November 13, 2024
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 7637

แผ่นรองพรมรักษ์โลกจากพอลิเมอร์ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ย่อยสลาย ลดปัญหาขยะพลาสติก ผลงานนักศึกษาปริญญาโท นางสาวประภัสสร วันนิจ นักศึกษาสาขาวิศวกรรมวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด ดร.วีราภรณ์ ผิวสอาด คณะวิศวกรรมศาสตร์ คว้าเหรียญทอง ในงาน “Seoul International Invention Fair 2018” ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี

 

 

นางสาวประภัสสร วันนิจ เล่าว่า พรมปูพื้นในปัจจุบันทำจากพลาสติกจำพวกพอลิโพรไพลีน(Polypropylene, PP) หรือพอลิเอสเตอร์ (Polyester) ประเภทพอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (Poly(ethylene terephthalate), PET) ซึ่งพลาสติกเหล่านี้ไม่ย่อยสลาย และจากปริมาณการผลิตพรมในประเทศไทยมีมากกว่า 4,000 ตันต่อปี ดังนั้นปริมาณของขยะพลาสติกที่เกิดจากพรมในแต่ละปีจึงมีจำนวนไม่น้อยไปกว่าปริมาณการผลิต เนื่องจากอายุการใช้งานของพรมอยู่ระหว่าง 2-5 ปี ขยะพลาสติกจากพรมจึงเป็นปัญหาต่อการกำจัด ซึ่งการนำกลับมาใช้ใหม่ไม่เหมาะสมเนื่องจากคุณภาพและสมบัติทางกายภาพของพอลิเมอร์ที่ลดลง พอลิเมอร์เหล่านี้ไม่สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ จึงเป็นแหล่งของปัญหาขยะพลาสติกที่ไม่สามารถกำจัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงศึกษาหาวัสดุชนิดใหม่ที่สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อใช้ทดแทน PP หรือ PET โดยศึกษาการใช้พอลิแลคติคแอซิด(Poly(lactic acid), PLA) เพื่อขึ้นรูปชิ้นส่วนของพรมและใช้ทดแทนพอลิเมอร์แบบเดิม

 

 

งานวิจัยได้ทำการศึกษาการประยุกต์เทคโนโลยีการใช้พอลิเมอร์ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ เพื่อผลิตชิ้นส่วนของพรม และศึกษากระบวนการขึ้นรูปที่มีประสิทธิภาพสูงกว่ากระบวนการแบบเดิมเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีสมบัติที่ดีกว่าเดิม โดยศึกษากระบวนการขึ้นรูปผ้าไม่ถักไม่ทอ (nonwoven) แบบใหม่คือ Melt jet spinning หรือ Cotton candy method เป็นกระบวนการขึ้นรูปผ้าไม่ถักไม่ทอที่สามารถผลิตเส้นใยที่มีขนาดเล็กได้ในระดับไมโครเมตร และสามารถผลิตเส้นใยได้ในประมาณที่มาก ไม่ต้องใช้แรงดันไฟฟ้าสูงในกระบวนการ ทำให้ประหยัดพลังงานและได้ผลิตภัณฑ์ที่มีความนุ่มมากขึ้นและมีสมบัติเชิงกลที่ดีขึ้น ลักษณะของพรมรักษ์โลกต้นแบบเป็นแผ่นผ้าที่มีลักษณะคล้ายสำลีหรือขนมสายไหม ฟูๆ นิ่ม สีขาว

 

 

ความแตกต่างของพรมรักษ์โลกต่างจากพรมในปัจจุบันเรื่องของการย่อยสลาย พรมส่วนใหญ่ที่ผลิตจากพลาสติกใช้เวลาในการย่อยสลายมากกว่า 400 ปี สำหรับแผ่นรองพรมที่คิดค้นจากพอลิเมอร์ที่สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ เมื่อทิ้งเป็นขยะจะสามารถเริ่มกระบวนการย่อยสลายได้ตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป ทำให้ช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากขยะพลาสติก เป็นการพัฒนากระบวนการผลิตพรมโดยใช้พอลิเมอร์ที่สามารถย่อยสลายทางชีวภาพเพื่อทดแทนพอลิเมอร์ที่เป็นผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียมและไม่ย่อยสลาย การผลิตผ้าไม่ถักไม่ทอจากกระบวนการ Melt jet spinning หรือกระบวนการ Cotton candy เป็นกระบวนการที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการผลิต เนื่องจากใช้แรงดันไฟฟ้าต่ำ และยังสามารถผลิตผ้าไม่ถักไม่ทอได้เป็นจำนวนมาก

รู้สึกดีใจและเป็นเกียรติมากที่ได้รับรางวัลเหรียญทองในครั้งนี้ และภูมิใจที่งานวิจัยสามารถช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมและเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้คนทั่วไปตระหนักถึงปัญหาที่เกิดจากขยะพลาสติกมากขึ้น

เอปสัน ผู้นำตลาดโปรเจคเตอร์ ปลุกกระแสตลาดโปรเจคเตอร์ต้นปี 2562 ด้วยการเปิดตัวเลเซอร์โปรเจคเตอร์ 3LCD รุ่นใหม่พร้อมกันสองรุ่น ได้แก่ รุ่น EB-L12000Q เลเซอร์โปรเจคเตอร์ 4K แท้ ความสว่าง 12,000 ลูเมนส์ ที่มีน้ำหนักเบาที่สุดในกลุ่มผลิตภัณฑ์ระดับเดียวกัน และรุ่น EB-L20000U เลเซอร์ โปรเจคเตอร์ความสว่าง 20,000 ลูเมนส์ ที่มีความละเอียด WUXGA เป็นรุ่นแรกของเอปสัน

เลเซอร์โปรเจคเตอร์ 4K แท้ รุ่น EB-L12000Q ที่เอปสันพัฒนาขึ้นเองนั้น สามารถฉายภาพในระดับ 4K ที่มีความละเอียดสูงถึง 3,840 x 2,160 พิกเซล ซึ่งทำให้ภาพคมชัดเหนือ Ultra-HD

ด้วยอุปกรณ์แหล่งกำเนิดแสงที่เป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของเอปสัน โปรเจคเตอร์ใหม่ทั้งสองรุ่นที่เปิดตัวในครั้งนี้  จึงมี ประสิทธิภาพสูง ช่วยให้เอปสันสามารถขยายธุรกิจเข้าสู่ตลาดธุรกิจบริการให้เช่าอุปกรณ์แสงเสียงไฮเอนด์ และ กลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการใช้โปรเจคเตอร์คุณภาพสูงในสภาพแวดล้อมที่ต้องใช้ความพิถีพิถันในการทำงาน เช่น เวทีในงานอีเว้นท์ ห้องประชุมขนาดใหญ่ หรือการใช้สำหรับป้ายโฆษณาดิจิทัล

ทั้ง EB-L12000Q และ EB-L20000U ได้ปฏิวัติวงการโปรเจคเตอร์ในระดับความสว่างเดียวกัน ทั้งในด้านขนาดเครื่องที่มีความกะทัดรัด น้ำหนักเบา ทำให้สามารถติดตั้งกับโครงสร้างได้ง่าย ที่สำคัญนอกจากทั้งสองรุ่นจะใช้อุปกรณ์แหล่งกำเนิดแสงเลเซอร์ที่เอปสันพัฒนาขึ้นเองแล้ว  ยังได้ใช้ชุดกรอง electrostatic ที่ทันสมัย ทำให้โปรเจคเตอร์มีอายุการใช้งานยาวนานถึง 20,000 ชั่วโมง โดยไม่จำเป็นต้องบำรุงรักษาอีกด้วย

นอกจากนี้ โปรเจคเตอร์ทั้งสองรุ่นยังมีความทนทานสูง เพราะมีระบบป้องกันฝุ่นถึง 3 ชั้น ช่วยคุ้มครองอุปกรณ์แสง ที่ปิดผนึกอยู่ภายใน และได้รับการออกแบบให้ช่วยลดการหมุนเวียนของอากาศลงถึง 86% ซึ่งดีกว่าเครื่องรุ่นก่อน  จึงช่วยปกป้องตัวเครื่องจากฝุ่นละอองได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยิ่งกว่านั้นยังมีระบบระบายความร้อนด้วยของเหลวที่พัฒนาขึ้นใหม่  เพื่อรักษาอุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดสำหรับอุปกรณ์ฉายภาพในตัวเครื่อง  รวมถึงยังมีกลไกปิด-เปิด ซึ่งจะช่วยปกป้องเลนส์จากความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นเพราะแสงเลเซอร์ได้

 

 

โปรเจคเตอร์รุ่นล่าสุดจากเอปสัน ยังมีความยืดหยุ่นในการติดตั้ง สามารถหมุนได้รอบ 360 องศาทั่วทุกทิศทางโดยที่ระดับความสว่างไม่ลดน้อยลง พร้อมมีกล้องติดที่ตัวเครื่องเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบการทำงานและการติดตั้งได้อย่างสะดวก ทั้งยังมี Professional Projector Tool ซอฟท์แวร์ล่าสุดของเอปสันที่จะช่วยให้การติดตั้งโปรเจคเตอร์หลายๆ เครื่อง สามารถทำงานพร้อมกันได้อย่างง่ายดาย  รวมถึงมีฟังก์ชั่นในการปรับแก้ภาพ  พิกัด และสีจากแต่ละเครื่องให้เข้ากันได้อย่างกลมกลืน  ในกรณีที่มีการฉายภาพพร้อมกันหลายเครื่องแบบไร้ขอบ หรือ Edge Blending หรือฉายภาพบนพื้นผิวโค้ง

ไม่เพียงเท่านั้น โปรเจคเตอร์ทั้งสองรุ่นยังใช้เลนส์แบบเดียวกันกับที่รองรับความละเอียดระดับ 4K ในโปรเจคเตอร์รุ่น EB-L1000 ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าสามารถนำเลนส์เดิมกลับมาใช้งานได้  รวมถึงยังสามารถใช้งานกับเลนส์ ELPLX02 ซึ่งมีคุณสมบัติ Zero Offset ที่มีระยะฉายสั้นพิเศษ แถมยังมีตัวเลื่อนปรับตำแหน่งเลนส์ที่กว้างกว่าเดิม ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการใช้งานในสถานที่ที่ซึ่งมีระยะห่างระหว่างเลนส์และจุดฉายเพียงน้อยนิด จุดสำคัญอีกประการของโปรเจคเตอร์ทั้งสองรุ่นนี้ คือ ยังมีระบบรองรับระบบ Hybrid Log Gamma และ HDR10 อีกด้วย

“EB-L12000Q ถือเป็นอีกก้าวสำคัญของเอปสัน เพราะนี่คือโปรเจคเตอร์ระบบ 4K แท้ ที่สามารถฉายภาพได้อย่างน่าทึ่ง  โดยโปรเจคเตอร์ที่เราเปิดตัวใหม่ทั้งสองรุ่นนี้มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่หลากหลายและสะดวกต่อการใช้งาน  เหมาะสำหรับลูกค้ากลุ่มบริการให้เช่าอุปกรณ์และจัดเวทีอีเว้นท์  รวมถึงทั้งสองรุ่นสามารถใช้งานร่วมกับเลนส์ได้หลายแบบและเลือกพอร์ตการเชื่อมต่อได้หลากหลาย  จึงถือว่าเป็นนวัตกรรมที่มาเสริมไลน์ผลิตภัณฑ์โปรเจคเตอร์ความสว่างสูงของเอปสันได้เป็นอย่างดี” นายอึ้ง หงี่ เกียง ผู้อำนวยการ ด้านอุปกรณ์ภาพ และพัฒนาหุ่นยนต์ (ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) เอปสัน สิงคโปร์ กล่าว

โปรเจคเตอร์รุ่น EB-L12000Q ได้รับรางวัล Good Design Awards 2018 จากการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้อย่าง โดดเด่น โดยรางวัลนี้จะมอบปีละครั้งให้แก่ผลงานออกแบบที่เป็นประโยชน์และเติมเต็มไลฟ์สไตล์ของผู้คนและ สังคมโดยรวม  เอปสันจะเริ่มจำหน่ายโปรเจคเตอร์รุ่น EB-L12000Q และ EB-L20000U ในภูมิภาคในช่วงครึ่งปีหลังของปี  2019

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) โดยชมรม CPF Running Club เผยผลการจัดงาน เดิน-วิ่ง เพื่อการกุศล Run For Charity 2018 ตลอดปี 2561 รวมทั้งหมด 11 ครั้ง มีผู้เข้าร่วมวิ่ง 2.3 หมื่นคน และยอดเงินบริจาค มูลค่ารวม 7.1 ล้านบาท พร้อมสานต่อปีที่ 3 ชวนนักวิ่งใจอนุรักษ์ร่วมประเดิมสนามแรก กับ CPF RUN FOR CHARITY 2019 “One Home One Health วันนี้... ก้าวเพื่อบ้านของเรา” ณ เขาพระยาเดินธง อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี ในวันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม 2562

 

 

นายวิโรจน์ คัมภีระ ประธานชมรม ซีพีเอฟ รันนิ่ง คลับ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) จัดกิจกรรมล่าสุดส่งท้ายปี 2561 “ซีพีเอฟ ตอบแทนคุณแผ่นดิน เดิน-วิ่ง ถิ่นครูบา” ครั้งที่ 2 โดยมี นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน เป็นประธานเปิดงาน พร้อมนักวิ่งราว 1,500 คน ร่วมวิ่งการกุศลครั้งนี้ เพื่อนำรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายจากการจัดกิจกรรม จำนวน 167,396 บาท มอบให้แก่เหล่ากาชาดจังหวัดลำพูน สำหรับใช้พัฒนาชุมชนและช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส พร้อมนำรายได้อีก 41,000 บาท จัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์มอบให้กับโรงเรียนวัดป่าแดด จ.ลำพูน ใช้ส่งเสริมความรู้ ความสามารถให้แก่เยาวชนไทย นอกเหนือจากนั้นการวิ่งในครั้งนี้ยังได้แสดงความรับผิดชอบต่อสังคม โดยการนำใบตองมาใช้ทำเป็นภาชนะอาหารสำหรับแจกให้นักวิ่ง เพื่อลดการใช้โฟมและพลาสติกอีกด้วย

 

 

CPF RUN FOR CHARITY เดิน-วิ่ง เพื่อการกุศล จัดขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี 2560 ตามแนวคิดที่จะส่งเสริมให้พนักงานซีพีเอฟทั่วประเทศ และคนในชุมชนรอบสถานประกอบการ หันมาออกกำลังกาย ใส่ใจสุขภาพ เป็นการส่งเสริมให้พนักงานและคนในชุมชนได้มีกิจกรรมร่วมกัน อีกทั้งยังกระตุ้นให้ทุกคนตระหนักถึงการช่วยเหลือสังคมด้วยการทำความดี สร้างคุณประโยชน์ตอบแทนสังคม โดยรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายจะถูกนำไปสมทบทุนแก่ มูลนิธิ โรงพยาบาล โรงเรียน และเหล่ากาชาด ในแต่ละจังหวัดที่จัดกิจกรรม

 

 

ในปี 2562 ชมรม CPF Running Club ยังคงสานต่อแนวคิดที่ให้คนไทยออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ พร้อมทำความดีตอบแทนคุณสังคม โดยการจัดเดิน-วิ่ง การกุศล ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ประเดิมสนามแรกกับ CPF RUN FOR CHARITY 2019 “One Home One Health วันนี้... ก้าวเพื่อบ้านของเรา” โดยใช้เส้นทางป่าเขาพระยาเดินธง ในโครงการ ‘ซีพีเอฟรักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง' ที่ ซีพีเอฟ ร่วมมือกับ กรมป่าไม้, องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) ริเริ่มดำเนินโครงการมาตั้งแต่ปี 2559 ฟื้นฟูป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรม จำนวน 5,971 ไร่ ให้กลับมาเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ ตามแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี (2559 – 2563) โดยการเลือกเส้นทางป่าเขาพระยาเดินธงในครั้งนี้ เพื่อเป็นการกระตุ้นจิตสำนึกให้คนไทยหันมาใส่ใจอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ คืนความอุดมสมบูรณ์แก่ป่าต้นน้ำ อีกทั้งยังได้ในเรื่องของสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงอีกด้วย

ผู้ที่สนใจร่วมสัมผัสธรรมชาติและชื่นชมทัศนียภาพอันสวยงามของป่าเขาพระยาเดินธง ในกิจกรรม เดิน-วิ่ง การกุศล ปี 3 CPF RUN FOR CHARITY 2019 “One Home One Health วันนี้... ก้าวเพื่อบ้านของเรา” ในวันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม 2562 ณ เขาพระยาเดินธง อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี สามารถสมัครและติดตามรายละเอียดกิจกรรมได้ที่ เว็บไซต์ : https://cpfrunningclub.com/tkf/

เนื่องในโอกาสครบรอบการก่อตั้ง 100 ปี ของพานาโซนิคในประเทศญี่ปุ่น พานาโซนิคทั่วโลกได้มีการเฉลิมฉลอง และจัดกิจกรรมเพื่อตอกย้ำความเป็นแบรนด์คุณภาพ ภายใต้แนวคิด “A Century of Reliability หนึ่งร้อยปีแห่งความไว้วางใจ” โดยตลอดระยะเวลา 57 ปีที่กลุ่มบริษัทพานาโซนิคดำเนินงานในประเทศไทย มีการสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อสังคม คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง

ล่าสุดกับโครงการ “พานาโซนิค มอบ 10,000 หลอดไฟทั่วไทย ปันรอยยิ้มสู่ชุมชน” มีวัตถุประสงค์เพื่อมอบหลอดไฟให้กับโรงเรียนและโรงพยาบาลที่ต้องการใช้หลอดไฟเพื่อสาธารณประโยชน์ ซ่อมแซมหลอดไฟเดิม หรือเพิ่มความสว่างให้กับสถานที่ โดยมีเป้าหมายในการมอบจำนวน 10,000 หลอดทั่วประเทศไทย ซึ่งเป็นหลอดประหยัดไฟแอลอีดีรุ่น LDAHV8DG4A ที่ประหยัดไฟมากกว่าหลอดไส้ทั่วไป ทนต่อการเปิด-ปิด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพราะปราศจากสารปรอท และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน

โดย มร.ฮิเดคาสึ อิโตะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พานาโซนิค ซิว เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้เริ่มต้นมอบหลอดไฟให้กับโรงเรียนและโรงพยาบาลแล้ว 3 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนบ้านศาลา จ.เชียงใหม่ จำนวน 200 หลอด โรงเรียนบ้านชัยพร มิตรภาพ ที่ 67 จังหวัดอุดรธานี จำนวน 200 หลอด และโรงพยาบาลอุดรธานี จำนวน 500 หลอด

สำหรับโรงเรียนหรือโรงพยาบาลที่ต้องการหลอดไฟใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ สามารถติดต่อได้ที่ โทร. 0-2731 – 8888 #2911 ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

 

มร.ฮิเดคาสึ อิโตะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พานาโซนิค ซิว เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด และนางรสชรินทร์ คำโพธิ์ ผู้อำนวยการ โรงเรียนบ้านศาลา จังหวัดเชียงใหม่

 

บรรยากาศการรับมอบหลอดไฟพานาโซนิค โรงเรียนบ้านชัยพร มิตรภาพ ที่ 67 จังหวัดอุดรธานี

 

มร.ฮิเดคาสึ อิโตะ และ นายยืนยง อภิชนกิจ มอบหลอดไฟแก่โรงพยาบาลอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี โดยมีนพ. เกรียงศักดิ์ พิมพ์ดา รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ พร้อมด้วยเภสัชกรดำรงเกียรติตั้งเจริญ หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรมและรักษาการรองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร และพญ.ศศินี อภิชนกิจ หัวหน้ากลุ่มงานการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลอุดรธานี เป็นผู้รับมอบ

บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ อินทัช ประกาศแต่งตั้งนายเอนก พนาอภิชน ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (Chief Executive Officer : CEO) สร้างศักยภาพการดำเนินธุรกิจของอินทัชให้มีความแข็งแกร่ง พร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลงในโลกยุคดิจิทัล โดยรายงานตรงต่อ ประธานคณะกรรมการบริษัท มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 เป็นต้นไป

นายเอนก พนาอภิชน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าร่วมงานกับกลุ่มบริษัทฯ ตั้งแต่ปี 2535 โดยดูแลสายงานด้านการเงินและบัญชี เริ่มจากตำแหน่งผู้จัดการบัญชี และได้รับการมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบเพิ่มเติมเรื่อยมาจนดำรงตำแหน่งรองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานการเงินและบัญชี และในปี 2560 ได้รับมอบหมายให้ดำรงตำแหน่ง รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ซึ่งนายเอนก ได้ใช้ความรู้ ความสามารถ และความมุ่งมั่นบริหารงานให้เป็นไปอย่างเรียบร้อยด้วยดี ทางคณะกรรมการบริษัท จึงมีมติเห็นชอบแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โดยมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนกลยุทธ์ และสานต่อการดำเนินงานต่างๆ ของอินทัชให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง มุ่งสู่เป้าหมายตามวิสัยทัศน์ในการเป็น “ผู้นำการบริหารสินทรัพย์ที่ลงทุนในธุรกิจโทรคมนาคม สื่อ และเทคโนโลยีเพื่อสร้างมูลค่าและการเติบโตอย่างยั่งยืน”

 

 

นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้แต่งตั้งนายคิมห์ สิริทวีชัย ให้ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการเงิน (Chief Financial Officer : CFO) โดยรายงานตรงต่อ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562

เอสซีจี โดย นายฎายิน เกียรติกวานกุล Marketing Director – Roof Business บริษัท กระเบื้องหลังคาซีแพค จำกัด เป็นผู้แทนเข้ารับโล่รางวัลสร้างสรรค์สังคมไทย ด้านที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อมเพื่อการอยู่อาศัย จากคณะทำงานประชารัฐเพื่อสังคม (E6) จาก พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในฐานะที่เอสซีจีได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการสานพลังประชารัฐ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน ด้วยการผลักดันให้เกิดแบบบ้านมาตรฐานสำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการ จัดอบรมช่างชุมชนเพื่อสร้างเครือข่ายวิชาชีพสำหรับสร้างและปรับปรุงที่อยู่อาศัยเพื่อผู้สูงอายุ พร้อมทั้งร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการจัดตั้งศูนย์ Universal Design Center (UDC) หรือศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน จำนวน 5 ศูนย์ทั่วประเทศ สำหรับเป็นช่องทางให้ประชาชนสามารถรับคำปรึกษาด้านที่อยู่อาศัยได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย อีกทั้งเป็นศูนย์เพื่อการวิจัยและค้นคว้าเรื่องที่อยู่อาศัยอีกด้วย ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถหาข้อมูลและติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ www.facebook.com/universaldesigncenter

 

 

ทั้งนี้ โครงการสานพลังประชารัฐเป็นนโยบายของรัฐบาลเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ โดยมุ่งเน้นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน โดยคณะทำงานประชารัฐเพื่อสังคม (E6) มียุทธศาสตร์หลัก 5 โครงการเร่งด่วน ประกอบด้วย 1.การจ้างงานผู้พิการ 2.การจ้างงานผู้สูงอายุ 3.การส่งเสริมการออมเพื่อการเกษียณอายุ 4.ที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อมเพื่อการอยู่อาศัย และ 5.ความปลอดภัยบนท้องถนน

เอไอเอ ประเทศไทย ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาซึ่งถือเป็นพื้นฐานในการพัฒนาคุณภาพชีวิต อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมสังคมไทยให้แข็งแกร่ง โดยเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2561 เอไอเอได้เดินทางลงใต้เพื่อส่งมอบ “ห้องสมุดเอไอเอ” หลังที่ 36 ให้แก่นักเรียน โรงเรียนอนุบาลบ้านด่าน อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง ซึ่งมีนักเรียนจำนวนรวมกว่า 778 คน ซึ่งยังขาดแคลนอุปกรณ์ด้านการศึกษา รวมถึงห้องสมุดที่จะเป็นแหล่งค้นคว้าหาความรู้ของเด็กนักเรียนและคนในชุมชน เพื่อเป็นการตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของเอไอเอ ที่ต้องการสนับสนุนให้เยาวชนได้รับองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ พร้อมสร้างนิสัยรักการอ่านให้แก่เด็กไทย ซึ่งโครงการ “ห้องสมุดเอไอเอ” เป็นโครงการที่เอไอเอ ประเทศไทย ริเริ่มและดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2548 โดยได้สร้างห้องสมุดและส่งมอบให้แก่โรงเรียนต่างๆ ตามชุมชนที่อยู่ห่างไกลมาแล้วทั่วทุกภูมิภาคในประเทศ

 

 

โดยในพิธีเปิดห้องสมุดเอไอเอ หลังที่ 36 ได้รับเกียรติจาก นายจตุพจน์ ปิยัมปุตระ ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง เป็นประธานในการเปิดงาน พร้อมด้วยตัวแทนจาก เอไอเอ ประเทศไทย นำโดย นายเอกรัตน์ ฐิติมั่น ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด นางสาวรพีพร วงศ์ทองคำ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรและภาพลักษณ์ และนายกฤษณ์ อัตตะสาระ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายตัวแทนภูมิภาค 5 ร่วมกันส่งมอบห้องสมุดเอไอเอ หลังที่ 36 ให้แก่ นายมนูญ จันทร์สุข ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง และนายวันชาติ สุทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลบ้านด่าน โดยมีคณะครูและนักเรียน ร่วมเป็นสักขีพยาน

 

 

สำหรับห้องสมุดเอไอเอหลังนี้ เป็นห้องสมุดขนาด 54 ตารางเมตร โดยได้มีการออกแบบให้มีความสวยงาม โปร่งตา และดูทันสมัย เพื่อดึงดูดให้เยาวชนอยากเข้ามาใช้บริการ เน้นประโยชน์ใช้สอย และรวบรวมหนังสือและนิตยสารที่มีคุณภาพ ครอบคลุมสาขาวิชาแขนงต่างๆ ที่สำคัญ เอไอเอ ยังได้มอบคอมพิวเตอร์เพื่อให้นักเรียนได้ใช้ค้นหาความรู้ใหม่ๆ จากทั่วทุกมุมโลก โดยเอไอเอ หวังว่าห้องสมุดหลังนี้จะเป็นแหล่งรวบรวมองค์ความรู้เพื่อให้นักเรียนและคนในชุมชนได้ค้นคว้าหาความรู้ที่นอกเหนือจากในห้องเรียน

 

 

นอกจากนี้ เอไอเอ ประเทศไทย ยังได้มอบทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนที่เรียนดีและมีจริยธรรม ทั้งสิ้น 6 ทุน ทุนละ 2,000 บาท พร้อมกับมอบอุปกรณ์เสริมทักษะการศึกษา อุปกรณ์กีฬา และเลี้ยงอาหารกลางวันแก่เด็กนักเรียนโรงเรียนอนุบาลบ้านด่านอีกด้วย

 

ในปี 2561 เป็นปีที่ เอไอเอ ประเทศไทย ฉลองครบรอบ 80 ปี ในการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ซึ่งถือเป็นบริษัทประกันชีวิตที่อยู่เคียงข้างคนไทยมาอย่างยาวนาน โดยตลอดระยะเวลา 80 ปีที่ผ่านมา เอไอเอได้รับความไว้วางใจจากคนไทยทั่วประเทศให้ดูแล พร้อมทั้งได้ส่งมอบหลักประกันชีวิตเพื่อสร้างความมั่งคงให้แก่ชีวิตและสังคมไทยมาเป็นเวลายาวนาน โดย เอไอเอ ประเทศไทย ยึดมั่นที่จะสร้างสรรค์โครงการและกิจกรรมต่างๆ เพื่อตอบแทนสังคมอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับมุ่งส่งเสริมและสนับสนุนให้คนไทยมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตามคำมั่นสัญญาของเอไอเอ “Healthier, Longer, Better Lives”

บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับเกียรติรับรางวัลใหญ่ถึง 2 รางวัลในงาน American Chamber of Commerce Thailand CSR Excellence (ACE) Awards ซึ่งเป็นโครงการที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีเพื่อยกย่ององค์กรที่เป็นสมาชิกของหอการค้าอเมริกันในประเทศไทยที่มีความมุ่งมั่นระยะยาวอันโดดเด่นในการสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนในประเทศไทย โดยหอการค้าอเมริกันในประเทศไทยได้ยกย่อง บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นองค์กรที่มีโครงการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมดีเด่นด้วยการมอบรางวัลระดับโกลด์ต่อเนื่องเป็นปีที่ 9 ในขณะเดียวกัน แคมเปญ“Equip all Youth to be Future Ready through Digital Skills and Computer Science Education” ซึ่งเป็นแคมเปญระยะยาวของ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ยังได้รับรางวัลชนะเลิศในหมวด ‘Excellence in Developing Smart People Award’ จากความสำเร็จในการสนับสนุนเยาวชนให้บรรลุเป้าหมาย และก้าวข้ามขีดจำกัดเชิงดิจิทัลในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลมากยิ่งขึ้น

จากจำนวนผู้ลงชื่อสมัครเข้าชิงรางวัลองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมดีเด่นจากหอการค้าอเมริกันในประเทศไทยประจำปี 2561 กว่า 77 องค์กร ทำให้การแข่งขันในปีนี้มีความท้าทายเป็นพิเศษ โดยคณะกรรมการได้ตัดสินโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรอย่างเข้มข้น ด้วยการประเมินผลลัพธ์ที่สามารถวัดผลได้ ได้แก่ ผลลัพธ์ที่สร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับเศรษฐกิจและสังคม การมีส่วนร่วมของพนักงานในระดับสูง ความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ที่แข็งแกร่งกับองค์กรไทย และเป็นโครงการที่สอดคล้องกับพันธกิจขององค์กรอย่างชัดเจน

นายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “เรารู้สึกดีใจและเป็นเกียรติที่ผลงานอันยอดเยี่ยมของเราจากการร่วมมือกับพันธมิตรในช่วงเวลาห้าปีที่ผ่านมาได้รับการยกย่องโดยหอการค้าอเมริกันในประเทศไทย จากพันธกิจในการเป็นกำลังสำคัญให้ทุกคนและทุกองค์กรบรรลุเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ขึ้น ทำให้ไมโครซอฟท์ยังคงยึดมั่นกับความมุ่งมั่นที่มีมาอย่างยาวนานในการเป็นพันธมิตรระยะยาวกับประเทศไทยมาโดยตลอด เราเชื่อมั่นว่าในอนาคตทุกคนจะมีทักษะ ความรู้ และโอกาสในการบรรลุเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ขึ้น และเยาวชนจะเป็นกลุ่มคนแถวหน้าด้านการพัฒนาเชิงนวัตกรรม รางวัลเหล่านี้ล้วนเป็นสัญญาณบ่งบอกอันชัดเจนว่าเรากำลังมาในเส้นทางที่ถูกต้องและยังเป็นกำลังใจให้พวกเราเดินหน้าเตรียมความพร้อมเยาวชนไทยด้วยการเสริมสร้างทักษะเชิงดิจิทัล สนับสนุนให้พวกเขาบรรลุเป้าหมายที่ดียิ่งกว่า ก้าวข้ามขีดจำกัดเชิงดิจิทัล และเป็นผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลในอนาคต”

ในระยะเวลาห้าปีที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย ได้ทำงานร่วมกับองค์กรที่มีเป้าหมายคล้ายคลึงกันอย่างหลากหลาย ตั้งแต่องค์กรภาครัฐไปจนถึงองค์กรไม่แสวงหากำไร ในการนำโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมที่สนับสนุนด้านการศึกษาที่จัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องภายใต้ธีม “Equip all Youth to be Future Ready through Digital Skills and Computer Science Education” โดยกิจกรรมเหล่านี้ถูกจัดขึ้นเพื่อบรรลุเป้าหมายเดียวกันในการใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนเยาวชนและชุมชนของพวกเขาในการสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกที่เป็นระบบ โดยไมโครซอฟท์ได้จัดฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและทักษะด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ให้กับเยาวชนจำนวนกว่า 410,000 คนที่มีพื้นเพที่หลากหลาย รวมถึงเยาวชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกลและด้อยโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ เยาวชนที่มีความพิการทางร่างกาย เยาวชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เยาวชนที่อาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัย ผู้ลี้ภัยในเขตเมือง นักโทษหญิง พนักงานจากองค์กรไม่แสวงผลกำไร อาสาสมัคร และอาจารย์ราว 4,000 คน

นอกจากนี้ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับพันธมิตรต่างๆ เช่น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม องค์การยูเนสโก มูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ และอื่นๆ ยังได้ทำงานอย่างหนักเพื่อเสริมสร้างความสำคัญของสะเต็มศึกษาและคุณค่าของทักษะการเขียนโค้ด จากการจัดเวิร์คช็อปเพื่อ

สร้างแรงบันดาลใจที่มีเป้าหมายในการลดช่องว่างระหว่างเพศและเพิ่มจำนวนผู้หญิงให้หันมาสนใจเรียนรู้และประกอบอาชีพเกี่ยวกับสะเต็มศึกษา ไปจนถึงการจัดอบรมทักษะเชิงวิทยาการคอมพิวเตอร์เบื้องต้นจำนวนมาก ทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ รวมถึง “Skype-a-thons” ทำให้ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นใหม่ได้อย่างต่อเนื่องให้มีเป้าหมายในการประกอบอาชีพด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ ด้วยการทำให้แน่ใจว่าเยาวชนไทยทั้งหมดมีความพร้อมและได้รับโอกาสอย่างเท่าเทียมกันในการเข้าถึงทักษะเชิงดิจิทัลและการศึกษาด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่มีความสำคัญยิ่งต่อการประสบความสำเร็จในอนาคตยุคดิจิทัลตามนโยบายประเทศไทย 4.0

 

ยิ่งไปกว่านั้น ไมโครซอฟท์ ตระหนักว่าการคิดเชิงคำนวณและวิทยาการคอมพิวเตอร์นั้นเป็นพื้นฐานของการศึกษาในศตวรรษที่ 21 และมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือรัฐบาลในการลดช่องว่างด้านอาชีพและทักษะในประเทศไทย และยกระดับการอยู่ร่วมกันของกลุ่มคนที่มีพื้นเพที่หลากหลายให้ดียิ่งขึ้นผ่านการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และเพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับความมุ่งมั่นดังกล่าว บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “Coding Thailand” โครงการที่เกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมและสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา ‘พลเมืองดิจิทัล’ โดยตั้งแต่ระยะเริ่มต้นของโครงการ ไมโครซอฟท์ได้สนับสนุนทรัพยากรด้านเทคโนโลยีและกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์แบบเต็มเวลาให้กับโครงการดังกล่าว เพื่อให้แน่ใจว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมายสูงสุดในการสร้างความสนใจด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ในกลุ่มเยาวชนยุคดิจิทัลและเตรียมความพร้อมให้กับพวกเขาในการรับมือกับยุคดิจิทัลได้สำเร็จ

ผู้บริหาร และ พนักงานจิตอาสา บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ผนึกพลังกับบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ ร่วมทำกิจกรรมจิตอาสา "เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ" บริเวณถนนสีลม และในชุมชนโดยรอบสถานประกอบการพร้อมกันทั่วประเทศ เพื่อสนองพระราชปณิธาน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการสืบสาน ต่อยอด รักษา เพื่อประโยชน์และความสุขของประชาชน

 

นายสุขสันต์ เจียมใจสว่างฤกษ์ ประธานคณะผู้บริหาร ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม และกรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) นำคณะผู้บริหารและพนักงานซีพีเอฟ และเครือเจริญโภคภัณฑ์ ร่วม 300 คน พร้อมใจแต่งกายด้วยเสื้อโทนสีเหลือง เข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสา ทำความสะอาด ปลูกต้นไม้ ทาสีทางเท้า และปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณทางเท้า บริเวณหน้าอาคาร ซี.พี.ทาวเวอร์ ถนนสีลม จนถึง ถนนนราธิวาสราชนครินทร์

 

 

ขณะที่ นายสุขวัฒน์ ด่านเสริมสุข ประธานคณะผู้บริหาร ธุรกิจอาหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) นำผู้บริหารและพนักงานจิตอาสา ร่วมชุมชน ช่วยกันทำความสะอาดพื้นที่วัดอู่ตะเภา โรงเรียน และชุมชนใกล้โรงงานอาหารสำเร็จรูปหนองจอก

 

 

นอกจากนี้ ซีพีเอฟจิตอาสา โรงงานและฟาร์มยังได้จัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ร่วมกับชุมชนทั่วประเทศโดยพร้อมเพรียงกัน อาทิ เก็บขยะบริเวณชายหาด ทำความสะอาดริมถนนทางหลวง เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างจิตสำนึกให้บุคลากรของบริษัทฯ ได้ตระหนักถึงการตอบแทนคุณสังคม ช่วยกันพัฒนาความเจริญให้กับชุมชนที่อยู่

 

เอสซีจี ได้รับ 2 รางวัล Bronze Awards จากเวที MAT Award 2018” ครั้งที่ 10 โดยสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย ในประเภทธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และวัสดุก่อสร้าง (Real Estate) จากผลงาน “เปิดตลาดหลังคาบ้านเก่า SCG Roof Renovation เรือลำแรกในมหาสมุทร Blue Ocean มูลค่า 10,000 ล้านบาท” และประเภทธุรกิจเพื่อสังคม (Sustainable Marketing) จากผลงาน “บ้านปลาเอสซีจี คืนวิถีชีวิตประมงไทย สร้างสมดุลสู่ท้องทะเลอย่างยั่งยืน” เผย “การเข้าใจความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียอย่างแท้จริง” เป็นหัวใจความสำเร็จที่ช่วยผลักดันให้เอสซีจีสามารถคิดค้นและต่อยอดนวัตกรรมเพื่อสังคม และการอยู่อาศัยเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีสำหรับคนไทย และพร้อมนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาใช้ยกระดับกระบวนการดำเนินงานตลอดห่วงโซ่คุณค่า

 

 

นายฎายิน เกียรติกวานกุล  Marketing Director – Roof Business บริษัท กระเบื้องหลังคาซีแพค จำกัด ในเอสซีจี กล่าวว่า “จากผลสำรวจที่อยู่อาศัยทั่วประเทศพบว่า มีบ้านเก่าที่อายุ 10 ปีขึ้นไปจำนวนกว่า 18 ล้านหลังคาเรือน และกว่า 1.5 ล้านหลังคาเรือนประสบปัญหาหลังคารั่วซึม หรือหลังคาเก่าโทรม ซึ่งเจ้าของบ้านต้องการเปลี่ยนหลังคาเก่าให้กลับมาสวยเหมือนใหม่ ในขณะที่สถานการณ์ปัจจุบัน มีเพียงผู้รับเหมารายย่อยที่รับซ่อมแซม และแก้ไขปัญหาหลังคา แต่ไม่สามารถรับประกันคุณภาพงานได้ เอสซีจีเข้าใจถึงปัญหาดังกล่าว จึงพัฒนาบริการ “SCG Roof Renovation” อย่างครบวงจร เพื่อเป็นทางเลือกในการปรับปรุง และซ่อมแซมหลังคาสำหรับเจ้าของบ้านให้ได้รับบริการที่มีมาตรฐาน เชื่อถือได้

 

 

โดยเจ้าของบ้านสามารถ “มั่นใจ” ในบริการจากทีมช่างคุณภาพและมากด้วยประสบการณ์ที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเฉพาะทางด้านรีโนเวทหลังคา พร้อมการรับประกัน 1 ปี สำหรับงานเปลี่ยนหลังคาทั้งผืน “วางใจได้” ด้วยเทคโนโลยีหลังคา และระบบหลังคาคุณภาพมาตรฐานเอสซีจี “ไร้กังวล” ด้วยทีมสำรวจหน้างานที่วางแผนแก้ปัญหาอย่างตรงจุด และ “สบายใจ” ด้วยการติดตั้งอย่างเป็นระบบ โดยเจ้าของบ้านสามารถอยู่อาศัยในบ้านได้ตามปกติระหว่างติดตั้ง ด้วยความเข้าใจปัญหา ตลอดจนความมุ่งมั่นในการพัฒนาสินค้า และบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า จึงทำให้เอสซีจีได้รับรางวัลจากสมาคมการตลาดฯ ในครั้งนี้”

ทั้งนี้ สามารถขอรับคำปรึกษาเรื่องหลังคาได้ฟรีที่ เอสซีจี คอนแทค เซ็นเตอร์ โทร.02-586-2222 เอสซีจี เอ็กซ์พีเรียนซ์ และเอสซีจี โฮมโซลูชั่น ทุกสาขาในกรุงเทพฯ และปริมณฑล หรือหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://roofexpert.scgbuildingmaterials.com/service/renovate

 

 

ด้านนางสาวน้ำทิพย์ สำเภาประเสริฐ Brand Management & CSR Director ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี กล่าวว่า “เอสซีจีดำเนินงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างสมดุลในทุกมิติทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งธุรกิจเคมิคอลส์ได้นำแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนมาปรับใช้ในพื้นที่ระยอง โดยวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในชุมชน และนำความเชี่ยวชาญภายในองค์กรมาช่วยแก้ไข รวมทั้งหาโซลูชั่นที่เหมาะสม สำหรับรางวัลที่ได้รับจากสมาคมการตลาดฯ ในครั้งนี้ มาจาก “โครงการรักษ์น้ำจากภูผา สู่มหานที ...จิตอาสาสร้างบ้านปลาเอสซีจี”

 

 

ซึ่งช่วยแก้ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลและชายฝั่ง โดยเอสซีจีได้น้อมนำพระราชปณิธาน “จากภูผา สู่มหานที” ซึ่งเป็นแนวทางการดูแลและจัดการน้ำให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ ผ่านกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมกับคนในชุมชนมาเป็นแนวทางการดำเนินงาน

 

 

โครงการฯ ดังกล่าว เป็นความร่วมมือระหว่างเอสซีจีกับภาครัฐ และภาคประชาสังคมในการบริหารจัดการน้ำในจังหวัดระยอง ตั้งแต่ต้นน้ำผ่านกิจกรรมสร้างฝายชะลอน้ำในพื้นที่เขายายดา จนถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งและระบบนิเวศทางทะเลที่ปลายน้ำผ่านโครงการบ้านปลาเอสซีจี ซึ่งนำท่อ PE 100 ที่เหลือจากกระบวนการผลิตมาสร้างเป็นบ้านปลา นับเป็นการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ตลอดระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมา เอสซีจีได้วางบ้านปลาไปแล้วจำนวน 1,600 หลัง ใน 37 กลุ่มประมงพื้นบ้านทั่วภาคตะวันออก ก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลกว่า 172 ชนิด ซึ่งเป็นเสมือนคลังทรัพยากรในทะเลที่ชาวประมงพื้นบ้านสามารถทำมาหากินได้อย่างยั่งยืน โดยมีจิตอาสาสร้างบ้านปลาแล้วกว่า 11,500 คน”

รางวัล Bronze Award จาก “เปิดตลาดหลังคาบ้านเก่า SCG Roof Renovation เรือลำแรกในมหาสมุทร Blue Ocean มูลค่า 10,000 ล้านบาท”  และ “บ้านปลาเอสซีจี คืนวิถีชีวิตประมงไทยสร้างสมดุลสู่ท้องทะเลอย่างยั่งยืน” นับเป็นความภาคภูมิใจของเอสซีจี และพนักงานทุกคนที่ได้มุ่งมั่นและทุ่มเทดำเนินงานอย่างสุดความสามารถ ตลอดจนเป็นการยืนยันความสำเร็จที่เอสซีจียึดถือความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียเป็นหัวใจในการคิดค้น และพัฒนานวัตกรรมเพื่อสังคม และการอยู่อาศัย

 

 

เอสซีจีจะยังคงเดินหน้าสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยการวิจัยและพัฒนา การนำเทคโนโลยีดิจิทัล ตลอดจนการนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาใช้ยกระดับกระบวนการดำเนินงานตลอดห่วงโซ่คุณค่า เพื่อเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งให้ธุรกิจเติบโตควบคู่กับการสร้างความยั่งยืนให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายต่อไป

ทั้งนี้ แคมเปญการตลาด MAT Award 2018 ครั้งที่ 10 นี้ จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมและเชิดชูนักการตลาดไทยที่มีศักยภาพ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ และสนับสนุนให้นักการตลาดไทยก้าวสู่ระดับสากล โดยในปีนี้ มีผู้ส่งผลงานเข้าร่วมทั้งสิ้น 40 ผลงาน ใน 11 กลุ่มรางวัล

Page 1 of 7
X

Right Click

No right click