×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 840

เช้าวันหนึ่งที่อากาศหนาวกำลังดี คุณผู้อ่านตื่นขึ้นมาแล้วมองออกไปข้างนอก พบเมฆหมอกปกคลุมทั่วท้องฟ้า สิ่งแรกที่คุณผู้อ่านส่วนใหญ่ น่าจะนึกถึงคือปรากฏการณ์ธรรมชาติที่มักจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูหนาว แต่ แท้ที่จริงสิ่งที่ท่านผู้อ่านเห็นอยู่มันคือ ควันพิษ! โดยในช่วงปลายเดือน มกราคมที่ผ่านมา กรมควบคุมมลพิษได้ออกประกาศเตือนเกี่ยวกับปัญหา มลพิษอากาศในเขตกรุงเทพมหานคร โดยได้ตรวจพบค่าฝุ่นละออง PM 2.5 มีค่าเกินมาตรฐานหลายจุด จึงแจ้งเตือนให้ประชาชนเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยปัญหาดังกล่าวมีสาเหตุหลักมาจากการ ปล่อยไอเสียของรถยนต์ในช่วงที่การจราจรคับคั่ง อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่แค่ กรุงเทพฯ เท่านั้น ที่ประสบปัญหามลพิษอากาศ เมืองใหญ่ทั่วโลก (ลอนดอน มาดริด) ก็ประสบกับปัญหานี้เช่นกัน แล้วเมืองใหญ่เหล่านั้น มีมาตรการอย่างไรในการรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้น หรือมีมาตรการใดบ้าง ที่สามารถนำ มาปรับใช้ในบ้านเรา ไปติดตามกันครับ

การบังคับใช้มาตรฐานที่เข้มงวด ในการผลิตรถยนต์

เครื่องยนต์ดีเซลได้รับความนิยมอย่างสูงจากผู้ใช้ รถยนต์ในทวีปยุโรป เนื่องจากราคาน้ำ มันดีเซลที่มีราคา ถูกลง แต่เครื่องยนต์ดีเซลมีการปล่อยก๊าซไนโตรเจน ออกไซด์ (NOx) หรือ น็อกซ์ ในปริมาณที่มากว่ารถที่ใช้ เชื้อเพลิงแบบอื่น จึงส่งผลโดยตรงต่อปัญหามลพิษ อากาศในเขตเมือง จากปัญหาดังกล่าวรถยนต์ที่ผลิต เพื่อออกขายในทวีปยุโรปจึงต้องได้รับการรับรองมาตรฐานไอเสียยูโร 6 ซึ่งถือเป็นกลไกที่จะควบคุมการปล่อยมลพิษจากไอเสียรถยนต์ตั้งแต่ต้นทาง ผู้ผลิตรถยนต์จึงต้องคำนึงถึงและปฏิบัติตามมาตรฐานดังกล่าวอย่างเคร่งครัด อย่างไรก็ตาม ยังมีรถยนต์รุ่นเก่าอีกมากที่ยังคงถูกใช้งาน ซึ่งนำ ไปสู่มาตรการต่อไป นั่นก็คือ

การควบคุมการใช้รถยนต์ในเขตเมือง

การจราจรที่คับคั่งตามเมืองใหญ่ทั่วโลกก่อให้เกิดปัญหามลพิษอากาศขั้นรุนแรง ประเด็นจึงอยู่ที่ว่าจะทำอย่างไรให้มีปริมาณการใช้รถยนต์ในเขตเมืองลดลง ซึ่งนำไปสู่มาตรการต่างๆ เช่น การใช้รถยนต์ตามเลขทะเบียน วันคู่ - วันคี่ ที่สามารถลดการใช้รถยนต์ลงได้ครึ่งหนึ่ง การเก็บค่าที่จอดรถตามอายุของ รถยนต์โดยใช้หลักการที่ว่ารถยนต์รุ่นเก่ามีการปล่อยมลพิษที่มากกว่าจึงต้อง จ่ายค่าที่จอดสูงกว่าหากต้องการนำ รถมาใช้และจอดในเขตเมือง การให้บริการขนส่งสาธารณะฟรีในวันที่เกิดปัญหามลพิษอากาศสูงเกินกว่าค่ามาตรฐาน การเก็บอัตราค่าใช้งานรถยนต์ในเขตเมืองในช่วง 7.00 – 18.00 น. (T-Charge ในกรุงลอนดอน) เพื่อให้ประชาชนหันมาใช้บริการขนส่งสาธารณะกันให้มากขึ้น ทั้งนี้มาตรการต่างๆ ที่ถูกใช้งานนั้นเป็นการแก้ปัญหาระยะสั้น ดังนั้นสิ่งที่จะต้องวางแผนต่อไปนั่นก็คือ การจะทำอย่างไรให้รถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงมีปริมาณลดลง

การส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้า

หลายประเทศทั่วโลกได้ประกาศส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้าให้เข้ามาทดแทน รถยนต์ที่ใช้น้ำ มันเชื้อเพลิง เช่น ประเทศเนเธอร์แลนด์และนอร์เวย์เป็น 2 ประเทศแรกที่ประกาศจะห้ามจำ หน่ายรถยนต์เบนซินและดีเซลภายในปี 2025 ขณะที่เยอรมนีและอินเดียวางเป้าหมายเดียวกันไว้ภายในปี 2030 ล่าสุด คือ ฝรั่งเศสและอังกฤษ ที่ประกาศจะยุติการจำ หน่ายรถเบนซินและดีเซลตั้งแต่ปี 2040 โดยในระหว่างนี้ ทุกประเทศจึงต้องเตรียมความพร้อมทั้งเรื่องสถานีชาร์จ ที่ครอบคลุมในทุกพื้นที่ การสนับสนุนและส่งเสริมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารวมถึง รณรงค์ให้ประชาชนหันมาใช้งานรถยนต์ไฟฟ้ากันให้มากขึ้น เพื่อให้รถยนต์ไฟฟ้า เข้ามาแทนที่รถยนต์ที่ใช้น้ำ มันเชื้อเพลิงให้ได้ดังเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้

เพิ่มพื้นที่สีเขียวและส่งเสริมขนส่ง สาธารณะไร้มลพิษ

สิ่งที่ควรทำควบคู่ไปกับการลดปริมาณการใช้รถยนต์ คือ การเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้มากขึ้น โดยพื้นที่สีเขียวจะทำหน้าที่กรองอนุภาคขนาดเล็กที่ เกิดจากไอเสียรถยนต์ได้เป็นอย่างดี เมืองใหญ่ทั่วโลกจึงมีแนวคิดที่จะปรับปรุงพื้นที่ในเขตเมือง ให้กลายเป็นพื้นที่สีเขียวให้มากขึ้น เช่น ในกรุงมาดริด ประเทศสเปน มีการติดตั้งสวนขนาดย่อมบนหลังคารถบัสขนส่งสาธารณะ (Botobus) เป็นต้น ในส่วนของขนส่งสาธารณะไร้มลพิษ หลายประเทศได้ปรับปรุงระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมือง โดยในลอนดอนไม่อนุญาตให้รถบัสที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงวิ่งเข้าเขตเมืองชั้นในและมี นโยบายจะเพิ่มรถบัสชั้นเดียวที่ใช้ไฟฟ้าจาก 79 คัน เป็น 300 คัน ภายในปี 2020 รวมถึงรถแท็กซี่ใหม่ ทุกคันจะต้องใช้ไฟฟ้าเท่านั้น ทั้งหมดเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษอากาศในกรุงลอนดอนที่มีปัญหามาอย่างยาวนานนั่นเอง


เรื่องโดย รศ.ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล รองคณบดี (ยุทธศาสตร์นวัตกรรม)

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

X

Right Click

No right click