เอส โคล่า ต่อยอดความแรงของยอดขาย เดินหน้ารุกช่องทางขายร้านอาหาร เปิดแคมเปญ “ขอเอสขวดพี่” ดึงพรีเซนเตอร์ตัวตึง “ตั้ม วราวุธ โพธิ์ยิ้ม” ยกขบวนบุกร้านอาหารเด็ดทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล เปิดตัวแบบสับเนรมิตศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ เป็นพื้นที่แห่งความ Awesome สำหรับนักกิน บุกสร้างสีสันในร้านอาหารกว่า 1,000 ร้านเด็ด พร้อมจัดเต็มสื่อแบบ 360 องศา ทุกพื้นที่ Touch Point ผลักดันแบรนด์เอสให้เป็นแบรนด์แรกที่ลูกค้าเรียกหา
นางสาวสุภรณ์ เด่นไพศาล ผู้อำนวยการอาวุโส ผู้บริหารสูงสุด สายธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ประเทศไทย บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “หลังจากที่ เอส ปรับโฉมภาพลักษณ์และการสื่อสาร ภายใต้คอนเซป เอสโคล่า Born to be Awesome เกิดมาซ่ากล้าเป็นตัวเอง แคมเปญการตลาดได้รับการตอบรับที่ดีมากจากผู้บริโภค โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่เจนซี สามารถสร้างยอดขายเติบโตอย่างต่อเนื่องถึง 22.4% (การเติบโตเชิงปริมาณ ข้อมูลจากนีลเส็นไอคิว ระหว่างเดือนธันวาคม 2566 – พฤศจิกายน 2567) โดยเป็นการเติบโตในทุกช่องทาง ทั้งซูเปอร์มาร์เก็ต ไฮเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ ร้านค้าดั้งเดิม รวมถึงช่องร้านอาหาร (Food Service and Restaurant) ซึ่งเป็นช่องทางการขายที่มีบทบาทสำคัญต่อตลาดน้ำอัดลม ไม่แพ้ช่องทางขายอื่น ๆ”
“เอส โคล่า สูตรใหม่ ที่มีส่วนผสมของ Asian Spice ได้รับผลตอบรับที่ดีมากจากผู้บริโภค เพราะรสชาติของเอสโคล่าอร่อยซ่ากลมกล่อม ให้ความสดชื่นดับกระหาย อีกทั้งกินคู่อาหารก็ยิ่งเพิ่มรสชาติให้มื้ออาหารอร่อยยิ่งขึ้น เอส โคล่า เล็งเห็นโอกาสในการรุกตลาดขยายฐานการดื่ม occasion คู่อาหารอย่างเต็มรูปแบบ เปิดแคมเปญ ‘ขอเอสขวดพี่’ แคมเปญสื่อสารการตลาดที่มาพร้อมเพลงจิงเกิลสนุก ๆ สร้างการจดจำและเรียกหาเอสเป็นเครื่องดื่มคู่มื้ออาหาร พร้อมเปิดตัวพรีเซนเตอร์ตัวตึงอย่าง ตั้ม-วราวุธ โพธิ์ยิ้ม หรือ ตั้ม The Star ที่จะนำทัพยกขบวนบุกไปสร้างสีสันในย่านที่เป็น Strategic Area ทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑลกว่า 1,000 ร้านค้า”
พร้อมกันนี้ ในงานเปิดตัวแคมเปญที่จัดขึ้นที่สามย่านมิตรทาวน์ วันที่ 10 มกราคมนี้ เอสก็จัดเต็มกิจกรรมที่ชวนให้กลุ่มลุกค้า และแฟนคลับ ได้มาเรียกหาเอสขวดพี่พร้อมกัน ภายในงานมีกลุ่มอินฟลูอินเซอร์ชื่อดัง สกาย-วงศ์รวี, นานิ-หิรัญกฤษฎิ์, มาร์ค-ภาคิน, ปิงปอง-ธงชัย, และ นนท์-อินทนนท์ ที่มาสร้างสีสันเล่นเกมส์ “เก้าอี้ดนตรีในร้านอาหารที่ว๊าวที่สุดในประเทศ” ลุ้นรับรางวัลกินฟรี อีกทั้งยังมีขบวนทรู๊ปออกตามล่าคนสั่งเอส เพื่อลุ้นรับรางวัลกินฟรียกโต๊ะ ที่แหล่งของกินวัยซ่าอย่างบรรทัดทอง
นอกจากนี้ แคมเปญนี้มีการใช้สื่อแบบ 360 องศา เพื่อ Bombard สร้างสีสันให้กับแคมเปญ ไม่ว่าจะเป็นสื่อนอกบ้านอย่าง Billboard ที่จะเข้ามาช่วยสร้างอิมแพ็คในโลเคชั่นสำคัญของกรุงเทพฯ และปริมณฑล สื่อ Transit Ads เช่น BTS, MRT และสื่อ ณ จุดขายร้านค้า เช่น Tops, 7-11, Big C, Makro ตลอดจนสื่อ Social Media, KOLs และ Online Radio เป็นต้น
อีกกิจกรรมสนุกในแคมเปญนี้ คือ กิจกรรมออนไลน์ ที่ให้ผู้บริโภคทุกคนเรียกหาเอสดื่มคู่มื้ออาหาร เพียงถ่ายรูปเอสรสชาติใดก็ได้กับอาหารจากร้านโปรด ติดแฮชแท็ก #ขอเอสขวดพี่ เพื่อลุ้นทองคำมูลค่า 10,000 บาท หรือลุ้นรางวัลกินฟรีที่ร้านอาหารในเครือโออิชิ รวม 75 รางวัล ตลอดระยะเวลา 3 เดือน (มกราคม - มีนาคม 2568) รวมมูลค่ารางวัลกว่า 180,000 บาท
“แคมเปญ ‘ขอเอสขวดพี่’ เอส มุ่งเน้นสื่อสารตอกย้ำความ Awesome ในรสชาติของเอสโคล่า ใน Occasion คู่มื้ออาหาร ซึ่งพรีเซ็นเตอร์อย่าง “ตั้ม-วราวุธ” ก็เป็นคนรุ่นใหม่ที่มีความ Awesome, สนุกสนาน, มีความสามารถด้านดนตรี สื่อสารจิงเกิลสนุกๆของแคมเปญนี้ได้อย่างเหมาะเจาะลงตัว อีกทั้งตั้มยังเป็นคนที่ชอบกินอาหาร และมีรายการอาหารเป็นของตัวเองอีกด้วย สามารถสื่อสารกับคนกลุ่มนี้ได้ค่อนข้างดี” คุณสุภรณ์ เด่นไพศาล กล่าวปิดท้าย
สำหรับตลาดน้ำอัดลมในปี 2567 ที่ผ่านมา มีมูลค่าอที่ 70,772 ล้านบาท เติบโตอยู่ที่ 9% จากปีที่ผ่านมา (ข้อมูลจากนีลเส็นไอคิว ระหว่างเดือนธันวาคม 2566 – พฤศจิกายน 2567) โดยการดื่มคู่กับมื้ออาหาร ยังมีโอกาสในการเติบโตได้อีกค่อนข้างมาก ตามไลฟ์สไตล์การทานอาหารนอกบ้านของคนไทยที่มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนั่นเอง
บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) โดยโครงการ Education Institute Support Activity (eisa) ได้รับเกียรติจาก ว่าที่พันตรี อดิศักดิ์ น้อยสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดฯ รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พร้อมด้วย นางสาวราตรี พิศุทธิ์ชโลทร กรรมการผู้จัดการบริษัท ประชารัฐรักสามัคคีประจวบคีรีขันธ์ (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด ร่วมงานและให้การต้อนรับคณะอาจารย์-นักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลสังเกตการณ์รวมถึงเยี่ยมชมศูนย์หัตถกรรมทอผ้า ภายใต้กิจกรรมCreative Young Designer Season4 ปีการศึกษา 2566 โดยมีวัตถุประสงค์ในการต่อยอดการออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าพื้นเมืองของนักศึกษาให้กับศูนย์หัตถกรรมทอผ้าบ้านเขาเต่า จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่ผ่านมา
บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) จำกัด ผสานความร่วมมือกับ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เครือข่ายบริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม ทั่วประเทศ ภาคีเครือข่ายสถาบันการศึกษา และ ภาคเอกชน ดำเนินโครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่น หัตถศิลป์ไทย อย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 จากจุดเริ่มต้นของโครงการ ในปี พ.ศ.2559 ภายใต้การทำงานของคณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับเอกชนในการร่วมกันพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่และรายได้ของชุมชนในชนบท โดยมี บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) จำกัด ผสานความร่วมมือกับ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เครือข่ายบริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม ทั่วประเทศ ภาคีเครือข่ายสถาบันการศึกษา ผลักดันให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผ้าขาวม้าทอมือ เพื่อช่วยเพิ่มรายได้และพัฒนาทักษะอาชีพให้กับชุมชนผู้ผลิตผ้าขาวม้าทั่วประเทศ ที่ริเริ่มโครงการโดย บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) โดยมี คุณฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ และประธานคณะกรรมการ โครงการ ผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทย ที่เป็นผู้ริเริ่มและหัวเรือหลักในการดำเนินงานมาตั้งแต่ต้น และเป็นผู้สนับสนุนหลักในโครงการเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนและพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้ชุมชนสร้างรายได้ให้แก่ตนเอง สร้างความภาคภูมิใจในการสืบสาน และต่อยอดหัตถกรรมพื้นบ้านให้เกิดความยั่งยืน
คุณฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และประธานคณะกรรมการโครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทย กล่าวว่า งาน “ผ้าขาวม้าวิถีไทย ทอใจอย่างยั่งยืน” ครั้งนี้นับเป็นการจัดงานต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 และในปีนี้มีความพิเศษกว่าปีก่อนๆ โดยกิจกรรมของเราได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของงาน Sustainability Expo 2023 (SX 2023) มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 กันยายน - 8 ตุลาคม 2566 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งเป็นมหกรรมด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยจัดขึ้นเป็นปีที่ 4 ภายใต้แนวคิด “พอเพียง ยั่งยืน เพื่อโลก” โดยวัตถุประสงค์หลักของโครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทย และ “ผ้าขาวม้าวิถีไทย ทอใจอย่างยั่งยืน” คือการสร้างความตระหนักถึงคุณค่าของผ้าขาวม้าในเชิงศิลปวัฒนธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม เฟ้นหาอัตลักษณ์ของผ้าขาวม้าจากชุมชนต่างๆ และเสริมสร้างผ้าขาวม้าทอมือให้มีความโดดเด่นพร้อมพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าขาวม้าให้มีความหลากหลายและตรงต่อความต้องการของตลาดเพื่อสร้างอาชีพและเสริมสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน อีกทั้ง ยังเป็นการอนุรักษ์ มรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage) ที่มีคุณค่าจากฝีมือของมนุษย์ อาทิ การนำเส้นใยและสีธรรมชาติมาใช้กับการย้อมผ้าขาวม้า และการรวมพลังคนรุ่นใหม่ของ Creative Young Designer ให้มาร่วมสร้างสรรค์ส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชุมชนผู้ผลิตผ้าขาวม้าทอมือกับกลุ่มนักศึกษา ซึ่งนอกจากต่อยอดความร่วมมือกันอย่างต่อเนื่องในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์เสื้อผ้า ของใช้ ของที่ระลึก ของชุมชนผู้ผลิตผ้าขาวม้าทอมือให้มีความทันสมัยแล้ว ยังมุ่งเน้นในเรื่องการพัฒนาด้านการตลาดและช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมผ้าขาวม้าทอมือ เพิ่มศักยภาพ การผลิตและต่อยอดทางธุรกิจให้แก่ชุมชนผ้าขาวม้า ด้วยแนวคิดในการออกแบบใหม่ๆ ผ่านการดูแลและให้คำปรึกษา (Coaching) และทำงานร่วมกับชุมชนก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งวิถีชีวิต วัฒนธรรม ทั้งนี้ชุมชนจะได้รับผลิตภัณฑ์ต้นแบบนำไปต่อยอดด้านการตลาด รวมไปถึง สโมรสรฟุตบอลหลายแห่งที่ได้ร่วมสนับสนุนนำผ้าขาวม้าทอมือมาประกอบเป็นสินค้าที่ระลึกของสโมสร ส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจในชุมชนมีความเข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้ โครงการ ผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทยมีส่วนสำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าผ้าขาวม้าทอมือ จนสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนที่เข้าร่วมโครงการมาอย่างต่อเนื่อง โดยประสบความสำเร็จ ใน 5 มิติหลัก คือ 1) การสร้างรายได้ให้กับชุมชนผ้าขาวม้าทอมือ 2) การสร้างเครือข่ายภาควิชาการและภาคเอกชนที่พร้อมสนับสนุนชุมชนในการสั่งซื้อ ให้ความรู้เชิงธุรกิจ และการออกแบบ 3) การสร้างอัตลักษณ์ของชุมชน 4) การสานต่องานผลิตและแปรรูปผ้าขาวม้าสู่คนรุ่นใหม่ และ 5) การสร้างห่วงโซ่การผลิตผ้าขาวม้าทอมือที่เข้มแข็งมีความเกื้อกูลกันระหว่างชุมชน นับเป็นอีกก้าวสำคัญในการขยายเครือข่ายความร่วมมือ จากจุดเริ่มต้นเพียง 2 ชุมชน 2 มหาวิทยาลัย ในปี 2562 ไปสู่ 18 ชุมชน 16 สถาบันการศึกษา
โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เครือข่ายทุกภาคส่วนที่ได้ร่วมแรงร่วมใจร่วมงานกันมาในโครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทยตลอดระยะเวลา 7 ปีที่ผ่านมา จะยังคงร่วมกันถักทอแรงบันดาลใจในการพัฒนาผ้าขาวไทยต่อไปในอนาคต ซึ่งจะไม่เป็นเพียงการสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่น แต่จะยังช่วยสร้างระบบเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง และที่สำคัญที่สุดคือ คนในชุมชนผู้ผลิตผ้าขาวม้าทุกแห่งมีความรักสามัคคีและภูมิใจในคุณค่าภูมิปัญญาของตนเองต่อไปอย่างยั่งยืน
“โครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทย” เป็นโครงการที่ริเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2559 ภายใต้การดำเนินงานของคณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ ตลอดเวลา 7 ปีที่ผ่านมา โครงการนี้ได้รับความร่วมมืออันดียิ่งจากชุมชนผู้ผลิตผ้าขาวม้าทอมือ หน่วยงานภาครัฐ องค์กรภาคเอกชน ตลอดจนสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ในการร่วมกันพัฒนาคุณภาพและการออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้าทอมือให้มีความทันสมัย ตรงกับความต้องการของตลาด และยังเป็นการสืบสานวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น พร้อมประยุกต์ให้เข้ากับบริบทของสังคมที่เปลี่ยนไป
สำหรับการจัดงาน “ผ้าขาวม้าวิถีไทย ทอใจอย่างยั่งยืน” ในปี 2566 ภายใต้แนวคิด Nature's Diversity สื่อใหเ้ห็นว่า ผ้าขาวม้าสามารถใสไ่ด้ทุกเพศและทุกวัย มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอความสำเร็จในการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าขาวม้าทอมือของชุมชนให้ได้มีพื้นที่จัดแสดงโชว์ผลงาน แลกเปลี่ยนแนวความคิด และสร้างเครือข่ายการดำเนินงานร่วมกันของชุมชน /การแสดงแฟชั่นโชว์ชุดผ้าขาวม้าจากโครงการ Creative Young designers Season3 ออกสู่สายตาประชาชน /การจัดแสดงนิทรรศการโซน cultural heritage / โซนจัดแสดงผลงานการออกแบบผลิตภัณฑ์จากผ้าขาวม้าของ 16 มหาวิทยาลัย 18 ชุมชน / กิจกรรมTalk หัวข้อ ผ้าขาวม้า มรดกภูมิปัญญาและการพัฒนาอย่างยั่งยืน / โซน Market Place ของ 12 ชุมชน และโซนกิจกรรม online บอกต่อความประทับใจ ถ่ายภาพและแชร์พร้อมบรรยายเชิญชวนเพื่อนมาเที่ยวงาน “ผ้าขาวม้าวิถีไทย ทอใจอย่างยั่งยืน” ภายใน Sustainability Expo 2023 (SX 2023)
โครงการดังกล่าวเป็นความร่วมมือของ บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย สถาบันการศึกษาในเครือข่าย eisa และ ภาคีทุกภาคส่วน ที่ได้ให้ความสนับสนุนโครงการนี้มาตลอดระยะเวลา 7 ปี ส่งผลให้โครงการฯ สามารถดำเนินงานมาได้อย่างต่อเนื่อง และจะยังคงทำงานร่วมกับชุมชนผู้ผลิตผ้าขาวม้าทอมือต่อไป เพื่อให้สามารถบรรลุถึงเป้าประสงค์หลัก คือ การพัฒนาผ้าขาวม้าทอมือของไทยเพื่อสร้างรายได้ที่ยั่งยืนให้กับชุมชนผู้ผลิตทั่วประเทศ