February 22, 2025

ซีพี ออลล์-เซเว่นฯ ร่วมต่อยอดแนวคิด พัฒนาทักษะวิชาการควบคู่วิชาชีพ

ซีพี ออลล์ จัดเวทีประชันไอเดียปัญญาประดิษฐ์ “Creative AI Club Hackathon ปีที่ 3” เปิดทางเยาวชน ม.ปลาย-ปี 1 ร่วมสร้างสรรค์แนวคิดใช้ AI สร้างเซเว่น อีเลฟเว่นในฝันเพื่อตอบโจทย์พฤติกรรมและความต้องการของลูกค้ายุคใหม่ พบหลากผลงานสุดว้าว เล็งเปิดโอกาสเด็กเก่ง-เจ้าของผลงานเจ๋ง ร่วมโครงการ Future Innovator ต่อยอดไอเดียสู่การปฏิบัติจริง ด้านทีม “เหมียว” คว้ารางวัลชนะเลิศ โชว์ไอเดียกล้องวงจรปิด AI “PathVision” สำรวจพฤติกรรมการชมสินค้าในร้านเซเว่น อีเลฟเว่น สู่การพัฒนาร้านนำเสนอสินค้าบริการเพื่อลูกค้าทุกกลุ่ม

 

นายป๋วย ศศิพงศ์ไพโรจน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สำนักปัญญาประดิษฐ์สร้างสรรค์ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น และเซเว่น เดลิเวอรี่ กล่าวว่า บริษัทยังคงเดินหน้าให้ความสำคัญกับการ “สร้างคน” เปิดพื้นที่ให้เยาวชนได้แสดงทักษะความสามารถอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด ได้จัดงาน Creative AI Club Hackathon ปีที่ 3 เปิดโอกาสให้เยาวชนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จนถึงระดับอุดมศึกษาชั้นปีที่ 1 เข้าร่วมเวิร์คช็อป 3 วัน 2 คืน พร้อมประชันไอเดียการสร้างสรรค์ผลงานปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ภายใต้ระยะเวลาอันจำกัดเพียง 24 ชั่วโมง โดยมีพี่ๆ เยาวชนจากโครงการค่าย Creative AI Camp รุ่นล่าสุด ก้าวขึ้นมาเป็นทีมผู้จัดงาน (Core Leader) และผู้ให้คำแนะนำรุ่นเยาว์ (Junior Mentor)

สำหรับหัวข้อการประชันไอเดียในปีนี้ คือ “What is the 7-Eleven of your dreams? สร้าง 7-Eleven ในฝันของคุณด้วยพลัง AI” เปิดโอกาสให้เยาวชนได้รับความรู้และสถานการณ์ปัญหา (Pain Point) จากทีมหน่วยธุรกิจ (Business Unit) ต่างๆ ของเซเว่น อีเลฟเว่น รวมถึงได้รับทราบฟังก์ชัน ฟีเจอร์ด้าน AI ที่เซเว่น อีเลฟเว่นมีอยู่แล้ว เพื่อให้เยาวชนได้แสดงศักยภาพ ระเบิดความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาสิ่งใหม่ พร้อมทั้งสามารถต่อยอดกับสิ่งที่มีอยู่แล้วด้วยนวัตกรรม AI

 

“เทคโนโลยี AI ในวันนี้กลายเป็นเทคโนโลยีทั่วไป หรือ Common Technology ที่คนใช้กันในชีวิตประจำวัน คนไทยจำนวนมากมีประสบการณ์กับ AI มากขึ้น น้องๆ คนรุ่นใหม่เองก็เช่นกัน เราจึงเปิดโอกาสให้น้องๆ สมัครเข้ามาแสดงศักยภาพ แสดงแนวคิดแปลกใหม่ในการสร้างสรรค์ AI ผ่านการประยุกต์ใช้กับร้านเซเว่น อีเลฟเว่น โดยปีนี้มีน้องๆ ให้ความสนใจสมัครถึงกว่า 400 คน ก่อนเราจะคัดเหลือ 40 คน ทีมที่ผ่านเข้ามาแข่งขันในปีนี้ หลายๆ ทีม ไม่เฉพาะทีมที่ได้รับรางวัล ต่างนำเสนอไอเดียแปลกใหม่และน่าสนใจมาก จนทั้งคณะกรรมการและผู้บริหารต่างชื่นชมถึงไอเดียของเหล่า Tech Talent” นายป๋วย กล่าว

ทั้งนี้ ซีพี ออลล์ ได้ให้ความสำคัญกับผลงานของเยาวชน และเปิดโครงการ Future Innovator เป็นโครงการฝึกงานที่ให้น้องๆ เยาวชนที่ผ่านกิจกรรม Creative AI Club Hackathon หรือ Creative AI Camp ได้เข้ามาร่วมต่อยอดผลงานของตัวเองหรือของเพื่อนที่ชนะในแคมป์ รวมถึงมีโอกาสได้รับพิจารณาเข้าทำงานร่วมกับซีพี ออลล์อย่างเต็มรูปแบบในอนาคต

 

สำหรับรางวัลชนะเลิศ จาก Creative AI Club Hackathon ครั้งที่ 3 ได้แก่ ทีมเหมียว กับผลงาน “กล้องวงจรปิด PathVision” ใช้กล้องวงจรปิดที่มี AI สำรวจพฤติกรรมการหยุดชมสินค้าของลูกค้าในร้านเซเว่น อีเลฟเว่นแบบไม่ระบุตัวตน เพิ่มประสิทธิภาพการจัดผังร้าน และสร้างประโยชน์ต่อแบรนด์สินค้าและตอบโจทย์พฤติกรรมลูกค้าที่สามารถเข้ามาใช้บริการได้สะดวกมากยิ่งขึ้น (สมาชิกในทีม : สุธีร์ธิดา ปิยะจงวิวัฒน์, วรัญชิต วีระศักดิ์, พุฒิพร เจริญวิมลรักษ์ และคุณชมศมนต์ ชมภูคำ) รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้แก่ ทีม 7-Twelve กับผลงาน “7-OTP” นำข้อมูลจากเครื่อง POS ของเซเว่น อีเลฟเว่น มาทำนายอนาคต เพื่อให้สามารถแบ่งหน้าที่คนทำงาน และจัดระบบการทำงานในแต่ละช่วงเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น (สมาชิกในทีม : กมลพร ถอดมูล, ชิติพัทธ์ สร้อยสังวาลย์, พชรพรรณ จงบรรจบ, และวชิรวี ขำรักษา) รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้แก่ ทีม Kadjap.CPALL กับผลงาน “Eatit.AI” ไอเดียฟีเจอร์เสริม AI ในแอป 7-Eleven ที่ช่วยแนะนำสินค้าที่สอดคล้องกับความต้องการลูกค้า จัดเซ็ทสินค้า รวมถึงสามารถคำนวณแคลอรี ลดปัญหาลูกค้าเดินเข้ามาแล้วไม่รู้ว่าจะซื้ออะไร (สมาชิกในทีม : ธนภณ ธนาดุลเปรมเดช, ธนโชติ เทศกัณฑ์, ณภัทร ศรวิชัย และทรงพล ซ้ายขวา)

ด้านนายวรัญชิต วีระศักดิ์ (น้องอะตอม) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายวิทย์-คณิต โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี หนึ่งในสมาชิกทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ กล่าวว่า ผลงานของทีมเริ่มจาก Pain Point ว่า กล้องวงจรปิดในยุคแห่งเทคโนโลยี ควรทำได้มากกว่าฟังก์ชันทั่วไป จึงได้มองถึงการนำกล้องวงจรปิดที่มี AI มาช่วยสำรวจและวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้าแบบไม่ระบุตัวตน อาทิ การสำรวจตำแหน่งที่ลูกค้าไปหยุดดูมากที่สุด แล้วสร้างเป็น Heat Map การสำรวจพฤติกรรมลูกค้า ณ ตำแหน่งต่างๆ ว่ามองตรง มองบน หรือมองล่าง เพื่อให้สามารถปรับปรุงผังร้านได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงช่วยให้แบรนด์สินค้าต่างๆ ได้ทราบถึงพฤติกรรมภายในร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภค

“การเข้ามาร่วม Creative AI Club Hackathon ของซีพี ออลล์ในครั้งนี้ ช่วยให้ได้รู้จักคนใหม่ๆ ได้ฝึกทำงานในเวลาที่จำกัด มีโจทย์ให้ได้พัฒนาตัวเอง โดยกว่าจะเป็นโปรเจกต์กล้อง PathVision ในครั้งนี้ ทีมอ่านเอกสารภาษาอังกฤษ อ่านสมการคณิตศาสตร์เยอะมาก เพื่อให้พัฒนาฟังก์ชันและโซลูชันได้อย่างเหมาะสม หากมีโอกาสก็อยากเข้ามาทำงานและต่อยอดผลงานนี้ให้เกิดขึ้นจริง และเชื่อว่าผลงานนี้สามารถประยุกต์ใช้ได้ ไม่เฉพาะในร้านเซเว่น อีเลฟเว่น” นายวรัญชิต กล่าว

นายวรัญชิต กล่าวเพิ่มเติมว่า AI ถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญมากๆ สำหรับมนุษย์ ช่วยให้มนุษย์เรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วขึ้นมาก โลกในอนาคต ผู้ที่ใช้ AI เป็น กับผู้ที่ใช้ AI ไม่เป็น จะมีอัตราการประสบความสำเร็จ (Success Rate) แตกต่างกัน การไม่ปรับตัวให้ทัน จะส่งผลต่อความยากลำบากในการใช้ชีวิต ส่วนตัวจึงให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ด้าน AI และอยากประกอบอาชีพเป็น Tech Programmer โดยล่าสุด ได้รับโอกาสเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล (CEDT) ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้ว

 

ทั้งนี้ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CP ALL มีนโยบายส่งเสริมการศึกษา พัฒนาเยาวชน มุ่งมั่นจัดกิจกรรมสนับสนุนทักษะเยาวชนด้านปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI อย่างต่อเนื่อง ผ่านหลากหลายเวที ได้แก่ 1.Creative AI Camp (CAI Camp) ค่ายพัฒนาทักษะ AI ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย-อุดมศึกษา ภายใต้ความร่วมมือกับพันธมิตรด้านเทคโนโลยีจากนานาประเทศ  ระยะเวลา 3 เดือน 2.Creative AI Club (CAI Club) ชุมชนคน AI ที่เป็นพื้นที่เรียนรู้ พื้นที่สร้างสรรค์ผลงานด้าน AI มีกิจกรรม Workshop อย่างต่อเนื่อง 3.Creative AI Club Hackathon เวทีประชันไอเดียด้าน AI และพัฒนาผลงานภายใต้เวลาจำกัดเพียง 1-2 คืน สำหรับน้อง ๆ เยาวชนระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย-มหาวิทยาลัย ปี 1 และยังมีกิจกรรมอื่นๆ ที่อาจจัดขึ้นเพิ่มเติมในอนาคต ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดกิจกรรมและเวทีต่างๆ เพิ่มเติมได้ที่  https://www.facebook.com/caicampและ https://caicamp.cpall.co.th/

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม) สถาบันอุดมศึกษาก่อตั้งโดย บมจ.ซีพี ออลล์ เข้าชิงรางวัล "กลยุทธ์การเรียนการสอนแห่งปี หรือ Teaching and Learning Strategy of the Year" ใน Times Higher Education Awards Asia 2025 ด้วยสุดยอดผลงานจากการพัฒนาโมเดลการเรียนการสอนที่มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ โดยเป็น 1 ใน 8 สถาบันอุดมศึกษาจากทั่วทั้งทวีปเอเชียที่ได้รับการคัดเลือกเข้าชิงรางวัลนี้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงคุณภาพการศึกษาและนวัตกรรมในด้านการเรียนการสอนด้วยรูปแบบ Work-based Education

ในปีนี้ รางวัล Times Higher Education Awards Asia ได้รับผลงานส่งเข้าประกวดมากกว่า 500 ผลงานจากสถาบันการศึกษาและมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วเอเชีย ซึ่งจะมีการมอบรางวัลใน 10 สาขาหลัก โดยพีไอเอ็มได้รับการคัดเลือกในสาขา "กลยุทธ์การเรียนการสอนแห่งปี" ร่วมกับสถาบันระดับแนวหน้าจากหลายประเทศ เช่น Singapore Management University (สิงคโปร์), Sunway University (มาเลเชีย), Lovely Professional University (อินเดีย)

ที่มา: https://www.timeshighereducation.com/news/times-higher-education-awards-asia-2025-shortlist-announced   

รองศาสตราจารย์ ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดี พีไอเอ็ม เปิดเผยถึงแนวทางการพัฒนาการศึกษาที่มุ่งเน้นการเรียนรู้ควบคู่กับการฝึกงาน ซึ่งเป็นการผสานการเรียนทฤษฎีในห้องเรียนกับการปฏิบัติจริงในสถานประกอบการ เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง มีทักษะที่สามารถนำไปใช้ได้ทันทีในโลกการทำงาน (Ready to Work) ซึ่งทุกองค์ประกอบของ Work-based Education ต้องมีการพัฒนาและขับเคลื่อนทั้งผู้เรียน ผู้สอน บุคลากร ไปพร้อมกันอย่างมีประสิทธิภาพ

พีไอเอ็มมุ่งมั่นพัฒนานักศึกษาให้มีทักษะ “คิดเป็น” “ทำเป็น” “เด่นนวัตกรรม” และ “มีคุณธรรมสูง” โดยเน้นให้มีความสามารถใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด พร้อมเสริมสร้างความเป็นผู้นำที่มีคุณธรรม และมีมุมมองความคิดที่กว้างไกล พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงสู่โลกการทำงานที่ท้าทาย อีกทั้งการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่ยืดหยุ่น ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เศรษฐกิจ และสังคม จึงเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้พีไอเอ็มสามารถสร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพ พร้อมตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ สังคม และองค์กรได้อย่างแท้จริง รองศาสตราจารย์ ดร.สมภพกล่าว

ผลงานที่พีไอเอ็มส่งเข้าประกวดคือ Work-based Education Model (WBE Model) ซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นตามปรัชญาการศึกษาของสถาบันที่เน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง โดย WBE Model นี้มีความเข้มข้นมากกว่าการเรียนการสอนแบบสหกิจศึกษา (Cooperative Education) การบูรณาการการเรียนรู้ร่วมกับการทำงาน (Work-integrated Learning) ด้วยการบูรณาการทั้งภาคทฤษฎีและการปฏิบัติจริงจากการฝึกงานในสถานประกอบการจริง

โมเดลนี้ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบสำคัญ ได้แก่:

  1. Work-based Teaching (WBT) – การเรียนการสอนในห้องเรียนร่วมกับคณาจารย์และผู้เชี่ยวชาญจากภาคอุตสาหกรรม
  2. Work-based Learning (WBL) – การฝึกปฏิบัติจริงในสถานประกอบการต่างๆ ทุกปีการศึกษา
  3. Work-based Researching and Innovation (WBR) – นักศึกษาได้ทำวิจัยหรือโครงงานที่เชื่อมโยงกับโจทย์จากสถานประกอบการ
  4. Networking University – การสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันและภาคส่วนต่างๆทั้งในและต่างประเทศ เพื่อการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ

ผลจากการดำเนินการด้วย WBE Model นี้ทำให้บัณฑิตของพีไอเอ็มพร้อมทำงานทันทีเมื่อสำเร็จการศึกษา ด้วยอัตราการได้งานทำสูงถึง 88.94% ภายใน 2 เดือนหลังจบการศึกษา และค่าเฉลี่ยเงินเดือนเริ่มต้นของบัณฑิตปริญญาตรีของพีไอเอ็มยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศไทยอีกด้วย โดยการประกาศผู้ชนะรางวัล Times Higher Education Awards Asia 2025 จะมีขึ้นในงาน THE Asia Universities Summit ที่จัดขึ้นในเดือนเมษายน 2025

ซีพี ออลล์ มีความภาคภูมิใจที่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 8 สถาบันอุดมศึกษาเข้าชิงรางวัล "กลยุทธ์การเรียนการสอนแห่งปี” จากผลงานที่ส่งเข้าประกวดมากกว่า 500 ผลงานจากทั่วทั้งทวีปเอเชีย ทั้งนี้ซีพี ออลล์มุ่งมั่นให้ความสำคัญนโยบาย “สร้างคน” โดยส่งเสริมการศึกษาพัฒนาเยาวชนเพื่อ  “สร้างคนเก่ง คนดี มีความสามารถผ่านการศึกษา”  ซึ่งเป็นฐานรากที่สำคัญของประเทศ การสร้างคนเป็นเรื่องหนึ่งที่ซีพี ออลล์ มุ่งมั่นดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยให้สังคมและเศรษฐกิจของไทยขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างเข้มแข็ง ตามปณิธานองค์กร Giving and Sharing

สร้างสีสันในการจับจ่ายใช้สอยช่วงต้นปีให้กลับมาคึกคักยิ่งขึ้น “เซเว่น อีเลฟเว่น” ร่วมสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและ OTOP ผ่านโครงการ Easy E-Receipt 2.0 ในหมวดสินค้ากลุ่มวิสาหกิจชุมชน และ OTOP ชวนช้อปสินค้าคุณภาพ ของดีของเด็ดของคนไทย ที่ร้านเซเว่นฯ คัดมาให้เลือกสรรกว่า 750 รายการ ครอบคลุมสินค้าอุปโภคบริโภค วางจำหน่ายในร้านเซเว่นฯ และแพลตฟอร์มออนไลน์ 7 Delivery, All Online ผ่านช่องทาง 7 App ส่งเสริมการสร้างรายได้ กระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงช่วยลดหย่อนภาษีให้กับบุคคลที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สามารถนำใบกำกับภาษี ไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 20,000 บาท เริ่มจับจ่ายได้ตั้งแต่ 16 มกราคม – 28 กุมภาพันธ์ 2568 ที่เซเว่นฯ ทุกสาขา

บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น และเซเว่น เดลิเวอรี่ เปิดช่องทางการลดหย่อนภาษีผ่านร้าน เซเว่น อีเลฟเว่น ในโครงการ Easy E-Receipt 2.0 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลไทยที่เปิดโอกาสให้ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสามารถนำค่าใช้จ่ายจากการซื้อสินค้าและบริการมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 50,000 บาท โดยมีเงื่อนไขสำคัญคือต้องเป็นการซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการที่เข้าร่วมในการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax invoice) ความพิเศษของปีนี้คือการแบ่งวงเงินลดหย่อนเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนแรก 30,000 บาท สำหรับการซื้อสินค้าและบริการทั่วไป ส่วนที่สอง 20,000 บาท สำหรับการซื้อสินค้าจากวิสาหกิจชุมชน และสินค้า OTOP ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมพัฒนาชุมชน โดยนโยบายหลักของร้านเซเว่นฯ คือการให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยมาอย่างต่อเนื่อง

เซเว่นฯ ร้านสะดวกซื้อที่อยู่เคียงคู่คนไทยมากว่า 35 ปี ขอเป็นกำลังสำคัญในการร่วมสนับสนุนสินค้าวิสาหกิจชุมชน SME และ OTOP ที่เป็นคู่ค้าและอยู่ในระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ กว่า 750 รายการสินค้า มาวางจำหน่ายในร้าน  เซเว่นฯ ครอบคลุมสินค้าหลากหลายประเภท ได้แก่ อาหารและเครื่องดื่ม ของทานเล่น และข้าวของเครื่องใช้ โดยทางร้านเซเว่นฯ จะทำป้ายสัญลักษณ์ที่ชั้นวางสินค้า เพื่อให้ผู้บริโภคทราบว่าสินค้านี้เป็นสินค้า OTOP ลดหย่อนภาษีได้ ไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้ลูกค้าจับจ่ายใช้สอยได้สะดวก และมั่นใจว่าสินค้ารายการใดบ้างที่ร่วมลดหย่อนภาษีโครงการ Easy E-Receipt 2.0 ร่วมอุดหนุนได้ที่ร้านเซเว่นฯ ทุกสาขา ทั่วประเทศได้ในวันที่ 16 มกราคม – 28 กุมภาพันธ์ 2568

สำหรับรายการสินค้า ที่เข้าร่วมโครงการ Easy E-Receipt 2.0 ในร้านเซเว่นฯ อาทิ

- สินค้าท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย ได้แก่ น้ำพริก ผัดหมี่อุดร แหนมหมูย่าง ก๋วยจั๊บอุบลกึ่งสำเร็จรูป น้ำอินทผลัมสกัด ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ เป็นต้น

- สินค้ากลุ่มอุปโภคบริโภค ได้แก่ ยาสีฟันสมุนไพร แชมพูใบหมี่อัญชัน น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น หมอน ขนมเปี๊ยะ หนังปลาแซลมอนอบกรอบ ทองม้วน กล้วยแปรรูป มะพร้าวแก้ว ครองแครงกรอบ ขนมผิง ลูกอมกะทิ เป็นต้น

สำหรับเงื่อนไขการซื้อสินค้าที่จะได้รับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax invoice)

  1. ต้องเป็นการซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการที่เข้าร่วมในการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax invoice) โดยสังเกตจากป้ายที่ชั้นวางสินค้า ที่ระบุว่าสินค้า OTOP เข้าร่วม Easy E-Receipt 0
  2. นำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์มาใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการซื้อสินค้าและบริการ มูลค่าไม่เกิน 50,000 บาท โดยแบ่งดังนี้

- 30,000 บาท สำหรับซื้อสินค้าและบริการทั่วไป (ยกเว้นโรงแรม ที่พัก)

- 20,000 สำหรับซื้อสินค้ากลุ่มวิสาหกิจชุมชน และ OTOP

 

สำหรับวิธีการขอใบกำกับภาษีสามารถทำได้ 4 วิธี สะดวก ง่าย ทุกช่องทาง

1.ขอผ่าน 7 APP สมัครรับใบเสร็จผ่านไอคอนใบเสร็จ e-Tax และกดขอใบกำกับภาษี

2.ขอกับพนักงานที่ร้าน แจ้งขอใบกำกับภาษีเต็มรูปกับพนักงานร้าน โดยใช้บัตรประชาชนตัวจริง

3.ขอผ่าน 7-ELEVEN Delivery เมื่อลูกค้าทำการสั่งซื้อสำเร็จ กดเข้าเมนูบัญชีของฉัน เลือกประวัติคำสั่งซื้อ และกดแถบข้อความขอใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์

4.ขอผ่าน ALL ONLINE ลูกค้าระบุเลือกขอใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปบนหน้าจอก่อนกดสั่งสินค้า และกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน พร้อมตรวจสอบความถูกต้อง

ประเทศไทย ได้ก้าวเข้าสู่ ‘สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์’ (Complete Aged Society) ตั้งแต่ปี 2565 ซีพี ออลล์-เซเว่น อีเลฟเว่น ในฐานะภาคเอกชนไทยที่มีความมุ่งมั่นในปณิธาน "Giving and Sharing"  จึงได้เดินหน้านโยบายสร้างงาน “ผู้สูงอายุ” เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีอาชีพ มีรายได้ มีคุณค่า มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

จากข้อมูลของสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย โดยประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีสัดส่วนผู้สูงอายุเกินกว่าร้อยละ 10 ตั้งแต่ปี 2564 และคาดว่าในปี 2578 จะมีผู้สูงอายุสูงถึงร้อยละ 28 ของประชากรทั้งประเทศ การเปลี่ยนแปลงนี้ไม่เพียงแค่ส่งผลต่อโครงสร้างประชากร แต่ยังส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจและตลาดแรงงานอย่างมีนัยสำคัญ

 

เพื่อรองรับความท้าทายนี้ ซีพี ออลล์ จึงได้ริเริ่มนโยบายสร้างงานผู้สูงอายุ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายกระทรวงแรงงาน จึงได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการส่งเสริมการมีงานทำให้ผู้สูงอายุ (MOU) โดยใช้แพลตฟอร์มชื่อว่า “ไทยมีงานทำ” เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้มีงานทำ มีอาชีพ มีรายได้ เลี้ยงดูตนเองและครอบครัว ได้ทำงานในสถานประกอบการ รวมทั้งเป็นการสร้างหลักประกันที่มั่นคง สร้างคุณค่าและความภาคภูมิใจให้แก่ตนเอง ตลอดจนเป็นการเพิ่มบทบาทและคุณค่า ด้วยการมีส่วนร่วมในเชิงเศรษฐกิจ ลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐในด้านสวัสดิการ

วันนี้ซีพี ออลล์  ชวนทำความรู้จักป้านวล “พนักงานเซเว่นวัยเก๋า” ที่ครองตำแหน่งพนักงานที่มีอายุมากที่สุดของร้านเซเว่น อีเลฟเว่นในประเทศไทย   

นางสาวนวล ชอบธรรม อายุ  80 ปี  ชื่อเล่น  นวล (พนักงานในร้านเรียกว่า ป้านวล) ตำแหน่ง แม่บ้านร้าน 7-Eleven สาขา สีลม 22 ทำงานที่นี่มาแล้วกว่า 12 ปี โดยมาสมัครเป็นพนักงานด้วยตัวเอง  สิ่งที่ป้านวลได้รับจากการทำงาน คือความรู้สึกภูมิใจในตัวเอง เพราะสามารถพึ่งพาตัวเองได้ มีสุขภาพกายและใจที่ดี เพราะได้ขยับร่างกายตลอด มีน้องๆ ลูกๆ หลานๆ ในร้านให้ได้พูดคุยไม่เหงา มีเงินเดือน เลี้ยงดูตัวเองได้  หากใครผ่านมาแถวสีลมอย่าลืมแวะมาทักทายป้านวลกันด้วยนะ  หรือผู้ที่สนใจร่วมงานกับ ซีพี ออลล์ และบริษัทในกลุ่มธุรกิจฯ  สามารถกดติดตามช่องทางต่างๆ Job CP ALL เพื่อไม่ให้พลาดตำแหน่งงานใหม่ๆ  ได้ที่ https://linktr.ee/Job_CPALL 

ซีพี ออลล์-เซเว่น อีเลฟเว่น มีนโยบายสร้างงานให้กับคนในทุกท้องถิ่น รวมถึงกลุ่มเปราะบาง ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ตอบโจทย์เป้าหมายการสร้างงาน สร้างอนาคตให้กับคนไทย  ตามปณิธานองค์กร Giving and Sharing  มุ่งมั่นเคียงคู่ชุมชน สร้างสรรค์สังคมยั่งยืน ปัจจุบันซีพี ออลล์มีพนักงานกว่า 200,000 คนกระจายอยู่ในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีงานที่มั่นคง มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

Page 1 of 19
X

Right Click

No right click