กระทรวงแรงงาน โดย กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือ กสร. และบริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ในกลุ่มบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ลงนามข้อตกลงความร่วมมือ “ขับเคลื่อนแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี” (GLP) สำหรับฟาร์มสุกรในประเทศไทย ตั้งเป้าฟาร์มสุกรซีพีเอฟทั้งหมด 106 แห่งทั่วประเทศสามารถผ่านการรับรองครบ 100% ได้ภายใน 1 ปี พร้อมขยายผลสู่เกษตรกรในโครงการส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรายย่อย 4,000 ราย เพิ่มขีดความสามารถสินค้าเกษตรสู่ระดับสากลและยั่งยืน

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีลงนาม MOU ที่จัดขึ้น ณ กระทรวงแรงงาน กล่าวชื่นชมซีพีเอฟที่แสดงความมุ่งมั่นในการส่งเสริม สนับสนุนให้สถานประกอบกิจการ ตลอดจนห่วงโซ่อุปทาน นำแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดีสำหรับฟาร์มสุกรในประเทศไทยไปใช้บริหารจัดการแรงงานสอดคล้องกับมาตรฐานแรงงานสากล ซึ่งถือเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่สถานประกอบกิจการอื่นต่อไป

นางโสภา เกียรตินิรชา อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวเพิ่มเติมว่า ปี 2566 กรมได้ร่วมมือกับองค์กรนายจ้าง องค์กรลูกจ้าง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พัฒนาแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดีสำหรับฟาร์มสุกรในประเทศไทยขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจฟาร์มสุกร นำ GLP (Good Labour Practices) ไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงสภาพการจ้างและสภาพการทำงานของฟาร์มสุกรให้สอดคล้องตามกฎหมายอย่างมีจริยธรรม  โดยการลงนามบันทึกข้อตกลง ความร่วมมือในครั้งนี้ ถือเป็นการขับเคลื่อน เพื่อให้แรงงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และกรมพร้อมสนับสนุนความรู้ทางวิชาการและเทคนิคต่าง ๆ แก่ผู้ประกอบการที่สนใจนำแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดีในฟาร์มสุกรไปใช้ในสถานประกอบกิจการ

ด้านนายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร ซีพีเอฟ เสริมว่า ซีพีเอฟให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการแรงงานในฟาร์มและโรงงานในทุกกลุ่มธุรกิจให้ถูกต้องตามกฎหมายและมาตรฐานแรงงานสากลอย่างเคร่งครัดต่อเนื่อง ดูแลและปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเป็นธรรม บนพื้นฐานของการเคารพสิทธิมนุษยชนและหลักสากล ตลอดจนสนับสนุนคู่ค้าและเกษตรกรในห่วงโซ่อุปทานให้มีหลักปฏิบัติที่ดีต่อแรงงาน ยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงาน เพิ่มขีดการแข่งขันให้สินค้าเกษตรไทยสามารถตอบรับความคาดหวังของผู้บริโภคและสังคม พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืน   สอดคล้องกับหลักปรัชญาการดำเนินธุรกิจ “3 ประโยชน์” สู่ความยั่งยืน ของเครือซีพีที่ซีพีเอฟทุกคนยึดมั่น ดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศ ประชาชน และบริษัท

ทั้งนี้ ซีพีเอฟ ได้จัดการอบรมให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องนำหลัก GLP ไปใช้บริหารจัดการแรงงานในฟาร์มสุกรทั้ง 106 แห่งได้อย่างถูกต้อง และประยุกต์ใช้ให้เกิดความยั่งยืน จนสามารถผ่านการรับรองและได้รับตราสัญลักษณ์ GLP จากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน  รวมทั้งส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกรในโครงการ Contract Farming ประมาณ 4,000 รายทั่วประเทศได้นำหลัก GLP ไปใช้บริหารจัดการแรงงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายและหลักสากล เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคผลิตภัณฑ์อาหารของซีพีเอฟมาจากห่วงโซ่การผลิตที่รับผิดชอบต่อสังคมและโลก.

แบรนด์ U FARM (ยู ฟาร์ม) ในกลุ่มบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ชวนเปิดประสบการณ์ด้วยนวัตกรรมที่ทันสมัยอย่าง AI สร้างมาสคอต หมูชีวา ไก่เบญจา ไข่ไก่เบญจา ไม่ใช่ปลาแต่มีโอเมก้า 3 พร้อมกับกิจกรรม “หมูชีวา-ไก่เบญจา FUN DIVE! ไม่ใช่ปลาแต่มีโอเมก้า 3” นำผลิตภัณฑ์พรีเมียม ได้แก่ หมูชีวา ไก่เบญจา และไข่ไก่เบญจา มาจัดแสดงในอควาเรียม ของ Sea Life Bangkok Ocean World สยามพารากอน แหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมของทุกกลุ่มวัย ตอกย้ำจุดเด่น 'โอเมก้า 3' ที่สามารถรับประทานได้จากผลิตภัณฑ์ U FARM เพิ่มทางเลือกสำหรับสุขภาพ

นางสาวอนรรฆวี ชูรัตน์ ผู้บริหารสูงสุด สายงานการตลาดกลาง ซีพีเอฟ กล่าวว่า กิจกรรมที่จัดขึ้นครั้งนี้ เป็นการต่อยอดจากการทำโฆษณารูปแบบใหม่ของ U FARM ในการใช้ AI-Powered Marketing ผสมเข้ากับความสร้างสรรค์ในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ทั้ง 3 อย่าง ได้แก่ หมูชีวา ไก่เบญจา และไข่เบญจา ด้วยรูปแบบ 3D Animation เสมือนเป็นปลาทะเลแหวกว่ายอยู่บนจอกลางแยกอโศก รวมถึงป้ายโฆษณาต่างๆ เพื่อตอกย้ำจุดเด่นของโอเมก้า 3 ตอนนี้มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ของ U FARM ด้วยการสื่อสารที่เข้าใจง่าย ตรงประเด็น ดึงดูดความสนใจจากผู้ที่พบเห็น ซึ่งได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคที่พูดถึงในช่องทางโซเชียลต่างๆ ทั้ง Facebook, X รวมถึง TIKTOK

น.สพ.ดร.มนูศักดิ์ วงศ์พัชรชัย หัวหน้าทีมวิจัยด้านไบโอเทค สำนักวิชาการอาหารสัตว์ บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์แบรนด์ U FARM เป็นนวัตกรรมอาหารที่ซีพีเอฟภาคภูมิใจ โดยคัดเลือกหมู ไก่ และไข่ สายพันธุ์ที่ดีที่สุด เลี้ยงด้วยสูตรอาหารซูเปอร์ฟู้ด อาทิ เมล็ดแฟลกซ์ (Flaxseed) น้ำมันปลาและสาหร่ายทะเล เป็นต้น ที่อุดมด้วยโอเมก้า 3 จากธรรมชาติ จึงไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะ 100% ตลอดการเลี้ยงดู ได้การรับรองมาตรฐานความปลอดภัยในการเลี้ยงจาก NSF จากประเทศสหรัฐอเมริกา สามารถรับประทานได้ทุกวัน การันตีด้วยรางวัลมากมายจากนานาชาติ ทั้งนี้ U FARM ยังเป็นแบรนด์ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์รายแรกและรายเดียวที่ได้รับการรับรองตรา ‘อาหารรักษ์หัวใจ’ จากมูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์

ด้าน แพทย์หญิงพลอย ศุภนันตฤกษ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน Wellness และเจ้าของ ‘เพจหมอพลอย ลูกอัจฉริยะสร้างได้’  มาร่วมให้ความรู้เรื่อง โอเมก้า 3 ว่า ยินดีอย่างมากที่เห็นคนทุกกลุ่มวัยให้ความสำคัญต่อเรื่องอาหาร เพราะโอเมก้า 3 สำคัญต่อทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่เด็ก จนถึงผู้สูงวัย เพราะช่วยการทำงานของสมอง หัวใจและหลอดเลือด รวมถึงช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้แข็งแรงขึ้นโดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่ที่เข้มงวดกับโภชนาการของลูก การเลือกสารอาหารที่เหมาะสม อย่าง โอเมก้า 3 จะช่วยส่งเสริมสุขภาพเชิงป้องกันอย่างดี นอกจากนี้ยังสร้างสุขภาพที่ดีให้คุณแม่ตั้งครรภ์และลูกน้อย ลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ เชื่อว่า การเพิ่มสารอาหารที่ดีในเนื้อหมู ไก่ และไข่ ซึ่งเป็นวัตถุดิบพื้นฐานจะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคคนไทยอย่างมาก

ขณะเดียวกัน บีม กวี - ออย อฏิพรณ์ ตันจรารักษ์ กล่าวว่า ความรู้สึกยินดีที่ได้มาร่วมงานแคมเปญนี้ ช่วยเปิดมุมมองเรื่องสารอาหารอย่าง โอเมก้า 3 จากที่เคยเข้าใจว่ามีอยู่ในปลาและสัตว์ทะเล แต่ตอนนี้การรับประทานหมู ไก่ และไข่ไก่ ก็ได้รับโอเมก้า 3 เช่นกัน ซึ่งดีกับทุกช่วงวัยโดยเฉพาะเด็กๆ ที่ต้องใส่ใจในเรื่องโภชนาการเป็นพิเศษ การมีผลิตภัณฑ์ให้เลือกมากขึ้น คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถนำมาปรุงอาหารได้หลากหลายขึ้นเช่นกัน

ซีพีเอฟ มุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีทันสมัย เพื่อส่งมอบวัตถุดิบ ตลอดจนอาหารคุณภาพปลอดภัยได้มาตรฐานสากลให้แก่ผู้บริโภคทุกกลุ่ม สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดห่วงโซ่ พร้อมทั้งสร้างสรรค์แคมเปญที่ตอบโจทย์เทรนด์ต่างๆ เพื่อเข้าถึงและเข้าใจผู้บริโภคทุกเจนเนอเรชัน

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ได้รับการรับรองต่ออายุเป็นสมาชิกแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (CAC) สะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใสตามแนวทาง ESG รวมทั้งเดินหน้าขยายเครือข่ายการกำกับดูแลกิจการที่ดี สนับสนุนการเติบโตที่ยั่งยืนตลอดห่วงโซ่อุปทาน 

นางสาววิภาวรรณ ประมูลความดี รองกรรมการผู้จัดการบริหาร สำนักตรวจสอบภายในและสำนักบริหารความเสี่ยงองค์กรของซีพีเอฟ เป็นตัวแทนรับมอบใบประกาศนียบัตรรับรองการเป็นสมาชิก CAC จาก นายอนุวัฒน์  จงยินดี กรรมการรับรองแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทยในงาน "CAC Certification Ceremony 2024: Business Beyond CAC - Spotlight on Supply Chain" ซึ่งจัดขึ้นประกาศเกียรติคุณบริษัทที่ผ่านการรับรอง CAC

ซีพีเอฟ ในฐานะผู้นำด้านธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหาร เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารควบคู่ไปกับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม บนพื้นฐานของการกำกับดูแลกิจการที่ดีตามแนวทาง ESG ปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันอย่างเคร่งครัด มุ่งสร้างวัฒนธรรมองค์กรและค่านิยมในการดำเนินงานที่ซื่อสัตย์ สุจริต ตรวจสอบได้ และปราศจากทุจริตและคอร์รัปชัน  บริษัทได้จัดทำแนวปฏิบัติด้านการต่อต้านคอร์รัปชันที่ครอบคลุม พร้อมทั้งสื่อสารสร้างความตระหนักและให้ความรู้แก่ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับอย่างสม่ำเสมอ เปิดช่องทางรับเรื่องร้องเรียนและแจ้งเบาะแสที่เป็นอิสระ ตลอดจนมีการสอบทานการปฏิบัติตามนโยบายเป็นประจำให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ กฎระเบียบข้อบังคับทั้งระดับประเทศและสากล

“การเป็นสมาชิก CAC สอดคล้องกับปรัชญา 3 ประโยชน์สู่ความยั่งยืนของเครือซีพี ที่คำนึงถึงประโยชน์ของประเทศ ประชาชน และบริษัท โดยเชื่อว่าการดำเนินธุรกิจที่โปร่งใสจะช่วยขับเคลื่อนการเติบโตอย่างยั่งยืนของเศรษฐกิจ สังคม และองค์กร” นางสาววิภาวรรณกล่าว

นอกจากนี้ ซีพีเอฟยังร่วมโครงการ CAC Change Agent  สนับสนุนคู่ค้าธุรกิจกลุ่ม SMEs ในการยกระดับมาตรฐานการดำเนินงานที่โปร่งใส โดยส่งเสริมให้ความรู้และความช่วยเหลือในการพัฒนาเครื่องมือและมาตรการควบคุมความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ ได้รับการรับรองในโครงการรับรอง SME CAC Certification เพื่อสร้างแต้มต่อในการดำเนินธุรกิจแก่ผู้ประกอบการรายย่อยที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทาน ส่งผลให้ในปี 2566 ที่ผ่านมา ซีพีเอฟได้รับรางวัล CAC Change Agent 3 ปีติดต่อกัน

การได้เข้าไปเยี่ยมชมฟาร์มเลี้ยงหมูของเกษตรกรคอนแทรคฟาร์มมิ่งกับซีพีเอฟ เมื่อตอนที่เรียนชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาสัตวศาสตร์ ภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม กลายเป็นการจุดประกายสำคัญที่ทำให้ อนุวัฒน์  ศรีโฉม ตั้งความหวังว่าสักวันหนึ่งจะต้องได้เป็นเจ้าของกิจการฟาร์มเลี้ยงหมูและประสบความสำเร็จแบบนั้นให้ได้

หลังเรียนจบ อนุวัฒน์ เริ่มต้นอาชีพสัตวบาลฟาร์มเลี้ยงสุกร กับ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด หรือซีพีเอฟ เมื่อปี 2557 รับผิดชอบดูแลฟาร์มปิดของบริษัท เริ่มจากการเลี้ยงหมูขุน และย้ายไปดูหน่วยผสม-คลอด จากนั้นมีโอกาสได้ไปดูแลเกษตรกรที่โครงการหมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า จ.ฉะเชิงเทรา ทำให้ได้เรียนรู้ระบบการบริหารจัดการในรูปแบบคอนแทรคฟาร์มมิ่ง โดยรับผิดชอบแลเกษตรกรที่นี่ 4 ปี จึงขอย้ายไปดูแลฟาร์มหมูของบริษัทที่ขอนแก่นและหนองคาย เพื่อให้สามารถดูแลภรรยาที่ตั้งท้องได้ใกล้ชิดขึ้น ขณะเดียวกัน ก็เริ่มมีแนวคิดที่จะสานฝันทำฟาร์มเลี้ยงหมูของตนเอง

การได้เป็นสัตวบาลกับซีพีเอฟ เก็บเกี่ยวประสบการณ์มากว่า 10 ปี มีโอกาสรับผิดชอบในทุกหน่วย ทั้งหน่วยผสม-คลอด หมูขุน หมูสาว พ่อพันธุ์ จนถึงฝ่ายขาย ในปี 2566 เขาจึงตัดสินใจลาออกเพื่อเริ่มต้นอาชีพใหม่กับการเป็นเกษตรกรคอนแทรคฟาร์มมิ่ง (Contract Farming) ทำฟาร์มเลี้ยงหมูขุนกับซีพีเอฟ ในโครงการส่งเสริมสุกรขุนอุดรธานี ก่อสร้าง หจก. พรรณนิภาฟาร์ม ที่ตำบลสุมเส้า อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี บนพื้นที่ 10 ไร่ เลี้ยงหมูขุน 2 โรงเรือน ความจุโรงเรือนละ 800 ตัว การเลี้ยงหมูอยู่ภายใต้มาตรฐานฟาร์มของกรมปศุสัตว์ โดยนำประสบการณ์ทั้งหมดมาปรับใช้ทั้งหมด เน้นการปรับสภาพแวดล้อมในโรงเรือนให้ดี อากาศดี คูลลิ่งแพด (Cooling Pad) ทำงานเต็มประสิทธิภาพ ต้องไม่มีลมร้อนเข้า เล้าปิดมิดชิดไม่มีรอยรั่ว น้ำต้องสะอาด อาหารไม่เป็นฝุ่น

“เริ่มเลี้ยงหมูรุ่นแรกเข้าเลี้ยงเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา สิ้นเดือนกรกฎาคมนี้ ก็ถึงกำหนดจับหมูออก การเลี้ยงหมูมีประสิทธิภาพดีตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เพราะจุดเริ่มต้นที่ดี ตั้งแต่การรับหมูจากฟาร์มต้นทางที่มีสุขภาพดี เมื่อเรารับไม้ต่อมาเลี้ยงก็ให้ความสำคัญกับการดูแลลูกหมูในช่วงแรก มีการตรวจสุขภาพเป็นประจำ หากพบหมูป่วยจะแยกออกไปรักษาที่คอกป่วยทันที เน้นการให้อาหารน้อยแต่บ่อยครั้ง มีการกระตุ้นการกินอาหารด้วยการผสมน้ำ ทำให้หมูกินอาหารได้ดี อัตราการเจริญเติบโตดี ไม่ป่วย ทำน้ำหนักได้ดี อัตราเสียหายปัจจุบันไม่ถึง 1%” อนุวัฒน์ เล่า

ที่สำคัญ หจก. พรรณนิภาฟาร์ม ยังใช้การจัดการฟาร์มสมัยใหม่ในรูปแบบสมาร์ทฟาร์ม (Smart Farm) การควบ Cooling PAD และระบบน้ำ มีระบบให้อาหารอัตโนมัติ Auto Feed การควบคุมพัดลมเชื่อมต่อกับระบบ Biogas และติดตั้ง CCTV ทำให้สามารถดูแลหมูได้โดยที่ไม่ต้องเข้าไปในโรงเรือน ทำให้เห็นความเป็นอยู่ หรือความผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้น ขณะเดียวกัน ยังช่วยป้องกันโรคได้อย่างดี เพราะสามารถตรวจสอบบุคคลที่ต้องอาบน้ำสระผมก่อนเข้าฟาร์ม และยังวางแผนใช้โซล่าเซลล์เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้ภายในฟาร์มในระยะอันใกล้นี้

“ฟาร์มของเราดำเนินการตามมาตรฐาน "กรีนฟาร์ม" ของบริษัท ด้วยโมเดลธุรกิจสีเขียว ฟาร์มเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีการปลูกต้นไม้ให้ความร่มรื่น ใช้ระบบ Biogas 100% และกำลังจะติดตั้งระบบกรองกลิ่นท้ายโรงเรือนทำเพื่อป้องกันกลิ่นเพิ่มเติม นอกจากนี้ยังทำ “โครงการปันน้ำปุ๋ยสู่เกษตรกร” ส่งน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้ว ให้แก่เกษตรกร 2-3 ราย ในพื้นที่ใกล้เคียง ที่มาขอรับน้ำไปใช้ในสวนปาล์มและไร่อ้อย และจะแจกการมูลที่ได้จากระบบ Biogas ที่ตากแห้งแล้ว ให้กับเกษตรกร ช่วยลดค่าใช้จ่ายค่าปุ๋ยได้อีกด้วย” อนุวัฒน์ กล่าว

วันนี้ อนุวัฒน์ ได้ทำตามฝันมีธุรกิจส่วนตัวและได้อยู่กับครอบครัวอย่างที่ตั้งใจ โดยได้วางรากฐานไว้ให้กับลูก พาเขาเข้าไปสัมผัสกับอาชีพของพ่อแม่ ได้ลงมือดูแลหมูด้วยตัวเอง และเขาเชื่อว่านี่จะเป็นมรดกอาชีพในอนาคตของลูกๆ ได้อย่างแน่นอน

บริษัท เชสเตอร์ฟู้ด จำกัด ธุรกิจร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด แบรนด์เชสเตอร์ (Chester’s) รังสรรค์เมนูยอดฮิตทั้งย่างและทอดมากว่า 36 ปี ปัจจุบันให้บริการมากกว่า 200 สาขาทั่วไทย พร้อมมุ่งมั่นสร้างสุขภาพที่ดีต่อผู้บริโภค ควบคู่กับการใส่ใจด้านสิ่งแวดล้อม โดยลงนามความร่วมมือกับ BSGF ในกลุ่มบริษัทบางจาก และบริษัท ธนโชค ออยล์ไลท์ จำกัด ในโครงการ 'ไม่ทอดซ้ำ' และ 'ทอดไม่ทิ้ง' เพื่อรณรงค์ให้ผู้ประกอบการอาหารไม่ใช้น้ำมันปรุงอาหารที่ไม่ได้คุณภาพมาทอดซ้ำ และส่งเสริมการจัดการน้ำมันที่ใช้แล้วอย่างถูกวิธี ด้วยการนำไปเป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel - SAF)

นางสาวลลนา บุญงามศรี กรรมการผู้จัดการ เชสเตอร์ฟู้ด กล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้ เชสเตอร์ต้องการตอกย้ำนโยบายในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ผู้บริโภค สร้างความมั่นใจต่อทุกมื้ออาหารที่รับประทานอาหารต้องใช้น้ำมันปรุงอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานและปลอดภัยต่อสุขภาพ ควบคู่ไปกับการสร้างความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ หมุนเวียนกลับมาใช้ประโยชน์สูงสุดและยั่งยืน

โครงการ 'ไม่ทอดซ้ำ' เชสเตอร์ต้องการรณรงค์ให้ผู้ประกอบการร้านอาหารในเครือฯ ทั่วประเทศไทย ไม่นำน้ำมันพืชใช้แล้วที่ไม่ได้คุณภาพ กลับมาทอดอาหารซ้ำ โดยเปิดอบรมวิธีการใช้น้ำมันที่ถูกวิธีและตรวจสอบคุณภาพน้ำมันทุกสาขาอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ร้านที่ผ่านเกณฑ์จะได้รับประกาศนียบัตรและสติ๊กเกอร์ 'ไม่ทอดซ้ำ' จากกรมอนามัยร่วมกับบางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เพื่อสื่อสารและส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ผู้บริโภคในการรับประทานอาหารปลอดภัย

ด้าน โครงการ 'ทอดไม่ทิ้ง' เชสเตอร์ร่วมกับร้านอาหารในเครือฯ บริหารจัดการน้ำมันพืชที่ใช้แล้ว เป็นมิตรต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม โดยบริษัทฯ จะสนับสนุนอุปกรณ์ในการจัดเก็บน้ำมันปรุงอาหารที่ใช้แล้ว ส่งมอบแก่ตัวแทนของ BSGF เพื่อเป็นวัตถุดิบผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน สามารถใช้กับเครื่องบินได้โดยไม่ส่งผลกับเครื่องยนต์ ซึ่งทุกร้านที่เข้าร่วมโครงการฯ จะได้ใบรับรองการสนับสนุนการใช้ทรัพยากรอย่างรู้ค่า มีการหมุนเวียนกลับมาใช้ประโยชน์อย่างสูงสุดตามโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียน - เศรษฐกิจชีวภาพ - เศรษฐกิจสีเขียว (BCG Economy) สร้างสังคมคาร์บอนต่ำ พร้อมทั้งช่วยผู้ประกอบการเพิ่มรายได้จากการจำหน่ายน้ำมันที่ใช้แล้วอีกด้วย

สำหรับ ร้านอาหารที่เข้าร่วมโครงการ ต้องผ่านเกณฑ์สำคัญ ได้แก่ 1.) ไม่ใช้น้ำมันทอดซ้ำที่มีค่าสารโพลาร์ (Polar compounds) เกิน 25% ของน้ำหนักน้ำมัน  2.) ส่งต่อน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้ว เพื่อไปผลิตเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน อย่างต่อเนื่อง 6 เดือนขึ้นไป

Page 1 of 52
X

Right Click

No right click