November 10, 2024
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 810

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ CBS ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ หรือ MOU (Memorandum of Understanding) กับ บริษัท ฮาชิโมโตะ โซเกียว โฮลดิ้งส์ จำกัด (Hashimoto Sogyo Holdings Co., Ltd. (HAT) ซึ่งเป็นบริษัทค้าส่งด้านวัสดุก่อสร้างและอุปกรณ์แต่งบ้านที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น เพื่อเสริมสร้าง Global Mindset ให้แก่นิสิต ผ่านกิจกรรมต่างๆ รวมถึงการให้ทุนการศึกษาแก่นิสิต MBA Chula โดยมี ศ. ดร. วิเลิศ ภูริวัชร คณบดีคณะบัญชี จุฬาฯ และ นายมาซาอะกิ ฮาชิโมโตะ ประธาน บริษัทฮาชิโมโตะฯ ร่วมลงนาม ที่คณะบัญชี จุฬาฯ

รศ. ดร. ณัฐพล อัสสะรัตน์ ประธานหลักสูตรธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ MBA Chula เปิดเผยว่า ความร่วมมือกับ บริษัท ฮาชิโมโตะ โซเกียว โฮลดิ้งส์ จำกัด ถือเป็นก้าวสำคัญที่จะทำให้นิสิต MBA ได้มีโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมธุรกิจโลก การทำธุรกิจในตลาดระหว่างประเทศ รวมถึงการคิดข้ามวัฒนธรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิชา Global Business Experience และเป็นครั้งแรกที่มีองค์กรธุรกิจในต่างประเทศเป็นพันธมิตรร่วมส่งเสริมประสบการณ์ นอกเหนือจากพันธมิตรต่างประเทศที่เป็นองค์กรการศึกษา

ด้านนายมาซาอะกิ ฮาชิโมโตะ ประธาน บริษัทฮาชิโมโตะ โซเกียว โฮลดิ้งส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทค้าส่งที่เปิดดำเนินการมายาวนานกว่า 130 ปี กล่าวว่า บริษัทฯ มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยและโรงเรียนมัธยมหลายแห่งในญี่ปุ่น แต่ถือเป็นครั้งแรกที่มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ซึ่งจะเป็นจุดเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น

ตามข้อตกลงความร่วมมือระยะเวลา 5 ปี (2566-2571) ระหว่าง CBS และ HAT จะมีความร่วมมือทั้งทางด้านวิชาการ และการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ผ่านกิจกรรมต่างๆ ตลอดจนการทำวิจัยร่วมกัน โดยเฉพาะด้านซัพพลายเชน โดยบริษัท ฮาชิโมโตะ โซเกียว โฮลดิ้งส์ จำกัด มีเป้าหมายจะนำผู้แทนธุรกิจในเครือ และพันธมิตรทางธุรกิจมาเรียนรู้ทางด้านวิชาการในประเทศไทยเช่นเดียวกัน

ทั้งนี้ HAT ตกลงจะให้ทุนการศึกษาแก่นิสิต MBA Chula ปีละ 1 ทุน และมีโครงการแลกเปลี่ยน อาทิ การศึกษาดูงานของนิสิตในประเทศญี่ปุ่น การบรรยายเชิงวิชาการ การทำเวิร์กชอป การเข้าร่วมการประชุมของกลุ่มพันธมิตรธุรกิจอย่าง MIRAI-KAI และ MIRAI-ICHI

รศ. ดร. ณัฐพล กล่าวอีกว่า เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ได้นำนิสิตไปศึกษาดูงานในญี่ปุ่น ซึ่ง บริษัทฮาชิโมโตะ โซเกียว โฮลดิ้งส์ จำกัด เป็นหนึ่งในพันธมิตรที่ให้การสนับสนุนการศึกษาดูงาน เพื่อเปิดมุมมองทางความคิดที่หลากหลายเกี่ยวกับวัฒนธรรมการทำงานของธุรกิจ และภาพอนาคตของธุรกิจญี่ปุ่น

MBA Chula ยังคงเดินหน้าขยายความร่วมมือกับพันธมิตรต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้นิสิตได้เรียนรู้โลกของธุรกิจระหว่างประเทศที่ไม่หยุดนิ่งจากประสบการณ์จริง และนี่คือหนึ่งในความโดดเด่นของการเรียนการสอนในหลักสูตร MBA Chula ที่ก้าวสู่ทศวรรษที่ 5

 รศ.ดร.พสุ เดชะรินทร์ คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยในงาน The Flagship Summit : Future Fast – Forward ว่า ปี 2561 จะเป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงและเป็นปีแห่งโอกาส เพราะการเปลี่ยนแปลงเท่ากับโอกาสทางธุรกิจ ซึ่งคาดการณ์ว่าภาพรวม GDP เศรษฐกิจไทยในปีหน้าน่าจะเติบโตที่ 4.5% ขึ้นอยู่กับสถานการณ์เศรษฐกิจโลก ค่าเงินบาท และการเลือกตั้ง

โดยอุตสาหกรรมที่ได้รับอานิสงส์จากการเติบโตของเศรษฐกิจ และการสนับสนุนจากรัฐบาล ได้แก่ ธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจส่งออกด้านเกษตร อาหาร ชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์ ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์  โดยเฉพาะคอนโดมิเนียมที่อยู่ตามแนวโครงการรถไฟฟ้า

ในขณะที่อุตสาหกรรมสื่อสารบันเทิง ธุรกิจการเงิน ธุรกิจการสื่อสารโทรคมนาคม ธุรกิจค้าปลีก จะได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการก้าวล้ำของเทคโนโลยี AI, Fintech, Algorithmic Trading, Blockchain, Smart Data ข้อมูลที่แปลงสภาพมาจาก Big Data ที่พร้อมสำหรับนำไปใช้งาน นอกเหนือจากนี้ยังมี ช่องว่างระหว่างวัยในองค์กร, เทรนด์ธุรกิจ และพฤติกรรมผู้บริโภค เป็นต้น

การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ถือเป็นโอกาสทางธุรกิจ ดังนั้นองค์กรธุรกิจจึงต้องมีการปรับตัว ด้วยการเรียนรู้เทรนด์ทางกลยุทธ์ เช่น การสร้างตลาดใหม่ โดยที่ตลาดเดิมยังคงอยู่ สร้างความต้องการใหม่ๆ และการเพิ่มศักยภาพและผสมผสานการใช้งานเทคโนโลยี Digital Transformation หรือกลยุทธ์ในการสร้าง Shared Value รวมถึงการนำเอา Smart Data มาช่วยวางแผนกลยุทธ์ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูล ในขณะที่ต้องศึกษา Business Model ใหม่ๆ เช่น 020 (online to offline) ที่กำลังมาแรง ซึ่งการเรียนรู้เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด ไม่ว่าจะเป็นผู้นำ หรือพนักงานในองค์กรก็ตาม ต้องพร้อมที่จะเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องปรับตัว รวมถึงเร่งการลงทุนในด้านเทคโนโลยี และมองหาโอกาสการเติบโตให้กับธุรกิจ

ผู้นำองค์กรในปี 2561 จะต้องเป็นคนถ่อมตัวทางปัญญา พร้อมที่จะเรียนรู้ตลอดเวลา และยังต้องทันสมัย รู้ทันไม่หยุดนิ่งที่จะติดตามการเปลี่ยนแปลงต่างๆ รวมถึงเปิดใจยอมรับ เรียนรู้ต่อความแตกต่าง วิธีการใหม่ๆ หรือความล้มเหลว และยังต้องตัดสินใจจากข้อมูล ข้อเท็จจริง พร้อมที่จะปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ข้อมูลใหม่ๆ ทำงานเป็นทีม ไม่จำเป็นต้องรู้ทุกอย่าง และต้องมีการเคลื่อนไหว หรือมีการตัดสินใจที่รวดเร็ว

รศ.ดร.พสุ ให้สัมภาษณ์กับ MBA เพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางการจัดการเรียนการสอนของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ในปี 2561ว่า จะเน้นด้านนวัตกรรมทางด้านการเรียนการสอน ปรับปรุงสื่อออนไลน์ของคณะเพื่อให้บริการกับประชาชนทั่วไปและหน่วยงานธุรกิจเพิ่มเติมจากที่ให้ความรู้กับนิสิตของคณะ

ทางด้านการวิจัยจะเน้นงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้งานได้จริงมากขึ้น เป็นงานวิจัยที่มีผลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและธุรกิจ เช่น  ผู้นำในยุคดิจิทัลจะมีวิธีการปรับตัวอย่างไร เป็นต้น

ในส่วนของหลักสูตร คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชียกตัวอย่างว่า จะเห็นการปรับตัวครั้งใหญ่ของหลักสูตร MBA โดยจะร่วมมือกับมหาวิทยาลัย Victoria ประเทศแคนานา มหาวิทยาลัย Glasgow ประเทศสก็อตแลนด์ เปิดหลักสูตร Master of Global Business  (MGB)  ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รับความรู้ในระดับสากลเพิ่มมากขึ้น  

 

 

X

Right Click

No right click