กลุ่มธุรกิจอาหาร บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ บริษัท บีเอสจีเอฟ จำกัด (BSGF) ในกลุ่มบริษัทบางจาก สนับสนุนการจัดการน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้วอย่างถูกวิธี ไม่ทิ้ง ไม่ทอดซ้ำ ภายใต้ โครงการ “ทอดไม่ทิ้ง” และ “ไม่ทอดซ้ำ” ของบางจาก เพื่อส่งต่อให้บริษัท บีเอสจีเอฟ จำกัด (BSGF) นำไปผลิตเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน แทนการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพในอุตสาหกรรมเครื่องบิน โดยมีร้านอาหารในเครือบริษัทไทยเบฟเวอเรจ เข้าร่วมโครงการ จำนวน 708 สาขาทั่วประเทศ เพื่อสนับสนุนการใช้ทรัพยากรหมุนเวียน มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ และตอบโจทย์ โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (BCG) ได้อย่างครบวงจร
ในโอกาสนี้ ได้รับเกียรติจาก นางกลอยตา ณ ถลาง รักษาการรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ งานบริหารความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร พร้อมด้วย นายนิพนธ์ เลิศทัศนีย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบริหารโครงการวิศวกรรมและโลจิสติกส์ กลุ่มธุรกิจโรงกลั่นและการค้าน้ำมัน บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ร่วมด้วยนายสุรพร เพชรดี ผู้จัดการใหญ่ บริษัท บีเอสจีเอฟ จำกัด, นายธนวัฒน์ ลินจงสุบงกช ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัทธนโชค และนางนงนุช บูรณะเศรษฐกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด สายธุรกิจอาหาร ประเทศไทย บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ร่วมลงนามความร่วมมือรวบรวมน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้วเพื่อนำไปเป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตน้ำมันอากาศยานยั่งยืน (SAF)
นางนงนุช บูรณะเศรษฐกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด สายธุรกิจอาหาร ประเทศไทย บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “กลุ่มธุรกิจอาหารไทยเบฟ ในฐานะผู้นำธุรกิจอาหาร เราดำเนินธุรกิจด้วยความใส่ใจต่อผู้บริโภค คำนึงถึงคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร ควบคู่ไปกับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่ผ่านมา เรามีกระบวนการจัดการน้ำมันในการปรุงอาหารอย่างครบวงจร โดยเลือกใช้น้ำมันคุณภาพ งดการใช้น้ำมันทอดซ้ำจนเสื่อมสภาพ เพื่อป้องกันการเกิดสารอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค อันจะก่อให้เกิดโรคตามมา โดยมีมาตรการตรวจสอบและควบคุมสารโพลาร์ในน้ำมัน ไม่ให้เกินร้อยละ 25 เพื่อความปลอดภัยและเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด รวมถึงส่งต่อน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้วจากร้านอาหารในเครือให้แก่คู่ค้า เพื่อนำไปผลิตเป็นพลังงานสะอาดไบโอดีเซล
โดยสอดคล้องกับแนวคิด “โครงการทอดไม่ทิ้ง” และ “โครงการไม่ทอดซ้ำ” ที่ส่งเสริมการจัดการน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้วอย่างถูกวิธี ไม่ทิ้งลงพื้นที่สาธารณะ และสร้างมาตรฐานการใช้น้ำมันปรุงอาหารอย่างปลอดภัยต่อผู้บริโภค โดยนำน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้ว มาส่งต่อให้ บริษัท บีเอสจีเอฟ จำกัด เพื่อนำไปผลิตเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน หรือ Sustainable Aviation Fuel - SAF ที่สามารถใช้กับเครื่องบินได้โดยไม่ส่งผลกับเครื่องยนต์ แสดงให้เห็นถึงการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพในอุตสาหกรรมการบิน เพื่อลดภาวะโลกร้อน”
“วันนี้ กลุ่มธุรกิจอาหารไทยเบฟ เราพร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนสังคมสุขภาพดี สร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีและปลอดภัยให้กับผู้บริโภค มุ่งมั่นวางแผนการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและหมุนเวียนกลับมาใช้ประโยชน์สูงสุดเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเติบโตอย่างยั่งยืนควบคู่ไปด้วยกัน” นางนงนุช กล่าวปิดท้าย
สำหรับโครงการทอดไม่ทิ้งและไม่ทอดซ้ำ มุ่งแก้ไขปัญหาการทิ้งน้ำมันปรุงอาหารที่ใช้แล้วอย่างไม่ถูกวิธี ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการใช้น้ำมันปรุงอาหารซ้ำ ทำให้เร่งการเสื่อมสภาพของน้ำมัน ก่อให้เกิดสารอันตรายแก่ร่างกาย ได้แก่ สารโพลาร์ สารประกอบโพลีไซคลิก อะโรมาติก ไฮโครคาร์บอน และเป็นสาเหตุให้เกิดโรคตามมา คือ ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดหัวใจตีบ โรคกระเพาะอาหาร หากสูดดมไอระเหยของน้ำมันเป็นเวลานาน อาจจะทำให้เสี่ยงเป็นมะเร็งปอด
ทางบริษัท บีเอสจีเอฟ จำกัด (BSGF) ในกลุ่มบริษัทบางจาก จึงรับซื้อน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้ว เพื่อนำไปผลิตเป็น SAF ซึ่งการใช้ SAF สามารถช่วยลดการปล่อยคาร์บอนได้ประมาณ 80% เทียบกับน้ำมันอากาศยานแบบเดิม
ปัจจุบันมีแบรนด์ร้านอาหารรระดับประเทศ ตอบรับเข้าร่วมโครงการหลายแบรนด์ รวมถึงร้านอาหารในเครือบริษัทไทยเบฟเวอเรจ ได้เข้าร่วม โครงการทอดไม่ทิ้ง ตั้งแต่ปี 2564 จนถึงปัจจุบัน พร้อมต่อยอดสู่ โครงการไม่ทอดซ้ำ รวมทั้งสิ้น 11 แบรนด์ร้านอาหาร จำนวน 708 สาขาทั่วประเทศ ประกอบด้วย ร้านอาหารญี่ปุ่นในเครือโออิชิ ได้แก่ โออิชิ แกรนด์, โออิชิ อีทเทอเรียม, โออิชิ บุฟเฟต์, ชาบูชิ, นิกุยะ, โฮว ยู, โออิชิ ราเมน, คาคาชิ, โออิชิ บิซโทโระ รวมถึงร้านเคเอฟซี โดยบริษัท เดอะ คิวเอสอาร์ ออฟ เอเชีย จำกัด และร้านอาหารบุฟเฟ่ต์สไตล์ยุโรป แวนเทจ พอยท์ ทั้งนี้ ร้านอาหารที่ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติได้เข้าร่วมโครงการไม่ทอดซ้ำ จะได้รับประกาศนียบัตรจากกรมอนามัย เพื่อรับรองมาตรฐานการไม่ใช้น้ำมันทอดซ้ำและนำน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้วมาขายให้บริษัท บีเอสจีเอฟ จำกัด นำไปผลิตเป็น SAF
สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจอาหารและประชาชนทั่วไป ก็สามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลสิ่งแวดล้อมด้วยการนำน้ำมันปรุงอาหารที่ใช้แล้วมาขายได้ที่สถานีบริการบางจาก 162 แห่งทั่วประเทศ เพื่อให้บริษัท บีเอสจีเอฟ จำกัด นำไปผลิตเป็นพลังสะอาด และยังช่วยสร้างรายได้เสริมให้แก่ทุกคนอีกด้วย
ผ่านมาแล้ว 4 ปี กับกิจกรรม Football Sportwear 2024 ภายใต้โครงการ eisa (Education Institute Support Activity) บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ที่สนับสนุนกิจกรรมในรั้วมหาวิทยาลัยได้ร่วมมือกับ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพออกแบบชุดนักฟุตบอลให้กับสโมสรฟุตบอลต่างๆ ผ่านวิชาเรียน FD395 Special Issue in Fashion Design1
โดยในปีนี้มีสโมสรฟุตบอลนครปฐม ยูไนเต็ด และสโมสรฟุตบอลโปลิศ เทโร เอฟซี เร่วมมอบโจทยเพื่อเป็นแนวทางให้กับนักศึกษาออกแบบชุดนักฟุตบอลให้ตอบโจทย์มากที่สุด รวมถึงมีการจัดประกวดการออกแบบในรายวิชาเพื่อคัดเลือกผลงานต้นแบบที่ชนะ นับว่าเป็นการบูรณาการโจทย์จากความต้องการจริงของผู้ใช้งาน โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ เพื่อมุ่งเน้นให้นักศึกษาที่เรียนวิชาดังกล่าว ตอบโจทย์ด้านการออกแบบแฟชั่นกีฬาอย่างเป็นระบบ ในปีการศึกษานี้มีนักศึกษาภาควิชาการออกแบบแฟชั่น คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จำนวน 41 คน ซึ่งจะมีการแบ่งกลุ่มออกเป็น 7 กลุ่ม เพื่อร่วมกันดำเนินกิจกรรมด้านวิชาการระหว่างกัน การดำเนินงานดังกล่าวประกอบด้วยการฝึกปฏิบัติการออกแบบเพื่อการประกวด การศึกษาดูงาน การจัดประกวด จัดทำชุดเสื้อผ้าและของที่ระลึกต้นแบบ จะได้เห็นรูปแบบการออกแบบทั้งชุดแข่งขัน / ชุดซ้อม / ชุดเดินทาง / Accessories ต่าง ๆ (ผ้าพันคอ / หมวก / กระเป๋า ฯลฯ) เพื่อคัดเลือกผลงาน ต้นแบบที่โดนใจ ของสโมสรฟุตบอลทั้ง 2 ทีม นำไปผลิตใช้งานจริงต่อไป
นอกจากนี้ ความพิเศษและความแตกต่างของโครงการฯในปีนี้จะถูกนำไปจัดแสดงภายในงาน SX 2024 ทั้งในส่วนของ Exhibition @ Life Long Learning Zone และ Talk stage ที่จะเป็นการพูดคุยของผู้บริหาร 2 สโมสรฟุตบอล รวมถึงอาจารย์และนักศึกษา พร้อมการจัดแสดง Mini Fashion Show @ SX 2024 Talk Stage โดยปีนี้เป็นครั้งแรกที่จะได้ทายาทของ 2 ประธานสโมสรฟุตบอล ในฐานะ “Young Gen” ลงมาเป็น Mentor และช่วยดูแล โครงการฯ ร่วมกับโครงการ eisa คือคุณเอมี่ พิมพ์ชญา สะสมทรัพย์ ผู้จัดการสโมสรฟุตบอลนครปฐม ยูไนเต็ด และคุณแฮน ชัยธัช ชัยจินดา ผู้บริหารสโมสรฟุตบอลโปลิศ เทโร
สำหรับแผนดำเนินโครงการ แบ่งเป็น 4 ครั้ง โดยมีรายละเอียดดังนี้
- เวลา 13.00-14.00 น. มอบโจทย์โดยสโมสร โปลิศ เทโร
- เวลา 15.00-16.00 น. มอบโจทย์โดยสโมสรนครปฐม ยูไนเต็ด
- วันที่ 27 ก.พ. 67 ช่วงบ่าย นศ. จะเดินทางไปนำเสนอแบบของสโมสรนครปฐม @ จังหวัด
นครปฐม
VS สโมสรตราด เอฟซี @ โรงเรียนกีฬาเทศบาลนครปฐม จ.นครปฐม + ร่วมศีกษาสถานที่สำคัญ
ต่างๆของจังหวัดนครปฐม
ประจำฤดูกาล 2023/2024 ของทั้ง 2 สโมสร พร้อมการจัดแสดง Mini Fashion Show จากเหล่า
นักฟุตบอลของทั้ง 2 สโมสร ณ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ Main Campus
นายสินทวีชัย หทัยรัตนกุล นักฟุตบอลทีมสโมสรโปลิศ เทโร นำทีมนักเตะมอบโจทย์ให้กับนักศึกษาได้กล่าวถึงความรู้สึกในการเข้าร่วมมอบโจทย์ว่า
“มุมมองและทัศนคติในกิจกรรม Football Sportwear 2024 ผมมองว่าไม่ต่างกันจากเกมส์กีฬาฟุตบอล ซึ่งต้องมีการฝึกซ้อม มีการวัดผลงาน วัดค่าว่าไปไกลแค่ไหนในการแข่งขัน สิ่งที่ไทยเบฟทําก็คือการให้โอกาสเด็กรุ่นใหม่ได้เสนอไอเดียมุมมองต่างๆที่เขามี แล้วก็สร้างสรรค์ออกมาเราให้เขาได้มีโอกาสแสดงความสามารถลงทุนลงแรง สำหรับปีนี้เราได้ให้โจทย์หลักๆก็เป็นเรื่องโทนสี อันดับแรกก็คือเรื่องโทนสีที่ต้องเป็นแดงดําซึ่งอยากให้น้องๆ ทําโจทย์ออกมาให้มีความน่าเกรงขามกับไอเดียที่สร้างสรรค์ออกมาให้มากที่สุด สำหรับทัศนคติกับโครงการนี้ถือว่าเป็นโครงการที่ดีก็อย่างที่บอกครับในเมื่อเด็กๆเขามีความคิดสร้างสรรค์ จําเป็นต้องมีเวทีให้พวกเขาได้แสดงออก ให้เขาได้แสดงผลงานออกมา เป็นช่วงเวลาหนึ่งที่ทําให้เขาเจริญเติบโตพัฒนาการเรียนรู้ครับ”
อีกด้านหนึ่งของ Mentor และเป็นคนรุ่นใหม่ไฟแรง คุณพิมพ์ชาญา สะสมทรัพย์ ผู้จัดการทีมสโมสรฟุตบอล นครปฐม ยูไนเต็ด หรือคุณเอมี่ ทายาทโดยตรงของสโมสรฯ ได้กล่าวถึงการมอบโจทย์ครั้งแรกกับนักศึกษาว่า
“ในฐานะที่เป็นคนรุ่นใหม่ เอมี่มองว่าการออกแบบอยากให้ทางนักศึกษา Create ออกมาเป็น โมเดิร์นไลฟ์สไตล์ ก็คืออยากให้ฟิตต์เอเวอรี่เดย์ สามารถใช้ได้ในชีวิตประจําวันแล้วก็ใช้ได้ทั่วไปค่ะ ไม่ใช่แค่ว่าในสปอร์ตไม่ใช่แค่ว่าในสเตเดี้ยมแต่ว่าใช้ได้ทุกวันใช้ได้จริง สำหรับการมอบโจทย์ในปีนี้เป็นปีแรกที่เอมมี่ได้เข้ามามีส่วนร่วมแบบเต็มตัว โดยส่วนตัวเอมมี่ต้องการให้มีการออกแบบ ผ้าพันคอ/เสื้อแฟนคลับ/เสื้อเดินทาง โดยชุดจะต้องดีไซน์ออกแบบดีมีเนื้อผ้าที่ดีถูกใจวัยรุ่น สำหรับปีที่ผ่านมาการออกแบบของนักศึกษารุ่นก่อนดีมากๆค่ะ เราได้เอาไปใช้กับดีไซน์ของชุดแข่งจริง สำหรับการมอบโจทย์หลักของปี 2024-2025 เราต้องการธีมสีกรม/ สีเขียวเข้ม/ แล้วก็สีครีม เดี๋ยวเรารอดูว่าจะออกมาเป็นยังไงเพราะว่าเราอ้างอิงมาจากรัชกาลที่ ๖ ซึ่งบอกน้องๆ ไปว่าเป็นประวัติศาสตร์ของ ทีมนครปฐมก็ให้ไปอะแดพทออกแบบมา เดี๋ยวเอมมี่จะมาทําขายหลังจากที่รู้ว่าทีมไหนเป็นผู้ชนะคะ" คุณเอมี่กล่าว
และบุคลากรท่านสุดท้ายของสถาบันการศึกษา ผศ.ดร. ณัฐสุภา เจริญยิ่งวัฒนา รองคณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ผู้ขับเคลื่อนการดำเนินงานออกแบบและควบคุมวิชาเรียน ของนักศึกษาได้กล่าวถึงความรู้สึกว่า
“กิจกรรม Football Sportwear 2024 เป็นการมอบโอกาสให้กับนักศึกษาได้เรียนรู้ด้านการออกแบบด้านผลิตภัณฑ์กีฬาจากโจทย์จริงของสโมสร ซึ่งปีนี้ทางมหาวิทยาลัยกรุงเทพดีใจที่ได้รับเกียรติจาก 2 สโมสรเข้าร่วมกิจกรรม ในมุมของนักศึกษาวิชาเรียนด้านแฟชั่นส่วนใหญ่จะไม่มีโอกาสที่จะได้สัมผัสกับประสบการณ์ออกแบบด้านกีฬาเลย แต่กิจกรรมนี้เหมือนกับว่าเด็กๆได้เรียนรู้กับนักฟุตบอลกับผู้มีประสบการณ์จากทางสโมสร แล้วก็เรียนรู้ไปถึงกระบวนการออกแบบจากโปรดักชั่นจริง ในรูปแบบของการผลิตที่ถูกต้องตามหลักการออกแบบค่ะ การรับโจทย์ของนักศึกษาเรามอง ว่าเป็นโจทย์ที่มีประโยชน์มากเพราะว่าเป็นโจทย์ที่มาจากความต้องการจริง รวมถึงตัวนักฟุตบอลได้มาบอก ความต้องการ แบบเสื้อผ้า น้ำหนักที่เบา รวมถึงเสื้อผ้าที่มีดีไซน์เรียบ แต่เฉียบ มีรสนิยมเป็นแบบเฉพาะทาง นับว่าเป็นการ Collaboration ร่วมกันอย่างเป็นระบบคะ” อาจารย์เพชรกล่าว
โครงการ eisa มุ่งมั่นเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนและร่วมพัฒนาการศึกษาตั้งแต่ระดับเยาวชนมาอย่างต่อเนื่อง เป็นการต่อยอดโครงการสนับสนุนกิจกรรมต่างๆของมหาวิทยาลัย ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของทุกกลุ่มโดยเฉพาะกลุ่มGen Z ซึ่ง “ความรู้ การฝึกฝน” เป็นแพลตฟอร์มสำคัญที่ช่วยยกระดับมาตรฐานให้ตัวนักศึกษาได้เติบโตเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ มีศักยภาพ ก้าวขึ้นเป็นมืออาชีพและมีความรับผิดชอบต่อสังคมต่อไปในอนาคต
โรงงานในเครือ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) คว้ารางวัลดีเด่นด้านอนุรักษ์พลังงาน ประเภทโรงงานควบคุม และรางวัลดีเด่นด้านพลังงานสร้างสรรค์ จากกระทรวงพลังงาน ในงาน Thailand Energy Awards 2022 โดยได้รับเกียรติจาก นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กำกับดูแลงานกระทรวงพลังงาน นายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วย นางสาวอรพินทร์ เพชรทัต ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร่วมแสดงความยินดีกับ นายกิตติพงศ์ ศรีชุม ผู้จัดการผลิต บริษัท คอสมอส บริวเวอรี่ (ประเทศไทย) จำกัด และทีมงานที่ได้ใช้ความรู้ความสามารถแสดงความคิดสร้างสรรค์ชูนวัตกรรมด้านการอนุรักษ์พลังงานสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมรามา การ์เด้นส์ กรุงเทพฯ ที่ผ่านมา
บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) จำกัด ผสานความร่วมมือกับ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เครือข่ายบริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม ทั่วประเทศ ภาคีเครือข่ายสถาบันการศึกษา และ ภาคเอกชน ดำเนินโครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่น หัตถศิลป์ไทย อย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 จากจุดเริ่มต้นของโครงการ ในปี พ.ศ.2559 ภายใต้การทำงานของคณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับเอกชนในการร่วมกันพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่และรายได้ของชุมชนในชนบท โดยมี บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) จำกัด ผสานความร่วมมือกับ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เครือข่ายบริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม ทั่วประเทศ ภาคีเครือข่ายสถาบันการศึกษา ผลักดันให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผ้าขาวม้าทอมือ เพื่อช่วยเพิ่มรายได้และพัฒนาทักษะอาชีพให้กับชุมชนผู้ผลิตผ้าขาวม้าทั่วประเทศ ที่ริเริ่มโครงการโดย บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) โดยมี คุณฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ และประธานคณะกรรมการ โครงการ ผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทย ที่เป็นผู้ริเริ่มและหัวเรือหลักในการดำเนินงานมาตั้งแต่ต้น และเป็นผู้สนับสนุนหลักในโครงการเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนและพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้ชุมชนสร้างรายได้ให้แก่ตนเอง สร้างความภาคภูมิใจในการสืบสาน และต่อยอดหัตถกรรมพื้นบ้านให้เกิดความยั่งยืน
คุณฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และประธานคณะกรรมการโครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทย กล่าวว่า งาน “ผ้าขาวม้าวิถีไทย ทอใจอย่างยั่งยืน” ครั้งนี้นับเป็นการจัดงานต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 และในปีนี้มีความพิเศษกว่าปีก่อนๆ โดยกิจกรรมของเราได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของงาน Sustainability Expo 2023 (SX 2023) มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 กันยายน - 8 ตุลาคม 2566 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งเป็นมหกรรมด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยจัดขึ้นเป็นปีที่ 4 ภายใต้แนวคิด “พอเพียง ยั่งยืน เพื่อโลก” โดยวัตถุประสงค์หลักของโครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทย และ “ผ้าขาวม้าวิถีไทย ทอใจอย่างยั่งยืน” คือการสร้างความตระหนักถึงคุณค่าของผ้าขาวม้าในเชิงศิลปวัฒนธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม เฟ้นหาอัตลักษณ์ของผ้าขาวม้าจากชุมชนต่างๆ และเสริมสร้างผ้าขาวม้าทอมือให้มีความโดดเด่นพร้อมพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าขาวม้าให้มีความหลากหลายและตรงต่อความต้องการของตลาดเพื่อสร้างอาชีพและเสริมสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน อีกทั้ง ยังเป็นการอนุรักษ์ มรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage) ที่มีคุณค่าจากฝีมือของมนุษย์ อาทิ การนำเส้นใยและสีธรรมชาติมาใช้กับการย้อมผ้าขาวม้า และการรวมพลังคนรุ่นใหม่ของ Creative Young Designer ให้มาร่วมสร้างสรรค์ส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชุมชนผู้ผลิตผ้าขาวม้าทอมือกับกลุ่มนักศึกษา ซึ่งนอกจากต่อยอดความร่วมมือกันอย่างต่อเนื่องในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์เสื้อผ้า ของใช้ ของที่ระลึก ของชุมชนผู้ผลิตผ้าขาวม้าทอมือให้มีความทันสมัยแล้ว ยังมุ่งเน้นในเรื่องการพัฒนาด้านการตลาดและช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมผ้าขาวม้าทอมือ เพิ่มศักยภาพ การผลิตและต่อยอดทางธุรกิจให้แก่ชุมชนผ้าขาวม้า ด้วยแนวคิดในการออกแบบใหม่ๆ ผ่านการดูแลและให้คำปรึกษา (Coaching) และทำงานร่วมกับชุมชนก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งวิถีชีวิต วัฒนธรรม ทั้งนี้ชุมชนจะได้รับผลิตภัณฑ์ต้นแบบนำไปต่อยอดด้านการตลาด รวมไปถึง สโมรสรฟุตบอลหลายแห่งที่ได้ร่วมสนับสนุนนำผ้าขาวม้าทอมือมาประกอบเป็นสินค้าที่ระลึกของสโมสร ส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจในชุมชนมีความเข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้ โครงการ ผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทยมีส่วนสำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าผ้าขาวม้าทอมือ จนสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนที่เข้าร่วมโครงการมาอย่างต่อเนื่อง โดยประสบความสำเร็จ ใน 5 มิติหลัก คือ 1) การสร้างรายได้ให้กับชุมชนผ้าขาวม้าทอมือ 2) การสร้างเครือข่ายภาควิชาการและภาคเอกชนที่พร้อมสนับสนุนชุมชนในการสั่งซื้อ ให้ความรู้เชิงธุรกิจ และการออกแบบ 3) การสร้างอัตลักษณ์ของชุมชน 4) การสานต่องานผลิตและแปรรูปผ้าขาวม้าสู่คนรุ่นใหม่ และ 5) การสร้างห่วงโซ่การผลิตผ้าขาวม้าทอมือที่เข้มแข็งมีความเกื้อกูลกันระหว่างชุมชน นับเป็นอีกก้าวสำคัญในการขยายเครือข่ายความร่วมมือ จากจุดเริ่มต้นเพียง 2 ชุมชน 2 มหาวิทยาลัย ในปี 2562 ไปสู่ 18 ชุมชน 16 สถาบันการศึกษา
โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เครือข่ายทุกภาคส่วนที่ได้ร่วมแรงร่วมใจร่วมงานกันมาในโครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทยตลอดระยะเวลา 7 ปีที่ผ่านมา จะยังคงร่วมกันถักทอแรงบันดาลใจในการพัฒนาผ้าขาวไทยต่อไปในอนาคต ซึ่งจะไม่เป็นเพียงการสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่น แต่จะยังช่วยสร้างระบบเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง และที่สำคัญที่สุดคือ คนในชุมชนผู้ผลิตผ้าขาวม้าทุกแห่งมีความรักสามัคคีและภูมิใจในคุณค่าภูมิปัญญาของตนเองต่อไปอย่างยั่งยืน
“โครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทย” เป็นโครงการที่ริเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2559 ภายใต้การดำเนินงานของคณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ ตลอดเวลา 7 ปีที่ผ่านมา โครงการนี้ได้รับความร่วมมืออันดียิ่งจากชุมชนผู้ผลิตผ้าขาวม้าทอมือ หน่วยงานภาครัฐ องค์กรภาคเอกชน ตลอดจนสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ในการร่วมกันพัฒนาคุณภาพและการออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้าทอมือให้มีความทันสมัย ตรงกับความต้องการของตลาด และยังเป็นการสืบสานวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น พร้อมประยุกต์ให้เข้ากับบริบทของสังคมที่เปลี่ยนไป
สำหรับการจัดงาน “ผ้าขาวม้าวิถีไทย ทอใจอย่างยั่งยืน” ในปี 2566 ภายใต้แนวคิด Nature's Diversity สื่อใหเ้ห็นว่า ผ้าขาวม้าสามารถใสไ่ด้ทุกเพศและทุกวัย มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอความสำเร็จในการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าขาวม้าทอมือของชุมชนให้ได้มีพื้นที่จัดแสดงโชว์ผลงาน แลกเปลี่ยนแนวความคิด และสร้างเครือข่ายการดำเนินงานร่วมกันของชุมชน /การแสดงแฟชั่นโชว์ชุดผ้าขาวม้าจากโครงการ Creative Young designers Season3 ออกสู่สายตาประชาชน /การจัดแสดงนิทรรศการโซน cultural heritage / โซนจัดแสดงผลงานการออกแบบผลิตภัณฑ์จากผ้าขาวม้าของ 16 มหาวิทยาลัย 18 ชุมชน / กิจกรรมTalk หัวข้อ ผ้าขาวม้า มรดกภูมิปัญญาและการพัฒนาอย่างยั่งยืน / โซน Market Place ของ 12 ชุมชน และโซนกิจกรรม online บอกต่อความประทับใจ ถ่ายภาพและแชร์พร้อมบรรยายเชิญชวนเพื่อนมาเที่ยวงาน “ผ้าขาวม้าวิถีไทย ทอใจอย่างยั่งยืน” ภายใน Sustainability Expo 2023 (SX 2023)
โครงการดังกล่าวเป็นความร่วมมือของ บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย สถาบันการศึกษาในเครือข่าย eisa และ ภาคีทุกภาคส่วน ที่ได้ให้ความสนับสนุนโครงการนี้มาตลอดระยะเวลา 7 ปี ส่งผลให้โครงการฯ สามารถดำเนินงานมาได้อย่างต่อเนื่อง และจะยังคงทำงานร่วมกับชุมชนผู้ผลิตผ้าขาวม้าทอมือต่อไป เพื่อให้สามารถบรรลุถึงเป้าประสงค์หลัก คือ การพัฒนาผ้าขาวม้าทอมือของไทยเพื่อสร้างรายได้ที่ยั่งยืนให้กับชุมชนผู้ผลิตทั่วประเทศ