November 18, 2024

‘ทรัพย์สินกงสี’ ทรัพย์สินที่ได้รับการจัดสรรให้มาอยู่ในกองกลางของครอบครัวที่สั่งสมมาหลายชั่วอายุคนและต้องการส่งต่อให้ลูกหลานในรุ่นต่อๆ ไป อย่างไรก็ดี ในปัจจุบัน การรักษาความมั่งคั่งของทรัพย์สินกงสีให้ยั่งยืนนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะเมื่อต้องเผชิญกับกฎหมายและภาษีที่ซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น การเตรียมพร้อมและวางแผนภาษีสำหรับทรัพย์สินกงสีจึงเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้ทรัพย์สินกงสีเติบโตได้อย่างมั่นคงและส่งต่อให้คนรุ่นหลังได้อย่างราบรื่น

ทำความรู้จัก ‘ทรัพย์สินกงสี’

ทรัพย์สินมีหลายรูปแบบ แตกต่างกันตามที่มาและแหล่งรายได้ ซึ่งทรัพย์สินของครอบครัวที่ถูกเรียกว่า ทรัพย์สินกงสี นั้น หมายถึงทรัพย์สินส่วนกลางของครอบครัว ที่อาจถือครองโดยสมาชิกในตระกูลร่วมกัน หรือมอบหมายให้คนใดคนหนึ่งที่ครอบครัวไว้ใจถือครอง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้สมาชิกครอบครัวได้รับผลประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน ทรัพย์สินกงสีมักประกอบด้วยทรัพย์สินหลายประเภท เช่น บัญชีเงินฝาก พอร์ตการลงทุน และอสังหาริมทรัพย์ (ทั้งที่ใช่และไม่ใช่ในธุรกิจครอบครัว) เป็นต้น ลักษณะการถือครองที่พบบ่อยคือ การถือครองทรัพย์สินร่วมกันของสมาชิกครอบครัว เช่น การใส่ชื่อร่วมกันระหว่างพ่อแม่กับลูก หรือพี่น้อง โดยมองว่าเป็นการเสริมความมั่นคงให้แก่ทรัพย์สินกงสี และทำให้สมาชิกครอบครัวมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินกงสีอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งเป็นแนวทางที่จะช่วยรักษาความเป็นเจ้าของให้อยู่ภายในครอบครัว รวมถึงเป็นเครื่องมือส่งเสริมความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างรุ่นสู่รุ่นผ่านการตัดสินใจร่วมกัน โดยเฉพาะในกรณีที่มีการขายหรือโอนย้ายทรัพย์สินในอนาคต

แนวทางการจัดการภาษีของทรัพย์สินกงสี

ทรัพย์สินกงสี มักถูกถือครองในชื่อร่วม ซึ่งหมายถึงการถือครองโดยบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ทำให้การจัดการภาษีของทรัพย์สินกงสีมีความซับซ้อน เนื่องจากมีประเด็นทางภาษีที่ต้องพิจารณาอย่างละเอียดเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้น จึงต้องมีการวางแผนภาษีอย่างเป็นระบบและเหมาะสมเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ตามกฎหมายภาษี การถือทรัพย์สินร่วมกันถือเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ ที่ไม่ใช่นิติบุคคล (หสม.) ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งหน่วยภาษีที่ต้องเสียภาษีในอัตราก้าวหน้าเช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา ในอดีต ส่วนแบ่งกำไรที่เจ้าของร่วม (หุ้นส่วน) แต่ละคนได้รับไม่ต้องนำไปรวมเสียภาษีระดับบุคคลอีก ทำให้การถือครองทรัพย์สินร่วมกันหรือการตั้งคณะบุคคลเป็นที่นิยมอย่างมาก อย่างไรก็ตาม นับแต่ปี 2558 กฎหมายภาษีได้มีการแก้ไขและยกเลิกการยกเว้นภาษีระดับบุคคลดังกล่าว ส่งผลให้ในปัจจุบัน เงินได้จากทรัพย์สินที่มีชื่อร่วมกัน นอกจากจะต้องเสียภาษีอัตราก้าวหน้าในระดับหสม. แล้ว ยังต้องเสียภาษีในระดับบุคคลอีกครั้งเมื่อมีการแบ่งกำไร โดยถือเป็นเงินได้ประเภทอื่น (ประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8)) ยกเว้น การถือครองทรัพย์สินร่วมกันของสามีภรรยาที่จดทะเบียนสมรสที่ไม่ถือเป็นหสม. และในกรณีที่ทรัพย์สินกงสีถูกถือครองโดยบุคคลเดียว ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีก็คือบุคคลที่มีชื่อเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้นนั่นเอง

จากที่กล่าวมา แต่ละครอบครัวสามารถวางแผนภาษีการถือครองทรัพย์สินกงสีแต่ละประเภทให้ถูกต้องได้ โดยมีเงื่อนไขที่แตกต่างกันตามประเภทของทรัพย์สิน ดังนี้

· ทรัพย์สินกงสีประเภทเงินลงทุน: การเสียภาษีของเงินลงทุนที่ถือร่วมกันจะขึ้นอยู่กับประเภทของเงินได้ที่เกิดขึ้น สำหรับดอกเบี้ยเงินฝากนั้นไม่ต้องเสียภาษีซ้ำซ้อน เนื่องจากกฎหมายได้ยกเว้นไว้ว่าหากหักภาษี ณ ที่จ่ายในนามของหสม. แล้ว การแบ่งส่วนแบ่งดอกเบี้ยไม่ต้องเสียภาษีในระดับบุคคลอีก ซึ่งแตกต่างจากเงินปันผลหรือกำไรจากการขาย ที่จะต้องเสียภาษีในระดับหสม. โดยมีอัตราและข้อยกเว้นเหมือนบุคคลธรรมดา กล่าวคือ เงินปันผลสามารถเลือกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% และกำไรจากการขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ได้รับยกเว้นภาษีในระดับหสม. แต่เมื่อมีการแบ่งเงินปันผลหรือกำไรระหว่างกัน ต้องนำมารวมกับเงินได้อื่นของตนและเสียภาษีในอัตราภาษีก้าวหน้า

· ทรัพย์สินกงสีประเภทอสังหาริมทรัพย์: สำหรับเงินได้จากการขายหรือให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ที่ถือร่วมกันก็ถือเป็นหสม. เช่นกัน หากเป็นการซื้อมาร่วมกัน เงินได้จากการขาย/ให้เช่าต้องเสียภาษีในระดับหสม. ในลักษณะเดียวกับบุคคลธรรมดา และเสียภาษีในระดับบุคคลอีกครั้งเมื่อมีการแบ่งส่วนแบ่งจากการขาย/ค่าเช่า แตกต่างกับเงินได้จากอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาจากการรับให้หรือรับมรดกร่วมกัน กฎหมายได้ยกเว้นในกรณีนี้ไว้ให้เสียภาษีเพียงระดับเดียว คือ กรณีค่าเช่าเสียภาษีระดับหสม. เท่านั้น และในกรณีขาย ให้เจ้าของแยกคำนวณภาษีตามส่วนของแต่ละคน

การถือครองทรัพย์สินกงสีร่วมกันอาจถูกมองว่าเป็นหนึ่งวิธีในการเสริมความสัมพันธ์ภายในครอบครัว เพราะทำให้ทุกคนมีสิทธิ์อย่างเท่าเทียม แต่หากพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้วจะพบว่าหลายครั้งผลลัพธ์อาจตรงกันข้าม เช่น ครอบครัวที่มีทรัพย์สินเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ เจ้าของร่วมบางคนต้องการขายเพราะ

มีภาระภาษีและค่าใช้จ่ายระยะยาวสูง แต่เจ้าของร่วมที่เหลือไม่ต้องการขายเพราะมองว่าเป็นทรัพย์สินสำคัญของครอบครัว ทำให้ไม่สามารถขายได้ เนื่องจากการขายทรัพย์สินในชื่อร่วมต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของทุกราย (และอาจรวมถึงคู่สมรสด้วย) ยิ่งปล่อยเวลานานไปโดยไม่จัดการ เมื่อถึงเวลาส่งต่อให้ทายาท จำนวนเจ้าของร่วมมากขึ้นเรื่อยๆ การตัดสินใจร่วมกันยิ่งยากและอาจนำไปสู่ความขัดแย้งภายในครอบครัว อีกตัวอย่างที่พบบ่อยคือการใส่ชื่อบุคคลอื่นให้ถือทรัพย์สินแทน โดยทุกคนในครอบครัวไม่ได้รับทราบโดยทั่วกัน เมื่อผู้ถือแทนเสียชีวิต ทรัพย์สินนั้นก็จะส่งต่อไปยังทายาทของผู้ถือแทนตามกฎหมาย ทรัพย์สินจึงไม่ตกไปยังเจ้าของที่แท้จริง ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงการถือทรัพย์สินแทนกันถ้าไม่จำเป็นหรือไม่มีข้อตกลงกันเป็นลายลักษณ์อักษร KBank Private Banking แนะนำ 3 ขั้นตอน เพื่อให้การจัดการทรัพย์สินกงสีเป็นไปอย่างราบรื่น ได้แก่

1. พูดคุยตกลงกันภายในครอบครัว เพื่อแบ่งประเภททรัพย์สินเป็นกลุ่มๆ เช่น กลุ่มทรัพย์สินที่มีคุณค่าทางจิตใจ กลุ่มทรัพย์สินที่อาจขายในอนาคต และกลุ่มทรัพย์สินที่จะส่งต่อให้สมาชิกรายคน เป็นต้น

2. ปรับวิธีการถือครองทรัพย์สินกงสีที่มีอยู่ เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการตามที่ตกลงกันไว้และป้องกันไม่ให้มีภาระภาษีซ้ำซ้อน

3. วางแผนการถือครองทรัพย์สินกงสีที่จะเกิดขึ้นในอนาคตให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

เพราะการวางแผนบริหารจัดการภาษีทรัพย์สินกงสีอย่างเหมาะสม มีความโปร่งใสและตรวจสอบได้ตามหลักเกณฑ์กฎหมายถือเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจกงสีดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและมั่นคง KBank Private Banking ส่งเสริมให้เตรียมความพร้อมในการส่งต่อความมั่งคั่งอย่างยั่งยืนจากรุ่นสู่รุ่นต่อไปในอนาคต จึงมอบบริการที่ปรึกษาด้านการบริหารทรัพย์สินครอบครัว(Family Wealth Planning Services) ที่ครอบคลุมทั้งบริการด้านการวางแผนที่หลากหลาย ทั้งการวางแผนความต่อเนื่อง และกติกาของครอบครัว, การบริหารความเสี่ยงของครอบครัว, โครงสร้างการถือครองทรัพย์สิน, การสืบทอดกิจการและทรัพย์สิน, การทำสาธารณกุศล และการจัดตั้งสำนักงานครอบครัว

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด (บลจ.กสิกรไทย) ร่วมกับชมรมนักลงทุนเน้นคุณค่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chulalongkorn Value Investors Club : CUVI) จัดกิจกรรม CUVI x KAsset Investment Boot Camp เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการลงทุน และการจัดพอร์ตการลงทุน โดยมีผู้เชี่ยวชาญจาก บลจ.กสิกรไทย มาแบ่งปันความรู้ และแชร์ประสบการณ์ รวมถึงให้น้องๆ จัดทำและนำเสนอแผนการจัดพอร์ตกันอย่างเข้มข้น ตลอดหลักสูตร 3 สัปดาห์ ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจากนายอดิศร เสริมชัยวงศ์ รองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย และนายวิน พรหมแพทย์, CFA ประธานกรรมการบริหาร บลจ.กสิกรไทย เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ณ อาคาร K+ Building เมื่อเร็วๆ นี้

บลจ.กสิกรไทย แต่งตั้ง “วิน พรหมแพทย์” เป็นประธานกรรมการบริหารคนใหม่ มีผลตั้งแต่วันที่ 2 ก.ย. เป็นต้นไป เดินหน้าสานต่อแนวคิด Top of Mind Investment House ครองใจผู้ลงทุนไทย พร้อมต่อยอดความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ระดับโลก J.P. Morgan Asset Management มุ่งเน้นการพัฒนาขีดความสามารถในการคัดเลือกและจัดสรรสินทรัพย์ทั่วโลก และพันธมิตรที่ปรึกษาด้านความยั่งยืน Lombard Odier มุ่งเน้นการกำหนดยุทธศาสตร์การลงทุนอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ มองผู้นำในทุกยุคล้วนวางรากฐานที่ดีในมิติที่แตกต่างกัน และเชื่อว่าตนจะนำพา บลจ.กสิกรไทย เติบโตได้อย่างสมดุลและยั่งยืน

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด (บลจ.กสิกรไทย) แต่งตั้ง “วิน พรหมแพทย์” ขึ้นแท่นประธานกรรมการบริหารคนใหม่ โดยกำหนดให้มีผลตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2567 เป็นต้นไป ทั้งนี้ นายวินตั้งเป้าให้ บลจ.กสิกรไทย ครองใจผู้ลงทุนไทย พร้อมต่อยอดความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับพาร์ทเนอร์ระดับโลก J.P. Morgan Asset Management ที่มุ่งเน้นการพัฒนาขีดความสามารถในการคัดเลือกและจัดสรรสินทรัพย์ทั่วโลก และกับอีก 1 พันธมิตรที่ปรึกษาด้านความยั่งยืน Lombard Odier ที่มุ่งเน้นการกำหนดยุทธศาสตร์ในการวางโครงสร้างการลงทุนอย่างยั่งยืน ซึ่งจะช่วยเติมเต็มศักยภาพการบริหารจัดการกองทุน และยกระดับมาตรฐานการทำงานในทุกมิติ

นายวิน มีประสบการณ์การทำงานด้านการลงทุนทางการเงินมากว่า 22 ปี โดยบทบาทการบริหารเงินและการลงทุนได้เริ่มที่สำนักงานประกันสังคม นายวินเป็นผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของกองทุนประกันสังคมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดกองหนึ่งในประเทศไทยในเวลานั้น ด้วยมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่สูงถึง 1.3 ล้านล้านบาท จากนั้นนายวินมีโอกาสเข้าสู่ธุรกิจจัดการกองทุน ได้สั่งสมประสบการณ์ทั้งการลงทุนสินทรัพย์ทางการเงินในประเทศ และการวางแผนกลยุทธ์การลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินต่างประเทศ นอกจากนี้ นายวินยังมีประสบการณ์ด้านการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินและการบริหารความมั่งคั่งให้กับลูกค้ากลุ่มไฮเน็ตเวิร์ธ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนบทบาทจากผู้ผลิตมาเป็นผู้ให้คำแนะนำ ทั้งนี้ จากประสบการณ์ที่สั่งสมมาอย่างยาวนานทำให้นายวินมีความเชี่ยวชาญด้านการบริหารพอร์ตการลงทุน และเป็นผู้ที่มีทักษะรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นการบริหารการลงทุน การบริหารการตลาดและการขาย และการบริหารลูกค้า รวมถึงการเป็นที่ปรึกษาด้านการลงทุน

“ผมภูมิใจที่ได้เข้ามาร่วมงานกับ บลจ.กสิกรไทย ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นทีมจัดการกองทุนมืออาชีพ และเป็นผู้นำระดับ Top 3 ทั้งในธุรกิจกองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ผมตั้งใจจะใช้ประสบการณ์กว่า 22 ปี เดินหน้าสานต่อแนวคิด Top of Mind Investment House เพื่อให้ผู้ลงทุนไทยได้มีเงินลงทุนส่วนใหญ่อยู่ใน Core Portfolio ที่มีการกระจายลงทุนหลากหลายสินทรัพย์ทั่วโลก และเป็นพอร์ตที่มีความผันผวนน้อย แต่ช่วยต่อยอดความมั่งคั่งได้ในระยะยาว รวมทั้งการคำนึงถึงการลงทุนอย่างยั่งยืนด้วย โดยผู้ลงทุนจะได้รับคำแนะนำการลงทุนและการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด ทั้งจากทีมงานของ บลจ. กสิกรไทย และจากผู้เชี่ยวชาญระดับโลกอย่าง J.P. Morgan Asset Management และ Lombard Odier ซึ่งแน่นอนว่า ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจและตลาดทุนในปัจจุบันอาจจะทำให้เกิดความกังวล แต่ผมและทีมงาน บลจ.กสิกรไทย มุ่งมั่นที่จะอยู่เคียงข้างผู้ลงทุนเพื่อให้ท่านบรรลุเป้าหมายทางการเงินที่ตั้งใจไว้” นายวินกล่าว

นายวินกล่าวทิ้งท้ายว่า ผู้นำของ บลจ.กสิกรไทย ในแต่ละยุคล้วนวางรากฐานไว้ไห้เป็นอย่างดีในมิติที่แตกต่างกัน และเชื่อว่าการต่อยอดจากสิ่งที่เป็นจุดแข็งของ บลจ.กสิกรไทย บวกกับกลยุทธ์ใหม่ในยุคของ “วิน พรหมแพทย์” จะนำพาให้ บลจ.กสิกรไทย เติบโตได้อย่างสมดุลและยั่งยืน

บลจ.กสิกรไทย มีมูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การจัดการ (AUM) อยู่ที่ 1.60 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นธุรกิจกองทุนรวม 1.12 ล้านล้านบาท ธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 2.37 แสนล้านบาท และธุรกิจกองทุนส่วนบุคคล 2.40 แสนล้านบาท โดยยังครองส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 1 ในอุตสาหกรรมกองทุนรวม (ที่มา: AIMC ณ ก.ค. 67) อีกทั้งยังสามารถคว้ารางวัลชนะเลิศจากหลายสถาบันชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ อาทิ รางวัลแบรนด์ยอดนิยมอันดับ 1 ของไทย ในหมวดกองทุนรวม จาก Marketeer No.1 Brand Thailand 2024, รางวัล Most Prominent Fund House in Bond Market (7 ปีซ้อน) จาก ThaiBMA Best Bond Awards 2023, รางวัล Best Fund House (7 ปีซ้อน) จาก Best of the Best Awards 2024 และรางวัล Excellence in Innovation จาก Fund Selector Asia Awards 2024 เป็นต้น ทั้งหมดล้วนเป็นเครื่องการันตีได้ถึงความสามารถในการบริหารจัดการกองทุนของ บลจ.กสิกรไทย จนเป็นที่ยอมรับจากผู้ลงทุนไทยและสถาบันการลงทุนชั้นนำทั่วโลก

ปี 2567 นับเป็นปีแห่งการเลือกตั้งที่สำคัญอย่างมากครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ เนื่องจากมีการเลือกตั้งใหญ่เกิดขึ้นหลายประเทศในทุกภูมิภาคทั่วโลก ทั้งที่ผ่านไปแล้วอย่าง รัสเซีย อินเดีย เกาหลีใต้ ฝรั่งเศส อังกฤษ และที่ต้อง จับตาอย่างมากคือการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาที่กำลังจะเกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนนี้ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้นหลังการเลือกตั้ง ย่อมส่งผลกระทบต่อทิศทางเศรษฐกิจและกระทบต่อภูมิทัศน์การลงทุนทั่วโลกอย่างแน่นอน

ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ กับจุดเปลี่ยนแนวทางเศรษฐกิจโลก

การเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ถือเป็นการเลือกตั้งที่น่าจับตามองมากที่สุดด้วยหลายเหตุผลไม่ว่าจะเป็น อิทธิพลทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่เป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายจากผู้นำคนใหม่ย่อมจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก ซึ่งความไม่แน่นอนทางการเมืองนี้สามารถนำไปสู่ผลลัพธ์ที่คาดไม่ถึงและอาจจะสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เช่น ในด้านของเศรษฐกิจที่นโยบายของสองผู้สมัครที่มีวิสัยทัศน์ชัดเจน โดย โดนัลด์ ทรัมป์ เน้นนโยบายการลดภาษี การลดข้อบังคับทางธุรกิจ และเการเจรจาทางการค้าที่ยุติธรรมและเป็นมิตรต่อธุรกิจ ซึ่งนโยบายเหล่านี้อาจนำไปสู่การเติบโตของภาคธุรกิจในประเทศและการปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้น ในขณะที่ ความตึงเครียดทางการค้ากับประเทศอื่นอาจส่งผลกระทบต่อการลงทุนระหว่างประเทศ ในขณะที่ คามาลา แฮร์ริส มีนโยบายไม่แตกต่างจาก ประธานาธิบดี โจ ไบเดน มากนัก โดยยังคงเน้นนโยบายการลงทุนในพลังงานสะอาด การเพิ่มภาษีคนรวย และการเสริมสร้างระบบสวัสดิการสังคม โดยนโยบายเหล่านี้อาจนำไปสู่การเติบโตที่ยั่งยืนและความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจในระยะยาว แต่ในระยะสั้นอาจสร้างความไม่แน่นอนและความผันผวนในตลาดการลงทุน

ทิศทางการลงทุนก่อน-หลังเลือกตั้ง

เมื่อวิเคราะห์อย่างละเอียดถึงภาพรวมการลงทุนในตลาดช่วงระหว่างก่อนและหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ สมัยที่ผ่านมา จะพบว่าตลาดหุ้นผันผวนสูงทั้งก่อนและหลังการเลือกตั้ง แต่การฟื้นตัวของตลาดหลังการเลือกตั้งมักเป็นไปในทิศทางที่ดี เนื่องจากมีปัจจัยจากนโยบายเศรษฐกิจที่ชัดเจน เช่น การเลือกตั้งในปี 2559 ที่โดนัลด์ ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้ง ตลาดหุ้นตอบสนองในทางบวกช่วงหลังการเลือกตั้ง ตรงกันข้ามกับช่วงก่อนการเลือกตั้งที่ตลาดมีความผันผวนสูง และการเลือกตั้งในปี 2563 ที่โจ ไบเดน ชนะการเลือกตั้ง ตลาดหุ้นต่างมีความผันผวนทั้งก่อน และหลังการเลือกตั้งเช่นเดียวกัน และสำหรับการเลือกตั้งในครั้งนี้ คาดการณ์ว่าภาพรวมการลงทุนของตลาดจะอยู่ในทิศทางบวก โดยเฉพาะตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีโอกาสปรับเพิ่มขึ้นต่อได้ เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศ ยังคงแข็งแกร่ง แม้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ชะลอการลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงแรก แต่หลังจากสถานการณ์เงินเฟ้ออ่อนตัวดีขึ้น พร้อมทั้งถ้อยแถลงจากประธาน FED ล่าสุดมีการส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยครั้งแรกในเดือนกันยายนนี้ โดยที่ตลาดคาดการณ์ว่า FED มีโอกาสลดอัตราดอกเบี้ยลง 3 ครั้ง ครั้งละ 0.25% ในปีนี้

นอกจากนี้ การเลือกตั้งครั้งนี้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้น หลังจากที่มีการเปลี่ยนผู้ท้าชิงจากฝั่งเดโมแครต ส่งผลให้การแข่งขันของทั้งสองพรรคกลับมาสูสีกัน และยากที่จะคาดเดาว่าใครจะมาเป็นประธานาธิบดีคนต่อไป ทำให้เกิดความผันผวนสูงกว่าเมื่อเทียบกับในอดีต ดังนั้น การกระจายการลงทุนและจัดการด้านความเสี่ยงถือเป็นหลักสำคัญในสภาวะตลาดเช่นในปัจจุบัน

กระจายการลงทุนตามหลักการ Risk-Based Asset Allocation คือทางออกในการรับมือกับความผันผวน ALL ROADS Series โอกาสรับผลตอบแทนที่มั่นคง จำกัดผลกระทบแม้ในสถานการณ์ไม่แน่นอน

ในสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนและคาดการณ์ได้ยากจากสถานการณ์เช่นนี้ KBank Private Banking แนะนำให้นักลงทุนจัดสรรเงินลงทุนตามหลักการ Risk-Based Asset Allocation โดย แบ่งเงินลงทุน 50-70% ของพอร์ตลงทุนในกองทุน ALL ROADS Series ไม่ว่าจะเป็น K-ALLRD-UI-A(A),  K-ALLGR-UI-A(A) และ K-ALLEN-UI-A(A) ที่กระจายการลงทุนในสินทรัพย์หลายประเภททั่วโลก ช่วยให้พอร์ตการลงทุนสามารถสร้างผลตอบแทนพร้อมทั้งจำกัดความเสียหายในทุกสภาวะตลาด และยังมาพร้อมกลไกอัจฉริยะที่กำหนดสัดส่วนการลงทุนให้สมดุลโดยอัตโนมัติ ในสภาวะเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน อาทิ ในช่วงตลาดปกติเพิ่มอัตราทดเพื่อเพิ่มผลตอบแทน ขณะเดียวกันในช่วงตลาดผันผวน ลดสัดส่วนการลงทุน ถือครองเงินสดมากขึ้นเพื่อลดความเสียหาย ที่ผ่านมาในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ กองทุนสามารถจัดการกับความเสียหายให้อยู่ในกรอบที่กำหนด สามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีในสภาพตลาดที่หลากหลาย โดยผลการดำเนินงานย้อนหลังตั้งแต่จัดตั้งเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมากองทุนหลัก LO FUNDS - ALL ROADS Series ในต่างประเทศสร้างผลตอบแทนและควบคุมความผันผวนได้ดีสมํ่าเสมอ และสามารถให้ผลตอบแทนเป็นบวกได้ ถ้าลงทุนอย่างน้อย 3 ปีขึ้นไป

นอกเหนือจากผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ที่นักลงทุนต้องติดตาม ยังมีสิ่งอื่นที่นักลงทุนต้องจับตาเพิ่มเติม ไม่ว่าเป็น ความกังวลต่อเรื่อง Recession ที่อาจจะเกิดขึ้นหรือไม่ หรือยังเป็น Soft Landing ตามที่เคยคาดไว้ การลดอัตราดอกเบี้ยของ FED ที่จะลดครั้งละ 0.25% ในเดือนกันยายน พฤศจิกายน และธันวาคมในปีนี้ โดยคาดว่าดอกเบี้ยจะลดลงไปอยู่ที่ 3.75% และคงอยู่ในระดับสูง (Higher for longer) ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งไม่มีทีท่าว่าจะจบลง ซึ่งล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมการลงทุน ดังนั้น นักลงทุนต้องให้ความสำคัญกับการจัดพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้นักลงทุนสามารถสร้างผลตอบแทนที่มั่นคงได้ในทุกสถานการณ์  

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมทางเว็บไซต์ของ KBank Private Banking ได้ที่ https://kbank.co/3ETkS5v


คำเตือน

กองทุน ALL ROADS Series ประกอบด้วย กองทุน K-ALLRD-UI-A(A),  K-ALLGR-UI-A(A) และ K-ALLEN-UI-A(A) (เป็นกองทุนรวมสำหรับผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ

  1. ระดับความเสี่ยงกองทุน : ระดับ 8+ / ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน : การป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนบางส่วน
  2. โปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า/เงื่อนไขผลตอบแทน/ความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน
  3. ผู้ลงทุนควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้ประกอบธุรกิจก่อนตัดสินใจลงทุน
  4. สนใจลงทุน และขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทที่จัดการและผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน

 

กระทบการส่งต่อทรัพย์สินครั้งใหญ่ ชูบริการใหม่ Family Business Transformation ปฏิรูปธุรกิจครอบครัวให้เป็นระบบ สร้างความเติบโต และอยู่รอดอย่างมั่นคงยั่งยืน

Page 1 of 7
X

Right Click

No right click