November 14, 2024

 

 ไพโรจน์ ชื่นครุฑ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านธุรกิจสินเชื่อยานยนต์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เปิดเผยภาพรวมตลาดรถยนต์ไทยในช่วงครึ่งปีแรกขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะยอดขายรถยนต์ใหม่ที่เติบโตกว่า 19 % สูงกว่าที่คาดการณ์เมื่อต้นปี ขณะที่ตลาดมอเตอร์ไซค์ลดลง 2 % จากราคาสินค้าเกษตรที่ยังไม่ขยับตัวขึ้น รถยนต์มือสองเติบโต 5 % จากการมีรถที่มีคุณภาพดีเข้าสู่ตลาดมากขึ้น

จากภาพด้านบนส่งผลให้ตลาดสินเชื่อเติบโตตามไปด้วย โดยกรุงศรี ออโต้มียอดสินเชื่อใหม่อยู่ที่  102,100 ล้านบาท  เติบโต 31% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์สินเชื่อรถยนต์ใหม่เติบโตถึง 41% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ในขณะที่ยอดสินเชื่อคงค้างรวมใน 6 เดือนแรกของปีที่เติบโตทะลุเป้าหมายทั้งปีที่วางไว้345,000 ล้าน โดยมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 353,000 ล้านบาท รวมทั้งสามารถรักษาอัตราสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ให้อยู่ในระดับเดียวกับตลาดที่ 1.5%

จากผลการดำเนินงานในครึ่งปีแรก ประกอบกับสภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศที่ยังมีแนวโน้มที่ดี ทำให้กรุงศรี ออโต้ ปรับเป้าหมายการเติบโตของปี 2561 ในทุกด้าน โดยตั้งเป้ายอดสินเชื่อใหม่ที่ 198,600 ล้านบาท หรือเติบโต 20% จากปีก่อนหน้า พร้อมเพิ่มเป้ายอดสินเชื่อคงค้างรวมที่ 378,000 ล้านบาท หรือเติบโต 17% ซึ่งจะช่วยรักษาส่วนแบ่งการตลาดที่ 25 % ไว้ได้อย่างแน่นอน

ไพโรจน์ เล่าถึงกลยุทธ์ที่สนับสนุนการดำเนินงานของกรุงศรี ออโต้ โดยหลักคือ การสร้างความผูกพันกับผู้บริโภค โดยมาจาก 4 องค์ประกอบ คือ การเข้าถึงลูกค้าผ่านการสื่อสารแบบ Always-on โดยใช้เครื่องมือทางออนไลน์ต่างๆ ทำให้ลูกค้าสามารถติดต่อกับบริษัทได้ 24 ชั่วโมง โดยในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้จะมีการเปิดผลิตภัณฑ์ออนไลน์ใหม่อีกด้วย การบริการที่เจาะลึกถึงกลุ่มเป้าหมาย โดยในช่วงครึ่งปีแรกเน้นที่พนักงานประจำ ซึ่งในช่วงครึ่งปีหลังจะเน้นในกลุ่มอื่นเพิ่มตามมา การมัดใจลูกค้าด้วยข้อเสนอพิเศษ ด้วยการนำเสนอโปรโมชันพิเศษร่วมกับผู้ผลิตรถยนต์ผ่านช่องทางออนไลน์ และในช่วงครึ่งปีหลังจะมีการเพิ่มพันธมิตรมาร์เก็ตเพลสออนไลน์เพิ่มขึ้น และ การจัดโซนนิ่งสินเชื่อมอเตอร์ไซค์ ซึ่งมีความต้องการต่างจากสินเชื่อรถยนต์ ทำให้เข้าถึงลูกค้าได้เพิ่มขึ้น

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) รายงานโดยคาดมูลค่าการส่งออกทั้งปี 2561 จะขยายตัวที่ 8.5 % โดยได้รับแรงขับเคลื่อนจากทั้งเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มขยายตัวและราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม การส่งออกสินค้าของไทยในระยะต่อไปมีแนวโน้มเติบโตชะลอลง หลังการผลิตภาคอุตสาหกรรมของโลกเติบโตช้าลงสะท้อนผ่านดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (Global Manufacturing PMI) ที่ชะลอลงตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมาและลงมาแตะระดับต่ำสุดในรอบ 10 เดือนที่ 53.0 ในเดือนมิ.ย. นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงสงครามการค้าที่ต้องจับตาในกรณีที่มีมาตรการและการตอบโต้ออกมามากขึ้น แม้ในปัจจุบันผลต่อการส่งออกไทยในปี 2018 ยังมีค่อนข้างจำกัด

ขณะที่มูลค่าการนำเข้าทั้งปี 2561 EIC ประเมินไว้ว่าจะขยายตัวที่ 13.5 % โดยเติบโตตามความต้องการสินค้าวัตถุดิบและสินค้าทุน ซึ่งมีแนวโน้มขยายตัวตามการส่งออก การลงทุนในประเทศทั้งจากภาครัฐและเอกชนที่คาดว่าจะฟื้นตัวดีขึ้นในช่วงหลังจากนี้ ประกอบกับมูลค่าการนำเข้าสินค้าเชื้อเพลิงที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมัน ซึ่งอีไอซีประเมินว่าการเพิ่มสูงขึ้นของมูลค่าการนำเข้าน้ำมันในปีนี้มีส่วนสำคัญที่ทำให้ดุลการค้าและดุลบัญชีสะพัดมีแนวโน้มลดลงจากปีก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม อีไอซีคาดว่าการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยในปี 2018 ยังอยู่ในระดับสูงที่ราว 8% ต่อ GDP ซึ่งสะท้อนถึงเสถียรภาพระหว่างประเทศที่อยู่ในเกณฑ์ดี

ทั้งนี้ตัวเลขการส่งออกไทยในเดือนมิ.ย. ขยายตัวต่อเนื่องที่ 8.2% YOY โดยสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน อาทิ  น้ำมันสำเร็จรูป และเคมีภัณฑ์และพลาสติก ที่เติบโต 23.5%YOY และ 13.6%YOY ตามลำดับ สินค้าอุตสาหกรรมหลักยังคงเติบโตได้ดี ได้แก่ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และรถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ที่ยังขยายตัวต่อเนื่องที่ 12.0%YOY และ 7.4%YOY ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม การส่งออกยางพารายังคงหดตัว 10.4%YOY จากราคาตลาดโลกที่ตกต่ำ การส่งออกอุปกรณ์กึ่งตัวนำ (แผงโซลาร์) โดยรวมลดลง 21.8%YOY สาเหตุสำคัญมาจากมาตรการเก็บภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ (safeguard tariff) ซึ่งส่งผลให้การส่งออกอุปกรณ์กึ่งตัวนำไปยังสหรัฐฯ หดตัวที่ 84.6%YOY อย่างไรก็ดี มูลค่าการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ของสินค้าอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการภาษีของสหรัฐฯ ได้แก่ เครื่องซักผ้า เครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ และเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ยังขยายตัวได้ที่ 4.7%YOY และ 24.9%YOY ตามลำดับ เนื่องจากราคารวมอัตราภาษีดังกล่าวของสินค้าส่งออกไทยยังอยู่ในระดับที่แข่งขันได้ ประกอบกับผู้ผลิตเหล็กบางรายได้รับการยกเว้นภาษีจากสหรัฐฯ ทั้งนี้ การส่งออกสินค้าทั้ง 2 กลุ่มดังกล่าวในภาพรวมยังขยายตัวอยู่ที่ 5.0%YOY และ 21.4%YOY ตามลำดับ ทั้งนี้ การส่งออกในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2018 เติบโตที่ 11.0%YOY

ด้านมูลค่าการนำเข้าเดือนมิ.ย. ยังเติบโตต่อเนื่องที่ 10.8% YOY จากการนำเข้าสินค้าในกลุ่มสินค้าเชื้อเพลิงที่เติบโตกว่า 49.9%YOY ตามราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ด้านการนำเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ยังขยายตัวที่ 23.1%YOY ตามแนวโน้มการส่งออกที่เพิ่มขึ้นในสินค้ากลุ่มดังกล่าว ขณะที่การนำเข้าสินค้าทุน (ไม่รวมเครื่องบินและเรือ) ขยายตัว 15.2%YOY ทั้งนี้ การนำเข้าในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2018 เติบโตที่ 15.6%YOY

 

X

Right Click

No right click