December 22, 2024

 เดินหน้าเชิดชูเกียรติ 3 นักวิจัยสตรีไทย โครงการทุน"เพื่อสตรีในงานวิทยาศาตร์ ประจำปี 2567" ผลักดันบทบาทสตรีในแวดวงวิทยาศาสตร์ ควบคู่กับการสร้างความยั่งยืน 

ลอรีอัล กรุ๊ป ประเทศไทย เดินหน้าผลักดันบทบาทของนักวิจัยสตรีในสายงานวิทยาศาสตร์ ด้วยการมอบทุนวิจัยต่อเนื่องเป็นปีที่ 22 พร้อมประกาศรายชื่อ 3 นักวิจัยสตรีผู้ได้รับทุนในโครงการทุนวิจัย ลอรีอัล ประเทศไทย "เพื่อสตรีในงานงานวิทยาศาสตร์"(For Women in Science)ประจำปี 2567  โดยได้มีการมอบทุนวิจัย 250,000 บาทพร้อมโล่เกียรติคุณ ให้แก่นักวิจัยสตรีที่มีผลงานวิจัยโดดเด่น สร้างคุณูปการแกแวดวงวิทยาศาสตร์ มีศักยภาพที่จะขับเคลื่อนสังคมทั้งในประเด็นสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน อันสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของลอรีอัล ซึ่งมุ่งสร้างความงามที่ขับเคลื่อนโลก ผ่านการสนับสนุนงานวิจัยและเชิดชูบทบาทสตรีในสายงานวิทยาศาสตร์ ควบคู่กับการสร้างความตระหนักรู้ต่อประเด็นสิ่งแวดล้อม และเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันสังคมสู่ความยั่งยืน ทั้งในระดับประเทศและระดับโลก

 

นายแพทริค จีโร กรรมการผู้จัดการลอรีอัล ประเทศไทย พม่า ลาว และกัมพูชา กล่าวว่า “ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาจวบจนก้าวเข้าสู่ปีที่ 115 ในปีนี้ ลอรีอัล กรุ๊ป ในฐานะบริษัทความงามระดับโลก เชื่อว่าความงามมีรากฐานมาจากวิทยาศาสตร์ เราตระหนักดีว่านวัตกรรมวิทยาศาสตร์มีส่วนสำคัญในการพัฒนาโลกใบนี้ อย่างไรก็ดี บทบาทระดับสูงของสตรีในแวดวงวิทยาศาสตร์ไทยยังคงต้องมีการผลักดันอีกมาก ในบรรดานักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น นับแต่ตั้ง พ.ศ. 2525 จนถึงปัจจุบัน มีนักวิทยาศาสตร์หญิงที่ได้รับรางวัลอยู่เพียงร้อยละ 16 เท่านั้น แม้จะมีผู้หญิงอยู่ในแวดวงวิทยาศาสตร์ไทยเป็นจำนวนเทียบเท่ากับผู้ชายก็ตาม เราเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าโลกต้องการวิทยาศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ต้องการสตรี ลอรีอัลจึงเดินหน้าเชิดชูเกียรติผลงานวิจัยอันโดดเด่นของสตรีผ่านโครงการ “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” อย่างต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 22 เพื่อส่งต่อแรงบันดาลใจให้กับผู้หญิงรุ่นใหม่ที่ต้องการเติบโตในสายงานวิทยาศาสตร์ และพิสูจน์ให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ว่าผู้หญิงทุกคนสามารถเปล่งประกายได้ในแบบของตนเอง” 

ทุนวิจัยฯ 3 ทุน มอบแก่นักวิจัยสตรี 3 ท่าน จาก 3 สถาบัน ในสองสาขา 

สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ จำนวน 1 ท่าน  

  1. รองศาสตราจารย์ ดร.อัญญานี คำแก้ว จากสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี กับงานวิจัยหัวข้อ “การพัฒนาสารไวแสงและระบบนาโนนำส่ง เพื่อเป็นทางเลือกแบบแม่นยำสำหรับการรักษาโรคมะเร็ง” 

สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ จำนวน 2 ท่าน  

  1. ดร.ปองกานต์ จักรธรานนท์ จากศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กับงานวิจัยหัวข้อ “การเร่งปฏิกิริยาเชิงเคมีไฟฟ้าเพื่อความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อม” 
  2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วลีพร ดอนไพร จาก ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กับงานวิจัยหัวข้อ “การใช้ประโยชน์ก๊าซเรือนกระจกผ่านกลไกการเร่งปฏิกิริยาเพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนมุ่งสู่ Net Zero Emission” 

3 นักวิจัยสตรีผู้มีผลงานอันโดดเด่นที่ได้รับทุนโครงการฯ ประจำปี 2567 

 

รองศาสตราจารย์ ดร.อัญญานี คำแก้ว จากสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ผู้ได้รับทุนสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ กล่าวว่า แม้หลายทศวรรษที่ผ่านมาจะมีความก้าวหน้าด้านการพัฒนายาและอุปกรณ์การรักษาด้วยแสงเพื่อรักษามะเร็ง แต่ยังมีข้อจำกัดที่ทำให้ไม่อาจใช้ทางคลินิกได้อย่างแพร่หลาย ดิฉันและทีมวิจัยจึงเล็งเห็นว่าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษามะเร็งนั้น การปรับปรุงโครงสร้างของสารไวแสงและระบบนำส่งสารไวแสงไปยังเซลล์มะเร็งมีความจำเป็นต้องพัฒนาอย่างเร่งด่วน ซึ่งทำได้โดยการพัฒนาตัวนำส่งที่มุ่งเป้ามะเร็งร่วมกับการกระตุ้นด้วยแสงเฉพาะที่ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นโดยมีผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์น้อยลง ทางทีมวิจัยเราจึงมุ่งใช้เทคนิค “การบำบัดด้วยโฟโตไดนามิก” (PDT) และ “การบำบัดด้วยความร้อนจากแสง” (PTT) ร่วมกับวัสดุนาโนที่ไม่เป็นพิษต่อร่างกาย โดยเน้นไปที่วิธีพัฒนาและสังเคราะห์สารไวแสงที่ตอบสนองต่อแสงได้อย่างดีเยี่ยม และมีฤทธิ์ทำลายเซลล์มะเร็งอย่างมีประสิทธิภาพเมื่อถูกกระตุ้นด้วยแสงเท่านั้น โดยสารจะไม่มีพิษต่อเซลล์มะเร็งเมื่อไม่ได้ถูกกระตุ้น งานวิจัยชิ้นนี้จึงเริ่มจากการสังเคราะห์สารประกอบ พิสูจน์โครงสร้าง และทดสอบสมบัติทางแสง จากนั้นจึงพัฒนาตัวนำส่งระดับนาโนที่มีความเข้ากันได้ทางชีวภาพ โดยควบคุมให้อนุภาคมีขนาดเหมาะสมต่อการมุ่งเป้าเซลล์มะเร็ง แล้วจึงทดสอบในระดับเซลล์มะเร็งเทียบกับเซลล์ปกติในระดับห้องปฏิบัติการ โดยเทียบระหว่างแบบใช้แสงกระตุ้นและไม่ใช้แสงกระตุ้น สุดท้ายระบบนำส่งสารไวแสงจะถูกนำไปทดสอบประสิทธิภาพในระดับสัตว์ทดลอง เพื่อศึกษาผลกระทบที่มีต่อระบบร่างกาย ทั้งเมื่อถูกกระตุ้นและไม่ถูกกระตุ้นด้วยแสง ซึ่งผลการทดลองล่าสุดพบว่าทีมผู้วิจัยสามารถพัฒนาสารไวแสงหลายกลุ่มได้สำเร็จ โดยพิสูจน์ในระดับห้องปฏิบัติการและระดับเซลล์แล้วว่ามีประสิทธิภาพ สารแต่ละกลุ่มมีความจำเพาะต่อความยาวคลื่นแสงที่ใช้กระตุ้นและชนิดของมะเร็งต่างกัน ทำให้มีตัวเลือกหลากหลายในการนำไปพัฒนาต่อยอดเป็นตัวเลือกในการรักษามะเร็งได้เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ทีมผู้วิจัยยังพัฒนาระบบนำส่งสารไวแสงเหล่านี้ให้ไปสะสมที่ก้อนมะเร็งได้อย่างจำเพาะได้สำเร็จ และได้พิสูจน์ประสิทธิภาพการรักษามะเร็งในระดับสัตว์ทดลองแล้วพบว่ามีความเป็นไปได้ที่จะต่อยอดให้สามารถนำไปใช้รักษาผู้ป่วยได้ในอนาคต งานวิจัยชิ้นนี้จึงไม่เพียงสร้างองค์ความรู้ด้านกลยุทธ์การออกแบบโมเลกุลอินทรีย์ที่ไวแสงและการพัฒนาระบบนำส่งระดับนาโน แต่ยังเปิดโอกาสสู่ความร่วมมือและการต่อยอดการนำไปใช้ประโยชน์อีกมากมายเพื่อเพิ่มทางเลือกในการรักษามะเร็ง อีกทั้งมีส่วนสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับมะเร็ง การตรวจคัดกรองมะเร็ง และเข้ารับการรักษามะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสการรักษามะเร็งในประเทศไทยอีด้วย” 

 

ดร.ปองกานต์ จักรธรานนท์ จากศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ผู้ได้รับทุนสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ กล่าวว่า สืบเนื่องจากปัญหาการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปริมาณมหาศาลจากภาคพลังงานและภาคการผลิต เทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CCUS) จึงเป็นที่คาดหวังว่าจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการแก้ปัญหาเพื่อนำพาประเทศไทยสู่การบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนได้ ผู้วิจัยเล็งเห็นว่าปฏิกิริยารีดักชันเชิงเคมีไฟฟ้าของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2RR) คือปฏิกิริยาที่สามารถผลิตสารเคมีมูลค่าสูงจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้หลายหลายชนิด แต่การผลิตสารเคมีเหล่านี้ยังมีข้อจำกัด คือมีกลไกซับซ้อน ใช้พลังงานสูง และมักประสบปัญหาการเลือกเกิดปฏิกิริยาที่ต่ำ ทั้งนี้ ในระบบปฏิกิริยาการเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นสารเคมีเชิงไฟฟ้า เซลล์ไฟฟ้าที่ใช้ทำปฏิกิริยาประกอบด้วยขั้วไฟฟ้า 2 ขั้ว คือขั้วแอโนด (Anode) และขั้วแคโทด (Cathode) ปฏิกิริยารีดักชันของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะเกิดขึ้นที่ขั้วแคโทด โดยระหว่างเกิดปฏิกิริยา ขั้วแอโนดจะทำปฏิกิริยาออกซิเดชันของน้ำและเกิดเป็นก๊าซออกซิเจน (OER) เป็นปฏิกิริยาร่วม ซึ่งกระบวนการนี้ต้องใช้พลังงานสูง งานวิจัยชิ้นนี้จึงมุ่งเป้าพัฒนาเซลล์ไฟฟ้าที่สามารถทำปฏิกิริยาทั้งสองได้อย่างควบคู่กัน เพื่อเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นเคมีภัณฑ์ที่มีมูลค่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมกับการออกซิไดซ์ชีวมวลจากอุตสาหกรรมการเกษตรและอุตสาหกรรมกระดาษ ให้กลายเป็นวัสดุและสารเคมีที่มีมูลค่าสูงขึ้นได้ด้วย โดยใช้วิธีพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีความจำเพาะสูงสำหรับกระบวนการ CO2RR และทดสอบตัวเร่งปฏิกิริยาดังกล่าวในเซลล์ไฟฟ้าที่สามารถขยายขนาดได้ จากนั้นปรับปรุงคุณสมบัติของตัวเร่งให้ผลิตสารเคมีได้สูง เสถียร และทนทานต่อสิ่งเจือปนในสารตั้งต้น รวมไปถึงการคัดเลือกชีวมวลที่เหมาะกับการทำปฏิกิริยาเคมีเชิงไฟฟ้า พัฒนาระบบการออกซิไดซ์ชีวมวล จากนั้นจึงพัฒนาระบบการทำปฏิกิริยาแบบควบคู่ระหว่าง CO2RR และการออกซิไดซ์ชีวมวล แล้วศึกษาความเป็นไปได้เชิงเศรษฐศาสตร์ พร้อมประเมินวัฏจักรชีวิตของเทคโนโลยี เพื่อให้ท้ายที่สุดแล้วจะสามารถพัฒนาเทคโนโลยีการเร่งปฏิกิริยาเชิงเคมีไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูง ต้นทุนต่ำ และสามารถขยายขนาดการผลิตสู่ระดับโรงประลอง (pilot scale) เพื่อนำไปสู่การใช้งานจริงในภาคอุตสาหกรรมได้ และจะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากอุตสาหกรรมหนัก ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนในภาคอุตสาหกรรมเคมีและพลังงานของประเทศไทย” 

 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วลีพร ดอนไพร จาก ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้ได้รับทุนสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ กล่าวว่า “สืบเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่องส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสภาพภูมิอากาศทั่วโลก ประเทศไทยจึงได้แสดงเจตจำนงในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร่วมกับประชาคมโลกและมุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี พ.ศ. 2608 ปัจจุบันหลายภาคส่วนจึงพยายามใช้ประโยชน์จากก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซมีเทน โดยการเปลี่ยนก๊าซเรือนกระจกทั้งสองชนิดนี้เป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงผ่านกลไกการเกิดปฏิกิริยาต่างๆ ผู้วิจัยเล็งเห็นว่า ปฏิกิริยาที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์อย่างมาก ได้แก่ “ปฏิกิริยาการแตกตัวของมีเทน” และ “ปฏิกิริยาดรายรีฟอร์มมิ่ง” เพราะผลิตทั้งพลังงานทดแทนและพลังงานสะอาดได้พร้อมกับใช้ประโยชน์จากก๊าซเรือนกระจก งานวิจัยชิ้นนี้จึงมุ่งศึกษา 3 ส่วนด้วยกัน คือ (1) การใช้ประโยชน์จากของเสียเหลือทิ้งจากการเกษตรมาใช้เป็นวัตถุดิบรอบสอง (Secondary raw material) โดยนำเถ้าชานอ้อยซึ่งเหลือทิ้งจากโรงงานผลิตน้ำตาลทรายมาสังเคราะห์เป็นโซเดียมซิลิเกต พร้อมศึกษาองค์ประกอบและลักษณะโครงสร้างของซิลิกาที่สังเคราะห์จากเถ้าชานอ้อย (2) การพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาสำหรับการเปลี่ยนก๊าซมีเทนเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงจำพวกไฮโดรเจนและผลิตภัณฑ์คาร์บอน (3) การพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาสำหรับการเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซมีเทนเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงจำพวกไฮโดรเจนและก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ผ่านปฏิกิริยาดรายรีฟอร์มมิ่ง งานวิจัยนี้จะก่อให้เกิดองค์ความรู้ด้านการใช้ประโยชน์จากก๊าซเรือนกระจก โดยการใช้กลไกนาโนเทคโนโลยีเข้ามาช่วยลดมลพิษจากกระบวนการผลิต ลดต้นทุนการกำจัดกากของเสีย สร้างการผลิตที่ยั่งยืน สะอาด และมีเสถียรภาพ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มอุตสาหกรรมที่ต้องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือต้องการนำก๊าซมีเทนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ อีกทั้งเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวลที่สามารถนำของเสียเหลือทิ้งจำพวกเถ้าชานอ้อยมาเพิ่มมูลค่า สร้างระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน และขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ตอบโจทย์เร่งด่วนของประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน” 

 

ทั้งนี้ โครงการทุนวิจัยลอรีอัล “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” หรือ For Women in Science ริเริ่มขึ้นในปี 2540 โดย มูลนิธิลอรีอัล ด้วยความร่วมมือจากยูเนสโก แต่ละปีได้สนับสนุนนักวิจัยสตรีรุ่นใหม่มากกว่า 250 ท่าน ในโครงการระดับประเทศและระดับภูมิภาคทั่วโลก และได้มอบทุนเกียรติยศระดับนานาชาติแก่นักวิจัยสตรีระดับ Laureates ไปแล้วมากกว่า 100 ท่าน ซึ่งมีถึง 7 ท่าน ที่ก้าวสู่ความสำเร็จได้รับรางวัลโนเบล สำหรับในประเทศไทย โครงการทุนวิจัยลอรีอัล ประเทศไทย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” มอบทุนวิจัยทุนละ 250,000 บาท ให้กับนักวิจัยสตรีที่มีอายุไม่เกิน 40 ปี ในสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ และสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ ลอรีอัล กรุ๊ป ในประเทศไทย ได้ดำเนินงานโครงการมาเป็นปีที่ 22 โดยมีนักวิจัยสตรีไทยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการนี้รวมแล้วทั้งสิ้น 87 ท่าน จากมากกว่า 20 สถาบัน 

ลอรีอัล กรุ๊ป ในประเทศไทย จับมือพันธมิตรเดินหน้าพัฒนาต่อยอดโครงการจัดจ้างผู้ขาดโอกาสทางสังคม (Inclusive Sourcing Program) เป็นปีที่ 11 มอบโอกาสที่เท่าเทียมทางอาชีพให้แก่ผู้ขาดโอกาสทางสังคม มุ่งเน้นการกระจายโอกาสในการทำงาน การสร้างอาชีพและรายได้ที่มั่นคงให้กับกลุ่มผู้พิการและผู้สูงอายุเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับชุมชน พร้อมจัดงาน “Partnership Day” มอบรางวัลยกย่องพันธมิตรทั้งเก่าและใหม่ ที่ร่วมกันดำเนินโครงการอย่างเต็มกำลัง

และมุ่งขยายโครงการฯ ไปยังพันธมิตรทางธุรกิจให้มากขึ้น เพื่อช่วยสร้างอาชีพและรายได้ให้แก่ผู้ขาดโอกาสเพิ่มขึ้นในประเทศไทย นอกจากนั้น ภายในงานยังมีการอัปเดตการดำเนินงานด้านความยั่งยืนภายในประเทศ ตามวิสัยทัศน์ L’Oréal For The Future ที่มุ่งเร่งเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานให้คำนึงถึงขีดจำกัดความปลอดภัยของโลก และร่วมแก้ไขปัญหาด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างเร่งด่วนโดยทีมงานลอรีอัลด้วยเช่นกัน

นายแพทริค จีโร กรรมการผู้จัดการ ลอรีอัล ประเทศไทย เมียนมาร์ ลาว และกัมพูชากล่าวว่า “ในฐานะบริษัทผู้นำด้านความงามระดับโลกที่มีเป้าหมายในการสร้างความงามที่ขับเคลื่อนโลก ลอรีอัล ให้ความสำคัญในการทำงานที่ช่วยสร้างผลกระทบเชิงบวกทางสังคมและสิ่งแวดล้อมในทุกชุมชนที่เราดำเนินธุรกิจไปพร้อมๆ กับการเติบโตทางธุรกิจ นอกจากนั้น เรายังตระหนักดีถึงความหนักหนาของปัญหาที่โลกและสังคมกำลังเผชิญ และความจำเป็นที่ทุกๆ ฝ่ายต้องเข้ามามีส่วนร่วม เราจึงมุ่งส่งเสริมให้พันธมิตรทางธุรกิจของเรา ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างโอกาสให้กลุ่มคนที่ขาดโอกาสทางสังคมผ่านโครงการจัดจ้างผู้ขาดโอกาสทางสังคม (Inclusive Sourcing Program) ซึ่งถือเป็นหนึ่งโครงการสำคัญ โดยลอรีอัล กรุ๊ป ได้ตั้งเป้าในการช่วยผู้ขาดโอกาสทั่วโลกเพิ่มขึ้นอีก 100,000 คนภายในปี 2030”

จากเป้าหมายของลอรีอัล กรุ๊ปในการช่วยผู้ขาดโอกาสทั่วโลกเพิ่มขึ้นอีก 100,000 คนภายในปี 2030 นั้น ในปี 2023 ได้ดำเนินโครงการไปแล้วทั้งสิ้น 429 โครงการครอบคลุมพื้นที่ 1,069 แห่งใน 67 ประเทศ และช่วยให้คนกว่า 93,165 คนให้สามารถเข้าถึงงานได้ โดยการทำงานครอบคลุมทั้งในด้าน การจ้างงานผู้ขาดโอกาส และการจัดซื้อวัตถุดิบจากชุมชน ซึ่งอยู่ภายใต้โครงการ Inclusive Sourcing และการให้โอกาสทางอาชีพผ่านการอบรบทักษะอาชีพเสริมสวยภายใต้โครงการ Beauty for a Better Life

“ในส่วนของลอรีอัล กรุ๊ป ในประเทศไทยนั้น เริ่มดำเนินโครงการ Inclusive Sourcing จัดจ้างผู้ขาดโอกาสทางสังคมมาตั้งแต่ปี 2014 จากจุดเริ่มต้นที่มีผู้ขาดโอกาสทางสังคมที่ได้รับประโยชน์ผ่านโครงการนี้ 6 คนในปีแรก มาเป็น 234 คนในปี 2024 และยังมีการขยายโครงการในการสร้างรายได้ให้บริษัทรายเล็กกลุ่ม SMEs และบริษัทสตรีเป็นเจ้าของ เรายังคงมุ่งหน้าผลักดันความร่วมมือกับพันธมิตรของเรา พร้อมกับการมองหาพันธมิตรใหม่ที่จะเข้าเป็นส่วนหนึ่งในการเส้นทางการสร้างความงามที่ขับเคลื่อนโลก ตามพันธกิจเพื่อความยั่งยืนของเรา พันธมิตรทางธุรกิจคือกุญแจความสำเร็จในการดำเนินโครงการนี้ของเรา Partnership Day ถือเป็นวันสำคัญที่ลอรีอัล กรุ๊ป ในประเทศไทย จัดขึ้นตั้งแต่ปี 2016 เพื่อเชิดชูเกียรติพันธมิตรทางธุรกิจ ที่มีวิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นร่วมกัน ในการขับเคลื่อนสังคมอย่างยั่งยืน” นางสาวอรอนงค์ ประทักษ์พิริยะ ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการองค์กรและสื่อสารสัมพันธ์ ลอรีอัล ประเทศไทย เมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา กล่าวเสริม

 

ในปีนี้ ลอรีอัล กรุ๊ป ได้มอบรางวัลยกย่องพันธมิตรทั้งเก่าและใหม่ ที่ร่วมกันดำเนินโครงการอย่างเต็มกำลัง พันธมิตรประเภท Silver ได้แก่ บริษัท ฟรองค์ อินเตอร์เทรด จำกัด, พันธมิตรประเภท Gold ได้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอส.ที.รีแพ็ค และพันธมิตรประเภท Platinum ได้แก่ บริษัท พีเอ็มจี อินทิเกรทเต็ด คอมมิวนิเคชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด และยังได้ต้อนรับบริษัท SMEs และบริษัทที่มีสตรีเป็นเจ้าของที่ได้รับโอกาสการจ้างงานจากบริษัทฯ และในเป็นส่วนหนึ่งของโครงการนี้

นอกจากการมอบรางวัลยกย่องพันธมิตรแล้ว ลอรีอัล กรุ๊ปยังอัปเดตการดำเนินการตามวิสัยทัศน์เพื่อความยั่งยืน L’Oréal For The Future ซึ่งมีการดำเนินงานจริงจังในหลากหลายมิติ เพื่อบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนของกรุ๊ป ครอบคลุมในเรื่องของการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ (Fighting Climate Change), การจัดการน้ำอย่างยั่งยืน (Manage Water Sustainably), เคารพความหลากหลายทางชีวภาพ (Respecting Biodiversity) และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (Preserving Natural Resources) โดยในส่วนของลอรีอัล ประเทศไทยนั้น มีการดำเนินงานเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อาทิ การเริ่มนำรถบรรทุกพลังงานไฟฟ้า (EV Truck) มาใช้สำหรับการขนส่งสินค้าในกรุงเทพฯ และปริมณฑล และการใช้มาตรการเข้มงวดในการลดการขนส่งสินค้าทางอากาศ เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ อันเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายการทำงานในด้านการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศ

ภายในงาน ลอรีอัล ยังได้เสริมความเข้าใจร่วมกันในเป้าหมายด้านความยั่งยืนภายใต้ L’Oréal For The Future โดยเน้นในการทำงานในส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับทางพันธมิตร เพื่อให้การทำงานร่วมกันเป็นไปตามเป้าหมายด้านความยั่งยืน อาทิ การออกแบบและสร้างจุดวางสินค้าและร้านค้าบนหลักการความยั่งยืนที่คำนึงถึงการเลือกใช้วัสดุรีไซเคิลหรือสามารถนำไปรีไซเคิลได้เมื่อสิ้นอายุการใช้งาน การจัดงานอีเว้นท์ที่คำนึงถึงการใช้วัสดุและการลดขยะสิ้นเปลือง การทำการสื่อสารการตลาดบนกล่องบรรจุภัณฑ์ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม

 ลอรีอัล กรุ๊ป ได้รับการยกย่องให้เป็นผู้นำด้านความโปร่งใสในการปฏิบัติงานและความยั่งยืนของภาคองค์กรธุรกิจจาก CDP เป็นเวลา 8 ปีติดต่อกัน โดยครองตำแหน่ง ‘A List’ ทั้งด้านการจัดการปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การปกป้องป่าไม้ และการรักษาความมั่นคงของแหล่งน้ำ

ลอรีอัล กรุ๊ป ยืนหยัดเป็นบริษัทเพียงหนึ่งเดียวที่ได้คะแนน A ด้านสิ่งแวดล้อมทั้งสามด้านเป็นปีที่ 8 ติดต่อกันจาก CDP และเป็นหนึ่งในบริษัทเพียง 10 แห่งที่ได้คะแนน AAA ในปี 2566 จากทั้งหมด 21,000 บริษัทที่ได้รับการประเมิน

การเปิดเผยข้อมูลและกระบวนการให้คะแนนด้านสิ่งแวดล้อมประจำปีของ CDP นั้น ได้รับการยอมรับในวงกว้างว่าเป็นมาตรฐานสูงสุดสำหรับการวัดความโปร่งใสด้านสิ่งแวดล้อมในภาคองค์กรธุรกิจ

นิโคลา ฮิโรนิมุส ซีอีโอ ลอรีอัล กรุ๊ป กล่าวว่า “สำหรับลอรีอัลนั้น เรารู้สึกภูมิใจยิ่งที่สามารถรักษาระดับคะแนน ‘AAA’ เอาไว้ได้เป็นปีที่ 8 ติดต่อกัน ความสำเร็จนี้เป็นกำลังใจให้เรายึดมั่นในความพยายามที่เราได้เริ่มไว้ในฐานะผู้นำด้านความงามระดับโลก เมื่อเราได้ตัดสินใจครั้งสำคัญเพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงธุรกิจของเราให้สอดคล้องกับปัญหาของสภาพภูมิอากาศ เรามุ่งมั่นว่าจะต้องดำเนินการเปลี่ยนแปลงธุรกิจให้สำเร็จในปี 2573 เมื่อพิจารณาถึงความยิ่งใหญ่ของปัญหาทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่รอเราอยู่เบื้องหน้าแล้ว หนทางเดียวที่จะสามารถรับมือได้ก็คือการร่วมมือกัน และเราก็มุ่งมั่นที่จะมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่”

 

ความสำเร็จในครั้งนี้ตอกย้ำถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน และเป้าหมายปี 2573 ในโครงการ L’Oréal for the Future ของลอรีอัล กรุ๊ป ซึ่งครอบคลุมแกนการดำเนินงานในสามส่วน ได้แก่ การปฏิรูปตนเอง เสริมสร้างพลังให้กับระบบนิเวศทางธุรกิจ และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาความท้าทายที่โลกต้องเผชิญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การจัดการน้ำอย่างยั่งยืน การเคารพในความหลากหลายทางชีวภาพ และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

CDP ได้ประเมินบริษัทต่าง ๆ ด้วยวิธีการที่ละเอียดและเป็นอิสระ โดยให้คะแนน A ถึง D- ที่ครอบคลุมเรื่องการเปิดเผยข้อมูล การสร้างความตระหนัก และการจัดการความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในด้านความเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การกำหนดเป้าหมายที่มุ่งมั่นและมีความหมาย ขณะที่บริษัทที่ไม่เปิดเผยข้อมูลหรือให้ข้อมูลไม่เพียงพอต่อการประเมินจะได้รับคะแนน F ในปีที่แล้ว มีการเปิดเผยข้อมูลเพิ่มขึ้น 24% ซึ่งเป็นแนวโน้มที่น่ายกย่องเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ การวางรากฐานเรื่องการเปิดเผยข้อมูลให้เป็นไปในแนวทางเดียว จะเป็นการดำเนินการที่แสดงให้เห็นว่า บริษัทนั้น ๆ มีความตั้งใจอย่างจริงจังที่จะรับบทบาทสำคัญในการร่วมสร้างอนาคตที่คาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์และผลลัพธ์ที่เป็นบวกต่อธรรมชาติ

สามารถดูรายชื่อบริษัททั้งหมดที่อยู่ใน A List ของ CDP ในปี 2566 ได้ที่ https://www.cdp.net/en/companies/companies-scores

ตอกย้ำผู้นำบิวตี้เทคด้วย ซีอีโอ นิโคลา ฮิโรนิมุส ร่วมกล่าวปาฐกถาพิเศษเปิดงาน CES เป็นครั้งแรกจากบริษัทความงาม

 ลอรีอัล กรุ๊ป (L’Oréal Groupe) เปิดตัว แอร์ไลท์ โปร (AirLight Pro) เครื่องเป่าผมรุ่นใหม่ซึ่งออกแบบร่วมกับสไตลิสต์ชั้นแนวหน้าเพื่อตอบโจทย์ผู้ใช้งานทั้งช่างผมมืออาชีพและผู้บริโภคทั่วไปเป็นครั้งแรกที่งาน CES® 2024 ลอรีอัล กรุ๊ป พัฒนาเครื่องเป่าผมสุดล้ำนี้ด้วยความร่วมมือกับ ซูวี (Zuvi) บริษัทสตาร์ทอัพด้านฮาร์ดแวร์ที่ก่อตั้งโดยวิศวกรด้านโดรนและกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำ ด้วยการผสมผสานเทคโนโลยีแสงอินฟราเรดเข้ากับลมเพื่อการดูแลเส้นผม แอร์ไลท์ โปร จะช่วยให้เส้นผมดู นุ่มลื่น เรียบสลวยขึ้น ชุ่มชื้น ไม่แห้งชี้ฟู*1 และผมแห้งเร็วขึ้น*2 ด้วยการปรับปรุงประสิทธิภาพการถ่ายเทความร้อนกับเส้นผมทุกประเภท อีกทั้งยังใช้พลังงานน้อยลงถึง 31%*3

นิโคลา ฮิโรนิมุส (Nicolas Hieronimus) ซีอีโอของลอรีอัล กรุ๊ป ได้เปิดตัวเทคโนโลยีดังกล่าวซึ่งคว้ารางวัลนวัตกรรมจากงาน CES® 2024 พร้อมเผยรายละเอียดเกี่ยวกับการลงทุนเชิงกลยุทธ์ของบริษัทในด้านเทคโนโลยีความงาม ในช่วงการกล่าวปาฐกถาพิเศษช่วงเช้า ณ ห้องปาลาสโซ บอลรูม โรงแรมเวเนเชียน เมืองลาสเวกัส รัฐเนวาดา สหรัฐอเมริกา

“นับเป็นเวลา 115 ปีที่ลอรีอัล กรุ๊ป ได้ใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างสรรค์และส่งมอบประสบการณ์ความงามที่ตราตรึงให้กับผู้บริโภค ซึ่งช่วยเติมเต็มความปรารถนาด้านความงามของแต่ละบุคคล จากการพัฒนาแอร์ไลท์ โปร ร่วมกับซูวีนั้น เราได้พิสูจน์ให้เห็นว่า เทคโนโลยีสามารถเพิ่มประสิทธิภาพความงามผ่านการดูแลเส้นผมที่หลากหลาย ควบคู่ไปกับการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากเทคโนโลยี และนั่นคืออนาคตของความงามที่เราตั้งเป้าจะสร้างสรรค์”

รู้จักกับแอร์ไลท์ โปร

 ลอรีอัล กรุ๊ป บริษัทที่เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมการดูแลเส้นผมตั้งแต่ระดับเซลล์ไปจนถึงเส้นใยสำหรับผมทุกประเภท (ผมหยิก ผมตรง และผมหยักศก) ได้ร่วมมือกับ ซูวี สตาร์ทอัพด้านฮาร์ดแวร์ เพื่อพัฒนาเครื่องเป่าผมรุ่นใหม่สำหรับช่างผมมืออาชีพ ตลอดจนผู้บริโภคทั่วโลก ที่ให้ความสำคัญกับการดูแลเส้นผมผ่านเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำ

“ภารกิจของซูวีคือการทำให้โลกดีขึ้นกว่าเดิมด้วยการพลิกโฉมเทคโนโลยีและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ สำหรับอนาคต” หมิงหยู หวัง (Mingyu Wang) ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของซูวี กล่าว “เราสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ยอดเยี่ยมโดยอาศัยความเชี่ยวชาญในด้านทัศนศาสตร์ อากาศพลศาสตร์ และการออกแบบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เราภูมิใจอย่างยิ่งกับงานที่เราได้ทำมาจนถึงปัจจุบัน และล่าสุดเรายังได้พาร์ทเนอร์อย่างลอรีอัล ซึ่งเป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านการดูแลเส้นผมและความงามมายาวนานกว่า 100 ปี เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ของเราขึ้นไปอีกขั้น เราจะร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีความงามที่ล้ำสมัยต่อไป”

ซูวีได้นำเทคโนโลยีไลท์แคร์ (LightCare™) ที่จดสิทธิบัตรมาใช้กับเครื่องเป่าผม เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์รุ่นแรกที่ใช้แสงอินฟราเรดและลมที่มีความเร็วสูง เพื่อทำให้ผิวชั้นนอกของเส้นผมแห้งอย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกันก็ยังคงความชุ่มชื้นไว้ภายในเส้นผม

ทีมวิศวกร ดีไซเนอร์ ช่างทำผม และนักวิทยาศาสตร์ กว่า 100 คน จากฝ่ายวิจัยและนวัตกรรมของลอรีอัล และซูวี ร่วมมือกันออกแบบแอร์ไลท์ โปร ในเชิงอุตสาหกรรม เพื่อพัฒนาเครื่องเป่าผมระดับมืออาชีพที่ช่วยกำจัดอุปสรรคหรือปัญหาที่จะส่งผลต่อประสิทธิภาพ อ้างอิงความคิดเห็นของเหล่าสไตลิสต์ชั้นนำ

ระดับมืออาชีพ แอร์ไลท์ โปร ช่วยให้เส้นผมชุ่มชื้นมากขึ้นถึง 33%*4 ผมดูนุ่มสลวยขึ้นถึง 59%*5 ผมแห้งเร็วขึ้น และยกระดับประสบการณ์ของผู้ใช้งาน อีกทั้งยังสามารถประหยัดพลังงานได้สูงสุดถึง 31%*6

 

แอร์ไลท์ โปร แตกต่างจากเครื่องเป่าผมระบบทำความร้อนทั่วไปที่มีเพียงแท่งความร้อน โดยมาพร้อมกับมอเตอร์ความเร็วสูงแบบ 17 ใบพัดพิเศษ และเทคโนโลยีอินฟราเรดที่ได้รับการจดสิทธิบัตร*7 ซึ่งขับเคลื่อนโดยหลอดทังสเตนฮาโลเจน ออกแบบมาเพื่อให้ผมแห้งเร็วโดยไม่ต้องใช้ความร้อนมากจนเกินไป ด้วยการทำให้ผิวชั้นนอกของเส้นผมแห้งอย่างมีประสิทธิภาพ จึงคงความชุ่มชื้นไว้ภายในเส้นผม ผลลัพธ์ที่ได้คือ ผมที่นุ่มสลวยเป็นเงางาม

แอร์ไลท์ โปร ผ่านการทดสอบจากลอรีอัลและผู้ใช้งานมากกว่า 500 คนที่มีเส้นผมหลากหลายประเภท เครื่องเป่าผมรุ่นนี้ถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้แต่ละราย ฮาร์ดแวร์ เฟิร์มแวร์ และแอปทำงานได้อย่างราบรื่น เพื่อให้ผู้ใช้งานทุกคนสามารถปรับแต่งการตั้งค่าได้ตามความต้องการส่วนบุคคล

“นับเป็นเวลากว่าทศวรรษที่ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรมของลอรีอัลได้สร้างสรรค์ศาสตร์แห่งความงาม (Beauty Science) รูปแบบใหม่ ซึ่งขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยี Augmented Beauty ที่ตอบโจทย์ความต้องการที่มีมาอย่างยาวนานของผู้บริโภคได้อย่างแท้จริงด้วยผลลัพธ์ที่ไม่มีใครเทียบได้” บาร์บารา ลาแวร์โนส (Barbara Lavernos) รองซีอีโอ ฝ่ายวิจัย นวัตกรรม และเทคโนโลยี ของลอรีอัล กรุ๊ป กล่าว “แอร์ไลท์ โปร ซึ่งมีการยื่นจดสิทธิบัตรมากกว่า 150 ฉบับ ได้ผสานรวมความก้าวหน้าด้านความงามได้อย่างสมบูรณ์แบบ นับเป็นครั้งแรกที่บริษัทได้นำเสนอเครื่องเป่าผมที่สามารถดูแลเส้นผมและโลกใบนี้ไปพร้อม ๆ กัน”

ลอรีอัลได้ลงทุนด้วยการถือหุ้นส่วนน้อยในซูวีผ่านทาง BOLD Business Opportunities for L’Oréal Development ซึ่งเป็นกองทุน Corporate Venture Fund ของบริษัท

แอร์ไลท์ โปร จะเปิดตัว ในปี 2567 ที่สหรัฐอเมริกา ภายใต้แบรนด์ลอรีอัล โปรเฟสชั่นแนล ซึ่งเป็นแบรนด์ผลิตภัณฑ์สำหรับช่างผมมืออาชีพของลอรีอัล กรุ๊ป โดยเจาะกลุ่มทั้งช่างผมมืออาชีพและผู้บริโภค

 “ในฐานะแบรนด์ชั้นนำระดับตำนานและพันธมิตรที่ช่างผมมืออาชีพไว้วางใจเลือกใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2452 ลอรีอัล โปรเฟสชั่นแนล ได้ยกระดับอุตสาหกรรมช่างผมมืออาชีพด้วยการเป็นผู้บุกเบิกคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ มาโดยตลอด” แอน มาเชต์ (Anne Machet) ผู้จัดการทั่วไปของลอรีอัล โปรเฟสชั่นแนล กล่าว “เรามีความยตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับซูวีคิดค้นเครื่องเป่าผมรุ่นใหม่อย่าง แอร์ไลท์ โปร ที่ขับเคลื่อนด้วยแสงอินฟราเรด เพื่อมอบประสิทธิภาพที่เหนือกว่าสำหรับเส้นผมทุกประเภท และยังลดการใช้พลังงานลงอย่างมาก ขึ้นแท่นคู่หูคนใหม่ที่สมบูรณ์แบบสำหรับช่างผมทุกคน!”

ชวนเพื่อนพนักงานมาสร้างพลังให้เหล่าคุณแม่ ผู้เป็นได้ทุกเทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนลูก

X

Right Click

No right click