×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 7636

ปี 2563 คาดยอดขายรถยนต์ในประเทศหดตามสภาพเศรษฐกิจ ชี้ยังมีดีมานด์เปลี่ยนรถใหม่

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics คาดยอดขายรถยนต์ในประเทศปี 2563 อยู่ที่ 9.6 แสนคัน หดตัว -4% จากเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ชี้ยังมีดีมานด์จากผู้บริโภคที่ต้องการเปลี่ยนรถใหม่ แนะดีลเลอร์เน้นทำการตลาดจากฐานลูกค้าเดิม พร้อมทั้งเพิ่มรายได้จากบริการหลังการขาย

ในปี 2562 ที่ผ่านมาสรุปยอดขายรถยนต์ในประเทศน่าจะหดตัว -4% (yoy) หรือปิดยอดได้ราว 1 ล้านคัน เห็นภาพรวมยอดขายหดตัว ต้องบอกว่าภาพครึ่งปีแรกกับครึ่งปีหลังของปีที่แล้วกลับข้างกันอย่างตาลปัตร กล่าวคือ ครึ่งปีแรก ยอดขายขยายตัวได้ 7.1% เนื่องจากได้รับผลของโมเมนตัมที่ดีจากปีก่อนหน้าบวกกับครึ่งปีแรกมีการเปลี่ยนโมเดลรถรุ่นใหม่เข้าสู่ตลาดกระตุ้นยอดขายทำให้ยอดขายขยายตัวได้ดี แต่ภาพครึ่งปีหลังยอดขายรถยนต์ทรุดลงจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทำให้ยอดขายหดตัว -13.8%

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics คาดว่ายอดขายรถยนต์ในประเทศปี 2563 จะอยู่ที่ 9.6 แสนคัน หรือหดตัวราว -4% ตามสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงจากเหตุผล 3 ประการ ดังนี้

หนึ่ง...ภาคการส่งออกที่ยังไม่ดีนัก แม้การส่งออกคาดว่าจะกลับมาบวกได้ 1.2% ในปีนี้ จากมีสัญญาณบวกการพักรบสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน แต่ถ้าเทียบกับปีก่อนที่หดตัว -1.5% ก็หมายถึงว่าการส่งออกกลับมาอยู่ที่เดิม และการส่งออกยังถูกผลกระทบจากค่าเงินบาทที่มีทิศทางแข็งค่า ทำให้การจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกยังคงชะลอตัว

สอง...รายได้ภาคเกษตรคาดว่าจะอยู่ในระดับต่ำ แม้ภาครัฐจะมีนโยบายประกันราคาพืชผลหลักในปีนี้ แต่ปัญหาภัยแล้งที่ปีนี้มีแนวโน้มรุนแรง ซึ่งจะส่งผลต่อผลผลิตทางการเกษตรให้ลดลง ทำให้แม้ราคาสินค้าเกษตรจะดีขึ้นแต่ไม่มีสินค้าขาย ผลสุดท้ายรายได้เกษตรกรก็จะอยู่ในระดับต่ำในปีนี้

และสาม...หนี้ภาคครัวเรือนอยู่ในระดับสูง ในปี 2562 หนี้ภาคครัวเรือนอยู่ที่ 78.7% ต่อจีดีพี บวกกับเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจะส่งผลทำให้การบริโภคชะลอตัวลง ก่อให้เกิดความกังวลต่อกำลังซื้อของประชาชน ซึ่งจะส่งผลทำให้สถาบันการเงินเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อแก่ผู้บริโภคทำให้สินเชื่อผู้บริโภครวมถึงสินเชื่อรถยนต์มีทิศทางชะลอตัวลง

ศูนย์วิเคราะห์ฯ ประเมินว่าภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงดังกล่าวข้างต้น จะส่งผลต่อยอดขายรถยนต์ในประเทศหดตัวในปีนี้ แต่ทว่าหากประเมินพื้นฐานความต้องการรถยนต์ในประเทศพบว่ายังพอมีอยู่ สาเหตุเนื่องจากรถยนต์ที่วิ่งบนท้องถนนไทยมีอายุเฉลี่ย 7 ปี และหากพิจารณารถยนต์ที่มีอายุราว 6-7 ปีบนท้องถนน พบว่ามีรวมกันกว่า 2.47 ล้านคัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรถยนต์ที่ถูกซื้อโดยได้รับสิทธิ์ตามนโยบายโครงการรถคันแรก เราจึงประเมินว่ามีโอกาสที่ผู้ถือครองรถยนต์อายุ 6-7 ปีจะเปลี่ยนเป็นรถใหม่ เพราะถึงรอบของการเปลี่ยนรถยนต์ตามอายุ แต่ในสถานการณ์ปัจจุบัน “ความกังวลด้านเศรษฐกิจที่ชะลอตัวให้ผลมากกว่าความต้องการเปลี่ยนรถใหม่ตามพื้นฐาน” คาดว่าหากเศรษฐกิจในอนาคตมีสัญญาณการฟื้นตัวดีขึ้นตามลำดับ เราจะเห็นการกลับมาของยอดขายรถยนต์ที่เติบโตได้อีกครั้ง

ทั้งนี้ ศูนย์วิเคราะห์ฯ แนะนำผู้ประกอบการดีลเลอร์รถยนต์ ทำตลาดจากลูกค้าที่ต้องการเปลี่ยนรถใหม่ โดยใช้ฐานข้อมูลลูกค้าเก่าที่ซื้อรถยนต์ของท่าน จากนั้นทำการวิเคราะห์หาลูกค้าเก่าที่มีศักยภาพและทำการนำเสนอผลิตภัณฑ์รถยนต์รุ่นใหม่ๆ ที่มีเทคโนโลยีที่ดีกว่าและประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงมากกว่ารถเก่าของลูกค้า รวมถึงใช้ช่องทางการเข้าถึงลูกค้าใหม่ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น นอกจากนี้ยังแนะนำผู้ประกอบการดีลเลอร์ให้เพิ่มรายได้จากการให้บริการก่อนและหลังการขายที่มีคุณภาพ ซึ่งจะช่วยประคับประคองยอดขายที่ซบเซาได้ในปีนี้

จากปัญหา “ลุ่มน้ำมูล” เส้นเลือดสำคัญชาวอีสาน ประสบปัญหาทั้งน้ำท่วมและน้ำแล้ง ที่ส่งผลกระทบไปยังพื้นที่เกษตรกรรม เป็นนาข้าว 75% ซึ่งในปี พ.ศ. 2540 ถือเป็นปีที่ประสบปัญหาภัยแล้งรุนแรงที่กระทบต่อการเพาะปลูกของเกษตรกรจนสร้างความเสียหายเป็นเงินกว่า 9,300 ล้านบาท ปัจจุบันมีความพยายามของนักวิจัยที่จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ซึ่งมีทั้งนักวิจัยไทยและต่างประเทศที่ร่วมกันศึกษาค้นคว้า ภายใต้โครงการความร่วมมือของ สกสว. กับหน่วยงานวิจัยต่างประเทศที่มีชื่อเสียง อาทิ NERC (UK’s Natural Environment  Research Council) และ ESRC (Economic and social research council) ฯลฯ 

โดยในเวทีประชุมรายความก้าวหน้าโครงการวิจัยด้านการแก้ปัญหาภัยแล้งที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ที่จัดขึ้น ณ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที) ศ.ดร.ธวัชชัย ติงสัญชลี นักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที) หัวหน้าโครงการ “การเพิ่มสมรรถภาพการฟื้นตัวจากภัยพิบัติทางอุตุอุทกวิทยาในลุ่มน้ำมูลภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย” หรือ “Enrich”  ได้ให้ข้อมูลถึงงานวิจัยที่ทำการศึกษาปัญหาภัยแล้งในบริเวณลุ่มน้ำมูล โดยเฉพาะส่วนของลุ่มน้ำมูลตอนบน บริเวณที่แม่น้ำมูลและแม่น้ำชีมาบรรจบกัน เนื่องจากประสบภัยแล้งกินพื้นที่ภาคอีสานหลายจังหวัดประกอบด้วย นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีสะเกษ (บางส่วน) ว่า เป็นงานวิจัยที่ประเมินผลกระทบจากความแปรปรวนของสภาพอากาศ การเปลี่ยนแปลงของการใช้ที่ดิน ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของสภาวะสูงสุดและต่ำสุดทางอุตุ – อุทกวิทยา  ที่ทำให้พื้นที่ดังกล่าวประสบภัยแล้ง  โดยข้อมูลที่มีการสังเคราะห์แล้วเสร็จ จะถูกส่งไม้ต่อไปยังหน่วยงานบริหารจัดการน้ำ อาทิ กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ฯลฯ ทั้งนี้พื้นที่ภาคอีสานบริเวณลุ่มน้ำมูลตอนบน ประสบภาวะภัยแล้งเนื่องจากมีปริมาณน้ำฝนน้อย  มีพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการสร้างเขื่อนเพื่อกักเก็บน้ำ และมีระบบชลประทานเพียง 20% ของพื้นที่ เกษตรกรต้องแก้ไขปัญหาเองโดยใช้ภูมิปัญญาคือการขุดสระขนาดเล็กที่เรียกว่า “สระขนมครก” ไว้กักเก็บน้ำฝนไว้ใช้ในพื้นที่ตัวเอง แต่ถ้าปีนั้นพื้นที่ขาดฝนก็จะประสบภัยแล้งอย่างหนัก จึงมีความจำเป็นต้องหาแนวทางการแก้ปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ดังกล่าวให้กับเกษตรอย่างยั่งยืน โดยปัจจุบันโครงการดังกล่าวมีความคืบหน้าไปกว่า 40% ทั้งนี้งานวิจัยชิ้นนี้ไม่ได้เป็นการค้นหาแนวทางการแก้ปัญหาภัยแล้งของประเทศเฉพาะในปัจจุบัน แต่ยังเป็นการนำเสนอภาพฉายในอนาคต ว่าพื้นที่ดังกล่าวจะประสบปัญหาภัยแล้งในรูปแบบใดบ้าง ประเทศไทยควรเตรียมรับมืออย่างไร ตลอดจนจะหนุนเสริมการพัฒนาเรื่องระบบชลประทานในพื้นที่ให้เข้าถึงเกษตรกรมากขึ้นได้อย่างไร     

ในขณะที่ อ.ดร.สุภัทรา วิเศษศรี นักวิจัยจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวถึงงานวิจัยการแก้ปัญหาภัยแล้งภายใต้ชื่อโครงการ “การพัฒนาศักยภาพของประเทศไทยต่อการรับรู้ ปรับตัว และฟื้นคืนกลับจากภัยแล้งด้านการเกษตร” หรือ “STAR”  ว่างานวิจัยชิ้นนี้ ทำการศึกษาข้อมูลในพื้นที่ลุ่มน้ำปิงในภาคเหนือ แม้ว่าพื้นที่ดังกล่าวจะยังไม่ถูกประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติภัยแล้ง แต่ก็ถือเป็นพื้นที่ที่มี “น้ำต้นทุน” น้อยกว่า 30% จนทำให้มีโอกาสเกิดวิกฤตภัยแล้งได้เหมือนในปี พ.ศ. 2558 ที่ผ่านมา ปัจจุบันทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอาทิ กรมชลประทาน ได้ทำงานเชิงรุกอย่างมีศักยภาพ โดยมีการวางแผนการจัดสรรน้ำที่เป็นระบบ ตลอดจนมีเครือข่ายด้านการสื่อสารการให้ข้อมูลของคนในลุ่มน้ำที่เข้มแข็งอยู่แล้ว แต่ทีมวิจัยมุ่งหวังว่าโครงการนี้จะเข้าไปช่วยหนุนเสริมให้การทำงานของทุกภาคส่วนมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้ในเฟสแรกทีมวิจัยได้จัดทำ “ตัวบ่งชี้ภัยแล้ง”  เครื่องมือที่เป็นมาตรวัดว่าพื้นที่ดังกล่าวกำลังประสบภาวะวิกฤตภัยแล้ง ผ่านการศึกษาข้อมูลทางอุทกศาสตร์และด้านอื่นๆ ซึ่งเครื่องมือดังกล่าวสามารถนำไปใช้ได้กับทุกลุ่มน้ำของประเทศ ปัจจุบันทีมวิจัยกำลังดำเนินงานในขั้นตอนของการรวบรวมผลกระทบจากภัยแล้งในพื้นที่ โดยการลงพื้นที่เพื่อสัมภาษณ์และเก็บข้อมูลจากเกษตรกรและชุมชน แผนการทำงานต่อจากนี้จะเป็นการจัดทำแพลตฟอร์มการสื่อสารข้อมูลด้านภัยแล้งในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตอบโจทย์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งในส่วนของหน่วยงานด้านน้ำและเกษตรกร อันเป็นการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์อย่างเต็มศักยภาพ 

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัด “กิจกรรมมหาวิทยาลัยเด็ก ประเทศไทย ตอน สนุกกับเอนไซม์และนวัตกรรมอาหาร” แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 110 คน จากโรงเรียนในเขตจังหวัดปทุมธานี และระยอง เมื่อวันที่ 14 มกราคม ที่ผ่านมา ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี โดยฝ่ายวิชาการและกิจกรรมพัฒนาเยาวชนวิทยาศาสตร์ สวทช. ซึ่งได้รับการสนับสนุนการจัดกิจกรรมโดยโครงการ Chevron Enjoy Science: สนุกวิทย์ พลังคิด เพื่ออนาคต ผ่านกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์จากพี่ ๆ นักวิจัยทีมไบโอเทค สวทช. ที่ให้น้อง ๆ ได้ทดลองทำด้วยตนเองในฐานกิจกรรมต่าง ๆ เช่น กิจกรรมสนุกกับเอนไซน์ กิจกรรมงานสร้างสรรค์บนผืนผ้ารักษ์โลก และกิจกรรมเกี่ยวกับนวัตกรรมอาหาร เป็นต้น เพื่อสนับสนุนส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความช่างสังเกต รู้จักคิด รู้จักตั้งคำถาม และค้นหาคำตอบด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในช่วงอายุที่สามารถเรียนรู้ได้สูงสุด โดยใช้แนวทางการลงมือทำด้วยตัวเอง (hands-on) และนำต้นแบบขยายผลสู่โรงเรียน วางรากฐานระยะยาวในการเตรียมพร้อมและสร้างนักวิทยาศาสตร์ วิศวกรรุ่นใหม่ ให้ประเทศไทยมีบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น ทั้งด้านคุณภาพและปริมาณ

 

กิจกรรมมหาวิทยาลัยเด็ก ประเทศไทย ตอน สนุกกับเอนไซม์และนวัตกรรมอาหาร เริ่มต้นด้วยการบรรยายให้ความรู้แก่น้อง ๆ นักเรียนในเรื่องกว่าจะมาเป็นเอนไซม์และประโยชน์ของเอนไซม์ ต่อด้วยกิจกรรมมารู้จักเทคโนโลยีเอนไซน์และเอนไซม์เอนอีซ (ENZease) ที่ใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ เพื่อทดแทนสารเคมีการผลิตผ้าได้ 100% ซึ่งลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานและสารเคมีที่จะปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม รวมถึงน้อง ๆ นักเรียนทุกคนยังได้รังสรรค์ผลงานศิลปะของตนเองลงบนกระเป๋าผ้าผ่านกิจกรรมงานสร้างสรรค์บนผืนผ้ารักษ์โลก โดยพี่ ๆ ทีมวิจัยเทคโนโลยีเอนไซม์ กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีไบโอรีไฟเนอรีและชีวภัณฑ์ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สวทช.

 

ขณะที่ช่วงบ่าย น้อง ๆ ได้ร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับนวัตกรรมอาหาร เพื่อให้เข้าใจลักษณะธรรมชาติ วิธีตรวจวัดคุณภาพและความสดของไข่ และเข้าใจสมบีติเชิงหน้าที่ของไข่ฝนผลิตภัณฑ์อาหาร รวมถึงฐานตามหาไซเดอร์วิเนการ์ (น้ำส้มสายชูหมัก) ที่น้อง ๆ จะได้รู้จักและสามารถเลือกวัตถุดิบ เข้าใจกระบวนการผลิต การใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ เพื่อให้รู้ถึงเกณฑ์มาตรฐานและการตรวจสอบคุณภาพ โดยพี่ ๆ ทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร กลุ่มวิจัยส่วนผสมฟังก์ชั่นและนวัตกรรมอาหาร จากศูนย์ไบโอเทค สวทช.

 

ด้านน้อง ๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรม น้องแก้ว ด.ญ.ณิชาดา จั่นทอง จากโรงเรียนบ้านหนองฆ้อ จังหวัดระยอง เล่าว่า ชื่นชอบกิจกรรมไข่ไข่เป็นพิเศษ ทำให้ได้รู้ลักษณะทางธรรมชาติและความสดของไข่ ได้ลงมือการวัดค่า PH ของไข่ได้ และยังได้รู้ถึงคุณสมบัติของไข่ด้วย ส่วนน้องวิตามิน ด.ช.ณัฐดนัย ว่องไว จากโรงเรียนธรรมศาสตร์คลองหลวงวิทยาคม จังหวัดปทุมธานี เล่าว่า ชอบกิจกรรมการสกัดสิ่งสกปรกของแป้งออกจากผ้า ทำให้สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ถ้าหากไปเจอผ้าแบบนี้ ก็สามารถใช้วิธีแก้โดยการใช้สิ่งที่เรียนรู้ไปวันนี้

 

วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล หรือ ซีเอ็มเอ็มยู (CMMU)  จัดงานสัมนาเผยงานวิจัยหัวข้อ "การตลาดเติมพลัง BURNOUT IN THE CITY” พบว่า ผู้บริโภควัยทำงานในกรุงเทพฯ จำนวน 12% อยู่ในภาวะหมดไฟในการทำงาน หรือเบิร์นเอาท์ ซินโดรม (Burnout Syndrome)   ผลงานวิจัยยังพบว่ามีจำนวนกลุ่มประชากรที่ศึกษา  57% อยู่ในภาวะที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเข้าสู่ภาวะหมดไฟ

ในปี 2562 องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ประกาศให้ Burnout Syndrome เป็นภาวะทางสุขภาพที่ต้องได้รับการดูแลรักษา และเป็นภาวะที่กำลังจะเกิดในสังคมคนเมืองและคนรุ่นใหม่มากขึ้น ซึ่งภาวะหมดไฟหรือหมดแรงบันดาลใจในการทำงานนี้ งานวิจัยของต่างประเทศระบุว่าอาจส่งผลให้กลายเป็นโรคซึมเศร้าได้ในระยะยาว และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่ 2 ของกลุ่มคนรุ่นใหม่ มีจำนวนผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากต่อปี วันนี้ภาวะหมดไฟจึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป

วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดลได้ทำงานวิจัยศึกษาพฤติกรรมของผู้ที่อยู่ในภาวะหมดไฟ ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะหมดไฟ และผู้ที่มีพลังใจในการทำงานสูง ว่ากลุ่มผู้บริโภควัยทำงานเหล่านี้ทำกิจกรรมอะไร? เพื่อที่จะคลายความเครียดที่กำลังเผชิญ หรือเพิ่มพลังใจที่หดหายให้กลับมาและสู้กับสถานการณ์ที่เจอ เพื่อที่จะได้กลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ

ทั้งนี้วิทยาลัยการจัดการมหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ริเริ่มจัดงานสัมมนาการตลาด และจัดต่อเนื่องมาเป็นประจำทุกปี  ซึ่งได้รับความสนใจจากบรรดาผู้ประกอบการ นักการตลาด รวมถึงสื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ โดยหยิบยกประเด็นสำคัญที่กำลังถูกพูดถึงในสังคมหรือควรค่าแก่การศึกษาเพื่อต่อยอดความคิดทางการตลาด แล้วส่งต่อให้เกิดกลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ โดยคณะผู้จัดงานเห็นว่าปัญหาความเครียดที่เกิดขึ้นภายในสังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสังคมเมือง หรือที่กำลังลุกลามไปทั่วโลก อาจทำให้เกิดปัญหาในอนาคตได้ เราจึงจำเป็นที่ต้องเตรียมรับมือกับปัญหา และเยียวยาผู้คนในสังคม เพื่อให้อาการที่เกิดขึ้นนั้นบรรเทาเบาบางลง จนสามารถกลับมาใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติ

จากการเก็บผลสำรวจผู้บริโภควัยทำงานในกรุงเทพมหานครในช่วงปลายปี 2562 จำนวน 1,280 คนโดยในจำนวนนั้นเป็นผู้หญิง 66% ผู้ชาย 34% พบว่า 12% อยู่ในภาวะหมดไฟในการทำงาน 57% อยู่ในภาวะที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเข้าสู่ภาวะหมดไฟ และมีจำนวนเพียง 31% เท่านั้นที่อยู่ในภาวะไฟแรง เมื่อคิดเป็นสัดส่วนของประชากรในกรุงเทพมหานคร มากกว่า 3.7 ล้านคน* อยู่ในภาวะเครียดจนน่าเป็นห่วง (*จำนวนประชากรวัยทำงานในกรุงเทพจำนวน 5.3 ล้านคน) โดยผลสำรวจพบว่า ช่วงอายุที่น้อยลงกลับมีโอกาสที่จะเข้าสู่ภาวะหมดไฟได้มากกว่า โดยกลุ่ม Gen Z หรือช่วงอายุต่ำว่า 22 ปี กำลังตกอยู่ในภาวะหมดไฟมากที่สุดถึง 17% ขณะที่กลุ่ม Gen Y หรือช่วงอายุ 23 – 38 ปี ก็ตกอยู่ในสภาวะใกล้เคียงกันที่ 13% แต่กลับกันในกลุ่ม Baby boomer หรือช่วงอายุ อายุ 55 - 73 ปี กลับอยู่ในภาวะหมดไฟเพียง 7%  

โดยเมื่อดูตามกลุ่มอาชีพ พบว่า พนักงานรัฐวิสาหกิจคือกลุ่มที่อยู่ในภาวะหมดไฟ และกำลังเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะหมดไฟมากเป็นอันดับแรกที่ 77% รองลงมาคือ พนักงานเอกชน 73% และข้าราชการที่ 58% และธุรกิจส่วนตัว 48% ซึ่งมี สาเหตุหลักที่ทำให้อยู่ในภาวะหมดไฟ

1. งาน OVERLOAD : ภาระงานที่เยอะและไม่สมดุลกับปริมาณคนทำงาน

2. NO MODE สนับสนุน ไม่ใช้เครื่องมือหรือระบบที่เหมาะสมทำให้ไม่สามารถลดเวลาและกระบวนการทำงานได้

3. โครงสร้างวุ่นๆ กับเจ้านายเย็นชา หัวหน้างานที่ขาดความรับผิดชอบ ไม่รับฟังความคิดเห็นรวมถึงโครงสร้างองค์กรที่ไม่มีความยืดหยุ่น

เมื่อภาวะหมดไฟไม่ใช่เรื่องไกลตัวอักต่อไป จึงต้องมีกิจกรรมที่จะมาช่วยคลายความเครียดจากการทำงานในแต่ละวัน กลุ่มกิจกรรมที่ช่วยคลายความเครียด ได้แก่ การใช้โซเชียลมีเดีย การพูดคุยกับครอบครัว การพูดคุยกับเพื่อน การฟังเพลง การออกกำลังกาย การเล่นเกมส์ รับประทานอาหารที่อร่อย การทำบุญ การชมภาพยนตร์

จากผลการสำรวจความคิดเห็นผลว่า กิจกรรมที่ผู้ชายเลือกใช้เพื่อคลายเครียด 3 ลำดับแรก คือ การเล่นเกมส์ การออกกำลังกาย การใช้โซเชียลมีเดีย ขณะที่กิจกรรมที่ผู้หญิงเลือกทำเพื่อคลายเครียด 3 ลำดับแรก ได้แก่ การพูดคุยกับเพื่อน การใช้โซเชียลมีเดีย การพูดคุยกับครอบครัว และเมื่อแบ่งตามเจเนอเรชั่น กลุ่ม Baby Boomer เลือกที่จะการออกกำลังกาย การสวดมนต์ การพูดคุยกับครอบครัว

กลุ่ม Gen X เลือกการใช้โซเชียลมีเดีย การพูดคุยกับเพื่อน การพูดคุยกับครอบครัว ส่วนกลุ่ม Gen Y เลือกการใช้โซเชียลมีเดีย การพูดคุยกับเพื่อน การพูดคุยกับครอบครัว ในกลุ่ม Gen Z เลือกการใช้โซเชียลมีเดีย การฟังเพลง การพูดคุยกับครอบครัว และกิจกรรมที่กลุ่มคนไฟแรงเลือกใช้ คือ การพูดคุยกับครอบครัว การออกกำลังกาย การใช้โซเชียลมีเดีย ดังนั้น หากคุณคิดว่า ตัวเองกำลังทรมานจากความเหนื่อยหน่าย การลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหมดไฟคือการเลือกใช้กิจกรรมที่เหมาะสม และไม่มากจนเกินไป ก็จะมีส่วนช่วยผ่อนคลายความเครียดและเสริมสร้างแรงบันดาลใจให้กลับมามีไฟกันอีกครั้ง

กลยุทย์การตลาดที่จะมาช่วยเติมไฟ เพิ่มความสดชื่น สดใจ ลดภาวะหมดไฟ ที่นักการตลาด เจ้าของธุรกิจ หรือ ผู้ประกอบแต่ละขนาดจะสามารถนำไอเดียไปพัฒนาธุรกิจให้ตอบโจทย์ผู้ที่กำลังเผชิญกับความเครียด และเติมพลังไฟให้ได้ คือ FRESH Strategy

สำหรับ FRESH Strategy  หมายถึง

F มาจาก Fulfill Friend and Family จากผลงานวิจัยพบว่าการพูดคุยกับเพื่อนและครอบครัวมาเป็น 2 อันดับแรก ในมุมมองของนักการตลาด อาจเริ่มจากกิจกรรมที่ใกล้ตัวก่อนเช่นการพูดคุย เพิ่มไอเดียทางธุรกิจจากการสร้างแอปพลิเคชั่นสำหรับการพูดคุยของครอบครัวขึ้นมาโดยเฉพาะให้มากขึ้น หลังจากนั้นพัฒนากิจกรรมที่มีขอบเขตที่กว้างขวางมากขึ้น เช่น ร่วมกันทำอาหาร ออกไปท่องเที่ยวกับครอบครัว ดูหนัง หรือแม้กระทั่งกิจกรรมยอดนิยมของวัยรุ่นในปัจจุบัน เช่น การเล่นบอร์ดเกม โดยผู้ผลิตหรือทางร้านอาจออกแบบกิจกรรมให้เน้นรูปแบบของครอบครัวมากขึ้น

R าจาก Recharge your energy ความต้องการอย่างเร่งด่วนของคนหมดไฟ คือ พลังงานที่ช่วยให้กลับมามีพลังได้อีก จากผลการวิจัยในต่างประเทศระบุว่า สัตว์เลี้ยง มีผลช่วยเยียวยาจิตใจของคนที่มีอาการเครียดหรือซึมเศร้าได้

มาจาก Entertain ความบันเทิง เพราะเป็นตัวช่วยที่ง่ายที่สุดที่บรรเทาความเครียดลงได้ และยิ่งในปัจจุบันความบันเทิงมีหลายรูปแบบ ทั้ง ดูหนัง ฟังเพลง โซเชียล มีเดีย ที่หาได้ง่ายๆผ่านสตรีมมิ่งแพลตฟอร์มต่างๆ แต่ในความธรรมดาเหล่านี้ นักการตลาดควรสร้างความแตกต่างให้กับแบรนด์ของตัวเอง และสร้างความเฉพาะเจาะจงเพื่อให้ตรงกับกลุ่มลูกค้ามากที่สุด

S มาจาก Start something new เพราะการต้องติดอยู่กับสภาพแวดล้อมการทำงานแบบเดิมๆ งานที่หนัก ไม่ได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ ไม่สามารถออกไปไหนได้เพราะติดพันกับงาน ความคิด หรือสถานการณ์แบบเดิมๆ จนเกิดเป็นความเครียดสะสม ทางออกที่เราสามารถช่วยได้คือ การออกไปยังสถานที่ใหม่ๆ หรือเริ่มต้นทำกิจกรรมที่แปลกแตกต่างออกไปจากเดิม ให้ได้เจอสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น ไม่ต้องจมกับเรื่องน่าปวดหัวสักระยะ ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวที่เน้นความสงบให้ธรรมชาติมาช่วยบำบัดจิตใจ หรือแบบแอดเวนเจอร์ ที่ไม่เน้นพักผ่อนร่างกาย แต่หัวใจได้ปลดปล่อยอย่างเต็มที่ ใช้ชีวิตให้สุดขีด เพราะการหยุดพักทำให้ไม่ต้องโฟกัสกับปัญหาที่ทำให้เราหมดไฟกับมันอยุ่ แล้วเมื่อเรามองกลับมาอาจค้นพบวิธีการแก้ปัญหาใหม่ๆ ออกมาได้เช่นกัน

H มาจาก Heal your health สุดท้ายแล้วปัญหาความเครียดสะสมเป็นปัญหาเรื่องสุขภาพ ซึ่งจะส่งผลไปต่อสุขจิตและสุขภาพกายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ชาว Burnout ทุกคนปรารถนาจะมีสุขภาพที่ดี ปัจจุบันความก้าวหน้าของเทคโนโลยีได้ช่วยพัฒนาให้มีอุปกรณ์ช่วยเหลือให้เราสุขภาพดีขึ้น อาทิ Chatbot ที่จะช่วยคุยกับคุณเพื่อระบายความเครียด คอยแนะนำเสมือนคนใกล้ตัวให้คุณวางใจได้

 

สหพันธ์การตลาดแห่งเอเชีย Asia Marketing Federation (AMF) และสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย จัดทำรายงานพิเศษหัวข้อ “10 เทรนด์การตลาดแห่งเอเชีย ประจำปี 2563” รายงานฉบับนี้เป็นการจับความเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงของการตลาดในภูมิภาค ผนวกกับการวิเคราะห์จากผู้เชี่ยวชาญของสมาคมการตลาดจากประเทศสมาชิกในเอเชีย

 

สหพันธ์การตลาดแห่งเอเชีย Asia Marketing Federation (AMF) เป็นองค์กรระดับภูมิภาคและเป็นเครือข่ายของสมาคมการตลาดในเอเชีย ที่มีภารกิจสำคัญในการมุ่งพัฒนาเครือข่ายให้เข้มแข็งและส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาคมการตลาดในแถบภูมิภาคเอเชีย อันจะนำมาซึ่งประโยชน์ในการพัฒนาธุรกิจ เศรษฐกิจ และสังคมในประเทศสมาชิกจำนวน 17 สมาคมจาก ประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ฮ่องกง มาเก๊า สิงคโปร์ ไต้หวัน มองโกเลีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ไทย มาเลเซีย พม่า กัมพูชา เวียดนาม ศรีลังกา และ บังคลาเทศ

 

10 เทรนด์การตลาดแห่งเอเชีย ประจำปี 2563

 

1. Voice Search Optimization: เทรนด์การค้นหาด้วยเสียง

 

เมื่อเทคโนโลยี และ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้การจดจำเสียงได้รับความแม่นยำมากขึ้น และมีการตอบสนองอย่างชาญฉลาด ส่งผลให้เทรนด์การค้นหาด้วยเสียงเป็นหนึ่งเทรนด์ที่มาแรงในยุคนี้

ผู้บริโภคยุคใหม่ต้องการความสะดวกสบายรวดเร็วทันใจ พวกเขาแสวงหาทางเลือกใหม่ๆ ในการใช้อุปกรณ์สมาร์ทโฟน เทรนด์การค้นหาด้วยเสียงแทนการพิมพ์ข้อความค้นหาแบบเดิมๆ จึงได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีการมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีนี้ให้ก้าวไกลและแม่นยำมากขึ้นเรื่อยๆ จะเห็นได้จากบริษัทยักษ์ใหญ่หลายรายที่ให้ความสำคัญกับสมาร์ทเทคโนโลยีนี้ อาทิเช่น ระบบสั่งการด้วยเสียงอัจฉริยะของ Apple Smartphone, ระบบให้ความช่วยเหลือผ่านการสั่งการด้วยเสียงของ Amazon และ อุปกรณ์สมาร์ทโฮม Xiaomi ของจีนที่สามารถควบคุมด้วยเสียง ในอนาคตอันใกล้การค้นหาด้วยเสียงจะกลายเป็นส่วนหนึ่งที่ขาดไม่ได้ในชีวิตประจำวันของเรา

 

2. สินค้าและบริการแบบ Hyper-Personalization ประสบการณ์เฉพาะสำหรับคุณ

 

พัฒนาการด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวเนื่องกับ Big Data และ AI สร้างโอกาสให้นักการตลาดสามารถสร้างประสบการณ์เฉพาะแบบรายบุคคล ให้ตรงความต้องการของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น แต่การจะพัฒนาให้ทันความคาดหวังของผู้บริโภคให้ได้นั้น นักการตลาดต้องก้าวสู่โลกของการตลาดแบบ Hyper-Personalization Marketing ซึ่งผสานข้อมูลอันหลากหลายแบบมีการใช้ Data Science และ predictive analytics ในการวิเคราะห์และคาดเดาพฤติกรรมผู้บริโภค ทำการตลาดที่สอดคล้องร่วมมือเป็นหนึ่งเดียวกัน ทั้งภายในองค์กร และ ภายนอกองค์กร กับคู่ค้าและพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้แก่ลูกค้า

 

Hyper-Personalization เป็นกลยุทธ์การตลาดที่แบรนด์จะต้องลงทุนเพื่อตอบสนองความคาดหวังที่เพิ่มขึ้นของลูกค้าเมื่อซื้อผลิตภัณฑ์และบริการ พวกเขาต้องการประสบการณ์ที่รู้ใจและเหมาะกับตัวเขาที่สุด ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ เรื่องของกลุ่มเครื่องสำอาง ที่ในปัจจุบันไม่สามารถเหมารวมเรื่องความงามเป็นแบบเดียวได้อีกต่อไป แต่ต้องคำนึงถึงความงามที่หลากหลายและแตกต่าง ทั้งเรื่องของสีผิวและรูปร่าง

 

3. Moment-based Marketing: มอบสิ่งที่ใช่ ในเวลาที่ใช่

 

การใช้ประโยชน์จาก Micro Moments หรือ เสี้ยวเวลาเล็กๆ ในการใช้ชีวิตประจำวันของผู้บริโภคเป็นสิ่งสำคัญที่แบรนด์สามารถจะนำเสนอคุณค่าบางอย่าง ‘ที่เฉพาะเจาะจง’ กับช่วงเวลานั้นๆ ให้แก่ลูกค้าได้

 

ในปัจจุบัน ขั้นตอนการตัดสินใจซื้อสินค้าสักชิ้นของลูกค้าไม่ได้เรียบง่ายเป็นเส้นตรงเหมือนเดิมอีกต่อไป แต่มีรูปแบบอื่นๆ อีกมากมายที่เราต้องเรียนรู้และปรับตัว ตัวอย่างเช่น การโพสต์ที่สามารถสั่งซื้อสินค้าได้เลย เป็นรูปแบบใหม่ทีย่อกระบวนการ จากการรับรู้ สู่การซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภค ให้การตัดสินใจนั้นสั้นและกระชับมาก ดังนั้น นักการตลาดจึงต้องพาแบรนด์เข้าไปอยู่ใน Micro Moment ของกลุ่มเป้าหมายให้ได้ โดยสร้างความเชื่อมโยงระหว่างแบรนด์และกลุ่มเป้าหมายในช่วงเวลาต่างๆ ผ่านการออกแบบการสื่อสารการตลาดและคอนเทนท์ต่างๆ ที่จะเข้าไปมีบทบาทช่วยเหลือเขาอย่างเหมาะสม ในเวลาที่เหมาะสม

 

หากพูดถึงเหตุการณ์สำคัญระดับโลก ในปี 2563 นี้ ที่สามารถมาเชื่อมโยงความต้องการผู้บริโภคที่นักการตลาดสามารถนำมาสร้างแบรนด์ หรือส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์หรือบริการของตนได้ อาทิเช่น โตเกียวโอลิมปิค ในปี 2563 (กรุงโตเกียวจะเป็นเมืองที่สอง เหมือนกับกรุงลอนดอน ที่เป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกมากกว่าหนึ่งครั้งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2) และ การแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป ในปี 2563 (Euro 2020) ทั้งสองเหตุการณ์เป็นโอกาสในการสร้างการเชื่อมโยงกับกลุ่มเป้าหมายได้ตามความเหมาะสม

 

4. การเติบโตของ Video Search Optimization จะมาแทนที่ SEO แบบเดิมๆ

 

ผู้บริโภคนิยมใช้สื่อวีดีโอในการเรียนรู้เกี่ยวกับสินค้าและบริการใหม่ๆ ด้วยเทคโนโลยี Video Search Optimization เพิ่มขึ้น ทำให้การขายในปัจจุบันง่ายกว่าที่เคย เพราะเมื่อผู้บริโภคเลือกเข้าไปดูวีดีโอ พวกเขาสามารถทำการค้นหาสินค้าและบริการโดยเพียงแค่แตะที่วัตถุในวิดีโอแล้วทำการซื้อได้เลยโดยไม่ต้องออกจากหน้าวีดีโอนั้นๆ นอกเหนือจากนี้ เทรนด์การหาข้อมูลผ่านวีดีโอสตรีมมิ่งและการหาด้วยเสียงนั้นเติบโตขึ้นเรื่อยๆ และเป็นที่ชื่นชอบและสามารถโต้ตอบกับผู้บริโภคได้มากกว่าจากการอ่านข้อมูลที่พิมพ์ไว้สำหรับการอ่าน

 

จึงเป็นสิ่งสำคัญที่นักการตลาดควรจะสร้างสรรค์เนื้อหาแบบ visual มากขึ้น ที่ส่งผลกับการพฤติกรรมการตัดสินใจของผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นการให้ข้อมูลแบบ Data Visualization, อินโฟกราฟฟิกที่น่าสนใจ, ภาพและเนื้อเรื่องที่ส่งผลต่ออารมณ์และความชื่นชอบในทุกช่องทางของการสื่อสารการตลาดและแบรนด์สินค้า

 

5. Nano Food Printing: นวัตกรรมเครื่องพิมพ์อาหารนาโน สามารถปรับแต่งอาหารและโภชนาการให้เหมาะสมตอบโจทย์สุขภาพของรายบุคคล

 

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เราได้ตื่นเต้นไปกับความก้าวหน้าเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ การพิมพ์ 3 มิติ (3D Printing) แต่เมื่อนาโนเทคโนโลยีก้าวเข้ามา เราจะได้เห็นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่สามารถปรับแต่งอาหารและโภชนาการให้ตอบโจทย์สุขภาพของเราได้เป็นรายบุคคล

 

นวัตกรรมนาโนเทคโนโลยี จะเปิดศักยภาพใหม่และความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการแปรรูปอาหาร ไม่ใช่แค่เรื่องการวิเคราะห์และสร้างสรรสร้างอาหารและโภชนาการที่ร่างกายคนต้องการ เพิ่มเอนไซม์ที่เป็นประโยชน์ที่ร่างกายต้องการให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น มีอายุยืนยาวขึ้น และประหยัดค่าใช้จ่ายขึ้น แต่ยังรวมถึงการหลีกเลี่ยงเชื้อโรคและส่วนประกอบทางเคมีอื่น ๆ ที่ไม่เหมาะสมกับผู้บริโภคอีกด้วย

 

6. Space Technology Revolutionary: ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ที่มาจากการสื่อสารทางแสงแบบไร้สายจากดาวเทียมที่จะมาแทนสายเคเบิลใยแก้วแบบเดิมๆ

 

เมื่อเทคโนโลยีอวกาศนั้นมีการเข้าถึงได้ง่ายขึ้น โอกาสทางการค้าก็มีมากขึ้นเช่นกัน ทั้งบริษัท tech-startup และผู้ลงทุนเริ่มมองเห็นศักยภาพในการมีโดเมนนอกโลก และการพัฒนาดาวเทียมวงโคจรต่ำเพื่อใช้ในการสื่อสารที่ใช้ดาวเทียมหลายดวงในลักษณะหมู่ดาว (Constellation) จะช่วยสร้างการเชื่อมต่อครอบคลุมทั่วโลกและด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่ามาก แม้จะมีความท้าทายเกี่ยวกับนโยบายทางการเมืองจากประเทศต่างๆ แต่ประโยชน์ที่เทคโนโลยีอวกาศสามารถนำมาใช้นั้นมีความน่าสนใจมาก

 

เมื่อเทคโนโลยีเลเซอร์ความเร็วสูงในอวกาศมาแทนที่เส้นใยเคเบิลใต้มหาสมุทร ก็จะช่วยให้การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและการเชื่อมต่อไร้ขีดจำกัดทั่วโลก ซึ่งหมายความว่าคุณจะสามารถสัมผัสกับเทคโนโลยีอัจฉริยะได้อย่างราบรื่นยิ่งขึ้นโดยไม่มีข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์ นอกจากนี้ยังหมายถึงความก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ เช่นระบบอัตโนมัติของรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยตนเอง เป็นต้น

 

7. การมาถึงของเทคโนโลยี 5Gs และ bandwidth ขนาดใหญ่: ความเร็วและแรงที่จะเกิดขึ้นจริงในโลกการสื่อสาร

 

ระบบ 5Gs และ bandwidth ขนาดใหญ่จะช่วยเสริมศักยภาพของการตลาดในอนาคต โดยเฉพาะในเรื่องของ personalized marketing strategies หรือกลยุทธ์การตลาดระดับบุคคล เพราะความเร็วของเทคโนโลยีนี้จะช่วยเรื่องการส่งต่อของข้อมูลให้ลื่นไหล และการทำการตลาด content marketing จะน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

 

และเมื่อเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) สำหรับอินเทอร์เน็ตมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โลกจะยิ่งมีการเชื่อมต่อในระดับที่สูงขึ้นมาก ดังนั้น เราจะได้เห็นพัฒนาการขั้นสูงของแชทบ็อต และการสื่อสารในรูปแบบใหม่ๆที่ง่ายต่อการใช้งาน และระบบ 5G จะมาเปลี่ยนโลกการสื่อสาร หรือเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือเดิมๆที่เราเคยรู้จัก ให้ก้าวไกลไปอีกขั้น

 

8. Holographic Technology & Imagining Technology: เมื่อโลกแห่งจินตนาการกลายเป็นเรื่องจริง

 

เทคโนโลยี 5G จะช่วยทำให้ Holographic Technology & Imagining Technology กลายเป็นเครื่องมือทางเลือกที่มาแทนที่จอโทรทัศน์ที่เป็นภาพ 2 มิติ สำหรับโลกบันเทิงและการสื่อสารในอนาคต

 

อีกไม่ช้าเราจะได้เห็นผลิตภัณฑ์ 3D โฮโลแกรมที่ได้รับแรงบันดาลใจจากภาพยนตร์สตาร์วอร์ออกสู่ท้องตลาดมากมาย ความเป็นไปได้ของธุรกิจนี้จะขยายไปอีกมากจากการเติบโตของเทคโนโลยี อาทิ โทรทัศน์สามมิติสำหรับความบันเทิง และเกมโฮโลแกรม สำหรับสมาร์ทโฟน 5G ความเร็วสูง ผู้บริโภคจะได้เปิดประสบการณ์การชมภาพยนตร์ในรูปแบบโฮโลแกรมเสมือนจริงที่จะมาเปลี่ยนรูปแบบความบันเทิงที่คุ้นเคย ตัวอย่างเช่นผู้บริโภคสามารถย้อนกลับไปสัมผัสกับประสบการณ์ที่ผ่านมาในอดีต เช่นการดูคอนเสิร์ตเก่าของศิลปินอมตะในอดีตหลายๆท่าน เป็นต้น

 

9. Co-working Space: ไม่ใช่แค่การแบ่งปันสถานที่อีกต่อไป แต่รูปแบบธุรกิจใหม่คือการแบ่งปันทรัพยากรและความเชี่ยวชาญ

 

การแบ่งปันพื้นที่ทำงานร่วมกันนั้นเป็นที่นิยมในหมู่ผู้ประกอบการและผู้เริ่มธุรกิจมาสักพักหนึ่งแล้ว และเทรนด์นี้ยังนำไปสู่แนวคิดเศรษฐกิจแบบ Sharing Economy ที่มีการแบ่งปันทั้ง ทรัพยากร และ องค์ความรู้ ความ

เชี่ยวชาญ เพราะสิ่งเหล่านี้ช่วยลดต้นทุนโดยรวม ซึ่งการดำเนินงานและรูปแบบธุรกิจดังกล่าวเป็นที่นิยมในหมู่ผู้ประกอบการรุ่นใหม่และบริษัทขนาดเล็กที่เพิ่งเริ่มต้นเป็นอย่างมาก

 

แนวคิดสถานที่ทำงานร่วมกันแบบเปิด แบบที่เรียกว่า Co-working space ยังช่วยส่งเสริมการสนทนาและการทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ ให้ผู้คนสามารถแบ่งปันความคิดอย่างเปิดเผยและพัฒนาโอกาสทางธุรกิจ

 

เราได้เห็นแนวคิดเศรษฐกิจแบบ Sharing Economy จากวิธีการหลายๆธุรกิจในปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น บริการ app ทางโทรศัพท์มือถือ ที่เป็นสื่อกลางให้กับผู้ขับขี่ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกับบริเวณที่มีความต้องการของลูกค้า ผันตัวเองมาเป็นคนจัดส่งของอิสระ (delivery drivers) แทนที่จะจ้างต้องพนักงานประจำเพื่อจัดส่งสินค้าดังกล่าว

 

10. Travel intentions for social causes: เทรนด์การท่องเที่ยวเพื่อสังคม

 

โครงสร้างทางสังคมยุคนี้ เอื้อให้เราสามารถเดินทางได้ง่ายขึ้นด้วยค่าใช้จ่ายที่น้อยลง ดังนั้นเราจึงเห็นความเติบโตของเทรนด์การเดินทางรูปแบบใหม่เพื่อช่วยเหลือสังคม และวิธีการท่องเที่ยวก็จะช่วยเติมเต็มความต้องการส่วนตัวของผู้เดินทาง ส่วนหนึ่งมาจากความตั้งใจทำให้ทริปแต่ละทริปมีความหมายยิ่งขึ้น เพื่อเป็นแรงบันดาลใจในการเติมเต็มเป้าหมายให้แก่ชีวิตของตนเองผ่านการให้ การช่วยงานสาธารณประโยชน์ และคืนสิ่งดีๆ กลับสู่สังคมนอกเหนือชุมชนที่พวกเขาพักอาศัยอยู่เท่านั้น

“AIS The StartUp” คว้ารางวัล สุดยอดผู้สนับสนุนธุรกิจสตาร์ทอัพ
 
หนึ่งเดียวในโลก จากเวที Global StartUp Award
 
14 มกราคม 2563 : AIS ตอกย้ำความเป็นผู้นำทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่สนับสนุนให้เกิด Ecosystem ด้านการพัฒนาธุรกิจสตาร์ทอัพอย่างต่อเนื่อง ผ่านโครงการ AIS The StartUp แพลตฟอร์มการพัฒนาธุรกิจที่ระดมทรัพยากร ทั้งด้านเทคโนโลยี และผู้เชี่ยวชาญ เพื่อผลักดันความก้าวหน้าของเศรษฐกิจดิจิทัลทั้งในระดับประเทศ และระดับนานาชาติ จากผลการดำเนินอย่างต่อเนื่องทำให้โครงการ AIS The StartUp ได้รับการคัดเลือกเป็นตัวแทนผู้สนับสนุนธุรกิจสตาร์ทอัพ (Accelerator) ประเทศไทย เข้าแข่งขันต่อรอบระดับภูมิภาคอาเซียน ผ่านเข้าสู่ระดับโลก ล่าสุดโครงการ AIS The StartUp คว้าสุดยอดรางวัลหนึ่งเดียวในโลก The Best Global Accelerator and Incubator Program จากเวที Global StartUp Award ซึ่งมอบให้กับบริษัทที่มีรูปแบบการดำเนินงานด้านสตาร์ทอัพได้มาตรฐานระดับโลก มีทีมงานที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ รวมถึงมีเทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่ผลักดันให้เกิดการเติบโตในทางธุรกิจอย่างยั่งยืนทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ เกณฑ์การตัดสินรางวัลในครั้งนี้ จะพิจารณาจากผลงานในอดีต การทำงานในปัจจุบัน และแผนงานในอนาคต ซึ่งมีคณะกรรมการตัดสินเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านธุรกิจสตาร์ทอัพจากทั่วทุกมุมโลก
 
            โดย นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอส กล่าวถึงความรู้สึกที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ว่า “รู้สึกดีใจและภาคภูมิใจเป็นอย่างมากที่ AIS โดยโครงการ AIS The StartUp สามารถคว้ารางวัลระดับโลกได้สำเร็จ ซึ่งนอกจากเป็นเพราะความมั่นใจในศักยภาพของผู้ประกอบการสตาร์ทอัพในประเทศไทยแล้ว ยังเป็นการตอกย้ำให้เห็นถึงความตั้งใจของบริษัทที่มีนโยบายด้านการสนับสนุนธุรกิจสตาร์ทอัพมาอย่างต่อเนื่อง โดยตลอดระยะเวลา 9 ปีที่ผ่านมา โครงการ AIS The StartUp ได้มีผลิตภัณฑ์รวมทั้งสิ้นกว่า 47 สินค้าและบริการ ก่อให้เกิดการจ้างงานแล้วกว่า 2,000 อัตรา และทำให้เกิดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจดิจิทัลรวมกว่า 12,000 ล้านบาทต่อปี และในปี 2020 นี้ เอไอเอสยังได้เดินหน้ายกระดับการดำเนินงานไปอีกขั้น โดยได้ร่วมมือกับสตาร์ทอัพทั้งภายในและภายนอกประเทศ เพื่อแบ่งปันองค์ความรู้ ปลดล็อกลิมิตด้านการทำงานให้สอดรับกับนวัตกรรมยุคใหม่ อาทิ 5G ที่กำลังจะมาถึง
เพื่อให้คนไทยได้สัมผัสเทคโนโลยีล้ำสมัยไปพร้อมกับคนทั่วทั้งโลก และธุรกิจใหม่ของ AIS อย่าง Insurance, Payment, Game และ Video”

 

นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา (ที่ 4 จากซ้าย) กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร EXIM BANK ให้การต้อนรับและพบปะหารือนางจินตนา ศิริสันธนะ (ที่ 4 จากขวา) เลขาธิการสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย ในโอกาสสวัสดีปีใหม่ 2563 พร้อมทั้งหารือแนวทางส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยในการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ เมื่อเร็ว ๆ นี้

 

ดร. เก่งการ เหล่าวิโรจนกุล ผู้อำนวยการฝ่ายรัฐกิจสัมพันธ์ แกร็บ ประเทศไทย (ที่ 4 จากซ้าย) พร้อมด้วยนางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ รองผู้ว่าการด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ที่ 4 จากขวา) มอบรางวัลแท็กซี่ต้นแบบด้านการส่งเสริมภาพลักษณ์การท่องเที่ยวไทยให้กับ พาร์ทเนอร์คนขับแกร็บแท็กซี่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “น้ำใจ” ที่มุ่งรณรงค์ส่งเสริมการเป็นเจ้าบ้านที่ดี เพื่อสร้างความประทับใจและยกระดับมาตรฐานการให้บริการแก่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ

 

กรุงเทพฯ – แกร็บ ผู้นำซูเปอร์แอปในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ ร่วมมือกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สานต่อโครงการ “น้ำใจ” เพื่อรณรงค์การเป็นเจ้าบ้านที่ดีของคนไทยและวางรากฐานท่องเที่ยวไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน โดยขยายกลุ่มเป้าหมายไปยังพาร์ทเนอร์ผู้ขับขี่แกร็บแท็กซี่ ซึ่งเป็นด่านหน้าที่ต้อนรับนักท่องเที่ยว พร้อมมอบรางวัลแท็กซี่ต้นแบบด้านการส่งเสริมภาพลักษณ์การท่องเที่ยวไทยให้แก่พาร์ทเนอร์ผู้ขับขี่แกร็บแท็กซี่ใน สาขาซึ่งประเมินจากคะแนนการให้บริการของผู้โดยสาร เพื่อเชิดชูเกียรติและสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ขับรถแท็กซี่ให้ตระหนึกถึงบทบาทในการเป็นเจ้าบ้านที่ดี พร้อมร่วมส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยและช่วยยกระดับมาตรฐานการให้บริการแก่นักท่องเที่ยว

 

นางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ รองผู้ว่าการด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การท่องเที่ยวนับเป็นอุตสาหกรรมหลักที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศและเป็นฟันเฟืองหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย โดยรายได้จากการท่องเที่ยวคิดเป็นมูลค่าถึง 20% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาเยือนเมืองไทยหลายสิบล้านคน ททท. มองเห็นความสำคัญของการเป็นเจ้าบ้านที่ดีของคนไทยเพื่อต้อนรับและส่งมอบประสบการณ์การเดินทางที่น่าจดจำแก่นักท่องเที่ยว สิ่งที่ถือเป็นเสน่ห์และเอกลักษณ์ของคนไทยซึ่งหาจากที่ไหนไม่ได้ นั่นคือ น้ำใจ เราจึงได้ริเริ่ม โครงการ น้ำใจ ขึ้น เพื่อรณรงค์การเป็นเจ้าบ้านที่ดี พร้อมกระตุ้นจิตสำนึกให้คนไทยทุกคนร่วมกันรักษาแหล่งท่องเที่ยวควบคู่ไปกับการดูแลนักท่องเที่ยว”

 

“ที่ผ่านมา เราได้จัดทำโครงการเสริมสร้างเครือข่ายทางการท่องเที่ยวเจ้าบ้านที่ดีผ่านการจัดอบรมที่มุ่งเน้นการเพิ่มศักยภาพให้กับบุคลากรระดับปฏิบัติการในชุมชนทั่วประเทศ โดยล่าสุด ททท. ได้จับมือกับ แกร็บ ประเทศไทย ขยายผลโครงการไปยังกลุ่มผู้ขับขี่รถโดยสารสาธารณะอย่างพาร์ทเนอร์คนขับแกร็บแท็กซี่ ซึ่งถือเป็นด่านแรกในการต้อนรับนักท่องเที่ยว เพื่อให้พวกเขาตระหนักถึงบทบาทในการสร้างความประทับใจแก่นักท่องเที่ยวด้วยน้ำใจแบบไทยๆ ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนและส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน”

 

 

ดร. เก่งการ เหล่าวิโรจนกุล ผู้อำนวยการฝ่ายรัฐกิจสัมพันธ์ แกร็บ ประเทศไทย กล่าวว่า การมุ่งยกระดับมาตรฐานการเดินทางเพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย พร้อมพัฒนาคุณภาพชีวิตและกระจายรายได้ไปสู่ชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืนถือเป็นหนึ่งในพันธกิจหลักในการดำเนินธุรกิจของแกร็บ โดยที่ผ่านมา แกร็บ ประเทศไทย ได้ร่วมมือกับ ททท. ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวและกระตุ้นเศรษฐกิจในทั้งเมืองหลักและเมืองรองอย่างต่อเนื่องผ่านกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การใช้บิ๊กดาต้าเพื่อสนับสนุนการจัดทำระบบบริหารจัดการข้อมูลอัจฉริยะด้านการท่องเที่ยวของประเทศเพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของนักท่องเที่ยวให้ดียิ่งขึ้นผ่านโครงการ Tourism Smart Data, The Time is Now หรือการจัดแคมเปญการตลาดและมอบสิทธิพิเศษต่างๆ เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศ เป็นต้น”

 

“ปัจจุบัน ใน 3 ของผู้โดยสารที่ใช้บริการแกร็บในประเทศไทยเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ โดยนับตั้งแต่ปี 2560 จนถึงปัจจุบัน เราได้ให้บริการการเดินทางกับกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติราว 6 ล้านคน ครอบคลุม 20 เมืองใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ และจะขยายพื้นที่การให้บริการเพิ่มขึ้นในอนาคต ดังนั้น พาร์ทเนอร์คนขับแกร็บจึงถือเป็นกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญในการต้อนรับและสร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยว นอกเหนือจากการมีฟีเจอร์แปลภาษาอย่าง ‘แกร็บแชท’ ที่ช่วยให้พาร์ทเนอร์คนขับสามารถสื่อสารกับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติได้แล้ว การร่วมมือกับ ททท. ในการจัดอบรมพาร์ทเนอร์คนขับแกร็บแท็กซี่ภายใต้โครงการน้ำใจในครั้งนี้ถือเป็นอีกหนึ่งในความตั้งใจในการร่วมสนับสนุนการท่องเที่ยวไทย ผ่านการสร้างความตระหนักและปลูกจิตสำนึกในการเป็นเจ้าบ้านที่ดีให้กับพาร์ทเนอร์คนขับของเรา เพื่อช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวด้วยน้ำใจเสน่ห์แบบไทยที่มัดใจคนทั่วโลก” ดร. เก่งการ กล่าวเสริม

 

นอกจากการจัดอบรมเกี่ยวกับบทบาทการเป็นเจ้าบ้านที่ดีและการดูแลนักท่องเที่ยวให้กับพาร์ทเนอร์คนขับแกร็บ กว่า 200 คนแล้ว แกร็บ ประเทศไทย ยังได้ร่วมกับ ททท. จัดพิธีมอบรางวัลแท็กซี่ต้นแบบด้านการส่งเสริมภาพลักษณ์การท่องเที่ยวไทย เพื่อยกย่องและชื่นชมพาร์ทเนอร์คนขับแกร็บแท็กซี่ที่มีความเป็นเลิศในการปฎิบัติหน้าที่ และมีความโดดเด่นในด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยประเมินผลจากคะแนนการให้บริการและความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ซึ่งแบ่งเป็น สาขาดังนี้

  • รางวัลแท็กซี่ขวัญใจนักท่องเที่ยว ซึ่งได้คะแนนการให้บริการจากชาวต่างชาติสูงที่สุด ได้แก่ นายพูลสวัสดิ์ จำเนียรสุข
  • รางวัลแท็กซี่ให้บริการยอดเยี่ยม ซึ่งได้รับคำชื่นชมในด้านมาตรฐานการให้บริการอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ นายกมลาสน์ กุลบันลือพิชญ์
  • รางวัลแท็กซี่ใช้ภาษาดีเด่น ซึ่งมีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อสื่อสารกับนักท่องเที่ยวได้ดี ได้แก่ นายถาวร ต้นประดู่
  • รางวัลแท็กซี่นำเที่ยวดีเด่น ซึ่งมีความรู้และสามารถแนะนำแหล่งท่องเที่ยวให้กับนักท่องเที่ยว ได้แก่ นายวุฒินันท์ โพธิ์ชุ่ม
  • รางวัลแท็กซี่จิตสาธารณะ ซึ่งมีประวัติในการให้ความช่วยเหลือนักท่องเที่ยว ได้แก่ นายพลิศ วีรสอน

 

ซ้ายเจ้าหน้าที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยร่วมบรรยายพิเศษเพื่อให้ความรู้และปลูกจิตสำนึกการเป็นเจ้าบ้านที่ดีให้กับพาร์ทเนอร์ผู้ขับแกร็บกว่า 200 คน / ขวาโฉมหน้า พาร์ทเนอร์คนขับแกร็บแท็กซี่ที่ได้รับมอบโล่รางวัลแท็กซี่ต้นแบบด้านการส่งเสริมภาพลักษณ์การท่องเที่ยวไทยจาก แกร็บ และ ททท.


ภายในงาน แกร็บ ยังได้เดินหน้าส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของพาร์ทเนอร์ผู้ขับขี่และครอบครัว โดยจัดพิธีมอบทุนสนับสนุนการศึกษาให้แก่บุตรของพาร์ทเนอร์ผู้ขับขี่ที่มีผลงานยอดเยี่ยมภายใต้ โครงการ “
Grab The Future” ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ โดยได้มอบทุนการศึกษา 5,000 บาท จำนวน 200 ทุน รวมมูลค่าทั้งสิ้น ล้านบาท โดยมุ่งหวังที่จะสร้างอนาคตทางการศึกษาที่ยั่งยืนให้แก่เยาวชนและแบ่งเบาภาระทางการเงินของพาร์ทเนอร์คนขับ

 

ทั้งนี้ ปัจจุบัน โครงการ Grab The Future ได้มอบทุนการศึกษาไปแล้วจำนวน ล้านบาท ครอบคลุม 700 ครอบครัว ซึ่งช่วยตอกย้ำความมุ่งมั่นของแกร็บในการส่งเสริมและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคมตามพันธกิจทางสังคมที่เรียกว่า Grab For Good” หรือ แกร็บเพื่อชีวิตที่ดีกว่า โดยอาศัยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาทักษะและศักยภาพในการแข่งขัน เพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ รวมถึงแก้ไขปัญหาหรือขจัดข้อจำกัดในด้านต่างๆ  เพื่อให้ทุกคนก้าวทันเศรษฐกิจในยุคดิจิทัล

 

ภาพประกอบเพิ่มเติม

ดร. เก่งการ เหล่าวิโรจนกุล ผู้อำนวยการฝ่ายรัฐกิจสัมพันธ์ แกร็บ ประเทศไทย

 


ทีมผู้บริหาร แกร็บ ประเทศไทย นำโดย ดร.เก่งการ เหล่าวิโรจนกุล ผู้อำนวยการฝ่ายรัฐกิจสัมพันธ์ นายศิวภูมิ เลิศสรรค์ศรัญย์ ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจรถยนต์ นางสาวเมธิณี อนวัชกุล ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจรถจักรยานยนต์ และนางสาวสุวดี เฟื่องโคตร ผู้จัดการฝ่ายรัฐกิจสัมพันธ์ ร่วมพิธีมอบทุนการศึกษาให้กับบุตรของพาร์ทเนอร์ผู้ขับขี่แกร็บในโครงการ 
Grab The Future

 

 

พาร์ทเนอร์ผู้ขับขี่แกร็บและบุตรที่ได้รับทุนการศึกษาในโครงการ Grab The Future ครั้งที่ 4

สะท้อนความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องของแบรนด์ในการนำวัสดุเหลือใช้มารีไซเคิล (recycle) และอัพไซเคิล (upcycle) รวมถึงการดำเนินงานในการจัดการของเสียอย่างยั่งยืน

 

(คำบรรยายภาพ) นางสาวเจนนี่ จอน (ที่ 2 จากซ้าย) หัวหน้าฝ่ายด้านการกำกับดูแลและสิ่งแวดล้อม ซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ ประเทศอเมริกา และนายเคียงโม ยาง (ที่ 3 จากซ้าย) ผู้จัดการโครงการ Galaxy Upcycling ซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ผู้รับรางวัล SMM Cutting-Edge Award

 

กรุงเทพฯ (13 มกราคม 2563) - ซัมซุงคว้า 3 รางวัลด้านความยั่งยืน ประเดิมทศวรรษใหม่ สะท้อนความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องของแบรนด์ในการนำวัสดุเหลือใช้มารีไซเคิล (recycle) และอัพไซเคิล (upcycle) รวมถึงการดำเนินงานในการจัดการของเสียอย่างยั่งยืน จากงานประกาศรางวัลการจัดการวัสดุอิเล็กทรอนิกส์อย่างยั่งยืน (Sustainable Materials Management (SMM) Electronics Challenge awards) ประจำปี 2019 จัดโดยสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐ หรือ อีพีเอ (the US Environmental Protection Agency – EPA) และยังได้รับรางวัลชนะเลิศด้านการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพจากเวที CES 2020

 

งาน SMM Electronics Challenge โดยอีพีเอ จัดขึ้นตั้งแต่ปี 2557 เป็นเวทีมอบรางวัลประจำปีเพื่อเชิดชูบริษัทต่างๆ ในสหรัฐที่มุ่งมั่นในการจัดการวัสดุอย่างยั่งยืน และรีไซเคิลวัสดุเหลือใช้อย่างมีความรับผิดชอบ

โดยบริษัทเหล่านี้เป็นบริษัทที่เข้าร่วมโครงการรีไซเคิลต่างๆ โดยสมัครใจ รางวัลแบ่งเป็นสองประเภทได้แก่ Champion Award สำหรับสินค้าและนวัตกรรมที่ถูกพัฒนาขึ้นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ Tier Award สำหรับกิจกรรมรีไซเคิลต่างๆ ซึ่งซัมซุงได้รับรางวัลทั้งสองประเภทในปีนี้

 

สำหรับรางวัลประเภท Champion Award ซัมซุงได้รับรางวัลด้านเทคโนโลยีล้ำสมัย (Cutting-Edge Award) เป็นครั้งที่ 3 นับตั้งแต่มีการคิดค้นรางวัลด้านนี้ขึ้นในปี 2559 โดยรางวัลนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อยกย่องบริษัทและแบรนด์ต่างๆ ที่คิดค้นไอเดียสร้างสรรค์ในการจัดการวัสดุอิเล็กทรอนิกส์อย่างยั่งยืน ซัมซุงได้รับรางวัลนี้จากโครงการ Galaxy Upcycling โครงการที่นำโทรศัพท์มือถือที่ไม่ได้ใช้งานแล้วมาใช้ประโยชน์อย่างอื่น เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมและช่วยสร้างประโยชน์ให้กับสังคม

 

โครงการ Galaxy Upcycling เป็นการนำโทรศัพท์มือถือที่ไม่ใช้งานแล้วมาพัฒนาเป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ท (IoT) ช่วยสร้างประโยชน์ให้กับชุมชุมต่างๆ ที่ขาดโอกาสจำนวนมาก ตั้งแต่ปี 2560 โครงการนี้ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่างนักวิจัยด้านการแพทย์เกาหลีและซัมซุง ได้นำชิ้นส่วนสมาร์ทโฟนที่ไม่ใช้แล้วมาพัฒนาเป็นอุปกรณ์ตรวจวัดสายตาแบบพกพา โดยโครงการนี้ได้รับรางวัล SMM Cutting-Edge Award เป็นครั้งแรกในปี 2560 และในปีที่ผ่านมาโครงการนี้สามารถแจกจ่ายเครื่องออพธัลโมสโคป (เครื่องตรวจการทำงานของจอตาและขั้วประสาทตา) แบบพกพาจำนวน 90 เครื่องให้กับประเทศเวียดนาม โดยมีผู้ได้รับประโยชน์จำนวนกว่า 14,000 คน

 

 

 Image preview

(บรรยายภาพ) โครงการ Galaxy Upcycling ได้นำชิ้นส่วนสมาร์ทโฟนที่ไม่ใช้แล้วมาพัฒนาเป็นอุปกรณ์ตรวจวัดสายตาแบบพกพา

 

นอกจากนั้นซัมซุงยังได้รับรางวัลเหรียญทองประเภท Tier Award ติดต่อกันเป็นปีที่ 6 ซึ่งรางวัลนี้จะมอบให้แก่บริษัทที่ส่งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใช้แล้วจำนวนร้อยละ 96 ไปให้กับบริษัทรีไซเคิลที่ได้รับการรับรอง และซัมซุงได้รับการยอมรับด้านการเก็บรวบรวมและรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์กว่า 60,000 ตันในปี 2561 พร้อมร่วมทำสัญญากับเฉพาะผู้ค้าที่ได้รับการรับรองจาก e-Stewards ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ได้รับการรับรองการจัดการรีไซเคิลอุกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้บริษัทยังเข้าร่วมกิจกรรม eCycling ที่เป็นกิจกรรมอาสาเก็บขยะอิเล็กทรอนิกส์สำหรับบริษัทต่างๆ ซึ่งจัดขึ้นโดยสมาคมเทคโนโลยีผู้บริโภค หรือ ซีทีเอ (Consumer Technology Association (CTA))

 

เพียงทำตามหนังสือคู่มือที่มีให้ผ่านการสแกนคิวอาร์โค้ดที่อยู่บนกล่อง

 

ในเวที CES 2020 ซึ่งจัดขึ้น ณ เมืองลาสเวกัสรัฐเนวาดาปีนี้ ซัมซุงยังกวาดรางวัลมากมายไปจากงานประกาศรางวัล CES Innovation Awards ไม่ว่าจะเป็นสินค้าประเภทอุปกรณ์หรือการบริการ ตั้งแต่เทคโนโลยีจอภาพ ไปจนถึงอุปกรณ์มือถือที่ได้รับรางวัลด้านการเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมโซลูชั่นที่โดดเด่นในอุตสหากรรม ยิ่งไปกว่านั้น ดีไซน์บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco-packaging) ของซีรีฟ (The Serif) จากซัมซุง ยังได้รับการยอมรับด้านการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

 

ดีไซน์แบบอีโค่แพ็กเกจจิ้ง (Eco-packaging) ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถอัพไซเคิลได้ โดยการนำบรรจุภัณฑ์มาประยุกต์เป็นชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์อเนกประสงค์ขนาดเล็ก ที่เมื่อนำมาประกอบกับอุปกรณ์ต่างๆ แล้ว สามารถแปรรูปกล่องกระดาษลูกฟูกอย่างหนาให้กลายเป็นโต๊ะหรือชั้นวางของขนาดเล็กได้ เพียงทำตามหนังสือคู่มือที่มีให้ผ่านการสแกนคิวอาร์โค้ดที่อยู่บนกล่อง โดยอีโค่แพ็กเกจจิ้งจะออกสู่ตลาดพร้อมกับซีรีฟ หนึ่งในไลน์อัพทีวีของซัมซุง ภายในครึ่งปีแรกของปี 2563

 

และในวันที่ 4 มกราคม ก่อนหน้างาน CES 2020 ที่ผ่านมา ซัมซุงได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดงานเก็บรวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์ โดยผู้ที่มาร่วมงานสามารถทิ้งอุปกรณ์ที่ไม่ใช้แล้วของพวกเขาได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งซัมซุงได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพงานเก็บขยะอิเล็กทรอนิกส์เพื่อรีไซเคิลตั้งแต่ปี 2560 และดำเนินการทุกปีมาจนถึงปัจจุบัน

เน็ตฟลิกซ์สานต่อพันธกิจ มุ่งเสริมศักยภาพให้นักสร้างสรรค์ทั่วไทย

ได้ถ่ายทอดเรื่องราวสู่สายตาผู้ชมทั่วโลก

 

ปี 2562 ที่เพิ่งผ่านไป ถือเป็นปีที่สำคัญอย่างยิ่งในตลาดไทยสำหรับเน็ตฟลิกซ์ (Netflix) ผู้นำด้านการให้บริการความบันเทิงทางอินเทอร์เน็ตระดับโลก กับความเคลื่อนไหวครั้งใหญ่มากมายที่สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนนักสร้างสรรค์ในวงการบันเทิง ทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชีย ให้มีโอกาสได้ถ่ายทอดเรื่องราวที่น่าสนใจให้สมาชิกเน็ตฟลิกซ์กว่า 158 ล้านคนในกว่า 190 ประเทศทั่วโลกได้สัมผัส

 

ความมุ่งมั่นในการเฟ้นหาเรื่องราวที่น่าสนใจจากทั่วทุกมุมโลก มาสร้างเป็นประสบการณ์ความบันเทิงที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ก้าวข้ามทุกขีดจำกัดทางระยะทาง ภาษา และวัฒนธรรม ยังคงเป็นพลังที่ขับเคลื่อนให้เน็ตฟลิกซ์เดินหน้าทำงานร่วมกับหลายภาคส่วนในประเทศไทย ทั้งในด้านการสรรสร้างคอนเทนต์ไทยให้ผู้ชมทั่วโลกได้สัมผัส การนำคอนเทนต์ระดับโลกมาให้คนไทยเข้าถึงได้ง่ายยิ่งขึ้น หรือแม้แต่การร่วมพัฒนาทักษะและความสามารถของบุคลากรไทยให้ก้าวไกล

 

ส่งผลงานซีรีส์ไทยสู่เวทีโลก จุดกระแส “เคว้ง” ข้ามพรมแดน หนุนการท่องเที่ยวและการเผยแพร่วัฒนธรรมไทย พร้อมนำประสบการณ์ความบันเทิงระดับโลกสู่สายตาคนไทยอย่างทั่วถึง

 

แน่นอนว่าเมื่อพูดถึงเน็ตฟลิกซ์กับเมืองไทยในปีในปีที่ผ่านมา คงเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่พูดถึง “เคว้ง” (The Stranded) ผลงานออริจินัลซีรีส์เรื่องแรกของไทยบนเน็ตฟลิกซ์จากฝีมือการกำกับและเขียนบทของคุณจิม-โสภณ ศักดาพิศิษฏ์ พร้อมด้วยผู้อำนวยการสร้าง คุณเอกชัย เอื้อครองธรรม และทัพนักแสดงวัยรุ่นคับคั่ง จนสร้างกระแสความเคว้งกระหึ่มไปทั่วประเทศ และเปิดเวทีให้วงการบันเทิงไทยได้พิสูจน์ความสามารถบนเวทีโลกอย่างเต็มตัว

 

นอกจากการลงทุนถ่ายทำและทำตลาดให้กับซีรีส์ดราม่า - ไซไฟ - แฟนตาซีเรื่องนี้อย่างเต็มรูปแบบ จนกลายเป็นครั้งแรกที่ซีรีส์ไทยได้เปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ให้ได้รับชมพร้อมกันทั่วโลกแล้ว เน็ตฟลิกซ์ยังลงทุนทำเสียงพากย์ถึง 4 ภาษา (อังกฤษ จีนกลาง สเปน และโปรตุเกสแบบบราซิล) และซับไตเติ้ลอีก 28 ภาษา ครอบคลุมประเทศต่างๆ ในแทบทุกทวีปทั่วโลก เพื่อให้ผู้ชมทั่วโลกได้สนุกไปกับเรื่องราวการผจญภัยบนเกาะกลางทะเลอันดามันของผู้รอดชีวิตจากสึนามิทั้ง 36 คน โดยไม่มีอุปสรรคทางภาษามาขวางกั้น

นอกจากนี้ เน็ตฟลิกซ์ยังพร้อมใช้ความงดงามของวิวทิวทัศน์จากทั่วไทยในซีรีส์ “เคว้ง” มาเป็นส่วนหนึ่งของกลไกในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้มุ่งสู่เป้าหมายของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ในการเพิ่มรายได้รวมจากการท่องเที่ยวราว 10% เป็นมูลค่ารวมถึง 3.73 ล้านล้านบาท พร้อมรักษาสถานะของประเทศไทยในฐานะประเทศที่ทำรายได้จากภาคการท่องเที่ยวติดอันดับท็อป 6 ของโลก นอกจากนี้ “เคว้ง” ยังมีส่วนร่วมในการเผยแพร่วัฒนธรรมไทยสู่สายตาคนทั่วโลก ผ่านความบันเทิงบนเน็ตฟลิกซ์ ภายใต้ความร่วมมือกับกระทรวงวัฒนธรรม

นายอิทธิพล  คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม

 

นายอิทธิพล  คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า “การที่เน็ตฟลิกซ์ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมและยกระดับอุตสาหกรรมบันเทิงของประเทศไทยสู่เวทีสากล ถือเป็นบทบาทสำคัญต่อก้าวต่อไปของประเทศไทยในหลายด้านทั้งในด้านของการส่งเสริมระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้แข็งแกร่ง และการเปิดประตูให้วัฒนธรรมไทยได้ก้าวไกลสู่เวทีโลก แรงสนับสนุนจากผู้ให้บริการด้านความบันเทิงที่เข้าถึงผู้ชมได้ทั่วโลกอย่างเน็ตฟลิกซ์ได้มอบโอกาสอันดีให้คนไทยนำทุนทางวัฒนธรรมของประเทศไทยมาประยุกต์ใช้และสื่อสารออกสู่สายตาสาธารณชนต่อไป อันถือเป็นการหล่อเลี้ยงวัฒนธรรมไทยและสร้างกระแสความนิยมในความเป็นไทยในทุกระดับ ตั้งแต่ภายในประเทศจนถึงทั่วโลก”

 

นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)

 

 

นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวเสริมว่า “ซีรีส์ ‘เคว้ง’ มีการถ่ายทำในกว่า 12 จังหวัดทั่วไทย โดยเฉพาะจังหวัดในพื้นที่ทะเล อาทิ กระบี่  ชุมพร  ตรัง  เกาะสีชัง (จังหวัดชลบุรี) ซึ่งนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศชื่นชอบ เนื่องจากมีความสวยงามและสามารถเที่ยวได้ตลอดทั้งปี  ดังนั้น การมีภาพที่สวยงามของเมืองไทยปรากฏในซีรี่ส์ จึงเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการประชาสัมพันธ์ประเทศไทยไปสู่สายตาชาวโลกผ่านการบริการความบันเทิงระดับสากล ซึ่งจะช่วยจุดกระแสความสนใจให้ผู้ชมในต่างประเทศได้เห็นถึงเสน่ห์ของเมืองไทย ทั้งในด้านความสวยงามทางธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม และสถาปัตยกรรม”

 

นอกจาก “เคว้ง” แล้ว เน็ตฟลิกซ์ยังนำผลงานคุณภาพอีกหลายเรื่องจากประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์อย่าง “ฉลาดเกมส์โกง” จากค่ายจีดีเอช หรือ “แสงกระสือ” โดยทรานส์ฟอร์เมชั่น ฟิล์ม และละครฮิตจากช่อง 3 อย่าง “บุพเพสันนิวาส” และ “ทองเอก หมอยา ท่าโฉลง” ไปเผยแพร่ให้สมาชิกในต่างประเทศได้รับชมด้วยคำบรรยายในภาษาต่าง ๆ ควบคู่ไปกับการทำงานร่วมกับพันธมิตรและบุคลากรในอุตสาหกรรมบันเทิงไทย เพื่อนำภาพยนตร์และซีรีส์ระดับโลกมากมายมาให้ผู้ชมชาวไทยได้สัมผัสอย่างเต็มรูปแบบโดยปราศจากเส้นแบ่งหรืออุปสรรคในด้านภาษา เน็ตฟลิกซ์ได้ลงทุนอย่างมหาศาลกับการแปลภาษาจากต้นฉบับ สู่รูปแบบของคำบรรยายภาษาไทย และเสียงพากย์ภาษาไทยจากนักพากย์ชั้นนำของประเทศ ครอบคลุมภาพยนตร์และซีรีส์รวมหลายพันชั่วโมง ภายใต้กระบวนการพากย์เสียงที่ใส่ใจในทุกรายละเอียด ให้เสียงภาษาไทยที่สะท้อนถึงอารมณ์และความตั้งใจเดิมของผลงานแต่ละเรื่องอย่างครบถ้วน

เสริมทักษะคนทำงาน สร้างทักษะเชิงสร้างสรรค์เพื่อโลกดิจิทัล พร้อมแนะแนวทางการปั้นคอนเทนต์ไทยสู่ตลาดโลก

นอกจากการเปิดตัวออริจินัลซีรีส์ฝีมือคนไทยแล้ว เน็ตฟลิกซ์ยังทำงานร่วมกับหลายภาคส่วนในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เน็ตฟลิกซ์ได้ลงนามในข้อตกลงเพื่อการส่งเสริมทักษะด้านดิจิทัลเชิงสร้างสรรค์ ร่วมกับคณะทำงานด้านดิจิทัล อาเซียน ของสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) ภายใต้โครงการ “ASEAN Digital Skills Vision 2020” ซึ่งมีเป้าหมายที่จะนำเอาศักยภาพของทั้งภาครัฐและภาคเอกชนทั่วทั้งภูมิภาคอาเซียนมาเสริมสร้างทักษะความสามารถให้กับแรงงานกว่า 20 ล้านคน ภายในปี 2563 โดยเน็ตฟลิกซ์เองมีจะมุ่งเน้นการดำเนินงานไปที่ 3 ประเด็นหลัก ได้แก่การสร้างทักษะเพื่อรองรับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 4.0 การสร้างความรู้ความเข้าใจด้านความปลอดภัยในโลกออนไลน์ และแนวทางการบริหารจัดการเพื่อความคล่องตัวในยุค 4.0

 

ทั้งนี้ เน็ตฟลิกซ์ยังมีกิจกรรมและโครงการที่มุ่งสนับสนุนการยกระดับศักยภาพของบุคลากรในวงการบันเทิงและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของข้อตกลงกับสภาเศรษฐกิจโลก โดยในเดือนตุลาคม เน็ตฟลิกซ์ได้เชิญชวนโปรดิวเซอร์และผู้ดูแลด้านงานโพสต์โปรดักชั่นจากประเทศไทยและชาติอื่นๆ ในภูมิภาคไปร่วมกิจกรรมเวิร์คช็อปที่เมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย เป็นเวลา 4 วันเต็ม โดยมีมืออาชีพมากประสบการณ์จาก Amsterdam Post Lab (APostLab) สถาบันชั้นนำของยุโรปที่มุ่งให้การฝึกสอนทักษะและแนวทางสำหรับขั้นตอนโพสต์โปรดักชั่นต่างๆ มาร่วมให้ความรู้เกี่ยวกับระบบ แนวทาง และเครื่องมือสำหรับดำเนินงานหลังการผลิตซีรีส์ ทั้งในเชิงเทคนิค การเงิน การบริหารจัดการ และการสร้างสรรค์ชิ้นงาน ผู้ที่เข้าร่วมเวิร์คช็อปในครั้งนี้ ไม่เพียงได้รับประกาศนียบัตรจบหลักสูตรจาก APostLab เท่านั้น แต่ยังได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นหนึ่งในสมาชิกแบบฟรีแลนซ์ในทีมโปรดักชั่นของเน็ตฟลิกซ์ทั่วโลก ซึ่งนับเป็นการปูทางให้พวกเขามีโอกาสได้เป็นส่วนหนึ่งของการสรรสร้างผลงานซีรีส์เรื่องใหม่ให้กับเน็ตฟลิกซ์ในอนาคต

 

 

ก่อนหน้านี้ เน็ตฟลิกซ์ยังได้ร่วมมือกับสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ (สสภช.) เพื่อจัดงานสัมมนาในหัวข้อ “การนำภาพยนตร์ไทยสู่เวทีโลก” โดยมีนักสร้างสรรค์จากทั่ววงการบันเทิงไทยกว่า 150 ท่านเข้าร่วมงาน เพื่อเรียนรู้ถึงแนวทางและหลักปฏิบัติในการสร้างสรรค์ภาพยนตร์และซีรีส์ที่สามารถคว้าโอกาสที่เปิดกว้างในโลกของความบันเทิงผ่านช่องทางออนไลน์ โดยมี รศ.ดร. วิทยา มะเสนา เลขาธิการ สสภช. คุณเอกชัย เอื้อครองธรรม กรรมการผู้จัดการ บราโว่ สตูดิโอ ในเครือ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ผู้อำนวยการสร้าง “เคว้ง” และผู้บริหารจากเน็ตฟลิกซ์อีกหลายท่านร่วมบรรยายพิเศษ

คุณเอกชัย เอื้อครองธรรม กรรมการผู้จัดการ บราโว่ สตูดิโอ ในเครือ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่

 

การได้ร่วมงานกับเน็ตฟลิกซ์ นับเป็นประสบการณ์ที่ล้ำค่าอย่างยิ่งสำหรับผม” คุณเอกชัยกล่าว “ปัจจุบัน วงการบันเทิงกำลังเปลี่ยนแปลงไปในหลายด้าน ซึ่งก็ทำให้รูปแบบและวิธีการในการสร้างสรรค์ จัดจำหน่าย และรับชมคอนเทนต์ต้องเปลี่ยนแปลงไปเป็นเงาตามตัว และเปิดโอกาสให้นักสร้างสรรค์ชาวไทยมีช่องทางหลากหลายยิ่งขึ้นในการนำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจออกสู่สายตาชาวโลก ซึ่งโอกาสนี้ไม่ได้มีคุณค่าแค่สำหรับบุคลากรในวงการบันเทิงไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นเส้นทางสู่พัฒนาการและความสำเร็จในอีกหลายด้านสำหรับประเทศไทยเช่นกัน”

Page 5 of 6
X

Right Click

No right click