

สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Sasin School of Management) และ เอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ SCGC ผู้นำธุรกิจพอลิเมอร์ครบวงจรเพื่อความยั่งยืน พร้อมแล้วที่จะผลักดันไอเดียธุรกิจของนิสัต-นักศึกษาให้ก้าวไปสู่เวทีระดับโลก ร่วมกับพันธมิตร บมจ. ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) และ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ (The Mae Fah Luang Foundation under Royal Patronage) กับโอกาสครั้งสำคัญแห่งปี การแข่งขันแผนธุรกิจระดับนานาชาติที่ยิ่งใหญ่และยาวนานที่สุดในเอเชีย Bangkok Business Challenge 2025 จัดขึ้นต่อเนื่องมาถึงปีที่ 23 เปิดโอกาสให้นิสิต-นักศึกษาจากสถาบันการศึกษาทุกประเทศทั่วโลก ได้ร่วมแสดงศักยภาพ ประชันความคิด เฟ้นหาสุดยอดแผนธุรกิจภายใต้แนวคิด "Growing Impactful Ventures" ชิงถ้วยรางวัลเกียรติคุณพร้อมเงินรางวัลรวมมูลค่ากว่า 42,000 เหรียญสหรัฐ หรือรวมกว่า 1,500,000 บาท
การแข่งขัน Bangkok Business Challenge ส่งเสริมการพัฒนาแผนธุรกิจที่มุ่งเน้นการสร้างธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนและสร้างนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ให้คนรุ่นใหม่ที่มีความฝันในการสร้างธุรกิจได้มีโอกาสนำเสนอไอเดีย เกิดการสร้างเครือข่ายต่อยอดบนเวทีระดับโลก
นิสิต-นักศึกษา ผู้ที่สนใจ สามารถสมัครเข้าร่วมสัมผัสประสบการณ์การแข่งขัน Bangkok Business Challenge 2025 ได้แล้วตั้งแต่วันนี้ถึง 15 มีนาคม 2568 นี้ โดยทีมที่ผ่านการคัดเลือกจะได้เข้าร่วมการแข่งขันซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 22-24 พฤษภาคม 2568 ณ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ สมัครได้แล้วผ่านทางเว็บไซต์ https://bbc.sasin.edu/2025 ติดตามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมหรือสอบถามได้ทาง Facebook page: Bangkok Business Challenge และ อีเมล This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
เอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ SCGC ผู้นำธุรกิจพอลิเมอร์ครบวงจรเพื่อความยั่งยืน นำโดย นางสาวน้ำทิพย์ สำเภาประเสริฐ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร แบรนด์และกิจการเพื่อสังคม ร่วมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำโดย ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ร่วมระดมความคิดเพื่อฟื้นฟูและดูแลระบบนิเวศทางทะเล รวมทั้งการจัดการปัญหาขยะทะเล โดยเน้นกลยุทธ์ Up-Scale และ Up-Speed เพื่อเร่งขยายผลในโครงการความร่วมมือต่าง ๆ ระหว่าง SCGC และ ทช. อาทิ ทุ่นกักขยะลอยน้ำ บ้านปลา การปลูกป่าชายเลน
พร้อมกันนี้ SCGC ได้ส่งมอบทุ่นกักขยะลอยน้ำโมเดลใหม่ล่าสุด “SCGC - DMCR Litter Trap Gen 3” จำนวน 25 ชุด ให้กับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปกักขยะลอยน้ำบริเวณปากแม่น้ำลำคลองสาขาต่าง ๆ ไม่ให้หลุดรอดสู่ทะเล โดยระหว่างปี 2563 จนถึงปี 2567 (ข้อมูล ณ ธันวาคม 2567) SCGC ได้ส่งมอบทุ่นกักขยะฯ ไปแล้วกว่า 50 ชุด ติดตั้งใน 17 จังหวัด สามารถลดปริมาณขยะบกไหลลงสู่ทะเลได้กว่า 90 ตัน ซึ่งมีส่วนช่วยป้องกันและเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพให้กับระบบนิเวศทางทะเล
สำหรับ นวัตกรรมทุ่นกักขยะลอยน้ำโมเดลใหม่ : SCGC - DMCR Litter Trap Gen 3 ได้ออกแบบให้เพิ่มประสิทธิภาพและปรับเปลี่ยนวัสดุใหม่เพื่อช่วยลดการใช้พลังงาน สามารถลดน้ำหนักทุ่นได้กว่า 50% ประกอบติดตั้งสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น ขนส่งในปริมาณที่มากขึ้นต่อเที่ยวจึงช่วยลดการใช้พลังงานและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยทุ่นกักขยะลอยน้ำโมเดลใหม่ สามารถรองรับน้ำหนักขยะได้กว่า 700 กิโลกรัมต่อตัว อายุการใช้งานยาวนานกว่า 25 ปี แม้วางอยู่กลางแสงแดด เนื่องจากวัสดุที่นำมาใช้เป็นพลาสติก HDPE เกรดพิเศษเช่นเดียวกับที่ใช้ใน SCGC Floating Solar Solutions จึงมีความแข็งแรง ทนทาน และสามารถรีไซเคิลได้ทั้งหมด
ทั้งนี้ SCGC ได้ร่วมกับ ทช. และภาคีเครือข่าย เช่น สมาคมเยาวชน The Youth Fund สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กลุ่มปิโตรเคมี สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรมควบคุมมลพิษ องค์กร AEPW (Alliance to End Plastic Waste) ขับเคลื่อนภารกิจพิทักษ์ทะเลมาอย่างต่อเนื่อง โดย SCGC ได้นำความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยและพัฒนามาสร้างสรรค์ “นวัตกรรมเพื่อพิทักษ์ทะเล” (Innovation for Better Marine) อาทิ นวัตกรรมทุ่นกักขยะลอยน้ำ บ้านปลาเอสซีจีซี รวมทั้งร่วมก่อตั้งเครือข่าย “Nets Up” โมเดลการสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อทะเลยั่งยืน เปลี่ยนอวนประมงที่ไม่ใช้แล้ว สู่ Marine Materials วัสดุทางเลือกใหม่จากนวัตกรรมรีไซเคิล นอกจากนี้ ยังได้นำพนักงานจิตอาสาร่วมเก็บขยะชายหาดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปีที่ผ่าน มีจิตอาสากว่า 2,000 คน สามารถเก็บขยะชายหาดได้กว่า 3 ล้านตัน
บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อย่างยั่งยืน ผนึกกำลังร่วมกับพันธมิตร “วินด์เซอร์” (WINDSOR) ผู้นำตลาดประตูหน้าต่างไวนิล จากบริษัท นวพลาสติกอุตสาหกรรม จำกัด ในกลุ่มธุรกิจเอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ SCGC ชูนวัตกรรมวัสดุก่อสร้างรักษ์โลกจากไวนิล ปูพรมกว่า 78 โครงการบ้านของศุภาลัยทั่วประเทศ จับมือเดินหน้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และประหยัดพลังงาน พร้อมยกระดับบ้านอยู่สบาย ตอบโจทย์ทั้งฟังก์ชันและดีไซน์ด้วย “Ultimate Protection” ที่มีคุณสมบัติป้องกันความร้อน ฝุ่น เสียง และการรั่วซึมได้มากขึ้น พร้อมก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน
นายกิตติพงษ์ ศิริลักษณ์ตระกูล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ศุภาลัย ประกาศความมุ่งมั่นในการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยโดยให้ความสำคัญกับการคัดสรรวัสดุและอุปกรณ์ที่มีคุณภาพสูง มาตรฐานดี และมีความปลอดภัย ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ของลูกค้า อีกทั้งยังสร้างสรรค์นวัตกรรมที่อยู่อาศัยใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่ออำนวยความสะดวกสบายให้แก่ผู้อยู่อาศัย นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 40% ภายในปี 2573 โดยเน้นการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน การออกแบบที่อยู่อาศัยที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การเลือกใช้วัสดุ Green Product รวมไปถึงการพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง รวมถึงการบริหารจัดการของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างที่อยู่อาศัยสีเขียวและก้าวสู่การเป็นองค์กร Zero Waste แบบครบวงจร”
ทั้งนี้ ศุภาลัย ยังได้ร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อสร้างนวัตกรรมที่อยู่อาศัยร่วมกัน โดยการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ศึกษา และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้จริง โดยร่วมกับ “วินด์เซอร์” (WINDSOR) ผู้นำตลาดประตูหน้าต่างไวนิล ในกลุ่มธุรกิจ SCGC เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการประกอบประตูและหน้าต่าง สามารถลดการใช้พลังงานในการผลิต ส่งผลให้การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดลงไปด้วย นอกจากนี้ ยังช่วยลดการเกิดเศษวัสดุเหลือจากกระบวนการประกอบ โดย ศุภาลัยได้คัดสรรเลือกใช้ประตูหน้าต่างไวนิลวินด์เซอร์ ตั้งแต่แรกจนถึงปัจจุบัน ยาวนานนับหลายสิบปีที่ ผ่านมา จึงมั่นใจได้ว่าบ้านทั่วประเทศของศุภาลัยที่มีการใช้ผลิตภัณฑ์จาก “วินด์เซอร์” นั้นเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตอกย้ำความมุ่งมั่นของศุภาลัยในการสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมที่ดีและอนาคตที่ยั่งยืนสำหรับทุกคน
นายอภิชาติ พรวรนันท์ ผู้จัดการฝ่ายขายโครงการ และ Profiles Business Sponsor บริษัท นวพลาสติกอุตสาหกรรม จำกัด ในกลุ่มธุรกิจ SCGC กล่าวว่า “จากสภาวะโลกเดือดที่เป็นปัญหาสำคัญของโลกในขณะนี้ ทุกภาคส่วนต่างตระหนักและร่วมมือกันเพื่อรับมือกับความท้าทายดังกล่าว สำหรับวินด์เซอร์ ซึ่งดำเนินธุรกิจภายใต้แนวทาง ESG จาก SCGC ได้มุ่งส่งเสริมความยั่งยืนด้วยวัสดุประตูหน้าต่างไวนิลที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ภายใต้วิสัยทัศน์ “WINDSOR for Sustainability” โดยเดินหน้าพัฒนากระบวนการผลิตประตูหน้าต่างไวนิล ในรูปแบบ “Pre-cut” ที่มีเฉพาะในแบรนด์วินด์เซอร์ ทำให้ไม่เกิดเศษเหลือในกระบวนการประกอบ (Zero Waste) ผ่านการรับรองจาก SCG Green Choice รวมทั้งได้รับการรับรองฉลากคาร์บอนฟุต พริ้นท์ผลิตภัณฑ์ (CFP) และฉลากลดโลกร้อน (CFR) จึงช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการใช้พลังงานในการผลิตที่ลดลงได้เป็นอย่างดี สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของ SCGC ที่มุ่งเน้นเรื่อง Low Waste, Low Carbon พร้อมทั้งตอบโจทย์แนวทางการสร้างบ้านของศุภาลัยที่มุ่งมั่นเลือกใช้สินค้าคุณภาพ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของลูกบ้าน ควบคู่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน”
ทั้งนี้ ทุก ๆ การใช้ประตูหน้าต่างไวนิลวินด์เซอร์ในบ้าน 1 หลังของโครงการศุภาลัย ด้วยการใช้กระบวนการประกอบในรูปแบบ Pre-cut สามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ 39 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ (kgCO2) เทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ 5 ต้น ตอบโจทย์เจ้าของบ้านสายกรีนที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ซึ่งในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา ทางศุภาลัยได้เลือกใช้ผลิตภัณฑ์กรอบประตูหน้าต่างของวินด์เซอร์ในโครงการต่าง ๆ กว่า 78 แห่งทั่วประเทศ รวมพื้นที่หน้าต่างโครงการคิดเป็นปริมาณ CO2 ที่ลดลงกว่า 194,062 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ (kgCO2) เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ 22,612 ต้น
นอกจากการพัฒนานวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนแล้ว วินด์เซอร์ยังพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับบ้านอยู่สบาย ด้วยคุณสมบัติ “Ultimate Protection” ที่พัฒนาให้มีคุณสมบัติเพื่อปกป้องบ้านและผู้อยู่อาศัยจากสิ่งรบกวน ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ ทั้งในแง่ฟังก์ชันและดีไซน์ ให้บ้าน “เงียบกว่า” เมื่อเทียบกับการใช้บานอลูมิเนียมทั่วไปถึง 40% โดยสามารถลดทอนเสียงรบกวนจากภายนอกสู่ภายในบ้านได้ถึง 32 เดซิเบล นอกจากนี้ ยัง “เย็นกว่า” ด้วยประสิทธิภาพการป้องกันความร้อน จึงช่วยประหยัดการใช้พลังงานในระยะยาว ช่วยลดค่าไฟฟ้าได้สูงสุดถึง 9,144 บาทต่อปี “ปลอดฝุ่นกว่า” สามารถป้องกันมลภาวะและฝุ่น PM2.5 จากภายนอกเข้าสู่ตัวบ้านได้ถึง 3 เท่า เพื่อสุขภาวะที่ดี และ “มั่นใจกว่า” ป้องกันการรั่วซึมของน้ำและอากาศ ต้านทานแรงลมได้ดี ด้วยโครงสร้างที่แข็งแรงทนทาน พร้อมรองรับทั้งบ้านพักอาศัยและงานอาคารสูง
เอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ SCGC ผู้นำธุรกิจพอลิเมอร์ครบวงจรเพื่อความยั่งยืน พลิกเกมช่วงธุรกิจปิโตรเคมีขาลง เชื่อมั่นในการเติบโตของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในภูมิภาค เดินหน้าเสริมแกร่งธุรกิจด้วยการลงทุนโครงการเพิ่มวัตถุดิบก๊าซอีเทนในบริษัท ลองเซิน ปิโตรเคมิคอลส์ (Long Son Petrochemicals – LSP) ด้วยงบประมาณลงทุนรวมประมาณ 700 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 23,000 ล้านบาท ซึ่งจะช่วยให้โรงงาน LSP สามารถรับวัตถุดิบก๊าซอีเทนจากสหรัฐอเมริกาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยมีต้นทุนวัตถุดิบที่ต่ำลง และเพิ่มความยืดหยุ่นในการรับวัตถุดิบในการผลิตได้มากขึ้น พร้อมทั้งยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จ ปลายปี 2570
นายศักดิ์ชัย ปฏิภาณปรีชาวุฒิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ SCGC เผยว่า “กระบวนการผลิตโอเลฟินส์ของโรงงาน LSP ได้รับการออกแบบให้มีความยืดหยุ่นในการใช้วัตถุดิบตั้งต้นประเภทก๊าซมากขึ้น งบประมาณลงทุนส่วนใหญ่จะนำไปใช้สำหรับการสร้างระบบการจัดการและถังจัดเก็บวัตถุดิบก๊าซอีเทน ซึ่งต้องอยู่ภายใต้อุณหภูมิต่ำประมาณ -90 องศาเซลเซียส รวมทั้งสาธารณูปโภคการรับวัตถุดิบ (supporting facilities) เมื่อโครงการแล้วเสร็จ โรงงาน LSP จะสามารถรับก๊าซอีเทนได้มากถึงสองในสามของปริมาณวัตถุดิบทั้งหมด โดยส่วนที่เหลือจะเป็นก๊าซโพรเพนและแนฟทา”
ทั้งนี้ โรงงาน LSP ได้เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2567 สามารถผลิตและจำหน่ายพอลิเมอร์คุณภาพสูงเพื่อป้อนตลาดในประเทศเวียดนามและส่งออกไปยังต่างประเทศ โดยผลิตภัณฑ์จากโรงงาน LSP ได้รับการยอมรับในด้านคุณภาพและมาตรฐานระดับสากล
“อย่างไรก็ตาม ในช่วงธุรกิจปิโตรเคมีขาลง SCGC มีแนวทางบริหารจัดการการผลิตของโรงงานทั้ง 3 แห่ง ได้แก่ โรงงานระยองโอเลฟินส์ (ROC) โรงงานมาบตาพุดโอเลฟินส์ (MOC) และโรงงาน LSP ให้เหมาะสมกับราคาวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ และสถานการณ์เศรษฐกิจโลก เพื่อให้มีศักยภาพการแข่งขันสูงสุด ซึ่งขณะนี้ โรงงาน LSP ได้หยุดการเดินเครื่องชั่วคราว เพื่อบริหารต้นทุนธุรกิจโดยภาพรวม ทั้งนี้ SCGC จะประเมินการกลับมาเดินเครื่องอีกครั้งเมื่อสถานการณ์เหมาะสม โดยระหว่างนี้ โรงงาน LSP จะมุ่งเน้นการยกระดับประสิทธิภาพ (Operational Excellence) และการบำรุงรักษาเครื่องจักรต่าง ๆ เพื่อให้พร้อมผลิตในทันทีที่สภาวะตลาดโลกฟื้นตัว” นายศักดิ์ชัย กล่าวทิ้งท้าย