November 09, 2024

“แอล. ดับเบิลยู. เอส.ฯ” เปิด 5 ธุรกิจ ตอบโจทย์การใช้ชีวิต แบบ “คนโสด” ที่มีกำลังซื้อสูง โดยมีมูลค่าตลาดรวมมากกว่า 1.4 ล้านล้านบาทต่อปี

“แอล ดับเบิลยู เอส” เปิด 5 ทำเลเหมาะในการพัฒนาคอนโดมิเนียมเพื่อสัตว์เลี้ยง ตอบโจทย์กับความต้องการที่อยู่อาศัยของ Pet Parents ที่มีกำลังซื้อสูง

“แอล ดับเบิลยู เอส” แนะ 5 แนวทางในการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ภายใต้สภาวะที่เผชิญกับภาวะโลกร้อนในปัจจุบันและอนาคต

นายประพันธ์ศักดิ์ รักษ์ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล ดับเบิลยู เอส วิสดอม แอนด์ โซลูชั่นส์ จำกัด บริษัทวิจัยและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในเครือบริษัท แอล พี เอ็น ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด(มหาชน) ให้ความเห็นถึงแนวทางการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ทั้งโครงการประเภทที่อยู่อาศัยและอาคารในเชิงพาณิชย์ ภายใต้สถานการณ์ที่ประเทศไทยและทั่วโลกกำลังเผชิญกับภาวะโลกร้อน (Global Warming) ที่ทำให้สภาพอากาศเกิดการเปลี่ยนแปลง (Climate Change) เป็นภาวะที่ทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อวิถีชีวิตและการอยู่อาศัยของผู้คนในสังคม บริษัทอสังหาริมทรัพย์ในฐานะผู้พัฒนาที่อยู่อาศัยและอาคารประเภทต่างๆ เพื่อการใช้งานของผู้คนในสังคมจำเป็นที่จะต้องปรับกลยุทธ์และแนวทางในการพัฒนาโครงการเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป โดยแนวทางในการพัฒนาโครงการเพื่อให้ตอบโจทย์กับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบันและอนาคตประกอบด้วย 5 แนวทางหลักได้แก่

1.การประเมินความเสี่ยงของโครงการที่จะเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม

ผู้ประกอบการอสังหาฯ ควรทำการประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับโครงการที่จะพัฒนาโดยสามารถใช้เครื่องมือหรือมาตรฐานต่างๆ เพื่อช่วยในการประเมินความเสี่ยง เช่น การใช้มาตรฐานการจัดการความเสี่ยง ISO 31000 ช่วยในการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ และผลที่ตามมาจากภัยพิบัติต่างๆ เช่น พายุ คลื่นความร้อน ภัยแล้ง ไฟป่า นอกจากนี้ยังสามารถพิจารณาจากสถานที่ตั้ง การออกแบบ อายุการใช้งานของอาคาร ตลอดจนความต้องการของผู้ใช้งานอาคารได้ด้วย

2.กำหนดมาตรการการลดทอนผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศ (Mitigation) 

ผู้ประกอบการสามารถที่จะพัฒนาโครงการโดยใช้มาตรการที่บรรเทาหรือลดการผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยแนวทางในการพัฒนาอาคารภายใต้แนวคิดอาคารประหยัดพลังงานเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของอาคาร รวมไปถึงบริหารจัดการการใช้ทรัพยากรภายในอาคารอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่อจากปัจจุบันมีนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อใช้ในการก่อสร้างอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้น โดยแนวทางในการทำงานประกอบด้วย

 

2.1 กำหนดเป้าหมายและดำเนินการลดการใช้พลังงานและน้ำภายในอาคารอย่างมีประสิทธิภาพ การใช้พลังงานและการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพสามารถลดปริมาณการใช้พลังงาน ลดค่าใช้จ่าย และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยการปรับปรุงระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ระบบปรับอากาศ และระบบการระบายอากาศ สุขภัณฑ์ประหยัดน้ำ ที่ใช้พลังงานและน้ำต่ำ

2.2 กำหนดแผนการตรวจสอบการใช้พลังงานอาคาร ปรับปรุง และซ่อมบำรุงรักษาระบบอย่างสม่ำเสมอ

2.3 เลือกใช้พลังงานทดแทน เพื่อส่งเสริมการลดการใช้พลังงานอาคาร

2.4 กำหนดมาตรการบริหารจัดการขยะภายในโครงการเพื่อลดการนำออกของขยะ ซึ่งทำให้เกิดการใช้พลังงานความร้อนในการย่อยสลายขยะ และลดการฝังกลบของขยะชุมชนเมือง

2.5 กำหนดมาตราการรับมือภัยพิบัติ เช่น การเกิดน้ำท่วม ภัยแล้ง การขาดแคลนน้ำใช้ 

3.กำหนดมาตรการในการพัฒนาโครงการให้สามารถอยู่ในสภาวะที่สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงได้ภายใต้แนวคิดของการออกแบบอาคารแบบอาคารเขียว (Green Building) ซึ่งมีแนวทางในการออกแบบดังต่อไปนี้

3.1 การออกแบบและพัฒนาโครงการ โดยออกแบบผังอาคาร กรอบอาคาร ระบบประกอบอาคารอาคาร และเลือกใช้วัสดุทดแทน ที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้อาคารสามารถปรับตัวตามสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปได้

3.2 การลงทุนใช้เทคโนโลยีอาคารที่ส่งเสริมให้การบริหารอาคารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การออกแบบอาคารอัจฉริยะการติดตั้งเซ็นเซอร์ตรวจวัดปริมาณการระบายอากาศ หรือคุณภาพอากาศ เป็นต้น

3.3 การออกแบบผังรวมโครงการ เพื่อลดการเกิดเกาะความร้อนในเมือง เพิ่มพื้นที่สีเขียว และเลือกใช้วัสดุปูพื้นดาดแข็งที่ไม่สะสมความร้อน

3.4 การออกแบบส่วนกลางที่ส่งเสริมการใช้ขนส่งสาธารณะและพาหนะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โครงการควรมีการออกแบบทางเท้าเพื่อส่งเสริมการเดินเท้า ส่งเสริมการใช้ขนส่งสาธารณะและเลือกใช้รถยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เช่น การอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้รถยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีจุดจอดรถยนต์ ECO รถยนต์ไฟฟ้า โดยจัดพื้นที่จอดรถไว้ใกล้กับทางเข้าออกอาคารและมีการจัดเตรียมอุปกรณ์ชาร์ตไฟฟ้า การจัดให้มีพื้นที่จอดจักรยาน และห้องอาบน้ำ การจัดให้มีรถยนต์รับส่งจากขนส่งสาธารณะมายังโครงการ

4.สร้างความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการ ลูกค้า และคู่ค้า เพื่อกำหนดเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน

การวางแผนบริหารจัดการอาคารจะไม่มีทางสำเร็จเลยหากปราศจากความร่วมมือจากผู้ใช้งานภายในโครงการ ทั้งเจ้าของโครงการ ผู้เช่า เจ้าหน้าที่ หรือแม้กระทั้งชุมชนโดยรอบโครงการ ซึ่งผู้บริหารจัดการโครงการจะต้องสร้างเครือข่ายให้เกิดการทำงานร่วมกัน ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีความเข้าใจและเห็นความสำคัญของมาตรการต่างๆของโครงการ เช่น การส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ให้มีการแยกขยะภายในโครงการ การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับความยั่งยืน

5.เรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ในท้ายที่สุดนี้ โครงการจะต้องมีการติดตามผลการดำเนินการ การประเมินผล ซึ่งผู้บริหารจัดการอาคารต้องศึกษาหาความรู้โดยอาจดูจากแนวโน้มต่างๆ งานวิจัย การติดตามข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพอากาศ รวมถึงการสำรวจความเห็นผลดำเนินการจากทุกภาคส่วนทั้งผู้เช่า เจ้าหน้าที่ และพนักงาน เพื่อใช้ในการปรับปรุงมาตรการให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆ มากขึ้น

จากผลการศึกษาของ Global Climate Risk จาก Germanwatch ระบุว่าประเทศไทยถูกจัดให้อยู่ในอันดับ 9 ของประเทศที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติมากที่สุดจากภาวะโลกร้อน และหากอุณหภูมิยังสูงขึ้นแบบนี้ต่อไป ภายในปี พ.ศ. 2593 (ค.ศ.2050) กรุงเทพมหานครทั้งเมืองอาจจะเกิดน้ำท่วมถาวรจากการที่ระดับน้ำทะเลสูงตัวขึ้นเอ่อล้นเข้าสู่ตัวเมืองจากชายฝั่ง จากผลการศึกษาดังกล่าว จำเป็นที่ประเทศไทยต้องมีแนวทางในการรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ในขณะที่ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ในฐานะที่เป็นผู้ที่มีส่วนร่วมที่สำคัญในการพัฒนาเมืองจากแนวทางการพัฒนาที่อยู่อาศัย ซึ่งจากรายงานล่าสุดของกระทรวงพลังงานพบว่า ปี พ.ศ.2566 การใช้พลังงานไฟฟ้าในภาคพาณิชยกรรม และที่พักอาศัยมีการใช้พลังงานไฟฟ้ารวมกันสูงถึง 50.6% ของการใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งประเทศ ดังนั้นการพัฒนาอาคารทั้งอาคารในเชิงพาณิชย์และอาคารที่อยู่อาศัยให้สามารถประหยัดพลังงานได้จะเป็นประโยชน์และมีส่วนช่วยในการลดภาวะโลกร้อนได้

“ภาวะโลกร้อนไม่ใช่เรื่องไกลตัว เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องตระหนักถึงปัญหาและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา ผู้ประกอบการอสังหาฯ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภาคสังคมที่สามารถจะเข้ามามีส่วนช่วยในการแก้ไขปัญหานี้ได้ การปรับกลยุทธ์และแนวทางในการพัฒนาโครงการโดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมโดยการนำนวัตกรรมมาใช้เพื่อสร้างอาคารและที่อยู่อาศัยที่ประหยัดพลังงานจึงเป็นแนวทางสำหรับผู้ประกอบการอสังหาฯ ในการพัฒนาโครงการภายใต้แนวคิดที่รับผิดชอบต่อสังคมอย่างยั่งยืน” นายประพันธ์ศักดิ์ กล่าว

X

Right Click

No right click