January 01, 2025

Key point

  • มูลค่าการส่งออกไทยเดือน ก.ย. หดตัว -5.2%YOY โดยเป็นการหดตัวครั้งแรกในรอบ 19 เดือน ในหลายหมวดสินค้า นำโดยหมวดสินค้าอุตสาหกรรมที่หดตัว -6.7%YOY เช่น รถยนต์ - อุปกรณ์และส่วนประกอบ (-7.4%YOY) เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (-4.1%YOY) เคร่ืองใช้ไฟฟ้า (- 0.8%YOY) และโดยเฉพาะทองคำที่หดตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ -78.7%YOY จาก -66.6%YOY โดยเมื่อ พิจารณาการส่งออกที่ไม่รวมทองคำจะหดตัวที่ -0.8%YOY สำหรับหมวดสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร หดตัวที่ -1.6%YOY เช่น อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป กุ้งแปรรูป น้ำตาลทรายขาว และผลไม้ กระป๋องและแปรรูป อย่างไรก็ตาม สินค้าหมวดเกษตรยังขยายตัวได้เล็กน้อยที่ 0.1%YOY ตามการ ขยายตัวของข้าว และผลิตภัณฑ์มันส าปะหลัง ขณะที่ยางพาราและน ้าตาลยังคงหดตัวจากผลของ ราคาที่ลดลงเป็นสำคัญ ทั้งนี้การส่งออกในภาพรวมในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2018 เติบโตที่ 8.1%YOY
  • การส่งออกไทยหดตัวในตลาดเอเชียเป็นสำคัญ โดยเฉพาะการหดตัวของมูลค่าการส่งออก ไปยังจีน (-14.1%YOY) ฮ่องกง (-7.0%YOY) ไต้หวัน (-17.5%YOY) และเอเชียใต้ (-3.7%YOY) ขณะที่การส่งออกไปญี่ปุ่นขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ 0.2%YOY จาก 14.6%YOY ในเดือนก่อนหน้า เช่นเดียวกันกับการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศ CLMV และ ASEAN-5 ที่ก็ขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที 17.5%YOY และ 0.9%YOY จากในเดือนก่อนหน้าที่ 32.5%YOY และ 35.5%YOY ตามลำดับ ขณะที่มูลค่าการส่งออกไปยังทวีปออสเตรเลียหดตัวที่ -19.3%YOY จากที่ขยายตัวได้ที่ 10.1%YOY ในเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ดีการส่งออกไปยังสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปปรับตัวดีขึ้นเป็น 1.2%YOY และ 3.9%YOY จากในเดือนก่อนหน้าที่ 0.6%YOY และ -4.3%YOY ตามลำดับ
  • ผลกระทบจากมาตรการเก็บภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ต่อสินค้าส่งออกของไทย ยังคงส่งผลกระทบต่อเนื่อง โดยมูลค่าสินค้าส่งออกที่ถูกตั้งเก็บภาษีนำเข้าโดยสหรัฐฯ ได้แก่ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ (แผงโซลาร์) และเครื่องซักผ้า-เครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ ที่ไทยส่งออกไปยัง สหรัฐฯ ในเดือนกันยายน หดตัวที่ -78.2%YOY และ -87.6%YOY ตามลำดับ ทำให้มูลค่าการส่งออก ของสินค้ากลุ่มดังกล่าวในภาพรวมทุกตลาดส่งออกลดลง -38.3%YOY และ -44.6%YOY ตามลำดับ ทั้งนี้ การส่งออกเหล็ก-เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ไปสหรัฐฯ กลับมาหดตัว -16.1%YOY หลังจาก ขยายตัว 12.6%YOY ในเดือนก่อนหน้า แต่ในภาพรวมทุกตลาดส่งออกขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือน ก่อนหน้าที่ 2.4%YOY เป็น 4.4%YOY ขณะที่ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม ยังขยายตัวได้ดีทั้งในภาพรวม และการส่งออกไปสหรัฐฯ ที่ 12.1%YOY และ 38.2%YOY ตามลำดับ
  • สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนส่งผลชัดเจนมากขึ้น การส่งออกของไทยไปยัง จีนในเดือนนี้มีการหดตัวสูงที่ -14.1%YOY โดยส่วนหนึ่งคาดว่าเป็นผลกระทบมาจากมาตรการการ เก็บภาษีนำเข้าจากจีนของสหรัฐฯ ที่เริ่มบังคับใช้เมื่อ 6 กรกฎาคม และ 23 สิงหาคมที่ผ่านมา รวมมูลค่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สะท้อนจากมูลค่าการส่งออกสินค้าในกลุ่มที่คาดว่าจะมีความ เกี่ยวข้องกับสินค้าที่จีน ถูกตั้งภาษีนำเข้ามามีการหดตัวชัดเจน เช่น แผงวงจรไฟฟ้า และส่วนประกอบ อุปกรณ์ ตู้เย็น-ตู้แช่แข็ง ซึ่งมูลค่าการส่งออกไปจีนหดตัวที่ -50.8%YOY และ -78.9%YOY ตามลำดับ สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์-อุปกรณ์และส่วนประกอบไปยังจีนหดตัว -13.4%YOY ทั้งนี้ การหดตัวของการส่งออกไทยไปจีนยังอาจมีผลบางส่วนมาจากการที่เศรษฐกิจจีนมีการชะลอตัวลง อีกด้วย
  • มูลค่าการนำเข้าขยายตัวที่ 9.9%YOY ชะลอลงจากการเติบโตที่ 22.8%YOY ในเดือนก่อนหน้า นำโดยการชะลอลงของการนำเข้าสินค้าในหมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปที่เติบโต 11.5%%YOY ชะลอลงจาก 37.6%YOY และหมวดสินค้าทุนที่หดตัว -5.8%YOY จากที่ขยายตัว 6.2%YOY ในเดือนก่อนหน้า โดยเป็นการลดลงของการนำเข้าหมวดเครื่องบินและส่วนประกอบ (-80.2%YOY) เป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม การนำเข้าสินค้าเชื้อเพลิงเติบโตเร่งขึ้นที่ 50.5%YOY จาก 33.8%YOY ในเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ การนำเข้าในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2018 เติบโตที่ 15.2%YOY

Implication

  • อีไอซีมองการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกไทยปี 2018 มีโอกาสต่ำกว่าที่ ประมาณการเดิมที่ 8.5% เนื่องจากตัวเลขการส่งออกในเดือนนี้ที่ออกมาต่ำกว่าตลาด คาดการณ์ค่อนข้างมาก (-5.2%YOY vs 5.6%YOY) และผลกระทบจากสงครามการค้ามีความชัดเจนและต่อเนื่องมากขึ้น โดยสำหรับความเสี่ยงสงครามการค้าจะยังมีผลกระทบอีกระลอกจาก มาตรการการตอบโต้ทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ที่เริ่มบังคับใช้ในวันที่ 24 กันยายนที่ผ่านมา มูลค่ารวมกว่า 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ที่คาดว่าจะเริ่มเห็นผลในช่วงปลายปีนี้เป็นต้นไป นอกเหนือไปจากผลกระทบจากส่วนที่มีการบังคับใช้ไปแล้วเมื่อ 6 กรกฎาคม และ 23 สิงหาคมที่ ผ่านมาที่ยังอาจมีผลต่อเนื่องในระยะต่อไป นอกจากนี้ ยังต้องจับตาผลกระทบจากการชะลอตัวของ เศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญโดยเฉพาะจีนที่มีแนวโน้มได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ การขยายตัวของมูลค่าการส่งออกที่ต่ำกว่าคาดอาจส่งผลถึงการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในภาพรวมในปีนี้และปีหน้าได้
  • อีไอซีคาดว่ามูลค่าการน าเข้าทั้งปี 2018 จะขยายตัวที่ 15% การนำเข้าในช่วงที่เหลือ ของปี 2018 มีแนวโน้มที่จะขยายตัวได้ต่อเนื่อง จากการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศที่ยังมี แนวโน้มขยายตัวได้ต่อเนื่อง รวมถึงการนำเข้าสินค้าเชื้อเพลิงที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมัน อย่างไรก็ดี การนำเข้าในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเพื่อส่งออกอาจชะลอลงหากภาคการส่งออกมี การเติบโตต่ำกว่าที่คาดในระยะต่อไป ทั้งนี้ดุลการค้า 9 เดือนแรกยังเกินดุลอยู่ระดับสูงที่ 2,838.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สะท้อนถึงเสถียรภาพระหว่างประเทศของเศรษฐกิจไทยยังอยู่ในเกณฑ์ดี

 

โดย : จิรายุ โพธิราช (This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.)
         Economic Intelligence Center (EIC)
         ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
         EIC Online: www.scbeic.com

 

 

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) รายงานโดยคาดมูลค่าการส่งออกทั้งปี 2561 จะขยายตัวที่ 8.5 % โดยได้รับแรงขับเคลื่อนจากทั้งเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มขยายตัวและราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม การส่งออกสินค้าของไทยในระยะต่อไปมีแนวโน้มเติบโตชะลอลง หลังการผลิตภาคอุตสาหกรรมของโลกเติบโตช้าลงสะท้อนผ่านดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (Global Manufacturing PMI) ที่ชะลอลงตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมาและลงมาแตะระดับต่ำสุดในรอบ 10 เดือนที่ 53.0 ในเดือนมิ.ย. นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงสงครามการค้าที่ต้องจับตาในกรณีที่มีมาตรการและการตอบโต้ออกมามากขึ้น แม้ในปัจจุบันผลต่อการส่งออกไทยในปี 2018 ยังมีค่อนข้างจำกัด

ขณะที่มูลค่าการนำเข้าทั้งปี 2561 EIC ประเมินไว้ว่าจะขยายตัวที่ 13.5 % โดยเติบโตตามความต้องการสินค้าวัตถุดิบและสินค้าทุน ซึ่งมีแนวโน้มขยายตัวตามการส่งออก การลงทุนในประเทศทั้งจากภาครัฐและเอกชนที่คาดว่าจะฟื้นตัวดีขึ้นในช่วงหลังจากนี้ ประกอบกับมูลค่าการนำเข้าสินค้าเชื้อเพลิงที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมัน ซึ่งอีไอซีประเมินว่าการเพิ่มสูงขึ้นของมูลค่าการนำเข้าน้ำมันในปีนี้มีส่วนสำคัญที่ทำให้ดุลการค้าและดุลบัญชีสะพัดมีแนวโน้มลดลงจากปีก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม อีไอซีคาดว่าการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยในปี 2018 ยังอยู่ในระดับสูงที่ราว 8% ต่อ GDP ซึ่งสะท้อนถึงเสถียรภาพระหว่างประเทศที่อยู่ในเกณฑ์ดี

ทั้งนี้ตัวเลขการส่งออกไทยในเดือนมิ.ย. ขยายตัวต่อเนื่องที่ 8.2% YOY โดยสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน อาทิ  น้ำมันสำเร็จรูป และเคมีภัณฑ์และพลาสติก ที่เติบโต 23.5%YOY และ 13.6%YOY ตามลำดับ สินค้าอุตสาหกรรมหลักยังคงเติบโตได้ดี ได้แก่ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และรถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ที่ยังขยายตัวต่อเนื่องที่ 12.0%YOY และ 7.4%YOY ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม การส่งออกยางพารายังคงหดตัว 10.4%YOY จากราคาตลาดโลกที่ตกต่ำ การส่งออกอุปกรณ์กึ่งตัวนำ (แผงโซลาร์) โดยรวมลดลง 21.8%YOY สาเหตุสำคัญมาจากมาตรการเก็บภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ (safeguard tariff) ซึ่งส่งผลให้การส่งออกอุปกรณ์กึ่งตัวนำไปยังสหรัฐฯ หดตัวที่ 84.6%YOY อย่างไรก็ดี มูลค่าการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ของสินค้าอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการภาษีของสหรัฐฯ ได้แก่ เครื่องซักผ้า เครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ และเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ยังขยายตัวได้ที่ 4.7%YOY และ 24.9%YOY ตามลำดับ เนื่องจากราคารวมอัตราภาษีดังกล่าวของสินค้าส่งออกไทยยังอยู่ในระดับที่แข่งขันได้ ประกอบกับผู้ผลิตเหล็กบางรายได้รับการยกเว้นภาษีจากสหรัฐฯ ทั้งนี้ การส่งออกสินค้าทั้ง 2 กลุ่มดังกล่าวในภาพรวมยังขยายตัวอยู่ที่ 5.0%YOY และ 21.4%YOY ตามลำดับ ทั้งนี้ การส่งออกในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2018 เติบโตที่ 11.0%YOY

ด้านมูลค่าการนำเข้าเดือนมิ.ย. ยังเติบโตต่อเนื่องที่ 10.8% YOY จากการนำเข้าสินค้าในกลุ่มสินค้าเชื้อเพลิงที่เติบโตกว่า 49.9%YOY ตามราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ด้านการนำเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ยังขยายตัวที่ 23.1%YOY ตามแนวโน้มการส่งออกที่เพิ่มขึ้นในสินค้ากลุ่มดังกล่าว ขณะที่การนำเข้าสินค้าทุน (ไม่รวมเครื่องบินและเรือ) ขยายตัว 15.2%YOY ทั้งนี้ การนำเข้าในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2018 เติบโตที่ 15.6%YOY

 

X

Right Click

No right click