February 22, 2025

กรีน เยลโล่ (GreenYellow) แนวร่วมด้านความยั่งยืนผู้นำด้านการสร้างผลกระทบเชิงบวก หรือ Impact Maker ผู้เป็นเบื้องหน้าด้านพลังงานสีเขียว และพร้อมเป็นเบื้องหลังให้องค์กรก้าวไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ทั้งยังเป็นหนึ่งในพันธมิตรของชไนเดอร์ อิเล็คทริค

ภายใต้วิกฤตการณ์ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate change ทำให้ทั่วโลกต่างร่วมมือกันปรับตัวเพื่อสร้างโลกที่ยั่งยืน กรีน เยลโล่ เป็นผู้ให้บริการโซลาร์ PPA (Solar PPA) ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ให้การลงทุน ติดตั้ง ดูแลและบำรุงรักษาระบบโซลาร์เซลล์ แบบครบวงจร เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมสีเขียวสำหรับธุรกิจในหลากหลายอุตสาหกรรมและสนับสนุนบริษัทที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนที่หล่อหลอมในรูปแบบการดำเนินธุรกิจอย่างเต็มรูปแบบ รวมถึงการถ่ายทอดแนวคิดและกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน เพื่อโลกที่ยั่งยืนมากขึ้น

กรีน เยลโล่ นับว่ามีบทบาทสำคัญ ในการสนับสนุนอุตสาหกรรมสีเขียวสำหรับธุรกิจ โรงงานอุตสาหกรรม แม้กระทั่งห้างสรรพสินค้าที่มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาด เพื่อการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยจะเป็นผู้ลงทุนติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ พร้อมช่วยดูแลระบบในระยะยาวให้ฟรีตามสัญญา ตั้งแต่การสำรวจ ลงทุน ออกแบบ ติดตั้ง รวมถึงการบำรุงรักษา

นายสเตฟาน ดูเฟรน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายพาณิชย์และพันธมิตร ของ กรีน เยลโล่ ประเทศไทย เผยว่า “เราส่งมอบโซลูชันพลังงานสะอาด ที่มาพร้อมกับแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ช่วยทั้งการมอนิเตอร์ตั้งแต่การผลิตพลังงาน รวมถึงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในแบบเรียลไทม์ ที่ลูกค้าสามารถตรวจสอบได้ด้วยตนเอง เรายังช่วยให้ลูกค้าของเราลดการปล่อยคาร์บอนในขอบเขตที่ 1 (Scope 1) และ ขอบเขตที่ 2 (Scope 2) ของตนเอง ที่สำคัญลูกค้ายังสามารถให้ทาง กรีน เยลโล่ ช่วยออก 'ใบรับรองการผลิตพลังงานสีเขียว' หรือ green certificates เพื่อยืนยันว่ามีส่วนช่วยสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสภาพภูมิอากาศ"

นอกจากนี้ ในส่วนของการสร้างความยั่งยืนขององค์กร เพื่อการบรรลุเป้าหมาย ด้าน ESG ตอกย้ำความมุ่งมั่นในด้านความยั่งยืนที่แข็งแกร่ง กรีน เยลโล่จึงมีการกำหนดแผนไม่ต่ำกว่า 14 ข้อที่จะต้องบรรลุในปี 2030 เช่น การมีผู้หญิงทำงานในบริษัทเป็นสัดส่วน 50 เปอร์เซ็นต์ หรือ การมีซัพพลายเออร์หลักจำนวน 60 เปอร์เซ็นต์ ที่ต้องผ่านมาตรฐานการตรวจสอบด้านสังคม (Social Audits Standards) รวมถึง ยังมีความมุ่งมั่นด้านการลดคาร์บอน โดยมีการเปิดเผยผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ไปที่องค์กรCarbon Disclosure Project) ตั้งเป้าที่จะเป็นบริษัทที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในขอบเขตที่ 1 และ 2 ภายในปี 2040 โดยอุปกรณ์โซลาร์เซลล์ที่มีการติดตั้งต้องมีคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่ต่ำอีกด้วย

กรีน เยลโล่ ยังเป็นองค์กรที่ให้ความใส่ใจในการช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงในระบบนิเวศ โดยได้เริ่มดำเนินการ CSR แบบสมัครใจ ภายใต้สโลแกน "ร่วมกันขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก”

นายสเตฟานได้เผยว่า “CSR เป็นความพยายามร่วมกัน เพราะทุกคนสามารถสร้างผลกระทบกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของตนเองได้ ซึ่งทุกปีเรามอบรางวัลให้กับสาขาที่ทำคะแนนได้ดีที่สุดในด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงเรื่องความหลากหลาย การยอมรับความแตกต่าง สุขภาพและความปลอดภัย หรือความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในชุมชนท้องถิ่น”

ในแต่ละปี กรีน เยลโล่จะมีวัน EcoDay พนักงานทุกคนจะหยุดทำงาน เพื่อไปทำประโยชน์ให้กับสังคม อาทิ เก็บขยะและทำความสะอาดบริเวณรอบวัด หรือการเก็บขยะตามป่าชายเลน บางครั้งสามารถรวบรวมขยะได้ถึง 266 กิโลกรัมต่อครั้งเลยทีเดียว

นอกจากนี้ กรีน เยลโล่ยังทุ่มเทและถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับภาวะโลกร้อน เพื่อให้ผู้คนหรือองค์กรอื่นๆได้ตระหนักและเข้าใจว่าเราควรเริ่มลงมือทำเพื่อโลกที่ยั่งยืน ในโครงการ Climate Fresk โดยนำมาประยุกต์ใช้ในทุกประเทศ ทั้งสำหรับทีมงานภายในและยังรวมถึงลูกค้า พันธมิตร ซัพพลายเออร์ และนักลงทุน ของกรีนเยลโล่อีกด้วย

“การได้ลงมือทำ จะเป็นตัวชี้วัด ที่สร้างแรงผลักดันอันยิ่งใหญ่ อีกทั้งยังสร้างความกระตือรือร้น ที่ทำให้เราสามารถเห็นได้ว่า ทุกความพยายามถึงแม้เพียงเล็กน้อย แต่กลับมีความสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายความยั่งยืน” นายสเตฟานกล่าวทิ้งท้าย

นายมงคล ตั้งศิริวิช ประธานกลุ่มคลัสเตอร์ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ดูแลประเทศไทย ลาว และเมียนมา เผยว่า “กรีนเยล โล่เป็นหนึ่งใน Impact Makers และเป็นพันธมิตรที่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน ในการร่วมต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่นับว่าเป็นความท้าทายที่สำคัญสำหรับทุกธุรกิจในปัจจุบัน เราจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือกันในทุกระดับ ทุกองค์กรไม่ได้จำกัดเฉพาะบริษัทใหญ่ๆ จะเป็นองค์กรขนาดกลางและขนาดย่อม หรือสถาบันต่างๆ เพื่อสร้างแรงกระตุ้นให้เกิดกระแสและการปฏิบัติไปสู่ความยั่งยืนของโลกได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ขณะที่ธุรกิจก็ยังดำเนินต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย และนี่คือหนทางสู่ความยั่งยืนอย่างแท้จริง”

บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BPP ผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้าระดับสากล เผยผลการดำเนินงานครึ่งปีแรก ปี 2567 เป็นที่น่าพอใจ โดยบริษัทฯ มีกำไรสุทธิ 1,659 ล้านบาท และมีกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) รวม 4,030 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 995 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน* พร้อมเริ่มต้นธุรกิจพลังงานหมุนเวียนในสหรัฐฯ ด้วยโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ Ponder Solar มีกำหนดเริ่มดำเนินการเดือนสิงหาคมนี้ ทั้งยังลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ Gemeng International Energy เพื่อขยายการเติบโตของพลังงานสะอาดในจีน

 

นายอิศรา นิโรภาส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BPP กล่าวว่า “โรงไฟฟ้าของ BPP สามารถรักษาเสถียรภาพการผลิตและประสิทธิภาพในการบริหารจัดการต้นทุนการผลิต จึงสามารถสร้างกระแสเงินสดได้อย่างมั่นคง ทั้งนี้ บริษัทฯ ยังคงมุ่งมั่นเปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่การเป็นบริษัทผู้ผลิตพลังงานที่ยั่งยืน ผ่านการขยายพอร์ตให้ครอบคลุมมากไปกว่าการเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้า ตามแนวทาง ‘Beyond Megawatts Portfolio’ ทั้งการขยายกำลังผลิตจากโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน (Energy Infrastructure) และการพัฒนาธุรกิจแบตเตอรี่และระบบกักเก็บพลังงาน (Battery & Energy Storage System: BESS)”

ภาพรวมครึ่งปีแรก BPP มีผลการดำเนินงานที่ดี ส่วนสำคัญเกิดจากปริมาณการขายไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้นของโรงไฟฟ้าแฝด Temple l และ Temple ll ในสหรัฐอเมริกา รวมถึงการรับรู้รายได้จากการเดินเครื่องที่มีประสิทธิภาพและมีค่าความพร้อมจ่ายไฟ (Equivalent Availability Factor: EAF) ในระดับสูงอย่างต่อเนื่องของโรงไฟฟ้าเอชพีซี (HPC) ใน สปป.ลาว และโรงไฟฟ้าบีแอลซีพี (BLCP) ในไทย อีกทั้งโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมในจีนยังรายงานผลการดำเนินงานที่ดีจากการบริหารต้นทุนเชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพ

*หมายเหตุ: เทียบกับ EBITDA ที่ไม่รวมกำไรจากการวัดมูลค่าเงินลงทุนใหม่ในปี 2566

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังเดินหน้าขยายการลงทุนในธุรกิจพลังงานหมุนเวียนในประเทศยุทธศาสตร์อย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด ได้ติดตั้งโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ Ponder Solar ขนาด 2.5 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่ในพื้นที่แหล่งก๊าซธรรมชาติ บาร์เนตต์ในรัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา มีกำหนดเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ในเดือนสิงหาคม 2567 นับเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการขยายธุรกิจพลังงานหมุนเวียนของ BPP ในสหรัฐฯ เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ BPP ยังได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับ Gemeng International Energy ในการร่วมพัฒนาธุรกิจพลังงานในรูปแบบใหม่ ธุรกิจระบบจัดเก็บพลังงาน และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับพลังงานสะอาด เพื่อขยายโอกาสการเติบโตของธุรกิจพลังงานหมุนเวียนในประเทศจีน

 

ด้านธุรกิจเทคโนโลยีพลังงานซึ่ง BPP ได้ลงทุนผ่านบ้านปู เน็กซ์ ในสัดส่วนร้อยละ 50 มีความคืบหน้าในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา โดยธุรกิจผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา ได้ลงนามสัญญาเพื่อผลิตและจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับพันธมิตรในประเทศต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีกำลังผลิตตามสัดส่วนการลงทุนรวม 100 เมกะวัตต์ ธุรกิจแบตเตอรี่และระบบกักเก็บพลังงาน เริ่มสายการผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนของโรงงาน SVOLT Thailand และส่งมอบแบตเตอรี่ลิเธียมนิกเกิลแมงกานีสโคบอลต์ออกไซด์ (NMC) ชุดแรกให้กับผู้ให้บริการรถบัสรายใหญ่ที่สุดในไทย ขณะที่โครงการแบตเตอรี่ฟาร์มอิวาเตะ โตโนะ (Iwate Tono) ในญี่ปุ่น มีความคืบหน้าในการก่อสร้างถึง 97% ธุรกิจอีโมบิลิตี้ รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า MuvMi เดินหน้าขยายเส้นทางการให้บริการอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันได้ให้บริการรับส่งแล้วมากกว่า 13 ล้านเที่ยว ธุรกิจการบริหารจัดการพลังงาน ได้ลงนามในสัญญาบริการจำนวน 25 สัญญาให้แก่ SB Design Square ในจังหวัดภูเก็ต และ SB Design Square CDC ในกรุงเทพฯ นอกจากนี้ หน่วยงาน Corporate Venture Capital ยังได้ลงทุนใน enspired ผู้นำในการพัฒนาแพลตฟอร์มให้บริการซื้อ-ขายพลังงานไฟฟ้าแบบเรียลไทม์ ซึ่งจะช่วยพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยี AI ที่จะยกระดับการดำเนินงานในธุรกิจแบตเตอรี่และการซื้อขายพลังงานของบ้านปู เน็กซ์

“BPP จะยังคงเดินหน้าขยายกำลังผลิตไฟฟ้าคุณภาพจากโรงไฟฟ้าที่มีก๊าซธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพสูงในการผลิตและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อสร้างกระแสเงินสดที่มั่นคง และพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้ตอบสนองต่อความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้นและรูปแบบการใช้พลังงานในอนาคต สะท้อนให้เห็นว่า เราคือพันธมิตรที่แข็งแกร่งในการเปลี่ยนผ่านพลังงาน ควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจโดยยึดหลัก ESG ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ ที่มุ่งส่งมอบคุณค่าที่ยั่งยืนแก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม” นายอิศรา กล่าวปิดท้าย

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับธุรกิจ BPP ได้ที่ www.banpupower.com

บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านพลังงานที่หลากหลายในระดับนานาชาติ

บอร์ด NUSA ไฟเขียวลงทุนซื้อหุ้น DEMCO ดำเนินธุรกิจพลังงานและพลังงานทดแทน ในวงเงิน 1,000 ล้านบาท

ผลจากรับรู้ยอดรายได้ที่ปรับตัวสูงขึ้น จากโครงการภาครัฐและเอกชน เผยตุน BACKLOG ปี 2565 มูลค่ากว่า 3,000 ล้านบาทซึ่ง NUSA ได้ทำบิ๊กล็อต เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2565 โดยซื้อหุ้น DEMCO จำนวน 170,000,000 หุ้น ในราคาหุ้นละ 5 บาท คิดเป็นเงิน 850,000,000 บาท ทำให้ NUSA เป็นผู้ถือหุ้นอันดับ 1 ของ DEMCO ในสัดส่วนมากกว่า 23 % มั่นใจหนุนรายได้ปีนี้เข้าเป้า ทำนิวไฮต่อเนื่อง

ฝ่ายบริหารของ NUSA ได้คัดเลือก DEMCO เป็นเป้าหมายในการลงทุน โดยมีข้อมูลจุดแข็งของ DEMCOให้บอร์ดประกอบการตัดสินใจ ดังนี้

1.เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทที่ประกอบธุรกิจพลังงานทดแทน และเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้า

1.1 ถือหุ้นในบริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด สัดส่วน 4%

1.2 ถือหุ้นโรงไฟฟ้าในโครงการไฟฟ้าพลังงานลม สัดส่วน 57.90 MW

1.3 ถือหุ้นโรงไฟฟ้าในโครงการไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ สัดส่วน 3.00 MW

1.4 เป็นเจ้าของโรงไฟฟ้าในโครงการไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน 5.20 MW

 

2.เป็นบริษัทรับเหมาด้านวิศวกรรมไฟฟ้าครบวงจร

2.1 มีผลงานก่อสร้างระบบสายส่ง ประเภทสายใต้ดิน ที่แรงดัน 115 เควี

2.2 มีผลงานก่อสร้างระบบสายส่ง ประเภทสายอากาศ ที่แรงดัน 500 เควี

2.3 มีผลงานก่อสร้างสถานีไฟฟ้า ที่แรงดัน 500 เควี

 

3. มีโรงงานผลิตเหล็กชุบสังกะสีที่ขึ้น VENDER LIST กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT) ที่ระดับแรงดัน 500 เควี โดยมีกำลังการผลิต 12,000 ตัน/ปี

4. มี BACKLOG ปี 2565 มูลค่ากว่า 3,000 ล้านบาท

นายวิษณุ เทพเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ณุศาศิริ จำกัด (มหาชน) หรือ NUSA ได้เปิดเผยว่า “ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ มีมติอนุมัติให้บริษัทเข้าลงทุนใน “บริษัท DEMCO ซึ่งดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานและพลังงานทดแทน และการจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีธุรกิจที่เกี่ยวกับด้านวิศวกรรมไฟฟ้าครบวงจร มีโรงงานผลิตเหล็กชุบสังกะสีที่ขึ้น VENDER LIST กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT ) ดำเนินธุรกิจจากทั้งโครงการภาครัฐและเอกชน เป็นปัจจัยที่สนับสนุนให้ผลการดำเนินงานมีการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง บอร์ด NUSA จึงอนุมัติให้เข้าลงทุนในธุรกิจด้านพลังงาน ในวงเงิน 1,000 ล้านบาท โดยฝ่ายบริหารได้คัดเลือก DEMCO เป็นเป้าหมายในการลงทุน ซึ่ง NUSA ก็ได้ทำบิ๊กล็อต เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2565 ซื้อหุ้น DEMCO จำนวน 170,000,000 หุ้น ในราคาหุ้นละ 5 บาท คิดเป็นเงิน 850,000,000 บาท ส่งผลให้ NUSA เป็นผู้ถือหุ้นอันดับ 1 ของ DEMCO ในสัดส่วนมากกว่า 23% สำหรับวัตถุประสงค์การลงทุนครั้งนี้ ก็เพื่อขยายธุรกิจไปในกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับพลังงานทดแทน และเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มโอกาสในการเติบโตให้สอดคล้องกับแนวโน้มสถานการณ์โลกในปัจจุบัน” 

X

Right Click

No right click