January 22, 2025

ไบแนนซ์ ทีเอช บาย กัลฟ์ ไบแนนซ์ (BINANCE TH by Gulf Binance) บริษัทร่วมทุนระหว่าง ไบแนนซ์ แคปปิตอล แมเนจเมนท์ จำกัด บริษัทภายในเครือของไบแนนซ์ แพลตฟอร์มที่มีปริมาณการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดในโลก และ บริษัท กัลฟ์ อินโนวา จำกัด พาส่องเทรนด์โลกสินทรัพย์ดิจิทัล โดยนายนิรันดร์ ฟูวัฒนานุกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กัลฟ์ ไบแนนซ์ จำกัด ในหัวข้อ ‘คว้าโอกาสในโลกบิทคอยน์ ไปทางไหน’ ในงาน The Secret Sauce Summit 2024 มุ่งเจาะลึก 3 สัญญาณการเติบโตของบิทคอยน์ ทั้งในกลุ่มนักลงทุนระดับย่อยและนักลงทุนสถาบัน พร้อมเผยเทคนิคการเลือกแพลตฟอร์มซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีความปลอดภัย เพื่อสร้างความมั่นใจในการลงทุนที่มีความผันผวนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

3 สัญญาณการเติบโตของบิทคอยน์

1. การยอมรับการใช้งานสินทรัพย์ดิจิทัล

เทรนด์การลงทุนในยุคปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อก่อน จากเดิมที่เป็นการลงทุนในสินทรัพย์ที่จับต้องได้ อาทิ อสังหาริมทรัพย์ ทองคำ กระเป๋า หรือนาฬิกา แต่ตอนนี้ผู้คนทั่วโลกหันมานิยมลงทุนใน ‘สินทรัพย์ดิจิทัล’ โดยเฉพาะ บิทคอยน์ มากยิ่งขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนผ่านมูลค่าตลาดของบิทคอยน์ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนแตะระดับสูงสุด

(All Time High - ATH) ที่ 73,750 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อบิทคอยน์ เมื่อวันที่ 14 มีนาคมที่ผ่านมา รวมถึงยังเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดสูงสุดติด 10 อันดับแรกของโลกอีกด้วย

ทั้งนี้ หากมองย้อนกลับไปช่วงที่มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี 2555 สมัยบารัก โอบามา ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีในขณะนั้น ต่อเนื่องมาจนถึงสมัยของ โจ ไบเดน ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าบิทคอยน์มีมูลค่าเพิ่มขึ้นในทุกๆ 4 ปี ช่วงเวลาเดียวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐฯ คนใหม่ ซึ่งสำหรับการเลือกตั้งในปีนี้เอง ยังคงต้องจับตาดูอีกครั้งว่าแนวโน้มมูลค่าของบิทคอยน์จะเป็นอย่างไรต่อไป

กราฟแสดงมูลค่าของบิทคอยน์ (ดอลลาร์สหรัฐ) ระหว่างปี 2554 ถึง กลางไตรมาสที่ 2 ปี 2567 โดย ChartsBTC

2. สินทรัพย์ดิจิทัลกับการใช้งานในชีวิตจริง

 

นาย นิรันดร์ ฟูวัฒนานุกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กัลฟ์ ไบแนนซ์ จำกัด แสดงเส้นทางการใช้งานบิทคอยน์ในชีวิตจริงนับตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา

บิทคอยน์ ถูกใช้งานจริงครั้งแรกในวันที่ 22 พฤษภาคม 2553 เพื่อใช้ซื้อพิซซ่า ซึ่งทำให้ทุกวันที่ 22 พฤษภาคมของทุกปี ได้ถูกเรียกว่าเป็น ‘Bitcoin Pizza Day’ เพื่อตอกย้ำให้เห็นว่าเราสามารถนำบิทคอยน์มาซื้อสินค้าในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งหลังจากนั้นปรากฎการณ์การยอมรับบิทคอยน์ได้มีให้เห็นมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการเปิดตัว Bitcoin ATM เครื่องแรกต่อสาธารณะ ในปี 2556 ณ ร้านกาแฟในเมืองแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา รวมถึงการที่หลากหลายแบรนด์ชั้นนำยอมรับให้ซื้อสินค้าด้วยบิทคอยน์ ไม่ว่าจะเป็น Microsoft Dell และ PayPal รวมถึงแบรนด์หรู อย่าง Hublot เป็นต้น นอกจากนี้ ในปี 2564 เอลซัลวาดอร์ ยังถือเป็นประเทศแรกที่ยอมรับบิทคอยน์เป็นสกุลเงินที่สามารถนำมาชำระหนี้ (Legal Tender) และใช้แทนเงินสดได้ถูกต้องตามกฎหมายอีกด้วย

ล่าสุดในปี 2567 บิทคอยน์ยังคงเดินหน้าสู่การยอมรับในวงกว้างมากขึ้น เห็นได้ชัดจากที่หลายประเทศ เริ่มเล็งเห็นบิทคอยน์เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อนโยบายเศรษฐกิจและสังคมของชาติ ยกตัวอย่างเช่น

· ฮ่องกง เป็นประเทศที่ทางรัฐบาลตั้งเป้าผลักดันให้เป็นประเทศ ‘ศูนย์กลางคริปโตเคอร์เรนซีแห่งเอเชีย’ เชื่อมต่อระหว่างโลกเกมเข้ากับบิทคอยน์ พร้อมชูให้เป็นหนึ่งในนโยบายเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ

· รัสเซีย ประกาศทดลองใช้บิทคอยน์เป็นสกุลเงินที่สามารถนำมาชำระหนี้ และใช้แทนเงินสดได้ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อประยุกต์ใช้ในระบบการเงินของประเทศ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2567 เป็นต้นไป

· สหภาพยุโรป เริ่มยอมรับการใช้บิทคอยน์ภายในประเทศสมาชิกทั้ง 28 ประเทศ โดยมีผลบังคับใช้กฎระเบียบ MiCA (Markets in Crypto-Assets Regulation) เพื่อรับประกันเสถียรภาพทางการเงินในกลุ่มประเทศสมาชิกทั้งในแง่ของการเป็นเจ้าของ การซื้อขาย และการนำเสนอบริการที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล

3. การมาถึงของ Spot Bitcoin ETFs สู่การยอมรับของนักลงทุนสถาบัน

 

นาย นิรันดร์ ฟูวัฒนานุกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กัลฟ์ ไบแนนซ์ จำกัด เผยให้เห็นรายชื่อกลุ่มนักลงทุนสถาบันที่สนใจเข้ามาสู่ตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล

นับตั้งแต่การเปิดตัว Spot Bitcoin ETFs เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบัน Spot Bitcoin ETFs ได้มีมูลค่าการทำธุรกรรมมากถึง 55 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และส่งผลให้ตอนนี้ การลงทุนในบิทคอยน์ ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะกลุ่มนักลงทุนรายย่อยเท่านั้น แต่ได้มีผู้เล่นกลุ่มนักลงทุนสถาบันสนใจเข้ามาสู่ตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นจำนวนมาก อาทิ Morgan Stanley JPMorgan Chase & Co CitiBank Goldman Sachs และ Wells Fargo เป็นต้น

เริ่มต้นลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัล แพลตฟอร์มแบบไหน ใช่ที่สุด

ในประเทศไทย มีแพลตฟอร์มซื้อขายแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลมากมายให้เลือกลงทุน ดังนั้น สิ่งที่สำคัญสำหรับการตัดสินใจว่าจะเลือกลงทุนในแพลตฟอร์มใด ผู้ลงทุนจึงควรต้องศึกษารายละเอียดและฟีเจอร์ที่ให้บริการอย่างรอบคอบ แพลตฟอร์ม BINANCE TH by Gulf Binance ที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีและการปฏิบัติตามกฎข้อบังคับในประเทศ ให้บริการลูกค้าตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน และรองรับการใช้งานให้แก่ผู้ใช้งานคนไทยโดยเฉพาะ โดยผู้ใช้สามารถมีอิสระในการซื้อ-ขายสินทรัพย์ดิจิทัล ด้วยการดำเนินงานที่รวดเร็ว สะดวก ค่าธรรมเนียมต่ำ อีกทั้ง ผู้เริ่มต้นลงทุนด้านสินทรัพย์ดิจิทัลรายใหม่ยังสามารถทำความเข้าใจ และใช้งานแพลตฟอร์มได้โดยง่าย ที่สำคัญแพลตฟอร์ม BINANCE TH by Gulf Binance ยังรองรับการลงทุนของคนทุกกลุ่มทั้งนักลงทุนนิติบุคคล และนักลงทุนต่างชาติในประเทศไทย เพื่อมอบประสบการณ์ด้านการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลแบบครบวงจร สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของบริษัทฯ ที่มุ่งหวังส่งเสริมความเท่าเทียมทางการเงินให้แก่ทุกคน

หมดปัญหาเศษเหรียญล้นพอร์ต! กัลฟ์ ไบแนนซ์ (Gulf Binance) ส่งฟีเจอร์ Small Convert มอบโอกาสให้นักลงทุนนำเศษสกุลเงินดิจิทัล (Crypto Dust) ที่เหลือจากการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลในพอร์ตโฟลิโอ มาแปลงเป็นเหรียญ Binance Coin (BNB) เพื่อเพิ่มมูลค่าสินทรัพย์ พร้อมต่อยอดการลงทุน โดยนักลงทุนทุกคนสามารถแลกเปลี่ยนเศษสกุลเงินดิจิทัลเป็นเหรียญ BNB บนแพลตฟอร์ม ไบแนนซ์ ทีเอช บาย กัลฟ์ ไบแนนซ์ (Binance TH by Gulf Binance) ได้แล้วตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

เศษสกุลเงินดิจิทัล (Crypto Dust) คืออะไร?

เศษสกุลเงินดิจิทัล หรือ Crypto Dust คือเศษเหรียญหรือโทเค็นจำนวนเล็กน้อยจากการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลที่หลงเหลืออยู่ในพอร์ตโฟลิโอของนักลงทุน โดยเศษเหรียญดังกล่าวมีมูลค่าไม่มากพอที่จะนำไปต่อยอดเพื่อทำธุรกรรมอื่นๆ หรือถือครองเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อการลงทุนได้

“ด้วยวิสัยทัศน์ของ กัลฟ์ ไบแนนซ์ ที่ต้องการเสริมประสิทธิภาพ รวมถึงสร้างความคุ้มค่าในการลงทุน เราจึงได้พัฒนาฟีเจอร์ Small Convert เพื่อให้ผู้ใช้งานแพลตฟอร์ม Binance TH by Gulf Binance ได้ถือครองเหรียญ BNB ซึ่งเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีมูลค่าตลาดมากที่สุด ผ่านการแลกเปลี่ยนเศษสกุลเงินดิจิทัลที่ตกค้างสะสมอยู่ในพอร์ตโฟลิโอ ซึ่งจะยิ่งเพิ่มโอกาสต่อยอดการลงทุนให้มากยิ่งขึ้น” นายนิรันดร์ ฟูวัฒนานุกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กัลฟ์ ไบแนนซ์ จำกัด กล่าว

 

ทำความรู้จัก BNB หรือ Binance Coin

เหรียญ BNB หรือ Binance Coin เป็นโทเค็นที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยไบแนนซ์ (Binance) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มซื้อขายแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยเหรียญดังกล่าวเปิดให้บริการครั้งแรกในปี 2017 บนเครือข่าย Ethereum ภายใต้มาตรฐาน ERC20 ที่ต่อมาภายหลังเหรียญ BNB ได้ถูกย้ายมาอยู่บนเครือข่าย Binance Chain ซึ่งเป็นเครือข่ายบล็อกเชนที่พัฒนาขึ้นโดยไบแนนซ์ และถือเป็นหนึ่งในระบบนิเวศในโลกคริปโตเคอร์เรนซีและเทคโนโลยีบล็อกเชนที่กว้างขวางและหลากหลายที่สุด โดย Binance Chain ทำหน้าที่ช่วยอำนวยความสะดวกและรองรับการทำธุรกรรมซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังเป็นเครือข่ายแบบกระจายอำนาจ ทำให้มีความปลอดภัยสูงและสามารถเชื่อถือได้

โดย ณ ปัจจุบัน เหรียญ BNB ถือเป็นเหรียญที่มีมูลค่าตลาดสูงเป็นอันดับที่ 4 รองจาก Bitcoin (BTC), Ethereum (ETH), และ Tether (USDT) ด้วยจุดเด่นด้านการใช้งานมากมาย เช่น ส่วนลดค่าธรรมเนียมแก่ผู้ใช้งานเมื่อใช้เหรียญ BNB ทำธุรกรรมบนแพลตฟอร์ม Binance TH by Gulf Binance นอกจากนี้ ประวัติการเติบโตที่แข็งแกร่งของเหรียญ BNB ในอดีตยังทำให้เหรียญ BNB เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลที่เหมาะแก่การลงทุนในระยะยาวบนพอร์ตโฟลิโออีกด้วย

 เปลี่ยนเศษสกุลเงินดิจิทัลสู่เหรียญ BNB ด้วยฟีเจอร์ Small Convert ใน 4 ขั้นตอน

ฟีเจอร์ Small Convert ถูกออกแบบมาเพื่อมอบโอกาสให้เหล่านักลงทุนนำเศษเหรียญที่เกิดจากการซื้อขายในพอร์ตโฟลิโอของตัวเองมาแลกเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีมูลค่าอย่างเหรียญ BNB โดยผู้ที่สนใจสามารถทำการแปลงเศษสกุลเงินดิจิทัลตามขั้นตอนง่ายๆ ได้ดังนี้

1. เข้าสู่ระบบและเลือกเมนูกระเป๋าเงินของฉัน (My Wallet) บนแพลตฟอร์ม Binance TH by Gulf Binance

2. เลือกโทเค็นสำหรับการแปลงเศษสกุลเงินดิจิทัล

3. ตรวจสอบรายละเอียดการแปลงเศษสกุลเงินดิจิทัล และคลิก “ยืนยัน” เพื่อดำเนินการทำธุรกรรมการแปลงสกุลเงินดิจิทัลให้เสร็จสมบูรณ์

4. ตรวจสอบประวัติการแปลงเศษสกุลเงินดิจิทัล สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ Binance TH by Gulf Binance X: Binance TH และ Facebook: Binance TH

ไบแนนซ์ (Binance) ผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีปริมาณการแลกเปลี่ยนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตอกย้ำความมุ่งมั่นในด้านการกำกับดูแลนโยบายต่อต้านการฟอกเงิน (AML) กับการประกาศความสำเร็จในการได้รับการจดทะเบียนเป็นหน่วยงานนิติบุคคลที่รายงานขึ้นตรงต่อหน่วยข่าวกรองทางการเงินของประเทศอินเดีย (FIU-IND) ซึ่งถือเป็นการบรรลุเป้าหมายด้านกฎระเบียบระดับโลก (global regulatory milestone) อีกครั้งของไบแนนซ์ และตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านการให้บริการสินทรัพย์ดิจิทัลระดับโลก

 

นายริชาร์ด เทงระธานเจ้าหน้าที่บริหารของไบแนนซ์ กล่าวถึงความก้าวหน้าในครั้งนี้ว่า “การจดทะเบียนระหว่างไบแนนซ์และหน่วยข่าวกรองทางการเงินของประเทศอินเดียถือเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ของเรา ซึ่งด้วยศักยภาพที่แข็งแกร่งของตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลในอินเดีย การที่เราได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่สามารถให้คำแนะนำในด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เหมาะสม จะทำให้เราสามารถส่งมอบการบริการที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานชาวอินเดียได้ ซึ่งการขยายขอบเขตการให้บริการของแพลตฟอร์มไบแนนซ์อันล้ำสมัยมายังอินเดียในครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสอันดีที่เราจะได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งเพื่อช่วยส่งเสริมการพัฒนาสินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศอินเดียต่อไป”

ทั้งนี้ จากรายงานดัชนีการเข้าถึงสินทรัพย์ดิจิทัลของทั่วโลกของ Chainalysis ในปี 2565 (Chainalysis’ 2023 Global Crypto Adoption Index) ได้เผยให้เห็นว่า ประเทศอินเดียถือเป็นผู้นำของโลกในด้านการยอมรับการใช้งานสินทรัพย์ดิจิทัล พร้อมทั้งยังติดกลุ่ม 5 อันดับแรกในด้านปริมาณการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลบนแพลตฟอร์มแบบรวมศูนย์และแบบกระจายศูนย์ แพลตฟอร์มการกู้ยืม สินทรัพย์คริปโต (Lending Protocols) และสัญญาอัจฉริยะของโทเค็น (Token Smart Contracts) ซึ่งทั้งหมดนี้ได้ย้ำให้เห็นถึงความตื่นตัวและศักยภาพอันยิ่งใหญ่ของตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศอินเดีย รวมถึงความสำคัญเชิงกลยุทธ์ที่ประเทศนี้จะมีต่อโลกการเงินในอนาคตอีกด้วย

ด้วยเหตุนี้ ไบแนนซ์ จึงได้นำโปรแกรมระดับโลกด้านการปฏิบัติตามตามกฏระเบียบข้อบังคับมาประยุกต์ใช้ โดยโปรแกรมดังกล่าว ครอบคลุมถึงนโยบายต่อต้านการฟอกเงินที่เข้มงวด และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินให้กับการก่อการร้าย (Combating the financing of terrorism - CFT) โดยไบแนนซ์หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการนำกรอบการทำงานนี้มาใช้ในประเทศอินเดีย จะสามารถช่วยยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัล รวมถึงแพลตฟอร์มซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศทั้งหมด พร้อมไปกับการเสริมยังช่วยสร้างความมั่นใจในด้านความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งานทุกคนอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม นอกเหนือความเข้มงวดด้านจากการกำกับดูแลตามนโยบายต่อต้านการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายแล้ว ยังมีองค์ประกอบอื่นๆ ของการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่ไบแนนซ์ให้ความสำคัญ อย่าง กระบวนการยืนยันตัวตน KYC และหน่วยงานการกำกับดูแลด้านอาชญากรรมทางการเงิน (FCC) ชั้นนำของอุตสาหกรรม ซึ่งทำหน้าที่ในการช่วยเหลือหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายในการสืบสวนอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล พร้อมร่วมพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถ เพื่อสร้างให้เกิดความปลอดภัยร่วมกันของระบบนิเวศ โดย นายริชาร์ด เทง ยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “ความมุ่งมั่นของเราในการปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเข้มงวดเป็นส่วนสำคัญของกลยุทธ์ทางธุรกิจของไบแนนซ์ เพราะเรามีเป้าหมายที่ต้องการสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย โปร่งใส และมีประสิทธิภาพให้เกิดขึ้นในอุตสาหกรรม”

เว็บไซต์และแอปพลิเคชันของ Binance พร้อมให้บริการอย่างเต็มรูปแบบสำหรับผู้ใช้ชาวอินเดียตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

ความผันผวนของตลาดการลงทุนที่เกิดขึ้นล่าสุดได้ส่งผลกระทบให้เห็นเป็นวงกว้างทั้งในแวดวงสินทรัพย์ดิจิทัลและตลาดหุ้น สะท้อนให้เห็นถึงความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าว เกิดขึ้นจากการประกาศรายงานการจ้างงานของสหรัฐอเมริกาที่แสดงให้เห็นถึงโอกาสที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย รวมถึงความตึงเครียดทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น สืบเนื่องต่อไปยังความผันผวนของวอลล์สตรีท (Wall Street) เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่นักลงทุนจำนวนมาก ต่างโยกย้ายเงินทุนออกจากสินทรัพย์ความเสี่ยงสูงอย่างสินทรัพย์ดิจิทัล  ซึ่งเมื่อมาผนวกกับการที่นักลงทุนได้รับผลตอบแทนลดลงจากการที่ปีนี้เป็นฤดูร้อนของคริปโต (Crypto Summer)  ที่ชะลอตัวมากที่สุดในประวัติศาสตร์ ยิ่งทำให้นักลงทุนต่างพิจารณามองหาสินทรัพย์ประเภทอื่นมากยิ่งขึ้น 

 อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางความผันผวนนี้ ยังมีแนวโน้มเชิงบวกเกิดขึ้นด้วยเช่นกัน โดยเมื่อสัปดาห์ก่อนที่ราคาสินทรัพย์ต่างๆ ในตลาดจะดิ่งลง เหล่าผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ได้มีการกล่าวถึงการสร้างคลังสำรองบิทคอยน์แห่งชาติ ที่ชี้ให้เห็นถึงการยอมรับสินทรัพย์ดิจิทัล รวมถึงการเล็งเห็นศักยภาพของบิตคอยน์ที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ลาร์รี ฟิงก์ (Larry Fink) ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอของ BlackRock บริษัทจัดการสินทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ยังได้ประกาศในรายการ CNBC ว่าเขามองบิทคอยน์เป็นตราสารทางการเงินที่ถูกต้องตามกฎหมายซึ่งนับเป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงความคิดครั้งสำคัญ เนื่องจากก่อนหน้านี้เขาย้ำให้สาธารณชนเห็นถึงความไม่เชื่อมั่นในบิทคอยน์ที่เขามี 

ทั้งนี้ เทรนด์การเติบโตของการยอมรับบิทคอยน์ในระดับสถาบันและกลุ่มการเมืองไม่ได้จำกัดอยู่แค่เฉพาะในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น เพราะเมื่อสี่เดือนที่แล้ว ประเทศเอลซัลวาดอร์ ที่ถือว่าเป็นประเทศแรกที่ยอมรับบิทคอยน์เป็นสกุลเงินที่สามารถนำมาชำระหนี้ (Legal Tender) และใช้แทนเงินสดได้ถูกต้องตามกฎหมาย ได้ดำเนินการโยกย้ายบิทคอยน์ส่วนใหญ่ไปเก็บรักษาแบบออฟไลน์หรือ “Cold Storage” ที่สามารถตรวจสอบได้โดยสาธารณะ จากข้อมูล วันที่ 29 กรกฎาคมที่ผ่านมา คลังของเอลซัลวาดอร์มีจำนวนบิทคอยน์ทั้งสิ้น 5,825 บิทคอยน์ หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 405 ล้านดอลลาร์ ซึ่งการเคลื่อนไหวในครั้งนี้ถือเป็นตัวอย่างอันดีเยี่ยมที่สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นในบิทคอยน์ว่าเป็นสินทรัพย์ที่มั่นคงและเป็นปัจจัยสำคัญเชิงกลยุทธ์ทางการเงินของประเทศ 

แต่อย่างไรก็ตาม สภาพตลาดในปัจจุบันก็ยังคงเผชิญหน้ากับความท้าทาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากความผันผวนของตลาดล่าสุด ซึ่งจะส่งผลให้แผนการจัดตั้งคลังสำรองยิ่งต้องทวีความซับซ้อนทั้งทางด้านกระบวนการทางกฎหมายและทางเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น 

เมื่อไม่นานมานี้ ไบแนนซ์ ทีเอช (Binance TH) ได้เผยกรอบการทำงาน CPT Framework (Capital, People, Technology) ที่ได้กำหนดขึ้นเพื่อใช้วิเคราะห์ปัจจัยเชิงโครงสร้างที่อาจส่งผลต่อพลวัตของตลาด ที่ชี้ให้เห็นว่าการจัดตั้งคลังสำรองบิทคอยน์เชิงกลยุทธ์จะส่งผลกระทบต่อทั้งสามปัจจัยของกรอบการทำงาน CPT (Capital, People, Technology) ที่จะส่งเสริมต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมคริปโตในระยะยาว 

การที่คลังสำรองบิทคอยน์แห่งชาติถูกพูดถึงถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญสำหรับสกุลเงินดิจิทัล เพราะยิ่งหน่วยงานรัฐบาลและสถาบันต่างๆ ตระหนักถึงศักยภาพของบิทคอยน์ ยิ่งถือเป็นการเพิ่มโอกาสที่เราจะได้เห็นการยอมรับและการผสานสินทรัพย์ดิจิทัลเข้ากับระบบการเงินโลกให้เป็นไปอย่างก้าวกระโดด เพื่อปูทางสู่การเดินหน้าไปยังอนาคตทางการเงินที่มีความครอบคลุมและก้าวหน้ายิ่งกว่าเดิม 

สุดท้ายนี้ ถึงแม้ว่าสภาพตลาดในปัจจุบันจะมีความผันผวน แต่แนวโน้มระยะยาวของบิทคอยน์และสกุลเงินดิจิทัลอื่นๆ ยังมีทิศทางที่ดีและน่าจับตามอง การผนึกกำลังระหว่างการสนับสนุนทางการเมือง การยอมรับระดับสถาบัน และปัจจัยทางเศรษฐกิจมหภาคสะท้อนให้เห็นถึงสัญญาณแห่งอนาคตที่เต็มไปด้วยความสดใสและความหวังของสินทรัพย์ดิจิทัลที่จะผลิบานต่อไป 

กัลฟ์ ไบแนนซ์ (Gulf Binance) บริษัทร่วมทุนระหว่าง ไบแนนซ์ แคปปิตอล  แมเนจเมนท์ จำกัด บริษัทภายในเครือของไบแนนซ์ แพลตฟอร์มที่มีปริมาณการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลที่มากที่สุดในโลก และ บริษัท กัลฟ์ อินโนวา จำกัด ผนึกกำลัง โรงเรียนนายร้อยตำรวจ อ.สามพราน จ.นครปฐม จัดเวิร์คช็อปมอบความรู้ให้กับนักเรียนนายร้อยตำรวจ เพื่อเตรียมรับมือกับอาชญากรรมไซเบอร์ พร้อมส่งเสริมการใช้งานบล็อกเชนเทคโนโลยี ผ่านโปรแกรมการฝึกอบรมด้านการบังคับใช้กฎหมาย  โดยมี นายยาเร็ก ยาคุบเช็ค (Jarek Jakubcek) หัวหน้าฝ่ายฝึกอบรมการบังคับใช้กฎหมายของไบแนนซ์ และ ดร.กร พูนศิริวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกลยุทธ์และผู้อำนวยการโครงการ Binance TH Academy (ไบแนนซ์ ทีเอช อะแคดิมี) บริษัท กัลฟ์ ไบแนนซ์ จำกัด ร่วมเป็นวิทยากร 

ในปัจจุบัน โลกของเราได้ก้าวเข้าสู่ยุคแห่งดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ  ผู้คนทั่วโลกต่างสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีต่างๆ ที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีทางด้านการสื่อสาร หรือแม้กระทั่งเทคโนโลยีด้านการลงทุน อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีจะเต็มไปด้วยข้อดีเนื่องจากสามารถช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้คนได้อย่างรอบด้าน แต่ก็ยังถือเป็นดาบสองคมที่สามารถสร้างความเสียหายให้กับผู้ใช้งานเทคโนโลยีได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของการถูกนักต้มตุ๋นหรือสแกมเมอร์ (Scammers) หลอกล่อให้เหยื่อทำธุรกรรมทั้งจากการเงินแบบดั้งเดิม หรือว่าสินทรัพย์ดิจิทัลก็ตาม 

ด้วยความมุ่งมั่นของ กัลฟ์ ไบแนนซ์ ด้านการเสริมสร้างระบบนิเวศสินทรัพย์ดิจิทัลที่ปลอดภัย เราจึงได้ร่วมมือกับโรงเรียนนายร้อยตำรวจ เพื่อจัดกิจกรรมฝึกอบรมด้านการต่อต้านอาชญากรรมไซเบอร์ขึ้น โดยเนื้อหาโปรแกรมการฝึกอบรมแบบมาตรฐานในหนึ่งวัน ประกอบด้วย การช่วยเหลือเชิงปฏิบัติการด้านการบังคับใช้กฎหมาย (Practical Assistance to Law Enforcement) บรรยายโดย นายยาเร็ก ยาคุบเช็ค (Jarek Jakubcek) หัวหน้าฝ่ายฝึกอบรมการบังคับใช้กฎหมายของไบแนนซ์ และการอบรมในหัวข้อเทคโนโลยีบล็อกเชนขั้นพื้นฐาน โดย ดร.กร พูนศิริวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกลยุทธ์และผู้อำนวยการโครงการ Binance TH Academy (ไบแนนซ์ ทีเอช อะแคดิมี) บริษัท กัลฟ์ ไบแนนซ์ จำกัด เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับการเติบโตของอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลที่เป็นไปอย่างรวดเร็วในประเทศไทย ตลอดจนส่งเสริมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย รู้เท่าทันมิจฉาชีพ และสามารถรับมือกับอาชญากรรมไซเบอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการฝึกอบรมในครั้งนี้ มีนักเรียนนายร้อยตำรวจชั้นปีที่ 1 ถึงชั้นปีที่ 4 ให้ความสนใจเข้าร่วมจำนวนกว่า 60 นาย 

ทั้งนี้ ในปี 2023 ไบแนนซ์ยังได้จัดเวิร์คช็อปและการฝึกอบรมกว่า 120 รายการ เพื่อมอบข่าวกรองที่สำคัญ มอบความรู้ และทักษะที่จำเป็นซึ่งเป็นรากฐานความสำเร็จของการสืบสวนและการบังคับใช้กฎหมายที่สำคัญให้กับนักต่อสู้กับอาชญากรรมทั่วโลก โดยการจัดฝึกอบรมในปีดังกล่าว เพิ่มขึ้นกว่าปีก่อนหน้าที่มีการจัดฝึกอบรม 50 รายการ หรือคิดเป็นอัตราที่สูงขึ้นกว่า 140% ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการยอมรับในสินทรัพย์ดิจิทัลที่ขยายวงกว้างมากขึ้น รวมถึงความตระหนักถึงความใส่ใจด้านความปลอดภัยของผู้บังคับใช้กฎหมายทั่วโลกด้วยเช่นกัน 

X

Right Click

No right click