January 22, 2025

SCGP เสริมธุรกิจด้วยกลยุทธ์ ESG เพื่อขับเคลื่อนองค์กรเติบโตอย่างยั่งยืนให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของโลก (Megatrends) ชูการรับรองคาร์บอนฟุตพรินท์ของผลิตภัณฑ์ (CFP) การพัฒนา Private declaration Label เพื่อระบุปริมาณ CFP บนผลิตภัณฑ์ พร้อม “ซอฟต์แวร์คาร์บอนฟุตพริ้นท์” ช่วยคำนวณปริมาณปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างรวดเร็ว เสริมศักยภาพการดำเนินธุรกิจ ช่วยจัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกใน Scope 3 ของลูกค้า เพิ่มโอกาสธุรกิจและเสริมศักยภาพอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ไทย ตั้งเป้าขอการรับรอง CFP ในกลุ่มสินค้าที่ผลิตในประเทศไทย 100% ภายในปี 2027

นายวิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP กล่าวว่า ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งความผันผวนของสภาวะเศรษฐกิจ เทคโนโลยี รวมถึงสภาพภูมิอากาศ  SCGP ได้ทรานส์ฟอร์มธุรกิจในทุกด้านอย่างต่อเนื่อง ไปพร้อมกับการสร้างความยืดหยุ่น เพื่อสร้างการเติบโตของธุรกิจอย่างมีคุณภาพ การพัฒนาพนักงานให้พร้อมรับทุกสถานการณ์ การใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีมาเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และบริการตรงใจลูกค้า และอีกหนึ่งการทรานส์ฟอร์มที่ SCGP ให้ความสำคัญ คือ Sustainability Transformation” หรือการขับเคลื่อนธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยแนวคิด Inclusive Green Growth ที่เพิ่มการมีส่วนร่วมดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและสร้างสรรค์คุณค่าแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ผ่านการดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

SCGP ได้กำหนดเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2050 โดยมีแผนการลดก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการต่าง ๆ ทั้งการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน การพัฒนากระบวนการผลิต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ตลอดจนการสนับสนุนคู่ค้าและลูกค้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งห่วงโซ่คุณค่า เพื่อร่วมลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

SCGP ยังเล็งเห็นว่า การผลิตบรรจุภัณฑ์ของบริษัทถือเป็น Scope 3 ของลูกค้าซึ่งเกี่ยวข้องกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จึงได้ทุ่มเทความพยายามและร่วมมือกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO ในการพัฒนาแนวทางและวิธีการ เพื่อขอรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (CFP) โดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมศักยภาพการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้กับลูกค้า ทำให้ล่าสุด SCGP ได้รับการรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (CFP) จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO เป็นผลสำเร็จ ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศ ได้แก่ กลุ่มสินค้าเยื่อกระดาษ กระดาษพิมพ์เขียน กระดาษถ่ายเอกสาร กระดาษบรรจุภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์อาหาร บรรจุภัณฑ์พลาสติก จำนวน 128 ผลิตภัณฑ์ อีกทั้งยังได้รับการรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากกระบวนการพิมพ์และการขึ้นรูปบรรจุภัณฑ์กระดาษรวม 16 กระบวนการ ครอบคลุมทุกกลุ่มสินค้าบรรจุภัณฑ์กระดาษ

นอกจากนี้ SCGP ยังได้พัฒนา ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ที่ออกโดย SCGP (Private Declaration Label) เพื่อแสดงปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของบรรจุภัณฑ์ และได้พัฒนา “ซอฟต์แวร์คาร์บอนฟุตพริ้นท์” ของผลิตภัณฑ์ ที่แม่นยำ ง่าย และรวดเร็ว เพื่อเป็นโซลูชันให้กับลูกค้า สามารถดำเนินธุรกิจได้สอดคล้องกับมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมอีกด้วย พร้อมกับเอกสารรับรองการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ให้แก่ลูกค้าเพื่อนำไปใช้เป็นเอกสารอ้างอิง ซึ่งสอดคล้องกับมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมของภาครัฐที่มีการบังคับใช้มากขึ้นในหลายประเทศ สามารถช่วยเพิ่มโอกาสการขาย การเข้าสู่ตลาดใหม่ ๆ ให้ลูกค้าส่งออกกลุ่มต่าง ๆ อีกทั้งยังสามารถต่อยอดไปสู่การพัฒนาและเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ นับเป็นการช่วยเสริมศักยภาพอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ไทยให้มีมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมด้วย

“SCGP เดินหน้าการดำเนินธุรกิจตามกรอบแนวคิด ESG มุ่งพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม สร้างความร่วมมือกับผู้ที่อยู่ในห่วงโซ่คุณค่าเติบโตไปพร้อมกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม (Inclusive Green Growth) รวมถึงการศึกษาและติดตามสถานการณ์ เพื่อเตรียมพร้อมรับกับมาตรการใหม่ (New Regulations) ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และพร้อมให้การสนับสนุนและร่วมมือกับลูกค้าในการพัฒนานวัตกรรมและโซลูชันที่จะมาช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน” นายวิชาญ กล่าว 

ในพื้นที่ชนบทและห่างไกล ยังมีเด็กนักเรียนจำนวนมากที่ยังขาดแคลนอุปกรณ์พื้นฐานที่ใช้ในการเรียนและอ่านเขียนหนังสืออย่าง “โต๊ะ”

นายกรัณย์ เตชะเสน ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กิจการบรรจุภัณฑ์จากวัสดุสมรรถนะสูงและพอลิเมอร์ เอสซีจี แพคเกจจิ้ง

ธุรกิจแพคเกจจิ้ง เอสซีจี แถลงทิศทางการดำเนินธุรกิจปี 2562 เผยกลยุทธ์ผลักดันการเติบโตของธุรกิจ เพื่อมุ่งสู่การเป็น Total Packaging Solutions Provider หรือคู่คิดด้านบรรจุภัณฑ์ครบวงจรอย่างยั่งยืน ด้วยการเดินหน้าขยายฐานการผลิตบรรจุภัณฑ์ในอาเซียน การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มมูลค่าให้สินค้า บริการ และกระบวนการผลิต และการขับเคลื่อนการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ภายใต้แนวปฏิบัติ SCG Circular Way เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าและการใช้งานบรรจุภัณฑ์ของผู้บริโภคทั้งในไทยและอาเซียนอย่างครบวงจร

นายธนวงษ์ อารีรัชชกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจแพคเกจจิ้ง เอสซีจี กล่าวว่า “ปีที่ผ่านมา ธุรกิจ   แพคเกจจิ้ง ต้องรับมือกับความท้าทายจากความผันผวนของราคาต้นทุนวัตถุดิบและพลังงาน ตลอดจนการแข่งขันที่สูงขึ้นในตลาด ขณะเดียวกันก็มีโอกาสจากอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ในภูมิภาคอาเซียนที่ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2561 มีมูลค่าถึง 50,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโตประมาณร้อยละ 5 ส่วนในประเทศไทย มีอัตราการเติบโตของตลาดอยู่ที่ร้อยละ 3 ซึ่งใกล้เคียงกับอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ และยังมีศักยภาพเติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์ของลูกค้าแต่ละกลุ่มที่เปลี่ยนไป เช่น กลุ่มผู้บริโภคที่นิยมใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพิ่มความสะดวกสบาย และกลุ่มผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพมากขึ้น ขณะที่กลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรมจะมุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการบริหารต้นทุนเป็นหลัก ธุรกิจแพคเกจจิ้งจึงวางแผนกลยุทธ์รับมือกับความท้าทายและโอกาสเหล่านี้ เพื่อให้บริษัทฯ สามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการแข่งขัน การเพิ่มคุณภาพสินค้าและบริการที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าและผู้บริโภค รวมถึงการเป็น Total Packaging Solutions Provider หรือคู่คิดทางธุรกิจที่มุ่งตอบโจทย์ความต้องการด้านบรรจุภัณฑ์อย่างครบวงจร และสร้างคุณค่าที่ยั่งยืนตามวิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้ได้เป็นอย่างดี

สำหรับ 3 กลยุทธ์หลักที่ธุรกิจแพคเกจจิ้ง เอสซีจี ใช้รับมือกับโอกาสและความท้าทายในการดำเนินธุรกิจให้ไปถึงเป้าหมาย ได้แก่ การสร้างการเติบโตของธุรกิจด้วยการขยายฐานการผลิต เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างครบวงจร โดยในช่วงปี 2017-2018 ธุรกิจแพคเกจจิ้ง เอสซีจี ได้ลงทุนเพิ่มฐานการผลิตบรรจุภัณฑ์และงานพิมพ์คุณภาพสูงและฐานการผลิต Rigid Plastic Packaging ในประเทศไทย ฐานการผลิตบรรจุภัณฑ์กล่องกระดาษในประเทศอินโดนีเซีย และฐานการผลิต Food Packaging ในประเทศมาเลเซีย นอกจากนี้ ยังขยายฐานการผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารปลอดภัย แบรนด์ Fest อีก 2 โรงงาน ซึ่งปีนี้ บริษัทฯ จะยังคงมองหาโอกาสใหม่ ๆ ในการสร้างความเติบโตให้กับกลุ่มธุรกิจ เพื่อให้มีฐานการผลิต  บรรจุภัณฑ์ครอบคลุมทั่วประเทศและภูมิภาคอาเซียนในการสนับสนุนการเติบโตทางธุรกิจของลูกค้า และสร้างความเชื่อมั่นต่อลูกค้าที่เป็นผู้ผลิตสินค้าต่าง ๆ ให้ได้รับสินค้าที่มีคุณภาพและบริการที่เป็นเลิศอยู่เสมอ เพื่อให้ธุรกิจของพวกเขาเติบโตไปพร้อม ๆ กันกับเรา

กลยุทธ์ต่อมาคือ การสร้างสรรค์นวัตกรรมและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งวิจัยและพัฒนาสินค้าให้มีคุณสมบัติที่ดีขึ้น ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่หลากหลาย รวมถึงการพัฒนาศักยภาพของพนักงานให้สอดรับต่อการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว นอกจากนี้ ยังนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้พัฒนากระบวนการผลิตตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน เช่น การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการ Value Chain อย่างมีประสิทธิภาพ (Data Visibility) และการใช้เทคโนโลยี MARs (Mechanization, Automation, Robotics) ที่ช่วยปรับกระบวนการผลิตในโรงงานให้เป็น Smart Factory อีกทั้งยังมีการนำเทคโนโลยีไปใช้สนับสนุนการทำงานระหว่างเอสซีจีกับลูกค้า ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มีความรวดเร็ว แม่นยำ และสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าและการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น

การดำเนินงานให้สอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ภายใต้แนวปฏิบัติ     SCG Circular Way ซึ่งมุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด ใช้ให้น้อย ใช้ให้นาน หรือนำกลับมาใช้ซ้ำเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นอีกกลยุทธ์ที่ธุรกิจแพคเกจจิ้ง เอสซีจี ให้ความสำคัญ ด้วยการพัฒนาและออกแบบบรรจุภัณฑ์ทั้งกระดาษและพลาสติกให้ใช้งานง่าย โดยใช้ทรัพยากรน้อย แต่ยังคงทนแข็งแรง และสามารถนำกลับมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตซ้ำได้ครบวงจร (Close-loop Packaging) อาทิ ถุงกระดาษรีไซเคิลที่มีคุณภาพและสามารถรองรับน้ำหนักได้ดี อีกทั้งเมื่อใช้งานแล้วยังสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ หรือบรรจุภัณฑ์พลาสติก (R-1) ที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ง่าย เนื่องจากผลิตด้วยการนำวัสดุชนิดเดียวกันมาประกบกันหลายชั้น (Multilayer Laminated : Mono Material) จึงมีคุณสมบัติป้องกันความชื้น แข็งแรง สามารถปกป้องสินค้าได้ดี นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้เพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บขยะกระดาษและพลาสติกที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยใช้เครือข่ายโรงงานอัดเศษกระดาษในการเก็บขยะพลาสติกเพื่อนำมาผลิตซ้ำ และการร่วมมือกับกลุ่มผู้ประกอบการค้าปลีกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บขยะ ตลอดจนการร่วมผลักดัน ให้ความรู้ความเข้าใจกับผู้บริโภคเกี่ยวกับการใช้บรรจุภัณฑ์และการจัดการขยะบรรจุภัณฑ์หลังใช้งานแล้ว และการเข้าร่วมเป็นสมาชิก CEFLEX (A Circular Economy for Flexible Packaging) ซึ่งเป็นองค์กรระดับโลก เพื่อร่วมส่งมอบสินค้า บริการ และโซลูชั่น รวมถึงพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและทำให้ทรัพยากรธรรมชาติคงอยู่ได้อย่างยั่งยืน”

“ด้วยแนวโน้มของอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ที่ยังสามารถเติบโตทางเศรษฐกิจได้ตามการเติบโตของประเทศและภูมิภาค ทำให้คาดการณ์อัตราการเติบโตของตลาดไทยและอาเซียนในปีนี้ว่าจะยังคงใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา ธุรกิจ   แพคเกจจิ้ง เอสซีจี จึงมั่นใจว่าการดำเนินงานตามกลยุทธ์เหล่านี้ จะสามารถสร้างความพร้อมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลง และทำให้เราพร้อมเป็นคู่คิดด้านบรรจุภัณฑ์ครบวงจรให้กับลูกค้าและผู้เกี่ยวข้องทั้งในไทยและอาเซียนได้ดีมากยิ่งขึ้น ด้วยการมุ่งขยายการเจริญเติบโตไปยังประเทศต่าง ๆ ในอาเซียน การจัดสรรงบลงทุนวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการอย่างต่อเนื่อง และเน้นการดำเนินงานตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นหลัก เพื่อให้ธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เติบโตไปพร้อม ๆ กันอย่างยั่งยืน” คุณธนวงษ์ กล่าวสรุป

X

Right Click

No right click