February 23, 2025

บริษัทเบอร์สัน (Burson) ผู้นำด้านการสื่อสารระดับโลกที่มุ่งสร้างคุณค่าให้กับองค์กรต่างๆ ได้เปิดเผยผลสำรวจระดับโลกเกี่ยวกับทัศนคติด้านสุขภาพของ Gen Z พบว่ามีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับคนกลุ่มนี้เรื่องการดูแลสุขภาพรายงาน "Gen Z: เรียกร้องการเข้าถึงและการเปลี่ยนแปลงด้านการดูแลสุขภาพ" เป็นการสำรวจขนาดใหญ่ที่สุดโดยบริษัทด้านการสื่อสาร ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากคน Gen Z อายุ 18-27 ปี จำนวน 5,000 คนใน 10 ประเทศ การศึกษานี้ยังใช้ข้อมูลจาก Decipher Health ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม AI ใหม่ของเบอร์สันที่ช่วยวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของข้อมูลและการเผยแพร่ข่าวสาร เพื่อพัฒนาการสื่อสารระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดในระบบสาธารณสุข

ผลสำรวจพบว่า หลังจากการระบาดของโควิด-19 คน Gen Z ให้ความสำคัญกับสุขภาพกายและสุขภาพจิตในระดับที่ใกล้เคียงกัน โดยมีความกังวลด้านสุขภาพกายร้อยละ 56 และสุขภาพจิตร้อยละ 57 ขณะที่ให้ความสำคัญกับทั้งสองด้านเท่ากันที่ร้อยละ 59 ซึ่งต่างจากความเชื่อทั่วไปที่มองว่า Gen Z สนใจเรื่องสุขภาพจิตมากกว่าสุขภาพกาย

"Gen Z คือปจจุบันของการดูแลสุขภาพ ไม่ใช่แค่อนาคต ถึงเวลาแล้วที่เราต้องสร้างการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพเพื่อเสริมศักยภาพให้พวกเขาในฐานะผู้บริโภคด้านสุขภาพยุคใหม่" เบรนนา เทอร์รี่ หัวหน้าฝ่ายลูกค้าสุขภาพระดับโลกของเบอร์สันกล่าว "ผลการวิจัยของเราชี้ให้เห็นว่า มีโอกาสมากมายสำหรับองค์กรด้านสุขภาพในการสื่อสารกับคนรุ่นใหม่ที่เติบโตมาพร้อมเทคโนโลยีดิจิทัลและให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิต การเข้าใจความต้องการและความสนใจของ Gen Z จะช่วยให้เราสร้างความไว้วางใจ ส่งเสริมการมีส่วนร่วม และพัฒนาประสบการณ์การดูแลสุขภาพที่ตอบโจทย์พวกเขาได้ดียิ่งขึ้น"

 ผลการวิจัยยังแสดงให้เห็นแนวโน้มสำคัญเกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของ Gen Z ดังนี้:

1. Gen Z ต้องการการดูแลสุขภาพของตนเองแม้ระบบจะน่าผิดหวัง:

· ร้อยละ 67 ของ Gen Z พอใจกับการดูแลสุขภาพของตนเอง

· แต่ยังพบอุปสรรคด้านค่าใช้จ่าย การสื่อสาร และข้อมูลที่คลาดเคลื่อน

· ร้อยละ 46 รู้สึกว่าการได้รับความสนใจจากบุคลากรทางการแพทย์เป็นเรื่องยาก

2. Gen Z ยังคงเน้นการพบแพทย์แบบตัวต่อตัว

· แม้เป็นคนยุคดิจิทัล แต่ยังไม่เชื่อมั่นข้อมูลสุขภาพออนไลน์และการรักษาทางไกล

· ร้อยละ 80 เคยพบข้อมูลสุขภาพที่ผิดพลาดทางออนไลน์

· มากกว่าร้อยละ 60 ชอบพบแพทย์แบบตัวต่อตัวมากกว่า เพราะรู้สึกได้รับการดูแลที่ดีกว่า

3. Gen Z เปิดรับข้อมูลจากบริษัทด้านการดูแลสุขภาพ

· พร้อมรับฟังข้อมูลที่น่าเชื่อถือและเป็นประโยชน์

· ร้อยละ 55 เชื่อว่าบริษัทด้านสุขภาพสามารถตอบสนองความต้องการของพวกเขาได้

"ในฐานะคน Gen Z ผลวิจัยนี้สะท้อนประสบการณ์ของดิฉันที่ว่า คนรุ่นของเราต้องการมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางของวงการสาธารณสุข" เฮย์ลีย์ สแกนดูรา ผู้บริหารฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของเบอร์สัน และหนึ่งในผู้นำการจัดทำรายงานนี้กล่าว "แม้จะมีความเข้าใจผิดว่าคนรุ่นของดิฉันไม่สนใจดูแลสุขภาพ แต่ดิฉันเชื่อว่าหากผู้ให้บริการด้านสุขภาพและบริษัทต่างๆ ทุ่มเทเวลา ใส่ใจ และสื่อสารกับพวกเรามากขึ้น จะช่วยลดความไม่พอใจที่คนรุ่นเรามีต่อระบบสาธารณสุข และส่งเสริมให้เรามีสุขภาพที่ดีตั้งแต่อายุยังน้อย"

Decipher Health: เครื่องมือวิเคราะห์ความเข้าใจและการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย

นอกจากการสำรวจทั่วโลกแล้ว รายงานนี้ยังใช้ Decipher Health วิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่มีผลต่อกลุ่ม Gen Z โดยระบบ AI นี้แสดงให้เห็นความสอดคล้องระหว่างผลการวิเคราะห์กับการสำรวจ ตัวอย่างเช่น การสำรวจพบว่ามีข้อมูลที่ผิดพลาดแพร่หลายในสื่อออนไลน์ที่ Gen Z ใช้ โดยเฉพาะในโซเชียลมีเดีย ซึ่ง Decipher Health ให้คะแนนความน่าเชื่อถือสูงถึงร้อยละ 92 แสดงว่ากลุ่ม Gen Z ยอมรับว่าเป็นความจริง เมื่อขยายการวิเคราะห์ไปยังกลุ่ม Millennials และ Gen X พบว่ามีคะแนนความน่าเชื่อถือใกล้เคียงกัน (ร้อยละ 91 และ 89 ตามลำดับ) สะท้อนให้เห็นว่า Gen Z มีความกังวลคล้ายคลึงกับกลุ่มเป้าหมายอื่นๆ ที่วงการสาธารณสุขให้ความสำคัญ

"Decipher Health เป็นเครื่องมือที่ช่วยยกระดับงานวิจัยแบบดั้งเดิมของเรา ทำให้เข้าใจข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับ Gen Z ได้แม่นยำยิ่งขึ้น เทคโนโลยีใหม่นี้ช่วยให้เราออกแบบการสื่อสารที่ตรงใจกลุ่มเป้าหมายทั้ง Gen Z และกลุ่มอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดการคาดเดาในการสร้างเนื้อหา และสามารถทดสอบผลได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้เราทำงานได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น" วิกกี้ เลฟโก หัวหน้าฝ่ายสุขภาพดิจิทัลระดับโลกของเบอร์สันกล่าว "ทั้งนี้ บริษัทด้านสุขภาพสามารถติดต่อเบอร์สันทั่วโลกเพื่อขอรับคำปรึกษาในการวางกลยุทธ์การสื่อสารที่เข้าถึงกลุ่ม Gen Z ได้อย่างมีประสิทธิภาพได้"

 

สมาคมผู้จัดพิมพ์ และผู้จำหน่ายหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย (PUBAT) เผยคนไทยอ่านหนังสือมากขึ้นเฉลี่ย 113 นาทีต่อคนต่อวัน ล่าสุดในปี 2566 มูลค่ารวมของตลาดหนังสือมีความหวังฟื้นตัวขึ้นมาอยู่ในระดับประมาณ 17,000 ล้านบาท จากปัจจัยราคาหนังสือต่อเล่มที่สูงขึ้นประมาณ 30% หลังวิกฤตโควิด ทางภาคเอกชน ‘เคทีซี’ เดินหน้าร่วมมือกับพันธมิตรร้านค้าหนังสือ สํานักพิมพ์ชั้นนําทั่วประเทศ จัดแคมเปญส่งเสริมการขายเพื่อแบ่งเบาภาระ และมอบโปรโมชันในมหกรรมงานหนังสือทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด หวังสนับสนุนคนไทยรักการอ่านและขยายฐานกลุ่มสมาชิกบัตรฯ ให้อ่านหนังสือเพิ่มมากขึ้น 

นายสุวิช รุ่งวัฒนไพบูลย์ นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์ และผู้จำหน่ายหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย (PUBAT) เปิดเผยว่า สมาคมฯ ได้ร่วมกับคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำรวจนักอ่าน 1,500 คน ตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงผู้สูงวัย พบว่า ตอนนี้คนไทยอ่านหนังสือเฉลี่ย 113 นาทีต่อคนต่อวัน โดยกลุ่มผู้สูงวัยเป็นกลุ่มที่ชื่นชอบการอ่านหนังสือมากที่สุดและนิยมอ่านในช่องทาง E – Book เพราะสามารถขยายตัวหนังสือสำหรับการอ่าน และมีระบบอ่านออกเสียงได้ ส่วนกลุ่มมนุษย์เงินเดือนวัยทำงานเป็นกลุ่มที่อ่านหนังสือน้อยที่สุดเนื่องจากมีภาระหน้าที่การงาน ทำให้ไม่มีเวลาอ่านหนังสือ โดย 5 อันดับประเภทหนังสือยอดนิยมจะเป็น การ์ตูน นิยาย จิตวิทยา How to ให้กําลังใจ และธรรมะ ตามลำดับ  

สำหรับภาพรวมอุตสาหกรรมธุรกิจหนังสือเคยมีมูลค่าตลาดสูงที่สุดประมาณ 25,000 ล้านบาทในปี 2557 ก่อนที่จะลดมูลค่าลงจนถึงจุดต่ำที่สุดประมาณ 12,000 ล้านบาทในปี 2563 จากการถดถอยและสูญหายไปของตลาดหนังสือพิมพ์และนิตยสาร ล่าสุดในปี 2566 พบว่ามูลค่าตลาดรวมของหนังสือฟื้นตัวขึ้นมาอยู่ในระดับ ประมาณ 17,000 ล้านบาท โดยอาจเกิดจากราคาหนังสือต่อเล่มที่สูงขึ้นประมาณ 30% หลังวิกฤตโควิด ขณะที่ยอดขายและจํานวนการผลิตหนังสือยังมีความเปราะบางต่อภาวะเศรษฐกิจ เนื่องจากหนังสือเป็นสินค้าที่ผู้บริโภคอาจตัดสินใจตัดลดค่าใช้จ่ายหากประสบปัญหารายจ่ายในครัวเรือน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อวงการหนังสืออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  

นายธีรพจน์ โชคอนันตัง ผู้อำนวยการ การตลาดบัตรเครดิต “เคทีซี” หรือ บริษัทบัตรกรุงไทย (จำกัด) มหาชน เปิดเผยว่า ในฐานะภาคเอกชนเคทีซีตระหนักถึงความสําคัญของการอ่านหนังสือ ซึ่งเป็นกุญแจสําคัญในการเปิดโลกแห่งการเรียนรู้ โดยพฤติกรรมนักอ่านยุคใหม่นอกจากการอ่านหนังสือเป็นรูปเล่มแล้วยังนิยมอ่านในช่องทางออนไลน์ซึ่งมีรูปแบบที่น่าสนใจมากยิ่งขึ้น มีการทำการตลาดตาม "ความสนใจเฉพาะกลุ่ม" (Niche Market) มากขึ้น อาทิ นิยายวาย จิตวิทยา การตลาด และสร้างแรงบันดาลใจ ล่าสุดเดินหน้าร่วมมือกับพันธมิตรร้านหนังสือ สํานักพิมพ์ชั้นนําทั่วประเทศ อาทิ เอเซียบุ๊คส / B2S / ศูนย์หนังสือจุฬาฯ  / สำนักพิมพ์ดีเอ็มจี / นายอินทร์ / ซีเอ็ดบุ๊ค / สุริวงศ์บุ๊คเซ็นเตอร์  และแจ่มใส จัดแคมเปญส่งเสริมการขาย มอบสิทธิพิเศษสำหรับสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซีดังนี้ 1) รับส่วนลดสูงสุด 20% หรือ สูงสุด 450 บาท 2) แลกรับเครดิตเงินคืน 18% เมื่อมียอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเคทีซีทุก 500 บาท และใช้คะแนน KTC FOREVER ทุก 500 คะแนน  สามารถลงทะเบียนได้ 3 ช่องทาง ได้แก่ พิมพ์ BNS เว้นวรรค ตามด้วยหมายเลขบัตรฯ 16 หลัก และส่งมาที่เบอร์โทรศัพท์ 06 1384 5000 / เว็ปไซต์ : ktc.promo.bns และ KTC PHONE 02 123 5000 3) รับสิทธิพิเศษ ผ่อน 0.69% ต่อเดือน นานสูงสุด 10 เดือน เมื่อมียอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเคทีซีตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป (รวมรายการที่มียอดซื้อตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป) ขอรับบริการได้ที่ KTC PHONE 02 123 5000 ในวันที่ซื้อสินค้าเท่านั้น ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://www.ktc.co.th/promotion/book-hobby-entertainment/book-and-publishing/book-in-style  นอกจากนี้ เคทีซียังร่วมกับสมาคมผู้จัดพิมพ์ และผู้จำหน่ายหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย (PUBAT) มอบสิทธิพิเศษให้กับสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซีในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด หวังขยายผลด้านการสนับสนุนและให้สมาชิกบัตรฯ รักการอ่านมากขึ้น  

ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ KTC PHONE โทรศัพท์ 02 123 5000 หรือติดตาม    โปรโมชันของเคทีซีได้ที่  https://www.ktc.co.th สำหรับผู้ที่ต้องการสมัครสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซี สามารถคลิกดูรายละเอียดได้ที่ลิงค์ https://ktc.today/apply-card หรือติดต่อศูนย์บริการสมาชิก “เคทีซี ทัช” ทุกสาขาทั่วประเทศ

YDM Thailand ถอดกลยุทธ์คอนเทนต์ครีเอเตอร์ เทรนด์มาร์เก็ตติ้งมาแรงปี 2024 ขานรับดีมานด์ตลาดโต เผยกลเม็ดสร้างแบรนด์ แนะทริคสร้างคอนเทนต์ทรงพลังเพิ่ม Engagement สตอรี่เทลลิ่งผ่านไลฟ์สไตล์ พลิกเกมธุรกิจคว้าโอกาสท่ามกลางการแข่งขันในตลาด โชว์เคสหนุนธุรกิจ Streaming Platform ดึง KOLอินฟลูเอนเซอร์ ผสมคอนเทนต์ครีเอทีฟ สร้าง Engagement เพิ่ม 50% เพิ่มยอด New streaming สูงที่สุดใน South East Asia ในระยะเวลา 1 เดือน

นายธนพล ทรัพย์สมบูรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วายดีเอ็ม (ไทยแลนด์) จำกัด เผยว่า เทรนด์มาร์เก็ตติ้งปีนี้ การสื่อสารแบรนด์อาจไม่ได้จบเพียงแค่สื่อโฆษณาผ่านทีวี ออนไลน์ หรือป้ายโฆษณา แต่ถึงยุคที่แบรนด์ต้องปรับตัวใช้กลยุทธ์คอนเทนต์ครีเอเตอร์ KOL และอินฟลูเอนเซอร์ ซึ่งเป็นเทรนด์มาร์เก็ตติ้งมาแรงในปี 2567 โดยพบว่าผู้บริโภคมากกว่า 46% เลือกเชื่อข้อมูลแนะนำ หรือการรีวิวใช้จริงในออนไลน์จากผู้บริโภคคนอื่น พอ ๆ กับการเชื่อคำแนะนำจากคนใกล้ชิดหรือครอบครัว ซึ่งสอดรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่ใช้เวลาแต่ละวันมากกว่า 5 ชั่วโมงไปกับโซเชียลมีเดีย โดยแต่ละกลุ่มเจเนอเรชั่นต่างเลือกเสพสื่อบนแต่ละแพลตฟอร์มที่ต่างกัน อาทิ ในกลุ่ม Gen X ใช้แพลตฟอร์ม Facebook รองลงมาคือ Youtube, Tiktok Gen Y เลือกใช้แพลตฟอร์ม Facebook รองลงมาคือ Youtube, Instagram, Tiktok และกลุ่ม Gen Z ใช้แพลตฟอร์ม Tiktok มากที่สุด รองลงมาคือ Instagram และ Youtube

 

เมื่อผู้บริโภคเข้าถึงโซเชียลมีเดียบนหลากหลายแพลตฟอร์ม ทำให้มีพื้นที่สื่อสาร สร้างสตอรี่เทลลิ่ง แสดงความคิดเห็นที่เป็นตัวเองมากขึ้น นำไปสู่โอกาส พลิกบทบาทจากผู้เล่นโซเชียลสู่การเป็นคอนเทนต์ครีเอเตอร์เพิ่มขึ้น ปัจจุบันประเทศไทยมีคอนเทนต์ครีเอเตอร์มากกว่า 2 ล้านคน ซึ่งยังไม่นับรวมคนไทยที่ใช้งานโซเชียลมีเดีย เพื่อติดตามข้อมูลข่าวสาร และเพื่อความบันเทิง ทั้งในรูปแบบแสดงความคิดเห็น พูดคุยกันในกลุ่มชุมชนของตนเอง ทำให้แบรนด์จำเป็นต้องเข้าถึงแก่นแท้ของกลเม็ดในการใช้คอนเทนต์ครีเอเตอร์เพื่อการสร้างแบรนด์ ซึ่งการใช้คอนเทนต์ครีเอเตอร์ให้ทรงประสิทธิภาพที่สุด วายดีเอ็ม แนะ 4 ขั้นตอน ดังนี้

1. กำหนดเป้าหมายแบรนด์ให้ชัดเจน ต้องรู้ตำแหน่งของแบรนด์ในตลาด และกำหนดความต้องการของแบรนด์ในการสื่อสารสู่เป้าหมายให้ชัดเจน เช่น ต้องการสื่อสารกับผู้บริโภคเพื่อสร้างการรับรู้ เพื่อให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ สร้างการมีส่วนร่วม หรือเพื่อสร้างยอดขาย เป็นต้น

2. ทำความเข้าใจคอนเทนต์ครีเอเตอร์ โดยเฉพาะบทบาทของคอนเทนต์ครีเอเตอร์แต่ละกลุ่ม ที่มีจุดแข็งต่างกัน เช่น อินฟลูเอนเซอร์ แค่ชูผลิตภัณฑ์ก็สามารถทำให้สินค้าเป็นที่ต้องการจนทำให้ขาดในตลาด และ KOL เน้นมุมมองการแสดงความเห็นอันทรงพลัง พูดอะไรคนก็เชื่อถือ หรือคอนเทนต์ครีเอเตอร์สร้างคอนเทนต์

สตอรี่เทลลิ่งผ่านไลฟ์สไตล์ที่เป็นเอกลักษณ์ และ Mix บางคนเป็นหลายอย่าง เป็นทั้ง KOL + คอนเทนต์ครีเอเตอร์ นำเสนอเรื่องราวยาก ๆ ผ่านการทำคอนเทนต์แนวเล่าให้ง่าย สนุก ไปพร้อม ๆ กัน

3. ใช้เทคโนโลยีช่วยเลือก การดึงเทคโนโลยี AI ช่วยวิเคราะห์เลือกใช้คอนเทนต์ครีเอเตอร์ เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ หรือแคมเปญที่ตอบโจทย์เหมาะกับแบรนด์ ทั้งไลฟ์สไตล์ รูปแบบคอนเทนต์ มีฐานแฟนคลับหรือผู้ติดตามที่เป็นกลุ่มเป้าหมายในการสื่อสารเดียวกับแบรนด์ โดย YDM มองเห็นบทบาทความสำคัญในส่วนนี้ ในการพัฒนาเครื่องมือ AI ช่วยวิเคราะห์การเลือกใช้คอนเทนต์ครีเอเตอร์ เพื่อขับเคลื่อนทุกแคมเปญการตลาดให้กับทุกแบรนด์พาร์ทเนอร์อย่างมีศักยภาพที่สามารถวัดผลได้ในระยะเวลาที่กำหนด

4. คอนเทนต์สร้าง Trust ต้องไม่ยัดเยียด ให้พื้นที่คอนเทนต์ครีเอเตอร์ได้สร้างเรียลคอนเทนต์ บนสตอรี่เทลลิ่งผ่านคาแรกเตอร์และไลฟ์สไตล์ของตัวเองอย่างเป็นธรรมชาติ โดยไม่ตีกรอบหรือยัดเยียดคอนเทนต์แบรนด์เข้าไปในการสื่อสารมากเกินไป เพราะอาจทำให้กลบจุดเด่นคอนเทนต์ครีเอเตอร์ไม่เป็นตัวเอง คอนเทนต์ก็จะไม่สนุก และอาจจะส่งผลต่อ Engagement

5. วัดผลให้ได้ กำหนดตัวชี้วัดเกณฑ์ความสำเร็จที่ชัดเจน เช่น online วัดผลผ่านการแทรค Offline ต้องทำ Correlation เพื่อหาความสัมพันธ์ในการใช้ KOL กับยอดขาย ส่วน KOL ไม่ใช่ one time marketing แต่จำเป็นต้องทำอย่างสม่ำเสมอจึงวัดผลได้ และที่สำคัญแบรนด์ไม่ควรมองข้ามการลงทุนกับอินฟลูเอนเซอร์กระแสที่มีค่าตัวสูง แม้จะกระตุ้นยอดขายได้เพียงครั้งเดียว ซึ่งหลายแบรนด์อาจมองว่าเหมือนจะไม่คุ้ม หรือขาดทุน แต่ทางกลับกัน การลงทุนดังกล่าวเป็นหนึ่งในการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ทำให้คนรู้จัก จดจำแบรนด์ได้ เปิดใจทดลองผลิตภัณฑ์ เพิ่มโอกาสการซื้อซ้ำ

 

“พร้อมกันนี้ แนวคอนเทนต์ทรงพลังเพิ่ม Engagement ให้แบรนด์คือหนึ่งในกลยุทธ์ที่สำคัญมากในการร่วมงานกับคอนเทนต์ครีเอเตอร์ ซึ่งแนวคิดที่แบรนด์ควรตระหนักคือ 1. ครีเอทีฟคอนเทนต์ที่ไม่เหมือนใคร แตกต่างอย่างมีไลฟ์สไตล์ 2. ตามเทรนด์ กระแสที่ถูกพูดถึงในช่วงเวลานั้น เทรนด์มาต้องทำเลย ก่อนตกเทรนด์ ไม่ว่าจะเป็น แอคติ้ง เพลง แฮชแท็ก กระแสต่าง ๆ ในโซเชียลแพลตฟอร์ม แต่ข้อควรระวัง คือต้องวิเคราะห์ภาพลักษณ์และความเหมาะสม เพราะไม่ใช่ทุกเทรนด์ที่แบรนด์จะเกาะกระแสได้ 3. Unknown fact การนำเสนอคอนเทนต์แบบที่คนไม่เคยรู้มาก่อน จะสร้างความน่าสนใจ 4. Build Discussion เช่น ทานหมี่หยก “ทีมลวก/ไม่ลวก” คอนเทนต์ที่ให้คนมาแสดงความคิดเห็นหรือถกเถียงกันต่อ และ 5. คอนเทนต์เหมาะกับ Platform เช่น Tiktok ต้องเสนอเป็นวิดีโอสั้น ๆ ดูเรียล Facebook เสนอเป็นภาพหรือ Photo album หรือ IG เน้นรูปสวย Reels ดูดีมีระดับตั้งแต่ภาพแรก” นายธนพล กล่าวเสริม

อย่างไรก็ดี หากแบรนด์ดำเนินกลยุทธ์การตลาดอย่างถูกต้อง จะสามารถขับเคลื่อนธุรกิจสู่ผลลัพธ์ตามเป้าหมายได้อย่างชัดเจน ยกตัวอย่างโชว์เคสของ YDM จากกลุ่มธุรกิจ Streaming Platform ดึง KOLอินฟลูเอน

เซอร์ ผสมคอนเทนต์ครีเอทีฟ สามารถสร้างผลลัพธ์เพิ่ม Engagement มากขึ้น 50% และเพิ่มยอด New streaming สูงที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในระยะเวลา 1 เดือน

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเกี่ยวกับการศึกษาและแนวทางการใช้กลยุทธ์คอนเทนต์ครีเอเตอร์ ที่สอดรับกับเทรนด์มาร์เก็ตติ้งในปี 2567 ได้ที่วายดีเอ็ม (ไทยแลนด์) https://www.ydmthailand.com

งานเขียนประเภทสารคดีเรื่อง "ผมส่งอาหารในปักกิ่ง" ได้รับการคัดเลือกให้เป็นหนังสือแห่งปี 2023 ในการประกวดหนังสือยอดนิยมครั้งหนึ่งของจีน และ หู อันเอียน ผู้เขียนหนังสือเรื่องนี้ ก็ได้รับการคัดเลือกให้เป็นนักเขียนแห่งปีด้วย ทันใดนั้น หลายคนก็หันมาสนใจผู้ประกอบอาชีพรูปแบบใหม่ ๆ เช่น คนขับรถส่งพัสดุและส่งอาหาร พวกเขาคือ "อัศวิน" ที่สัญจรไปมาตามถนนและตรอกซอกซอยของเมือง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแรงงานประกอบธุรกิจรูปแบบใหม่ 84 ล้านคนของจีน อีกทั้งเป็นผู้สร้างและผู้พิทักษ์ชีวิตที่ดีงามด้วย

ในสายตาของเหยียน เทียน รองศาสตราจารย์จากคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยปักกิ่ง อุตสาหกรรมการจัดส่งอาหารของจีนให้บริการที่สะดวกสบายแบบไม่มีใครเทียบได้ในโลก ชาวต่างชาติที่มาจีนต่างประทับใจกับชีวิตที่สะดวกสบายในจีน ที่สำคัญที่สุดประการหนึ่ง คือสามารถสั่งอาหารส่งถึงบ้านได้ทุกที่ทุกเวลา เบื้องหลังความสะดวกสบายนี้ คือ การทำงานหนักของคนขับรถส่งอาหาร และการพัฒนาวิธีการในการระดมแรงงานผ่านแพลตฟอร์มในประเทศจีน

คนขับรถส่งอาหารเป็นกลุ่มอาชีพใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เป็นคนงานปกสีน้ำเงินในอุตสาหกรรมภาคบริการในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล เมื่อลูกค้าสั่งซื้อผ่านแพลตฟอร์ม คำสั่งซื้อก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการจัดส่งแบบออฟไลน์ ขั้นตอนการทำงานของคนขับรถส่งอาหารแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ การรับคำสั่งซื้อ การรับอาหารที่ร้าน การนำส่งอาหาร และ บรรลุงานตามคำสั่ง  เทคโนโลยีดิจิทัลนำเสนอกระบวนการจัดส่งและขั้นตอนการดำเนินงานของคนขับรถส่งอาหารในแอพฯ อย่างง่ายดายและชัดเจน คนขับรถส่งอาหารสามารถคลิก "รับคำสั่งซื้อ" "รายงานไปยังร้านค้า" "ฉันรับสินค้าแล้ว" และ "ส่งถึงแล้ว"  4 ปุ่มเพื่อดูขั้นตอนของงานจัดส่งและเนื้อหางานถัดไป เมื่อคนขับรถส่งอาหารหาตำแหน่งที่ตั้งร้านค้าและลูกค้าไม่เจอ หรือไม่รู้วิธีการวางแผนเส้นทาง พวกเขาสามารถคลิกปุ่ม "ดูข้อมูลตำแหน่ง" และ "การวางแผนเส้นทาง" ในแอพฯ เพื่อได้รับความช่วยเหลือ

เทคโนโลยีดิจิทัลช่วยขจัดอุปสรรคด้านข้อมูลและเทคโนโลยีให้คนงานสามารถเข้าถึงธุรกิจการขับรถส่งอาหารได้ ลดเงื่อนไขการรับสมัคร และช่วยให้คนขับรถส่งอาหารมือใหมเริ่มงานได้อย่างรวดเร็ว และทำงานจัดส่งอาหารได้อย่างราบรื่น

ในปี 2020 "อาชีพผู้ขับขี่ส่งอาหารออนไลน์" ได้บรรจุไว้ในหมวดหมู่อาชีพแห่งชาติจีน แสดงว่า ผู้ขับขี่ส่งอาหารได้รับการยอมรับให้เป็นอาชีพใหม่ในระดับชาติ อุตสาหกรรมการจัดส่งอาหารถึงบ้านมีบทบาทสำคัญชนิดมองข้ามไม่ได้ในการพัฒนาเศรษฐกิจจีน สำหรับอุตสาหกรรมร้านอาหารแล้ว การจัดส่งอาหารถึงบ้านนับเป็นรูปแบบธุรกิจใหม่ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของอุตสาหกรรมร้านอาหารและเป็นแรงกระตุ้นใหม่ในการพัฒนาอุตสาหกรรมร้านอาหารสถิติจากศูนย์ข้อมูลอินเตอร์เน็ตจีนพบว่า ปี 2022 รายได้จากบริการจัดส่งอาหารถึงบ้านคิดเป็นประมาณ 25.4% ของรายได้จากอุตสาหกรรมร้านอาหารทั่วประเทศจีน ร้านอาหารจำนวนไม่น้อยก็ได้รับคำสั่งซื้อมากขึ้นผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ แบบสอบถามในปี 2020 พบว่า ผู้ค้าที่ตอบแบบสอบถามมี  83% และ 83.4% เห็นว่า การให้บริการจัดส่งอาหารถึงบ้านช่วยเพิ่มรายได้ และมี60% เห็นว่า การจัดส่งอาหารถึงบ้านเพิ่มยอดกระแสรายวันด้วย

การจัดส่งอาหารถึงบ้านมีอิทธิพลตรงต่อการหางานทำ ผู้รับผิดชอบที่เกี่ยวข้องของสำนักงานสถิติแห่งชาติจีนระบุว่า จนถึงปลายปี 2021 ผู้ขับรถส่งอาหารในตลาดการจ้างงานที่ยืดหยุ่นมีจำนวนถึง 13 ล้านคน ซึ่งเป็นเกือบ  1% ของประชากรทั้งประเทศ ข้อมูลจากเหม่ยถวน (Meituan) แพลตฟอร์มให้บริการชีวิตประจำวันที่ใหญ่ที่สุดของจีนพบว่า ปี 2022 มีผู้ขับรถส่งอาหารกว่า 6.24 ล้านคน มีรายได้จากการที่บริษัทดังกล่าว เปิดรับสมัครผู้ขับรถส่งอาหาร โดยในช่วงฤดูหนาวปี 2023 ทางบริษัทเปิดรับสมัครงานตำแหน่งผู้ขับรถส่งอาหารจำนวน 300,000 ตำแหน่ง และขยายการจ้างงานอย่างต่อเนื่อง

อาชีพผู้ขับขี่ส่งอาหารมีความเปิดกว้างและมีความเป็นธรรมด้านรายได้ โดยให้โอกาสในการหางานทำสำหรับคนกลุ่มต่าง ๆ และเป็นอาชีพที่ช่วยให้พนักงานเติบโตในระยะยาวด้วย เมื่อผู้ขับรถส่งอาหารคิดจะเปลี่ยนอาชีพอื่น ทักษะต่าง ๆ ที่ได้สั่งสมมาจากประสบการณ์งานดังกล่าว เช่น ทักษะการขับขี่ การสื่อสาร การแก้ปัญหาเร่งด่วน การควบคุมอารมณ์ และการเรียนรู้ด้วยตัวเองจะช่วยพวกเขาได้มาก ทุกวันนี้ ผู้ขับรถส่งอาหารหลายคนเปลี่ยนอาชีพเป็นพนักงานขายรถไฟฟ้า ผู้จัดการร้านอาหาร และเจ้าของเกสต์เฮาส์ พวกเขาต่างยอมรับว่า ระหว่างวิ่งจัดส่งอาหาร ทำให้พวกเขามีโอกาสสั่งสมประสบการณ์มากมาย ซึ่งมีส่วนช่วยต่อตำแหน่งงานต่อไปอย่างมาก

หลายปีมานี้ การดูแลคนงานในธุรกิจรูปแบบใหม่ของจีนเริ่มเป็นรูปธรรมมากขึ้นเรื่อย ๆ สื่อรายงานว่า การประกันคุ้มครองการบาดเจ็บจากการทำงานสำหรับพนักงานในรูปแบบการจ้างงานใหม่ ซึ่งนำร่องโดยบริษัทแพลตฟอร์มต่าง ๆ ในเมืองและมณฑล 7 แห่งของจีน รวมถึง เหม่ยถวน, ส่านซ่ง, ฮั่วลาลา, ไขว้โก่วต่าเชอ  ได้ประสบความคืบหน้าในเบื้องต้น จนถึงปลายเดือนกันยายน 2023 คนงานในรูปแบบธุรกิจใหม่มี 6.68 ล้านคน ได้รับการคุ้มครอง และมี 32,000 คนได้รับค่าชดเชยรวม 490 ล้านหยวน เหยียนเทียนเห็นว่า ในการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของผู้ขับรถส่งอาหารนั้น จีนปฏิบัติตามหลักการถือข้อเท็จจริงและประชาชนเป็นที่ตั้ง “จีนเริ่มออกนโยบายและกฎหมายต่าง ๆ เพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของผู้ขับรถส่งอาหารตั้งแต่ปี 2020 ถือเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายแรงงานให้สมบูรณ์ขึ้น  และเป็นการมอบประสบการณ์ของจีนให้กับทั่วโลกด้วย”

เขียนโดย  จางเหยียน

พนักงานในธุรกิจใหม่เพิ่มจำนวนมากขึ้น สะท้อนถึงเสรีภาพ

การเปิดกว้าง และประชาธิปไตยของจีน

รูปแบบการจ้างงานใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นได้เพิ่มความสามารถในการรองรับการจ้างงานของเศรษฐกิจจีนอย่างมาก โดยแสดงบทบาทสำคัญในฐานะ “อ่างเก็บน้ำ” และ “เครื่องรักษาเสถียรภาพ”สะท้อนให้เห็นถึงการปรับรูปร่างและการเพิ่มประสิทธิภาพของห่วงโซ่อุตสาหกรรมและห่วงโซ่อุปทานของจีนภายใต้การปฏิวัติทางเทคโนโลยี และสะท้อนให้เห็นถึงชัยชนะร่วมกันด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมจีน ขณะเดียวกัน จำนวนพนักงานในธุรกิจใหม่ ๆ ที่เพิ่มขึ้นก็แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าของเศรษฐกิจสังคมจีน และยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงเสรีภาพ การเปิดกว้าง และประชาธิปไตยของผู้คนอีกด้วย

เศรษฐกิจแพลตฟอร์มที่พัฒนาอย่างคึกคักภายใต้เศรษฐกิจดิจิทัล กำลังปรับเปลี่ยนรูปแบบการจ้างงานแบบดั้งเดิมของจีน จำนวนคนขับรถส่งอาหาร ส่งพัสดุ และคนขับรถเรียกออนไลน์ที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนผู้ดูแลคนป่วยเพื่อรับการรักษาพยาบาล คนทำขนมให้สัตว์เลี้ยง  และคนซ่อมตุ๊กตาด้วย เป็นต้น ล้วนเป็นอาชีพใหม่ที่ปรากฏสู่สายตาสาธารณชน

รูปแบบการจ้างงานใหม่สามารถพบได้ทั้งตามถนนตรอกซอยที่พลุกพล่าน และอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมได้ทุกทิศทุกทาง รูปแบบการจ้างงานใหม่มีข้อดีต่าง ๆ เช่น เกณฑ์รับสมัครที่ต่ำ สามารถรับคนได้จำนวนมาก และมีความยืดหยุ่นมาก และได้กลายมาเป็นภาพแห่งความขยันแข็งขัน และการต่อสู้อย่างกล้าหาญของแรงงานจีน

ผลสำรวจเกี่ยวกับกำลังแรงงานแห่งชาติจีนล่าสุดพบว่า ขณะนี้ จำนวนพนักงานทั้งหมดในประเทศจีนอยู่ที่ประมาณ 402 ล้านคน โดย 84 ล้านคน ทำงานในรูปแบบธุรกิจใหม่ คิดเป็นร้อยละ 21 ของจำนวนพนักงานทั้งหมดในจีน คนงานในรูปแบบการจ้างงานใหม่ได้กลายเป็นส่วนประกอบสำคัญของกำลังแรงงาน

รูปแบบการจ้างงานใหม่เป็นการผสมผสานระหว่างระบบการผลิตเสมือนจริงกับระบบการผลิตภาคจริง โดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างคนงานกับวัสดุการผลิต ภายใต้ภูมิหลังของการพัฒนาความเป็นอัจฉริยะ ดิจิทัล และสารสนเทศ รูปแบบการจ้างงานใหม่เป็นรูปแบบที่เกิดขึ้นพร้อมกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตและการยกระดับการบริโภคสาธารณชน เป็นรูปแบบการจ้างงานที่มีความยืดหยุ่นสูง

การเติบโตอย่างคึกคักของรูปแบบการจ้างงานใหม่เป็นภาพที่มองเห็นได้และจับต้องได้ และเป็นภาพที่สะท้อนถึงศักยภาพการพัฒนาเศรษฐกิจจีน โอกาสที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง และมีอนาคตที่สดใส

เขียนโดย หวังอวี๋ซินหง

ให้คนขับรถส่งอาหารได้ที่พักที่อบอุ่นสบาย

ช่วงหน้าหนาวที่เพิ่งผ่านพ้นไป เป็นหน้าหนาวที่อบอุ่นสำหรับ หวัง ฝูเจา คนขับรถส่งอาหารในเซี่ยงไฮ้ เพราะเขาได้ที่พักที่น่าพอใจ

หวังฝูเจาเกิดหลังทศวรรษ 1995 ปี 2020 เขาเดินทางจากบ้านเกิดเหอเป่ยมาที่เซี่ยงไฮ้ เพื่อทำงานเป็นคนขับรถส่งอาหาร หนุ่มคนนี้ขยันมาก สามารถส่งอาหารได้กว่า 60 คำสั่งต่อวัน ผลงานของเขาจัดอยู่ในกลุ่มที่ดีที่สุดของบริษัท แต่สภาพที่พักของเขาไม่น่าพอใจเลย

เมืองใหญ่ ๆ อย่างนครเซี่ยงไฮ้ หาห้องพักได้ยาก ค่าเช่าบ้านก็แพง ก่อนหน้านี้ หวังฝูเจากับเพื่อนขับรถส่งอาหารอีกสองคน เช่าที่พักร่วมกันในห้องเล็ก ๆ แห่งหนึ่ง ใช้ชีวิตลำบากมาก เพราะแม้ทั้งสามคนแบกรับค่าเช่าร่วมกัน แต่ละคนยังต้องจ่ายเกิน 1,000 หยวนอยู่ดี เมื่อพูดถึงเรื่องเหล่านี้ หวังฝูเจารู้สึกคับข้องใจมาก

ปัญหาที่หวังฝูเจาพบเจอ ไม่ได้เป็นกรณีพิเศษ ในการทำสำรวจกลุ่มคนพนักงานในธุรกิจใหม่ ๆ ของเขตผู่ถัว นครเซี่ยงไฮ้ การปรับปรุงสภาพที่พักอาศัยเป็นความปรารถนาที่เร่งด่วนที่สุดของพวกเขา

“ต้องให้ที่พักที่สะอาดสะอ้านและอบอุ่นน่าอยู่กับพวกเขา”เจ้าหน้าที่ทางการเขตผู่ถัวกล่าว

ทางการเขตผู่ถัวได้ริเริ่มโครงการ “ที่พักใหม่สำหรับผู้ขับรถส่งอาหาร” โดยระดมกำลังทางการท้องถิ่น กลุ่มสมาคม รัฐวิสาหกิจ และทรัพยากรทางสังคม และมีการวางแผนตำแหน่งที่ตั้งโครงการ และกำหนดราคาค่าเช่าบ้านอย่างละเอียด เช่น ต้องหาตำแหน่งที่ตั้งที่พักที่อยู่รอบบริเวณที่มีสถานีจัดส่งอาหารค่อนข้างเยอะ ระยะทางขับรถไม่ให้เกิน 15 นาที ค่าเช่าที่พักต่อเดือนไม่เกินคนละหลายร้อยหยวน และให้ผู้ขับรถส่งอาหารได้ที่พักดีราคาถูก

ในการทำสำรวจที่เป็นเวลาหลายเดือน เจ้าหน้าที่ทางการเขตผู่ถัวสำรวจพื้นที่ต่าง ๆ ในเขตหลายรอบ ท้ายที่สุด เลือกให้ที่พักเหอซินเป็นที่พักสำหรับผู้มีรายได้น้อย จากการตกแต่ง ที่พักอาศัยไม่เพียงแต่มีเฟอร์นิเจอร์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าจำเป็นที่ครบสมบูรณ์ หากยังได้เตรียมแก้วน้ำ ผ้าเช็ดหน้า และผ้าปูเตียงด้วย

ภายในเขตที่พักยังได้เปิดซูเปอร์มาร์เก็ต มีอาหาร และของใช้ชีวิตประจำวันเตรียมพร้อม ได้เปิดโซนออกกำลังกาย โดยจัดโต๊ะพูล สนามบาสเกตบอล บริการจัดการที่พักตลอด 24 ชั่วโมง และยังได้จัดห้องซักผ้า และห้องฉายวิดีโอต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ขับรถส่งอาหารได้ใช้ชีวิตอย่างสบาย พักผ่อนให้ดี และออกกำลังกายได้อย่างสะดวก

หวังฝูเจา ถือว่าโชคดีที่เป็นพนักงานขับรถส่งอาหารกลุ่มแรกที่มีสิทธิ์คัดเลือกที่พัก พวกเขาทำการจับฉลากเพื่อเลือกห้องพักที่ตนชื่นชอบ

ในอนาคต ยังจะมีการจัดที่พักประเภทนี้ให้กับคนงานในธุรกิจใหม่ต่าง ๆ ด้วย เช่น โชเฟอร์รถเรียกออนไลน์ และพนักงานขายของออนไลน์ ปี 2024 เขตผู่ถัว ยังจะสร้าง “ที่พักสำหรับผู้สร้างสรรค์ในยุคสมัยใหม่” ตามโซนพาณิชย์ และอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพื่อจัดเตียงกว่า 1,000 เตียง ให้กับกลุ่มพนักงานในธุรกิจใหม่ทั้งหลาย

เขียนโดย  เหยียนเหวยฉี หวงจินเลี่ยง  และ หวังอวี๋ซินหง

 

กรุงเทพฯ, ประเทศไทย, วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2567 – การแสดงความรักกำลังเข้าสู่ความเป็นดิจิทัลเมื่อเกือบ 80 เปอร์เซ็นต์ของคนไทยวางแผนที่จะซื้อของขวัญทางออนไลน์เพื่อมอบให้คนรักในช่วงวาเลนไทน์ อ้างอิงจากผลการศึกษาฉบับล่าสุดที่จัดทำโดย YouGov ในนามของวีซ่า ผู้นำการให้บริการการชำระเงินดิจิทัลระดับโลก โดยการศึกษาฉบับนี้1 มีจุดมุ่งหมายเพื่อวัดพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคก่อนวันวาเลนไทน์ รวมถึงปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ และการกระทำเช่นใดที่ทำให้คนรักใจละลายได้

หนึ่งในสิ่งที่ท้าทายที่สุดคือการอ่านใจว่าคนรักของคุณต้องการอะไร อ้างอิงจากผลการศึกษาฉบับนี้พบว่า เกือบหนึ่งในสาม (59%) ที่เลือกบอกคนรักไปเลยตรงๆ ว่าอยากได้อะไร โดยวิธีที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับสองคือการใช้เอไอ หรือ ปัญญาประดิษฐ์เป็นตัวช่วย ซึ่ง 27 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ตอบแบบสอบถามวางแผนที่จะบอกสิ่งที่ตนปรารถนาโดยการกระซิบใส่สมาร์ตโฟนของคู่รัก และอีก 22 เปอร์เซ็นต์ เลือกที่จะบอกใบ้คนรักและหวังว่าพวกเขาจะเข้าใจสิ่งที่อยากสื่อไปในที่สุด

เมื่อต้องตัดสินใจว่าจะเลือกซื้อของขวัญแทนใจสำหรับวันวาเลนไทน์จากที่ไหน เกินกว่าครึ่งของของผู้ตอบแบบสอบถาม (57%) วางแผนที่จะซื้อของจากร้านค้าออนไลน์และแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ขณะที่เกือบหนึ่งในห้า (20%) ตั้งใจจะซื้อโดยตรงจากร้านค้าบนสื่อโซเชียลอย่าง อินสตาแกรม เฟซบุ๊ก ติ๊กต็อก และไลน์

ความรักปี 2567 มาพร้อมสนนราคา จากการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ราคาและส่วนลด (58%) คือปัจจัยสำคัญให้คนเลือกว่าจะซื้อของขวัญวาเลนไทน์จากที่ใด ตามด้วยความหลากหลายและคุณภาพสินค้า (50%) นอกจากนี้ยังเลือกพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ เพิ่มเติมไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาของโปรโมชันหรือแพ็กเกจ (30%) การมีประสบการณ์ที่ดีในการซื้อครั้งก่อนกับร้านค้า (27%) และชื่อเสียงของแบรนด์ (21%)

นอกจากนี้ การศึกษายังพบอีกว่า เกือบเจ็ดในสิบของผู้ตอบแบบสอบถาม (68%) วางแผนที่จะใช้จ่ายไม่เกิน 1,000 บาท ในขณะที่ 29 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าตั้งใจที่จะใช้จ่ายระหว่าง 1,001 ถึง 10,000 บาท และอีก 3 เปอร์เซ็นต์วางแผนที่จะใช้เงิน 10,000 บาทขึ้นไปกับของขวัญและการฉลองวาเลนไทน์ในปีนี้

เมื่อมาดูในส่วนของประเภทของขวัญที่เลือกซื้อสำหรับวันวาเลนไทน์ พบว่า เกือบหนึ่งในสาม (30%) บอกว่าเครื่องแต่งกาย กระเป๋าถือ และเครื่องประดับแฟชั่นคือตัวเลือกอันดับหนึ่งสำหรับหวานใจของพวกเขา ตามด้วยของขวัญแนวสื่อแทนใจอย่างช็อกโกแลต (25%) และดอกไม้ (12%)

สำหรับหลาย ๆ คน วิธีสื่อความในใจไม่ได้จำกัดเพียงแค่ของขวัญเท่านั้น และความโรแมนติกของจริงยังมีอยู่เมื่อการกระทำที่ชวนให้ใจละลายมากที่สุดคือการได้ใช้เวลาอันมีค่าร่วมกัน (41%) แต่ก็ยังมีอีกหลาย ๆ คู่ที่เลือกซื้อของแทนใจเพื่อแสดงความรักระหว่างกัน โดยของขวัญวาเลนไทน์หรือโปรโมชันที่ได้รับความนิยมที่สุดคือ เซ็ตของขวัญคู่รัก (27%) ซื้อหนึ่งแถมหนึ่ง (22%) ตามมาด้วยบริการแกะสลักชื่อบนสินค้าฟรี (15%) และบัตรกำนัลสปาที่โรงแรม (12%)

Page 1 of 4
X

Right Click

No right click