November 24, 2024

“บลจ.เอ็มเอฟซี” ตอกย้ำพันธกิจ "เพื่อนสนิทการลงทุน" เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ "Rebalance Port" ในแอปพลิเคชัน “MFC Wealth App” ช่วยเปรียบเทียบพอร์ตการลงทุนของลูกค้ากับพอร์ต MFC แนะนำ เติมเต็มพอร์ตไม่ตกเทรนด์ พร้อมปรับพอร์ตตามระดับความเสี่ยงและ Fit & Firm ตามเป้าหมายการลงทุน นอกเหนือจากฟีเจอร์เด่นอัดเต็มตอบโจทย์ทุกการลงทุน

นายธนโชติ รุ่งสิทธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนเอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ บลจ.เอ็มเอฟซี (MFC) เปิดเผยว่า บลจ.เอ็มเอฟซี ได้พัฒนาฟีเจอร์ใหม่ในแอปพลิเคชัน “MFC Wealth App” บริการผ่าน mobile application อย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันได้รับการตอบรับที่ดีมียอดดาวน์โหลดประมาณ 160,000 ราย นับตั้งแต่เปิดให้บริการ 2 ปี ซึ่งเป้าหมายอยากให้ทั้งนักลงทุนกลุ่มใหม่ ที่ยังไม่เคยเปิดบัญชีมาทดลองใช้ ได้เรียนรู้และเห็นช่องทางในการวางแผนการลงทุนและวางแผนทางการเงิน รวมทั้งลูกค้าเดิมที่มีบัญชีกองทุนอยู่แล้วได้เข้ามาใช้ประโยชน์จากฟีเจอร์ต่างใน App เสมือนเป็น "ผู้ช่วยส่วนตัว" ให้แก่ผู้ลงทุน สอดรับพันธกิจ "Your investment partner เพื่อนสนิททางการลงทุน"

จุดเด่นของ “MFC Wealth App” ซึ่งให้บริการครอบคลุมการเปิดบัญชีการซื้อขายและสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน และการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนแล้ว ยังมีฟีเจอร์เด่นด้านข้อมูลที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ในยุคดิจิทัล อย่าง "MFC AVENUE" ตอบโจทย์ลูกค้าที่ชอบหาข้อมูลลงทุนเอง ขณะที่บลจ.เอ็มเอฟซีจะคอยอัพเดทข่าวสารการลงทุน รวมถึงเทรนด์การลงทุนให้กับผู้ลงทุนตลอดเวลา

ฟีเจอร์ "WEALTH JOURNEY" ที่เสมือนเป็นหนึ่งใน (Personal Assistant) หรือผู้ช่วยส่วนตัวด้านการลงทุน ซึ่งเหมือนมีผู้เชี่ยวชาญเตรียมพอร์ตที่เหมาะสมให้ ทำให้ลูกค้าสามารถลงทุนเองแบบมีเครื่องมือให้ครบถ้วน ทั้งปรับพอร์ต และดูผลตอบแทน รวมถึงการสร้างพอร์ตจำลองตามความเสี่ยงไว้เปรียบเทียบกับพอร์ตการลงทุนจริง โดยสามารถกำหนด Asset Allocation เองได้ ซึ่งฟีเจอร์ดังกล่าวไม่ต่างจากการใช้บริการ Investment Strategist และผู้แนะนำการลงทุนคุณภาพ

"การจำลองพอร์ตการลงทุน ซึ่งมีลูกเล่นให้ผู้ลงทุนได้ทดลองและทดสอบจากความเสี่ยงในระดับที่รับได้ พร้อมตั้งเป้าหมายการลงทุน เพื่อเตรียมแผนการเงินในอนาคต เช่น การวางแผนสำหรับบ้านหลังแรก วางแผนเพื่อการลงทุน วางแผนตามเป้าหมาย หรือเตรียมตัวเกษียณ ซึ่งฟีเจอร์นี้ช่วยให้ลูกค้าใหม่ลองเข้ามาใช้งานได้ก่อนตัดสินใจลงทุน"นายธนโชติ กล่าว

สำหรับฟีเจอร์ใหม่ที่เติมเข้ามา คือ "Rebalance Port" สำหรับผู้ที่ลงทุนในกองทุนรวมของบลจ.เอ็มเอฟซี สามารถนำพอร์ตของตัวเองมาเปรียบเทียบกับพอร์ตที่บลจ.เอ็มเอฟซีแนะนำ ซึ่งมีทั้งพอร์ตแนะนำตามความเสี่ยง (สูง กลาง ต่ำ) และพอร์ต Fit & Firm ที่ปรับตามเป้าหมายในการลงทุน เช่น ลงทุนแบบ Defensive หรือ Long-term Growth ทำให้ลูกค้าสนุกกับการ

ซื้อกองทุนมากขึ้น เหมือนมีเพื่อนมาช่วยคิดว่าจะซื้อกองทุนอะไรดีที่เหมาะกับตัวเอง เพราะปัจจุบันกองทุนเอ็มเอฟซีมีมากกว่า 100 กองทุน ซึ่งฟีเจอร์นี้ได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้า

นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์ "WATCH LIST" ใช้ติดตามกองทุนโปรดอย่างใกล้ชิด โดยตั้งค่าให้ระบบแจ้งเตือนเมื่อถึงเป้าหมายที่ต้องการ รวมทั้งมีเมนูกองทุนลดหย่อนภาษี LTF, SSF, RMF ที่สรุปยอดเงินลงทุนทั้งรายปีและภาพรวม มีเมนูที่ขายหน่วยลงทุนหรือกองทุนที่ครบเงื่อนไขของ LTF, SSF ที่สามารถทำผ่าน App ได้ทันที ซึ่งเป็นจุดแตกต่างจากบลจ.อื่นๆ ที่ปกติการขายกองภาษีจะยุ่งยากต้องยื่นเอกสารขาย ซึ่งผู้สนใจสามารถดาวน์โหลด App ได้ทั้งระบบปฏิบัติการ iOS , Android

“MFC Wealth App ยังได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้แนะนำการลงทุนที่ให้ลูกค้ามอนิเตอร์ เพื่อปรับพอร์ตลงทุน ปัจจุบันยังมีลูกค้าที่ต้องการคำแนะนำค่อนข้างมาก เราจึงให้ตัวแทนขายอิสระและตัวแทนขายผ่านคู่ค้าได้มีเครื่องมือและข้อมูลแนะนำลูกค้า เมื่อนักลงทุนได้ลองจำลองพอร์ตหรือดีไซน์พอร์ตตัวเอง เมื่อเห็นโอกาสลงทุนก็จะเข้ามาเปิดบัญชี ส่งผลให้จำนวนลูกค้าเพิ่มขึ้น ส่วนลูกค้าเก่าก็มีโอกาสลงทุนต่อเนื่องได้ ทำให้จำนวนลูกค้าน่าจะติบโตเท่าตัวได้"นายธนโชติ กล่าว

บลจ.เอ็มเอฟซียังมีแผนนำฟีเจอร์ที่มี Innovation ใหม่ๆ ช่วยให้ชีวิตนักลงทุนสบายกว่าเดิม อาจนำ AI เข้ามาช่วยวิเคราะห์พอร์ต ช่วยลูกค้าให้บรรลุเป้าหมายการลงทุนมากขึ้นและรวดเร็วขึ้น ซึ่งจะดึงดูดนักลงทุนใหม่ๆ โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่

นายธนโชติ กล่าวทิ้งทายถึงมุมมองการลงทุนจากปี 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นปีที่ท้าทายทุกสินทรัพย์ติดลบ ทั้งตราสารทุนและตราสารหนี้ ขณะที่ในปี 2566 นี้มองตลาดอาจดีขึ้นในบางภูมิภาค บางตลาดยังไม่กลับมาที่เดิม ซึ่งการให้ข้อมูล คำแนะนำการลงทุนให้แก่ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง พยายามให้ลูกค้าเชื่อมั่นในการลงทุน เพื่อตอบโจทย์การลงทุนในระยะยาว ขณะเดียวกันให้ความรู้ในการจับจังหวะการลงทุนมากขึ้น รวมทั้งการจัดพอร์ตกระจายการลงทุน เพื่อลดความเสี่ยงจากสภาวะตลาด ความเสี่ยงในระยะสั้นจากเศรษฐกิจที่อาจไม่ได้คาดการณ์มาก่อนผ่านการจัด Asset Allocation

ทั้งนี้เพื่อให้การสื่อสารข้อมูลและสร้างการรับรู้ไปยังกลุ่มเป้าหมายมีประสิทธิภาพสูงสุด MFC เลือกวางแผนการใช้สื่อทั้งออนไลน์และออฟไลน์ โดยนางสาวมาลินี ขันสนิท ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด Yellow Media ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากสินค้าและแบรนด์ต่างๆให้วางแผนการใช้สื่อนอกบ้าน Out Of Home Media (OOH) กล่าวว่า แม้ว่าปัจจุบันสินค้าและแบรนด์จะให้น้ำหนักการสื่อสารไปทางออนไลน์มากกว่า เพราะสามารถเข้าถึงง่ายและรวดเร็ว แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าช่องทางออฟไลน์ หรือ OOH ก็ทรงพลังที่จะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้เช่นกัน เพราะเป็นสื่อที่มีคนเห็นจำนวนมากและพบเห็นได้ง่าย สร้างการจดจำได้กับกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี รวมไปถึงลูกค้าทั่วไปทำให้รับรู้แบรนด์ได้ เพื่อให้เกิดความเคยชินและสร้างความน่าเชื่อ และไปสู่การเป็นลูกค้าในอนาคต

ส่งตรงความร้อนแรงจากครัวไทยไปทั่วโลก เมื่อไฟแห่งความทะเยอทะยานของเหล่าคนครัวส่งให้ภาพยนตร์ไทยโดย Netflix เรื่องแรกของปีอย่าง HUNGER คนหิว เกมกระหาย ได้ครองอันดับ 1 ของโลกบน Netflix Global Top 10 รวมถึงเป็นอันดับ 1 ในอีก 51 ประเทศ ด้วยยอดการรับชมสะสมสูงถึง 43.58 ล้านชั่วโมง นอกจากนี้ HUNGER คนหิว เกมกระหาย ยังสามารถเข้าไปอยู่บนชาร์ต Netflix Top 10 ในอีก 91 ประเทศทั่วโลกด้วย ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร แคนาดา เยอรมนี เม็กซิโก ออสเตรเลีย อินเดีย ญี่ปุ่น ฯลฯ (จากสถิติระหว่างวันที่ 10-16 เมษายน 2566)

 

ด้วยการรวมตัวของสองผู้สร้างมือรางวัลอย่างสิทธิศิริ มงคลศิริ ผู้กำกับ และคงเดช จาตุรันต์รัศมี ผู้เขียนบท ภาพยนตร์เรื่อง HUNGER คนหิว เกมกระหาย ได้กระแสตอบรับดีเกินคาดและได้รับการพูดถึงเป็นวงกว้าง จนครองฟีดโลกโซเชียลนับตั้งแต่สัปดาห์แรกที่เปิดตัว ทั้งผู้ชม นักวิจารณ์ และสื่อมวลชนทั้งในและต่างประเทศต่างให้ความสนใจทั้งในแง่ของงานกำกับสุดระทึก งานภาพที่สื่อความนัยได้อย่างโดดเด่น และการประชันฝีมือของทีมนักแสดงนำที่ขับเน้นให้สมรภูมิหลังครัวนี้ดุเดือดจนต้องกลั้นหายใจ รวมไปถึงบทภาพยนตร์ที่จุดประเด็นทางความคิดให้เกิดบทสนทนาตามมาอีกนับไม่ถ้วน จนกลายเป็นประเด็นร้อนที่ทุกคนต่างต้องเข้ามาร่วมวงสนทนากันอย่างออกรสออกชาติ รวมทั้งบทพูดและฉากโดนใจต่างได้รับการแชร์ต่อและเกิดเป็นมีมมากมายบนโลกโซเชียล ส่วนเมนู “ผัดงอแง” ที่ปรากฏในเรื่องก็กลายเป็นอาหารจานเด็ดที่ใครๆ ก็อยากลิ้มลอง จนถึงขั้นมีร้านอาหารบางแห่งเริ่มเปิดขายเมนูผัดงอแงให้ได้ชิมกันจริงๆ แล้วด้วย

 

นอกจากนี้ แคมเปญต่างๆ ที่ Netflix จัดเต็มออกมาโปรโมตภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี เรียกเสียงฮือฮาจากผู้พบเห็นได้ไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะเป็นแคมเปญโฆษณาผ่านป้ายบิลบอร์ดทั่วกรุงเทพ ที่มาพร้อมคัตเอาต์รูปมีดขนาดยักษ์ปักกระจายอยู่ทั่วกรุงเทพฯ สะท้อนความดุดันของออยและเชฟพอล ตามมาด้วย HUNGER Restaurant ร้านอาหารป๊อปอัปที่เสิร์ฟเมนูส่งตรงจากในภาพยนตร์ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณชั้น G โซน Groove ณ ศูนย์การค้า CentralwOrld ที่มีการตกแต่งภายในโดยการแบ่งครึ่งร้าน เพื่อเสิร์ฟประสบการณ์ Fine Dining สุดหรูในเมนู “Le Pleurnichard” ควบคู่ไปกับบรรยากาศร้านอาหารข้างทางในเมนู “ผัดงอแง” ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ชมอย่างล้นหลาม จนยอดการจองล่วงหน้ากว่า 2,400 ที่นั่งถูกจับจองจนเต็มในเวลาอันรวดเร็ว สำหรับใครที่ดู HUNGER คนหิว เกมกระหาย แล้วอยากสวมบทออย ลงมือปรุงผัดงอแงกินเองดูสักครั้ง Netflixยังจับมือกับโรซ่า ออกผลิตภัณฑ์ซอสสารพัดผัด ให้ผู้ชมได้ซื้อไปลองทำผัดงอแงกินเองที่บ้าน และแน่นอนว่าซอสปรุงรสขวดนี้ก็ได้รับการตอบรับดีจนยอดขายถล่มทลาย ยิ่งตอกย้ำความร้อนแรงของ HUNGER คนหิว เกมกระหาย ได้เป็นอย่างดี

ใครยังไม่ได้รับชม HUNGER คนหิว เกมกระหาย อย่าพลาดชิมรสชาติจัดจ้านของวงการอาหารไฮเอนด์ได้แล้ววันนี้ที่ Netflix เท่านั้น

X

Right Click

No right click