January 22, 2025

แกร็บ ผู้นำซูเปอร์แอปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เผยรายงาน Travel Insights 2024 จากผลสำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้บริการใน 6 ประเทศที่สะท้อนพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวอาเซียน พบ 81% วางแผนเที่ยวต่างประเทศ แต่กว่าครึ่งต้องการเดินทางในประเทศใกล้ๆ ภายในภูมิภาค โดยไทยยังครองแชมป์อันดับ 1 ประเทศจุดหมายปลายทางยอดนิยม พร้อมเผยอินไซต์นักท่องเที่ยวในยุคดิจิทัลที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม พบ 86% ของนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ใช้เทคโนโลยีอย่าง AR VR หรือ AI เป็นตัวช่วยในการหาข้อมูลและวางแผนการเดินทาง 81% เลือกจองตั๋วเครื่องบิน-ที่พักแบบออนไลน์ด้วยตัวเอง ขณะที่ 78% ระบุว่ายอมจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน

นางสาวจันต์สุดา ธนานิตยะอุดม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานพาณิชย์และการตลาด แกร็บ ประเทศไทย กล่าวว่า “นักท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียนถือเป็นหนึ่งในตลาดหลักที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยแต่ละปีเป็นจำนวนมาก โดยในปี 2024 ที่ผ่านมา ประเทศไทยต้อนรับนักท่องเที่ยวจากประเทศเหล่านี้สูงถึง 10.6 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนถึง 30% ของนักท่องเที่ยวทั้งหมด1 ทั้งนี้ จากการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวและเดินทางของผู้ใช้บริการแกร็บใน 6 ประเทศ อันได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนามและไทย โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 11,074 คน พบว่า 81% วางแผนที่จะเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศ (เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ 72%) โดยกว่าครึ่ง (52%) ต้องการเดินทางภายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองลงมาคือประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก (44%) อย่างจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี โดยประเทศไทยยังคงครองอันดับ 1 จุดหมายปลายทางยอดนิยม ตามมาด้วยสิงคโปร์และมาเลเซีย ด้วยความสวยงามของแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และมนต์เสน่ห์ทางด้านวัฒนธรรมซึ่งถือเป็นซอฟต์พาวเวอร์ที่รัฐบาลพยายามส่งเสริมและผลักดัน รวมไปถึงการจัดงานอีเวนท์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เทศกาลอาหาร เทศกาลดนตรีและคอนเสิร์ต และประเพณีสำคัญอย่างเทศกาลสงกรานต์และลอยกระทง”

ssssss

ทั้งนี้ แกร็บยังได้เผย 5 อินไซต์สำคัญของนักท่องเที่ยวอาเซียนในยุคดิจิทัลที่สะท้อนพฤติกรรมและแนวโน้มการเดินทางที่น่าสนใจ ดังนี้

· ใช้เทคโนโลยีเพิ่มความสะดวกสบาย: 86% ของนักท่องเที่ยวระบุว่าใช้เทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็น Augmented Reality (AR) Virtual Reality (VR) หรือปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางท่องเที่ยว ตั้งแต่การหาข้อมูล การพรีวิวที่พักหรือแหล่งท่องเที่ยว การเปรียบเทียบราคา ไปจนถึงการวางแผนตารางการเดินทางอย่างละเอียด

· ชอบวางแผนการเดินทางด้วยตัวเอง: นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ (81%) เลือกวางแผนการเดินทางด้วยตัวเอง โดยเกือบสองในสามของนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้จะจองตั๋วออนไลน์ทุกอย่างด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น เครื่องบิน ที่พัก รวมถึงแหล่งท่องเที่ยว ขณะที่ 18% ยอมซื้อแพคเกจทัวร์เพื่อประหยัดเวลาในการวางแผน

· มีการบริหารงบประมาณอย่างรอบคอบ: 82% ของนักท่องเที่ยวมีการวางแผนงบประมาณและกำหนดค่าใช้จ่ายต่อทริปล่วงหน้า แม้ว่ากว่าครึ่งของนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้มักใช้จ่ายเกินกว่างบที่ตั้งไว้ นอกจากนี้ ยังพบว่า 56% เพิ่มงบประมาณในการใช้จ่ายต่อทริปสูงขึ้นกว่าปีก่อนหน้า ขณะที่ 53% มีความกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อ

· ให้ความสำคัญกับความปลอดภัย: โดยพบว่า 68% จะเลือกซื้อประกันที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง ไม่ว่าจะเป็น ประกันการเดินทางที่ครอบคลุมด้านความเสียหายหรือสูญหายของกระเป๋าเดินทาง ประกันการล่าช้าหรือการยกเลิกของเที่ยวบิน รวมถึงประกันสุขภาพ

· ใส่ใจสิ่งแวดล้อม: นักท่องเที่ยวในปัจจุบันให้ความสำคัญกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดย 45% เลือกสนับสนุนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เช่น การใช้ยานยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การลดปริมาณการใช้พลาสติก รวมถึงการสนับสนุนผู้ประกอบการหรือชุมชนในท้องถิ่น ขณะที่ 78% ระบุว่ายินดีจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเพื่อสนับสนุนธุรกิจที่มีแนวคิดดังกล่าว

ทรู คอร์ปอเรชั่น ภายใต้เป้าหมายต้องการอยู่คู่การศึกษาไทย ล่าสุดเผยอีกหนึ่งโครงการ คือ CONNEXT ED ที่ทรู เป็นหนึ่งใน 12 องค์กรเอกชน ผู้ก่อตั้งมูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี ภายใต้ความร่วมมือ 3 ภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน สานต่อความมุ่งมั่นในการเป็นเทคคอมปานีไทย นำศักยภาพด้านเทคโนโลยีดิจิทัล มาร่วมสนับสนุนการศึกษา ดูแลโรงเรียนคอนเน็กซ์อีดีของทรู 1,101 แห่ง ครอบคลุม 70 จังหวัดทั่วประเทศ สร้างผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (ICT Talent) กว่า 80 คน พร้อมด้วยผู้นำรุ่นใหม่ (School Partner) อีก 250 คน ที่พร้อมเคียงบ่าเคียงไหล่ ทำงานร่วมกับผู้บริหาร ครู นักเรียน และชุมชน เพื่อวางแผนพัฒนาโรงเรียนให้เกิดขึ้นจริงอย่างยั่งยืน

นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ และประธานกรรมการ บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น และประธานคณะกรรมการบริหารมูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี กล่าวว่า “โลกเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เราจำเป็นต้องปรับตัวให้ทัน รวมถึงด้านการศึกษา ที่ไม่ใช่มุ่งเน้นกระบวนการเรียนรู้เพียงแค่ “จำให้ได้ สอบให้ผ่าน ทำการบ้านให้เสร็จ” แต่ควรเป็นการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติและลงมือทำเพื่อให้ได้ประสบการณ์จริง โดยบทบาทของครู จะกลายเป็นโค้ชออกแบบการสอนให้ผู้เรียนได้เพิ่มพูนประสบการณ์และสนุกไปกับการเรียนที่ให้เด็กเป็นศูนย์กลาง ซึ่งแม้ประเทศของเราอาจจะยังไม่มีพิพิธภัณฑ์ที่ครอบคลุมด้านต่างๆ มากมาย ให้เด็กได้เลือกเรียนตามความสนใจ แต่ถ้าภาคเอกชน สามารถทำให้มีศูนย์ Learning Center เกิดขึ้น และปรับหลักสูตรร่วมกับภาคการศึกษา ก็จะทำให้องค์ความรู้จากภาคเอกชนเชื่อมโยงเข้าไปพัฒนาระบบทรัพยากรมนุษย์ได้”

ดึงศักยภาพทรู บุกเบิกโครงการ ร่วมพลิกโฉมการศึกษาไทย

ทรู คอร์ปอเรชั่น ได้ริเริ่มโครงการต่างๆ เพื่อร่วมขับเคลื่อนภารกิจยกระดับการศึกษาไทย ผ่านความร่วมมือมูลนิธิฯ ซึ่งภายหลังได้กลายเป็นโมเดลต้นแบบให้ภาครัฐและองค์กรเอกชนอื่นๆ ได้นำไปประยุกต์ใช้ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของเยาวชนไทยยุคดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็น นำร่องสร้างศูนย์การเรียนรู้ชุมชน (Learning Center) ตั้งแต่ปี 2560 เพื่อสร้างระบบนิเวศและเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง อีกทั้งสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยจากเดิมมี 9 แห่ง ขยายเพิ่มขึ้นเป็น 20 แห่งทั่วประเทศ หรือโครงการผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (ICT Talent) ที่ทำหน้าที่ผลักดันให้ครูและนักเรียนใช้สื่อไอซีทีอย่างสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์สูงสุด

 

นายมนัสส์ มานะวุฒิเวช ประธานคณะผู้บริหาร บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า “ทรู คอร์ปอเรชั่น พร้อมให้การสนับสนุนการดำเนินงานของมูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี สอดคล้องตามแนวทาง 5 ยุทธศาสตร์หลักมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะยุทธศาสตร์ที่ 5 (Digital Infrastructures) นำโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล รวมถึงความเชี่ยวชาญด้านไอซีทีและเทคโนโลยีที่มีอยู่ของทรู เข้าไปร่วมสนับสนุนภาคการศึกษา แต่ขณะเดียวกัน ต้องปลูกฝังเยาวชนเรื่องการใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์และปลอดภัย โดยเฉพาะในยุคที่เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI กำลังเข้ามามีบทบาทอย่างยิ่งในทุกด้าน ดังนั้นการให้ความรู้ สร้างความเข้าใจเรื่องการใช้เทคโนโลยีและ AI อย่างมีจริยธรรม มีความรับผิดชอบ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง”

ส่อง ร.ร.บ้านตำหรุ (วิงประชาสงเคราะห์) จ.ประจวบฯ สู่โรงเรียนต้นแบบคอนเน็กซ์อีดี

หนึ่งในโรงเรียนคอนเน็กซ์อีดีต้นแบบ คือ โรงเรียนบ้านตำหรุ (วิงประชาสงเคราะห์) จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของทรู นับเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างโมเดลโรงเรียนที่สะท้อนให้เห็นชัดถึงการทำงานร่วมกันอย่างเข้มแข็งระหว่างผู้บริหารสถานศึกษา คุณครู นักเรียน ICT Talent และ School Partner ที่สามารถนำแนวทางยุทธศาสตร์ 5 หลัก ไปประยุกต์ใช้จนเกิดผลและสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม

1. ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การเปิดเผยข้อมูลสถานศึกษาสู่สาธารณะ (Transparency) นำระบบ School Management System (SMS) มาใช้ พร้อมกรอกข้อมูล และตรวจสอบข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเรียนรู้จุดอ่อนจุดแข็ง มาวางแผนพัฒนาโรงเรียนต่อไป

2. ยุทธศาสตร์ที่ 2 : กลไกตลาดและวัฒนธรรมการมีส่วนร่วม (Market Mechanisms) โรงเรียนแห่งนี้ทำงานร่วมกับชุมชนอย่างเข้มแข็ง องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ให้การสนับสนุน เช่น คอมพิวเตอร์ งบประมาณ และองค์ความรู้จากชาวบ้าน มีกรรมการสถานศึกษาร่วมติดตามในทุกด้าน รวมถึงมี SP ร่วมคิดพัฒนา ทำงานกันอย่างใกล้ชิด

3. ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน (High Quality Principals & Teachers) ICT Talent ผลักดันให้ครูมีทักษะดิจิทัล และผลักดันครูทุกคนมี Blog ของตนเองในเว็บไซต์โรงเรียน เพื่ออัปโหลดคลิปวิดีโอ สื่อการสอน และกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้นักเรียนสามารถเข้าไปทบทวนบทเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา ผู้ปกครองยังสามารถเข้ามาดูบรรยากาศในห้องเรียนของบุตรหลานได้ด้วย ครูบางส่วน สามารถใช้ AI ทำสื่อการสอนให้เด็กๆ อีกทั้งยังสามารถต่อยอดทักษะการใช้อุปกรณ์บอร์ด Micro:bit มาสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เป็นต้น ล่าสุด โรงเรียนได้รับการประเมินจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 ให้เป็นโรงเรียน Digital Platform ต้นแบบ นอกจากนี้ ICT Talent ยังทำงานร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และ ICT Talent ภาครัฐ อบรมให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีแก่บุคลากรการศึกษาในพื้นที่อีกด้วย

4. ยุทธศาสตร์ที่ 4 : เด็กเป็นศูนย์กลาง เสริมสร้างคุณธรรมและความมั่นใจ (Child Centric & Curriculum) จัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning เด็กนักเรียนสามารถนำเทคโนโลยี AI มาใช้ในการเรียนรู้ เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันระดับประเทศ เช่น นำ AI มาใช้ในการแต่งและเล่านิทาน ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งกำลังมีแผนนำห้องสมุดมาปรับเป็นศูนย์ Learning Center โดยสามารถระดมทุนและจัดหางบประมาณได้ด้วยตนเองจากการจัดกิจกรรมฟุตบอล ผ่านความร่วมแรงร่วมใจกับคนในชุมชน

5. ยุทธศาสตร์ที่ 5 : การเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของสถานศึกษา (Digital Infrastructures) เข้าถึงสื่ออุปกรณ์การเรียนรู้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก เด็กนักเรียนมีห้องคอมพิวเตอร์ ห้องวิทยาศาสตร์ และห้องออกอากาศ เพื่อการเรียนรู้และอัปเดตข่าวสารของโรงเรียน

นางบุษบา มณีวงศ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านตำหรุ (วิงประชาสงเคราะห์) จ.ประจวบคีรีขันธ์ เปิดเผยว่า “โรงเรียนบ้านตำหรุ (วิงประชาสงเคราะห์) พัฒนาในทางที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยนำ 5 ยุทธศาสตร์หลักของคอนเน็กซ์อีดีมาปรับใช้ และที่สำคัญมี ICT Talent และ School Partner จากทรู ที่เปรียบเสมือนเพื่อนคู่คิด ทำให้โรงเรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านบวกในหลากหลายด้าน โดยเฉพาะการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของครูและนักเรียน รวมถึงการสนับสนุนที่เข้มแข็งจากชุมชน ทั้งนี้ เชื่อว่ากระบวนการเรียนรู้ที่ได้จากการเป็นโรงเรียนคอนเน็กซ์อีดี จะช่วยส่งเสริมระบบการศึกษาของโรงเรียนอย่างแน่นอน”

นายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เป็นประธานเปิดงาน InsurTech Summit 2024 ภายใต้หัวข้อ “พลิกโฉมประกันภัยสู่เครือข่ายสากล : Shaping Insurance, Building Community” จัดโดยศูนย์ CIT สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2567 ณ ศูนย์ประชุม C ASEAN อาคารซีดับเบิ้ลยู ชั้น 10 กรุงเทพฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีประกันภัย และเป็นเวทีในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมประกันภัยไทยสู่อนาคต ด้วยการผสานองค์ความรู้และนวัตกรรมเทคโนโลยีล้ำสมัย เพื่อสร้างความแข็งแกร่งและยกระดับศักยภาพบุคลากรทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และกลุ่ม Tech Startup ผ่านกิจกรรมสัมมนาวิชาการเชิงลึก กิจกรรมสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ และการแสดงนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีประกันภัย ผ่าน Demo Showcase จาก บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำกว่า 10 บริษัท ที่ผู้เข้าร่วมจะได้สัมผัสผลิตภัณฑ์และโซลูชันที่นำเทคโนโลยีล้ำสมัยมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวในงานประกันภัย ในขณะเดียวกันก็เปิดพื้นที่เจรจาจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) ระหว่างบริษัทประกันภัยและบริษัทเทคโนโลยี เพื่อสร้างโอกาสในการร่วมมือและพัฒนาธุรกิจให้เติบโตยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยผลักดันความร่วมมือและโอกาสการเติบโตทางธุรกิจในระดับสากล นอกจากนี้ภายในงานยังมี Exhibition จากบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำกว่า 30 บริษัท ที่มาร่วมจัดแสดงนวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานได้เห็นการใช้งานจริงของเทคโนโลยีในบริบทของอุตสาหกรรมประกันภัยอย่างใกล้ชิด

ในโอกาสนี้ เลขาธิการ คปภ. ได้บรรยายพิเศษในหัวข้อ Regulation for the Insurance Ecosystem โดยมีใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจประกันภัย ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เนื่องจากปัจจุบันธุรกิจประกันภัยไม่ได้มีเพียงบริษัทประกันภัยและคนกลางประกันภัยอีกต่อไป แต่มีผู้เล่นและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในธุรกิจประกันภัยเพิ่มขึ้นมากมาย เช่น บริษัทเทคโนโลยี Insurtech Startups ที่กลายเป็นผู้เล่นรายใหม่ในธุรกิจประกันภัย นอกจากนี้ ยังได้เห็นความร่วมมือ หรือ Collaboration ของบริษัทประกันภัยและคนกลางประกันภัยกับธุรกิจใหม่ ๆ เช่น โรงพยาบาล การขนส่ง เพื่อพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ประกันภัยให้มีความหลากหลาย ตอบโจทย์และเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น จึงคาดการณ์ได้ว่าในอนาคตธุรกิจประกันภัยจะขยายวงกว้างมากขึ้น และเข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันและการดำรงชีวิตของผู้คนและผู้ประกอบการต่าง ๆ มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

อีกประเด็นที่ต้องกล่าวถึง คือ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีถึงแม้ว่าจะไม่ใช่เรื่องใหม่และมีการพูดถึง เรื่องเทคโนโลยีมาหลายปีแล้ว แต่มุมมอง ผลกระทบ และทิศทางของเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปทุกปี เทคโนโลยีสามารถเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจของบริษัทประกันภัยได้เกือบทุกกระบวนการของ Supply Chain เริ่มตั้งแต่การเข้าถึงลูกค้าที่มีช่องทางการเสนอขายหลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะช่องทางออนไลน์ที่เข้าถึงลูกค้าได้โดยตรงและตรงกับกลุ่มเป้าหมาย การพัฒนาผลิตภัณฑ์ปัจจุบันมีเครื่องมือในการประมวลผลให้สามารถประเมินความเสี่ยงความต้องการของลูกค้าได้อย่างแม่นยำมากขึ้น และกำหนดอัตราเบี้ยที่เหมาะสมได้ดียิ่งขึ้น ส่งผลให้สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เฉพาะเจาะจงหรือรายบุคคลได้มากขึ้น รวมถึงในอนาคตอาจได้เห็น Dynamic Pricing การปรับเบี้ยประกันภัยตามสภาพความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้ด้วยหรือในส่วนของการดูแลลูกค้าและการให้บริการหลังการขายที่สามารถนำเอาเทคโนโลยีต่าง ๆ มาช่วยให้บริการได้อย่างรวดเร็วและสะดวกยิ่งขึ้น เช่น ระบบ OCR (Optical Character Recognition) หรือ RPA (Robotic Process Automation) มาช่วยดำเนินการด้านเอกสารให้รวดเร็วขึ้น การพัฒนา Chatbot เพื่อเป็นอีกช่องทาง ในการติดต่อและให้บริการลูกค้า ซึ่งปัจจุบันเริ่มมีการฝังGen AI เพื่อให้ Chatbot ประมวลผลได้ซับซ้อนและดียิ่งขึ้น

อีกส่วนที่เห็นได้ชัด คือ การจัดการค่าสินไหมทดแทนที่เทคโนโลยีสามารถเข้ามาช่วยทั้ง Front Office และ Back Office เช่น การสำรวจข้อมูลความเสียหายด้วยโดรนและการวิเคราะห์ความเสียหายและการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนด้วยการใช้ VDO หรือ รูปภาพ ซึ่งจะถูกนำไปประมวลผลต่อเพื่อให้สามารถประเมินความเสี่ยงในอนาคตได้อย่างแม่นยำมากขึ้น ดังนั้น จะเห็นได้ว่ามีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในธุรกิจประกันภัยที่กว้างขวางและหลากหลาย โดยบริษัทประกันภัยเกือบทุกแห่งได้ให้บริการลูกค้าผ่านทางเว็บไซต์หรือแพลตฟอร์มต่าง ๆ แล้วทั้งสิ้น หรือการซื้อประกันภัยออนไลน์กลายเป็นช่องทางสำคัญของธุรกิจไปแล้ว ซึ่งที่ผ่านมา สำนักงาน คปภ. ได้ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษาเรื่องการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในธุรกิจประกันภัยไทย พบว่า ในภาพรวมอุตสาหกรรมประกันภัยไทยมีความพร้อมทางดิจิทัลสูงถึงร้อยละ 78.5 และในอนาคตอันใกล้บริษัทประกันภัยไทยมากกว่าร้อยละ 90 จะมีการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอย่างแพร่หลายและเห็นเป็นรูปธรรม “การจัดงานเสวนาในครั้งนี้จึงคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะทำให้ทุกหน่วยงานที่เข้าร่วมงานได้รับประโยชน์ ข้อคิด และมุมมองที่น่าสนใจ สามารถนำไปประยุกต์หรือต่อยอดการดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ซึ่งถือเป็นอีกก้าวสำคัญของสำนักงาน คปภ. ในการสร้าง Insurance Community ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางองค์ความรู้ด้านประกันภัย รวมถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านประกันภัยของภูมิภาคอาเซียน” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย

 

นิวยอร์ค, 12 กันยายน 2567 – เจนเนอรัล มอเตอร์ส (จีเอ็ม) และ ฮุนได มอเตอร์ ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ เพื่อศึกษาการร่วมมือกันในอนาคต ซึ่งจะครอบคลุมกลยุทธ์หลักในหลายสาขา จีเอ็มและฮุนไดต่างค้นหาหนทางที่จะสร้างประโยชน์สูงสุด จากการควบรวมระดับการผลิตและจุดแข็งของแต่ละฝ่าย เพื่อลดค่าใช้จ่ายไปพร้อมกับการเพิ่มทางเลือกยานพาหนะให้หลากหลายยิ่งขึ้น และส่งมอบเทคโนโลยีใหม่ให้ลูกค้าได้อย่างรวดเร็วขึ้น

ทั้งสองบริษัทเป็นผู้ผลิตระดับชั้นนำของโลก ยังอยู่ระหว่างการศึกษาโอกาสที่จะจัดซื้อวัตถุดิบในหลายสาขาร่วมกัน ทั้งวัตถุดิบในการทำแบตเตอรี่ โลหะ และอื่น ๆ ผู้ที่ลงนามในบันทึกความเข้าใจฉบับดังกล่าวมี Euisun Chung ตำแหน่ง Executive Chair ของ ฮุนได มอเตอร์ กรุ๊ป และ Mary Barra ตำแหน่ง Chairperson และ CEO ของ เจนเนอรัล มอเตอร์ส

 

ความร่วมมือระหว่างสองบริษัทจะก่อให้เกิดศักยภาพ ในการพัฒนารถยนต์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ผ่านการเพิ่มสเกลการผลิต และการจัดสรรงบประมาณได้อย่างเป็นระบบมากขึ้น “จีเอ็มและฮุนไดจะนำจุดแข็งและทีมงานที่มีฝีมือมาควบรวมกัน โดยเป้าหมายของเราคือการปลดล็อคขนาดและความสร้างสรรค์ของทั้งสองบริษัทฯ เพื่อส่งมอบรถยนต์ที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น ให้กับลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพขึ้น” Barra กล่าว

ความยืดหยุ่นและความคล่องแคล่วของจีเอ็มและฮุนได ส่งผลให้ทั้งสองบริษัทฯ สามารถเริ่มการพัฒนาของการแลกเปลี่ยนความสามารถร่วมกันได้

“ความร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยให้ฮุนได มอเตอร์และจีเอ็ม ประมวลโอกาสที่จะเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในหลายตลาดหลัก และกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย รวมไปถึงการเพิ่มประสิทธิภาพด้านค่าใช้จ่าย และเพิ่มคุณค่าให้กับลูกค้า ผ่านการผสานความเชี่ยวชาญและนวัตกรรมของทั้งสองบริษัทฯ เข้าด้วยกัน” Chung กล่าว

หลังจากการลงนามในบันทึกความเข้าใจ ซึ่งไม่มีผลบังคับทางกฎหมายฉบับนี้ ทั้งสองบริษัทฯ จะเริ่มกระบวนการประมวลผลและเริ่มดำเนินงานทันที

ข้อมูลจากรายงาน Hype Cycle for Digital Workplace Applications, 2024 ของการ์ทเนอร์ คาดว่าภายในไม่ถึง 2 ปี นับจากนี้ Everyday AI และ Digital Employee Experience (DEX) จะกลายเป็นเทคโนโลยีที่อยู่ในกระแสหลัก

แมตต์ เคน รองประธานฝ่ายวิจัยหลักการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “Everyday AI ช่วยกำจัดความยุ่งยากด้านดิจิทัลให้แก่พนักงานด้วยการช่วยงานเขียน การค้นคว้า การทำงานร่วมกันและคิดไอเดีย และยังเป็นส่วนสำคัญของเทคโนโลยี DEX ในความพยายามขจัดความยุ่งยากและเพิ่มความชำนาญด้านดิจิทัลให้กับพนักงาน ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญของการพาองค์กรไปสู่ความก้าวหน้าจากนี้จนถึงปี 2573”

ปี 2567 ถือเป็นปีสำคัญของผู้นำแอปพลิเคชัน Digital Workplace เนื่องจากการให้ความสำคัญกับรูปแบบการทำงานไฮบริดและการทำงานจากระยะไกลนั้นลดลง ประกอบกับธุรกิจต่างมุ่งเน้นไปที่การใช้เทคโนโลยี Everyday AI เพิ่มขึ้น ทำให้ Everyday AI ถูกวางไว้ให้อยู่ในจุดสูงสุดของความคาดหวังที่จะเติบโตในวงจรเทคโนโลยีสำหรับ Digital Workplace Applications ในปี 2567 ของการ์ทเนอร์

Everyday AI สำคัญต่อการเพิ่มประสิทธิผลการทำงานของพนักงานอย่างยิ่ง อาดัม พรีเซต รองประธานฝ่ายวิจัยการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “Everyday AI มีเป้าหมายเพื่อช่วยพนักงานทำงานได้อย่างรวดเร็ว ครอบคลุมและมั่นใจได้ โดยเทคโนโลยีนี้ยังสนับสนุนวิธีการทำงานแบบใหม่ ผ่านการใช้ซอฟต์แวร์อัจฉริยะทำหน้าที่เป็นผู้ร่วมงานมากกว่าเป็นแค่เครื่องมือ ซึ่งปัจจุบัน Digital Workplace กำลังเดินเข้าสู่ยุคการใช้ AI ในชีวิตประจำวัน”

เมื่อผู้ขายเทคโนโลยีต่างหาวิธีเพิ่มประสิทธิผลการทำงานของพนักงานให้มากขึ้น ด้วยการพัฒนาฟีเจอร์และแอปพลิเคชันเดิมให้มีความสามารถเพิ่มขึ้น ซึ่ง Everyday AI นั้นตอบโจทย์ โดยเทคโนโลยีนี้ไม่เพียงแต่มอบประโยชน์ด้านประสิทธิภาพการทำงานเท่านั้น แต่ยังมอบโอกาสใหม่ ๆ ในการทำตลาด อาทิ เป็นเครื่องมือช่วยพนักงานค้นหาและสังเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ตอบคำถามได้อย่างครอบคลุมและสร้างสรรค์งานศิลป์ได้ง่ายขึ้น

“Everyday AI จะมีความซับซ้อนยิ่งขึ้น เปลี่ยนจากบริการที่ช่วยจัดเรียงและสรุปข้อความแชทหรืออีเมลไปสู่บริการที่ช่วยเขียนรายงานโดยป้อนคำสั่งเพียงเล็กน้อย ดังนั้น Everyday AI จึงเป็นอนาคตของการเพิ่มประสิทธิผลการทำงานให้กับพนักงานในหลากหลายด้าน”

องค์กรควรให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ DEX มากขึ้น

วันนี้พนักงานเกือบทั้งหมดกลายเป็นพนักงานดิจิทัล เนื่องจากใช้เวลาทำงานกับเทคโนโลยีมากขึ้นกว่าที่เคย ดังนั้น องค์กรต้องมีกลยุทธ์ในการประเมินและพัฒนา DEX เพื่อดึงดูดและรักษาบุคลากรที่มีทักษะความสามารถและสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงานให้เกิดขึ้น ขณะที่ยังคงเพิ่มความผูกพันของการทำงานและทำให้พวกเขายังอยู่กับองค์กรต่อไป

ผู้นำธุรกิจกำลังมองหาแนวทางในการนำเทคโนโลยีมาใช้เพิ่มประสิทธิผลขององค์กรได้อย่างเหมาะสม DEX คือแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในการช่วยเพิ่มความชำนาญด้านดิจิทัล ดึงดูดและรักษาบุคลากรที่มีทักษะความสามารถพร้อมช่วยให้พนักงานบรรลุผลลัพธ์ทางธุรกิจได้

DEX กำลังอยู่ในช่วงขาลงในวงจรเทคโนโลยีฯ ซึ่งหมายถึงกำลังได้รับความสนใจลดลง เนื่องจากการทดลองและการใช้งานล้มเหลว ดังนั้นเพื่อเพิ่มความน่าสนใจและสร้างความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับ DEX ผู้นำทางธุรกิจควรใช้แนวทางแบบองค์รวม ร่วมมือกับทั้งพันธมิตรไอทีและที่ไม่ใช่ไอทีเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่มีความหมายต่อการส่งเสริมให้พนักงานนำวิธีการทำงานใหม่ ๆ มาปรับใช้

Page 1 of 9
X

Right Click

No right click