December 22, 2024

การทำธุรกรรมทางการเงินในปัจจุบันมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว จากเดิมที่เคยต้องเดินทางไปทำธุรกรรมที่สาขาธนาคาร กลับเปลี่ยนมาเป็นการทำธุรกรรมผ่านระบบออนไลน์ที่สะดวกและรวดเร็วกว่าเคย ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็สามารถจัดการได้อย่างง่ายดาย โดยหนึ่งในบริการที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ การเปิดบัญชีธนาคารออนไลน์ แต่หลายคนอาจยังมีคำถามในใจว่า เปิดบัญชีออนไลน์ปลอดภัยจริงหรือไม่? วันนี้ fintips by ttb #เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ จะมาไขข้อสงสัยเหล่านี้ให้กระจ่าง ช่วยให้คุณทำธุรกรรมออนไลน์ได้อย่างมั่นใจ ไร้กังวล ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจประเภทของบัญชีเงินฝากก่อนว่า มีกี่ประเภทและแต่ละประเภทต่างกันอย่างไร โดยสามารถแยก ประเภทของบัญชีเงินฝาก ได้ดังนี้

 

1. บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ (Savings Account)

บัญชีที่ให้ความยืดหยุ่นในการฝากถอนเงินได้ตลอดเวลา โดยสามารถใช้ร่วมกับบัตรเดบิต ได้รับอัตราดอกเบี้ยค่อนข้างต่ำ เหมาะสำหรับการทำธุรกรรมทางการเงินหลาย ๆ ครั้งเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น รับเงินเดือน จ่ายค่าสาธารณูปโภค หรือใช้จ่ายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์

2. บัญชีเงินฝากประจำ (Fixed Deposit Account)

บัญชีที่มีกำหนดระยะเวลาในการฝากถอนเงิน ซึ่งให้ดอกเบี้ยสูงกว่าบัญชีออมทรัพย์ แต่ไม่สามารถถอนเงินได้ก่อนครบกำหนด เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการออมเงินในระยะยาวเพื่อรับผลตอบแทนจากดอกเบี้ย

3. บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน (Current Account)

บัญชีที่ออกแบบมาเพื่อสำหรับการบริหารจัดการทางการเงิน เพื่อใช้ในธุรกิจและการค้าขาย โดยบัญชีเงินฝากกระแสรายวันนี้จะไม่มีสมุดคู่ฝาก แต่สามารถตรวจสอบยอดการทำธุรกรรมผ่านช่องทางออนไลน์และการแจ้งยอดบัญชีรายเดือน

เมื่อรู้จักถึงประเภทบัญชีเงินฝากทั้ง 3 ประเภทแล้ว มาดูกันว่าการเปิดบัญชีออนไลน์ จะมีข้อดี และข้อความระวัง หรือเคล็ดลับการเปิดบัญชีออนไลน์ให้ปลอดภัย ห่างไกลมิจฉาชีพกันเถอะครับ

ข้อดีของการเปิดบัญชีออนไลน์

การเปิดบัญชีออนไลน์ช่วยเพิ่มความสะดวกสบาย โดยไม่ต้องเสียเวลาต่อคิวที่ธนาคาร ไม่ต้องรอเวลาปิด-เปิดสาขาธนาคารที่จำกัด แค่ใช้แอปพลิเคชันของธนาคารก็สามารถเปิดบัญชีและจัดการธุรกรรมได้ นอกจากนี้ การทำธุรกรรมออนไลน์ยังเหมาะสำหรับผู้ที่อยู่ห่างไกลธนาคารและไม่สะดวกในการเดินทาง โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทที่อาจไม่มีสาขาธนาคารใกล้ ๆ รวมทั้งการขอรายการเดินบัญชีหรือทำธุรกรรมอื่น ๆ ก็สามารถทำได้ผ่านแอปพลิเคชันทันที ไม่ต้องรอหรือเก็บเอกสารแบบเดิม ๆ อีกต่อไป

 

เคล็ดลับเปิดบัญชีออนไลน์อย่างปลอดภัย ห่างไกลมิจฉาชีพ

1. เลือกธนาคารที่น่าเชื่อถือ ควรเลือกธนาคารที่มีระบบรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวดและมีนโยบายในการป้องกันและเยียวยาผู้ใช้บริการหากเกิดความเสียหายจากการโจรกรรมทางไซเบอร์

2. ใช้ระบบยืนยันตัวตนที่มีความปลอดภัยสูง ควรตรวจสอบว่าธนาคารที่ใช้มีระบบยืนยันตัวตนหลายชั้น เช่น การสแกนใบหน้า การสแกนม่านตา และการตั้งรหัสผ่านที่คาดเดายาก เพื่อลดความเสี่ยงจากการถูกแฮก

3. ตั้งรหัสผ่านอย่างรอบคอบ การตั้งรหัสผ่านต้องไม่ซ้ำกับรหัสอื่น ๆ ที่เคยใช้ หรือตั้งรหัสง่ายเกินไปจนมิจฉาชีพคาดเดาได้ง่าย หรือ ไม่ควรใช้ข้อมูลส่วนตัวในการตั้งรหัส เช่น วันเดือนปีเกิด หรือหมายเลขโทรศัพท์

4. ใช้อุปกรณ์ส่วนตัวและเครือข่ายที่ปลอดภัย เลือกทำธุรกรรมผ่านอุปกรณ์และ Wi-Fi หรือสัญญาณเครือข่ายส่วนตัว หลีกเลี่ยงการใช้ Wi-Fi สาธารณะที่อาจเสี่ยงต่อการถูกดักจับข้อมูล

5. เว็บไซต์และแอปพลิเคชันของธนาคารที่น่าเชื่อถือ มักจะให้กรอกข้อมูลเบอร์โทรศัพท์ อีเมลและรับแจ้งเตือนจากแอปพลิเคชันของธนาคารเอง ขั้นตอนการเปิดบัญชีออนไลน์จำเป็นต้องตรวจสอบง่าย แจ้งเตือนทุกความเคลื่อนไหวของการทำธุรกรรมการเงินออนไลน์แบบเรียลไทม์

สำหรับคนที่สนใจเปิดบัญชีออนไลน์กับ ทีทีบี สามารถทำได้ผ่านแอป ttb touch ทั้งสะดวกและปลอดภัย แจ้งเตือนทุกรายการ ไม่ว่าจะเป็นบัญชี ttb all free ที่มาพร้อมสิทธิประโยชน์มากมาย เช่น ส่วนลด

ร้านอาหาร ที่พัก และโค้ดส่วนลดแอปสั่งอาหารออนไลน์ พิเศษ! ฝากเงินตั้งแต่ 5,000 บาทขึ้นไป รับฟรีประกันอุบัติเหตุ คุ้มครองสูงสุด 3 ล้านบาท ไม่ต้องสำรองจ่าย

แม้การเปิดบัญชีออนไลน์อาจจะดูเป็นเรื่องใหม่สำหรับบางคน แต่ถ้าเรารู้จักใช้เทคโนโลยีอย่างถูกต้องและรู้เท่าทัน การทำธุรกรรมออนไลน์ก็จะกลายเป็นเรื่องง่าย สะดวกสบาย และปลอดภัย ไม่ว่าจะเปิดบัญชีออนไลน์หรือทำธุรกรรมอย่างอื่น ก็สามารถทำได้อย่างปลอดภัย ไร้กังวล และห่างไกลมิจฉาชีพ

ช่วงนี้นอกจากข้าวของแพง เงินทองหายากแล้ว ชีวิตยังต้องลำบากกับการรับมือกลโกงมิจฉาชีพที่ระบาดหนักขึ้นทุกวัน แถมรูปแบบการหลอกลวงก็มีความหลากหลายและแนบเนียนขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งช่องทางพื้นฐาน ไปจนถึงแพลตฟอร์มออนไลน์ โซเชียลมีเดีย และแอปพลิเคชันต่าง ๆ ทำให้ใครหลาย ๆ คน ถูกดูดเงินออกจากกระเป๋าไปง่าย ๆ เพียงเพราะความประมาท ขาดสติ และเท่าไม่ทันกลโกง วันนี้ fintips by ttb #เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ จึงอยากชวนรู้ทันกันโกงของเหล่านักโจรกรรมทางการเงิน เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ  

ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้เราสะดวกสบาย ไม่ต้องเดินทางไปธนาคารเพื่อทำธุรกรรมทางการเงิน แต่หากใช้อย่างไม่ระมัดระวัง ก็อาจทำให้เกิดปัญหาตามมาได้ ดังนั้น อย่าหลงเชื่อ เพราะเพียงแค่มีโลโก้ชื่อธนาคารหลอกให้ทำธุรกรรมปลอม หรือปล่อยสินเชื่อ  

โดยมีวิธีการตรวจสอบง่าย ๆ ดังนี้ 

  • กลโกงมิจฉาชีพ ปลอม! ระวังมิจฉาชีพปลอมเป็นเพจ หรือเว็บไซต์ แอบอ้างเป็นธนาคาร หลอกให้ทำธุรกรรมเท็จ หรือให้คลิกลิงก์เพื่อหลอกเอาข้อมูลส่วนตัว เพราะธนาคารไม่มีนโยบายส่งลิงก์ให้กับลูกค้าในการทำธุรกรรม 
  • กลโกงมิจฉาชีพ ปลอม! ระวังมิจฉาชีพปลอมเป็นพนักงานธนาคารหลอกให้โอนเงิน ก่อนได้รับการอนุมัติสินเชื่อ เพราะธนาคารไม่มีนโยบายให้ลูกค้าโอนเงินก่อนการพิจารณาสินเชื่อ 
  • กลโกงมิจฉาชีพ ปลอม! ระวังมิจฉาชีพปลอมเอกสารธนาคารเพื่อล่อลวงให้ขอสินเชื่อ ดอกเบี้ยต่ำ สุดท้ายมาหลอกให้โอนเงินในรูปแบบต่าง ๆ เช่น จ่ายค่าธรรมเนียม ค่าโอน ฯลฯ เพราะธนาคารไม่มีนโยบายเก็บค่าธรรมเนียมลูกค้าในการขออนุมัติสินเชื่อ 

เช็กให้ชัวร์! ก่อนตกเป็นเหยื่อ 

  1. ตรวจสอบให้ดีก่อนให้รายละเอียดหรือข้อมูลส่วนตัว หากเป็นเพจหรือแพลตฟอร์มออนไลน์ ให้สังเกตว่าเป็น official platform หรือไม่  2
  2. ธนาคารไม่มีนโยบายเรียกเก็บค่าธรรมเนียมก่อนได้รับอนุมัติสินเชื่อ 3
  3. หากได้รับเอกสารที่ไม่คุ้นเคย หรือไม่แน่ใจว่าเป็นพนักงานตัวจริงหรือตัวปลอม ควรตรวจสอบโดยตรงกับธนาคาร  

ยุคสมัยที่เทคโนโลยีพัฒนาไปไกล มิจฉาชีพก็ขยันหาวิธีหลอกลวงใหม่ ๆ มาใช้มากมาย โดยเฉพาะบนโลกออนไลน์ ซึ่งนอกจากปลอมเป็นธนาคารแล้ว ยังมีวิธีต่าง ๆ อาทิ ล่อด้วยของรางวัลน่าสนใจ และส่ง URL หลอกให้คลิกลิงก์ผ่านทางข้อความ SMS, E-mail ที่สามารถหลอกดูดเงินได้อีกหลายทาง หรือกลโกงอีกแบบที่น่ากลัวคือ แฝงตัวมาบนโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มต่าง ๆ แอบอ้างเป็นแบรนด์ดัง และทำการซื้อโฆษณาเพื่อเชื่อมโยงไปเว็บไซต์ปลอมเพื่อหลอกเอาข้อมูล หรือสามารถสวมรอยเพื่อดูดเงินในบัญชีได้ เป็นต้น 

หากไม่อยากตกเป็นเหยื่อของภัยทางการเงินป้องกันได้! อย่าเปิดโอกาสให้คนร้ายใช้จุดอ่อนมากระตุ้นให้หลงเชื่อ เพราะภัยที่เกิดขึ้นกับคนส่วนใหญ่มักเกิดจากอารมณ์ “โลภ” และ “กลัว” จนขาดสติ ดังนั้น ควรระมัดระวังและตั้งสติทุกครั้ง ไม่หลงเชื่อใครง่าย ๆ ท่องไว้ว่า อย่ากด อย่าโอน อย่าแชร์ข้อมูลให้ใคร จะช่วยเป็นเกราะป้องกันที่ดีที่สุด อย่ากลัวเทคโนโลยีที่เข้ามาอำนวยความสะดวกสบาย ขอแค่ให้ใช้อย่างสติ รับรองว่าห่างไกลภัยทางการเงินได้ไม่ยาก 

 

X

Right Click

No right click