January 09, 2025

ภายหลังจากที่ ทรู คอร์ปอเรชั่น เดินหน้าภารกิจรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ ลงทุนพัฒนาและนำ AI ขั้นสูงมาใช้เพื่อยกระดับการปกป้องและเพิ่มความปลอดภัยในการใช้บริการโลกออนไลน์  เปิดระบบป้องกันภัยไซเบอร์อัจฉริยะ "True CyberSafe"  ให้บริการโดยไม่มีค่าใช้จ่ายสำหรับ ลูกค้ามือถือทรูและดีแทค รวมทั้งลูกค้าเน็ตบ้านทรูออนไลน์ ทุกราย โดยจะ บล็อก หรือ แจ้งเตือน  เมื่อมีการเข้าถึงเว็บไซต์ที่อาจเป็นอันตราย หากลูกค้ากดเข้าไป จาก SMS หรือบราวเซอร์  และเมื่อมีการเข้าถึงเว็บไซต์ที่อาจเป็นอันตราย บนเว็บบราวเซอร์  โดยเริ่มให้บริการไปตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคมนั้น

ล่าสุด ทีมงานทรู คอร์ปอเรชั่นได้เปิดเผยข้อมูลสถิติที่รวบรวมได้ระหว่างการเปิดระบบ True CyberSafe เพียง 7 วัน (ระหว่างวันที่ 3 - 9 ธันวาคม 2567) พบข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้

  • จำนวนครั้งที่ลูกค้าคลิกลิงก์แปลกปลอมทั้งหมด 10,773,877 ล้านครั้ง
  • สามารถปกป้องลูกค้าจากการคลิกลิงก์แปลกปลอมได้ถึง 3 ล้านครั้ง
  • คิดเป็น 28% ที่ระบบสามารถปกป้องได้

อย่างไรก็ตาม ทรู คอร์ปอเรชั่น ยังคงเคารพสิทธิ์ลูกค้า หากลูกค้ายังยืนยันจะคลิกเข้าลิงก์ที่ได้รับการแจ้งเตือนต่อไป ก็สามารถทำได้ โดยพบว่า ช่วง 7 วันดังกล่าว จำนวนครั้งที่ลูกค้ายืนยันเข้าลิงก์แปลกปลอมอยู่ที่ 400,283 คลิก ( จาก 10,773,877 ล้านคลิก )  

โดย 4 ประเภทลิงก์แปลกปลอมที่พบจากระบบ True CyberSafe ในช่วงที่ผ่านมา มีดังนี้

อันดับ 1 : มัลแวร์ – เป็นไวรัสหรือซอฟแวร์เข้ามาฝังตัวในเครื่อง เพื่อเปิดช่องทางเข้ามาควบคุมเครื่องของเรา

อันดับ 2 : ฟิชชิง – เป็นการหลอกให้กรอกข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลทางการเงิน เช่น รายละเอียดบัตรเครดิต หรือรหัสผ่าน

อันดับ 3: หลอกลงทุน - มีการแสดงผลกำไรที่สูงเกินควร เพื่อดึงดูดความสนใจ รวมไปถึงการลงทุนในสกุลเงินดิจิทัล เช่น คริปโต

อันดับ 4 : สแกม – การหลอกลวงในรูปแบบต่างๆ ทางออนไลน์ เช่น สแกมบัตรเครดิต, สแกมถูกรางวัล, สแกมค่าธรรมเนียมศุลกากร และโรแมนซ์สแกม

หมายเหตุ: พบว่า 1 ลิงก์ มีมากกว่า 1 ประเภทการหลอกลวง

ยิ่งไปกว่านั้น  ทรูยังเดินหน้าร่วมกับภาครัฐทุกภาคส่วน ในการตรวจสอบและเพิ่มลิงก์แปลกปลอมในฐานข้อมูลอย่างต่อเนื่อง เพื่อบล๊อคการเข้าถึงเว็บไซต์ที่อาจเป็นอันตรายได้ อีกทั้งยังสร้างความตระหนักรู้เท่าทันกลลวงของมิจฉาชีพทางออนไลน์ เพื่อให้รู้ทันภัยไซเบอร์ ผ่านทาง   ทรูปลูกปัญญา “รู้ทันโลกออนไลน์”  https://www.trueplookpanya.com/rootanlokonline

ทรู ดีแทค รวมน้ำใจ...ทรู คอร์ปอเรชั่น นำโดย นายฐานพล มานะวุฒิเวช หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการตลาด นายวรวัฒน์ ปรีดาภัทรากุล หัวหน้าสายงานด้านการจัดการระดับภูมิภาค (ภาคเหนือ) และ นางสาวฉัทชนัน วิวรรธนวรางค์ หัวหน้าฝ่ายดูแลกลุ่มลูกค้านักท่องเที่ยวและคนเข้าเมือง พร้อมด้วยทีมงานทรู เป็นตัวแทน มอบของบริจาค อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งหม้อหุงข้าวไฟฟ้า พัดลม เป็นต้น ซึ่งต่อยอดมาจากกิจกรรมออนไลน์ รวมพลัง ช่วยเเชร์ ช่วยเหลือเพื่อนเมียนมา บน Facebook True dtac Myanmar สมทบทุนเพื่อช่วยเหลือ และเยียวยาผู้ประสบภัยที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมชาวเมียนมา จังหวัดเชียงราย ณ วัดผาสุกการาม (วัดไม้ลุงขน) ทรูมั่งมุ่นเป็นเครือข่ายอันดับ 1 เพื่อพี่น้องชาวเมียนมา พร้อมยืนเคียงข้างทุกสถานการณ์ 

 

โชว์ไฮไลท์ศูนย์เรียนรู้ดิจิทัลเพื่อบุคคลออทิสติกและครอบครัว แห่งแรกในประเทศไทย

ทรู คอร์ปอเรชั่น ตระหนักถึงความรับผิดชอบที่จะสร้างสังคมดิจิทัลที่ปลอดภัย โดยเฉพาะการปกป้องคนไทยจากภัยไซเบอร์ที่ปัจจุบันทวีความซับซ้อนและส่งผลกระทบร้ายแรงต่อชีวิตและทรัพย์สิน โดยได้ลงทุนพัฒนาระบบและนำเทคโนโลยี AI ขั้นสูงยกระดับภารกิจรักษาความปลอดภัยไซเบอร์   เปิดตัวบริการใหม่ “ทรู ไซเบอร์เซฟ True CyberSafe”  ระบบป้องกันภัยไซเบอร์จากมิจฉาชีพ ทั้งจาก ลิ้งค์แปลกปลอม  SMS หลอกลวง และการกรองสายเรียกเข้า   โดยนำร่องให้บริการระบบปิดกั้นและแจ้งเตือนการเข้าถึงลิ้งก์แปลกปลอม (Web / URL Protection) ทั้งที่เป็น Blacklist จากภาครัฐ และลิ้งก์ที่มีความเสี่ยง รวมเบื้องต้นกว่า 100,000 ลิ้งก์   สำหรับลูกค้ามือถือทรู ดีแทค และเน็ตบ้านทรูออนไลน์ทุกคน ฟรี! ทันที ไม่ต้องลงทะเบียนหรือโหลดแอปเพิ่มเติม  สร้างความมั่นใจให้คนไทยสามารถใช้งานโลกดิจิทัลได้อย่างปลอดภัย พร้อมเตรียมต่อยอดแจ้งเตือน SMS AI Filter และแจ้งเตือนสายเรียกเข้า Call AI Filter ที่จะลดความเสี่ยงทุกมิติจากภัยไซเบอร์ อีกทั้ง ผนึกกำลัง แอสเซนด์ มันนี่ (ทรูมันนี่) เพิ่มความปลอดภัยยิ่งขึ้น สำหรับลูกค้ามือถือทรู ดีแทค เมื่อใช้จ่ายผ่านแอปทรูมันนี่ ด้วยระบบป้องกันการดูดเงิน 3 ชั้น 'TrueMoney 3 x Protection' ตรวจ-จับ-หยุด ธุรกรรมแปลกปลอมที่มั่นใจได้มากกว่า ยิ่งไปกว่านั้น ทรู คอร์ปอเรชั่น เดินหน้าจับมือภาคีทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ DE  คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือกสทช. สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ สกมช. หรือ NCSA สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  รวมถึง ภาคเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อร่วมกันปกป้องคนไทยจากภัยไซเบอร์อย่างรอบด้าน 

 

“มุ่งสร้างสังคมดิจิทัลที่ปลอดภัย”

นายมนัสส์ มานะวุฒิเวช ประธานคณะผู้บริหาร บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า  “ทรู คอร์ปอเรชั่น เดินหน้าอย่างมุ่งมั่นในภารกิจสร้างสังคมดิจิทัลที่ ครอบคลุม ปลอดภัย และยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลแบบครบวงจร ทั้งการเป็นผู้บุกเบิกเทคโนโลยี 3G  4G และ 5G เป็นรายแรก การวางโครงข่ายไฟเบอร์ที่ครอบคลุมทั่วประเทศแม้ในพื้นที่ห่างไกล และการสร้างระบบนิเวศน์ดิจิทัลที่แข็งแกร่ง ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดียิ่งขี้นในทุกมิติ เพื่อร่วมทรานส์ฟอร์มประเทศไทยสู่ Digital Economy อย่างเต็มรูปแบบ  ขณะเดียวกัน ทรู
คอร์ปอเรชั่น ยังได้ให้ความสำคัญกับการขับเคลือนสู่สังคมดิจิทัลอย่างมีความรับผิดชอบ    ซึ่งรวมถึง Responsible AI (RAI)  ที่มีการใช้ AI ตามแผนการใช้ปัญญาประดิษฐ์อย่างมีความรับผิดชอบ  และภารกิจดูแลปกป้องประชาชนจากภัยไซเบอร์ ที่กลายเป็นปัญหาสำคัญในปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน  โดยล่าสุด ทรู คอร์ปอเรชั่น ได้ลงทุนพัฒนาระบบป้องกันภัยทางไซเบอร์ ที่นำเทคโนโลยี AI ขั้นสูงมาใช้เพื่อดูแลปกป้องลูกค้าทรู ดีแทค ของเราทุกคน ซึ่งเป็นที่มาของการเปิดบริการ “ทรู ไซเบอร์เซฟ ปกป้องภัยไซเบอร์” ในวันนี้ อันเป็นอีกก้าวสำคัญที่แสดงถึงความตั้งใจของทรู คอร์ปอเรชั่นในการรับผิดชอบสังคมดิจิทัล และพร้อมร่วมมือกับทุกภาคส่วนทั้ง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ  หรือ กสทช.  สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) และพันธมิตรเอกชน   เช่น บริษัท แอสเซนต์ มันนี่ จำกัด  รวมถึงอีกหลายองค์กรทั้งในและต่างประเทศ  เพื่อสร้างระบบป้องกันที่แข็งแกร่งและครอบคลุมทุกมิติ  ”

 

“ยกระดับความปลอดภัยไซเบอร์ เพื่อลูกค้าทรู ดีแทคทุกคน”     

นางสุกัณณี เลิศสุขวิบูลย์ หัวหน้าสายงานธุรกิจต่างประเทศและบริการดิจิทัล บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า “ทรู คอร์ปอเรชั่น  ตระหนักถึงปัญหาภัยไซเบอร์ที่สร้างความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน โดยในปี 2566 ที่ผ่านมา คนไทยสูญเสียจากการถูกหลอกออนไลน์สูงเป็นอันดับ 4 ของโลก และประเทศไทยมีปัญหา การโทรหลอกลวง สูงเป็นอันดับสองในเอเชีย และ SMS หลอกลวงมากที่สุดในเอเชีย ซึ่งส่วนใหญ่มีลิงก์ ที่มาจากเบราว์เซอร์ที่มีความเสี่ยงแนบมาด้วย   ดังนั้น เราจึงได้พัฒนาบริการใหม่ “ทรู ไซเบอร์เซฟ ปกป้องภัยไซเบอร์”  ซึ่งเป็นระบบป้องกันภัยไซเบอร์ที่ทันสมัย โดยทรูได้ลงทุนพัฒนาและนำ AI ขั้นสูงมาใช้เพื่อยกระดับการปกป้องและเพิ่มความปลอดภัยในการใช้บริการโลกออนไลน์ โดยระยะแรกจะให้บริการระบบคัดกรองลิ้งค์แปลกปลอมที่รวบรวมจากพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วโลกกว่า 100,000 ลิ้งค์ โดยลูกค้าจะได้รับการบล็อก หรือ แจ้งเตือนทันทีหลังจากกดลิ้งก์จาก SMS หรือบราวเซอร์ เพื่อให้ลูกค้าพิจารณาอย่างถี่ถ้วนก่อนจะตัดสินใจเลือกเข้าหรือไม่เข้าสู่ลิ้งก์ดังกล่าว    โดย เปิดให้ลูกค้ามือถือทรู ดีแทค หรือทรูออนไลน์ ที่เชื่อมต่อเน็ตบ้าน หรือ WiFi ของทรูทุกคน ใช้บริการได้ ฟรี!  ไม่มีค่าใช้จ่าย สามารถใช้ได้ทันที ไม่ต้องลงทะเบียนหรือโหลดแอปเพิ่มเติม” 

 

“ทุ่มทุนพัฒนา AI ขั้นสูง กับ True CyberSafe “    

ทรู ไซเบอร์เซฟ เป็นระบบป้องกันภัยไซเบอร์ ที่ทรูได้พัฒนานำ AI ขั้นสูงมาใช้เพื่อช่วยในการวิเคราะห์   แบบแผน และพฤติกรรม การใช้ลิงก์/URL , การส่งSMS และ การโทร เพื่อหาความเสี่ยงจากมิจฉาชีพ ผ่านแมชชีนเลิร์นนิ่ง  รวมทั้งช่วยตรวจจับ คัดกรอง ลิ้งก์/URL แปลกปลอม ที่รวบรวมฐานข้อมูล จากความร่วมมือกับภาครัฐ พันธมิตรเอกชน การร้องเรียนจากลูกค้า การวิเคราะห์จาก AI และจากการลงทุนของกลุ่มทรู ซึ่งได้มาจากทั่วโลกกว่า 100,000 ลิ้งก์ในระยะแรก และจะมีการพัฒนาฐานข้อมูลให้ครอบคลุมกลลวงมิจฉาชีพเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  ทั้งนี้ ระบบทรู ไซเบอร์เซฟ  ยังเป็นไปตามข้อบังคับ PDPA โดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ขั้นสูง เพื่อปกป้องความปลอดภัยของข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า  ซึ่งกระบวนการทำงานของ AI ทั้งหมดนี้ ทำให้ทรูสามารถตรวจพบสิ่งผิดปกติ และแจ้งเตือนภัยออนไลน์ จากมิจฉาชีพ ได้อย่างแม่นยำ รวดเร็ว และสามารถป้องกันภัยไซเบอร์จากมิจฉาชีพได้ใน 4 รูปแบบ คือ 1. ลิ้งค์แปลกปลอม ปกป้องลูกค้ามือถือทรู ดีแทค : บล็อก หรือ แจ้งเตือน  เมื่อมีการเข้าถึงเว็บไซต์ที่อาจเป็นอันตราย หากลูกค้ากดเข้าไป จาก SMS หรือ บราวเซอร์ 2. ลิ้งค์แปลกปลอม ปกป้องลูกค้าเน็ตบ้านทรูออนไลน์ : บล็อก หรือ แจ้งเตือน  เมื่อมีการเข้าถึงเว็บไซต์ที่อาจเป็นอันตราย  บนเว็บบราวเซอร์ 3. SMS AI Filter : โดยจะแจ้งเตือนSMS ที่อาจเป็นมิจฉาชีพ ใช้ AI ในการประมวลพฤติกรรมของมิจฉาชีพ 4. Call AI Filter การกรองสายเรียกเข้า : แจ้งเตือนสายเรียกเข้าที่อาจเป็นมิจฉาชีพ โดยความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและพันธมิตรเอกชน ซึ่งคาดว่าจะเปิดให้บริการอย่างเต็มระบบทุกรูปแบบราวเดือนมีนาคม 2568  

“ผนึกทรูมันนี่ ชูระบบป้องกันการดูดเงิน 3 ชั้น”   

นอกเหนือจาก การพัฒนาระบบความปลอดภัยไซเบอร์ด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัยแล้ว   ทรู คอร์ปอเรชั่น ยังได้ร่วมกับ แอสเซนต์ มันนี่ มอบการปกป้องการหลอกลวงทางการเงิน ให้ปลอดภัยยิ่งขึ้น สำหรับลูกค้าทรู ดีแทค เมื่อใช้จ่ายผ่านแอป True Money  ด้วยระบบป้องกันการดูดเงิน 3 ชั้น 'TrueMoney 3 x Protection' ตรวจ-จับ-หยุด ธุรกรรมแปลกปลอมที่มั่นใจได้มากกว่า

 

“ครอบคลุมครบทุกมิติ 360 องศา”

ยิ่งไปกว่านั้น ทรู คอร์ปอเรชั่น  ยังได้ร่วมป้องกันภัยไซเบอร์ครอบคลุมการดำเนินการทุกมิติทั้ง 360 องศา   ซึ่งรวมถึงการให้ความร่วมมือกับ  ภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็น การปิดเสาสัญญาณบริเวณชายแดนเพื่อป้องกันมิจฉาชีพลักลอบใช้สัญญาณเครือข่ายในการหลอกลวงประชาชน  ดำเนินการตามมาตรการลงทะเบียนซิมอย่างเข้มงวด  พร้อมใช้เทคโนโลยี AI ช่วยวิเคราะห์ประมวลผลตรวจสอบความผิดปกติของการลงทะเบียนซิมและการใช้งานผิดปกติ  รวมทั้งให้ข้อมูลและชี้เบาะแสเพื่อช่วยหน่วยงานภาครัฐในการปราบปรามมิจฉาชีพ อีกทั้งยังเปิดศูนย์ฮอตไลน์ 9777 ให้โทรแจ้งเบอร์โทรและ SMS ต้องสงสัย  พร้อมแจ้งผลภายใน 48 ชม. เพื่อนำไปสู่การจับกุมมิจฉาชีพ    ยิ่งไปกว่านั้น ทรู คอร์ปอเรชั่น ยังมุ่งเน้นเสริมสร้างความตื่นตัวและตระหนักรู้เท่าทันกลลวงของมิจฉาชีพทางออนไลน์ โดยจัดกิจกรรมเวิร์กชอป เสริมทักษะให้คนไทยรู้ทันโลกออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ทรูปลูกปัญญา อีกด้วย

Page 1 of 14
X

Right Click

No right click