January 01, 2025
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 6847

TMB Analytics คาดว่าจากปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจที่ขยายตัวได้เกินระดับศักยภาพทำให้เงินเฟ้อเริ่มปรับสูงขึ้น พฤติกรรมการลงทุนที่เปลี่ยนไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น อีกทั้งการรักษา policy space เพื่อรับมือกับความเสี่ยงในอนาคต จะสนับสนุนให้ กนง. ขึ้นดอกเบี้ยนโยบายได้ในช่วงไตรมาสสี่ของปีนี้

การรักษา policy space เป็นเรื่องสำคัญในการดำเนินนโยบายการเงิน ในสภาวะที่เศรษฐกิจไทยยังขยายตัวได้ดีและเงินเฟ้อเริ่มขยับขึ้นจากอุปสงค์ในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะที่เศรษฐกิจต้องเผชิญความเสี่ยงที่จะสูงขึ้นในอนาคต ทั้งจากเศรษฐกิจโลกที่คาดว่าจะเริ่มชะลอลงในปีหน้า สงครามการค้าระหว่างสองประเทศมหาอำนาจอย่างจีนและสหรัฐฯ อีกทั้งยังมีความกดดันจากสภาพคล่องในตลาดการเงินโลกที่ลดลงจากการนโยบายการเงินที่ตึงตัวขึ้นของธนาคารกลางหลัก

ในอนาคต การชะลอของเศรษฐกิจโลกอาจฉุดให้เศรษฐกิจไทยชะลอตามไปด้วย ถึงตอนนั้นอาจต้องลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม หากลดดอกเบี้ยในขณะที่สภาพคล่องในตลาดเงินโลกลดลง และความเชื่อมั่นของนักลงทุนสั่นคลอนจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ อาจทำให้ไทยต้องเผชิญกับเงินทุนไหลออกรุนแรงและฉับพลัน

โดยหากไทยไม่มีการสะสม policy space หรือขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในตอนนี้ เมื่อเกิดวิกฤติขึ้นในอนาคต ธปท. อาจต้องลดดอกเบี้ยมากกว่า 0.25% หมายความว่าดอกเบี้ยจะลดลงไปอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 1.25% ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดตั้งแต่ที่ไทยเคยมีอัตราดอกเบี้ยนโยบายมา อาจยิ่งทำให้เงินทุนไหลออกรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลลดลงและเงินสำรองระหว่างประเทศที่คาดว่าจะลดลงจากการส่งออกสินค้าและการท่องเที่ยวของไทยที่ขยายตัวช้าลงตามการชะลอของเศรษฐกิจโลก อีกทั้งการสนับสนุนให้มีการลงทุนภายในประเทศเพิ่มขึ้นทำให้ต้องนำเข้าเครื่องจักรและสินค้าทุนจำนวนมาก

หากลองเทียบเคียงกับช่วงไตรมาสสองของปีนี้ ที่ธนาคารกลางสหรัฐฯหรือเฟดปรับแผนการขึ้นดอกเบี้ยจาก 3 เป็น 4 ครั้งในปีนี้ และสหรัฐฯออกมาตรการกีดกันทางการค้าเพิ่มเติมกับจีน แม้ไทยไม่ได้ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายและยังมีดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกินดุลและเงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง แต่นักลงทุนก็ยังไม่มั่นใจและถอนทุนออกจากตลาดหุ้นและบอนด์ไทยสุทธิกว่า แสนล้านบาท ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงกว่า 6% จากสิ้นไตรมาสที่ 1

นอกจากนี้ หากมองในแง่ของคนที่ออมเงินหรือคนที่อยากลงทุน อัตราผลตอบแทนที่ลดต่ำลงและคงอยู่ในระดับต่ำเป็นเวลานานอาจลดแรงจูงใจในการออม หรืออาจไปกระตุ้นให้นำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ที่เสี่ยงขึ้นเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้น โดยที่นักลงทุนไม่ได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงดังกล่าวอย่างถี่ถ้วน และอาจทำให้นักลงทุนไทยบางส่วนนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างประเทศที่อัตราดอกเบี้ยสูงกว่า เป็นการนำการออมของประเทศไปสนับสนุนการลงทุนของประเทศอื่นแทน

ยกตัวอย่าง กองทุนรวม FIF (Foreign Investment Fund) ที่เพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด หากนับตั้งแต่อัตราดอกเบี้ยเริ่มเป็นขาลงในปี 2012 จนถึงสิ้นปัจจุบันมูลค่าสินทรัพย์เพิ่มขึ้นกว่า 3 แสนล้านบาท หรือ คิดเป็นสัดส่วนถึง 6% ของเศรษฐกิจไทย และยังมีความเสี่ยงจาก “การกระจุกตัวของการลงทุน (Concentration Risk)” ที่นักลงทุนอาจไม่ตระหนักถึง

ดังนั้น TMB Analytics มองว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อเพิ่ม policy space ในช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้ ในช่วงที่เศรษฐกิจไทยขยายตัวดีและอัตราเงินเฟ้อกลับเข้ากรอบเป้าหมายแล้ว เพื่อเตรียมรับมือความเสี่ยงที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอนาคตจากเศรษฐกิจโลกที่จะชะลอลง แต่จะเป็นการขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยอยู่ที่ระดับ 1.75% และ 2.25% ณ สิ้นปี 2018 และ 2019 ตามลำดับ

 

X

Right Click

No right click