November 23, 2024

นายวิลาศ เฉลยสัตย์ ผู้ว่าการ MEA หรือการไฟฟ้านครหลวง และดร.ธนวันต์ สินธุนาวา นายกสมาคมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เรื่อง การขับเคลื่อนสถานศึกษาคาร์บอนต่ำ (Low Carbon) โครงการ Energy Mind Award Season 2 ระหว่าง MEA และสมาคมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (ประเทศไทย) พร้อมมอบรางวัลกิจกรรมการประกวดคลิปสั้นหัวข้อ "การอนุรักษ์พลังงาน และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน โครงการ Energy Mind Award Season 2 " โดยมี นายสมบัติ จันทร์กระจ่าง รองผู้ว่าการ MEA เป็นผู้มอบรางวัล

นอกจากนี้ MEA เปิดสตูดิโอให้เยาวชนเยี่ยมชมการทำงานเบื้องหลังถ่ายทำผลิตรายการ และเยี่ยมชมศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้าชิดลมที่มีเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทันสมัยในการควบคุมระบบไฟฟ้าที่เรียกว่า ระบบ SCADA/EMS/DMS (Supervisory Control and Data Acquisition/Energy Management System/Distribution Management System) ใช้ในการตรวจสอบสถานะของการจ่ายกระแสไฟฟ้า วิเคราะห์สถานการณ์หรือสภาพการจ่ายกระแสไฟฟ้า การทำงานของระบบควบคุมไฟฟ้า ช่วยให้การบริหารจัดการควบคุมแรงดันและการจ่ายกระแสไฟฟ้ามีประสิทธิภาพ มีคุณภาพและมีความปลอดภัย ณ การไฟฟ้านครหลวง สำนักงานเพลินจิต

 

ผู้ว่าการ MEA กล่าวว่า MEA ในฐานะหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ให้ความสำคัญในด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายที่จะต่อยอดจากการดำเนินงานที่ผ่านมา โดยพัฒนาสถานศึกษาทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่เข้าร่วมโครงการฯ ให้ก้าวไปสู่การเป็นสถานศึกษาต้นแบบด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม สร้างเสริมนักเรียนให้เป็นเยาวชนที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และเป็นนักเรียนแกนนำด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ปลูกฝังและสร้างเยาวชนรุ่นใหม่หัวใจสีเขียว (Green Youth) ส่งมอบสู่สังคมไทย เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่สังคมต่อไป

เมื่อเร็วๆ นี้ มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการทดลองนำร่องการสนับสนุนสถานศึกษา เพื่อกระจายการเพิ่มศักยภาพของคนพิการ ระหว่างกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเจ้าภาพ กับมหาวิทยาลัยเครือข่าย ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยมีนายอนุกูล ปิดแก้ว ปลัดกระทรวง พม. เป็นประธานในพิธี เพื่อเสริมสร้างความรู้ ทักษะและสนับสนุนการฝึกอบรมฝึกงานเพื่อการพัฒนาศักยภาพในการประกอบอาชีพของคนพิการ และ ส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย การสร้างนวัตกรรม การสร้างสิ่งประดิษฐ์ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการส่งเสริมการทำงานแก่คนพิการ รวมถึงการใช้ชีวิตประจำวัน โดยงานดังกล่าวจัดขึ้น ณ ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ

รัฐบาลไทยและไมโครซอฟท์ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือภายใต้วิสัยทัศน์ในการยกระดับประเทศไทยให้มุ่งสู่ก้าวต่อไปกับนวัตกรรมดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยข้อตกลงฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะนำเทคโนโลยีคลาวด์และ AI ที่เปี่ยมประสิทธิภาพจากไมโครซอฟท์มาเสริมความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของประเทศไทย สร้างโอกาสใหม่ๆ ในการจ้างงานที่ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย และปูทางให้ประเทศไทยมุ่งสู่ความเป็นผู้นำในระดับภูมิภาค ทั้งในด้านนวัตกรรมดิจิทัลและความยั่งยืน

ในโอกาสนี้ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และนายสัตยา นาเดลลา ซีอีโอของไมโครซอฟท์ ได้ร่วมพบปะหารือกันที่เมือง ซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา เพื่อร่วมพูดคุยถึงจุดประสงค์ของบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฉบับดังกล่าว ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

· ขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยนวัตกรรมดิจิทัล

ไมโครซอฟท์จะทำงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานภาครัฐเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่สอดคล้องกับนโยบายด้านรัฐบาลดิจิทัลและการใช้บริการระบบคลาวด์ภาครัฐ หรือ Cloud First ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยมุ่งเน้นไปที่การสนับสนุนภาคการเกษตร สาธารณสุข การท่องเที่ยว และการศึกษา นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังจะร่วมพิจารณาแผนการลงทุนก่อสร้างศูนย์ข้อมูล (Data Center) ในประเทศไทย เพื่อยกระดับการใช้งานคลาวด์และ AI ต่อไปในอนาคต และพร้อมกันนี้ ไมโครซอฟท์จะให้การสนับสนุนกับรัฐบาลไทยในด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ด้วยการนำเสนอแนวทางการปฏิบัติที่ดีที่สุด พร้อมด้วยความเชี่ยวชาญจากบุคลากรชั้นนำของบริษัท

 · ปูทางสู่อนาคตที่ขับเคลื่อนด้วย AI

ไมโครซอฟท์จะทำงานร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมในการพัฒนาและผสมผสานเทคโนโลยี AI เข้ากับโครงการด้านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) และบริการสาธารณะต่างๆ เพื่อประโยชน์แก่คนไทย นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังมีแผนที่จะร่วมกันจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศเชิงกลยุทธ์ด้าน AI (AI Center of Excellence) เพื่อยกระดับโครงการที่ใช้เทคโนโลยี AI ของภาครัฐ จัดทำโรดแมปที่จะช่วยให้การนำเทคโนโลยี AI มาใช้งานเกิดขึ้นได้จริง และส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมในภาคส่วนและอุตสาหกรรมต่างๆ ยิ่งไปกว่านั้น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมยังจะร่วมหารือกับไมโครซอฟท์เกี่ยวกับการกำหนดทิศทางนโยบายและกรอบการกำกับดูแล เพื่อให้ทุกภาคส่วนสามารถนำ AI มาใช้งานได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ

· เสริมทักษะคนไทยเพื่อชีวิตในยุคหน้า

ไมโครซอฟท์จะสานต่อพันธกิจในการยกระดับทักษะแห่งอนาคตสำหรับคนไทยกว่า 10 ล้านคน ผ่านทางความร่วมมือกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมและหน่วยงานอื่นๆ โดยครอบคลุมทักษะสำคัญในหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นภาษาที่สองเพื่อการสื่อสารหรือความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยีขั้นพื้นฐาน ไปจนถึงการฝึกฝนนักพัฒนานวัตกรรมรุ่นใหม่ในทุกสายอาชีพ (Citizen Developers) ในรูปแบบที่เปิดให้ประชาชนสามารถเข้าถึงโอกาสในการเรียนรู้ได้อย่างทั่วถึงยิ่งขึ้น

· ยกระดับประเทศไทยสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน

หน่วยงานภาครัฐของไทยจะทำงานร่วมกับไมโครซอฟท์เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี พ.ศ. 2608 ผ่านทางการสร้างพื้นที่ทดสอบสำหรับการพัฒนานวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Sandbox) เพื่อให้เกิดประโยชน์กับทุกภาคส่วน นับตั้งแต่ภาครัฐ องค์กรเอกชนขนาดใหญ่ ไปจนถึงผู้ประกอบการรายย่อย นอกจากนี้ ไมโครซอฟท์ยังมีแผนที่จะนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้งานเต็ม 100% ในโครงการและแผนการลงทุนในอนาคตอีกด้วย

 

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า “พันธกิจของประเทศไทย นับตั้งแต่ด้านการสร้างสรรค์อนาคตที่ยั่งยืนไปจนถึงการใช้พลังงานหมุนเวียน นับว่ามีทิศทางที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของไมโครซอฟท์ โดยความร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยเสริมสร้างทั้งความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจและศักยภาพเชิงดิจิทัลของประเทศไทยไปพร้อมกัน”

นายอาเหม็ด มาซารี ประธาน ไมโครซอฟท์ เอเชีย กล่าวเสริมอีกว่า “เทคโนโลยี AI มีบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งในการกำหนดทิศทางและวิธีการทำงานของทั้งผู้คนและองค์กรทั่วโลก สำหรับประเทศไทยนั้น แผนปฏิบัติการของรัฐบาลได้วางเป้าหมายในการนำ AI มาขับเคลื่อนให้เกิดประโยชน์กับทุกภาคส่วนเป็นมูลค่ากว่า 48,000 ล้านบาท ภายในปี พ.ศ. 25701 และเราก็มีความยินดีอย่างยิ่งที่จะได้ทำงานอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้นกับรัฐบาลไทยเพื่อมุ่งสู่อนาคตที่มี AI เป็นนวัตกรรมคู่คิดของประเทศไทย”

การใช้งานโครงข่ายเทคโนโลยี 5G mmWave ด้วยคลื่นความถี่ย่าน 26 GHz

สมาคมส่งเสริมนวัตกรรมเทคโนโลยีไซเบอร์ หรือ CIPAT (Cyber Innovation Promotion Association of Thailand) ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) ร่วมกับ ฟอร์ติเน็ต ผู้นำระดับโลกด้านโซลูชันการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์แบบอัตโนมัติและครบวงจร เพื่อความร่วมมือด้านการฝึกอบรมทักษะไซเบอร์ซีเคียวริตี้แก่หน่วยงานและองค์กรต่างๆ ของภาครัฐ ด้วยวัตถุประสงค์ในการผลิตและเพิ่มจำนวนบุคลากรรุ่นใหม่ที่มีความรู้ด้านการรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์ในระดับมืออาชีพ ด้วยหลักสูตรการอบรมระดับนานาชาติอันเข้มข้นของฟอร์ติเน็ต

อดิศร นิลวิสุทธิ์ นายกสมาคมส่งเสริมนวัตกรรมเทคโนโลยีไซเบอร์ หรือ CIPAT (Cyber Innovation Promotion Association of Thailand) กล่าวว่า ในความร่วมมือกับฟอร์ติเน็ต ทาง CIPAT มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมและให้การสนับสนุนการพัฒนากำลังคนทางด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ และสร้างความตระหนักรู้ให้กับหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ในประเทศไทยอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อทั้งองค์กรและบุคลากรได้รู้เท่าทันทั้งในด้านเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งในด้านการป้องกันการโจมตีบนไซเบอร์ร่วมกับฟอร์ติเน็ต ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญชั้นแนวหน้าด้านการป้องกันการโจมตีบนไซเบอร์ และมีสถาบันการการฝึกอบรมด้านการป้องกันในระดับโลก

“ในการฝึกอบรม เราวางแผนที่จะมีทั้งการฝึกอบรมทั้งในแบบหลักสูตรพื้นฐานทั่วไปและแบบเจาะลึก ซึ่งในส่วนของการเจาะลึก เราอาจจะมีการทำหลักสูตรในการผลิตกำลังคนทางไซเบอร์ร่วมมือกับทางฟอร์ติเน็ต อีกทั้งอาจเป็นการร่วมภาคี

เครือข่ายกับภาครัฐ และกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ในอนาคต ในการทำงาน CIPAT ยังมองถึงความร่วมมือกับหน่วยงานหรือกระทรวงที่มีหน้าที่ในการพัฒนาคนของประเทศเป็นหลัก เช่น กระทรวงแรงงาน หรือภาคมหาวิทยาลัยที่มีการเปิดหลักสูตรด้านไซเบอร์ เพื่อเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างบุคลากรด้านการรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์ให้ได้มากที่สุด เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อทุกภาคส่วนการทำงานในประเทศ” อดิศร กล่าว

ทั้งนี้ สมาคมส่งเสริมนวัตกรรมเทคโนโลยีไซเบอร์ หรือ CIPAT จัดตั้งขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ในการสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบกิจการและกลุ่มนักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ อีกทั้งยังสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการฝึกอบรม ค้นคว้าแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ เพื่อก่อให้เกิดความร่วมมือด้านการใช้งานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยบนไซเบอร์ รวมถึงใช้ไอซีทีเสริมภาพลักษณ์ประเทศที่เป็นมาตรฐานระดับสากล

ภัคธภา ฉัตรโกเมศ ผู้จัดการประจำประเทศไทย ฟอร์ติเน็ต กล่าวว่า ฟอร์ติเน็ตตระหนักถึงทั้งปัญหาภัยคุกคามที่เพิ่มมากขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาอย่างรวดเร็วด้านเทคโนโลยี และปัญหาปริมาณความต้องการบุคลากรที่มีพื้นฐานความรู้ความสามารถด้านการรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์ที่เพิ่มมากขึ้น ฟอร์ติเน็ตจึงร่วมมือกับสมาคมส่งเสริมนวัตกรรมเทคโนโลยีไซเบอร์ (CIPAT) เพื่อร่วมกันให้การฝึกอบรมเพื่อสร้างจำนวนคนที่มีความรู้ ความสามารถด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นแรงสนับสนุนและแนวป้องกันความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพให้กับการทำงานและการดำเนินธุรกิจของทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ตลอดจนถึงภาคอุตสาหกรรมให้สามารถดำเนินงานได้อย่างปลอดภัย

“หลักสูตรการฝึกอบรมของฟอร์ติเน็ตมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มทักษะและความสามารถในด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ทั้งเพื่อเป็นการ Upskills ให้กับผู้เข้าอบรม และเพื่อเป็นการลดช่องว่างด้านทักษะ (Skill Gap) ด้านการรักษาความปลอดภัยให้น้อยลง ซึ่งการฝึกอบรมสามารถเป็นไปในหลากหลายรูปแบบ ทั้งการเรียนกับผู้ให้การอบรม การฝึกอบรมผ่านเวอร์ชวล รวมถึงการเรียนผ่านห้องปฏิบัติการ (Labs) ด้านต่างๆ อีกด้วย” ภัคธภา กล่าว จากรายงานผลการวิจัย 2023 Global Cybersecurity Skills Gap Report ของฟอร์ติเน็ต พบว่า ผลของการขาดผู้ดูแลตำแหน่งงานไอทีเนื่องมาจากการขาดแคลนทักษะด้านไซเบอร์ ทำให้องค์กรกว่า 68% ทั่วโลก ต้องเผชิญกับความเสี่ยงทางไซเบอร์เพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

Page 1 of 10
X

Right Click

No right click