January 22, 2025

Element Payment Solutions เปิดสำนักงานใหม่ในจาการ์ตา ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านโซลูชันการชำระเงินในเอเชียแปซิฟิก

Element Payment Solutions (EPS) ได้เปิดสำนักงานแห่งใหม่ในกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งถือเป็นอีกก้าวสำคัญในการขยายธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางสำหรับการนำเสนอโซลูชันการชำระเงินที่ทันสมัยและสร้างความร่วมมือกับสถาบันการเงินท้องถิ่น เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นในตลาดดิจิทัล

สำนักงานใหม่ของ EPS ตั้งอยู่ที่ The Plaza Office Tower ใจกลางกรุงจาการ์ตา ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางสำคัญในการขับเคลื่อนการชำระเงินดิจิทัลในอินโดนีเซีย คุณเซยิดราฮัท อาห์มัด กรรมการผู้จัดการ EPS กล่าวถึงวิสัยทัศน์ในการขยายธุรกิจในตลาดที่มีศักยภาพสูงอย่างอินโดนีเซีย พร้อมเน้นย้ำถึงความสำคัญของการร่วมมือกับพันธมิตรท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนการเติบโตของการชำระเงินดิจิทัลและเทคโนโลยีการเงิน (FinTech) ในภูมิภาคนี้

นอกจากนี้ EPS ยังได้บริจาคเงินจำนวน 15,000,000 รูเปียห์ให้กับมูลนิธิ Yayasan Panti Asuhan Thariiqul Jannah ซึ่งดูแลเด็กกำพร้าและเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ถือเป็นส่วนหนึ่งของความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ของบริษัท แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการตอบแทนชุมชนที่ EPS ดำเนินธุรกิจอยู่

คุณเซยิดราฮัทยังกล่าวเพิ่มเติมว่า "แนวโน้มการชำระเงินดิจิทัลในอินโดนีเซียและเอเชียแปซิฟิกเติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-wallet), ธนาคารดิจิทัล และการชำระเงินผ่านแอปได้รับความนิยมสูงขึ้น การสนับสนุนจากเทคโนโลยีและนโยบายรัฐบาลยิ่งทำให้ภูมิภาคนี้มีศักยภาพในการเป็นผู้นำด้านการชำระเงินดิจิทัล"

การเปิดสำนักงานในอินโดนีเซียเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การขยายตัวของ EPS โดยบริษัทได้ตั้งสำนักงานใน 7 ประเทศในเอเชียแปซิฟิก ซึ่งรวมถึง มาเลเซีย ปากีสถาน ลาว เมียนมา กัมพูชา และสำนักงานใหญ่ในประเทศไทย ทำให้ EPS ยิ่งแข็งแกร่งในการขับเคลื่อนการชำระเงินดิจิทัลทั่วภูมิภาค.

ซีบร้า เทคโนโลยีส์ คอร์ปอเรชั่น (NASDAQ: ZBRA) ผู้ให้บริการโซลูชันดิจิทัลชั้นนำที่ช่วยให้ธุรกิจต่าง ๆ สามารถเชื่อมต่อข้อมูล สินทรัพย์ และผู้คนได้อย่างชาญฉลาดมากขึ้น รายงานผลการสำรวจ 2024 Manufacturing Vision Study ซึ่งแสดงให้เห็นว่า 61% ของผู้ผลิตทั่วโลกคาดหวังว่าปัญญาประดิษฐ์ (AI) จะผลักดันการเติบโตของธุรกิจมากขึ้นภายในปี 2029 เพิ่มขึ้นจาก 41% ในปี 2024

เมื่อมองลึกลงมาในระดับภูมิภาค 68% ของผู้ผลิตในเอเชีย-แปซิฟิกคาดหวังว่า AI จะผลักดันการเติบโตของธุรกิจมากขึ้นภายในปี 2029 เพิ่มขึ้นจาก 46% ในปี 2024 ทั้งนี้การนำ AI มาปรับใช้ที่เพิ่มขึ้น รวมไปถึง 92% ของผู้ตอบแบบสำรวจทั่วโลก และ 87% ของผู้ตอบแบบสำรวจในเอเชีย-แปซิฟิกที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาธุรกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (digital transformation) มากที่สุด ตอกย้ำให้เห็นถึงความตั้งใจของผู้ผลิตที่จะปรับปรุงการจัดการข้อมูล และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เพิ่มทัศนวิสัยในซัพพลายเชน (visibility) รวมถึงคุณภาพ ตลอดกระบวนการผลิต 

 

แม้ว่า digital transformation จะเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับผู้ผลิต แต่ 30% ของผู้ตอบแบบสำรวจทั่วโลก และ 40% ของผู้ตอบแบบสำรวจในเอเชีย-แปซิฟิกทราบดีว่าเส้นทางสู่ digital transformation นั้นเต็มไปด้วยอุปสรรค เช่น ต้นทุนแรงงาน จำนวนแรงงานที่ใช้งานได้ การนำโซลูชันเทคโนโลยีมาปรับใช้ และการรวมเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ากับเทคโนโลยีด้านการดำเนินงาน (IT/OT convergence) 

Visibility เป็นก้าวแรกสู่การเปลี่ยนแปลง โดยการนำ AI และเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาปรับใช้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ผลิตสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลเพื่อระบุ ตอบสนองต่อ และจัดลำดับความสำคัญของปัญหา และโครงการได้ดียิ่งขึ้น เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพตลอดกระบวนการผลิต เพื่อที่ผลลัพธ์จะได้ออกมาดีที่สุด 

นายศิวัจน์ โรจนเต็มศักดิ์, ผู้จัดการประจำประเทศไทย, ซีบร้า เทคโนโลยีส์ กล่าวว่า “ผู้ผลิตหลายรายกำลังเผชิญกับปัญหาในการใช้ข้อมูลของตัวเองให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งพวกเขาทราบดีว่าต้องนำ AI และโซลูชันเทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ มาปรับใช้ เพื่อเพิ่มความรวดเร็ว และประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต ซีบร้าช่วยให้ผู้ผลิตดำเนินงานได้ง่ายขึ้นด้วยเครื่องมือที่มาพร้อมเทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น Fixed Industrial Scanning และ Machine Vision FX90 ultra-rugged fixed RFID readers และ ATR7000 RTLS readers ซึ่งจะยกระดับขั้นตอนการทำงานให้มีความเป็นอัตโนมัติมากขึ้น ส่งผลให้แรงงาน และเทคโนโลยีดำเนินงานไปด้วยกันได้อย่างราบรื่นยิ่งขึ้น” 

ปิดช่องว่างทางทัศนวิสัยในซัพพลายเชน 

ถึงแม้ว่าผู้ผลิตส่วนมากบอกว่า digital transformation เป็นเรื่องสำคัญ แต่การทำให้การทำงานในโรงงานเชื่อมโยงกันอย่างสมบูรณ์นั้นยังคงเป็นเรื่องที่ท้าทาย Visibility ถือเป็นกุญแจสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพ และคุณภาพในกระบวนการผลิต อย่างไรก็ปัญหาช่องว่างทางทัศนวิสัยในซัพพลายเชน (visibility gap) ก็ยังคงมีอยู่ มีเพียง 16% ของผู้นำด้านการผลิตทั่วโลกที่สามารถติดตามการดำเนินงานตลอดกระบวนการผลิตแบบเรียลไทม์ได้ ส่วนในเอเชีย-แปซิฟิกมี 25% ของผู้นำด้านการผลิตที่ทำได้ 

ผู้นำด้านการผลิตเกือบ 6 ใน 10 (57% ทั่วโลก, 63% ในเอเชีย-แปซิฟิก) คาดว่าจะสามารถเพิ่ม visibility ในทุกขั้นตอนการผลิต และในซัพพลายเชนได้ภายในปี 2029 แต่ประมาณ 1 ใน 3 (33% ทั่วโลก, 38% ในเอเชีย-แปซิฟิก) บอกว่าความไม่ลงรอยกันระหว่าง IT และ OT เป็นอุปสรรคที่สำคัญในเส้นทางสู่ digital transformation นอกจากนี้ 86% ของผู้นำการผลิตทั่วโลกยอมรับว่ากำลังเผชิญปัญหาในการตามนวัตกรรมทางเทคโนโลยีใหม่ ๆ ให้ทัน รวมไปถึงการนำอุปกรณ์ เซ็นเซอร์ และเทคโนโลยีรวมเข้ากับโรงงาน/สำนักงานและซัพพลายเชน ซึ่ง 82% ของผู้นำด้านการผลิตในเอเชีย-แปซิฟิกก็กำลังเผชิญปัญหาเดียวกัน ทั้งนี้บริษัท และองค์กรต่าง ๆ สามารถนำโซลูชันของซีบร้าไปพัฒนาการใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพได้ เพิ่มการรักษาความปลอดภัยและการจัดการให้ดียิ่งขึ้น พร้อมทั้งนำข้อมูลจากการวิเคราะห์มาใช้ยกระดับธุรกิจต่อ 

เสริมทักษะแรงงาน พร้อมยกระดับคุณค่า และประสิทธิภาพ 

ผลการสำรวจของซีบร้าเผยให้เห็นว่า ผู้ผลิตกำลังปรับกลยุทธ์สำหรับการเติบโต ด้วยการนำ AI และเทคโนโลยีอื่น ๆ มาปรับใช้ เพื่อปรับโฉมการผลิต พร้อมสร้างเสริมทักษะของแรงงานภายใน 5 ปี ข้างหน้า เกือบ 3 ใน 4 (73%) ของผู้นำด้านการผลิตทั่วโลกวางแผนที่จะฝึกแรงงานใหม่ให้มีทักษะด้านการใช้ข้อมูลและเทคโนโลยีที่ดีขึ้น ส่วนใน ขณะที่ 7 ใน 10 คาดว่าจะนำเทคโนโลยีที่เน้นความคล้องตัวในการใช้งานเป็นหลักมาช่วยพัฒนาแรงงาน ส่วนในเอเชีย-แปซิฟิกมี 76% ของผู้นำด้านการผลิตที่วางแผน และคาดการณ์เช่นเดียวกัน 

 

เครื่องมือทางเทคโนโลยีที่ผู้นำด้านการผลิตทั่วโลกกำลังปรับใช้ มีทั้งแท็บเล็ต (51% ทั่วโลก, 52% ในเอเชีย-แปซิฟิก), คอมพิวเตอร์พกพา (55% ทั่วโลก, 53% ในเอเชีย-แปซิฟิก) และซอฟต์แวร์สำหรับจัดการแรงงาน (56% ทั่วโลก, 62% ในเอเชีย-แปซิฟิก) นอกจากนี้ 6 ใน 10 ของผู้นำการผลิต (61% ทั่วโลก, 65% ในเอเชีย-แปซิฟิก) ก็วางแผนที่จะนำคอมพิวเตอร์พกพาแบบสวมได้มาใช้เสริมประสิทธิภาพการทำงานของแรงงานด้วย 

ผู้นำด้านการผลิตที่เป็นผู้บริหารระดับสูง รวมไปถึงในสาย IT และ OT ทราบดีว่าการพัฒนาแรงงานต้องทำมากกว่าแค่นำเทคโนโลยีมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพ 6 ใน 10 ของผู้นำด้านการผลิตทั่วโลก และ 66% ของผู้นำด้านการผลิตในเอเชีย-แปซิฟิก ให้ความสำคัญกับการพัฒนาแรงงานอย่างต่อเนื่อง การสร้างเสริมทักษะใหม่ให้พนักงาน (69% ในเอเชีย-แปซิฟิก) และการพัฒนาสานอาชีพ (56% ในเอเชีย-แปซิฟิก) เพื่อดึงดูดแรงงานที่มีความสามารถสูงในอนาคตมากที่สุด 

นำ automation มาช่วยเพิ่มคุณภาพให้ถึงขั้นสุด 

ปัจจุบันผู้ผลิตในแต่ละภาคส่วนให้ความสำคัญกับจัดการคุณภาพมาก แต่ต้องเผชิญกับปัญหาทรัพยากรที่ลดลง ผลสำรวจของซีบร้าชี้ให้เห็นว่า ปัญหาหลักในด้านการจัดการคุณภาพที่ผู้นำด้านการผลิตต้องเผชิญ ประกอบไปด้วยการติดตามการดำเนินงานในซัพพลายเชนได้แบบเรียลไทม์ (33% ทั่วโลก, 40% ในเอเชีย-แปซิฟิก), การปฏิบัติตามมาตรฐาน และกฎระเบียบใหม่ (29% ทั่วโลก, 30% ในเอเชีย-แปซิฟิก), การผสานรวมข้อมูล (27% ทั่วโลก, 31% ในเอเชีย-แปซิฟิก), และการรักษาสถานะของการตรวจสอบย้อนกลับให้คงที่ (27% ทั่วโลก และในเอเชีย-แปซิฟิก) 

ในอีก 5 ปีข้างหน้า แผนการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาปรับใช้ของผู้นำด้านการผลิตจะสามารถรับมือกับความท้าทายเหล่านี้ได้ เช่น วิทยาการหุ่นยนต์ (65% ทั่วโลก, 72% ในเอเชีย-แปซิฟิก) ระบบตรวจสอบคุณภาพการผลิต หรือ machine vision (66% ทั้งทั่วโลก และในเอเชีย-แปซิฟิก) RFID (66% ทั่วโลก, 72% ในเอเชีย-แปซิฟิก) และ fixed industrial scanners (57% ทั่วโลก, 62% ในเอเชีย-แปซิฟิก) ผู้นำด้านการผลิตส่วนมากเห็นตรงกันว่าการโซลูชัน automation เหล่านี้มีหลายปัจจัยเป็นตัวขับเคลื่อน ไม่ว่าจะเป็นการมอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะสูงให้กับแรงงาน (70% ทั่วโลก, 75% ในเอเชีย-แปซิฟิก) การบรรลุข้อตกลงด้านระดับการบริการ (69% ทั่วโลก, 70% ในเอเชีย-แปซิฟิก) และการเพิ่มความยืดหยุ่นพื้นที่ (64% ทั่วโลก, 66% ในเอเชีย-แปซิฟิก) 

ผลการสำรวจที่สำคัญของแต่ละภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก (APAC) 

  • แม้ตอนนี้มีเพียง 30% ของผู้นำด้านการผลิตในเอเชีย-แปซิฟิกที่ใช้ machine vision ในพื้นที่ผลิต แต่ในอีก 5 ปี ข้างหน้า 67% ของผู้ผลิตนั้นกำลังปรับใช้ machine vision หรือวางแผนที่จะนำเทคโนโลยีนี้มาปรับใช้ 

ยุโรป, ตะวันออกกลาง, แอฟริกา (EMEA) 

  • การเสริมทักษะการใช้ข้อมูล และเทคโนโลยีให้ดีขึ้นให้แรงงาน คือกลยุทธ์ขับเคลื่อนการเติบโตอันดับหนึ่งที่ 46% ของผู้นำด้านการผลิตใช้ในปัจจุบัน และ 71% ของผู้นำด้านการผลิตจะค่อย ๆ ใช้ในอีก 5 ปี ข้างหน้า 

ละตินอเมริกา (LATAM) 

  • ในปัจจุบันมีเพียงแค่ 24% ของผู้นำด้านการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีระบบติดตามสินค้า อย่างไรก็ตาม 74% ของผู้นำด้านการผลิตกำลังปรับใช้ หรือวางแผนที่จะนำเทคโนโลยีนี้มาปรับใช้ในอีก 5 ปี ข้างหน้า 

อเมริกาเหนือ 

  • 68% ของผู้นำด้านการผลิตให้ความสำคัญกับโปรแกรมพัฒนาทักษะแรงงานมากที่สุด 

 ดีลอยท์เผยรายงาน Asia Pacific Centre for Regulatory Strategy (ACRS), ‘Generative AI: Application and Regulation in Asia Pacificซึ่งเป็นผลสำรวจความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการใช้ Generative AI ในภาคบริการทางการเงิน (Financial Services) ทิศทางของกฎระเบียบในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และให้คำแนะนำกับ บริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการทางการเงิน ในการเตรียมตัวเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับในเรื่องนี้ ที่เป็นประเด็นที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

ACRS ได้ทำการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญจากดีลอยท์ทั้งหมด 12 คน ที่มีความเชี่ยวชาญทั้งทางด้านเทคโนโลยีและกฎหมายทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (AP) เพื่อทำความเข้าใจว่าเมื่อเทคโนโลยี Generative AI ("GenAI") ได้รับการพัฒนาก้าวหน้ายิ่งขึ้น หน่วยงานที่กำหนดนโยบายและกำกับดูแลจะทบทวนกรอบการใช้งานของ AI ในปัจจุบัน เพื่อลดความเสี่ยงทางเทคโนโลยีใหม่ที่อาจเกิดขึ้นจาก GenAI และสร้างความเชื่อมั่นว่าเทคโนโลยีดังกล่าวยังคงมีความเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของกลุ่มภาคบริการทางการเงินอยู่

จากความก้าวหน้าครั้งสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา เช่นการนำเทคโนโลยี GenAI มาใช้อย่างแพร่หลายผ่านเครื่องมือต่าง ๆ เช่น Chat GPT ของ OpenAI และ Bard AI ของ Google ส่งผลให้ความเสี่ยงที่หน่วยงานที่กำกับดูแลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกระบุในหลักการกำกับดูแลทางกฎหมาย AI มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แม้ว่าความโปร่งใส ความรับผิดชอบ ความยุติธรรม ความแข็งแกร่ง ความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูลยังเป็นเรื่องที่ต้องมีการพิจารณา แต่ข้อกังวลเกี่ยวกับอคติและทรัพย์สินทางปัญญาส่งผลให้หน่วยงานที่กำกับดูแลจำเป็นต้องสร้างความสมดุลระหว่างประโยชน์ของนวัตกรรมทางเทคโนโลยีกับการรักษาความปลอดภัยของผู้บริโภค

อุตสาหกรรมการบริการทางการเงินกำลังเผชิญช่วงเวลาการเปลี่ยนแปลงและดิสรัปชั่นครั้งใหญ่ GenAI เข้ามาเปลี่ยนแปลงแนวทางในการบริการ แต่เช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ  ความสนใจและการตรวจสอบของหน่วยงานกำกับดูแลในเรื่อง AI ก็จะมีเพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันบริษัทผู้ให้บริการทางการเงินต่างเผชิญกับความเสี่ยงใหม่ๆ ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น เช่น อคติ การกำกับดูแล ความรับผิดชอบ และการปกป้องข้อมูลตลอดวงจรชีวิตของ AI รวมถึงความเสี่ยงทางกฎระเบียบและ ความเสี่ยงทางกลยุทธ์อีกด้วย รายงานล่าสุดของดีลอยท์ จึงมีข้อแนะนำให้บริษัทผู้ให้บริการทางการเงินเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับอนาคตและสร้างกรอบการกำกับดูแล AI เพื่อ ระบุ และจัดการกับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับ AI อย่างเหมาะสมและรวดเร็ว

รายงานฉบับนี้นำเสนอประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้

  • บริษัทผู้ให้บริการทางการเงินควรเตรียมความพร้อมสำหรับกฎเกณฑ์ข้อบังคับของ GenAI ที่กำลังจะมีขึ้นในเร็วๆ นี้
  • บริษัทผู้ให้บริการทางการเงินที่ได้นำแอพลิเคชัน AI มาใช้งานหรือกำลังพิจารณานำมาใช้งาน ควรเริ่มพัฒนากรอบการกำกับดูแล AI เพื่อสนับสนุนการบริหารความเสี่ยงที่ดีขึ้น รวมถึงการปฏิบัติตามกฎระเบียบในอนาคตในเรื่องนี้ บริษัทผู้ให้บริการทางการเงินควรต้องรับผิดชอบต่อผลลัพธ์ที่แอปพลิเคชัน GenAI สร้างขึ้น
  • บริษัทผู้ให้บริการทางการเงินควรประเมินปัจจัยที่มีส่วนทำให้เกิดความเปราะบางของลูกค้า เช่น วุฒิการศึกษา รายได้ หรืออายุ และสร้างความเชื่อมั่นว่าการนำแอปพลิเคชัน GenAI มาใช้ไม่ส่งผลให้เกิดอคติหรือการเลือกปฏิบัติต่อลูกค้าที่มีความเปราะบางนี้ อันเป็นผลจากการนำแอปพลิเคชัน GenAI มาใช้ทั้งโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ
  • บริษัทผู้ให้บริการทางการเงินควรระบุฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการรวบรวม จัดเก็บ และประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า และสร้างความเชื่อมั่นว่าฝ่ายหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในการปกป้องข้อมูล
  • เนื่องจากการคุ้มครองลิขสิทธิ์สำหรับการนำเข้าและส่งออกข้อมูลของ GenAI ยังไม่ชัดเจน บริษัทผู้ให้บริการทางการเงิน จึงควรตั้งสมมติฐานว่าข้อมูลหรือข้อคำถามใด ๆ ที่มีการนำเข้าในแอปพลิเคชัน GenAI อาจกลายเป็นข้อมูลสาธารณะได้ เป็นคำแนะนำสำหรับการสร้างขอบเขตในการกำกับดูแลเพื่อป้องกันการเปิดเผยทรัพย์สินทางปัญญาหรือการละเมิดลิขสิทธิ์โดยไม่ได้ตั้งใจ
  • บริษัทผู้ให้บริการทางการเงินที่นำเอาแอปพลิเคชัน GenAI มาใช้หรือมีแผนที่จะนำมาใช้ ควรลงทุนในการจัดหาบุคลากรที่มีความสามารถ และจัดฝึกอบรมเกี่ยวกับเทคโนโลยี AI ให้กับพนักงาน รวมถึงคณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูง เพื่อเพิ่มความเข้าใจในความเสี่ยงที่สำคัญและความรับผิดชอบในการลดความเสี่ยงเหล่านั้น

อากิฮิโระ มัตสึยามะ Risk Advisory Leader ดีลอยท์ เอเชียแปซิฟิก แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรายงานดังกล่าวว่า "แม้ว่ากฎระเบียบและกฎหมายด้าน AI จะยังอยู่ในขั้นเริ่มต้นของการพัฒนาหรือการนำไปใช้ในเขตอำนาจในการตัดสินคดีส่วนใหญ่ แต่บริษัทผู้ให้บริการทางการเงินก็จำเป็นต้องใช้แนวทางที่วัดผลโดย สร้างกรอบการกำกับดูแล AI ของตนเองโดยเร็วที่สุดและดำเนินการเพื่อทำความเข้าใจ ระบุ และจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับ AI ภาคเอกชนจะต้องร่วมมือกับหน่วยงานกำกับดูแลและผู้ออกกฎหมายเพื่อแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ในอุตสาหกรรมเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการกระบวนการสร้างกณเกณฑ์และผลักดันฉันทามติเกี่ยวกับเส้นทางอนาคตของ AI”

Mr Wong Nai Seng Regulatory Strategy Leader ดีลอยท์ เอเชียแปซิฟิก กล่าวเสริมว่า เทคโนโลยี AI เช่น GenAI มีศักยภาพที่สำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพและการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลภายในกลุ่มผู้ให้บริการทางการเงิน อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวควรเป็นสิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึง เนื่องจากภูมิทัศน์ด้านกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี AI ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในระดับโลกและภายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัทที่ให้บริการทางการเงินจึงควรระมัดระวังในการพิจารณานำเทคโนโลยี AI มาใช้ เพื่อพิจารณาว่าความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับ AI เหมาะสมกับความเสี่ยงที่มีอยู่และกรอบการบริหารความเสี่ยงโดยรวมอย่างไร 

 7 มีนาคม 2567

Economist Impact เปิดตัว 3rd annual Sustainability Week Asia สุดยอดงานสัมมนาเพื่อเผยแพร่แนวคิดด้านความยั่งยืน พร้อมสนับสนุนการยกระดับธุรกิจเพื่อสร้างผลลัพธ์ที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง ได้ประกาศรายชื่อผู้เข้าร่วมสัมมนาซึ่งเป็นตัวแทนจากหลากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน โดยงานนี้จะจัดขึ้นในวันที่ 11-13 มีนาคม 2567 ณ ดิ แอทธินี โฮเทล แบงค็อก, อะ ลักซ์ชูรี คอลเล็คชั่น โฮเทล กรุงเทพฯ

โดยตลอดการสัมมนากว่า 2 วันครึ่งนี้ ผู้เข้าฟังจะได้รับข้อมูลเชิงลึกพร้อมแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ใช้ได้จริง เพื่อเป็นแนวทางให้ธุรกิจต่างๆ สามารถสร้างผลลัพธ์เชิงบวกด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมต่อไปได้ ควบคู่ไปกับการสร้างผลตอบแทนทางการเงิน และสร้างโมเดลใหม่สำหรับการระดมทุนเพื่อแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศและการส่งต่อเทคโนโลยีโดยประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านเศรษฐกิจ

มร.จอร์ช ลี นักลงทุนร่วมจาก VNTR Capital กล่าวว่า “โลกของเรากำลังจะแตกสลาย และจะไม่มีใครสามารถหยุดยั้งได้ หากปราศจากการร่วมมือกัน ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมกับเหล่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

จากหลายภาคส่วนในงาน Sustainability Week Asia ครั้งนี้ เพื่อช่วยผลักดันให้เกิดความร่วมมือกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นและร่วมกันสร้างความยั่งยืนอย่างแท้จริง”

กิจกรรมภายในงานสัมมนาครั้งนี้ประกอบด้วย การประชุมร่วมกัน, การสัมภาษณ์ในประเด็นสำคัญ รวมถึงการนำเสนอกรณีศึกษา ที่จะสร้างการมีส่วนร่วมจากผู้นำด้านความยั่งยืนกว่า 800 รายภายในงาน และจากช่องทางออนไลน์อีกกว่า 2,000 ราย เพื่อร่วมกันหาคำตอบว่าสังคมจะสามารถบรรลุเป้าหมายด้านการแก้ไขสภาพภูมิอากาศให้เร็วขึ้นได้อย่างไรบ้าง โดยผู้เข้าร่วมสัมมนาในงานครั้งนี้ มีทั้งเหล่าผู้นำทางธุรกิจ, ผู้กำหนดนโยบาย, ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์, ตัวแทนจากองค์กรระหว่างประเทศ และ NGOs

รายชื่อของผู้เข้าร่วมสัมมนา

● มร.แกรม เบียร์ดเซลล์ ประธานกรรมการบริหาร ฟูจิตสึ เอเชียแปซิฟิก

● นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. ธนาคารกรุงเทพ

● Dr. Bicky Bhangu ประธานบริษัทโรลส์-รอยซ์ ประจำภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แปซิฟิก และประเทศเกาหลีใต้

● Charlotte Wolff-Bye, chief sustainability officer, PETRONAS

● Arun Biswas, managing partner, strategic sales and sustainability consulting, IBM, Asia-Pacific

● Sumit Gupta, Managing director and senior partner, leader of climate and sustainability Asia-Pacific, BCG

● นายธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี

● มร. อิซาโอะ เซคิกุจิ ประธาน นิสสัน ประเทศไทย และ นิสสัน อาเซียน

● Prasanna Ganesh, executive vice-president, People and Business Transformation Group, Toyota Daihatsu Engineering & Manufacturing

● นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

● มร. ดาเนียล รอสส์ ผู้อำนวยการใหญ่สายการลงทุน หัวหน้าฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์ และหัวหน้าฝ่ายพัฒนาเพื่อความยั่งยืน บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)

● Jeffery Smith, vice-president, sustainability, Six Senses Hotels, Thailand

● นายปิยะชาติ อิศรภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แบรนดิ แอนด์ คอมพานีส์ จำกัด

● นายพนากร เดชธำรงวัฒน์ head of investment promotion, Invest Hong Kong and Hong Kong economic and trade office in Bangkok

● นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)

● Iris Lam, director of sustainability, global development, Mandarin Oriental

● Sarah Tiffin, UK Ambassador to Association of South-East Asian Nations (ASEAN)

● ดร.ศรพล ตุลยะเสถียร หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร และหัวหน้าสายงานพัฒนาความยั่งยืนตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

โดยรายชื่อผู้เข้าร่วมสัมมนาทั้งหมดสามารถดูเพิ่มเติมได้ ที่นี่.

 

หัวข้อการสัมมนาภายในงาน มีดังนี้

· รับฟังสัมภาษณ์พิเศษกับ Charlotte Wolff-Bye, chief sustainability officer, PETRONAS

· รับฟังสัมภาษณ์พิเศษกับนายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. ธนาคารกรุงเทพ

· รายงานความก้าวหน้า: การส่งเสริมเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์วิกฤติ

· การบรรลุเป้าหมาย Net Zero: จับคู่แผนการทำงานและเป้าหมาย

· การผลักดันตลาดคาร์บอนในเอเชีย

· กรณีศึกษาจากชั่วโมงการปฏิบัติงาน, การสร้างแรงจูงใจในการเปลี่ยนผ่านจากสตาร์ทอัพและองค์กร ไปสู่ระดับประเทศ: ตัวอย่างเชิงปฏิบัติความก้าวหน้าในการส่งเสริมความยั่งยืน

· มาตรการด้านพลาสติก: วัฏจักรชีวิตและการลดมลพิษจากพลาสติก

· กิจกรรมกลุ่ม ทักษะใหม่เพื่อสร้างเศรษฐกิจสีเขียว

· การสร้างสภาพแวดล้อมที่อำนวยต่อนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านสภาพอากาศ

· ความยุติธรรมและความเท่าเทียมทางสังคม: “S” ใน ESG เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ยุติธรรม

· การขนส่งอย่างยั่งยืนและการใช้รถยนต์ไฟฟ้า

ผู้สนใจสามารถดูหัวข้อการสัมมนาทั้งหมดได้ ที่นี่

มร. เซนธิล นาธาน ประธานกรรมการบริหารแฟร์เทรดในออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ กล่าวว่า “ความท้าทายในการสร้างความยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียจำเป็นต้องอาศัยการขบคิดกันใหม่อย่างเร่งด่วน ด้วยแนวทางแบบไซโลดั้งเดิม (Traditional siloed) ที่อิงตามขอบเขตของแต่ละภาคส่วนนั้นไม่สามารถสร้างผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพได้อีกต่อไป ดังนั้นการทำงานร่วมกันและความร่วมมือในระหว่างประเทศจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญ”

สำหรับรายละเอียดของงาน, หัวข้อการสัมมนา และลิงก์สำหรับการลงทะเบียน สามารถคลิกดูข้อมูลได้ที่ เว็บไซต์

 

รายชื่อผู้สนับสนุนและสปอนเซอร์ของงานในครั้งนี้ Bangkok Bank (ธนาคารกรุงเทพ), PETRONAS (ปิโตรนาส), Boston Consulting Group (บอสตัน คอนซัลติ้ง กรุ๊ป), BRANDi and Companies (แบรนดิ แอนด์ คอมพานีส์), Fujitsu (ฟูจิตสึ), Invest Hong Kong, Ecolab (อีโคแล็บ) , EY (อีวาย), IBM (ไอบีเอ็ม), Manulife Investment Management, Musim Mas (มูซิม มาส), สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (TCEB), REDEX, เอสซีจี, Signify (ซิกนิฟาย), Sime Darby Plantation (ไซม์ ดาร์บี้ แพลนเทชั่น), Singapore Management University (มหาวิทยาลัยการจัดการแห่งสิงคโปร์), ข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UN Global Compact) และ CDD India

โฉมหน้าระบบนิเวศการชำระของเอเชียแปซิฟิกเปลี่ยนแปลงไปอย่างมหาศาลในตลอดช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เทคโนโลยีใหม่ ๆ ถือกำเนิดขึ้นเพื่อเปลี่ยนวิธีการชำระด้วยเงินสดเป็นระบบดิจิทัล และเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ และความสามารถของผู้บริโภคในการจ่ายและรับเงินไปอย่างสิ้นเชิง

ความคาดหวังของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เป็นตัวเร่งให้วิธีการชำระเงินแบบดิจิทัลมีความหลากหลายและยืดหยุ่นมากขึ้น อาทิ แพลตฟอร์มการสมัครสมาชิก การค้าออนไลน์และโซเชียลคอมเมิร์ซ และบริการด้านการเงินแบบ on-demand

ปุณณมาศ วิจิตรกุลวงศา ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย กล่าวว่า “ในปี 2567 นี้ จังหวะของการเปลี่ยนแปลงยังจะดำเนินอย่างต่อเนื่อง และขับเคลื่อนวิวัฒนาการของการชำระเงินในระบบดิจิทัลต่อไปเพราะทั้งผู้บริโภค และภาคธุรกิจต่างมองหาวิธีการชำระและรับชำระที่รวดเร็วกว่า ปลอดภัยกว่า และไร้รอยต่อ ในขณะที่โครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยียังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่องเราคาดหวังว่าโซลูชันใหม่ ๆ จะถือกำเนิดขึ้นเพื่อตอบสนองความคาดหวังของผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้น”

 1. การชำระไม่ใช่แค่เรื่องของวิธีการ แต่สำคัญที่เมื่อไร

เมื่อผู้บริโภคมีความคุ้นเคยกับการชำระแบบดิจิทัล ความสำเร็จจึงไม่ใช่เพียงแค่หาโซลูชันที่ตรงตามที่ผู้บริโภคต้องการ แต่สำคัญที่การนำเสนอโซลูชันนั้น ๆ ให้กับลูกค้าต้องเกิดขึ้นในเวลาที่ใช่

สิ่งนี้เป็นเสน่ห์ของการเงินแบบฝังตัว (embedded finance) คือการผสานบริการด้านการเงินเข้ากับแพลตฟอร์มที่ไม่ใช่สถาบันการเงินแบบดั้งเดิม ปัจจุบันแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสามารถเสนอขายประกันแก่ผู้ซื้อที่จุดชำระเงิน ขณะที่บริการ “ซื้อก่อนจ่ายทีหลัง” ยังช่วยให้ลูกค้าสามารถแบ่งการชำระเป็นงวดได้โดยไม่ต้องออกจากหน้าเว็บ หรือแอปชอปปิง

คล้ายคลึงกับเรื่องราวของดิจิทัลวอลเล็ตที่ทำให้ชีวิตของผู้ถือบัตรชำระเงินต่าง ๆ ง่ายดายขึ้นผ่านการชำระแบบดิจิทัล และโซลูชัน Mobile-as-a-Service (MaaS) ที่ผนวกการชำระเข้าไว้ด้วยกัน ทำให้ผู้ใช้สามารถวางแผน จองตั๋ว และจ่ายค่าโดยสารการเดินทางได้ในที่เดียว

โอกาสในลักษณะนี้ยังปรากฏให้เห็นในการชำระแบบ B2B โดยวีซ่าและบริษัทที่ปรึกษาทางธุรกิจอย่าง BCG พบว่า ภายในปี 2568 การเงินแบบฝังตัวจะสร้างโอกาสทางการตลาดได้มากกว่า 242 พันล้านเหรียญสหรัฐแก่ผู้ให้บริการด้านการเงินทั่วทั้งเอเชียแปซิฟิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (SMB)

 

2. โฉมหน้าการชำระเงินแบบ B2B จะถูกปรับให้เข้ากับผู้บริโภคยิ่งขึ้น

อีกไม่นานจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่พลิกโฉมโลกธุรกิจเมื่อคลื่นลูกใหม่ของผู้นำเจน Z และมิลเลนเนียลก้าวขึ้นมามีบทบาท พวกเขาเติบโตขึ้นมาพร้อมกับการชำระเงินแบบดิจิทัลที่ใช้งานง่าย และความคาดหวังของพวกเขานั่นเองที่ช่วยผลักดันผลิตภัณฑ์และบริการการชำระเงิน B2B ให้มีโฉมหน้าและฟังก์ชั่นการใช้งานให้ง่ายต่อการใช้งานของผู้บริโภคยิ่งขึ้น ตรงกันข้ามกับก่อนหน้านี้ที่ออกแบบมาสำหรับองค์กรธุรกิจเท่านั่น

มีสองพลังสำคัญที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนี้ อย่างแรกคือการทำงานร่วมกัน ระบบที่ต่างกันจะสามารถทำงานร่วมกันอย่างไร้รอยต่อได้มากน้อยเพียงใด มันจำเป็นต้องมีนักพัฒนา ธุรกิจ และภาครัฐ มาร่วมมือกันและใช้งานการเชื่อมต่อโปรแกรมประยุกต์ APIs แบบเปิดที่สามารถรองรับวิธีการชำระแบบต่าง ๆ ได้ในแพลตฟอร์มเดียว เช่นเดียวกับองค์กรในเอเชียแปซิฟิกที่อีกไม่นานจะสามารถชำระเงินอย่างไร้รอยต่อบนแพลตฟอร์ม SAP ด้วยบัตรวีซ่าเพื่อธุรกิจ โดยไม่ต้องยุ่งยากกับวิธีการชำระเงินหรือออกจากระบบอีกต่อไป

พลังอย่างที่สอง คือ ความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นต่อโซลูชันการชำระเงินแบบ B2B ที่สามารถทำได้หลายอย่างในแพลตฟอร์มเดียว แพลตฟอร์มเหล่านี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กเพราะ รวบรวมบริการต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน อาทิ การชำระเงิน การกู้ยืม และการจัดการใบแจ้งหนี้ เพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถจัดการงานด้านการเงินที่สำคัญให้จบได้ในอินเตอร์เฟซเดียว

 3. ความเสี่ยงมีให้เห็นบ่อยขึ้น แต่จับพิรุธได้ยากขึ้น

การชำระเงินแบบดิจิทัลที่เติบโตขึ้นในเอเชียแปซิฟิกส่งผลให้อาชญากรรมทางไซเบอร์มีเพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ระบบ Generative AI ที่สร้างขึ้นบนโมเดลภาษาขนาดใหญ่เริ่มเลียนแบบการตอบสนองที่เหมือนมนุษย์ได้เนียนขึ้น และมิจฉาชีพสามารถใช้ความสามารถของมันไปสร้างอีเมลหลอกลวง และข้อความหลอกลวงแบบฟิชชิ่งโดยการใช้ภาษาที่ดีขึ้น ทำให้ผู้บริโภคจับพิรุธได้ยากขึ้นกว่าเดิม

นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของการฉ้อโกงระบุตัวตน การยึดครองบัญชี และรูปแบบการโกงแบบ “ได้คืบจะเอาศอก” ที่นักต้มตุ๋นมักใช้ล่อเหยื่อด้วยการจ่ายเงินจำนวนไม่มากนักเพื่อซื้อใจเหยื่อ นอกจากนี้ธุรกิจในเอเชียแปซิฟิกมีความเชื่อมต่อกันมากขึ้น ความสุ่มเสี่ยงต่ออาชญากรรมทางไซเบอร์ก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัวไปด้วย

ปัจจุบันวิธีการฉ้อโกงใหม่ ๆ มีหลายร้อยเล่มเกวียน ทำให้วิธีการเดิม ๆ ในการตรวจจับและป้องกันนั้นไม่เพียงพอ ข่าวดีก็คือเทคโนโลยีใหม่ ๆ ก็เร่งเครื่องเพื่อตามกลโกงเหล่านี้ให้ทัน เทคโนโลยี Machine learning (ML) และ โซลูชัน AI อย่าง Visa’s Advanced Authorisation (ViAA) ของวีซ่า สามารถขจัดความเสี่ยงต่อการฉ้อโกงที่อาจเกิดขึ้นก่อนการทำธุรกรรมได้โดยการตรวจจับความผิดปกติและภัยคุกคามอย่างรวดเร็วแบบเรียลไทม์ นับว่าเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจที่ไม่มีทรัพยากรในการจัดการเรื่องเหล่านี้ด้วยตนเอง

ข่าวดีอีกเรื่องคือการยอมรับการชำระด้วยบัตรเวอร์ชวล (virtual card) ซึ่งเป็นบัตรที่ใช้งานได้เหมือนบัตรพลาสติกเพื่อการชำระเงินทั่ว ๆ ไปในกระเป๋าสตางค์ของคุณ แต่ใช้หมายเลขบัตรแบบใช้ครั้งเดียวและจํากัดเวลาในการชำระเงินแต่ละครั้ง ซึ่งสิ่งที่ทำให้บัตรเวอร์ชวลแตกต่างจากบัตรทั่วไปคือมันมาพร้อมกับ Dynamic CVV2 (dCVV2)

บนบัตรพลาสติกเพื่อการชำระแบบมาตรฐานทั่วไปจะมีตัวเลข CVV2 จำนวน 3 หลักพิมพ์ลงบนด้านหลังของบัตร หากตัวเลขดังกล่าวถูกมิจฉาชีพล่วงรู้ ก็จะสามารถใช้บัตรและนำเลขกลับมาใช้ใหม่เพื่อทำธุรกรรมที่ฉ้อโกงได้ แต่ด้วย Dynamic CVV2 ค่าตัวเลขจะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด โดยระหว่างการชำระเงินออนไลน์ผู้ถือบัตรจะกรอกเลข Dynamic CVV2 (dCVV2) ปัจจุบัน แล้วหลังจากนั้นระบบ VisaNet จะทำการตรวจสอบรหัสด้วยฟังก์ชันการตรวจสอบสิทธิ์ dCVV2 Authenticate เพื่อยืนยันตัวตน โดยเทคโนโลยี dCVV2 นอกจากจะช่วยป้องกันการใช้ซ้ำของบัตรที่ถูกมิจฉาชีพล้วงข้อมูลแล้ว ยังสามารถช่วยป้องกันการโจรกรรมและลดต้นทุนที่เกี่ยวข้องก้บการฉ้อโกงต่าง ๆ ได้อีกด้วย

 

4. ธุรกิจ SMB มองไปยังอนาคต แต่ต้องการตัวช่วยสู่ความสำเร็จ

ในปี 2567 และปีต่อ ๆ ไป ภาคธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (SMB) ในเอเชียแปซิฟิกจะยังประสบกับความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ การเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นดิจิทัลได้สร้างการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจแบบเท่าเทียม ที่เจ้าของธุรกิจรายย่อยก็สามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจโลกได้

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจใหม่ และธุรกิจ SMB เหล่านี้ในภาคอื่น ๆ อาจต้องเผชิญกับความท้าทายครั้งสำคัญ ด้วยต้นทุนที่เพิ่มขึ้น จึงจำเป็นต้องรับเอาเทคโนโลยีที่ฉลาดและคุ้มค่าต่อการลงทุนมากขึ้นมาใช้งานด้วยเช่นกัน

หมายความว่า SMB จะช่างเลือกมากขึ้นในการยอมรับโซลูชันการชำระเงินในปี 2567 นี้ พวกเขาต้องการการชำระเงินแบบดิจิทัลที่สะดวก เชื่อถือได้ และไร้รอยต่อ ควบคู่ไปกับการขยายการทำธุรกิจไปต่างประเทศเติบโตขึ้น ส่งผลให้ SMB จะให้ความสำคัญกับโซลูชันที่ช่วยให้พวกเขาสามารถเข้าถึงลูกค้าทั้งในและต่างประเทศได้มากขึ้นเป็นอันดับแรก

“โซลูชันการชำระเงินที่ใช้งานได้จริงและเหมาะกับทุกคนไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ ธุรกิจ SME ไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ คือ บัตรเวอร์ชวล ซึ่งบัตรเวอร์ชวลเพื่อธุรกิจไม่จำเป็นต้องผลิต ถือเป็นความคุ้มทุนเพราะผู้ประกอบการสามารถขอบัตรเวอร์ชวลได้มากตามที่ต้องการ และลูกจ้างไม่จำเป็นต้องรอให้บัตรพลาสติกจัดส่งมาให้ บัตรเวอร์ชวลยังสามารถตั้งค่าได้อย่างรวดเร็วและกำหนดวงเงินได้ตามต้องการ ซึ่งมีประสิทธิภาพอย่างยิ่งโดยเฉพาะกับธุรกิจ SME เพราะการชำระเงินไม่

จำเป็นต้องรวมที่ศูนย์กลางและลูกจ้างสามารถทำการชำระได้อย่างอิสระ ขณะที่บริษัทยังคงควบคุมกระแสเงินสดได้อย่างครบถ้วนอีกด้วย” ปุณณมาศ กล่าวเสริม

นอกจากนี้เรายังจะเห็นธุรกิจ SMB หันไปหาแหล่งเงินทุนที่คล่องตัวและยืดหยุ่นกันมากขึ้น เช่น บัตรที่เหมาะกับความต้องการของธุรกิจขนาดเล็ก รวมถึงการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อที่มีความยืดหยุ่น

เมื่อนวัตกรรมและการพัฒนาการชำระเงินยังคงขับเคลื่อนต่อไปในเอเชียแปซิฟิก สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนคือระบบนิเวศการชำระจะต้องอยู่ต้นแถว เพราะความรวดเร็ว สะดวกสบาย และปลอดภัย ถือเป็นเรื่องสำคัญ เราหวังจะได้ทำงานร่วมกันทั่วทั้งระบบนิเวศทางการเงินเพื่อสร้างโซลูชันใหม่ ๆ ที่จะช่วยพัฒนาภูมิทัศน์ของเอเชียแปซิฟิกไปด้วยกัน

Page 1 of 3
X

Right Click

No right click