February 23, 2025

กรุงเทพฯ, 20 กุมภาพันธ์ 2568 -- ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ ทีเอ็มบีธนชาต (ทีทีบี) ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการธนาคารมีมติให้ธนาคารขออนุมัติการจ่ายเงินปันผลจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น (AGM) ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 21 เมษายน 2568 ในอัตรา 60% ของกำไรสุทธิในปี 2567 และขออนุมัติวงเงินในการจ่ายเงินปันผลครั้งที่ 2 จำนวน 6,312 ล้านบาท โดยมีกำหนดขึ้นเครื่องหมาย XD (วันที่ไม่ได้รับสิทธิปันผล) ในวันที่ 25 เมษายน 2568 และกำหนดจ่ายเงินปันผลเป็นเงินสดในวันที่ 20 พฤษภาคม 2568

นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบีธนชาต เปิดเผยว่า สำหรับผลในการดำเนินงานปี 2567 ทีทีบีได้จ่ายเงินปันผลระหว่างกาลไปแล้วในอัตรา 0.065 บาทต่อหุ้น เมื่อเดือนตุลาคม 2567 และเตรียมขออนุมัติการจ่ายเงินปันผลครั้งที่ 2 ภายใต้วงเงิน 6,312 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นอัตราเงินปันผลต่อหุ้น (Dividend per Share) ในเบื้องต้นที่ 0.064 - 0.067 บาท รวมเป็นอัตราเงินปันผลของทั้งปี 2567 ที่ประมาณ 0.13 บาท เพิ่มขึ้นราว 24% จากอัตรา 0.105 บาท ในปีก่อนหน้า ทั้งนี้ ธนาคารจะแจ้งอัตราเงินปันผลต่อหุ้นที่แน่นอนอีกครั้งในวันที่ 4 เมษายน 2568 ภายหลังจากที่ทราบผลการซื้อหุ้นคืนและผลการใช้สิทธิ TTB-W1

การจ่ายเงินปันผลทั้ง 2 ครั้งเทียบเท่ากับอัตราการจ่ายเงินปันผล (Dividend Payout Ratio) ที่ 60% จากกำไรสุทธิในปี 2567 ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 55% ในปีก่อนหน้า และคิดเป็นผลตอบแทนจากเงินปันผล หรือ Dividend Yield ที่ประมาณ 7% ต่อปี เมื่อเทียบกับราคาหุ้น TTB ณ สิ้นปี 2567 ที่ 1.86 บาท โดยรวมแล้วถือว่าเป็นผลตอบแทนจากเงินปันผลที่สูงเป็นลำดับต้น ๆ ในกลุ่มธนาคาร

นายปิติ ยังได้กล่าวถึงแผนการบริหารส่วนทุน (Capital Management) ที่ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องว่า “ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทีทีบียังคงให้ความสำคัญกับการเติบโตสินเชื่ออย่างมีคุณภาพและเน้นย้ำการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการต้นทุนในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนทางการเงิน ต้นทุนการดำเนินงาน และต้นทุนความเสี่ยง ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ธนาคารสามารถรักษาระดับผลกำไรได้อย่างต่อเนื่อง ในประการสำคัญคือสามารถดำรงเงินกองทุนให้อยู่ในระดับสูงมาโดยตลอด สะท้อนได้จากอัตราส่วนเงินกองทุนรวมที่ 19.3% ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ที่ 12.0% อย่างมีนัยสำคัญ”

จากฐานะเงินกองทุนที่แข็งแกร่งจึงทำให้ธนาคารมีความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการส่วนทุนส่วนเกิน (Excess Capital) และเป็นที่มาของแผนการบริหารส่วนทุน โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้นผ่าน 3 แนวทางสำคัญ ได้แก่

1) การเพิ่มอัตราการจ่ายเงินปันผล จากระดับ 30% - 35% ในช่วงก่อนรวมกิจการ มาอยู่ที่ระดับ 50% และ 55% ในช่วงปี 2565 - 2566 และ 60% ในปี 2567

2) การเพิ่มอัตราส่วนผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น (ROE) ผ่านโครงการซื้อหุ้นคืนระยะ 3 ปี ภายใต้วงเงิน 21,000 ล้านบาท

3) การสร้างการเติบโตทางธุรกิจจากภายนอก หรือ Inorganic growth โดยธนาคารเตรียมขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อเข้าซื้อหุ้นในบริษัทหลักทรัพย์ธนชาต และอยู่ระหว่างการทำ Due Diligence เพื่อพิจารณาการเข้าซื้อบริษัท ที ลิสซิ่ง โดยเล็งเห็นถึงโอกาสในการต่อยอดและสนับสนุนกลยุทธ์ Ecosystem ของธนาคาร

“การดำเนินการเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความตั้งใจของธนาคารในการสร้างมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้นทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยเราจะยังคงมุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจอย่างรอบคอบต่อไป เพื่อสร้างการเติบโตอย่างมีคุณภาพควบคู่กับบริหารจัดการส่วนทุนอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป เพื่อให้มั่นใจว่าธนาคารมีความพร้อมสำหรับการขยายตัวทางธุรกิจและในขณะเดียวกันก็สามารถรักษาระดับการจ่ายเงินปันผลให้อยู่ในระดับสูงได้อย่างยั่งยืน”

กรุงเทพฯ, 28 มกราคม 2568 -- ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ ทีเอ็มบีธนชาต (ทีทีบี) แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการธนาคารได้มีมติอนุมัติโครงการซื้อหุ้นคืนเพื่อบริหารการเงิน ภายใต้วงเงินรวมจำนวนไม่เกิน 21,000 ล้านบาท ระยะเวลา 3 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 2568 ไปจนถึงปี 2570 โดยธนาคารจะดำเนินการซื้อหุ้นคืนในครั้งแรกด้วยวงเงิน 7,000 ล้านบาท จำนวนหุ้นซื้อคืนไม่เกิน 3,500,000,000 หุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 3.6% ของหุ้นที่จำหน่ายได้ทั้งหมด กำหนดระยะเวลาที่จะซื้อหุ้นคืนด้วยวิธีจับคู่อัตโนมัติผ่านระบบซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ ตั้งแต่วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568 ถึงวันที่ 1 สิงหาคม 2568

นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบีธนชาต เปิดเผยว่า การซื้อหุ้นคืนในครั้งนี้ เป็นหนึ่งในหลายโครงการที่อยู่ในแผนงานด้านการบริหารส่วนทุน (Capital Management) ของธนาคาร โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ถือหุ้นผ่านการปรับโครงสร้างและขนาดงบดุลให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาฐานะเงินกองทุนของธนาคารนับตั้งแต่รวมกิจการก็จะพบว่าปรับตัวเพิ่มขึ้นมาโดยตลอด เป็นผลจากการดำเนินธุรกิจอย่างรอบคอบและการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ ณ สิ้นปี 2567 ธนาคารมีอัตราส่วนเงินกองทุน 19.3% ซึ่งสูงอยู่ในระดับเดียวกับธนาคารคู่เทียบ (D-SIBs) และสูงเกินจากเกณฑ์ขั้นต่ำที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ที่ 12.0% อย่างมีนัยสำคัญ จึงเป็นโอกาสให้ธนาคารสามารถปรับลดส่วนเกินดังกล่าวให้มีความเหมาะสมมากขึ้นได้โดยที่ไม่กระทบต่อความมั่นคงและแผนธุรกิจของธนาคารในอนาคต อีกทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้น จึงเป็นที่มาของโครงการซื้อหุ้นคืนในครั้งนี้

ภายหลังการซื้อหุ้นคืน ผู้ถือหุ้นจะได้รับประโยชน์จากการเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้น (ROE) และอัตรากำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) ตามการลดลงของมูลค่าทางบัญชีในส่วนของผู้ถือหุ้นและการลดลงของจำนวนหุ้นที่หมุนเวียนในตลาดหลักทรัพย์ เทียบกับระดับ ROE ในปัจจุบัน ณ สิ้นปี 2567 ที่ 9.0% และ EPS ที่ 0.22 บาท ขณะที่ประเมินว่าอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (Capital Adequacy Ratio) จะยังคงสูงกว่า 19% ซึ่งยังคงอยู่ในระดับสูงและเพียงพอต่อการเติบโตสินเชื่อตามแผนธุรกิจ

สำหรับวงเงินส่วนที่เหลืออีก 14,000 ล้านบาท ธนาคารจะกำหนดกรอบการซื้อคืนและระยะเวลาอีกครั้ง โดยจะพิจารณาให้เหมาะสมกับภาวะตลาดและมูลค่าหุ้น เพื่อให้มั่นใจว่าโครงการซื้อหุ้นคืนในอีก 2 รอบที่เหลือจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ถือหุ้นเช่นกัน

นายปิติ กล่าวสรุปว่า “นอกเหนือจากโครงการซื้อหุ้นคืนในครั้งนี้ ธนาคารได้ดำเนินการตามแผนการบริหารส่วนทุนในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการปรับโครงสร้างส่วนทุนให้มีความเหมาะสมผ่านการไถ่ถอนตราสารหนี้นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 (Additional Tier1) และการลดขนาดการออกตราสารหนี้ที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ในปี 2567 การเพิ่มอัตราเงินปันผลขึ้นมาอยู่ที่ 60% เทียบกับระดับ 30%-35% ในช่วงก่อนรวมกิจการ รวมถึงการสร้างโอกาสในการเติบโตผ่านการเข้าซื้อหุ้นในกิจการที่ส่งเสริมกัน โดยปัจจุบันธนาคารได้เข้าทำ Non-Binding MOU และอยู่ในขั้นตอนการทำ Due Diligence เพื่อพิจารณาการเข้าซื้อหุ้นในบริษัทหลักทรัพย์ธนชาตและบริษัท ที ลิสซิ่ง

การดำเนินการอย่างต่อเนื่องนี้สะท้อนให้เห็นถึงความตั้งใจจริงของเราในการสร้างมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้นทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยเราจะยังคงมุ่งมั่นและเน้นย้ำการดำเนินธุรกิจอย่างรอบคอบ เพื่อให้ทีทีบีเติบโตได้อย่างมั่นคงและส่งมอบประโยชน์กลับคืนสู่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายอย่างยั่งยืน”

โดยกำหนดซื้อหุ้นคืนรอบแรกด้วยวงเงิน 7,000 ล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568 ถึงวันที่ 1 สิงหาคม 2568 เป็นไปตามแผนการบริหารส่วนทุนเพื่อสร้างมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้นผ่านการปรับโครงสร้างและขนาดงบดุลให้มีความเหมาะสม

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี จัดงานใหญ่แห่งปี “อัศจรรย์ เฟสติวัล” งานแรกประเดิมรับศักราชใหม่ที่รวมสุดยอดโปรโมชันจากพาร์ทเนอร์ชั้นนำ การบินไทย, โรงแรมในเครือดุสิตธานี, โรงแรมในเครือไมเนอร์, Global Union Express, Klook, Disney On Ice, Major Group, SEKI และอาร์ตทอยสุดแรร์ จาก Beast Kingdom โดยชวนทุกคนที่ร่วมงานมาเพิ่มประสบการณ์ความสนุก พร้อมพบดีลพิเศษที่หาไม่ได้จากงานไหน และพิเศษสำหรับลูกค้าบัตรเครดิต ttb และบัตรเดบิต ttb all free รับโปรโมชันพิเศษเพิ่ม ตลอด 4 วัน ในวันที่ 13  - 16 กุมภาพันธ์ 2568 นี้ ณ แฟชั่น ฮอลล์ ชั้น 1 สยามพารากอน โปรโมชันสุดพิเศษในงาน อาทิ 

  • การบินไทย จัดแพ็กเกจ พร้อมข้อเสนอพิเศษ รวมบัตรโดยสารและบัตรผ่านเข้า Disneyland ทั้ง 4 ประเทศ ได้แก่ ฮ่องกง โตเกียว เซี่ยงไฮ้ และปารีส
  • โรงแรมในเครือดุสิตธานี มอบโปรโมชันห้องพัก ห้องอาหาร สปาโรงแรม และรีสอร์ทในเครือดุสิตทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ ในราคาเริ่มต้น 990 บาท
  • โรงแรมในเครือไมเนอร์ พบกับห้องพักราคาพิเศษ เริ่มต้น 3,200 บาท สำหรับโรงแรมในเครือไมเนอร์ที่ร่วมรายการ
  • Global Union Express เสนอแพ็กเกจห้องพัก พร้อมตั๋วเครื่องบิน และแพ็กเกจทัวร์ต่าง ๆ ทั่วโลกราคาพิเศษ เส้นทางสุดฮิต อาทิ โตเกียว ฮ่องกง เซี่ยงไฮ้ ปารีส
  • Klook มอบโปรโมชันพิเศษ

1) ซื้อ 1 แถม 1 สำหรับกิจกรรมที่กำหนด (จำนวน 10 สิทธิ์/วัน) 

2) มอบโค้ดส่วนลดมูลค่า 500 บาท (จำนวน 40 สิทธิ์/วัน) ใช้ได้กับทุกกิจกรรมบน Klook 

3) เฉพาะลูกค้าใหม่รับโค้ดส่วนลดเพิ่ม 100 บาท (ไม่มีขั้นต่ำและไม่จำกัดจำนวน) 

4) ผู้ซื้อกิจกรรมผ่าน Klook ภายในงาน รับสิทธิ์จับ Lucky Draw เพิ่ม (1 สิทธิ์/ผู้ใช้) เพื่อลุ้นรับ Klook e-Voucher มูลค่าสูงสุด 300 บาท (รวมจำนวน 60 รางวัล/วัน) 

  • Disney On Ice มอบส่วนลดสุดพิเศษ 10% สำหรับซื้อบัตรชม Disney On Ice ภายในงาน เมื่อชำระด้วยบัตรเครดิต ttb และบัตรเดบิต ttb all free
  • Major Group มอบโปรโมชันพิเศษ

1) สมัครบัตร Member Blu-O & Sub Zero ราคาพิเศษเริ่มเพียง 1,600 บาท จากราคาปกติ 2,000 บาท

2) ซื้อแพ็กเกจ MPASS Voucher รับฟรีคูปอง Popcorn ขนาด 46 oz (มูลค่า 100 บาท)

3) ซื้อแพ็กเกจ Kid Cinema ราคาพิเศษเริ่มเพียง 800 บาท จากราคาปกติ 1,300 บาท 

  • SEKI มอบโปรโมชันพิเศษ

1) รับฟรี Ume Sashimi มูลค่า 899 บาท เมื่อซื้อคูปองแทนเงินสด มูลค่า 5,000 บาท 

2) รับฟรี Sushi 12 Kan มูลค่า 1,990 บาท เมื่อซื้อคูปองแทนเงินสด มูลค่า 10,000 บาท

  • Beast Kingdom มอบส่วนลดอาร์ตทอย 20% เมื่อชำระด้วยบัตรเครดิต ttb และบัตรเดบิต ttb all free

ทั้งนี้ สิทธิพิเศษเพิ่มเติมภายในงานที่คุ้มยิ่งกว่าสำหรับลูกค้าบัตรเครดิต ttb สามารถแลกคะแนนรับเครดิตเงินคืน 20% เมื่อใช้คะแนนแลกเท่ายอดใช้จ่ายภายในงาน และบัตรเดบิต ttb all free รับบัตร Starbucks มูลค่า 100 บาท เมื่อใช้จ่ายสะสมภายในงานตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป สูงสุด 500 บาท มากไปกว่านั้นเตรียมพบกับความสนุกจัดเต็มความบันเทิงจากศิลปินนักร้องแถวหน้าของเมืองไทยกับ Ally ในวันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 นี้ และวง PiXXiE ในวันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2568 

ทีทีบีเดินหน้าพัฒนาและสร้างสรรค์โซลูชันทางการเงินที่ยกระดับผลิตภัณฑ์และประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้น รวมถึงการจัดกิจกรรมและแคมเปญสำหรับลูกค้าทีทีบีอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมให้ลูกค้าทุกคนมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นในทุกมิติอย่างแท้จริง รายละเอียดเพิ่มเติมงาน “ทีทีบี อัศจรรย์ เฟสติวัล” สามารถคลิกได้ที่  https://www.ttbbank.com/th/promotion/detail/ttb-festival-jan25 


ทีทีบีส่งเสริมให้ลูกค้าบัตรเครดิตใช้จ่ายเท่าที่จำเป็นและชำระคืนได้เต็มจำนวนตามกำหนด จะได้ไม่เสียดอกเบี้ย 7 - 16% ต่อปี เพื่อชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นทั้งในวันนี้ และอนาคต

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี เป็นหนึ่งในภาคเอกชนไทยที่เข้าร่วมในงานประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 29 (COP29) โดยมีนายกมลพันธ์ ลักษณา หัวหน้าการพัฒนาที่ยั่งยืน ร่วมเป็นวิทยากรงานเสวนาในกิจกรรมคู่ขนาน (Side Event) การประชุมรัฐภาคีฯ หัวข้อ “Financing the Transition" นำเสนอในเรื่อง "Empowering SMEs and Sustainable Development through Green and Blue Financing" ซึ่งทีทีบีให้ความสำคัญและดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง พร้อมเดินหน้าตามเป้าหมาย Net-zero Commitment ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ เพื่อร่วมขับเคลื่อนแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

นายกมลพันธ์ ลักษณา หัวหน้าการพัฒนาที่ยั่งยืน ทีเอ็มบีธนชาต เปิดเผยว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นหนึ่งในความท้าทายเร่งด่วนที่สุดของโลกในปัจจุบัน ซึ่งทีทีบีตระหนักถึงบทบาทสำคัญและความรับผิดชอบ พร้อมนำความสามารถมาสร้างโซลูชันทางการเงินที่จะช่วยเร่งให้เกิดการเปลี่ยนผ่าน เพราะบทบาทของธนาคารไม่ใช่การนำพาองค์กรไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ โดยทีทีบีมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้ขับเคลื่อนในการดำเนินงานเพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-zero Economy) ผ่านการให้สินเชื่อ ให้คำปรึกษาลูกค้า และสนับสนุนบนเส้นทางการเปลี่ยนผ่าน

ทีทีบีมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจตามกรอบ B+ESG ทุกกลยุทธ์และแนวทางการดำเนินธุรกิจต้องอยู่บนพื้นฐานของการสร้างการเติบโตและยั่งยืน เพราะธุรกิจ (Business) หรือ B ต้องเติบโตอย่างแข็งแรง ทีทีบีจึงมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนทางการเงินที่ยั่งยืนเพื่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ โดยนำกฎเกณฑ์ด้าน ESG มาใช้ประกอบการพิจารณาสินเชื่อและการลงทุน พร้อมนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่มุ่งเน้นส่งเสริมด้าน ESG ให้กับลูกค้าธุรกิจและลูกค้าบุคคล เช่น สินเชื่อสีเขียว สินเชื่อสีฟ้า สินเชื่อที่เชื่อมโยงกับการดำเนินงานด้านความยั่งยืน การเงินเพื่อการปรับตัวสู่ความยั่งยืน ตราสารหนี้สีเขียว ตราสารหนี้สีฟ้า กองทุุนเพื่อการลงทุุนด้าน ESG และยังมีบริการให้ความช่วยเหลือและคำปรึกษาด้าน ESG ตลอดจนสร้างการมีส่วนร่วมกับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นให้ความรู้และสร้างความตระหนักรู้ พร้อมมีเป้าหมายช่วยเหลือลูกค้าให้มีความเข้าใจและสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้าน ESG เพื่อให้ลูกค้ามีความรับผิดชอบและเปลี่ยนผ่านไปสู่อนาคตอย่างยั่งยืน

ภายในงาน นายกมลพันธ์ ได้กล่าวถึงการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านว่า “ธนาคารได้วิเคราะห์ถึงผลกระทบจากกฎกติกาต่าง ๆ ที่จะบังคับใช้ในอนาคต เช่น มาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (CBAM-Carbon Border Adjustment Mechanism) ประกอบกับการวิเคราะห์พอร์ทสินเชื่อของลูกค้าตามความเสี่ยงของอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบ เพื่อวางแผน จัดกิจกรรมการมีส่วนร่วม และสร้างเกราะป้องกันให้กับลูกค้าตั้งแต่เริ่มต้น โดยทีทีบีจะจัดหาพันธมิตรด้านโซลูชันทางเทคนิคสำหรับการลดใช้พลังงาน การปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน เป็นต้น และในปี 2567 ธนาคารได้ออกผลิตภัณฑ์ทางการเงิน Green Transformation เพื่อช่วยสนับสนุนทางการเงินและส่งเสริมการลงทุนเพื่อการเปลี่ยนผ่านอย่างยั่งยืน

จากการรวมปัจจัยด้าน ESG เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการให้คำปรึกษาและการอนุมัติสินเชื่อตลอดปีที่ผ่านมา ทำให้ธนาคารเห็นถึงความสนใจในสินเชื่อ ESG ที่เพิ่มมากขึ้นของลูกค้า โดยตลอดเส้นทางการดำเนินธุรกิจของทีทีบีได้สร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นและแก้ปัญหาให้ผู้คนอย่างแท้จริง ผ่านการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์ช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมผ่านโซลูชันทางการเงินที่ยั่งยืน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแรงผลักดันในการเปลี่ยนแปลงสังคมสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ ตอกย้ำความสำเร็จจากรางวัลด้านความยั่งยืนที่ธนาคารได้รับมาต่อเนื่อง สะท้อนชัดถึงการลงมือทำอย่างแท้จริงของธนาคารในการขับเคลื่อนสู่การธนาคารเพื่อความยั่งยืน นายกมลพันธ์ กล่าวสรุป

Page 1 of 24
X

Right Click

No right click