January 22, 2025

SCB WEALTH จัดกิจกรรมพิเศษสุดเอกซ์คลูซีฟ ปิดรอบพิเศษละครเวที  “ฟ้าจรดทราย เดอะมิวสิคัล” โดยมี นายกฤษณ์  จันทโนทก  (กลาง) กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ พร้อมด้วย  ดร.ยรรยง ไทยเจริญ (ที่3ขวา) รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Wealth และรักษาการผู้บริหารสายงาน Private Banking ธนาคารไทยพาณิชย์ นายศรชัย  สุเนต์ตา  (ที่3ซ้าย) , CFA  รองผู้จัดการใหญ่  ผู้บริหารสายงาน Investment Office and Product กลุ่มธุรกิจ Wealth นางสาวรัฐยา ทองรัตน์  (ที่2ขวา) ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่  ผู้บริหารสายงาน Wealth Strategy and Enablement  และผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Private Banking Strategy and Enablement ธนาคารไทยพาณิชย์  และทีมผู้บริหาร SCB WEALTH  ให้การต้อนรับกลุ่มลูกค้า SCB WEALTH   เพื่อมอบความสุขและความบันเทิงให้กับกลุ่มลูกค้าเวลล์  นอกเหนือจากความมุ่งมั่นในการบริหารความมั่งคั่งให้ลูกค้าได้รับประโยชน์สูงสุดในทุกช่วงจังหวะของการลงทุน  ณ เมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์ ศูนย์การค้าเอสพละนาด รัชดาภิเษก เมื่อเร็วๆนี้

การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของ SCB WEALTH  ที่ตั้งใจมอบประสบการณ์ที่ดี และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีอย่างใกล้ชิดกับลูกค้า เพื่อสร้างความเชื่อมั่น และความไว้วางใจในการให้ธนาคารดูแลบริหารความมั่งคั่งต่อไปอย่างยาวนาน   โดย SCB WEALTH มีความใส่ใจในทุกรายละเอียดและเข้าใจทุกความต้องการของลูกค้า  จึงได้มีการจัดกิจกรรมพิเศษในครั้งนี้  รวมทั้งการให้ข้อมูลความรู้ทางด้านการลงทุนอย่างต่อเนื่องเสมือนเป็น Thought Partner ที่ใส่ใจดูแลความมั่งคั่ง ด้วยความรู้ ความเชี่ยวชาญ และโซลูชั่นการลงทุนที่หลากหลาย ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในทุกๆด้านของการลงทุน และตอบโจทย์ทุกความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง

ผลสำรวจ SCB EIC Real estate survey 2567 สะท้อนความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยยังไม่สามารถฟื้นตัวได้มากนักจากปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ยังกดดัน ทำให้ปัจจัยด้านราคายังมีความสำคัญมากที่สุด และตลาดที่อยู่อาศัยมือสองยังได้รับความนิยมสูง ขณะที่ปัจจัยด้านทำเลที่เดินทางสะดวกหรือใกล้สิ่งอำนวยความสะดวกยังคงมีความสำคัญมากกว่าพื้นที่ใช้สอย

  • ปัจจัยกดดันทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ภาระหนี้ครัวเรือน ภาระค่าใช้จ่าย ที่ยังอยู่ในระดับสูง ยังกดดันการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้มีรายได้ไม่เกิน 50,000 บาทต่อเดือน โดยความต้องการซื้อในช่วงไม่เกิน 2 ปีข้างหน้ามีสัดส่วนลดลงจากการสำรวจปีก่อนหน้า ขณะที่ความต้องการซื้อส่วนใหญ่ยังอยู่ในระยะ 3-5 ปีข้างหน้า ที่ผู้ซื้อส่วนใหญ่คาดหวังว่าสถานการณ์เศรษฐกิจ และกำลังซื้อจะฟื้นตัวมากขึ้น รวมถึงมีความพร้อมทางการเงินมากกว่าในปัจจุบัน นอกจากนั้น ผู้ตอบแบบสอบถามเกือบครึ่งหนึ่งยังไม่มีแผนจะซื้อที่อยู่อาศัย หรืออาจมีแผนหลังจาก 5 ปีข้างหน้า
  • กำลังซื้อกลุ่มผู้มีรายได้ระดับปานกลาง-บนมีแนวโน้มฟื้นตัวได้มากขึ้น และช่วยประคองตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2567 และในระยะ 2 ปีข้างหน้าได้บางส่วน โดยเฉพาะในตลาดที่อยู่อาศัยราคามากกว่า 5 ล้านบาทขึ้นไป ซึ่งส่วนใหญ่เป็น Real demand ที่ต้องการซื้อเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยหลังที่ 2 และหลังแรก ตามลำดับ ขณะที่ความต้องการซื้อเพื่อการลงทุนยังมีสัดส่วนไม่มากนัก ใกล้เคียงกับการสำรวจในปีก่อนหน้า
  • สาเหตุหลักของการไม่มีแผนซื้อที่อยู่อาศัยในช่วง 5 ปีข้างหน้า เนื่องจากตนเองหรือคนในครอบครัว เป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยอยู่แล้ว และรายได้หรือภาระค่าใช้จ่ายไม่เอื้ออำนวย ตามลำดับ โดยกลุ่ม Gen Y และ Gen Z ที่มีรายได้ระดับปานกลาง-ล่าง มองว่ารายได้ในปัจจุบันไม่สามารถซื้อที่อยู่อาศัยใหม่ได้ จึงเลือกที่จะปรับตัว และอยู่อาศัยกับครอบครัวแทน ขณะที่กลุ่มที่รายได้หรือภาระค่าใช้จ่ายไม่เอื้ออำนวยส่วนใหญ่ยังเชื่อว่าสถานการณ์ด้านรายได้หรือภาระค่าใช้จ่ายจะคลี่คลายมากขึ้น จนสามารถซื้อที่อยู่อาศัยได้หลังจาก 5 ปีข้างหน้า
  • ปัจจัยด้านความคุ้มค่าของราคา / ราคาที่เข้าถึงได้ มีผลต่อการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยมากที่สุด ส่วนปัจจัยด้านทำเลสำคัญมากขึ้น และยังสำคัญกว่าปัจจัยด้านความเพียงพอของพื้นที่ใช้สอย โดยในกลุ่ม Gen Y และ Gen Z ให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านทำเลที่สะดวกต่อการเดินทาง และต้องการรักษาสมดุลกับความพอเพียงของพื้นที่ใช้สอยควบคู่ไปด้วย
  • ตลาดที่อยู่อาศัยเพื่อการลงทุน / เก็งกำไร / ปล่อยเช่า ยังฟื้นตัวได้ไม่มาก จากแรงกดดันด้านกำลังซื้อ และมาตรการ LTV โดยส่วนใหญ่ยังเป็นการลงทุนคอนโดในทำเลกรุงเทพฯ ซึ่งยังคงมีความต้องการจากผู้เช่า กลุ่มที่ต้องการอยู่ใกล้ที่ทำงาน สถานศึกษาของตนเอง และสถานศึกษาของบุตรหลาน และกลุ่มที่งบประมาณไม่พอสำหรับการซื้อเป็นหลัก
  • มาตรการภาครัฐยังเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัย โดยมาตรการด้านดอกเบี้ยจะกระตุ้นการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยจากกลุ่มที่มีแผนจะซื้อที่อยู่อาศัยได้มากที่สุด สำหรับมาตรการอื่น ๆ รองลงมา เช่น การลดหย่อนภาษี รวมถึงการผ่อนคลาย LTV ที่จะช่วยให้ผู้ซื้อที่อยู่อาศัยหลังที่ 2 กู้ได้ 100%

ผลสำรวจแสดงให้เห็นว่าปัจจัยด้านทำเลที่สะดวกต่อการเดินทาง หรือการอยู่ใกล้เมือง ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยแนวราบมากขึ้น โดยทำเลที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คือ ทำเลฝั่งทิศตะวันตกของกรุงเทพฯ ขณะที่ความสามารถปรับแต่งฟังก์ชันการใช้ประโยชน์ภายในบ้านได้ (Customization) และเทคโนโลยี Smart home คือปัจจัยที่ผู้ซื้อที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่ยินดีที่จะจ่ายเงินเพิ่มจากงบประมาณเดิมมากที่สุด

โดยรายละเอียดความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยแต่ละประเภท มีดังนี้

SCB EIC มองว่า ผู้ประกอบการยังเผชิญความท้าทายในการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย จากปัจจัยเศรษฐกิจที่ยังคงกดดันการฟื้นตัวของกำลังซื้อ ต้นทุนการพัฒนาโครงการที่ยังอยู่ในระดับสูง รวมถึงพฤติกรรมของผู้ซื้อที่อยู่อาศัยที่เปลี่ยนแปลงไป โดยแนวทางการปรับกลยุทธ์ของผู้ประกอบการ มีดังนี้

  • พัฒนาโครงการใหม่อย่างระมัดระวัง โดยคำนึงถึงต้นทุนราคาที่ดิน หลีกเลี่ยงทำเลที่มีการแข่งขันรุนแรง หรือมีหน่วยเหลือขายสะสมสูง รวมถึงการกระจาย Portfolio ให้มีตัวเลือกที่อยู่อาศัยในหลากหลายระดับราคายังคงมีความจำเป็น
  • ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ซื้อแต่ละกลุ่มอย่างตรงจุดในทุกประเภทที่อยู่อาศัย โดยเน้นการพัฒนาสินค้าและบริการเพื่อสร้างความแตกต่าง สามารถตอบโจทย์ความต้องการ รวมถึงลด Pain point ของผู้ซื้อในปัจจุบันที่ความต้องการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วได้ทันอยู่เสมอ
  • ขยายตลาดผู้ซื้อชาวต่างชาติ จะเป็นอีกทางเลือกในช่วงที่ตลาดที่อยู่อาศัยยังมีแนวโน้มซบเซา ซึ่งกลุ่มผู้ซื้อที่มีสัดส่วนมากที่สุดคาดว่ายังคงเป็นชาวจีน ขณะที่กำลังซื้อจากรัสเซีย รวมถึงเอเชีย เช่น เมียนมา ไต้หวัน ก็ยังมีศักยภาพ
  • บริหารจัดการต้นทุนการพัฒนาโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อรักษาอัตรากำไร ควบคู่กับการรักษามาตรฐานที่อยู่อาศัย และการให้บริการหลังการขาย เพื่อสร้างความพึงพอใจของผู้ซื้อที่อยู่อาศัย เช่น การนำเทคโนโลยีที่ช่วยลดขั้นตอนการก่อสร้าง และลดการใช้แรงงานมาใช้มากขึ้น การรักษาความสัมพันธ์ และสร้างความร่วมมือใหม่ ๆ กับผู้รับเหมาก่อสร้าง และธุรกิจที่เกี่ยวข้องใน Supply chain
  • ให้ความสำคัญกับเทรนด์ ESG เนื่องจากผู้ซื้อในปัจจุบันโดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ เริ่มหันมาให้ความสำคัญกับเทรนด์ ESG มากขึ้น โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม ทำให้ผู้ประกอบการพัฒนาที่อยู่อาศัยควรหันมาให้ความสำคัญ และดำเนินงานภายใต้กรอบ ESG อย่างครอบคลุม

อ่านต่อรายงานฉบับเต็มได้ที่... https://www.scbeic.com/th/detail/product/real-estate-survey-2024-090724


ผู้เขียนบทวิเคราะห์ :  เชษฐวัฒก์ ทรงประเสริฐ (This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.)
                            นักวิเคราะห์อาวุโส
                            ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (SCB EIC)

                            EIC Online : www.scbeic.com

                            Line : @scbeic

SCB WEALTH เดินหน้าจัดงานสัมมนา Exclusive Investment Talk ในหัวข้อ “รู้ทันเศรษฐกิจโลก จัดสรรความมั่งคั่งแบบมีเป้าหมาย” ให้แก่กลุ่มลูกค้า High Net Worth Individuals (HNWIs) โดยมองว่า มี5 ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการจัดพอร์ตลงทุนในครึ่งหลังปี 2567 เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มขยายตัวได้ดีในช่วงที่เหลือของปี 2567 อัตราเงินเฟ้อชะลอลง เศรษฐกิจยุโรป หลุดพ้นจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession)  ด้านเศรษฐกิจจีน มีแนวโน้มขยายตัวได้ตามเป้าที่ 5% ส่วนไทย ถูกปรับลดประมาณการ GDP ในปีนี้ลงอย่างต่อเนื่อง ตามการส่งออกและการใช้จ่ายภาครัฐฯ ที่ชะลอตัว  คาดเฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้งในปีนี้ ช่วงเดือน ก.ย. และ ธ.ค.รวม 50 bps. ด้านสินทรัพย์ลงทุน นับตั้งแต่ต้นปีจนถึง 31 พ.ค. 2567 ทองคำ ให้ผลตอบแทนสูงสุดที่ 12.8%   หุ้นสหรัฐฯ 10.6% น้ำมัน WTI และ ตลาดหุ้นประเทศพัฒนาแล้ว (ไม่รวมหุ้นสหรัฐฯ)  7.5% และหุ้นตลาดเกิดใหม่ 3.5%  การจัดพอร์ตหากรับความเสี่ยงได้ปานกลางถึงสูง แนะแบ่งเงิน 75-85% ไว้ในพอร์ตหลัก กระจายลงทุนในตราสารหนี้สหรัฐฯ ตลาดหุ้นที่มีพื้นฐานดี ทั้งในตลาดพัฒนาแล้ว และตลาดเกิดใหม่ รวมทั้งสินทรัพย์ทางเลือก เช่น REITs และทองคำ ส่วนอีก 15-25% แบ่งลงทุนในตลาดหุ้นที่เห็นโอกาสในการสร้างผลแทบแทนในช่วงเวลานั้น ได้แก่ ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ เวียดนาม จีน H-Share  ยุโรป และไทย  จากValuation ค่อนข้างถูก และคาดว่าอัตราการเติบโตของกำไรต่อหุ้นจะขยายตัวดีขึ้น 

นางสาวเกษรี อายุตตะกะ CFP® ผู้อำนวยการกลยุทธ์การลงทุน SCB CIO ธนาคารไทยพาณิชย์  เปิดเผยในงานสัมมนา  Exclusive Investment  Talk   ภายใต้หัวข้อ “รู้ทันเศรษฐกิจโลก จัดสรรความมั่งคั่ง แบบมีเป้าหมาย ” ที่จัดขึ้นให้แก่กลุ่มลูกค้า High Net Worth Individuals (HNWIs) ว่า  ปัจจัยที่ต้องติดตามในช่วงครึ่งหลังของปี 2567  มี 5 ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อพอร์ตลงทุน ได้แก่ 1)  ความเสี่ยงที่เศรษฐกิจโลกอาจขยายตัวในอัตราชะลอลงมากกว่าที่หลายฝ่ายคาด  2) ความไม่แน่นอนจากนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) 3) ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ – จีน 4) ความไม่แน่นอนจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐฯ และ 5) ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์  โดย  SCB CIO  มองว่า แนวโน้มเศรษฐกิจโลก เกือบทุกประเทศถูกปรับประมาณการดีขึ้น แต่ยังมีแนวโน้มเติบโตต่ำกว่าอดีต ขณะที่ปริมาณการค้าโลกมีแนวโน้มปรับลดลง จากความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะหากทรัมป์ชนะเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ แล้วนำไปสู่การขึ้นภาษีทุกสินค้านำเข้าจากจีนอย่างน้อย 60% และขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากทั่วโลกที่ 10% จะส่งผลกดดันโมเมนตัมการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก ผ่านการค้าและห่วงโซ่อุปทานโลกที่จะแย่ลง

ทั้งนี้ มองว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มขยายตัวได้ดีในช่วงที่เหลือของปี 2567 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อชะลอลง แต่ยังปรับลดลงค่อนข้างช้า ด้านตลาดแรงงานสหรัฐฯ  ยังคงแข็งแกร่ง ส่วนเศรษฐกิจยุโรป  ได้หลุดพ้นจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) และปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน ด้านเศรษฐกิจจีน มีแนวโน้มขยายตัวได้ตามเป้าที่ 5% โดยในระยะสั้นได้รับแรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นรอบใหม่ แต่ในระยะกลาง ยังถูกกดดันจากการชะลอตัวเชิงโครงสร้างของภาคอสังหาฯ และการกีดกันทางด้านการค้าที่รุนแรงมากขึ้น สำหรับเศรษฐกิจไทย ถูกนักเศรษฐศาสตร์ปรับลดประมาณการ GDP ในปีนี้ลงอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ต้นปี ตามการส่งออกสินค้าและการใช้จ่ายภาครัฐฯ ที่ชะลอตัว แม้ว่าจะมีแรงส่งจากการบริโภคภาคเอกชนและการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวก็ตาม  

ส่วนความไม่แน่นอนนโยบายการเงินของเฟด มีผลต่ออัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Bond Yield) สหรัฐฯ 10 ปี โดยก่อนหน้านี้ Bond Yield สหรัฐฯ อายุ 10 ปี ปรับตัวขึ้น แตะระดับสูงสุดนับจากต้นปี (YTD) ที่ 4.71% แต่หลังจากนายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด ส่งสัญญาณว่า ยังไม่จำเป็นต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ และความกังวลข้อพิพาททางการค้ากับจีน ทำให้ Bond Yield สหรัฐฯ อายุ 10 ปี ลดลง มาอยู่ที่ 4.34% แต่เมื่อตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ เช่น PMI และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคออกมาดี ขณะที่ สมาชิกเฟด ยังคงท่าทีระมัดระวังต่อการลดดอกเบี้ยนโยบาย และรายงานการประชุมฯ รอบล่าสุดที่ค่อนข้างมีมุมมองการใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัว  ทำให้นักลงทุนเกิดความกังวลว่า เฟดจะเลื่อนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยออกไปหรือไม่ ส่งผลให้ Bond Yield สหรัฐฯ 10 ปี ปรับขึ้นอีกครั้ง โดย ณ วันที่ 31 พ.ค. 2567 อยู่ที่ 4.50% อย่างไรก็ดี มองว่า เฟดมีแนวโน้มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้ง รวม 50 bps. ในปีนี้ ในช่วงเดือน ก.ย. และ ธ.ค. ขณะที่ตลาดคาดเฟดปรับลดดอกเบี้ยลง 2 ครั้งเช่นกัน ทำให้หากเฟดลดอัตราดอกเบี้ยน้อยหรือช้ากว่าที่ตลาดคาด จะส่งผลลบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนในตลาด เนื่องจาก ต้นทุนการระดมทุนของภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจจะยังอยู่ในระดับสูงต่อ และกระทบกับกำไรของบริษัทจดทะเบียนของสหรัฐฯ

ส่วนทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางอื่นๆ คาดว่า ธนาคารกลางยุโรปมีแนวโน้มปรับลดดอกเบี้ยในเดือน มิ.ย. (ล่าสุดเมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 2567 ธนาคารกลางยุโรป ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงครั้งแรกในรอบเกือบ 5 ปีตามคาดการณ์) เร็วกว่าธนาคารกลางส่วนใหญ่ที่คาดว่าจะเลื่อนการปรับลดดอกเบี้ยครั้งแรกออกไปเป็นไตรมาสที่ 3-4/2567  ในส่วนของไทย คาดว่า การลดดอกเบี้ยน่าจะเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวในช่วงไตรมาส 4/2567 ขณะที่ ประเทศที่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ได้แก่ ญี่ปุ่น ซึ่งได้ปรับขึ้นดอกเบี้ยไปแล้ว และมีแนวโน้มปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้ง ช่วงไตรมาส 3/2567 จากเงินเฟ้อที่เริ่มกลับมา และอินโดนีเซีย  ได้มีการปรับขึ้นดอกเบี้ยไปเมื่อเดือน เม.ย.จากเงินรูเปียห์ที่อ่อนค่ามาก

ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ - จีน ที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน เพิ่งประกาศปรับขึ้นภาษีสินค้านำเข้าบางรายกับจีน มูลค่าประมาณ 18,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ พุ่งเป้าที่สินค้าสำคัญทางยุทธศาสตร์ เช่น เซมิคอนดักเตอร์ แผงโซลาร์เซลล์ แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า รถยนต์ไฟฟ้า เหล็ก และ อลูมิเนียม   โดย SCB CIO คาดว่าผลลบโดยตรงที่เกิดกับจีนยังมีค่อนข้างจำกัด  เนื่องจากมูลค่าการส่งออกสินค้าเหล่านี้ คิดเป็น 0.1% ของ GDP จีน อีกทั้ง บริษัทจีนทยอยรับมือลดการพึ่งพาสหรัฐฯ ผ่านการปรับห่วงโซ่อุปทาน ปรับช่องทางการค้า และมีแนวโน้มกระจายความเสี่ยงทางการค้าอย่างต่อเนื่อง   

อย่างไรก็ตาม ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ - จีน มีแนวโน้มสูงขึ้นหลังจากนี้ จากประเด็นความไม่แน่นอนการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ   หากนายโดนัลด์ ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้งในเดือน พ.ย. 2567 อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างๆ ทำให้ความไม่แน่นอนด้านนโยบายระหว่างสหรัฐฯ – จีน ปรับเพิ่มขึ้น เนื่องจาก ทรัมป์ มีแผนจะปรับขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีนทุกรายการ อย่างน้อย 60% ซึ่งจะกระทบต่อจีน คิดเป็น 0.8% ของ GDP จีน ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงที่ทางการจีนจะยอมปล่อยให้เงินหยวนอ่อนค่าอย่างมีนัย เพื่อลดผลกระทบกำแพงภาษี

นอกจากนี้  ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ ล่าสุด คือ ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล-อิหร่าน ที่ก่อนหน้านี้อิหร่านตอบโต้อิสราเอลโดยตรงเป็นครั้งแรก ทำให้ทั่วโลกกังวลว่าจะนำไปสู่สงครามโลกครั้งใหม่ แต่สุดท้าย สถานการณ์ก็ไม่ได้รุนแรงอย่างที่กังวล เพียงแต่สงครามยังไม่จบ ขณะที่ สงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ยังคงยืดเยื้อ  ทั้งนี้ จากสถิติในอดีต ความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลาง จะกระทบต่อตลาดหุ้นโลกให้ปรับลดลงอย่างมากในกรณีที่ราคาพลังงานเพิ่มขึ้นมาก จนส่งผลกระทบไปยังอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ย โดยหากพิจารณาจาก ความขัดแย้งในตะวันออกกลางที่เกิดขึ้น ตั้งแต่ปี 2533 – 2567 พบว่า ตลาดหุ้นประเทศพัฒนาแล้วและตลาดเกิดใหม่ จะให้ผลตอบแทนเฉลี่ยติดลบเล็กน้อยในช่วง 1 สัปดาห์หลังสงคราม และเมื่อสงครามผ่านพ้นไปแล้ว หากสงครามอยู่ในวงจำกัด ตลาดหุ้นจะกลับมาให้ผลตอบแทนเฉลี่ยเป็นบวกได้ ในช่วงตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป ขณะที่ สินทรัพย์ปลอดภัย เช่น ทองคำ  พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ  และราคาน้ำมัน จะให้ผลตอบแทนเฉลี่ยเป็นบวก โดยเฉพาะในช่วงสั้นที่มีความกังวลบนความขัดแย้ง

น.ส.เกษรี กล่าวว่า เมื่อพิจารณา ผลตอบแทนรวมจากการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ นับตั้งแต่ต้นปีจนถึง 31 พ.ค. 2567 ทองคำ ให้ผลตอบแทนสูงที่สุด  อยู่ที่ 12.8%  ตามด้วย หุ้นสหรัฐฯ อยู่ที่ 10.6% น้ำมัน WTI และ ตลาดหุ้นประเทศพัฒนาแล้ว (ไม่รวมหุ้นสหรัฐฯ) อยู่ที่ 7.5% และหุ้นตลาดเกิดใหม่ อยู่ที่ 3.5%  อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาควบคู่กับสถิติในอดีต ไม่มีสินทรัพย์ประเภทใดให้ผลตอบแทนโดดเด่นติดต่อกันทุกปี โดยสามารถให้ผลตอบแทนติดลบหรือเป็นบวกได้ในบางปี ดังนั้น หากต้องการรับมือความเสี่ยงที่มีผลต่อการลงทุน เราแนะนำให้ผู้ลงทุนจัดสรรเงินลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลาย (Asset Allocation) ซึ่งจะช่วยให้มีโอกาสรับผลตอบแทนค่อนข้างสม่ำเสมอในระยะยาว  

สำหรับ การจัดพอร์ตโดยการกระจายความเสี่ยงในสินทรัพย์ที่หลากหลาย( Asset Allocation )ในกรณีรับความเสี่ยงได้ปานกลางถึงสูง ผู้ลงทุนสามารถจัดแบ่งเงินส่วนใหญ่ 75-85% ไว้ในพอร์ตหลักสำหรับการลงทุนระยะยาว (Core Portfolio) โดยควรมีการสำรองสภาพคล่อง พร้อมกระจายเงินลงทุนทั้งในตราสารหนี้ เพื่อสร้างกระแสเงินสดให้พอร์ตลงทุน เพราะจากสถิติในอดีตบ่งชี้ว่า ในช่วง 6 เดือน และ 12 เดือน หลังเฟด หยุดขึ้นดอกเบี้ย และหลังเฟด ลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรก ตราสารหนี้ของสหรัฐฯ ให้ผลตอบแทนรวมเป็นบวก รวมถึงลงทุนในตลาดหุ้นที่มีพื้นฐานดี มี Valuation ที่เหมาะสม ทั้งในตลาดพัฒนาแล้ว และตลาดเกิดใหม่ ลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก เช่น ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) รวมถึง สินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ทองคำ เพื่อกระจายความเสี่ยง ให้พอร์ตมีความมั่งคงและมีเสถียรภาพมากขึ้น

ขณะที่ เงินอีกส่วน 15-25% สามารถแบ่งไปลงทุนผ่าน พอร์ตเสริมโอกาส (Opportunistic Portfolio) ในตลาดหุ้นที่เห็นโอกาสในช่วงเวลานั้นได้ ซึ่งในปัจจุบัน SCB CIO มองเห็นโอกาสอยู่ใน 5 ตลาด ได้แก่ ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ตลาดหุ้นเวียดนาม ตลาดหุ้นจีน H-Share ตลาดหุ้นยุโรป และตลาดหุ้นไทย ที่ Valuation ค่อนข้างถูก ขณะที่ผลสำรวจนักวิเคราะห์ คาดการณ์อัตราการเติบโตของกำไรต่อหุ้น (EPS growth) ของตลาดหุ้นส่วนใหญ่ในปี 2567 จะขยายตัวดีขึ้น  


คำเตือน

  • การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
  • สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ SCB Call Center โทร. 02-777-7777

จีนพร้อมรับมือสงครามการค้าแนะCore port จับจังหวะลงทุนหุ้นสหรัฐ-จีน Ashare

บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์  จูเลียส แบร์ จำกัด (SCB Julius Baer) บริษัทร่วมทุนระหว่าง ธนาคารไทยพาณิชย์ และ จูเลียส แบร์ (Julius Baer) ประกาศแต่งตั้ง นายพีรพงศ์ จิระเสวีจินดา ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ จำกัด คนใหม่ มีผลตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน 2567

“บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์  จูเลียส แบร์ จำกัด” (SCB Julius Baer) บริษัทร่วมทุนระหว่าง “ธนาคารไทยพาณิชย์” ธนาคารพาณิชย์ไทยแห่งแรกของประเทศ และ “จูเลียส แบร์” (Julius Baer) ผู้นำธุรกิจบริหารความมั่งคั่งชั้นนำระดับโลกจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และหนึ่งในสี่ผู้ให้บริการธุรกิจไพรเวทแบงก์กิ้งรายใหญ่ของเอเชีย ประกาศแต่งตั้งนายพีรพงศ์ จิระเสวีจินดา ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ จำกัด คนใหม่ เพื่อนำทัพไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ สร้างการเติบโตให้กับธุรกิจบริหารความมั่งคั่งระดับสูงในประเทศไทย

นายพีรพงศ์มีประสบการณ์การทำงานด้านการเงินการลงทุนมากว่า 27 ปี ในสถาบันการเงินชั้นนำ ครอบคลุมด้านการบริหารความมั่งคั่งในผลิตภัณฑ์การลงทุนและทรัพย์สินหลากหลายประเภท การสร้างกลยุทธ์การลงทุนให้กับลูกค้า รวมถึงการวางแผนการดำเนินงานเพื่อสร้างโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจให้กับองค์กร

นอกจากนี้ นางสาวลลิตภัทร ธรณวิกรัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนปัจจุบัน จะดำรงตำแหน่งกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ จำกัด ซึ่งจะช่วยสนับสนุนประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ด้านนโยบายภาพกว้าง เพื่อความต่อเนื่องในการขับเคลื่อนแนวทางการทำงานและดำเนินธุรกิจขององค์กรต่อไป

ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ พร้อมนำความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์การวางแผนและบริหารความมั่งคั่ง ตลอดจนประสบการณ์ในการดูแลลูกค้าผู้มีความมั่งคั่งระดับสูงทั่วโลกกว่า 130 ปี ของจูเลียส แบร์ มาผสานเข้ากับจุดแข็งของธนาคารไทยพาณิชย์ ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ชั้นนำของประเทศ ที่มีความเข้าใจกลุ่มลูกค้าผู้มีความมั่งคั่งระดับสูงในประเทศไทยอย่างลึกซึ้ง มาใช้ในการดูแลเพื่อเพิ่มคุณค่าและขยายโอกาสในการลงทุนทั่วโลกแบบไร้พรมแดน ให้แก่ลูกค้าผู้มีความมั่งคั่งระดับสูงชาวไทยที่เติบโตขึ้นต่อเนื่อง

นายกฤษณ์ จันทโนทก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ และกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ จำกัด กล่าวว่า “เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในการประกาศแต่งตั้งนายพีรพงศ์ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ โดยนายพีรพงศ์ เป็นผู้บริหารที่คร่ำหวอดในแวดวงการเงินการลงทุนเป็นอย่างดี และมีประสบการณ์ในตลาดเงินตลาดทุนมานานกว่า 27 ปี ด้วยความรู้ความเชี่ยวชาญอย่างลึกซึ้งในอุตสาหกรรมกองทุนรวมระดับประเทศ ครอบคลุมทุกมิติของการบริหารจัดการความมั่งคั่ง เราเชื่อมั่นว่าภายใต้การนำทัพของนายพีรพงศ์จะสามารถขับเคลื่อนและสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจบริหารความมั่งคั่งระดับสูง (UHNWIs/ HNWIs) ของไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ และยังคงจุดยืนของการเป็นผู้นำบริหารความมั่งคั่งแบบครบวงจรที่แรกและที่เดียวในประเทศไทยที่สามารถดูแลและให้บริการแก่ลูกค้าแบบมืออาชีพที่ได้มาตรฐานระดับเวิลด์คลาส ตอกย้ำความมุ่งมั่นYour Legacy. Our Promise.” ของ ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ ผ่านการรักษาคุณค่าและช่วยให้ลูกค้าคนสำคัญสามารถวางแผนส่งต่อความมั่งคั่งได้อย่างยั่งยืน”

มร.จิมมี่ ลี (Jimmy Lee) ประธานประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ธนาคารจูเลียส แบร์ และกรรมการบริหาร จูเลียส แบร์ กรุ๊ป และกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ จำกัด เปิดเผยว่า “เราเชื่อมั่นว่าความเชี่ยวชาญด้านการเงินการลงทุนของนายพีรพงศ์ ผนวกกับประสบการณ์ด้านการบริหารความมั่งคั่งระดับสูงของนางสาวลลิตภัทร แสดงให้ถึงความมุ่งมั่นอันแน่วแน่ในการยกระดับบริการเวลธ์แมเนจเม้นท์ของเรา จากประสบการณ์ในการดูแลลูกค้าผู้มีความมั่งคั่งระดับสูงระดับสากลอันยาวนานผสานกับความก้าวหน้าทางนวัตกรรมที่ช่วยเสริมแกร่งศักยภาพของเราให้โดดเด่นเสมอมา นับเป็นข้อพิสูจน์ถึงคำมั่นสัญญาของ ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ ในการเสนอบริการและคำแนะนำที่เหนือระดับแก่ลูกค้า พร้อมช่วยให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่าเราจะยังคงยืนหยัดเป็นเสมือนสัญลักษณ์แห่งความไว้วางใจและความน่าเชื่อถือที่ลูกค้าสามารถเชื่อมั่นในศักยภาพท่ามกลางอุตสาหกรรมเวลธ์แมเนจเม้นท์ของเมืองไทยที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ตอกย้ำบทบาทผู้นำธุรกิจบริหารความมั่งคั่งระดับสูงอย่างแท้จริง” 

Page 1 of 7
X

Right Click

No right click