November 23, 2024

ล่าสุดจัดโปรแกรมช่วยเหลือลูกค้าจากเหตุอุทกภัยพร้อมทีมอาสาช่วยเหลือผู้ประสบภัย

บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด จัดกิจกรรม “รวมพลังคนคูโบต้า ช่วยภัยน้ำท่วม” ภายใต้โครงการคูโบต้า พลังใจสู้ภัยน้ำท่วม ในจังหวัดเชียงราย ร่วมกับ ผู้แทนจำหน่ายสยามคูโบต้า สยามคูโบต้าลีสซิ่ง มูลนิธิเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หน่วยงานราชการจังหวัดเชียงราย และเหล่าจิตอาสาลูกค้าคูโบต้า เร่งเข้าพื้นที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม จัดทีมเคลียร์ดินโคลนในเส้นทางสัญจร พร้อมเตรียมมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรและฟื้นฟูพื้นที่หลังเหตุอุทกภัย

ในยุคปัจจุบันที่เยาวชนรุ่นใหม่ห่างไกลจากเกษตรกรรม อาชีพเกษตรกรที่ถือเป็นรากฐานของประเทศไทยแต่กลับได้รับความสนใจลดน้อยลงตามยุคสมัย เพื่อกระตุ้นให้เยาวชนหันกลับมาสนใจภาคการเกษตรอีกครั้ง สยามคูโบต้าซึ่งเป็นผู้อยู่เคียงข้างภาคการเกษตรไทยมาอย่างยาวนาน จึงได้จัดโครงการ “KUBOTA Smart Farmer Camp” ขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนได้เรียนรู้ด้านการเกษตรและนวัตกรรม ผ่านการสัมผัสประสบการณ์จริงจากเกษตรกรตัวจริงและบรรยากาศจริง โดยแคมป์นี้จะช่วยให้เยาวชนกลับมาใกล้ชิดกับการเกษตรและเห็นคุณค่าในอาชีพเกษตรกรรมอีกครั้ง

สยามคูโบต้าจึงได้จัดที่สุดของแคมป์เกษตรยุคใหม่ "KUBOTA Smart Farmer Camp 2024" ปีที่ 10 ในธีม “Real-Life Agri Journey” แคมป์ที่จะพาเยาวชนรุ่นใหม่ ร่วมปลุกไอเดีย สร้างการทำเกษตรในฝันไปกับนวัตกรรม จากแคมป์เกษตร ทำจริง ปลูกจริง ขายจริง พร้อมให้น้องๆ นักศึกษาได้นำประสบการณ์กลับไปใช้พัฒนาวิถีการทำเกษตรในแบบของตัวเองได้จริง ซึ่งในปีนี้กิจกรรมที่จัดขึ้นมุ่งเน้นให้เยาวชนที่เข้าร่วมได้สัมผัสกับการทำเกษตรตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ จนถึงปลายน้ำ ผ่านการเรียนรู้นวัตกรรมเกษตร ตลอด 4 วัน 3 คืน ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ณ ศูนย์เรียนรู้ชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้า-หนองผักบุ้ง ตำบลนายม ซึ่งเป็นชุมชนต้นแบบ Smart Farming Model ที่สามารถถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกรหรือผู้ที่สนใจในแต่ละชุมชนได้เกิดการขยายผล และการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน

นางวราภรณ์ โอสถาพันธุ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า สยามคูโบต้ามีนโยบายด้านความรับผิดชอบต่อสังคม โดยมุ่งเน้นพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้ดีขึ้นตามหลักการ Sustainable Development Goals หรือ SDGs 4 ด้าน ได้แก่ ความมั่นคงทางอาหาร การศึกษาของเยาวชน ความเป็นอยู่ที่ดีของสังคม และการรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่ง โครงการ KUBOTA Smart Farmer Camp ถือเป็นหนึ่งในโครงการด้านความมั่นคงทางอาหาร การยกระดับกระบวนการผลิตทางการเกษตรอย่างยั่งยืนเพื่อเกษตรกร ชุมชน และสังคมและคงไว้ซึ่งการรักษาแหล่งอาหารของโลก โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างทัศนคติที่ดีและกระตุ้นให้เยาวชนรุ่นใหม่ใส่ใจการทำอาชีพเกษตรกรรม ตลอดจนตระหนักถึงการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีเครื่องจักรกลการเกษตรมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการทำเกษตรแม่นยำ สำหรับปี 2567 นี้ กิจกรรม “KUBOTA Smart Farmer Camp” ได้คัดเลือกกลุ่มคนรุ่นใหม่ กว่า 650 คน จนเหลือเพียง 60 คน ที่มีความตั้งใจจะกลับไปพัฒนาหรือสานต่อเจตนารมณ์ของครอบครัวในการทำเกษตรกรรมสัมผัสกับการทำเกษตรสมัยใหม่ โดยปัจจุบันมีจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการแล้ว ทั้งสิ้น 920 คน ตั้งแต่ปี 2558

โดยมีกิจกรรม Smart Farming Experience ให้น้องๆได้เข้าใจวิถีการทำเกษตรของจริง เริ่มจาก ฐานที่ 1 การบริหารจัดการเครื่องจักรกล จะได้เรียนรู้การทำธุรกิจการเกษตร การบริหารเครื่องจักรตามสิ่งที่ปลูก รวมถึงปฏิทินการใช้เครื่องจักรและผลตอบแทนการบริหารการจัดการเครื่องจักรกลการเกษตร ฐานที่ 2 การทำนาและปลูกพืชหมุนเวียน เป็นฐานที่ให้น้องๆได้ทดลองขับนวัตกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร ได้แก่แทรกเตอร์ รถดำนานั่งขับ 8 แถว รถเกี่ยวนวดข้าว และโดรนการเกษตร ฐานที่ 3 การแปรรูปสินค้าการเกษตร โดยมีคุณ “โอวา” เจ้าของเพจ “โอวากะเทยขายข้าว” มาร่วมสร้างสีสรรค์สอนการไลฟ์ขายของผ่านช่องทางออนไลน์ ฐานที่ 4 ปลูกผักสร้างรายได้ สอนวิธีการปลูกผักในทุกกระบวนการปลูก ตั้งแต่การปรุงดิน การเลือกเมล็ดพันธุ์ผัก วิธีการปลูก และการทำปฏิทินการเพาะปลูกผัก ฐานที่ 5 การปรับปรุงบำรุงดิน เป็นเทคนิคการปรับปรุงดินให้เหมาะสมกับการเพาะปลูก และ ฐานที่ 6 การบริหารจัดการพื้นที่ทางการเกษตร จะได้พูดคุยกับ นางบุญเลิศ ปราบภัย ประธานศูนย์เรียนรู้ชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้า-หนองผักบุ้ง ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดพื้นที่เกษตรตัวจริงจากชุมชนต้นแบบ Smart Farming Model หนองผักบุ้ง นอกจากฐานยังมีองค์ความรู้จากผู้ประสบความสำเร็จด้านการเกษตร อีก 3 ท่านด้วยกัน Real Life โดยนายนิทัศน์ เจริญธรรมรักษา จากศูนย์เรียนรู้วิถีชีวิตและจิตวิญญาณชาวนาไทย เปิดมุมมองให้คนเห็นความสำคัญของ "ข้าว" และ "ชาวนา" Real Agri โดย คุณหนึ่ง ธนากร ทองศักดิ์ เจ้าของ Believe Farm เพชรบูรณ์ วิศวกรหนุ่มที่ผันตัวมาเป็นเกษตรกร ปลูกพืชผักและมะเขือเทศหลากสีเพื่อสร้างรายได้เสริม Real Journey โดย นายไพโรจน์ คล้ายแก้ว ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายสรรหาสินค้าท้องถิ่นและจริงใจ ฟาร์มเมอร์ส มาร์เก็ต นายชัยพร หล้าต๋า เจ้าหน้าที่อาวุโสกิจกรรมเพื่อสังคม บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด และนางหยวน หมื่นนาอาน คณะทำงานแปรรูปสินค้าเกษตร กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกข้าวหอมมะลิหนองผักบุ้งพัฒนา จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่มาร่วมแชร์องค์ความรู้เส้นทางสู่การเป็นผู้ประกอบการเกษตรเชิงธุรกิจ

น้องทัดดาวน์ - วิชิตา ผลจันทร์ อายุ 22 ปี คณะวิทยาลัยพลังงานทดแทน สาขาวิศวกรรมฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ชั้นปีที่ 4 เล่าว่า ได้มีโอกาสร่วมทำงานที่โครงการหลวงห้วยน้ำริน จ.เชียงราย เกี่ยวกับการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรที่ล้นตลาดให้เกิดมูลค่าเพิ่ม และได้ใช้นวัตกรรมเครื่องจักรกลที่ทำร่วมกับเพื่อนๆ และอาจารย์ ซึ่งจะนำไอเดียกล้วยฮักมะขามที่ได้เรียนรู้จากแคมป์นี้ไปปรับใช้กับผลิตภัณฑ์โครงการหลวงอื่นๆ ลองผสมกับวัตถุดิบใหม่ๆ เพื่อต่อยอดและเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตผลการเกษตรในพื้นที่” น้องทัดดาวน์ เป็นตัวแทนคนรุ่นใหม่ที่มีความสนใจเปลี่ยนการเกษตรในรูปแบบเดิมๆ เพื่อพัฒนาการเกษตรให้ดียิ่งขึ้นด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่ ลดแรงงาน สร้างผลิตภัณฑ์ และเพิ่มรายได้ให้ท้องถิ่น

น้องโจอี้ - กิตติธัช กิตติภูวนาท อายุ 21 ปี คณะเกษตร สาขาเกษตรนวัตกรรม มหาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ชั้นปีที่ 4 เล่าเกี่ยวกับการเกษตรในท้องถิ่นของตนเองว่า “จากที่สินค้าเกษตรมีราคาต่ำตอนนี้ชาวนาในท้องถิ่นของผมจึงนิยมแค่ปลูกไว้กินภายในครัวเรือน ผมจึงมาเข้าร่วมโครงการนี้เพื่อมาหาแรงบันดาลใจใหม่ๆ ผมเชื่อว่าการได้เห็นอะไรใหม่ๆ เช่น นวัตกรรมก่อนคนอื่น จะเป็นโอกาสที่ให้เราได้ลงมือทำก่อนคนอื่น ผมอยากใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีไปช่วยการเกษตรท้องถิ่นให้ดีขึ้น เพื่อให้ข้าวมีคุณภาพดี ขายได้กำไร มีรายได้เลี้ยงดูครอบครัว ความเจริญของเกษตรกรรมก็จะกลับคืนสู่ท้องถิ่นอีกครั้ง ผมอยากให้คนรุ่นใหม่กลับไปบ้านเกิดตัวเอง นำความรู้ไปช่วยกันพัฒนาท้องถิ่นของเราให้ดียิ่งขึ้นครับ”

น้องตันตัน – นายกิติพงศ์ แซ่จาง อายุ 23 ปี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี สถาบันราชสุดา สาขาวิชาเอกล่ามภาษามือ มหาวิทยาลัยมหิดล ชั้นปีที่ 4 น้องตันตันนักศึกษาแพทย์ที่สนใจในการเกษตร เล่าว่า “สาขาที่เรียนมีการใช้ล่ามภาษามือเพื่อผู้พิการทางการได้ยิน ผสานกับองค์ความรู้เกี่ยวกับการเกษตรที่ได้จากการมาแคมป์นี้ จะช่วยสื่อสารกับผู้พิการทางการได้ยินที่เป็นเกษตรกรหรือพูดคุยเรื่องการเกษตรกับคนไข้ได้ค่ะ หนูมองว่าความรู้ด้านการเกษตรจะเห็นภาพยากมากถ้าไม่ได้มาลงมือปฏิบัติจริง อย่างวันนี้หนูได้เห็นภาพจริงของการทำเกษตร สามารถนำภาพที่เห็นไปแปลเป็นภาษามือให้แก่ผู้พิการทางการได้ยินได้รับรู้และเข้าใจการเกษตรได้มากขึ้น และถ่ายทอดเป็นเรื่องราวผลิตสื่อดิจิทัลทำเป็นคอนเทนต์ลงในช่องทาง TikTok ของหนูเองค่ะ”

ทั้งนี้กิจกรรม KUBOTA Smart Farmer Camp 2024 ก็ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องจนเข้าปีที่ 10 ทางสยามคูโบต้า ได้มุ่งหวังส่งเสริมความฝันของเกษตรกรยุคใหม่ให้เกิดขึ้นจริง จากนวัตกรรมและเครื่องจักรกลการเกษตร ที่ให้น้องๆ ได้ทดลองทำจริง ลงมือจริง วางแผนจริง พร้อมทั้งการออกแบบแผนการเกษตรในอนาคตของตัวเอง เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคนสามารถนำองค์ความรู้และประสบการณ์ที่ได้ไปต่อยอดและพัฒนาภาคการเกษตรไทย ให้เป็น Smart Farmer ในรูปแบบของคนรุ่นใหม่ที่มาสานต่ออาชีพเกษตรกรของครอบครัวได้ และนี่เป็นสิ่งที่ทางบริษัทฯ มุ่งตอบแทนสังคม และหวังเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาสังคมเกษตรกรรมไทยให้มั่นคงอย่างยั่งยืน

บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด ลุยต่อแผน KUBOTA NET ZERO EMISSION มุ่งมั่นสร้างโลกเกษตรที่ยั่งยืน ขยายองค์ความรู้เกษตรปลอดการเผา สู่นโยบายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคการเกษตรสุทธิเป็นศูนย์ จับมือหน่วยงานภาครัฐและเอกชนของจังหวัดสระแก้ว ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฯ “สระแก้ว เมืองต้นแบบปลอดการเผาสู่ Net Zero Emission" เป็นจังหวัดที่ 12 ดึงองค์ความรู้ KUBOTA (Agri) Solutions เกษตรครบวงจร แก้ปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองในภาคการเกษตร ตลอดจนบริหารจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

นางวราภรณ์ โอสถาพันธุ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด เปิดเผยว่า “ปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นประเด็นภาวะโลกร้อน สภาพอากาศแปรปรวน ไปจนถึงมลพิษในอากาศอย่าง “ฝุ่นละออง PM 2.5” ซึ่งพบว่าสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการเผาในพื้นที่การเกษตร สยามคูโบต้าจึงได้ดำเนินกิจกรรมโซลูชันเกษตรปลอดการเผาตั้งแต่ปี 2559 เพื่อรณรงค์และพัฒนากระบวนการผลิตโดยวิธีการทำเกษตรปลอดการเผา ตลอดจนการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่วัสดุเหลือใช้หลังการเก็บเกี่ยว เช่น ฟางข้าว ตอซังข้าว และใบอ้อย ด้วยการนำเอานวัตกรรมเครื่องจักรกลการเกษตรและองค์ความรู้ด้านการเกษตร ภายใต้องค์ความรู้ KUBOTA (Agri) Solutions เกษตรครบวงจร มาปรับใช้”  

ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2563 ได้จัดกิจกรรมรณรงค์และสัมมนาโครงการฯ รวมถึงดำเนินการจัดลงนามความร่วมมือโครงการเกษตรปลอดการเผา (Zero Burn) ไปแล้ว 11 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดราชบุรี จังหวัดเชียงราย จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดอุดรธานี จังหวัดสุโขทัย จังหวัดหนองคาย และจังหวัดเลย ส่งผลให้ลดจุดการเผาในภาคการเกษตรในจังหวัดที่เข้าร่วมโครงการได้อย่างยั่งยืน อีกทั้งยังสร้างรายได้และคืนสุขภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้พี่น้องเกษตรกร สยามคูโบต้าจึงได้ต่อยอดความสำเร็จมายังจังหวัดสระแก้วเป็นจังหวัดที่ 12 ทั้งนี้เรามุ่งหวังยกระดับโครงการเกษตรปลอดการเผา (Zero Burn) สู่เป้าหมาย KUBOTA NET ZERO EMISSION มุ่งมั่นสร้างโลกเกษตรที่ยั่งยืน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคการเกษตรสุทธิเป็นศูนย์ อย่างไรก็ดียังมีการเร่งศึกษาทดลองนวัตกรรมและเทคโนโลยี และโซลูชันการเกษตรต่างๆ เพื่อทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น และนำไปส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ด้าน นายปริญญา โพธิสัตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว กล่าวว่า “ความร่วมมือกันในโครงการ KUBOTA Net Zero Emission ถือเป็นประโยชน์อย่างมากต่อจังหวัดสระแก้ว เนื่องจากจังหวัดสระแก้วมีพื้นที่เกษตรกรรม คิดเป็นร้อยละ 70 ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งในปี 2566 พบว่าจังหวัดสระแก้วมีจุดความร้อนจากการเผา จำนวน 910 จุด เป็นจุดความร้อนภาคเกษตร 590 จุด จะเห็นได้ว่าเกษตรกรยังมีการเผาตอซังข้าวและเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อความสะดวกในการไถ เพราะหากไม่เผาการไถกลบทำได้ยากและมีค่าจ้างสูงกว่า อีกทั้งเกษตรกรมีเครื่องมือเครื่องจักรกลการเกษตรในการเตรียมแปลงเพาะปลูกไม่เพียงพอ เพราะส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อยที่ยังขาดความเข้าใจถึงผลกระทบจากการเผาที่มีผลให้เกิดภาวะโลกร้อนด้วย

จังหวัดสระแก้วเชื่อว่าการลงนามในครั้งนี้จะเป็นการรณรงค์ส่งเสริมให้เกษตรกรตระหนักถึงความสำคัญของโครงการเกษตรปลอดการเผา (Zero Burn) การนำนวัตกรรมเครื่องจักรกลการเกษตรและองค์ความรู้ด้านการเกษตรมาปรับใช้เพื่อการทำการเกษตรลดโลกร้อน และลดปัญหาฝุ่นควัน PM 2.5 เพื่อสร้าง “สระแก้ว เมืองต้นแบบปลอดการเผาสู่ Net Zero Emission” ให้เกิดขึ้นได้จริง”

อย่างไรก็ตามสยามคูโบต้ายังคงมุ่งมั่นผลักดันแนวคิดเกษตรปลอดการเผาสู่การสร้าง “เมืองต้นแบบปลอดการเผาสู่ Net Zero Emission” ด้วยการขยายพื้นที่ความร่วมมือของโครงการฯ ในปี 2567 เพิ่มอีก 2 จังหวัด ได้แก่จังหวัดสระแก้ว จังหวัดสระบุรี นอกจากนี้ยังมีการผลักดันองค์กรและสินค้าของคูโบต้าให้เป็นองค์กรที่มีนโยบายเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตลอดจนหาแนวทางการแก้ไขประเด็นเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมอยู่เสมอ ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมาย ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 50% ภายในปี 2573 พร้อมขยายผลให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero Emission ภายในปี 2593 สอดรับกับเป้าหมายแผนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยและเพื่อดำเนินตามนโยบายคูโบต้า คอร์ปอเรชั่น ในการมุ่งสู่แบรนด์ชั้นนำระดับโลกหรือ Global Major Brand (GMB)

Page 1 of 5
X

Right Click

No right click