January 15, 2025

 

แกร็บ ประเทศไทย ตอกย้ำการเป็นบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำระดับภูมิภาค ประกาศความมุ่งมั่นสู่การเป็นองค์กร ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI-led Organization) เผยแนวทางการพัฒนาและ ใช้เทคโนโลยีที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหาและตอบโจทย์ผู้บริโภคในยุคดิจิทัล ควบคู่ไปกับการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในวงจรธุรกิจและสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับสังคมและสิ่งแวดล้อมผ่าน 3 ตัวแปรหลัก คือ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) อุปกรณ์ที่เชื่อมโยงด้วยอินเทอร์เน็ต (IoT) และโซลูชันนวัตกรรมบนแอปพลิเคชัน (In-app Solutions) พร้อมเผยตัวอย่างนวัตกรรมล่าสุด อาทิ ฟีเจอร์บัญชีครอบครัว (Family Account) ที่ผู้ใช้บริการสามารถติดตามการเดินทางและชำระค่าบริการเรียกรถผ่านแอปฯ ให้กับคนในครอบครัวได้ ฟู้ดล็อกเกอร์ (Food Lockers) ตู้ฝากอาหารเดลิเวอรีที่ออกแบบมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับพนักงานออฟฟิศ รวมถึงแผนที่ในอาคาร (Indoor Map) ที่ช่วยให้คนขับประหยัดเวลาเดินหาร้านอาหารภายในห้างหรืออาคาร

 

นายวรฉัตร ลักขณาโรจน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย กล่าวว่า “กว่าทศวรรษของการดำเนินธุรกิจ แกร็บยึดมั่นในพันธกิจ GrabForGood หรือ ‘แกร็บ เพื่อชีวิตที่ดีกว่า’ ที่มุ่งพัฒนาและนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในภูมิภาคมาโดยตลอด โดยแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีของแกร็บ เริ่มต้นจากการศึกษาพฤติกรรมการใช้ชีวิตและทำความเข้าใจอินไซต์ของผู้บริโภค รวมถึงคนในวงจรธุรกิจ (Ecosystem) ไม่ว่าจะเป็น คนขับหรือผู้ประกอบการร้านค้า-ร้านอาหาร ตลอดจนติดตามและเรียนรู้ประเด็นความสนใจและความท้าทายของสังคม เพื่อนำไปพัฒนาต่อยอดให้เกิดผล ในวงกว้าง โดยปัจจุบันแกร็บมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อตอบโจทย์ใน 4 ประเด็นหลัก คือ การเสริมประสิทธิภาพการทำงาน

(Efficiency) การเพิ่มศักยภาพและผลิตผล (Productivity) การยกระดับประสบการณ์การใช้งาน (Experience) และการสร้างผลกระทบเชิงบวก(Impact)

“สำหรับในประเทศไทย การนำเทคโนโลยี รวมถึงปัญญาประดิษฐ์ (AI Technology) มาใช้เพื่อเสริมความแข็งแกร่งทางธุรกิจ ถือเป็นหนึ่งในกลยุทธ์หลัก (4A) ที่เราประกาศไว้ตั้งแต่ต้นปีเพื่อรักษาความเป็นผู้นำทั้งบริการการเดินทางและเดลิเวอรี โดยในปีนี้เรามุ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาและใช้ประโยชน์เทคโนโลยีใน 3 ส่วนหลัก คือ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) อุปกรณ์ ที่เชื่อมโยงด้วยอินเทอร์เน็ต (IoT) และโซลูชันนวัตกรรมบนแอปพลิเคชันของเรา(In-app Solutions) เพื่อช่วยตอบโจทย์และเติมเต็มความต้องการของคนในอีโคซิสเต็มในด้านต่างๆ อย่างสร้างสรรค์”

ไฮไลท์สำคัญในด้านเทคโนโลยีของแกร็บในปีนี้ ประกอบด้วย

 

· เทคโนโลยีที่เข้าใจ “ผู้ใช้บริการ” ทุกบริการและนวัตกรรมของแกร็บถูกพัฒนาขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกและแก้ปัญหา (pain point) ในชีวิตประจำวันให้กับผู้บริโภคในยุคดิจิทัล โดยผ่านการศึกษาพฤติกรรมและบริบทของการใช้งานเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างตรงจุด ซึ่งนอกจากบริการคำสั่งซื้อกลุ่ม (Group Order) แล้ว ในปีนี้แกร็บยังได้เผย 2 นวัตกรรมที่เพิ่งเปิดตัวล่าสุด อย่าง ฟีเจอร์บัญชีครอบครัว (Family Account) ที่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบโจทย์การใช้บริการเรียกรถผ่านแอปพลิเคชันให้กับสมาชิกในครอบครัว โดยผู้ใช้บริการสามารถเรียกรถ ตรวจสอบตำแหน่งการเดินทาง สื่อสารผ่านแชตกับคนขับ และชำระค่าบริการให้กับสมาชิกในครอบครัวได้อย่างสะดวกสบาย รวมถึงฟู้ดล็อกเกอร์ (Food Lockers) ที่ออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาให้กับพนักงานออฟฟิศที่ชอบสั่งอาหารผ่านแอปฯ แต่บางครั้งอาจติดประชุมหรือไม่สามารถลงมารับอาหารได้ทันที ซึ่งช่วยสร้างความสะดวกให้ทั้งผู้สั่งอาหารและไรเดอร์

· เทคโนโลยีที่เสริมประสิทธิภาพ “คนขับและไรเดอร์” เป้าหมายสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับคนขับ คือ การอำนวยความสะดวกและช่วยให้คนกลุ่มนี้สามารถให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ซึ่งถือเป็นการเพิ่มโอกาสในการหารายได้ให้กับพวกเขา โดยแกร็บมุ่งเน้นการนำเทคโนโลยี AI และ Machine Learning (ML) มาช่วยในระบบจัดสรรงานสำหรับคนขับและวางแผนระบบปฏิบัติการหลังบ้าน ซึ่งรวมถึงนวัตกรรมล่าสุดอย่าง ระบบจัดสรรคำสั่งซื้อแบบทันเวลาพอดี (Just-in-Time Allocation) ที่ใช้ ML มาประเมินเวลาการเตรียมอาหารของ

ร้านค้าก่อนจะส่งงานให้คนขับเพื่อลดระยะเวลาการรอรับอาหารให้สั้นที่สุด และการพัฒนาแผนที่ในอาคาร (Indoor Map) ที่ช่วยแนะนำเส้นทางและบอกตำแหน่งของร้านอาหารภายในห้างหรืออาคาร ซึ่งช่วยลดระยะเวลาในการค้นหาได้ถึง 20%

· เทคโนโลยีที่เสริมโอกาสทางธุรกิจให้กับ “ผู้ประกอบการร้านค้า-ร้านอาหาร” การช่วยให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กสามารถเพิ่มโอกาสทางธุรกิจและเข้าถึงลูกค้าใหม่ๆ ถือเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีให้กับคนกลุ่มนี้ หนึ่งในนวัตกรรมล่าสุดของแกร็บคือการนำเทคโนโลยี AI มาช่วยสร้างหรือออกแบบ ภาพอาหารให้ใกล้เคียงของจริงที่สุด ซึ่งจะช่วยดึงดูดความสนใจของลูกค้าและเพิ่มโอกาสในการขายให้กับร้านค้า ขณะเดียวกัน แกร็บยังคงพัฒนาบริการสินเชื่อดิจิทัล โดยนำเทคโนโลยี ML มาใช้ประเมินศักยภาพและอนุมัติวงเงินที่เหมาะสมให้พาร์ทเนอร์ร้านค้าโดยพิจารณาจากข้อมูลการทำธุรกรรมบนแพลตฟอร์มของแกร็บ

· เทคโนโลยีที่ช่วยแก้ปัญหาและพัฒนา “สังคมและสิ่งแวดล้อม” โดยแกร็บมุ่งให้ความสำคัญกับประเด็นด้านความปลอดภัย ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาแอปพลิเคชัน ดังนั้น จึงได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยสร้างความอุ่นใจให้กับผู้ใช้บริการและคนขับอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมตั้งแต่ก่อน ระหว่างและหลังจบการเดินทาง อาทิ ระบบยืนยันตัวตนของคนขับด้วยการสแกนใบหน้า (Biometric Authentication) ระบบตรวจสอบการเดินทางแบบเรียลไทม์ (Real-time Trip Monitoring) หรือระบบบันทึกเสียงระหว่างการเดินทาง (AudioProtect) ที่ช่วยป้องกันเหตุร้ายและใช้เป็นหลักฐานหากเกิดความขัดแย้งระหว่างผู้โดยสารและคนขับ ขณะเดียวกัน แกร็บยังได้นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อรับมือกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม อาทิ การพัฒนาฟีเจอร์ไม่รับช้อนส้อมพลาสติก (Plastic Cutlery Opt-Out) และฟีเจอร์ชดเชยคาร์บอน (Carbon Offset) ที่ผู้ใช้บริการสามารถร่วมบริจาคเพื่อนำเงินไปซื้อคาร์บอนเครดิตและปลูกต้นไม้ซึ่งได้รับความสนใจและการมีส่วนร่วมอย่างดีจากผู้ใช้บริการ

เทคโนโลยีที่ช่วยเสริมศักยภาพของ “พนักงาน” เพื่อมุ่งสู่การเป็น AI-led Organization ในปีนี้แกร็บได้ส่งเสริม และผลักดันให้พนักงานทั่วทั้งภูมิภาคก้าวทันเทคโนโลยีอย่างเต็มรูปแบบ ผ่านโปรแกรมพัฒนาและฝึกอบรมการใช้เทคโนโลยีที่มีความเข้มข้น โดยเฉพาะGenerative AI พร้อมพัฒนาเครื่องมือที่ออกแบบโดยทีมเทคภายในองค์กร เช่น โปรแกรม GrabGPT เครื่องมือที่นำเทคโนโลยี Large Language Models (LLMs) เข้ามาช่วยในการผลิตเนื้อหาและภาพประกอบ รวมถึง โปรแกรม Mystique เครื่องมือที่ช่วยในการเขียนคำโฆษณา ซึ่งจะช่วยย่นเวลาการทำงานของฝ่ายการตลาดและครีเอทีฟ

“สำหรับแกร็บ เราไม่ได้มุ่งเน้นการใช้หรือพัฒนาเทคโนโลยีที่ต้องล้ำสมัยที่สุด แต่เราให้ความสำคัญกับเป้าหมายของ คนในอีโคซิสเต็มและอรรถประโยชน์ของเทคโนโลยี คือ ต้องตอบโจทย์และแก้ปัญหาของคนในอีโคซิสเต็มได้จริงๆ สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม โดยเราจะยังคงเดินหน้าสานต่อพันธกิจ GrabForGood เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและขับเคลื่อนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปสู่อนาคตต่อไป” นายวรฉัตร ปิดท้าย

 

แกร็บ ประเทศไทย ประกาศปรับพอร์ตฯ สินเชื่อเงินสดเพื่อพาร์ทเนอร์ร้านค้า นำเสนอ 3 ผลิตภัณฑ์สินเชื่อเพื่อตอบโจทย์ผู้ประกอบการร้านค้าและร้านอาหารให้ครอบคลุมทุกขนาดธุรกิจ พร้อมขยายวงเงินสินเชื่อสูงสุดถึง 10 ล้านบาท พร้อมอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 1% ต่อเดือนสำหรับร้านขนาดใหญ่ หวังช่วยเพิ่มทุนหมุนเวียน เสริมสภาพคล่องและให้ผู้ประกอบการสามารถต่อยอดธุรกิจท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจที่ท้าทาย โดยยังชูจุดเด่น ขั้นตอนที่สะดวกไม่ต้องยื่นเอกสาร อนุมัติไวภายใน 1 วัน และผ่อนจ่ายสบายแบบรายวัน

นางสาวจันต์สุดา ธนานิตยะอุดม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานพาณิชย์และการตลาด แกร็บ ประเทศไทย กล่าวว่า “ด้วยสภาพเศรฐกิจในปัจจุบันที่ชะลอตัว จากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ ประกอบกับอัตราหนี้ครัวเรือนไทยอยู่ในระดับที่สูงส่งผลต่อการเบิกใช้สินเชื่อใหม่ อีกทั้งในช่วงไตรมาสที่สองยังคงมีแรงกดดันจากการทยอยชำระคืนสินเชื่อโดยเฉพาะสินเชื่อภาครัฐและภาคธุรกิจ ทำให้ภาพรวมตลาดสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ขยายตัวชะลอลงราว 0.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว1 โดยเป็นที่คาดการณ์ว่าตลาดสินเชื่อในปี 2567 จะมีอัตราการเติบโตเพียง 1.5% ลดลงจากที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้าที่ 3%2 แม้ภาพรวมตลาดสินเชื่อของประเทศจะอยู่ในช่วงชะลอตัว แต่ธุรกิจสินเชื่อของแกร็บยังคงมีผลประกอบการที่ดีและเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการให้สินเชื่อกับกลุ่มพาร์ทเนอร์ร้านค้า ซึ่งในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมามีจำนวนผู้ได้รับสินเชื่อเงินสดจากแกร็บเพิ่มขึ้นมากกว่า 15% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และมีอัตราหนี้เสีย (NPL) อยู่ที่ 2.35% ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยอัตราหนี้เสียของประเทศ3 สะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพของกลุ่มผู้ขอสินเชื่อเงินสดจากแกร็บ”

แกร็บได้นำเทคโนโลยี AI และ Big Data เข้ามาใช้เป็นส่วนหนึ่งในขั้นตอนการประเมินความเสี่ยง โดยพิจารณาจากพฤติกรรมและข้อมูลการทำธุรกรรมผ่านแอปพลิเคชันของพาร์ทเนอร์ร้านค้า (Behavioural Scorecard) เพื่อการอนุมัติสินเชื่อและลดความเสี่ยงในการผิดนัดชำระ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ที่ขอสินเชื่อจากแกร็บมีความต้องการสินเชื่อเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนและเสริมสภาพคล่องให้กับธุรกิจ เช่น การซื้อวัตถุดิบและบริหารสต็อกสินค้า การบริหารลูกจ้างและพนักงาน การจัดการกระแสเงินสด การปรับปรุงหน้าร้าน รวมไปถึงการอัพเกรดเทคโนโลยีและการขยายธุรกิจ เป็นต้น

“เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจและสนับสนุนผู้ประกอบการร้านอาหาร ทั้งรายย่อยและ SME อย่างต่อเนื่อง ล่าสุด แกร็บได้ปรับพอร์ตฯ ผลิตภัณฑ์สินเชื่อสำหรับพาร์ทเนอร์ร้านค้าเพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายตามขนาดและรูปแบบธุรกิจ พร้อมขยายวงเงินสูงสุดถึง 10 ล้านบาท โดยยังคงจุดเด่นในเรื่องของขั้นตอนการขอรับสินเชื่อที่ไม่ยุ่งยาก (ไม่ต้องยื่นเอกสาร) อนุมัติไวภายใน 1 วัน และสามารถผ่อนชำระคืนแบบรายวัน” นางสาวจันต์สุดา กล่าวเสริม

สำหรับผลิตภัณฑ์สินเชื่อเงินสดเพื่อพาร์ทเนอร์ร้านค้าของแกร็บถูกออกแบบมาเพื่อเป็นตัวช่วยในการประกอบอาชีพและส่งเสริมการดำเนินธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการรายย่อย รวมถึงเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง โดยมีการกำหนดวงเงินสินเชื่อเพื่อให้สอดคล้องไปกับขนาดและรูปแบบของธุรกิจที่ต่างกันไป ซึ่งประกอบไปด้วย

· สินเชื่อเงินสดทันใจ: เจาะกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย (ดำเนินธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดา) ซึ่งเป็นเจ้าของร้านค้า ร้านอาหารขนาดเล็กหรือสตรีทฟู้ด โดยให้วงเงินสูงสุด 1 แสนบาท อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 2.75% ต่อเดือน4 และมีระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุด 9 เดือน

· สินเชื่อเงินสดทันใจ พลัส: เจาะกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย (ดำเนินธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดา) ซึ่งเป็นเจ้าของร้านค้า ร้านอาหารที่มีขนาดใหญ่ขึ้นหรือมีหลายสาขา โดยให้วงเงินสูงสุด 1 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 2.08% ต่อเดือน5 และมีระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุด 12 เดือน

· สินเชื่อเงินสดทันใจ เอ็กซ์ตร้า: เจาะกลุ่มเจ้าของธุรกิจ SME หรือแฟรนไชส์ ดำเนินธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคล โดยให้วงเงินสูงสุด 10 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 1% ต่อเดือน และมีระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุด 12 เดือน

“นอกจากบริการสินเชื่อแล้ว ล่าสุด แกร็บยังได้ร่วมกับ บริษัท ชับบ์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน) พัฒนาบริการประกันภัยสำหรับพาร์ทเนอร์ร้านค้าแกร็บในชื่อ ‘ประกันค้าขายหายห่วง’ เพื่อให้ความคุ้มครองผู้ประกอบการธุรกิจจากเหตุไม่คาดฝันอย่างอุบัติภัยหรือภัยธรรมชาติ เช่น ไฟไหม้หรือน้ำท่วม ด้วยวงเงินคุ้มครองสูงสุดถึง 5 ล้านบาท โดยมีค่าเบี้ยประกันเริ่มต้นเพียงวันละ 14 บาทเท่านั้น ทั้งนี้ แกร็บจะยังคงมุ่งมั่นพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น ระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ สินเชื่อ รวมถึงประกัน เพื่อตอบโจทย์ความต้องการและส่งเสริมการเข้าถึงโอกาสทางการเงินให้กับทุกคนในอีโคซิสเต็ม ทั้งผู้ใช้บริการ พาร์ทเนอร์ร้านค้าและคนขับ เพื่ออำนวยความสะดวกและเสริมศักยภาพในการสร้างรายได้และเติบโตทางธุรกิจได้อย่างมั่นคง” นางสาวจันต์สุดา กล่าวทิ้งท้าย

แกร็บฟู้ด (GrabFood) แพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรียอดนิยม เผยอินไซต์คนไทยนิยมสั่งอาหารผ่านแอปฯ เพื่อบริโภคเป็นกลุ่ม ระบุ 93% ของผู้ใช้บริการแกร็บฟู้ดสั่งอาหารมากินด้วยกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป

แต่กว่า 75% พบปัญหาในการแบ่งจ่ายหรือโอนเงินคืนกัน สบช่องผุดไอเดียอัปเกรดฟีเจอร์ “คำสั่งซื้อกลุ่ม” (Group Order) เพื่อแก้ปัญหาให้ผู้ใช้บริการสั่งอาหารร่วมกันได้สะดวกขึ้น สามารถเลือกเมนูโปรดได้ตามใจ   และเพิ่ม 3 ออปชันการจ่ายเงินได้ตามต้องการ พร้อมส่งแคมเปญ “รักนะกรุ๊ปๆ กินกับกรุ๊ป สั่งกับ Grab”     เจาะกลุ่มคนทำงานออฟฟิศ ครอบครัวและเพื่อน มาพร้อมโปรโมชันรูปแบบใหม่  ยิ่งสั่งกรุ๊ปใหญ่ ยิ่งลดเยอะ ด้วยส่วนลดสูงสุดถึง 15% เมื่อสั่งอาหารเป็นกลุ่มตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป พร้อมส่วนลด 30% สำหรับผู้ใช้ใหม่เพียงใส่โค้ด “NEWGROUP” 

นายจิรกิตต์ กว้างสุขสถิตย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานธุรกิจเดลิเวอรี แกร็บ ประเทศไทย เผยว่า “จากการศึกษาพฤติกรรมการบริโภคของผู้ใช้บริการ หนึ่งในอินไซต์ที่น่าสนใจคือคนไทยนิยมรับประทานอาหารด้วยกันหรือใช้เวลาร่วมกันในมื้ออาหาร โดย 93% ของผู้ใช้บริการแกร็บฟู้ดในประเทศไทยจะสั่งอาหารมารับประทานร่วมกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป[1] ทั้งนี้ แกร็บได้พัฒนาและเปิดตัวฟีเจอร์ ‘คำสั่งซื้อกลุ่ม’ (หรือ Group Order) มาตั้งแต่ปี 2563 เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการที่ต้องการสั่งอาหารร่วมกันภายในออเดอร์เดียว ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีจากคนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มคนทำงานออฟฟิศ โดยกว่า 85% ของผู้ใช้บริการฟีเจอร์ Group Order เลือกสั่งอาหารเพื่อมารับประทานร่วมกันในมื้อหลัก[2] โดยเฉพาะมื้อเที่ยงและมื้อเย็น รองลงมาคือสั่งอาหารร่วมกันเพื่อฉลองในโอกาสพิเศษหรือเทศกาลสำคัญ และรับประทานระหว่างการประชุม” 

 

“หนึ่งในปัญหา (Pain Point) หลักของผู้ใช้บริการเมื่อสั่งอาหารร่วมกันคือ คนไทยเป็นคนขี้เกรงใจ ไม่กล้าทวงเงิน โดย 75% ของผู้ใช้บริการระบุว่า มักมีปัญหากับการแบ่งจ่ายเงิน[3] ไม่ว่าจะเป็น การคำนวณยอดสั่งและการหารค่าอาหาร หรือความวุ่นวายในการโอนเงินคืนกัน นอกจากนี้ ยังพบว่าบ่อยครั้งที่การสั่งอาหารร่วมกันในออเดอร์เดียวใช้เวลานาน บางครั้งเกิดความยืดเยื้อเพราะต้องรอให้แต่ละคนใส่รายละเอียดที่ต้องการโดยไม่มีการกำหนดเวลาปิดรับออเดอร์ ล่าสุดเราจึงได้พัฒนาและอัปเกรดฟีเจอร์ Group Order ให้ตอบโจทย์มากขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการแบ่งจ่ายและลดเวลาในการสั่ง”            นายจิรกิตต์ กล่าวเสริม 

ฟีเจอร์คำสั่งซื้อกลุ่ม (Group Order) รูปแบบใหม่มาพร้อม 3 ไฮไลท์สำคัญที่ช่วยแก้ปัญหาของผู้ใช้บริการได้แบบตรงจุด คือ 

  • สั่ง(เป็นกลุ่ม)ง่าย ไม่ยืดเยื้อ: ฟีเจอร์นี้จะช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถสั่งอาหารแบบกลุ่มได้ง่ายและสะดวกขึ้น โดยสามารถสั่งร่วมกันได้มากสุดถึง 10 คน ทั้งนี้ผู้ใช้บริการที่เริ่มสั่ง (Host) สามารถสร้างลิงก์เพื่อสั่งอาหารและแชร์ไปยังกลุ่มเพื่อให้สมาชิกสามารถเลือกเมนูอาหารและใส่รายละเอียดที่ตัวเองต้องการได้โดยตรง ทั้งยังสามารถตรวจสอบรายการอาหาร รวมไปถึงติดตามสถานะการจัดส่งได้แบบเรียลไทม์จากเครื่องของตนเอง        ที่สำคัญคือสามารถกำหนดเวลาปิดรับออเดอร์เพื่อควบคุมเวลาในการสั่งอาหารไม่ให้ยืดเยื้อได้ด้วย 
  • จ่ายตามใจ ไร้กังวล: ผู้ใช้บริการจะมีตัวเลือกในการแบ่งจ่ายเงินระหว่างกันได้ตามความต้องการถึง 3 ออปชัน ไม่ว่าจะเป็น การเลือกจ่ายเฉพาะออเดอร์ที่ตัวเองสั่ง การจ่ายแบบเฉลี่ยเท่ากันทุกคน หรือแม้แต่จะเลือกจ่ายแทนทุกคนก็ได้ ซึ่งเมื่อเลือกรูปแบบที่ต้องการแล้ว ยอดเงินเรียกเก็บจะส่งตรงไปยังเครื่องของแต่ละคน ขจัดปัญหากวนใจเรื่องการตามทวงค่าอาหาร 
  • ยิ่งกลุ่มใหญ่ ยิ่งลดเยอะ: ฟีเจอร์ใหม่นี้มาพร้อมการให้ส่วนลดรูปแบบใหม่เพื่อนำเสนอความคุ้มค่าที่มากขึ้น คือ ยิ่งมีจำนวนสมาชิกที่สั่งอาหารร่วมกันมากขึ้น ก็ยิ่งได้รับส่วนลดมากขึ้น 

 

นอกจากนี้ แกร็บฟู้ดได้เปิดตัวแคมเปญ รักนะกรุ๊ปๆ กินกับกรุ๊ป สั่งกับ Grab” ภายใต้คอนเซปต์             “MEALATIONSHIP SAVER” เพื่อตอกย้ำจุดแข็งของฟีเจอร์คำสั่งซื้อกลุ่มในฐานะตัวช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์และเพิ่มความสุขให้กับการรับประทานอาหารร่วมกัน จัดเต็มด้วยกิจกรรมการตลาด 360 องศา ทั้งออนไลน์และออฟไลน์            เพื่อเจาะ 3 กลุ่มเป้าหมายหลัก คือ กลุ่มคนทำงานออฟฟิศ กลุ่มครอบครัว และกลุ่มเพื่อน พร้อมให้ส่วนลดพิเศษสูงสุด   ถึง 15% เมื่อสั่งอาหารร่วมกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป (สูงสุด 10 คน) พิเศษ! สำหรับผู้ใช้บริการใหม่ รับส่วนลดเพิ่ม 30%   (สูงสุด 100 บาท เมื่อสั่งอาหารขั้นต่ำ 200 บาท) เพียงใส่โค้ด ‘NEWGROUP’ ตั้งแต่วันนี้ถึง 18 สิงหาคม 2567 เท่านั้น 

ติดตามรายละเอียดเกี่ยวกับฟีเจอร์คำสั่งซื้อกลุ่ม (Group Order) และแคมเปญ รักนะกรุ๊ปๆ กินกับกรุ๊ป สั่งกับ Grab”

ส่งเสริมการสร้างอาชีพ - พัฒนาสิทธิประโยชน์ – ยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงาน

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการดูแลผู้ประกอบอาชีพในระบบแพลตฟอร์มดิจิทัล ระหว่าง นางโสภา เกียรตินิรชา อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน นายสมชาย มรกตศรีวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน นายเอกชาติ นาคาไชย รองผู้อำนวยการ รักษาการแทน ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และ นายวรฉัตร ลักขณาโรจน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย เป็นผู้ลงนาม ณ ห้องประชุม ชั้น 5 กระทรวงแรงงาน

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เผยว่า “แพลตฟอร์มดิจิทัลเป็นรูปแบบธุรกิจ ที่ช่วยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ อีกทั้งยังเป็นเสมือนตัวกลางที่อำนวยความสะดวกระหว่างผู้บริโภค ผู้ให้บริการ และผู้ประกอบอาชีพในระบบแพลตฟอร์มดิจิทัล ซึ่งรัฐบาล โดยกระทรวงแรงงานได้กำหนดนโยบาย ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างรากฐานทางเศรษฐกิจ พัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยการคุ้มครองแรงงานให้ได้รับการดูแลสภาพการจ้าง สภาพการทำงาน รวมทั้งความปลอดภัยในการทำงาน กระทรวงแรงงาน จึงมีแนวคิดในการจัดทำบันทึกความร่วมมือ ว่าด้วยการดูแลผู้ประกอบอาชีพในระบบแพลตฟอร์มดิจิทัล ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในสังกัดกระทรวงแรงงาน ร่วมกับ บริษัท แกร็บแท็กซี่ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อเป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในการดูแลผู้ประกอบอาชีพในระบบแพลตฟอร์มดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็น กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

ในการหาแนวทางยุติปัญหาที่เกิดขึ้น ระหว่างคนทำงานในระบบแพลตฟอร์มดิจิทัลกับผู้ให้บริการฯ หรือมีช่องทางในการบริหารจัดการกับปัญหาที่อาจจะนำไปสู่ความขัดแย้งที่ชัดเจน รวมถึงการสร้างงาน ให้กับผู้สูงอายุ ที่ต้องการเลือกประกอบอาชีพอิสระ หรือผู้ที่ต้องการหารายได้เสริม โดยได้ร่วมมือกับกรมการจัดหางาน ในการส่งตำแหน่งงานว่างเพื่อสร้างอาชีพ ตลอดจนส่งเสริมการทำงาน หรือสร้างมาตรฐานในการทำงาน ที่ปลอดภัย โดยร่วมกับสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) ซึ่งการลงนามร่วมกันในครั้งนี้จะส่งผลให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ประกอบธุรกิจบริการระบบแพลตฟอร์มดิจิทัลกับผู้ประกอบอาชีพในระบบแพลตฟอร์มดิจิทัล และเพิ่มโอกาสให้เข้าถึงอาชีพของ ผู้ว่างงานและผู้สูงอายุที่ประสงค์จะทำงานอีกด้วย”

 

นายวรฉัตร ลักขณาโรจน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย กล่าวว่า “ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาแพลตฟอร์มดิจิทัลได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนไทยมากขึ้นและกลายเป็นส่วนสำคัญ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งยังส่งเสริมให้เกิดการทำงานในรูปแบบใหม่ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต ของคนที่เปลี่ยนแปลงไป ในฐานะผู้นำแพลตฟอร์มดิจิทัลที่มุ่งมั่นยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คน ผ่านการใช้เทคโนโลยี แกร็บให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการดูแลพาร์ทเนอร์คนขับ ซึ่งใช้แพลตฟอร์มของเรา เป็นช่องทางในการหารายได้ โดยที่ผ่านมาแกร็บมุ่งเน้นการบริหารค่าตอบแทนที่เหมาะสมและสอดคล้อง กับระบบอุปสงค์อุปทาน ทั้งยังพัฒนาสิทธิประโยชน์ต่างๆ เพื่อสนับสนุนการทำงานของพาร์ทเนอร์คนขับ และสร้างมาตรฐานให้กับแรงงานบนแพลตฟอร์มดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็น การจัดทำประกันอุบัติเหตุเพื่อให้คุ้มครองระหว่างการให้บริการ การส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงินด้วยอัตราดอกเบี้ยที่เป็นธรรมและเป็นไปตามข้อกำหนดของ ธปท. รวมไปถึงการจัดทำคอร์สอบรมเพื่อให้ความรู้และพัฒนาทักษะที่จำเป็นผ่านโครงการ GrabAcademy เป็นต้น”

“การผนึกความร่วมมือกับกระทรวงแรงงานในครั้งนี้ถือเป็นการตอกย้ำความมุ่งมั่นของแกร็บในการร่วมผลักดันมาตรฐานการดูแลผู้ประกอบอาชีพในระบบแพลตฟอร์มดิจิทัลให้เป็นรูปธรรม โดยเราพร้อมสนับสนุนและ ให้ความร่วมมือกับกระทรวงแรงงานในการพัฒนาแนวทางในการคุ้มครองแรงงานบนแพลตฟอร์มดิจิทัล เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแพลตฟอร์มเพื่อหารายได้ ตลอดจนดูแลให้แรงงานเหล่านี้ได้รับสิทธิประโยชน์ และมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น” นายวรฉัตร กล่าวเสริม

 

ทั้งนี้ บันทึกความร่วมมือระหว่าง แกร็บ ประเทศไทย และ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กรมการจัดหางาน และสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในครั้งนี้มีเป้าหมายหลัก ที่จะส่งเสริมและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับแรงงานบนแพลตฟอร์มดิจิทัลผ่านการดำเนินงานใน 3 ส่วนสำคัญ คือ

· การส่งเสริมการให้สิทธิประโยชน์ที่เป็นมาตรฐานกับแรงงานบนแพลตฟอร์มดิจิทัล โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานและแกร็บจะร่วมหาแนวทางในการสนับสนุนและจัดทำมาตรการในการดูแลผู้ประกอบอาชีพในระบบแพลตฟอร์มดิจิทัลที่เหมาะสม ซึ่งรวมไปถึงการกำหนดสิทธิประโยชน์ที่เป็นมาตรฐาน ที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับแรงงานบนแพลตฟอร์มดิจิทัล โดยที่ผ่านมา แกร็บให้ความสำคัญกับการจัดสรรสิทธิประโยชน์อื่นๆ เพิ่มเติมให้กับพาร์ทเนอร์คนขับ นอกเหนือจาก การบริหารค่าตอบแทนที่เหมาะสม โดยเฉพาะ การจัดทำประกันอุบัติเหตุเพื่อให้ความคุ้มครองพาร์ทเนอร์

คนขับทุกคนตั้งแต่ก่อน ระหว่าง และหลังให้บริการแล้ว โดยมีวงเงินคุ้มครองสูงสุด 100,000 บาท ในกรณีเกิดอุบัติเหตุ และวงเงินชดเชยสูงสุด 200,000 บาท ในกรณีเสียชีวิต นอกจากนี้ ยังมีการให้บริการด้านสินเชื่อเพื่อสนับสนุนการประกอบอาชีพของพาร์ทเนอร์คนขับโดยมีวงเงินสูงสุด 100,000 บาท ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่เป็นธรรม โดยสามารถแบ่งชำระได้แบบรายวัน เป็นต้น

· การส่งเสริมการสร้างอาชีพและโอกาสในการหารายได้ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลให้กับผู้ที่ว่างงาน รวมถึงผู้สูงอายุ โดยแกร็บและกรมการจัดหางานจะร่วมกันส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์ จากแพลตฟอร์มของแกร็บในการหารายได้ ไม่ว่าจะเป็น การให้บริการเรียกรถผ่านแอปพลิเคชัน หรือ บริการด้านเดลิเวอรี ซึ่งที่ผ่านมา แกร็บเปิดโอกาสให้กับคนไทยหลายแสนคน สามารถเข้ามา เป็นพาร์ทเนอร์คนขับเพื่อหารายได้เสริม โดยไม่จำกัดเพศ วัย การศึกษา หรือแม้แต่ผู้ที่มีข้อจำกัด ทางด้านร่างกาย เช่น ผู้พิการทางการได้ยิน นอกจากนี้ ยังได้ริเริ่มโครงการ ‘แกร็บวัยเก๋า’ เพื่อเปิดโอกาสให้คนไทยวัยเกษียณสามารถหารายได้และส่งเสริมคุณค่าในตัวเองผ่านแพลตฟอร์มของแกร็บ โดยปัจจุบันมีพาร์ทเนอร์คนขับกลุ่มนี้มากกว่า 13,000 คน

· การพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยสำหรับแรงงานบนแพลตฟอร์มดิจิทัล โดยแกร็บและ สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานจะร่วมกันพัฒนาแนวทางปฏิบัติเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยในระหว่างการทำงานให้กับผู้ประกอบอาชีพในระบบแพลตฟอร์มดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็น การจัดอบรมเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยในการทำงาน หรือการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อป้องกันภัยต่างๆ เป็นต้น โดยที่ผ่านมา แกร็บให้ความสำคัญกับประเด็นด้านความปลอดภัย เป็นอันดับต้นๆ เพื่อสร้างความอุ่นใจให้กับทุกคนที่ใช้แพลตฟอร์มของแกร็บ โดยได้พัฒนาเทคโนโลยี และมาตรฐานด้านความปลอดภัยต่างๆ อย่างต่อเนื่อง อาทิ ระบบตรวจสอบการเดินทางแบบเรียลไทม์ ฟีเจอร์ Safety Centre ที่ทั้งผู้โดยสารและพาร์ทเนอร์คนขับสามารถแชร์ข้อมูลการเดินทางให้กับเพื่อน หรือครอบครัวได้แบบเรียลไทม์ รวมถึงสามารถขอความช่วยเหลือได้ในกรณีฉุกเฉิน และฟีเจอร์ Audio Protect ที่ช่วยบันทึกเสียงระหว่างการเดินทางเพื่อป้องกันเหตุร้ายและใช้เป็นหลักฐานหากเกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างการเดินทาง เป็นต้น

แกร็บ ประเทศไทย ตอกย้ำความเป็นผู้นำซูเปอร์แอป เผยภาพรวมความสำเร็จปี 2565 ตั้งเป้าเติบโตอย่างยั่งยืนภายใต้แนวคิด “Building Sustainable Growth through Innovation” ชู 2 กลยุทธ์หลักขับเคลื่อนธุรกิจในปี 2566 “Power of Superapp” และ “Operational Efficiency” มุ่งเชื่อมโยงและผสานการทำงานของทุกธุรกิจภายในอีโคซิสเต็มเพื่อสร้างซินเนอร์จีและเสริมแกร่งบริการ พร้อมใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาการให้บริการและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ ครอบคลุม 4 ธุรกิจหลัก อันได้แก่ บริการการเดินทาง (Mobility) บริการเดลิเวอรี (Deliveries) บริการทางการเงิน (Financial Services) และบริการสำหรับองค์กร (Enterprise)

นายวรฉัตร ลักขณาโรจน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย เผยว่า “หลังสถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลายลงในที่ผ่านมา เราได้เห็นสัญญาณบวกและแนวโน้มการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญในทุกธุรกิจของแกร็บในประเทศไทย ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้* โดยเฉพาะในบริการขนส่งและบริการส่งอาหารออนไลน์ ที่ยังคงมีแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น บริการการเดินทาง ซึ่งในปีที่ผ่านมาแกร็บได้รับการรับรองแอปพลิเคชันจากกรมการขนส่งทางบก โดยปัจจุบันบริการการเดินทางของแกร็บกลับมามียอดใช้บริการมากกว่าช่วงก่อนโควิด และหลังจากที่มีการเปิดประเทศ ยอดใช้บริการในกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติพุ่งขึ้นถึง 152%** ”

 

“ขณะที่ บริการเดลิเวอรี ยังคงได้รับความนิยมและมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแม้สถานการณ์โควิดจะดีขึ้นตามลำดับ แต่พฤติกรรมของผู้บริโภคได้เปลี่ยนไปแล้ว โดยผู้ใช้บริการมีความคุ้นชินกับการสั่งอาหารรวมถึงสินค้าหรือของใช้แบบออนดีมานด์ ทั้งบริการแกร็บฟู้ดที่ยังคงเติบโต โดยเฉพาะในตลาดต่างจังหวัด ซึ่งในปีที่ผ่านมาเติบโตสูงกว่าในกรุงเทพฯ ถึง 3 เท่า*** และบริการแกร็บมาร์ท ซึ่งเทรนด์การสั่งสินค้าประเภทของสดยังคงเติบโต โดยมีสัดส่วนเป็น 1 ใน 3 ของสินค้าทั้งหมด ในส่วนของ บริการทางเงิน เราได้มีการออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆ ที่มุ่งให้ความสำคัญกับการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในอีโคซิสเต็ม อาทิ บริการสินเชื่อรถยนต์ไฟฟ้าสำหรับพาร์ทเนอร์คนขับ เพื่อเป็นช่องทางในการหารายได้ในแบบที่ช่วยรักษ์โลก และบริการ PayLater เพื่อเพิ่มทางเลือกในการบริหารจัดการด้านการเงินให้กับผู้ใช้บริการซึ่งได้เสียงตอบรับเป็นอย่างดี”

“ภายหลังดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมาเป็นเวลา 10 ปี แกร็บยังคงเดินหน้าสานต่อพันธกิจ GrabForGood เพื่อมุ่งสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยในปีนี้ เราจะมุ่งเน้นไปที่ 2 กลยุทธ์สำคัญ นั่นคือ “Power of Superapp” ที่มุ่งผสานความร่วมมือและการทำงานของทุกธุรกิจในอีโคซิสเต็มของแกร็บให้เกิด Synergy และเอื้อประโยชน์ต่อกัน และ “Operational Efficiency” ที่จะดึงนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดในทุกกระบวนการทำงานของแกร็บ เพื่อขับเคลื่อน 4 กลุ่มธุรกิจหลัก อันได้แก่ บริการการเดินทาง บริการเดลิเวอรี (รับส่งอาหาร สินค้าและพัสดุ) บริการทางการเงิน และบริการสำหรับองค์กร”

 

สำหรับในปี 2566 แกร็บ ประเทศไทย มีแผนที่จะขับเคลื่อน 4 กลุ่มธุรกิจ ดังนี้

· บริการการเดินทาง (Mobility) : โดยมุ่งเน้นไปที่ 3 ประเด็นหลัก คือ

o ยกระดับมาตรฐานเสริมความเชื่อมั่น โดยยังคงให้ความสำคัญกับมาตรฐานด้านความปลอดภัย ซึ่งถือเป็นจุดเด่นของแกร็บและเป็นปัจจัยหลักที่ผู้ใช้บริการให้ความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น การพัฒนาหรืออัพเกรดเทคโนโลยีใหม่ๆ รวมไปถึงการกำหนดและควบคุมมาตรฐานการให้บริการของพาร์ทเนอร์คนขับอย่างเข้มงวด เป็นต้น

o รุกตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเน้นยกระดับบริการเพื่อรองรับการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่คาดว่าจะเดินทางเข้ามาประเทศไทยถึง 28 ล้านคน**** ด้วยการจับมือกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อสร้างประสบการณ์การเดินทางที่ดีอย่างไร้รอยต่อตั้งแต่สนามบิน รวมไปถึงการพัฒนาแอปพลิเคชันให้ตอบรับการใช้งานของชาวต่างชาติ

o เจาะตลาดพรีเมียม ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งเซ็กเมนต์ที่มีพฤติกรรมการใช้จ่ายสูง โดยเราเตรียมส่งแคมเปญพิเศษเจาะตลาดกลุ่มนี้ พร้อมเพิ่มจำนวนพาร์ทเนอร์คนขับที่ให้บริการเรียกรถด้วยรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อให้สามารถตอบรับความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น

· บริการเดลิเวอรี (Deliveries): โดยมี 3 ไฮไลท์สำคัญ คือ

o ตอกย้ำในด้านคุณภาพ (Quality) ของทั้งร้านอาหารบนแพลตฟอร์มและการให้บริการ โดยยังคงชูโรงซับแบรนด์ #GrabThumbsUp ที่คัดสรรและรวบรวมร้านอร่อยชื่อดังจากทั่วประเทศมาสร้างประสบการณ์ความอร่อยให้กับผู้ใช้บริการ พร้อมเตรียมเปิดตัวแคมเปญและกิจกรรมพิเศษเพื่อมัดใจผู้ใช้บริการในเร็วๆ นี้

o เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดส่งอาหารและสินค้า (Efficiency) ด้วยเทคโนโลยีและระบบบริหารจัดการต่างๆ เช่น การพัฒนาระบบแผนที่ และระบบคำนวณเวลารออาหาร เพื่อเพิ่มความแม่นยำ และลดเวลาในการจัดส่งสินค้า

o เน้นสร้างฐานสมาชิกและความภักดีของผู้ใช้บริการ (Loyalty) ผ่านแพ็คเกจสมาชิก GrabUnlimited ด้วยสิทธิประโยชน์ที่เพิ่มขึ้น พร้อมกับส่วนลดที่ครอบคลุมทุกบริการของแกร็บ

· บริการทางการเงิน (Financial Services): โดยยังคงมุ่งส่งเสริมการเข้าถึงโอกาสทางเงินให้กับพาร์ทเนอร์คนขับ-ร้านค้า ไม่ว่าจะเป็น การขยายวงเงินสินเชื่อสำหรับพาร์ทเนอร์ร้านค้าสูงสุดถึง 500,000 บาท เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนให้กับผู้ประกอบการร้านอาหารในการขยายธุรกิจและเสริมสภาพคล่องหรือการขยายผลิตภัณฑ์ทางการเงินรูปแบบใหม่สำหรับพาร์ทเนอร์คนขับ อาทิ บริการสินเชื่อสำหรับผ่อนชำระสินค้าอื่นๆ เช่น ทองคำ เครื่องใช้ไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ รวมไปถึงการนำเสนอ

ผลิตภัณฑ์ประกันภัยสำหรับบริการเรียกรถผ่านแอปพลิเคชัน เพื่อสร้างความอุ่นใจให้กับทั้งพาร์ทเนอร์คนขับและผู้ใช้บริการ

· บริการสำหรับองค์กร (Enterprise): โดยผลักดันบริการซูเปอร์แอปสู่ภาคธุรกิจ ผ่าน Grab for Business โซลูชันที่จะช่วยบริหารจัดการทุกบริการของแกร็บสำหรับลูกค้าองค์กร ซึ่งทำให้ลูกค้าสามารถบริหารจัดการเวลา และค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมบุกตลาดโฆษณาเต็มรูปแบบ โดยชู GrabAds สื่อโฆษณามาแรงบนซูเปอร์แอปอย่าง Grab ที่จะช่วยให้นักการตลาดสามารถเจาะลึกพฤติกรรมผู้บริโภค และเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้อย่างตรงกลุ่มเป้าหมายและแม่นยำ

“สำหรับแผนกลยุทธ์ธุรกิจในระยะยาวนั้น แกร็บ ประเทศไทย มุ่งขับเคลื่อนองค์กรและสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยจะนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ มาใช้ภายใต้แนวคิด ‘Building Sustainable Growth through Innovation’ ซึ่งจะครอบคลุมการพัฒนาใน 3 ประเด็นหลัก อันได้แก่ 1) สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับทุกคนในอีโคซิสเต็ม ซึ่งไม่ใช่เพียงการสร้างผลกำไรของบริษัทฯ แต่จะต้องสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับทั้งพาร์ทเนอร์คนขับ พาร์ทเนอร์ร้านค้า ผู้ใช้บริการ รวมถึงสังคมโดยรวม 2) ร่วมผลักดันประเทศไทยให้ก้าวไปข้างหน้า โดยมุ่งส่งเสริมรูปแบบการทำงานของโลกยุคใหม่ การเข้าถึงและใช้ประโยชน์เทคโนโลยีดิจิทัล รวมถึงการสร้างความยั่งยืนให้กับสิ่งแวดล้อม และ 3) สร้างความเชื่อมั่นสู่การเป็นแบรนด์ที่อยู่ในใจทุกคน โดยเริ่มตั้งแต่การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีให้กับพนักงาน การปลูกฝังเรื่องธรรมาภิบาล พร้อมปั้นทรัพยากรบุคคลให้กลายเป็นผู้นำที่มีคุณภาพเพื่อพัฒนาธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป” นายวรฉัตร ปิดท้าย

 

 

X

Right Click

No right click