September 08, 2024

ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้มอบหมายให้ ดร.กร จันทรวิโรจน์ ที่ปรึกษาเลขานุการรัฐมนตรีกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานเปิดงาน “U2T for BCG บทเรียนจากอดีต สู่ความต่อเนื่องยั่งยืน” ที่ศูนย์สินค้าและผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ (IN-C Coffee) มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ต.แม่ทราย อ.ร้องกวาง จ.แพร่ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งพื้นที่เป้าหมายจัดแสดงสินค้าออกสู่ตลาดผู้บริโภค เพื่อขยายโอกาส เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและพัฒนาช่องทางการตลาดทั้งออฟไลน์และออนไลน์ให้แก่ผู้ประกอบการในภาคธุรกิจและภาคบริการต่างๆ นอกจากนี้ยังถือเป็น 1 ใน 4 จังหวัดเป้าหมายประกอบด้วย จ.แพร่ จ.ชลบุรี จ.ระยอง และจ.จันทบุรี ที่ อว.จะถอดบทเรียนโครงการ U2T for BCG ที่ผ่านมาตั้งแต่เริ่มโครงการถึงปัจจุบันว่ามีข้อดี ข้อเสียอย่างไร และจะนำมาปรับปรุงอย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้นในอนาคต

โดย ดร.กร จันทรวิโรจน์ ที่ปรึกษาเลขานุการรัฐมนตรีกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า กิจกรรมโครงการส่งเสริมการตลาดเพื่อประชาสัมพันธ์และแนะนำผลิตภัณฑ์สินค้า U2T for BCG เป็นโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ หรือ โครงการ U2T โดยมีมหาวิทยาลัยในพื้นที่เป็นหน่วยบูรณาการโครงการ (System Integrator) การจ้างงาน การฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่มีความครอบคลุมในประเด็นต่าง ๆ ตามปัญหาและความต้องการของชุมชน

ทั้งนี้ งานวันที่ 8 พ.ค.นี้ มีการเสวนาในหัวข้อ “U2T for BCG บทเรียนจากอดีต สู่ความต่อเนื่องยั่งยืน” โดยผู้แทนเครือข่ายการดำเนินงานของ อว.(คลินิกเทคโนโลยี/Science park /OTOP /UBI) มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ และตัวแทนผู้ประกอบการด้วย

“ผมหวังว่าการร่วมกันถอดบทเรียนภาพรวมผลการดำเนินงานในพื้นที่ภาคเหนือที่ผ่านมา จะนำปัญหาและอุปสรรคที่พบระหว่างการดำเนินงานมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน เพื่อเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนกลไกการดำเนินงานและพัฒนาโครงการฯ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงเป็นการบูรณาการ

การทำงานร่วมกันของเครือข่าย อว. เพื่อยกระดับเศรษฐกิจ สังคม พร้อมขจัดปัญหาความยากจนในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคอื่นๆ ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมสร้างชีวิตใหม่ สร้างผู้ประกอบการมืออาชีพในแต่ละตำบล และทำให้เกิดการสานต่อผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม”

ดร.กร กล่าวว่า ที่ผ่านมา อว.ได้เห็นศักยภาพในแต่ละพื้นที่ แต่ละตำบลว่ามีศักยภาพ ทั้งในด้านทุนทางมนุษย์ ทุนประวัติศาสตร์ ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางสังคม ทุนทางประเพณีวัฒนธรรม และทุนอื่นๆ มากมาย ที่นำมาสร้างสรรค์สู่การพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนและยกระดับให้เกิดมาตรฐานต่างๆ มากขึ้น พร้อมทั้งยังทำให้ผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนเข้าถึงผู้บริโภคทั่วประเทศได้มากขึ้น ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เป็นสินค้า BCG เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย

อย่างไรก็ตาม ภายในเดือนนี้ อว.ก็พร้อมปูพรมกิจกรรม “U2T for BCG บทเรียนจากอดีต สู่ความต่อเนื่องยั่งยืน” ต่อเนื่องในทุกพื้นที่จังหวัดภาคตะวันออกด้วย โดยวันที่ 10 พ.ค.จะจัดที่มหาวิทยาลัยบูรพา ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี วันที่ 11 พ.ค.จัดที่หมู่บ้านเอื้ออาทรระยอง(วังหว้า) ต.วังหว้า อ.แกลง จ.ระยอง และวันที่ 12 พ.ค.จัดที่มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ต.ท่าช้าง อ.เมือง จ.จันทบุรี

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) โชว์แผนงาน โครงการ และกิจกรรมส่งเสริมสินค้านวัตกรรมและการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าไทยปี 66

เอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ เอสซีจีซี (SCGC) ธุรกิจเคมีภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน ตอบรับนโยบายเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economy)

ศูนย์บริการวิชาการสังคม สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนตัดเย็บบ้านดง อ. อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น

ดร.ชาญชัย สิริเกษมเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เปิดเผยว่า ปัจจุบันกระแสโลกกำลังให้ความสำคัญสินค้าและอุตสาหกรรมที่เป็นไปตามมาตรฐานของโมเดล เศรษฐกิจ BCG หรือการพัฒนา 3 เศรษฐกิจ ประกอบด้วย 1.เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) 2.เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) 3.เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) มีเนื้อหาสำคัญคือกระบวนการผลิตที่เอื้อต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ปล่อยมลพิษเกินค่ามาตรฐาน และสามารถใช้ผลผลิตด้านเกษตรกรรมหรือด้านชีวภาพมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตเพื่อลดผลกระทบต่อสภาวะโลกร้อน ความปลอดภัยของมนุษย์ ตลอดจนสามารถนำกลับมาผลิตซ้ำหรือใช้หมุนเวียนต่อไปได้ ซึ่งอุตสาหกรรมสิ่งทอจำเป็นต้องปรับตัวให้สอดรับกับกระแสตลาดโลกที่เกิดขึ้นเพื่อความอยู่รอด แต่ปัญหาที่พบคือ ตลอดกระบวนการผลิตจำเป็นต้องใส่ใจเก็บข้อมูลรอบด้านด้วยความละเอียด เพื่อยืนยันว่าผู้ประกอบการมีกระบวนการที่ใส่ใจต่อการปล่อยมลพิษ และเป็นไปตามโมเดล BCG ซึ่งต้องใช้ต้นทุนสูงในการจัดหาอุปกรณ์ กำลังคน รวมถึงปรับเปลี่ยนโครงสร้างธุรกิจเพิ่มเติม เช่น จุดเด่น ความปลอดภัย ลดมลพิษ โดยเฉพาะคาร์บอนฟุตพริ้นท์ หรือปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์แต่ละหน่วย ตลอดวัฎจักรของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การประกอบชิ้นงาน การกระจายสินค้า การใช้งาน และการจัดการของเสียหลังหมดอายุการใช้งาน รวมถึงการขนส่งที่เกี่ยวข้อง โดยคำนวณออกมาตามปริมาณกรัม กิโลกรัม หรือตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า เพื่อให้ได้ใบรับรองตามมาตรฐานกำหนด

การได้มาซึ่งใบรับรองดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการรายเล็กหรือธุรกิจ SME โดยตรง หากไม่ปฏิบัติตาม สินค้าก็ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด หน่วยงานภาครัฐโดยสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) จึงจัดเตรียมงบประมาณเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง โดยปี 2565 เตรียมงบประมาณช่วยเหลือไว้ 300-400 ล้านบาท แต่ที่ผ่านมา ผู้ประกอบการยังเข้าไม่ถึงทุนสนับสนุนดังกล่าว สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอจึงทำหน้าที่เป็นผู้ประสานและที่ปรึกษาให้กับผู้ประกอบการในการเข้าถึงทุนเพื่อเปลี่ยนแปลงธุรกิจให้อยู่รอดต่อไปในอนาคต ผ่านโครงการส่งเสริมผู้ประกอบการผ่านระบบ BDS (BUSINESS DEVELOPMENT SERVICE) โดยแบ่งเป็นการสนับสนุนทุนผู้ประกอบการ


ดร.ชาญชัย กล่าวว่า โครงการดังกล่าวมุ่งเน้นผู้ประกอบการรายเล็ก เพื่อการปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลงที่กำลังใกล้เข้ามา โดยเฉพาะการทำใบรับรองเรื่องคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ตลอดจนกระบวนการผลิตที่เป็นไปตามมาตรฐาน BCG แบบครบวงจร มีค่าใช้จ่ายประมาณ 400,000-500,000 บาท สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอจึงทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการ เพื่อนำไปสู่การเข้าถึงแหล่งเงินทุนต่างๆ พร้อมแนะนำตั้งแต่การเพิ่มผลผลิต การพัฒนาและบริหารธุรกิจ การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสินค้า และบริการ การพัฒนาช่องทางการจำหน่ายและการตลาด รวมถึงการพัฒนาตลาดต่างประเทศ ทั้งนี้ปัญหาที่พบคือ ผู้ประกอบการหลายรายไม่ทราบว่ามีโครงการช่วยเหลือดังกล่าว รวมถึงผู้ประกอบการหลายรายยังไม่ยอมปรับตัว ทำให้สินค้าไม่ได้รับการยอมรับจากตลาดต่างประเทศ เนื่องจากไม่มีใบรับรองตามมาตรฐานสากลในด้าน BCG



“ส่วนตัวอยากให้ผู้ประกอบการตื่นตัวในเรื่องธุรกิจ BCG อย่ารอให้การแข่งขันเข้มข้นสูงเกิดขึ้นก่อนแล้วค่อยปรับตัว อาจสายเกินไป สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ พร้อมให้ความรู้และส่งเสริมทุกกระบวนการผลิต ตลอดจนทดสอบสินค้าด้วยเทคโนโลยีมาตรฐานภายใต้ห้องแลปใหญ่ที่สุดในอาเซียน เพื่อผลักดันให้ธุรกิจสิ่งทอไทยอยู่รอด และผ่านพ้นความเปลี่ยนแปลงที่กำลังมาถึง” ดร.ชาญชัย กล่าวทิ้งท้าย

 
 
Page 1 of 5
X

Right Click

No right click