September 19, 2024
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 7637

บลจ.อเบอร์ดีน (ประเทศไทย) มองการท่องเที่ยวและการบริโภคในประเทศหนุน GDP โตไม่ต่ำกว่า 2.7% พร้อมด้วยกำไรจากบริษัทจดทะเบียนที่โตต่อเนื่อง และการเข้าลงทุนของกองทุนวายุภักษ์ เป็นตัวขับเคลื่อนดัชนีหุ้นไทยมีโอกาสแตะ 1,500 จุดภายในปีนี้ ส่วนหุ้นสหรัฐฯ ยังน่าสนใจ ปัจจัยพื้นฐานและตัวเลขด้านเศรษฐกิจยังดี เชื่อตลาดผันผวนแค่ช่วงเลือกตั้ง

นางสาวดรุณรัตน์ ภิยโยดิลกชัย หัวหน้าฝ่ายการลงทุนตราสารทุน บลจ.อเบอร์ดีน (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า ทิศทางตลาดหุ้นไทยในช่วง 3-6 เดือน น่าจะมีโอกาสปรับตัวขึ้นไปที่ระดับ 1,500-1,530 จุด จากเดิมที่ประเมินไว้ช่วงต้นปีที่ 1,360-1,450 จุด โดยได้รับปัจจัยบวกจากการเติบโตของเศรษฐกิจ หรือ GDP ที่คาดการณ์จะเติบโตประมาณ 2.7% ในปีนี้ ขณะเดียวกันคาดการณ์กำไรบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยปีนี้จะพลิกกลับมาเป็นเติบโต และจะยังคงเติบโตต่อเนื่องในปีหน้า โดยคาดการณ์ EPS หรือกำไรต่อหุ้นปีนี้จะอยู่ที่ระดับประมาณ 90 บาทต่อหุ้น ขณะที่ระดับดัชนีปัจจุบัน สะท้อนถึงอัตราส่วน forward P/E ปีหน้า ที่ระดับต่ำกว่า 15 เท่า ประกอบกับทั้งความชัดเจนของการจัดตั้งรัฐบาลที่อาจส่งผลบวกต่อการเดินหน้านโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ และเม็ดเงินจากการเข้าลงทุนของกองทุนรวมวายุภักษ์ แม้ในช่วงครึ่งปีแรกการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยจะชะลอตัวไปบ้าง จากงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ล่าช้า ทำให้การลงทุนภาครัฐชะลอออกไป แต่ภาคการท่องเที่ยวถือเป็นแรงขับเคลื่อนหลักที่ผลักดันให้เศรษฐกิจไทยยังคงเติบโตตามเป้าหมาย  โดยจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้แตะที่ระดับประมาณ 23 ล้านคน และช่วงไตรมาสที่ 4 จะเข้าสู่ช่วงไฮซีซั่น จึงมีโอกาสทำให้ปริมาณนักท่องเที่ยวเป็นตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 36-37 ล้านคน ขณะที่ปัจจัยที่ต้องติดตาม คือ นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ที่จะทยอยออกมาภายใต้รัฐบาลนายกแพทองธาร ชินวัตร รวมไปถึงการลงทุนของภาครัฐ และเอกชน ทั้งนี้มองว่ากลุ่มท่องเที่ยว โรงพยาบาล รวมไปถึงกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคและ Consumer Finance จะมีโอกาสเติบโตในช่วงที่เหลือของปีนี้

ขณะที่นาย David Hanzl, Head of Wholesale – Asia Pacific จากอเบอร์ดีน กล่าวว่า ยังคงมีมุมมองบวกต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยเรามองว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเติบโตชะลอตัว แต่ยังไม่ถึงกับถดถอย ขณะที่อัตราว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้น และอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวลดลงตามลำดับ ทำให้ตลาดคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด อาจตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยได้ในอนาคต

ส่วนการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ อาจส่งผลกระทบให้ตลาดผันผวนในระยะสั้น แต่ควรมองไปที่ระยะกลางและระยะยาว รวมทั้งโฟกัสกับคุณภาพของบริษัท โดยยังมองเห็นโอกาสการเติบโตที่ดีในกลุ่ม Healthcare กลุ่ม Consumer Staples ส่วนกลุ่ม Technology แม้ราคาขึ้นไปสูงแล้วแต่พื้นฐานก็ยังเติบโตได้ดี ส่วนตลาดเอเชียก็ยังน่าสนใจ แม้ว่าจีนจะเผชิญกับความท้าทาย ทั้งปัจจัยภูมิรัฐศาตร์ และภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ยังคงชะลอตัว แต่มูลค่าหุ้นจีนยังอยู่ในระดับต่ำมาก อีก

ทั้งกำไรบริษัทจดทะเบียนในจีนส่วนใหญ่ยังคงเติบโตต่อเนื่อง ขณะที่ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค อย่างอินเดีย ญี่ปุ่น รวมไปถึงประเทศในอาเซียน ยังมีโอกาสเติบโตที่ดี และน่าจะได้อานิสงส์จากกรณีความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน สำหรับตราสารหนี้เรามองว่า Frontier Market ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจและจะสามารถสร้างผลตอบแทนที่สูงขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็มาพร้อมกับความเสี่ยงที่สูงตามไปด้วย

ดังนั้น ผู้ลงทุนควรกระจายการลงทุนและการจัดสรรสินทรัพย์ (Asset Allocation) ไปยังหลากหลายประเภทสินทรัพย์ ทั้งตราสารหนี้ หุ้น และสินทรัพย์ทางเลือก อีกทั้งครอบคลุมภูมิภาคทั้งตลาดพัฒนาแล้ว และตลาดเกิดใหม่ โดยอาจจัดพอร์ตการลงทุนแบบ Core & Satellite ซึ่งเป็นกลยุทธ์การลงทุนแบบยืดหยุ่นที่ผู้ลงทุนสามารถจัดพอร์ตให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การลงทุนระยะยาว และแสวงหาโอกาสในการลงทุนระยะสั้น อเบอร์ดีนแนะนำกระจายการลงทุนไปยังต่างประเทศทั้งกองทุนหุ้นและตราสารหนี้ที่ให้ผลตอบแทนที่สม่ำเสมอและมีโอกาสเติบโตต่อเนื่อง เช่น กองทุนเปิด อเบอร์ดีน โกลบอล ไดนามิค ดีวีเด็น (ABGDD - กองทุนมีความเสี่ยงระดับ 6) ที่เน้นลงทุนในหุ้นเติบโตและหุ้นคุณค่าทั่วโลกที่มีโอกาสการเติบโตสูง ผ่านกองทุนหลัก พร้อมทั้งลงทุนในบริษัทที่มีการจ่ายเงินปันผลอย่างต่อเนื่อง และมีโอกาสสร้างผลกำไรจากราคาหุ้น โดยที่ผ่านมากองทุนหลักมีอัตราการจ่ายปันผลอยู่ที่ประมาณ 6% ต่อปี

นอกจากนี้ยังแนะนำกองทุนอเบอร์ดีน โกลบอล เอนแฮนซ์ ฟิกซ์ อินคัม (ABGFIX - กองทุนมีความเสี่ยงระดับ 4) ที่กองทุนหลัก abrdn SICAV I Short Dated Enhanced Income Fund, Class Z Acc USD เน้นลงทุนในตราสารหนี้ที่มีเรตติ้งที่ดีมีคุณภาพ ความผันผวนต่ำ และมีสภาพคล่องสูง โดยมีการกระจายการลงทุนไปยังตราสารหนี้ทั่วโลก ครอบคลุมตลาดพัฒนาแล้วและตลาดเกิดใหม่ในหลากหลายอุตสาหกรรม  ขณะที่กองทุนหุ้นไทยที่แนะนำ ได้แก่ กองทุนเปิด อเบอร์ดีน สมอล-มิดแค็พ ( - กองทุนมีความเสี่ยงระดับ 6เน้นลงทุนหุ้นขนาดกลางและเล็กที่มีศักยภาพสูงพร้อมเติบโตเป็นบริษัทใหญ่ในอนาคต ซึ่งได้ประโยชน์จากการเติบโตเชิงโครงสร้างเศรษฐกิจในประเทศไทย เช่น กลุ่มท่องเที่ยว กลุ่มธุรกิจสุขภาพ และกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากเทรนด์ที่บริษัททั่วโลกย้ายฐานการผลิตออกจากจีนไปสู่ประเทศอื่น ๆ รวมไปถึงอาหารและเครื่องดื่มสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวน โทร. 02-352-3388 หรืออีเมล This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีต/ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต ข้อมูลข้างต้นเป็นเพียงการนำเสนอข้อคิดเห็น ซึ่งอาจแตกต่างจากเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นจริงได้และไม่ได้เป็นการแนะนำในการจัดพอร์ตการลงทุน น้ำหนักและธีมการลงทุนอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม การลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรก กองทุนรวมต่างประเทศมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน โดยปัจจุบันกองทุน ABGFIX ไม่ใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน

เหตุการณ์แบล็กมันเดย์ (Black Monday) กดดันตลาดหุ้นญี่ปุ่นและส่งผลกระทบบางส่วนต่อหุ้นเทคโนโลยีขนาดใหญ่ในสหรัฐฯ แนะเบรกการลงทุนและรอจังหวะใหม่เข้าสะสมหุ้นเทคโนโลยีขนาดใหญ่ที่อาจปรับฐาน พร้อมเพิ่มน้ำหนักตลาดหุ้นเอเชีย “เกาหลี – ไต้หวัน – เวียดนาม” รับแรงหนุนหุ้นเอไอมาแรงและพื้นฐานแกร่ง ส่วนทองคำและบิทคอยน์ มีลุ้นปัจจัยบวกธนาคารกลางสหรัฐฯ มีโอกาสปรับลดดอกเบี้ยในรอบถัดไป  

นายณพวีร์ พุกกะมาน นักลงทุนและผู้ก่อตั้ง Creative Investment Space (CIS) สถาบันให้ความรู้ด้านนวัตกรรมการลงทุนรูปแบบใหม่ เปิดเผยว่า เหตุการณ์แบล็กมันเดย์ หรือ Black Monday เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (5 ส.ค.67) เกิดขึ้นจากความวิตกกังวลที่เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาจะเกิดภาวะถดถอยอย่างรุนแรง จนอาจต้องปรับลดดอกเบี้ยนโยบายฉุกเฉิน ประกอบกับธนาคารกลางญี่ปุ่นประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยเมื่อสัปดาห์ก่อน ทำให้นักลงทุนเกิดความกังวลว่าต้นทุนในการกู้ยืมเงินเยนมาทำธุรกรรม หรือ Yen Carry Trade จะพุ่งสูงขึ้น จึงทำการเทขายสินทรัพย์ต่าง ๆ เพื่อถอนเงินเยน (Unwind Yen Carry Trade) จนเกิดเป็นวันที่ตลาดการเงินทั่วโลกผันผวนอย่างหนัก  

อย่างไรก็ดี ประเมินว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นจะส่งผลเพียงระยะสั้น และสถานการณ์ได้เริ่มคลี่คลายลงในบางสินทรัพย์แล้ว จึงมองเป็นโอกาสทยอยเข้าลงทุนในสินทรัพย์ที่ไม่ได้รับกระทบโดยตรงจากสองเหตุการณ์ดังกล่าวนี้ 

“ล่าสุด ธนาคารกลางญี่ปุ่นประกาศที่จะชะลอการขึ้นดอกเบี้ย เพื่อยับยั้งความผันผวนที่เกิดขึ้นจากการถอนเงินเยน ทำให้ความกังวลต่อสินทรัพย์อื่นลดลงและเงินเยนเริ่มกลับมาอ่อนค่า แต่ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ยังมีความไม่แน่นอนสูงว่าจะเกิดผลกระทบเชิงลบหลังจากนี้อีกหรือไม่ จึงควรชะลอการลงทุนในตลาดหุ้นญี่ปุ่นก่อน” 

ทั้งนี้ มองว่าตลาดหุ้นเอเชียอื่นยังมีความน่าสนใจต่อการลงทุนด้วยปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง โดยสามารถทยอยลงทุนได้ในตลาดหุ้นเกาหลี จากการที่บริษัทซัมซุงประกาศผลประกอบการไตรมาส ล่าสุด มียอดขายชิปที่เกี่ยวกับเอไอเติบโตก้าวกระโดด เป็นผลบวกต่อตลาดหุ้นเกาหลีที่ขับเคลื่อนด้วยบริษัทผลิตชิปเป็นหลัก เช่นเดียวกับตลาดหุ้นไต้หวัน ที่บริษัทไต้หวันเซมิคอนดักเตอร์รายงานงบไตรมาส ล่าสุด ออกมาดีกว่าด้วยโปรดักต์ด้านเอไอ ขณะที่ตลาดหุ้นเวียดนาม ยังมีความน่าสนใจในการเป็นฐานการผลิตลำดับที่สองของผู้ผลิตชิป รวมถึงเศรษฐกิจภายในประเทศที่เติบโต  

นอกจากนี้ ตลาดหุ้นจีน แม้จะมีความเสี่ยงจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ หากผลออกมาเป็นโดนัลด์ ทรัมป์ อาจมีนโยบายการค้าที่ส่งผลลบต่อภาคเศรษฐกิจจีน แต่อย่างไรก็ตามในแง่แวลูเอชั่นของตลาดหุ้นจีนและฮ่องกง ถือว่าอยู่ในระดับต่ำในรอบหลายปี จึงสามารถทยอยเข้าสะสมลงทุนในระยะยาวได้ 

นายณพวีร์ กล่าวว่า สินทรัพย์อื่นที่น่าสนใจหลังจากเหตุการณ์ Black Monday แม้ว่าจะมีโอกาสน้อยที่คณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางสหรัฐฯ จะประชุมฉุกเฉิน เพื่อลดดอกเบี้ยลงทันที 0.5% แต่คาดว่าหลังจากนี้ธนาคารกลางสหรัฐฯ น่าจะปรับลดดอกเบี้ยในอัตราต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลบวกต่อสินทรัพย์ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกับค่าเงินดอลลาร์โดยตรง ทั้งทองคำและบิทคอยน์ สำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงในการลงทุนได้สูงสามารถพิจารณาเพิ่มสองสินทรัพย์นี้ในพอร์ตลงทุนได้ 

สำหรับมุมมองต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ แม้จะมีการปรับฐานลงมาจากความกังวลที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย โดยมีเหตุผลสนับสนุนคือการที่ Berkshire Hathaway เพิ่มการถือครองเงินสดสูงเป็นประวัติการณ์ และมองการปรับฐานของหุ้นเทคโนโลยีขนาดใหญ่อาจยังไม่จบ เพราะมีความเสี่ยงที่นักลงทุนอาจจะทยอยขายทำกำไรต่อ จากราคาหุ้นที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง จึงมองว่าช่วงนี้เป็นจังหวะรอให้การปรับฐานจบลงและทยอยเข้าลงทุนระยะยาว เพราะในเชิงพื้นฐานการเติบโตของเอไอยังสามารถขยายตัวได้ในอีกหลายปีข้างหน้า แต่ช่วงสั้นราคาหุ้นขึ้นมาเร็วเกินไปเท่านั้น 

“นักลงทุนสามารถพิจารณาหุ้นเทคโนโลยีขนาดกลางที่เกี่ยวข้องกับเอไอได้ เพราะหุ้นในกลุ่มนี้ได้รับประโยชน์จากการเติบโตของเอไอและราคาหุ้นยังไม่ได้ขึ้นมาสูงมากนัก ไม่ว่าจะเป็นหุ้นในกลุ่มบริการซอฟท์แวร์ หุ้นกลุ่ม Cloud Computing และ IT Security หุ้นกลุ่ม Data Center รวมถึงพลังงานทดแทนที่จะนำมาใช้ในการประมวลผลเอไอ หุ้นในกลุ่มนี้มีรายได้ที่มาจากทั่วโลกไม่ใช่แค่ในสหรัฐฯ จึงสามารถที่จะหลีกเลี่ยงการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้” 

เมกะเทรนด์สำคัญของโลกที่กำลังเกิดขึ้นและจะเติบโตทะลุทะลวงไปแทบทุกวงการคือการประยุกต์ใช้ AI ของธุรกิจอุตสาหกรรมและภาครัฐ


ช่วงหลังวิกฤติเศรษฐกิจไทยปี 2540 ใหม่ๆ ตอนนั้นอินเทอร์เน็ตเพิ่งเป็นที่รู้จักไม่นาน ผู้นำธุรกิจเริ่มตั้งคำถามกับตัวเองว่า “องค์กรของเราควรจะมีเว็บไซต์เป็นของตัวเองดีหรือไม่?”

 

มันตอบยากในสมัยนั้น เพราะอินเทอร์เน็ตเพิ่งจะเริ่มต้น และคนยังประเมินความสำคัญของมันไม่ถูก ทว่า คำตอบที่ถูกคือ “ต้องมี”


ต่อมา ราวปี 2550 พวกเขาก็หันมาถามคำถามทำนองเดิมว่า “องค์กรของเราต้องเคลื่อนตัวเข้าไปใน Social Media ใช่หรือไม่?” คำตอบคือ “ใช่”


ปัจจุบันนี้ ธุรกิจส่วนมากใช้ Facebook, Instagram, TikTok, และ Linkedin เพื่อเข้าถึงและ engage ลูกค้า แม้กระทั่งองค์กรภาครัฐก็ใช้เครื่องมือเหล่านี้ในการปรับปรุงการให้บริการกับราษฎร และกิจการที่เป็นเจ้าของ Social Media เหล่านี้ก็กลายเป็นกิจการที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก กลายเป็นกิจการยักษ์ใหญ่ของโลก สร้างผลตอบแทนให้แก่ผู้ลงทุนในระยะแรกอย่างเกินคุ้มค่า

 

ณ ขณะนี้ คำถามแนวนี้กลับอีกครั้ง “องค์กรของเราต้องนำ AI มาประยุกต์ใช้ ใช่หรือไม่?” และคำตอบก็เหมือนเดิม คือ “ใช่” เพราะ AI จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ลดต้นทุน เพิ่มมาร์จิ้น และสร้างกำไรเพิ่ม ย่อมส่งผลต่อราคาหุ้นในที่สุด นั่นจึงเป็นโอกาสสำคัญของนักลงทุน ที่จะได้เข้าร่วมลงทุนกับเทรนด์นี้ตั้งแต่เนิ่นๆ AI จึงเป็น Investment Theme สำคัญที่ทีม MBA เราให้ความสำคัญ และจะนำเสนอบทวิเคราะห์ดีๆ เมื่อโอกาสมาถึง

 

ลำดับหุ้นที่จะได้ประโยชน์จาก AI

 

อันที่จริง เราได้ยินชื่อ AI หรือ Artificial Intelligence มานานแล้ว แต่มันยังเป็นเพียงแนวคิดแบบนามธรรม ไกลตัว และส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจว่ามันจะมีประโยชน์ต่อมนุษย์เรายังไงกันแน่ ทว่า หลังจาก Open AI เปิดตัว ChatGPT ทุกคนก็ถึงบางอ้อ มันทำให้เรารู้ว่า AI สามารถตอบคำถามเราได้ทุกคำตอบ ส่วนใหญ่เป็นคำตอบที่น่าพอใจ และมันยังเขียนโปรแกรมได้ ช่วยสร้างเว็บไซต์ได้ เขียนบทความง่ายๆ เขียนคำโฆษณา ดีไซด์โน่นนี่นั่น ช่วยวิเคราะห์งบการเงินและหุ้น หรือแม้กระทั่งแต่งบทกวี ที่สำคัญคือช่วยทำการบ้าให้นักเรียนนักศึกษาและเข้าสอบแทนแล้วทำคะแนนได้ดีมากอีกด้วย

 

 

เราพอจินตนาการได้แล้วว่า AI จะเป็นประโยชน์ต่อเรายังไง? เราสามารถให้มันช่วยเราตรงไหนได้บ้าง ที่สำคัญ คนธรรมดาอย่างเราก็ได้รู้แล้วว่าพวกเราสามารถเข้าถึง AI ได้ง่ายๆ โดยผ่านคอมพิวเตอร์แล็บท็อปหรือโทรศัพท์มือถือของเรา ไม่จำเพราะต้องเป็นกิจการใหญ่โตเท่านั้น

 

แล้วจู่ๆ ก็เกิดความเชื่อและพูดกันใหญ่โตกว้างขวางแพร่หลายไปอย่างรวดเร็วว่า AI จะมาเปลี่ยนโน่นเปลี่ยนนี่ เปลี่ยนวิถีชีวิตของเรา จนถึงขั้นจะเปลี่ยนโลกอย่างสำคัญ AI จะช่วยให้หุ่นยนต์ทำงานได้ใกล้เคียงกับมนุษย์ และจะมาแทนอาชีพหลายอาชีพ เช่นนักแปล โอเปอเรเตอร์ เสมียน คนงานในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น AI จะช่วยให้ผู้ป่วยอัมพฤษกลับมาเคลื่อนไหวและสื่อสารได้อีกครั้ง AI จะช่วยให้รถยนต์ขับไปเองได้โดยอัตโนมัติ AI จะช่วยให้ยานอวกาศที่ลงจอดบนดาวอังคารสามารถทำการสำรวจดวงดาวได้ทรงประสิทธิภาพมากขึ้น AI จะช่วยให้นักการเมืองบางคนชนะเลือกตั้ง และจะช่วยให้บางคนแพ้หมดรูป AI จะช่วยให้มือจักรกลสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตให้กับเกษตรกรได้โดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย หรือแม้กระทั่ง บรรดาแก๊งคอลเซ็นเตอร์จะต้องหันมาใช้ AI ให้ช่วยคัดเลือกและโทรไปหาเป้าหมายได้มากขึ้นและแม่นยำขึ้นในแต่ละวัน ฯลฯ

 

 

AI กลายเป็นสิ่งฮ็อตฮิต! เพียง 5 วัน ChatGPT มี subscriber ถึงล้านคน และทะลุ 100 ล้านคนภายใน 2 เดือน หุ้นของกิจการที่เกี่ยวข้องกับ AI พุ่งขึ้นอย่างเป็นประวัติการณ์ นับแต่ต้นปี เช่น Nvidia 199%, C3.ai 203%, Symbotic 290% เป็นต้น ยังไม่นับ Tesla, Amazon, Uber, Meta, Google, และ Microsoft

 

รูปแบบของการนำเอา AI ไปใช้กับธุรกิจ คงเดินตามกฎเกณฑ์ของ Technology Adoption ที่เคยเป็นมาในอดีตนั่นเอง คือเริ่มจากกิจการกลุ่มที่ผลิตฮาร์แวร์จะได้ประโยชน์ก่อน เช่น ไมโครโปรเซสเซอชิพ เซ็นเซอร์พิเศษ กล้อง CV หน่วยความจำ และส่วนประกอบที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วและแรงขึ้นเพื่อประมวลผลสำหรับซอฟท์แวร์ AI ฯลฯ แล้วค่อยเป็นกิจการซอฟท์แวร์ที่เป็นเจ้าของชุดข้อมูลจำนวนมาก เพื่อให้ AI ได้ฝึกฝนตนเอง แล้วสร้างซอฟท์แวร์ขายหรือให้เช่าผ่านบริการสมาชิก หรือใช้ AI ให้สร้างประสิทธิภาพกับบริการใหม่ของตน เช่น Microsoft, Uber, Tesla, Google, Meta, Adobe, Saleforce.com, Amazon.com ซึ่งราคาหุ้นของกิจการเหล่านี้ได้เขยิบขึ้นไปแล้วจากผลของ

 

AI ฉากต่อไปที่เรากำลังจะได้เห็นคือ AI จะเข้าไปสู่ธุรกิจทั่วไปแทบ “ทุกชนิด” และ “ทุกหนทุกแห่ง”

 

กิจการด้านบริการอาจจะ adopt เอา AI ไปใช้ได้ง่ายกว่าและใช้ก่อนกิจการด้านการผลิต แนวโน้มน่าจะเริ่มจากกิจการที่เกี่ยวข้องกับ การตลาดและการโฆษณา แล้วก็บริษัทเทคโนโลยีต่างๆ ต่อมาเป็นกิจการที่ปรึกษาธุรกิจ และโรงเรียนมหาวิทยาลัยหรือองค์กรที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน แล้วก็ถึงคราวอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่อย่างสถาบันการเงิน และเฮลท์แคร์ ฯลฯ (เพราะสถาบันการเงินและโรงพยาบาลหรือบริการสุขภาพทั้งหลาย ถูกควบคุมด้วยกฏระเบียบเข้มข้น จึงอาจจะทอดเวลาออกไปบ้าง เหมือนกับคราวที่พวกเขา Adopt บริการออนไลน์ต่างๆ หลังอุตสาหกรรมอื่นๆ ในรอบที่ผ่านมา) 

 

รอบหลังนี้คือของจริง !

 

ซอฟท์แวร์ AI สามารถประยุกต์ใช้ได้กับการทำงานขององค์กรทุกประเภทและทั่วโลก PwC คำนวณว่า AI จะเป็นตัวเพิ่มให้ GDP ของโลกเพิ่มขึ้นอีก 15 ล้านล้านเหรียญฯ ในปี 2030  Arvind Krishna ผู้นำสูงสุดของ IBM ประเมินว่า AI จะมาแทนงานออฟฟิสถึง 30% ใน 5 ปีข้างหน้านี้ และ IBM กำลังนำ AI มาใช้กับงานทุกประเภทในองค์กร (adopt AI across the board) ซึ่งเขาเชื่อว่ามันจะช่วยให้ IBM ประหยัดได้ถึง 780 ล้านเหรียญฯ ต่อปี Procter & Gamble ก็ใช้ AI ให้ช่วยคิดสูตรและส่วนผสมของสบู่ เพื่อย่นระยะเวลาพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ให้สั้นลง

 

กิจการแบบเราท่านทั่วไปก็เช่นเดียวกัน สามารถนำ AI มาใช้ได้ โดยหวังว่ามันจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับกิจการ แน่นอน ว่ามันจะช่วยให้งานเสร็จเร็วขึ้น และมันจะทำงานให้เราได้ตลอดเวลาอย่างไม่เหน็ดเหนื่อย ไม่จำเป็นต้องไปพัก ไปยืดเส้นยืดสาย ไปกินข้าว ฯลฯ ส่งผลให้ต้นทุนต่ำลง และสำคัญที่สุดคือ มันจะทำงานได้ถูกต้องแม่นยำกว่ามนุษย์

 โปรดติดตามบทวิเคราะห์เชิงเจาะลึกหุ้น AI จากเรา ในโอกาสต่อไป

 

 บทความ : ทักษ์ศิล  ฉัตรแก้ว / Editor MBA magazine

28/09/2023

 

 

นายณรงค์ศักดิ์  ปลอดมีชัย  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด  เปิดเผยว่า บริษัทฯ เตรียมจ่ายเงินปันผลพร้อมกัน 5 กองทุน  ประกอบด้วย กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นระยะยาว ซีเล็คท์ (ชนิดจ่ายเเงินปั) (SCBLTSED) กองทุนเปิดไทยพาณิชย์เพิ่มผลมั่นคง(ชนิดจ่ายเงินปันผล) (SCBPMO) ซึ่งเป็นกองทุนที่ลงทุนในตลาดหุ้นในประเทศ ซึ่งจะจ่ายให้กับผู้ถือหน่วยในวันที่ 18 ตุลาคม 2561 นอกจากนี้ยังมีกองทุนเปิดไทยพาณิชย์ โกลบอล พร็อพเพอร์ตี้ (SCBGPROP) กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นญี่ปุ่น (ชนิดจ่ายเงินปันผล) (SCBNK225D) และกองทุนเปิดไทยพาณิชย์ หุ้น LOW VOLATILITY (ชนิดจ่ายเงินปันผล) (SCBLEQ) โดยจะจ่ายในวันที่ 22 ตุลาคม 2561 นี้  รวมมูลค่ากว่า 33 ล้านบาท

โดยกองทุน SCBLTSED จะจ่ายปันผลในอัตรา 0.1000 บาทต่อหน่วย สำหรับผลการดำเนินงานระหว่างวันที่ 24 เมษายน 2561 - วันที่ 30 กันยายน 2561 เป็นการจ่ายปันผลครั้งแรก นับจากจัดตั้งกองทุนเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2561  ซึ่งกองทุนนี้เป็นกองทุนที่บริหารโดยทีมผู้จัดการกองทุนหุ้นไทยที่มีประสบการณ์ยาวนาน มีกองทุนภายใต้การบริหารที่ได้รับการจัดอันดับมอร์นิ่งสตาร์ 5 ดาว และ 4 ดาว เน้นสร้างผลตอบแทนเหนือตลาดอย่างสม่ำเสมอ ไม่มีข้อจำกัดการลงทุน  มีการใช้กลยุทธ์ที่ผสมผสานหลากหลายโมเดลการลงทุนให้เหมาะสมตามสภาวะตลาดในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งในแต่ละโมเดลการลงทุนมีการคัดเลือกหุ้นที่ผู้จัดการกองทุนมีความเชื่อมั่นว่ามีโอกาสสร้างผลตอบแทนให้กับพอร์ตการลงทุนได้สูงที่สุด โดยมีผลการดำเนินงานย้อนหลัง 3 เดือน อยู่ที่ 5.26% (ข้อมูล ณ วันที่ 8 ตุลาคม 2561)

กองทุน SCBPMO จะจ่ายปันผลในอัตรา 0.6300 บาทต่อหน่วย สำหรับผลการดำเนินงานระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2560 - วันที่ 30 กันยายน 2561 นับเป็นครั้งที่ 5 รวมจ่ายปันผล 3.6200 บาทต่อหน่วย (นับจากจัดตั้งกองทุนเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2541) มีนโยบายการลงทุนเน้นการลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีปัจจัยพื้นฐานดี และมีแนวโน้มที่จะเจริญเติบโตยิ่งขึ้นในอนาคต โดยมี net exposure ในตราสารดังกล่าว โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวม โดยมีผลการดำเนินงานย้อนหลัง 1 ปีอยู่ที่ 4.00%  (ข้อมูล ณ วันที่ 8 ตุลาคม 2561)

สำหรับกองทุน SCBGPROP จะจ่ายปันผลสำหรับผลการดำเนินระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2560 - วันที่ 30 กันยายน 2561 ในอัตรา 0.2396 บาทต่อหน่วย มีการจ่ายปันผลระหว่างกาลเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2561 ไปแล้ว 0.1556 บาทต่อหน่วย เหลือจ่ายงวดนี้ 0.0840 บาทต่อหน่วย นับเป็นครั้งที่ 4 รวมจ่ายปันผล 0.4896 บาทต่อหน่วย (นับจากจัดตั้งกองทุนเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2559) โดยมีผลการดำเนินงานย้อนหลัง 1 ปีอยู่ที่ 0.54%  (ข้อมูล ณ วันที่ 8 ตุลาคม 2561) มีนโยบายลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน BGF WORLD REAL ESTATE SECURITIES FUND ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (USD) เฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80  ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ซึ่งมีนโยบายเน้นบริหารเพื่อสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนใน REIT ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หรือหลักทรัพย์ของบริษัทที่ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทั่วโลก ภายใต้การบริหารจัดการของ BlackRock Investment Management (UK) Limited  ทั้งนี้กองทุนหลักเน้นลงทุนใน REITs และหุ้นของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งส่งผลให้กองทุนมีความผันผวนต่ำกว่ากองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพียงอย่างเดียว โดยกระจายการลงทุนไปยังหลากหลายกลุ่มธุรกิจ เช่น ที่พักอาศัย สำนักงาน โรงแรม และอาคารพาณิชย์ เป็นต้น อีกทั้งยังมีการกระจายลงทุนในภูมิภาคต่าง ๆ มากกว่า 10 ประเทศทั่วโลก

ส่วนกองทุน SCBNK225จะจ่ายปันผลสำหรับผลการดำเนินระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2560 - วันที่ 30 กันยายน 2561 ในอัตรา 0.3843 บาทต่อหน่วย มีการจ่ายปันผลระหว่างกาลเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2561 ไปแล้ว 0.3033 บาทต่อหน่วย เหลือจ่ายงวดนี้ 0.0810 บาทต่อหน่วย นับเป็นครั้งที่ 8 รวมจ่ายปันผล 2.7713 บาทต่อหน่วย (นับจากจัดตั้งกองทุนเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2556) โดยมีผลการดำเนินงานย้อนหลัง 1 ปีอยู่ที่ 15.81% (ข้อมูล ณ วันที่ 8 ตุลาคม 2561) มีนโยบายการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน Nikkei 225 Exchange Traded Fund (กองทุนหลัก) เฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน บริหารงานโดย Nomura Asset Management Co.,Ltd. จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และลงทุนในสกุลเงินเยน (JPY) มีนโยบายเน้นลงทุนในตราสารทุนทั้งหมดที่เป็นส่วนประกอบของดัชนีนิคเคอิ 225 และตราสารทุนที่กำลังจะมาเป็นส่วนประกอบของดัชนีนิคเคอิ 225 ในสัดส่วนการลงทุนเดียวกับจำนวนหุ้นในดัชนีนิคเคอิ 225 (Nikkei 225 Index หรือ Nikkei Stock Average)

และกองสุดท้ายกองทุน SCBLEQ จะจ่ายในอัตรา 0.1736 บาทต่อหน่วย สำหรับผลการดำเนินงานระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2561 - วันที่ 30 กันยายน 2561 นับเป็นครั้งที่ 5 รวมจ่ายปันผล 0.8338 บาทต่อหน่วย (นับจากจัดตั้งกองทุนเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2559)  โดยมีผลการดำเนินงาน ย้อนหลัง 1 ปีอยู่ที่ 8.41% (ข้อมูล ณ วันที่ 8 ตุลาคม 2561)  มีนโยบายลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน  Low Volatility Equity Portfolio ชนิดหน่วยลงทุน (Share Class) I   สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD) บริหารโดย AllianceBernstein L.P  เฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ซึ่งกองทุนหลักลงทุนในตราสารทุนที่โดยพื้นฐานมีความผันผวนคาดการณ์และความเสี่ยงขาลงคาดการณ์ที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดโดยรวม ซึ่งจัดการกองทุนจะคัดเลือกหลักทรัพย์เข้าพอร์ตการลงทุนโดยการใช้แบบจำลองเพื่อคำนวณค่าความเสี่ยงและผลตอบแทนของหลักทรัพย์ รวมถึงใช้หลักการวิเคราะห์ และประสบการณ์ด้านการลงทุนที่ยาวนาน เพื่อให้ได้มาซึ่งพอร์ตการลงทุนที่ประกอบไปด้วยหลักทรัพย์ที่มีความผันผวนต่ำที่สุด ในขณะที่มีคุณภาพด้านปัจจัยพื้นฐานดีที่สุด โดยจะเน้นลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทที่อยู่ในตลาดที่พัฒนาแล้วเป็นหลัก

สำหรับหลายคนการลงทุนเป็นเรื่องเข้าใจยาก ต้องอ่านข้อมูลที่ไม่เข้าใจมากมาย คิดว่ามีเงินไม่มากพอจึงไม่กล้าลงทุน ขณะที่บริการให้คำปรึกษาและแนะนำการลงทุนแบบครบวงจรก็มักจะให้บริการกับกลุ่มผู้ลงทุนที่มีเงินลงทุนจำนวนมาก การทำให้เรื่องการลงทุนเป็นเรื่องง่ายสำหรับคนทั่วไปจึงเป็นหนึ่งในภารกิจที่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ให้ความสำคัญ

โดย ก.ล.ต. ร่วมกับพันธมิตรภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ประกอบธุรกิจในตลาดทุน เปิดโครงการ “5 ขั้นมั่นใจลงทุน” สร้างประสบการณ์ใหม่ของการแนะนำการลงทุนอย่างครบวงจร ผ่านบริการออกแบบการลงทุน 5 ขั้นตอน มุ่งให้ประชาชนได้รับการดูแลการลงทุนที่ครบวงจร ตอบโจทย์ความมั่นคงทางการเงินในระยะยาว

รพี สุจริตกุล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า ประชาชนทั่วไปมักประสบปัญหาในการลงทุน เนื่องจากได้รับข้อมูลมากมาย แต่ไม่สามารถวิเคราะห์และเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์การลงทุนที่มีอยู่หลากหลายได้ หรือได้รับคำแนะนำให้ซื้อผลิตภัณฑ์เป็นรายตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์ที่ผู้ขายได้รับค่าตอบแทนการขายสูงหรือต้องการเพิ่มยอดขาย รวมทั้งขาดผู้ติดตามดูแลการลงทุนให้หลังจากที่ได้ลงทุนไปแล้ว จึงทำให้คนทั่วไปไม่สามารถใช้ตลาดทุนเพื่อสร้างอิสรภาพทางการเงินได้

 “โครงการ 5 ขั้นมั่นใจลงทุน” เกิดจากความตั้งใจของ ก.ล.ต. ร่วมกับพันธมิตรภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ประกอบธุรกิจในตลาดทุน ประกอบกับพัฒนาการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเงินในปัจจุบัน มีส่วนสำคัญที่ทำให้การให้บริการดูแลการลงทุนที่ครบวงจรเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยต้นทุนที่ต่ำ ตั้งแต่ (1) การสำรวจและทำความเข้าใจลูกค้า (2) การกำหนดแผนจัดสรรการลงทุน (asset allocation) (3) การแนะนำการลงทุนแบบองค์รวม (4) การติดตามและปรับปรุงการลงทุน และ (5) การรายงานภาพรวมการลงทุนของลูกค้า  จึงทำให้ผู้รับบริการมีความพร้อมในการจัดการบริหารทรัพย์สินของตนเองเพื่อสร้างอิสรภาพทางการเงิน

 ปัจจุบันมีผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. แล้ว  26 ราย โดยมี 20 รายที่เปิดให้บริการแล้วและ อีก 6 รายอยู่ระหว่างทยอยเปิดดำเนินการ และคาดว่าจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นอีกตามลำดับ โดยผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับความเห็นชอบจะสามารถให้บริการออกแบบการลงทุนทั้ง 5 ขั้นตอนได้ ภายใต้ขอบเขตธุรกิจที่ได้รับอนุญาตของตน ทั้งนี้ ผู้ประกอบธุรกิจรายอื่น ๆ ที่สนใจสามารถยื่นขอรับความเห็นชอบต่อ ก.ล.ต. ได้ โดย ก.ล.ต. จะพิจารณาคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

สำหรับผู้ที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่ www.5ขั้นมั่นใจลงทุน.com และเฟซบุ๊คเพจ 5 ขั้นมั่นใจลงทุน  

รายชื่อผู้ประกอบธุรกิจ 26 ราย ที่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้ออกแบบการลงทุนได้รับอนุญาตแล้ว ได้แก่

  1. กลุ่มบริษัทหลักทรัพย์ จำนวน 7 ราย ได้แก่

  • บล. เคทีบี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) : KTBST
  • บล. กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) : KS
  • บล. ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด : DBSV
  • บล. ธนชาต จำกัด (มหาชน) : TNS
  • บล. บัวหลวง จำกัด (มหาชน) : BLS
  • บล. ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) : Phillip
  • บล. หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด : YUANTA
  1. กลุ่มบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน จำนวน 7 ราย ได้แก่

  • บลจ. กรุงไทย จำกัด (มหาชน) : KTAM*
  • บลจ. กรุงศรี จำกัด : KSAM*
  • บลจ. กสิกรไทย จำกัด : KASSET
  • บลจ. ทหารไทย จำกัด : TMBAM
  • บลจ. ไทยพาณิชย์ จำกัด : SCBAM
  • บลจ. เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ จำกัด : MPAM
  • บลจ. ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด : UOBAM*
  1. กลุ่มธนาคารพาณิชย์ จำนวน 6 ราย ได้แก่

    • ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) : BBL
    • ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) : KTB*
    • ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) KBANK
    • ธนาคารซิตี้แบงก์ สาขากรุงเทพฯ : Citibank*
    • ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) : TMB*
    • ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) : SCB
  2. กลุ่มบริษัทประกันชีวิต จำนวน 2 ราย ได้แก่

    • บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
    • บริษัท เอไอเอ จำกัด
  1. กลุ่มฟินเทคสตาร์ทอัพ (4 ราย) ได้แก่

    • บลน. ฟินโนมีนา จำกัด : Finomena
    • บลป. เทรเชอริสต์ จำกัด : Treasurist*
    • บลน. โรโบเวลธ์ จำกัด : Robowealth
    • บลน. เว็ลธ์ เมจิก จำกัด : WealthMagik
หมายเหตุ : *ผู้ประกอบธุรกิจที่อยู่ระหว่างจะทยอยเปิดให้บริการ

 

Page 1 of 3
X

Right Click

No right click