December 25, 2024

บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตอาหารทะเลรายใหญ่ของโลก และหนึ่งในผู้ผลิตปลาทูน่ากระป๋องที่ใหญ่ที่สุดของโลก ประกาศจุดยืนในการจัดหาวัตถุดิบจากเรือประมงที่มีการปฏิบัติที่ดีเพื่อปกป้องสัตว์น้ำจากปัญหาการจับติดสัตว์น้ำที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย(bycatch)

ทั้งนี้ ไทยยูเนี่ยนได้อ้างอิงผลงานวิจัยขององค์กรการประมงเพื่อความยั่งยืน หรือ Sustainable Fisheries Partnership (SFP) ในเรื่องของความเสี่ยงต่อฉลาม นกและเต่าทะเล รวมถึงสัตว์ทะเลชนิดๆ อื่น จากการประมงที่ส่งวัตถุดิบให้กับบริษัท และผลการวิเคราะห์ของบริษัท Key Traceability ที่ตรวจสอบโครงการพัฒนาประมงทูน่าของไทยยูเนี่ยนและแหล่งประมงอื่นๆที่มีความเสี่ยงสูง

อดัม เบรนนัน ผู้อำนวยการกลุ่มด้านความยั่งยืน ของกลุ่มไทยยูเนี่ยน กล่าวว่า “ไทยยูเนี่ยนต้องการเพิ่มระดับความเข้มข้นของการทำงานของเราให้มากขึ้น เพื่อที่จะให้แน่ใจว่าจะได้วัตถุดิบจากเรือประมงที่หลีกเลี่ยงหรือลดละการจับติดสัตว์น้ำที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย สืบเนื่องจากองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมหลายที่ได้ชี้ให้เห็นว่าโลกกำลังเผชิญกับวิกฤตการสูญเสียพันธุ์สัตว์น้ำและความหลากหลายทางชีวภาพ โดยรายงาน Sustainable Fisheries Partnership (SFP) ระบุว่าสายพันธุ์สัตว์ที่ถูกคุกคาม ใกล้สูญพันธุ์ และถูกคุ้มครองในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกตอนกลางมีปริมาณลดลงอย่างมาก”

เป็นที่ทราบกันดีว่า ไทยยูเนี่ยนเป็นผู้ผลิตและผู้จำหน่ายปลาทูน่าบรรจุกระป๋องภายใต้แบรนด์ต่าง ๆ ของบริษัท รวมถึงชิคเก้น ออฟ เดอะ ซี และจอห์น เวสต์ และในฐานะที่ไทยยูเนี่ยนร่วมเป็นส่วนหนึ่งในเวทีเสวนาในงาน ซีฟู้ด เอ็กซ์โป นอร์ธ อเมริกา ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าอาหารทะเลที่ใหญ่ที่สุดของภูมิภาคอเมริกาเหนือและที่สองของโลก บริษัทจึงประกาศเป้าหมายปี 2573 ของกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนของบริษัท ซึ่งต่อยอดจากความทุ่มเทตลอดระยะเวลา 7 ปี ที่ผ่านมา ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการประมงว่า

· ภายในปี 2573 เรือประมงทุกลำต้องมีมาตรฐานการปฏิบัติที่ดีเพื่อปกป้องสายพันธุ์สัตว์ที่ถูกคุกคาม ใกล้สูญพันธุ์ และถูกคุ้มครอง

· ทำตามพันธกิจด้านปลาทูน่าของบริษัทที่ได้ประกาศไว้แล้วได้ให้ครบสมบูรณ์ 100 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี 2568 ว่าเรือประมงทูน่าทุกลำจะต้องมีผู้สังเกตการณ์ (บุคคลหรือผ่านเครื่องมืออิเล็คทรอนิก) ซึ่งจะทำงานโดยตรงกับบริษัทคู่ค้าหรือผู้ให้บริการ

แคธริน โนวัค ผู้อำนวยการด้านการตลาดทั่วโลก องค์กร SFP กล่าวว่า “การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นภัยคุกคามต่อความยั่งยืนของการทำการประมง ไทยยูเนี่ยนได้สร้างมาตรฐานใหม่ให้กับอุตสาหกรรมอาหารทะเลในการปกป้องสายพันธุ์สัตว์ที่ถูกคุกคาม ใกล้สูญพันธุ์ และถูกคุ้มครอง โดยการตรวจสอบห่วงโซ่อุปทาน และรับซื้อวัตถุดิบจากเรือประมงที่ตื่นตัวในการจัดการปัญหาการจับสัตว์น้ำที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย” รายงานล่าสุดโดยองค์กร SFP เกี่ยวกับผลกระทบของการจับปลาทูน่าเชิงพาณิชย์โดยใช้วิธีเบ็ดราว โดยใช้วิธีเบ็ดราว ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกตอนกลางที่มีต่อสายพันธุ์สัตว์ที่ถูกคุกคาม ใกล้สูญพันธุ์ และถูกคุ้มครอง พบว่า ธรรมชาติได้ถูกทำลายลงอย่างมากและประชากรสัตว์สายพันธุ์ต่างๆ ทั้งฉลาม นกและเต่าทะเลได้ลดลงกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ และพื้นที่นี้มีการทำประมงให้กับอุตสาหกรรมการผลิตทูน่ามากกว่าครึ่งหนึ่งของโลก ซึ่งส่วนใหญ่ส่งให้กับอเมริกาเหนือและญี่ปุ่น ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นหน้าที่ผู้ซื้อทูน่าที่จะผลักดันให้เกิดการฟื้นฟูธรรมชาติและประชากรสัตว์น้ำที่เปราะบางเหล่านี้ให้กลับมาใหม่ โดยเฉพาะฉลามและนกทะเล ไทยยูเนี่ยนมีการตรวจสอบการจับสัตว์น้ำที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายเป็นส่วนหนึ่งของโครงการคุ้มครองสัตว์ทะเลที่องค์กร SFP จัดขึ้น นับเป็นโครงการระดับสากล ที่เป็นความพยายามของภาคอุตสาหกรรมในการแก้ไขปัญหาสัตว์ทะเลหายากที่ถูกจับในการทำประมง ทางองค์กร SFP ได้พิจารณาและประเมินแหล่งที่มาของวัตถุดิบที่ไทยยูเนี่ยนใช้วัดความเสี่ยงด้านความยั่งยืนของวัตถุดิบนั้น ๆ พร้อมทั้งเสนอมาตรการที่จะช่วยลดการจับสัตว์น้ำที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายให้ได้ผลมากที่สุด รายงานฉบับนี้ยังระบุว่า การประมงทูน่าโดยใช้วิธีเบ็ดราวนั้นก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อฉลาม นกทะเล และเต่าทะเล และแนะนำให้ปรับเปลี่ยนเครื่องมือประมงเพื่อลดปฏิสัมพันธ์ของสัตว์เหล่านี้ รวมทั้งความเสี่ยงที่จะทำให้สัตว์เหล่านี้ตาย รายงานยังพบว่าการประมงในพื้นที่มหาสมุทรแปซิฟิกมีผู้สังเกตการณ์ไม่เพียงพอ สอดคล้องกับความตั้งใจของไทยยูเนี่ยนที่อยากให้มีผู้สังเกตการณ์ในการทำประมงทูน่า 100 เปอร์เซ็นต์ บริษัท Key Traceability มีการตรวจเรือประมงที่อยู่ในโครงการปรับปรุงการทำประมงของไทยยูเนี่ยนปฏิบัติตามมาตรการข้อปฏิบัติที่ดี เพื่อลดการจับสัตว์น้ำที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายหรือไม่ ผลการประเมินพบว่าการประมงเหล่านี้ได้ลงบันทึกการจับปลาและการจัดการเกี่ยวกับสายพันธุ์สัตว์ที่ถูกคุกคาม ใกล้สูญพันธุ์ และถูกคุ้มครอง และได้ทำตามหรือทำได้ดีกว่า ข้อแนะนำจากการประเมิน

บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อตรวจประเมินสภาพการทำงานบนเรือถ่ายลำรวมถึงสวัสดิภาพของแรงงานบนเรือเบ็ดราว ซึ่งเป็นโครงการที่ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2562

 

บนความมุ่งหวังว่าการตรวจประเมินนี้จะช่วยยกระดับการประเมินที่บริษัทได้ดำเนินการอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบผ่านทางดาวเทียมและอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ รวมถึงการตรวจสอบที่ท่าเรือ ให้สอดคล้องกับโครงการพัฒนาการทำงานและสวัสดิการแรงงานประมง (Fisher Work and Welfare program) และแนวทางการปฏิบัติด้านแรงงานบนเรือประมง ซึ่งไทยยูเนี่ยนได้ใช้เป็นแนวทางในการตรวจประเมินเรือประมงทั่วโลกที่จัดหาปลาและอาหารทะเลอื่น ๆ ให้กับบริษัท

สำหรับการดำเนินงานในครั้งนี้ที่ปรึกษาได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานในท้องทะเลเป็นเวลา 34 วัน เพื่อทำการประเมินเรือเบ็ดราว จำนวน 19 ลำ ที่ปรึกษากล่าวถึงการปฏิบัติงานในครั้งนี้ว่า “นับเป็นประสบการณ์ที่มีค่ามากในการใช้เวลาอยู่บนเรือเบ็ดราวภายใต้โครงการนี้ที่มุ่งพัฒนา ดูแลสุขภาพ ความปลอดภัยและสภาพความเป็นอยู่ของคนงานบนเรือประมง จากประสบการณ์การทำงานด้านนี้มา 13 ปี นี่เป็นครั้งแรกที่ได้เห็นว่าคนงานบนเรือประมงรู้สึกว่ามีคนเป็นห่วง ไม่รู้สึกโดดเดี่ยว และมีคนรับฟังเสียงของพวกเขา โครงการประเมินสภาพความเป็นอยู่ของแรงงานบนเรือในท้องทะเลนี้เป็นวิธีการหนึ่งที่มีประสิทธิภาพและสามารถทำได้ทั่วโลก เป็นจุดเชื่อมโยงแรงงานประมงกับสิทธิมนุษยชนเข้าด้วยกันและสามารถทำได้อย่างสม่ำเสมอมากขึ้น”

งานที่เสี่ยงอันตราย - ข้อมูลเชิงลึกที่มีค่า

บริษัทฯ ให้ความสำคัญและดำเนินโครงการนี้อย่างจริงจัง เพราะการทำงานตรวจประเมินเรือประมงที่ลอยอยู่กลางทะเลนั้นมีความเสี่ยง ผู้สังเกตุการณ์แรงงานประมงที่ทำงานอยู่กลางทะเลนั้นอาจตกเป็นเป้าโดนทำร้าย ข่มขู่ หรือในกรณีร้ายแรงอาจถึงแก่ชีวิต ตามข้อมูลจาก สมาคมผู้สังเกตุการณ์อาชีพ หรือ Association of Professional Observers (APO) พบว่าในช่วงปี 2558-2563 แต่ละปีมีผู้สังเกตุการณ์เสียชีวิตปีละ 1-2 คน ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่ไทยยูเนี่ยนจะต้องทำงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานที่มีความสามารถในการให้คำแนะนำแก่บริษัทและรับรองความปลอดภัยให้กับผู้สังเกตการณ์ได้

ที่ปรึกษาที่ทำการตรวจสอบในครั้งนี้คือ MRAG ซึ่งมีประสบการณ์ในการส่งผู้สังเกตการณ์และผู้ประเมินเข้าทำงานบนเรือประมงและเรือลำเลียงต่างๆ ที่ปรึกษาที่ได้รับการคัดเลือกให้ออกเดินทางไปกับเรือเพื่อสังเกตการณ์นั้น เป็นผู้ที่ได้ทำงานและตรวจประเมินเรือลำนั้นๆ บนฝั่งมาก่อนแล้ว ซึ่งเป็นเรือที่อยู่ในโครงการพัฒนาเรือประมงของไทยยูเนี่ยน

ระหว่างการประเมิน โครงการนี้ทำให้ได้รับรู้ข้อมูลเชิงลึกอันเป็นประโยชน์ เมื่อเปรียบเทียบกับการตรวจประเมินเฉพาะที่ท่าเรือ ท่านสามารถอ่านผลการรายงานได้ที่ เว็บไซต์ความยั่งยืนของไทยยูเนี่ยนหรือ SeaChange®

การตรวจประเมินเรือประมงในท้องทะเลในอนาคต

หลังโครงการนี้เสร็จสิ้น ไทยยูเนี่ยนสามารถต่อยอดผลการตรวจประเมินรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาการทำงานและสวัสดิการแรงงานประมง (Fisher Work and Welfare program) โดยไทยยูเนี่ยนมีความมุ่งมั่นตั้งใจพัฒนามาตรการต่างๆ เกี่ยวกับการตรวจประเมินเรือประมงกลางทะเล และการประเมินที่ท่าเรือ ซึ่งไม่เพียงแต่กระบวนการตรวจสอบในโครงการนี้เท่านั้น แต่เป็นการยกระดับและผลักดันให้ภาคอุตสาหกรรมประมงให้ดีขึ้น ไทยยูเนี่ยนยังมีแผนที่จะทำการประเมินเรือประมงในท้องทะเลในโครงการพัฒนาอื่น ๆ อีกด้วย

ไทยยูเนี่ยนมุ่งมั่นผลักดันให้มีการทำประมงที่โปร่งใสมากขึ้น ซึ่งจะสำเร็จได้ด้วยการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับบริษัทคู่ค้า แสดงถึงความรับผิดชอบและการสนับสนุนให้บริษัทคู่ค้าร่วมพัฒนาไปด้วยกัน ท่านสามารถอ่านบล็อกเกี่ยวกับการประเมินเรือประมงในท้องทะเลของไทยยูเนี่ยนฉบับเต็มได้ ที่นี่

X

Right Click

No right click