่นๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งความซับซ้อนเหล่านี้ก่อให้เกิดต้นทุนทั้งในด้านเวลา เงินลงทุน ไปจนถึงโอกาสอันมีค่าในการสร้างนวัตกรรม

และนี่คือสิ่งที่เป็นหลักฐานที่เด่นชัดของอุปสรรคทางเทคโนโลยีของประเทศไทยที่ส่งผลต่อการพัฒนานวัตกรรมที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด:

1. การต่อสู้กับความซับซ้อนของระบบเอดจ์ที่ปลายทาง

2. การทุ่มเทความพยายามไปกับการเปลี่ยนดาต้าให้กลายเป็นข้อมูลเชิงลึกแบบเรียล-ไทม์

3. การขาดกลยุทธ์ด้านการรักษาความปลอดภัยแบบครบวงจรในแบบองค์รวม

4. ต้นทุนทางด้านคลาวด์ที่เพิ่มสูงขึ้น

5. การที่ผู้คนไม่สามารถทำงานอย่างปลอดภัยได้จากทุกที่ที่ต้องการ

เพื่อให้การสนับสนุนองค์กรต่างๆ ในการเดินทางบนเส้นทางแห่งนวัตกรรม เดลล์ เทคโนโลยีส์พร้อมที่จะแบ่งปัน "บทเรียนเหล่านี้ที่ได้จากผู้ที่เป็น ผู้นำทางนวัตกรรม (Innovation Leaders) และผู้ที่นำนวัตกรรมไปใช้งาน (Innovation Leaders)" หาข้อมูลเพิ่มเติมและเข้ามาอ่านรายงานสรุป Executive Summary ได้ที่ www.dell.com/innovationindex

 เอไอเอ ตอกย้ำความสำเร็จครั้งสำคัญในการลดการใช้กระดาษทั่วเอเชีย ซึ่งเผยแพร่ใน AIA ESG Report ประจำปี 2565 โดย เอไอเอ สามารถลดปริมาณการใช้กระดาษทั่วภูมิภาคเอเชียได้มากถึง 1,750 ตัน เทียบเท่ากับกระดาษกว่า 350 ล้านแผ่น ซึ่งแสดงถึงความมุ่งมั่นในการเดินหน้าผลักดันพันธกิจด้านสิ่งแวดล้อม ความรับผิดชอบต่อสังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social, and Governance - ESG) ที่ถือเป็นรากฐานหลักในการดำเนินธุรกิจ

โดย เอไอเอ ให้ความสำคัญกับการมุ่งมั่นส่งเสริมสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืนให้กับทุกคน และ เอไอเอ ยังคงเดินหน้าสร้างอนาคตที่ยั่งยืนให้กับผู้คนทั่วภูมิภาคเอเชีย ตามคำมั่นสัญญา “Healthier, Longer, Better Lives”

ในปี 2565 เอไอเอ ประเทศไทย สามารถลดปริมาณการใช้กระดาษลงได้ถึง 1,008,440 แผ่น ด้วยการสนับสนุนให้ลูกค้าลงทะเบียนใช้บริการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Document) และบริการกรมธรรม์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Policy) โดยบริการเหล่านี้ได้เปิดตัวตั้งแต่ปี 2563 เพื่อช่วยให้ลูกค้าเอไอเอ เข้าถึงเอกสารกรมธรรม์ได้ง่ายผ่านแอปพลิเคชัน AIA+ อีกทั้ง เอไอเอ ประเทศไทย ยังได้ผสานเทคโนโลยี บริการดิจิทัล และการวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าไว้ในผลิตภัณฑ์ประกัน ตามเป้าหมายที่จะมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดแบบครบวงจรแก่ผู้ใช้งานผ่านแอปพลิเคชัน AIA+ ตลอดจนยังประสบความสำเร็จตามเป้าหมายในการสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน และการตั้งเป้าเป็นผู้นำด้านในการดำเนินงานโครงการด้านสิ่งแวดล้อม ความรับผิดชอบต่อสังคม และธรรมาภิบาล โดยที่ผ่านมา เอไอเอ ได้มีโครงการที่ส่งเสริมด้าน ESG เช่น โครงการ AIA Saves the World และอีกหลายโครงการที่มุ่งส่งเสริมด้านการออกแบบและการใช้งานอาคาร ภายใต้คอนเซ็ปต์ Green Building ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

สำหรับแอปพลิเคชัน AIA+ (เอไอเอ พลัส) ที่ เอไอเอ ประเทศไทยได้พัฒนาขึ้นนั้นเป็นการรวบรวมบริการของ แอปพลิเคชัน AIA iService และแอปพลิเคชัน AIA Vitality เข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงบริการกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบดิจิทัล ระบบติดตามสุขภาพ รวมถึงสิทธิประโยชน์ที่ส่งเสริมให้ผู้คนมีไลฟ์สไตล์เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นแบบไร้รอยต่อ

รายงานระบุว่า ในเอเชีย มีการซื้อประกันชีวิต การใช้บริการ และการเรียกร้องสินไหมทดแทนผ่านระบบดิจิทัล สูงถึงร้อยละ 87 จากการนำเทคโนโลยีดิจิทัลที่ล้ำสมัยเข้ามาช่วยในการดำเนินธุรกิจ (Advancing Digital Transformation) ข้อมูลยังระบุว่า ขั้นตอนการซื้อประกันของ เอไอเอ ร้อยละ 98 เป็นแบบไร้กระดาษทั้งหมด การที่ เอไอเอ นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้จึงช่วยให้นำไปสู่การสร้างรากฐานความยั่งยืนในอนาคต โดยเป็นการทดแทนขั้นตอนการติดต่อดำเนินงานด้านเอกสารแบบเดิม ๆ มาเป็นการให้บริการที่คล่องตัวและราบรื่นอย่างไร้รอยต่อให้แก่ลูกค้า โดย เอไอเอ ได้ติดตามผลและวิเคราะห์ระดับของการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและระบบอัตโนมัติมาใช้ในการดำเนินงานของทุกประเทศ โดยต่อยอดจากเฟรมเวิร์กที่พัฒนาขึ้นในปี 2561 พร้อมทั้งมุ่งมั่นที่จะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อสื่อสารกับลูกค้า พัฒนาตัวเลือกบริการให้ดียิ่งขึ้น และลดปริมาณการใช้กระดาษในองค์กร

ปัจจุบัน เอไอเอ มีลูกค้าที่ถือครองกรมธรรม์ประกันชีวิตรายบุคคลที่มีผลบังคับมากกว่า 41 ล้านกรมธรรม์ โดย AIA ESG Report ประจำปี 2565 ระบุว่า เอไอเอ มีอัตราการซื้อกรมธรรม์แบบไร้กระดาษสูงถึงร้อยละ 98 นอกจากนี้อัตราการส่งเอกสารกรมธรรม์ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-submission) สำหรับบริการของ เอไอเอ ยังเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 76 เป็นร้อยละ 85 ส่วนอัตราการเรียกร้องสินไหมทดแทนแบบไร้กระดาษในปัจจุบันคิดเป็นร้อยละ 85 ของทั้งหมด ซึ่งธุรกรรมการซื้อประกัน การให้บริการ และการเรียกร้องสินไหมของ เอไอเอ ในปัจจุบันร้อยละ 87 ดำเนินการผ่านระบบดิจิทัล โดย เอไอเอ ยังคงเดินหน้าขับเคลื่อนการดำเนินงานตามขั้นตอนต่างๆ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Output) ซึ่งในปัจจุบันมีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 92 ซึ่ง เอไอเอ ยังได้ตั้งเป้าหมายที่จะลดการใช้กระดาษโดยใช้ระบบ E-Output ด้วยการเพิ่มบริการ ออกกรมธรรม์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Policy) และการแจ้งเตือนอิเล็กทรอนิกส์ (E-Notifications) เข้ามาใช้อย่างจริงจัง

การนำเทคโนโลยีดิจิทัลที่ล้ำหน้าเข้ามาช่วย เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งในพันธกิจด้าน ESG ของ เอไอเอ และความมุ่งมั่นในการส่งเสริมการใช้ชีวิตที่ยั่งยืนและมีสุขภาพที่ดีขึ้นสำหรับผู้คน โดยกลยุทธ์ ESG ของ เอไอเอ สอดคล้องกับแนวทางหลักทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี การลงทุนที่ยั่งยืน การดำเนินงานที่ยั่งยืน ผู้คนและวัฒนธรรม และธรรมาภิบาลที่มีประสิทธิภาพ โดย เอไอเอ ตระหนักดีถึงการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกที่เกิดขึ้นจากการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืนและส่งเสริมให้ทุกคนในสังคมมีสุขภาพที่ดีขึ้น รวมไปถึงการส่งเสริมให้ผู้ใช้งานได้สนุกกับการใช้ชีวิตที่ดีขึ้นในทุกด้าน

ทั้งนี้ สำหรับ AIA ESG Report ยังได้รวบรวมข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงความทุ่มเทและความมุ่งมั่นในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนเพื่อทุกคนในสังคม โดยสามารถอ่านรายงานฉบับเต็มเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ https://www.aia.com/en/about-aia/esg

สิงคโปร์—27 มิถุนายน 2566—พีอาร์นิวส์ไวร์/ดาต้าเซ็ต

เทียนหยู อินฟอร์เมชัน (Tianyu Information) (300205.SZ) “เทียนหยู” หรือ “บริษัทฯ” ผู้ผลิตสมาร์ทการ์ดและอุปกรณ์ชำระเงินรายใหญ่อันดับต้น ๆ ของโลก ได้ขนทัพนำผลิตภัณฑ์การเงินและการสื่อสารใหม่ล่าสุดขึ้นโชว์อย่างจัดเต็มที่งานซีมเลส เอเชีย (Seamless Asia) ประจำปี 2566 ซึ่งเป็นมหกรรมชั้นแนวหน้าของวงการ โดยจัดขึ้นที่สิงคโปร์ วันที่ 27 และ 28 มิถุนายน

เทียนหยูมีเป้าหมายในการขยายธุรกิจของบริษัทไปทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชีย โดยได้จัดแสดงผลิตภัณฑ์และบริการไว้มากมายในงานนี้ ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทการ์ด เครื่องขายหน้าร้าน (POS) และโซลูชันการสื่อสาร

เทียนหยูได้ปรากฏตัวที่งานซีมเลส เอเชีย เพื่อให้ผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัทฯ เป็นที่รู้จักมากขึ้นในสายตาว่าที่พันธมิตรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยบริษัทฯ ได้สร้างฐานที่มั่นในหลายประเทศทั่วเอเชียแล้ว เพื่อให้สอดรับกับเศรษฐกิจดิจิทัลที่เฟื่องฟูในภูมิภาคนี้

“มหกรรมซีมเลส เอเชีย ประจำปี 2566 เปิดโอกาสอันมีค่าให้เทียนหยู นำเสนอความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีล่าสุดของเราและสร้างความร่วมมือใหม่ ๆ” วินเซนต์ อู่ (Vincent Wu) รองประธานฝ่ายธุรกิจระหว่างประเทศของเทียนหยู กล่าว “เทียนหยูสั่งสมประสบการณ์มากว่าสองทศวรรษในการให้บริการธนาคาร สถาบันการเงิน และผู้ให้บริการโทรคมนาคม โดยมุ่งมั่นที่จะนำเสนอผลิตภัณฑ์และโซลูชันดิจิทัลชั้นยอด เพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของลูกค้าของเรา”

เมื่อภูมิภาคนี้ยังคงเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมดิจิทัล เทียนหยูยังคงมุ่งมั่นที่จะหยั่งรากลึกและขยับขยายต่อไป โดยเทียนหยู อินฟอร์เมชัน เป็นบริษัทจดทะเบียนในเซินเจิ้น สั่งสมชื่อเสียงมาอย่างยาวนานในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และโซลูชันดิจิทัลที่ล้ำสมัย นอกจากนี้ เทียนหยูจัดส่งเครื่อง POS มากสุดเป็นอันดับสี่ของโลกด้วย ทั้งยังครองตำแหน่งผู้นำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ส่วนผลิตภัณฑ์สมาร์ทการ์ดของบริษัทฯ ก็ยังจัดส่งติดอันดับท็อป 10 ของโลกอย่างต่อเนื่องด้วย

ผลงานของเทียนหยูในตลาดเอเชียแปซิฟิกเป็นเครื่องพิสูจน์ตัวเอง โดยบริษัทฯ ได้จับมือเชิงกลยุทธ์กับธนาคารระดับประเทศและธนาคารพาณิชย์รายใหญ่ ๆ ในอินโดนีเซีย ลาว เนปาล ศรีลังกา อินเดีย บังคลาเทศ ฯลฯ

ในขณะเดียวกัน อุปกรณ์ในกลุ่มการเงินของเทียนหยู ไม่ว่าจะเป็นเครื่อง POS และ QR ยังมีผู้นำไปติดตั้งใช้งานในเวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ อินเดีย บังกลาเทศ และเนปาลด้วย โดยบริษัทฯ มีทีมสนับสนุนเฉพาะในพื้นที่เหล่านี้ เพื่อให้บริการลูกค้าและดูแลการใช้งานได้อย่างราบรื่น

นอกจากนี้ การ์ดยูซิม (USIM) ของเทียนหยูยังเป็นที่สนใจด้วย โดยครอบคลุมเครือข่ายอย่างกว้างขวาง เช่น สมาร์ทเฟรน (Smartfren) ในอินโดนีเซีย ยูโมไบล์ (U-Mobile) ในมาเลเซีย สมาร์ท เอเซียต้า (Smart Axiata) ในกัมพูชา และอื่น ๆ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้สานความร่วมมือกับผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายใหญ่ ๆ ในอินเดียและบังคลาเทศ เพื่อขยายทีมสนับสนุนในท้องถิ่นต่อไป

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click