February 22, 2025
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 6855

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะช่วงเดือนมกราคม ปัญหามลพิษทางอากาศจาก “ฝุ่น PM2.5” กลายเป็นสิ่งที่คนไทยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ โดยเฉพาะเมื่อค่าฝุ่นมักเกินมาตรฐานบ่อยครั้ง ปัญหานี้ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในหลายด้าน เช่นการท่องเที่ยวและการประกอบอาชีพต่าง ๆ จึงทำให้ประเด็นนี้เป็นที่พูดถึงอย่างกว้างขวาง ทั้งในแง่ของผลกระทบที่เกิดขึ้น มาตรการการแก้ไขจากภาครัฐและภาคเอกชน รวมไปถึงกระแสความสนใจที่เพิ่มขึ้นในยุคที่วิกฤตการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

บริษัท ดาต้าเซ็ต จำกัด ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้โซเชียลมีเดีย เรื่องเกี่ยวกับปัญหาฝุ่น PM2.5 ในช่วงวันที่ 1-31 มกราคม 2568 โดยใช้เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูล DXT360 ซึ่งเป็นระบบติดตามและรวบรวมข้อมูลแบบครบวงจร ครอบคลุมทั้งโซเชียลมีเดียและสื่อดั้งเดิม (เว็บไซต์ข่าว โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร)

จากข้อมูลพบว่าผู้ใช้โซเชียลมีเดียต้องการเห็นการแก้ปัญหาที่เป็นรูปธรรมและมาตรการที่มีประสิทธิภาพจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากขึ้น โดยมีการกล่าวถึง (Mention) รัฐบาล มากที่สุด (35%) ต้องการให้เร่งแก้ไขปัญหาฝุ่นและบังคับใช้มาตรการจัดการมลพิษอย่างเด็ดขาด รวมไปถึงการจัดสรรงบประมาณในการแก้ไขปัญหา

หน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อม (25%) อาทิ กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ถูกกล่าวถึงในเรื่องการติดตามและรายงานสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ที่ดูเหมือนเป็นเพียงการแจ้งเตือนค่าฝุ่นและให้คำแนะนำในการป้องกันตัว แต่ขาดมาตรการเชิงรุกในการป้องกัน ควบคุมและติดตามแหล่งกำเนิดมลพิษ

หน่วยงานด้านการขนส่ง (15%) อาทิ กระทรวงคมนาคม, ขสมก., รฟม. ถูกกล่าวถึงในประเด็นการจัดการระบบขนส่งสาธารณะ โดยเฉพาะมาตรการเดินทางฟรีตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งมีการวิพากษ์วิจารณ์ในส่วนของการบริการที่ยังไม่ครอบคลุม เช่น เส้นทางยังไม่สามารถเข้าถึงในทุกพื้นที่ รวมถึงรถเมล์พลังงานไฟฟ้าหลายสายไม่ได้เข้าร่วมโครงการ ทำให้คนส่วนใหญ่ใช้บริการรถเมล์พลังงานเชื้อเพลิงซึ่งก็ก่อให้เกิดมลพิษอยู่ดี

กรุงเทพฯ และหน่วยงานท้องถิ่น (10%) ถูกกล่าวถึงในแง่ของการนำนโยบายไปปรับใช้และการดูแลพื้นที่รับผิดชอบ รวมไปถึงกล่าวถึงมาตรการอื่นๆของ กทม. ซึ่งประชาชนมองว่าเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ

หน่วยงานด้านสาธารณสุข (7%) อาทิ กระทรวงสาธารณสุข และ โรงพยาบาล ประชาชนต้องการเพิ่มมาตรการแจ้งเตือนข้อมูลเรื่องสุขภาพและให้คำแนะนำในการปฎิบัติตนเมื่อพบเจอฝุ่น PM2.5 โดยเผยแพร่ข้อมูลผ่านช่องทางต่างๆ เพื่อให้ประชาชนสามารถดูแลและป้องกันตนเองได้อย่างถูกต้อง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความใส่ใจในการดูแลสุขภาพของประชาชน

นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานอื่น ๆ (8%) ที่ถูกกล่าวถึงในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับฝุ่น PM2.5

เสียงสะท้อนโซเชียลกับมาตรการแก้ปัญหาฝุ่นของภาครัฐ

· รถไฟฟ้าฟรีตอบโจทย์จริงหรือ?

รถไฟฟ้าและรถโดยสารสาธารณะฟรี: ผู้ใช้โซเชียลมีเดียส่วนใหญ่มองว่าเป็นมาตรการที่ใช้งบประมาณสูงและแก้ปัญหาได้เพียงชั่วคราว ไม่ได้แก้ไขที่ต้นเหตุของปัญหา PM2.5 อย่างแท้จริง อีกทั้งประชาชนบางส่วนไม่สามารถเข้าถึงบริการได้เนื่องจากเส้นทางมีจำกัด แม้จะช่วยลดปริมาณรถยนต์ส่วนตัวได้บางส่วน แต่ยังไม่เพียงพอต่อการแก้ปัญหา ซึ่งประชาชนมองว่าควรพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะให้มีประสิทธิภาพและครอบคลุมในระยะยาวมากกว่า

· เรียน Online กระทบหนัก! ผลักภาระให้ทั้งผู้ปกครองและโรงเรียน

มาตรการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ แม้จะช่วยลดความเสี่ยงด้านสุขภาพของนักเรียนได้ แต่กลับพบปัญหาหลายประการ ทั้งเรื่องความพร้อมของอุปกรณ์และอินเทอร์เน็ต ผล กระทบต่อคุณภาพการเรียนการสอน และการสร้างภาระให้ผู้ปกครองในการดูแลบุตรหลาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่เหมาะสำหรับเด็กเล็กที่ต้องการการเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์ อีกทั้งบางโรงเรียนไม่ได้บังคับให้เรียนออนไลน์หรือหยุดการเรียนการสอน ส่งผลให้มีเด็กนักเรียนและผู้ปกครองบางส่วนเกิดความสับสน

· เมื่อ Work From Home ไม่ใช่ทางเลือก (ได้) ของทุกอาชีพ

มาตรการขอความร่วมมือ Work From Home เป็นมาตรการที่ช่วยลดการเดินทางและการสัมผัสฝุ่นได้ในระดับหนึ่ง แต่มีข้อจำกัดเพราะไม่สามารถปรับใช้กับทุกอาชีพ อีกทั้งเป็นแค่การขอความร่วมมือ บางองค์กรไม่มีนโยบายให้พนักงาน work from home เนื่องจากไม่ใช่กฎหมายบังคับใช้ นอกจากนี้บางองค์กรยังไม่มีความพร้อมด้านระบบและอุปกรณ์ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงาน แม้จะเป็นมาตรการที่ช่วยบรรเทาผลกระทบได้ แต่ก็ยังมีข้อจำกัดในการนำไปปฏิบัติ

 

“ฝุ่น PM2.5” ภัยตัวร้าย ทำร้ายเราได้มากกว่าที่คิด

ผลกระทบจากฝุ่นเป็นสิ่งที่หลายคนต้องเผชิญไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ หรือแม้กระทั่งสัตว์เลี้ยง ดังนั้นทางทีม Insight Analyst จึงได้มีการรวบรวมและวิเคราะห์เสียงจากผู้ใช้โซเชียลมีเดียกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากฝุ่น PM2.5 พบประเด็นสำคัญที่ส่วนใหญ่มักพูดถึง ดังนี้

1. ด้านสุขภาพ: ประชาชนต่างพูดถึงการได้รับผลกระทบกับระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอและหายใจลำบาก มีอาการระคายเคืองตาและแสบจมูก เลือดกำเดาไหล รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคปอดและระบบทางเดินหายใจในระยะยาว โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงอย่างเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยมีโรคประจำตัว และส่งผลถึงสัตว์เลี้ยงที่มีอาการปอดอักเสบที่เกิดจากฝุ่นเช่นเดียวกัน

2. ด้านเศรษฐกิจ: ประชาชนมีภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากค่ารักษาพยาบาล การจัดหายาเพื่อบรรเทาอาการแพ้จากฝุ่น การสูญเสียรายได้จากการต้องหยุดงานเพื่อรักษาตัว และค่าใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์ป้องกันต่างๆ เช่น หน้ากากอนามัยและเครื่องฟอกอากาศ

3. ด้านการดำเนินชีวิตประจำวัน: ประชาชนต้องจำกัดการทำกิจกรรมกลางแจ้ง ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสฝุ่น และเผชิญกับความไม่สะดวกในการเดินทาง

4. ด้านสังคม: เกิดความกังวลและความเครียดในหมู่ประชาชน ส่งผลกระทบต่อการเรียนการสอนในโรงเรียน และต้องมีการปรับเปลี่ยนกิจกรรมทางสังคมต่างๆ

5. ด้านสิ่งแวดล้อม: ทำให้ทัศนวิสัยแย่ลง ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ และก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตโดยรวมของประชาชน

ถอดบทเรียนปักกิ่ง-โซล สู่โมเดลไทยแก้วิกฤตฝุ่น PM2.5

ผู้ใช้โซเชียลมีเดียมีการพูดถึงการแก้ไขปัญหาเรื่องฝุ่น โดยมีการยกกรณีตัวอย่างจากเมืองปักกิ่ง ประเทศจีน และกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ที่สามารถควบคุมมลพิษทางอากาศได้ด้วยการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ทั้งการสั่งปิดโรงงานที่ปล่อยมลพิษเกินมาตรฐาน การจำกัดการใช้รถส่วนตัว เป็นต้น จึงทำให้ผู้ใช้โซเชียลมีเดียมองว่าเป็นต้นแบบที่ดีที่ประเทศไทยสามารถนำมาปรับใช้ได้ แต่ก็มีบางส่วนที่มีความเห็นต่างออกไป ว่าอาจเป็นไปได้ยากในบริบทของไทย เนื่องจากมีข้อจำกัดหลายด้าน ทั้งการบังคับใช้กฎหมาย และผล กระทบต่อประชาชนและภาคธุรกิจ

จึงนำไปสู่ข้อเรียกร้องจากผู้ใช้โซเชียลฯ โดยส่วนใหญ่มุ่งเน้นให้มีการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุและยั่งยืนระยะยาว โดยต้องการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งการออกมาตรการจากภาครัฐที่โปร่งใส่ มีประสิทธิภาพแก้ปัญหาได้ตรงจุด ลดการใช้วิธีการเผาในภาคการเกษตร และความร่วมมือในการใช้รถโดยสารสาธารณะ รวมถึงการใช้งบประมาณที่คุ้มค่าและตรงกับความต้องการของประชาชน

“เครื่องฟอกอากาศ” ไอเท็มยอดฮิต รับมือฝุ่น PM2.5

เมื่อเข้าสู่ฤดูกาลฝุ่น "เครื่องฟอกอากาศ" กลายเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงอีกครั้ง เพราะถือเป็นอุปกรณ์สำคัญในการกรองฝุ่นและมลพิษ ในโซเชียลมีเดียมีการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเครื่องฟอกอากาศใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่

 

1. ราคา เป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกซื้อเครื่องฟอกอากาศ โดยผู้ใช้โซเชียลฯ ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพมากขึ้น ส่งผลให้เครื่องฟอกอากาศมียอดขายสูงขึ้นโดยเฉพาะในราคาระดับถูกถึงปานกลางจนเกิดปัญหาสินค้าขาดตลาด เนื่องจากผู้ใช้โซเชียลฯ ให้ความเห็นว่าเป็นสิ่งจำเป็นและถือว่าเป็นการลงทุนให้กับสุขภาพในระยะยาว แต่ก็มีบางกลุ่มกล่าวถึงราคาเครื่องฟอกอากาศว่ามีราคาค่อนข้างสูงจึงทำให้ยากต่อการเข้าถึง

2. ประโยชน์ ผู้ใช้โซเชียลฯ มีการรีวิวถึงการใช้งานจริง รวมถึงบอกเล่าถึงประสบการณ์การใช้งาน เช่น เมื่อใช้เครื่องฟอกอากาศ หายใจได้สะดวกขึ้น คนที่เป็นภูมิแพ้อาการลดน้อยลง เป็นต้น

3. ขอคำแนะนำ ทั้งในเรื่องของการใช้งานเครื่องฟอกอากาศ แบรนด์ที่ได้มาตรฐาน รวมไปถึงพิกัดช่องทางที่ราคาถูก

อีกหนึ่งไอเท็มที่มาแรงไม่แพ้เครื่องฟอกอากาศนั่นคือ “หน้ากากอนามัย” เป็นสิ่งที่ถูกพูดถึงกันอย่างมากบนโลกโซเชียล ด้วยราคาที่เข้าถึงง่าย ใช้งานสะดวก โดยเฉพาะหน้ากากอนามัยรุ่น KF94 , N95 ที่มักจะได้รับความนิยม เนื่องจากเป็นรุ่นที่กันฝุ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่สร้างความกังวลให้แก่ผู้ใช้โซเชียลมีเดีย นอกเหนือจากวิกฤตฝุ่น PM2.5 นั่นคือ ราคาที่ปรับตัวสูงขึ้นของราคาอุปกรณ์ป้องกันฝุ่น ผลมาจากความต้องการของทั้งเครื่องฟอกอากาศและหน้ากากอนามัยค่อนข้างสูง จึงส่งผลให้ราคาปรับสูงขึ้นตามมา จากสถานการณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดกระแสเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำกับดูแลและควบคุมราคาสินค้าที่จำเป็นต่อการป้องกันสุขภาพในช่วงวิกฤตมลพิษทางอากาศ

ปัญหามลพิษทางอากาศกำลังส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสุขภาพของผู้คนในเขตเมืองทั่วโลก โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร ที่ระดับฝุ่น PM2.5 มักสูงเกินค่ามาตรฐานอยู่บ่อยครั้ง ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพ คุณภาพชีวิต และสภาพแวดล้อมโดยรวมของทุกคนในเมือง

การจัดการกับปัญหามลภาวะทางอากาศจำเป็นต้องอาศัยวิธีการที่เห็นผลได้จริง ที่นอกจากจะสามารถลดมลพิษได้แล้ว ยังต้องคำนึงถึงความยั่งยืนและคุณภาพชีวิตของผู้คนในสังคมด้วย บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้นำระดับโลกด้านการจัดการพลังงานและผู้ให้บริการโซลูชันสีเขียวอัจฉริยะที่ขับเคลื่อนด้วย IoT ได้นำความเชี่ยวชาญมาพัฒนานวัตกรรมและโซลูชันที่จะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพื่อให้ทุกคนมีสุขภาพที่ดีและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอากาศบริสุทธิ์ พร้อมแสดงศักยภาพของเทคโนโลยีที่มีส่วนสำคัญในการแก้ไขปัญหาที่ต้องเผชิญร่วมกัน

 

นายเคอร์ติส คู ผู้อำนวยการธุรกิจประจำประเทศไทยของเดลต้า ประเทศไทย กล่าว “มลพิษทางอากาศเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อพวกเราทุกคน อย่างไรก็ตามด้วยความร่วมมือและเทคโนโลยีที่เหมาะสม เราสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงผ่านการพัฒนาโซลูชันที่ช่วยยกระดับคุณภาพอากาศและคุณภาพชีวิตของทุกคนอย่างยั่งยืน ที่ผ่านมา ระบบคุณภาพอากาศภายในอาคารของเดลต้าหรือ Delta Indoor Air Quality (IAQ) ได้รับการติดตั้งในครัวเรือนหลายแห่งทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งช่วยยกระดับคุณภาพอากาศให้กับหลายครอบครัวอย่างมีนัยสำคัญ”

ความอันตรายของฝุ่น PM2.5: ทำไมอากาศสะอาดจึงเป็นเรื่องที่รอไม่ได้

อนุภาคฝุ่น PM2.5 เป็นภัยอย่างมากต่อสุขภาพของทุกคน เพราะมีขนาดเล็กจนสามารถแทรกซึมลึกเข้าไปในปอดได้ จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) มลพิษทางอากาศเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของผู้คน 7 ล้านคนต่อปี และประชากรโลกถึง 92% อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีคุณภาพอากาศต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานของ WHO

สำหรับเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ รายงานล่าสุดของศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานครพบว่า ระดับฝุ่น PM2.5 มักสูงเกินค่าแนะนำที่ 15 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะในช่วงหน้าแล้งที่ระดับฝุ่นสามารถพุ่งสูงได้ถึง 70-

100 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร การที่ร่างกายต้องสัมผัสกับมลพิษในระดับสูงเช่นนี้เป็นเวลานาน ย่อมเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว

นวัตกรรมเพื่ออากาศบริสุทธิ์

เดลต้าให้ความสำคัญกับการพัฒนาโซลูชันเพื่อแก้ปัญหาคุณภาพอากาศ ควบคู่ไปกับการคำนึงถึงความยั่งยืน โดยได้ออกแบบเทคโนโลยีที่ช่วยยกระดับคุณภาพอากาศภายในอาคารซึ่งเป็นสถานที่ที่คนส่วนใหญ่ใช้เวลาอยู่ถึง 90% ในแต่ละวัน และพร้อมสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพอากาศภายนอกอาคารด้วยเช่นกัน

เครื่องแลกเปลี่ยนอากาศ (ERV) และระบบเติมอากาศบริสุทธิ์ (FAS): เดลต้าได้พัฒนานวัตกรรมประสิทธิภาพสูงเพื่ออากาศบริสุทธิ์ในอาคาร โดยเทคโนโลยีเครื่องแลกเปลี่ยนอากาศ หรือ ERV นั้นมีความโดดเด่นด้านการรักษาสมดุลอุณหภูมิและความชื้นภายในอาคาร พร้อมทั้งช่วยประหยัดพลังงาน ในขณะที่ระบบเติมอากาศบริสุทธิ์ หรือ FAS เป็นระบบที่ช่วยนำอากาศบริสุทธิ์เข้ามาหมุนเวียนภายในอาคารอย่างต่อเนื่อง ทั้งสองนวัตกรรมนี้ถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มคุณภาพอากาศภายในอาคาร โดยสามารถกรองฝุ่น PM2.5 ได้สูงถึง 97% ผ่านระบบกรองอากาศหลายชั้นที่มีประสิทธิภาพสูงและแผ่นกรอง HEPA ทำให้มั่นใจได้ว่าผู้ใช้งานจะได้รับอากาศบริสุทธิ์อย่างสม่ำเสมอ ไม่มีเสียงใบพัดมารบกวนใจ เหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานในที่อยู่อาศัย

พัดลมระบายอากาศ: เดลต้าได้นำมอเตอร์ DC brushless ที่ทันสมัยมาใช้กับพัดลมระบายอากาศ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดทั้งในด้านการประหยัดพลังงานและการทำงานที่เงียบเป็นพิเศษ พัดลมเหล่านี้ช่วยระบายอากาศภายในได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีเสียงที่เบากว่าพัดลมทั่วไปนอกจากความเงียบแล้ว พัดลมระบายอากาศของเดลต้ายังช่วยประหยัดพลังงานได้มากถึง 70% ทำให้ผู้ใช้งานได้รับทั้งความสะดวกสบายและยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย

เครื่องตรวจสอบคุณภาพอากาศภายในอาคาร UNOnext: เดลต้าได้พัฒนาเครื่องตรวจสอบคุณภาพอากาศภายในอาคาร UNOnext เพื่อยกระดับการจัดการคุณภาพอากาศให้ดียิ่งขึ้น ด้วยระบบอัจฉริยะที่ติดตามและวิเคราะห์คุณภาพอากาศภายในอาคารได้แบบเรียลไทม์ และยังสามารถตรวจวัดค่าคุณภาพอากาศได้อย่างครอบคลุม ทั้งปริมาณฝุ่น PM2.5 ระดับคาร์บอนไดออกไซด์ อุณหภูมิ และความชื้น นอกจากนี้ UNOnext ยังสามารถทำงานร่วมกับระบบ ERV และระบบระบายอากาศของเดลต้า เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการปรับค่าคุณภาพอากาศในอาคารและสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพให้น่าอยู่สำหรับทุกคน

 

สถานีชาร์จ EV ของเดลต้าติดตั้งอยู่ใน 66 ทาวเวอร์ ณ สำนักงานใจกลางเมือง.

การสนับสนุนระบบคมนาคมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม: นอกเหนือจากโซลูชันเพื่อคุณภาพอากาศภายในอาคาร เดลต้ายังให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศในพื้นที่เมืองที่มีสาเหตุหลักจากการคมนาคมขนส่ง โดยเดลต้าได้เร่งขยายโครงข่ายสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV) อย่างต่อเนื่อง ซึ่งตั้งแต่ปี 2553 กลุ่มบริษัทเดลต้าได้จัดส่งสถานีชาร์จ EV กว่า 1.5 ล้านเครื่องทั่วโลก เพื่อสนับสนุนทางเลือกด้านการคมนาคมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและช่วยลดการปล่อยมลพิษในระดับสากล

เดลต้าให้ความสำคัญกับการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วน ทั้งชุมชน ภาครัฐ และภาคธุรกิจ เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมและพัฒนาโซลูชันที่ช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและยกระดับคุณภาพชีวิต ท่ามกลางแรงกดดันที่ทวีความรุนแรงขึ้นจากการขยายตัวของเมืองและมลพิษที่เพิ่มขึ้น บริษัทยังคงมุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออากาศบริสุทธิ์และเมืองที่ยั่งยืนต่อไปอย่างไม่ลดละ เพื่อให้ทุกคนมีสุขภาพที่ดียิ่งขึ้นในอนาคตต่อไป

SCG HOME Online เปิดยอดขาย ‘โซลูชันปรับคุณภาพอากาศภายในบ้านจากเอสซีจี’ ได้แก่ SCG Active AirFlow System ระบบถ่ายเทและระบายอากาศ ช่วยให้บ้านเย็นลง 2-5 องศาเซลเซียส และ SCG Active Air Quality นวัตกรรมป้องกันมลพิษและเชื้อโรคไม่ให้เข้าบ้านตั้งแต่ต้น กรองฝุ่น PM 2.5 ได้ถึง 99% ซึ่งยอดขายเติบโตถึง 100% ในปีที่ผ่านมา เป็นผลมาจากสภาพอากาศที่ร้อนจัดจากวิกฤตโลกร้อน ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ทำให้การติดตั้งโซลูชันดังกล่าวเพื่อสร้างคุณภาพการอยู่อาศัยและสุขอนามัยที่ดีภายในบ้าน ได้รับความนิยมมากขึ้น มั่นใจว่ายอดขายทั้ง 2 โซลูชันผ่านช่องทาง SCG HOME Online ยังโตต่อเนื่องในปี 2567 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการเข้าร่วมโครงการ Easy E-Receipt ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2567 ซึ่งช่วยเพิ่มความคุ้มค่าในการจับจ่ายให้ลูกค้ามากยิ่งขึ้น สามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 50,000 บาท

SCG HOME Online ตอบโจทย์ทุกความต้องการเรื่องบ้าน ช้อปง่าย ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ ทั้งเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน โดยมียอดสั่งซื้อแล้วกว่า 250,000 รายการ มีสินค้าให้เลือกตั้งแต่วัสดุก่อสร้าง หลังคา ฝา ฝ้า พื้นกระเบื้อง พื้นไวนิล SPC เครื่องมือช่าง รวมไปถึงสินค้าที่ช่วยให้ชีวิตสะดวก สบาย และห่วงใยสิ่งแวดล้อม อาทิ เครื่องย่อยเศษอาหาร และเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV Charger) เสริมความครบครันด้วยเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์ตกแต่งบ้าน อีกทั้งยังมีสินค้าพร้อมบริการติดตั้งคุณภาพดี มีรับประกัน อย่างชุดครัวสำเร็จรูป สำหรับสินค้าและบริการที่ขายดีนอกจากโซลูชันปรับคุณภาพอากาศภายในบ้านแล้ว ยังมี SCG Solar Roof Solutions ระบบหลังคาโซลาร์ ช่วยประหยัดค่าไฟได้สูงสุดถึง 60% ที่ให้บริการติดตั้งทั่วประเทศแล้วกว่า 1,500 หลังคาเรือน มียอดสั่งซื้อเพิ่มขึ้น 40% และ SCG Roof Renovations บริการติดตั้ง ซ่อมแซม ปรับปรุงหลังคา ซึ่งมียอดขายโตขึ้นกว่า 50%  

ทั้งนี้ SCG HOME Online มีบริการตอบคำถามโดยทีม SCG HOME Contact Center ทุกวัน (8.30-20.00 น.) ทางโทรศัพท์ 02-586-1222  Line: @scghome และ Facebook Page: SCG Home

CPAC Construction Solution โดยนายชูโชค ศิวะคุณากร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด พร้อมด้วยนายพงษ์ศักดิ์ แห่ล้อม ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท เหล็กสยามยามาโตะ จำกัด หรือ SYS ให้การต้อนรับนายสุทธิพงศ์ สมิตชาติ ประธานบริษัท ทีอาร์ดี (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท อาร์โต จำกัด เยี่ยมชมความคืบหน้าของโครงการก่อสร้าง Toyota New MKT Complex Center ณ TOYOTA Driving Experience Park

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click