December 29, 2024
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 6847

สร้างประวัติศาสตร์ใหม่ให้วงการประมูลงานศิลปะของไทยร้อนแรงขึ้นอีกครั้ง หลังความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ของนิทรรศการประมูลงานศิลปะ ‘Museum Mania’ ภายใต้ความร่วมมือของ The Art Auction Center (TAAC) และ RSF Art Clinic (Restaurateurs Sans Frontières Art Clinic) ผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์และปกป้องรักษางานศิลปกรรมที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับในระดับสากลมานานกว่า 40 ปี โดยคอนเซ็ปต์ของจัดงานในครั้งนี้สื่อถึงแนวคิด “ผลงานที่ทรงคุณค่าระดับพิพิธภัณฑ์อันมีความสำคัญต่อวงการศิลปะไทยในหลากหลายช่วงเวลา” ที่เปิดโอกาสให้นักสะสมทั้งชาวไทยและต่างชาติ ได้ครอบครองงานศิลป์หายากของศิลปินระดับ Old Master และศิลปินยุคใหม่ที่มีฐานแฟนคลับทั่วทั้งเอเชีย

ในงาน Museum Mania  ได้รับการจัดวางเพื่อผู้ชมสามารถสำรวจพิพิธภัณฑ์ผานแนวคิดอุดมคติของนักสะสมและคนรักงานศิลปะ  ที่ผ่านการจัดแสดงผลงานที่ร้อยเรียงเรื่องราว 2 ศตวรรษของประวัติศาสตร์ศิลปะไทยสมัยใหม่ โดยแบ่งออกเป็น 5 ยุคสมัย จากรากฐานตั้งแต่ยุค “สยามศิวิไลซ์และความสัมพันธ์กับศิลปินยุโรป” ในสมัยรัชกาลที่ 5 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งศิลปะไทยได้รับการสร้างสรรค์จากความหลากหลายของโลกาภิวัฒน์ ความร่วมสมัย และยุคสมัยแห่งดิจิทัล

โดยครั้งนี้มีผลงานที่ผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในแวดวงศิลปะมากกว่า 137 ชิ้น ที่เข้าร่วมการประมูลและเปิดโอกาสให้ผู้สนใจสามารถรับชมนิทรรศการที่ RCB Galleria 1 และ RCB Artery 1 ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก

‘Vitruvian Man’ ของอาจารย์ถวัลย์ ได้สร้างสถิติใหม่ด้วยยอดประมูลสูงถึง 25,531,000 ล้านบาท เรียกเสียงฮือฮาเป็นอย่างมาก

และเมื่อการประมูลร้อนแรงถึงขีดสุดกับผลงานชื่อ ‘วิทรูเวียนแมน’ (Vitruvian Man) ของถวัลย์ ดัชนี ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พ.ศ. 2544 ที่ทุบสถิติผลงานราคาสูงสุดจากการประมูลในประเทศไทยเท่าที่เคยมีมา (นอกเหนือจากงานประมูลการกุศล) ด้วยยอดประมูลถึง 25,531,000 บาท

ภาพจิตรกรรมสีน้ำมันขนาดใหญ่ที่สร้างสรรค์ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2511 ในช่วงเวลาคาบเกี่ยวที่เขาเดินทางกลับจากศึกษาต่อที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ คาดว่าได้รับแรงบันดาลใจมาจากภาพ ‘Vitruvian Man’ ขณะที่ควายทั้งสามตัวหมายถึง การที่ยังคงไม่ลืมรากเหง้าของตัวเอง ภาพนี้จึงอาจหมายถึง ตัวศิลปินสำนึกถึงความ สำคัญของประเพณี วัฒนธรรม ความเป็นตัวตนคนไทย แม้ว่าจะได้เปิดโลกทัศน์และเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ มากมายจากต่างประเทศมาแล้วก็ตาม

 

รวม 5 ผลงานศิลปะชิ้นไฮไลต์ภายในงาน Museum Mania

การประมูลในครั้งนื้ถือเป็นบทพิสูจน์ความสำเร็จครั้งใหม่ของ TAAC หลังจากที่ Museum Mania สร้างสถิติใหม่ให้กับวงการประมูลศิลปะของไทย ที่ได้รับความสนใจในกลุ่มนักสะสมงานศิลปะในหลายประเทศทั่วเอเชีย โดยการประมูลในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมประมูลทั้งภายในงานและออนไลน์หนาตา ทำให้บรรยากาศในการประมูลเป็นไปอย่างคึกคักและสนุกสนานมากขึ้น โดยผลงานศิลปะที่คว้าสถิติการประมูลสูงสุด ได้แก่

· “Triton and Nereid” (2464) ผลงานของคาร์โล ริโกลี (Carlo Rigoli) ทำสถิติสูงถึง 4,525,950 บาท

· “กินรีร่ายมนต์ขอกายสิทธิ์จากดวงดาว” (Kinnara's Incantation) ผลงานของอังคาร กัลยาณพงศ์ (2540) ทำสถิติสูงถึง 4,061,750 บาท

· “Hide1” ผลงานของนที อุตฤทธิ์ ทำสถิติสูงถึง 2,321,000 บาท

· "Face" ผลงานของ Alex Face ทำสถิติสูงถึง 2,088,900 บาท

· “ดอกบัว” ผลงานของประหยัด พงษ์ดำ ทำสถิติสูงถึง 1,508,650 บาท

นอกจากนี้ ภายในงานยังมีผลงานของศิลปินอีกมากมายที่เข้าร่วมการประมูล รวมถึงผลงานของ 3 ศิลปินที่ได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมประมูลไม่แพ้กัน ได้แก่ “The Last Drink” ผลงาน ของกิตติ นารอด ทำสถิติสูงถึง 696,300 บาท, “แสงธรรมนำทาง” ผลงานของทองไมย์ เทพราม ทำสถิติสูงถึง 696,300 บาท และ “รั้ง” ผลงานของวันดา ใจมา ทำสถิติสูงถึง 394,570 บาท สร้างประวัติศาสตร์ใหม่ให้กับวงการประมูลศิลปะของไทยอีกด้วย

ผู้สนใจสามารถติดตามความเคลื่อนไหวของ The Art Auction Center (TAAC) และอัปเดตวงการประมูลศิลปะได้ที่ https://www.facebook.com/theartauctioncenter หรือสอบถามข้อมูลได้ที่ Line @theartauction และ โทร. 065-097-9909

ความท้าทายหนึ่งของการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยคือการออมของประชากรในประเทศ หากคนในประเทศมีความสามารถเก็บออมทรัพย์สินเพื่อใช้จ่ายในยามเกษียณอย่างพอเพียง ปัญหาด้านอื่นจะลดลงไปอย่างมาก แต่จากการศึกษาของศูนย์ Customer Insights by TMB Anylytics ที่ศึกษาในหัวข้อ “คนไทยมีเงินเหลือใช้ไม่ถึง 6 เดือนเมื่อหยุดทำงาน”

ผลสำรวจพบว่า คนไทยอายุระหว่าง 18-54 ปี มีเพียง 34 % ที่คิดว่ามีเงินเก็บเพียงพอสำหรับการใช้จ่ายหากไม่มีงานทำได้นานถึง 6 เดือนหรือมากกว่า

 

นริศ สถาผลเดชา ผู้บริหาร TMB Analytics และ นันทพร ตั้งเจริญศิริ หัวหน้าทีม Customer Experience & Insights ให้รายละเอียดถึงผลการศึกษาพฤติกรรมการทางการเงินของคนไทย ว่า   “จากการวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเงินของคนไทยตลอดเส้นทางทั้งการออม การใช้จ่าย การลงทุน การป้องกันความเสี่ยง” ในด้านเงินออมเราพบว่าคนไทยส่วนใหญ่มีเงินออมพอใช้ไม่ถึง 6 เดือน จากฐานข้อมูลจำนวนผู้ประกอบอาชีพ 35 ล้านคน เราแบ่งคนที่มีเงินออมเหลือจากการใช้จ่ายออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มมีเงินออมไม่พอ มีสัดส่วนถึง 80% ซึ่งเป็นกลุ่มที่เงินออมเหลือไม่พอใช้จ่ายไปอีก 6 เดือน ขณะที่กลุ่มที่มีเงินออมพอสำหรับการใช้จ่ายตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไปมีสัดส่วนเพียง 20% (อ้างอิงตัวเลข 6 เดือนจากการจ่ายเงินชดเชยของประกันสังคมกรณีว่างงาน) ในขณะที่ผลสำรวจความคิดเห็นกับคนไทยอายุ 18-54 ปี กลับมีถึง 40% ที่ค่อนข้างมั่นใจว่ามีเงินออมพอใช้หลังเกษียณ เพราะมีการออมเงินไว้แล้วถึงแม้จะยังไม่มาก

นอกจากนี้ ปัญหาการออมเงินไม่ขึ้นอยู่กับ ระดับรายได้ พื้นที่ที่ประกอบอาชีพ และประสบการณ์ทำงาน กล่าวคือ 70% ของผู้ที่มีรายได้สูง (มีรายได้มากกว่า 3 หมื่นบาทต่อเดือน) ก็ยังถูกจัดอยู่ในกลุ่มมีเงินออมไม่พอและพบว่าการประกอบอาชีพในพื้นที่ที่ต่างกันไม่ว่าเป็นกรุงเทพและปริมณฑล หรือต่างจังหวัดไม่มีผลต่อการออมเงินซึ่งสะท้อนจาก 80% หรือคนส่วนใหญ่ของทั้งสองพื้นที่ถูกจัดเป็นกลุ่มมีเงินออมไม่พอ นอกจากนี้ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มวัยเริ่มทำงาน (Gen Y) หรือกลุ่มคนที่มีประสบการณ์ทำงานมากกว่า (Gen X) ยังคงวนเวียนอยู่กับปัญหาเงินออมไม่พอ และพบว่าคนที่มีเงินออมไม่พอส่วนใหญ่เป็นพนักงานเอกชนและจ้างงานอิสระ  

 

การขาดวินัยในการออมน่าจะเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้คนไทยมีเงินออมไม่พอเพียง โดยมีเพียง 38% ที่มีพฤติกรรมออมก่อนใช้และ

แยกบัญชีชัดเจน ในขณะที่ 49% ใช้ก่อนออมทีหลัง และอีก 13% ยังไม่คิดออม และต่อให้มีการออม ก็มีแค่ 35% เท่านั้นที่มีวินัยในการออมเท่ากันทุก ๆ เดือน อีกทั้งยังรู้สึกว่าการวางแผนการใช้จ่ายหลังเกษียณเป็นเรื่องไกลตัว โดย 21% ยอมรับว่ายังไม่เคยคิดถึงการวางแผนเลย

“พฤติกรรมการใช้จ่ายของคนไทย” เป็นสาเหตุของรอยรั่วเงินออม  โดยเฉลี่ยคนไทยมีการใช้จ่าย 76% ของรายได้ต่อเดือน ที่เหลือเป็นการออม 21% และป้องกันความเสี่ยง 3% และถ้าเป็นกลุ่มที่มีเงินออมไม่พอ จะมีการใช้จ่ายสูงถึง 82% ขณะที่การออมลดลงเหลือ 14%  ทั้งนี้ ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้จ่ายของคนไทย ที่สำคัญคือไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไปเน้นความสะดวกสบายและรวดเร็ว ติดหรู เช่น ทานอาหารนอกบ้านมากขึ้น เน้นสถานที่บรรยากาศดี ชิลชิล ชิคชิค และนิยมเสพโซเชียลมีเดีย แชท แชร์ เพิ่มขึ้น

อีกพฤติกรรมที่บ่งชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมการใช้จ่ายเกินกำลังจะเห็นได้จากในปัจจุบัน มากกว่า 50% ของคนที่มีบัตรเครดิตไม่สามารถจ่ายบิลรายเดือนได้เต็มจำนวน และอีกประมาณ 48% เคยผ่อนสินค้าแบบยอมเสียดอกเบี้ย

 

ในมุมของการใช้จ่าย พบว่าคนไทยส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นสูงถึง 1 ใน 4 ของรายได้ต่อเดือน  โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีเงินออมไม่พอ นอกจากจะเน้นใช้จ่ายไปกับด้านความบันเทิงแล้ว ยังมีการบริโภคสุราและสูบบุหรี่มากกว่าคนที่เงินออมพอถึงสองเท่า  ทั้งนี้ ในจำนวนเงินที่เป็นค่าใช้จ่ายไม่จำเป็นมีมูลค่าพอ ๆ กับค่าใช้จ่ายจำเป็นอย่างการประกันความเสี่ยงและการศึกษา

 

“ไม่ว่าคนที่ออมพอหรือออมไม่พอ ก็ออมผิดที่กันทั้งนั้น” ผลการวิคราะห์พบว่าการลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินของทั้งกลุ่มคนที่มีเงินออมไม่พอกับกลุ่มคนที่มีเงินออมพอ จะกระจุกอยู่ที่เงินฝากธนาคารกว่าร้อยละ 80 และเกินครึ่งเป็นเงินฝากออมทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนต่ำ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศพัฒนาแล้ว โดยเฉลี่ยสัดส่วนของเงินฝากจะต่ำกว่าร้อยละ 50

 

คนไทยส่วนใหญ่เผชิญความเสี่ยงสูง ทั้งในแง่อุบัติเหตุและการเสียชีวิตจากโรคร้าย แต่กลับป้องกันความเสี่ยงในระดับต่ำ ประเทศไทยมีอัตราการตายจากอุบัติเหตุสูงเป็นที่ 13 ของโลกและมีค่าใช้จ่ายด้านรักษาพยาบาลสูงขึ้นทุกปี แต่ทั้งกลุ่มที่เงินออมพอและกลุ่มที่มีเงินออมไม่พอมีการทำประกันประกันไว้ไม่ถึง 10% ซึ่งสอดคล้องกับสัดส่วนเบี้ยประกันต่อรายได้รวม (Insurance Penetration) ของไทยยังอยู่ในระดับต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศพัฒนาแล้ว

 

 

 

 

ตัวเลขน่าตกใจเหล่านี้ คือสิ่งที่คนไทยวัยทำงานต้องหาหนทางเปลี่ยนแปลงสัดส่วนตัวเลขต่างให้เหมาะสมกับการใช้ชีวิตของตนเอง เตรียมตัวรับมือกับความไม่แน่นอนทั้งในช่วงวัยทำงานและวัยเกษียณที่จะมาถึง

 ศูนย์ Customer Insights by TMB Analytics เกิดขึ้นจากความร่วมมือของหน่วยงานภายในของทีเอ็มบี  คือ ทีม TMB Analytics และ ทีม Customer Experience & Insights  ผนึกองค์ความรู้ทางด้านเศรษฐกิจและด้านการวิจัยพฤติกรรมเชิงลึกของลูกค้า ประกอบกับการเชื่อมโยงข้อมูลที่มีประสิทธิภาพกับศูนย์วิเคราะห์วิจัยจากพันธมิตรอย่าง ไอเอ็นจี เพื่อการเก็บข้อมูลที่ได้กว้างมากพอที่จะนำมาศึกษาได้โดยละเอียด เพื่อให้ผลออกมาได้แม่นยำ

 

 

 

 

 

X

Right Click

No right click