

บ้านปู เน็กซ์ ผู้ให้บริการ Net Zero Solutions ชั้นนำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ขยายความร่วมมือกับ ภิรัชบุรีกรุ๊ป ติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปและโซลาร์คาร์พอร์ต ณ ไบเทคบุรี บางนา สานต่อความสำเร็จของการติดตั้งระบบโซลาร์ให้กับซัมเมอร์ ลาซาล ออฟฟิศแคมปัสของภิรัชบุรีกรุ๊ปทั้งสามเฟส การติดตั้งระบบโซลาร์ให้กับคอมมูนิตี้สเปซไบเทคบุรี สะท้อนความมุ่งมั่นของทั้งสองบริษัทที่จะลดการปล่อยคาร์บอนในพื้นที่ศูนย์กลางธุรกิจของกรุงเทพมหานครฝั่งตะวันออก โดยระบบโซลาร์ที่ไบเทคบุรี และซัมเมอร์ ลาซาล จะช่วยลดการปล่อย CO2 ประมาณ 3,700 ตันต่อปี ตอกย้ำความมุ่งมั่นสู่เป้าหมาย Net Zero
ย่านบางนาเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและธุรกิจของกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออกซึ่งกำลังพัฒนาอย่างรวดเร็วจากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะและเมกะโปรเจกต์ต่างๆ ภิรัชบุรีกรุ๊ปมีบทบาทสำคัญที่ช่วยยกระดับย่านนี้ โดยพลิกโฉมไบเทคบุรี คอมมูนิตี้สเปซชั้นนำที่รวมสถานที่จัดงานนิทรรศการ งานแสดงโชว์ คอนเสิร์ต และศูนย์กลางไลฟ์สไตล์ครบวงจร โดยภิรัชบุรีกรุ๊ปเดินหน้าพัฒนาโครงการและตอกย้ำความมุ่งมั่นด้านความยั่งยืน ได้ร่วมกับบ้านปู เน็กซ์ ติดตั้งระบบโซลาร์รูฟท็อปและโซลาร์คาร์พอร์ตขนาด 4 เมกะวัตต์ ครอบคลุมพื้นที่ 40,000 ตารางเมตรของไบเทคบุรี นับเป็นการติดตั้งโซลาร์ที่ใหญ่ที่สุดให้กับโครงการของภิรัชบุรีกรุ๊ป และคาดว่าจะช่วยให้ไบเทคบุรี ประหยัดค่าไฟฟ้าได้สูงสุดถึง 20 ล้านบาทต่อปี สะท้อนถึงความไว้วางใจที่ภิรัชบุรีกรุ๊ปมีต่อบ้านปู เน็กซ์ อย่างต่อเนื่องหลังจากติดตั้งระบบโซลาร์ให้กับโครงการซัมเมอร์ ลาซาลทั้งสามเฟสรวม 1 เมกะวัตต์
นายสมิทธิพร เศรษฐปราโมทย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู เน็กซ์ จำกัด กล่าวว่า “บ้านปู เน็กซ์ เป็นบริษัทลูกของบ้านปู ให้บริการ Net Zero Solutions ที่ช่วยลดการปล่อย CO2 ทั้งสามขอบเขต เราเข้าใจลูกค้าดีว่า โครงการมิกซ์ยูสมีความต้องการใช้พลังงานสูง และจำเป็นต้องมีระบบจัดการพลังงานที่มีประสิทธิภาพ จึงนำเสนอบริการแบบครบวงจรตั้งแต่ให้คำปรึกษา ออกแบบ ติดตั้ง และบริการหลังการขาย เพื่อช่วยให้ภิรัชบุรีกรุ๊ปสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ลดค่าไฟฟ้า และบรรลุเป้าหมายการลดคาร์บอนในขอบเขตหนึ่งและขอบเขตสอง โดยเรามีแผนที่จะนำเสนอ Net Zero Solutions เพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนภารกิจด้านความยั่งยืนของไบเทคบุรี ไม่ว่าจะเป็นระบบกักเก็บพลังงานและบริการด้านการจัดการพลังงาน อาทิ ระบบทำความเย็น โดยโซลูชันเหล่านี้สามารถช่วยให้ไบเทคบุรี ใช้พลังงานได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและช่วยลดการปล่อย CO2 ได้มากขึ้นในอนาคต”
นายปิติภัทร บุรี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ภิรัชบุรีกรุ๊ป กล่าวว่า “ไบเทคบุรี มุ่งจัดสรรพื้นที่ที่ยั่งยืนและประหยัดพลังงานสำหรับธุรกิจและการจัดงานต่างๆ การติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปกับบ้านปู เน็กซ์ เป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญในภารกิจด้านความยั่งยืนของเรา เราเชื่อมั่นว่าความเชี่ยวชาญและโซลูชันล้ำสมัยของบ้านปู เน็กซ์ จะช่วยให้เราบรรลุเป้าหมาย Net Zero ซึ่งไม่เพียงเป็นประโยชน์ต่อพื้นที่ย่านบางนา แต่ยังเสริมสร้างอนาคตที่ยั่งยืนยิ่งขึ้นสำหรับทุกคน”
ความร่วมมือระหว่างบ้านปู เน็กซ์ และภิรัชบุรีกรุ๊ป ในโครงการไบเทคบุรีเป็นบทพิสูจน์ที่สะท้อนว่า Net Zero Solutions สามารถขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสำคัญให้กับการพัฒนาเมือง โดยการบูรณาการความยั่งยืนเข้ากับการดำเนินธุรกิจหลักของทั้งสองบริษัทตอกย้ำว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจสามารถดำเนินไปพร้อมกับความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมได้ ความร่วมมือครั้งนี้จะช่วยให้กรุงเทพฯ มีสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้นและยืดหยุ่นมากขึ้น นำไปสู่อนาคตที่ยั่งยืนในท้ายที่สุด
ดร.ธีระชัย พรสินศิริรักษ์ Head of Digital and Innovation - บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) คว้ารางวัล CIO100 Awards ประจำปี 2567 ซึ่งเป็นรางวัลที่จัดขึ้นโดย IDC (International Data Corporation) และ Foundry ผู้ให้บริการและที่ปรึกษาข้อมูลการตลาดด้านเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก ที่มอบให้กับผู้บริหารระดับสูงด้านเทคโนโลยีจากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำนวน 100 คน ที่ขับเคลื่อนด้านนวัตกรรมและสร้างการเปลี่ยนแปลงในองค์กร โดยพิจารณาจากหลักสำคัญด้านการนำเทคโนโลยีมาใช้ทำงานเพื่อสร้างคุณค่าให้กับองค์กร เป็นผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจ และสร้างผลกระทบเชิงบวกที่ยั่งยืน
ทั้งนี้ บ้านปูได้เดินหน้าขับเคลื่อนองค์กรด้วยกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) โดยจัดตั้งหน่วยงาน Digital and Innovation (D&I) ซึ่งรวมผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัลสาขาต่างๆ ได้แก่ ทีมบ่มเพาะนวัตกรสู่การสร้างนวัตกรรม (Incubation) ทีมวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) ทีมปัญญาประดิษฐ์ (AI/Machine Learning) ทีมอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things: IoT) และทีมดูแลความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity) เพื่อผลักดันการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ทั่วทั้งองค์กร นอกจากนี้ บ้านปูได้นำเทคโนโลยี AI มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เช่น ช่วยในการซื้อขายพลังงาน (Energy Trading) ในประเทศญี่ปุ่น บริหารซัพพลายเชนธุรกิจเหมืองในออสเตรเลีย และใช้ในการเฟ้นหา และพัฒนาบุคลากรที่มีทักษะหรือความถนัดเฉพาะตัวในงานด้านทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น
บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านพลังงานที่หลากหลาย ประกาศกลยุทธ์ใหม่ “Energy Symphonics” หรือ “เอเนอร์จี ซิมโฟนิกส์” ขับเคลื่อนธุรกิจสู่ปี 2030 เน้นการเปลี่ยนผ่านพลังงานอย่างยั่งยืน พร้อมเผยผลประกอบการไตรมาส 3
นายสินนท์ ว่องกุศลกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “‘Energy Symphonics’ สื่อถึงแนวทางผสานพลังงานที่หลากหลาย เพื่อสร้างโซลูชันพลังงานใหม่ที่ยั่งยืน ตอบสนองต่อความต้องการพลังงานของโลกที่เพิ่มสูงขึ้น พร้อมไปกับการดูแลโลกของเรา เรามีความมุ่งมั่นที่จะแก้โจทย์ความท้าทายด้านพลังงานและสร้างมาตรฐานใหม่เพื่อพลังงานที่มีใช้อย่างต่อเนื่อง ราคาสมเหตุสมผล และมีความยั่งยืน”
กลยุทธ์ใหม่ของบ้านปูสะท้อนความมุ่งมั่นในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานอย่างมีความรับผิดชอบและยั่งยืน โดยมุ่งเน้นที่ 3 เป้าหมายหลัก ได้แก่ ความมั่นคงทางพลังงาน คือการจัดหาพลังงานที่เชื่อถือได้และต่อเนื่อง ความเสมอภาคด้านพลังงาน คือการจัดหาพลังงานที่มีราคาสมเหตุสมผล ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ และความยั่งยืนด้านพลังงาน คือการจัดหาพลังงานที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
กลยุทธ์ของบ้านปูเน้นรักษาสมดุลและตอบสามโจทย์ของพลังงาน (Energy Trilemma) ได้แก่ การส่งมอบพลังงานที่เชื่อถือได้และต่อเนื่อง (Energy Security) การจัดหาพลังงานที่มีราคาสมเหตุสมผลที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ (Energy Equity) และการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในการจัดหาพลังงาน (Energy Sustainability) โดยกลยุทธ์ใหม่มี 4 ภารกิจสำคัญ ดังนี้:
สำหรับผลประกอบการในไตรมาส 3 บ้านปูมีความคืบหน้าทางธุรกิจที่สำคัญ ได้แก่
ในไตรมาสที่ 3 นี้ บ้านปูมีรายได้จากการขายรวม 1,339 ล้านเหรียญสหรัฐ (*ประมาณ 46,597 ล้านบาท) กำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อมราคา (EBITDA) รวม 379 ล้านเหรียญสหรัฐ (*ประมาณ 13,204 ล้านบาท) และขาดทุนสุทธิจำนวน 24 ล้านเหรียญสหรัฐ (*ประมาณ 830 ล้านบาท) จากราคาตลาดของถ่านหินและก๊าซธรรมชาติที่ปรับตัวลดลงและการขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงจากอัตราแลกเปลี่ยน จากการแข็งค่าของเงินสกุลบาทต่อเงินสกุลเหรียญสหรัฐ
นายสินนท์กล่าวในตอนท้ายว่า “ไม่ว่าเราจะต้องประสบกับความท้าทายของตลาดพลังงานที่ผันผวน บ้านปูเชื่อมั่นว่ากลยุทธ์ Energy Symphonics จะสร้างการเติบโตให้กับบริษัทฯ สร้างคุณค่าระยะยาวให้แก่ผู้ถือหุ้น ในขณะที่ยังคงให้ความสำคัญกับการดูแลผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม รวมถึงการดูแลโลกใบนี้”
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.banpu.com และ https://www.facebook.com/Banpuofficialth
*หมายเหตุ: คำนวณโดยอ้างอิงอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยไตรมาสที่ 3 ปี 2024 ที่ USD 1: THB 34.8065
บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านพลังงานที่หลากหลาย พร้อมด้วย สถาบัน ChangeFusion ประกาศผล 3 ผู้ชนะสุดยอดโมเดลกิจการเพื่อสังคมภายใต้แนวคิด “ชุมชนแกร่ง ไทยแกร่ง” (Impactful Locals, National Boost) ในโครงการพลังเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคม (Banpu Champions for Change: BC4C) ปีที่ 13 โดยไม่เรียงลำดับ ได้แก่ “ชันโรง” กิจการที่สร้างรายได้ให้ชุมชนจากสัตว์เศรษฐกิจพร้อมฟื้นป่าชายเลน จ.กระบี่ “คนทะเล” กิจการที่เน้นฟื้นฟูทะเลประจวบฯ ด้วยแพคเกจเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และ “Karen Design” กิจการที่ใช้ภูมิปัญญาผ้าทอกะเหรี่ยงแก้ปัญหาปากท้องชุมชนในพื้นที่แม่ฮ่องสอน โดยผู้ชนะทั้ง 3 ทีมจะได้รับเงินสนับสนุนทีมละ 250,000 บาทเพื่อเป็นทุนดำเนินกิจการ
นายรัฐพล สุคันธี ผู้อำนวยการสายอาวุโส – สื่อสารองค์กร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) เผยว่า “ในปีนี้เราเห็นแนวโน้มผู้ประกอบการมีความเข้าใจการทำกิจการเพื่อสังคมมากขึ้น มีทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีเพื่อโปรโมทสินค้าตัวเองมากขึ้น ทั้งสามทีมมีความโดดเด่นที่พวกเขามีความมุ่งมั่นต่อความสำเร็จและไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคที่หลากหลาย สำหรับสิ่งที่บ้านปูมุ่งมั่นในการสนับสนุนคือระบบนิเวศของกิจการเพื่อสังคมในประเทศไทย เราต้องการสร้างเครือข่ายและประสานพลังกับหลาย ๆ หน่วยงาน เพื่อขับเคลื่อนให้กิจการเพื่อสังคมเติบโตไปสู่ตลาดในกระแสหลัก (Mass Market) เพื่อเพิ่มศักยภาพในเศรษฐกิจฐานราก ลดความเหลื่อมล้ำและแก้ปัญหาสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
ในปีที่ 13 โครงการฯ มาพร้อมคอนเซ็ปต์ “Impactful Locals, National Boost: ชุมชนแกร่ง ไทยแกร่ง” เน้นการผลักดันศักยภาพ SE ในแต่ละพื้นที่ ที่ต่างประสบปัญหาทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน โดยสามทีมที่ชนะสุดยอดโมเดลกิจการเพื่อสังคมในระยะเริ่มต้น (Incubation Program) นั้นสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากโครงการฯ ไปใช้ในการทดลองตลาดระยะเวลา 3 เดือน ปรับโมเดลธุรกิจและแนวทางการสร้างอิมแพคต่อชุมชน สามารถพิสูจน์ตัวชี้วัดความสำเร็จได้อย่างชัดเจน โดยได้รับเงินทุนทีมละ 250,000 บาท ไปต่อยอดกิจการ (ไม่เรียงลำดับคะแนน) ดังนี้
“บ้านปู มุ่งมั่นในการพัฒนาศักยภาพให้กับเหล่าผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่มีใจเปี่ยมไปด้วยแพสชันให้สามารถทำกิจการเพื่อสังคมในฝันให้เกิดขึ้นจริงได้ ตลอด 13 ปีที่ผ่านมาได้ให้การสนับสนุนไปมากกว่า 130 กิจการ สร้างประโยชน์ให้แก่ชุมชนและองค์กรต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น 187 แห่ง ครอบคลุมผู้ได้รับผลประโยชน์กว่า 2.5 ล้านคน” นายรัฐพล กล่าวทิ้งท้าย