January 22, 2025

การทำธุรกรรมทางการเงินในปัจจุบันมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว จากเดิมที่เคยต้องเดินทางไปทำธุรกรรมที่สาขาธนาคาร กลับเปลี่ยนมาเป็นการทำธุรกรรมผ่านระบบออนไลน์ที่สะดวกและรวดเร็วกว่าเคย ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็สามารถจัดการได้อย่างง่ายดาย โดยหนึ่งในบริการที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ การเปิดบัญชีธนาคารออนไลน์ แต่หลายคนอาจยังมีคำถามในใจว่า เปิดบัญชีออนไลน์ปลอดภัยจริงหรือไม่? วันนี้ fintips by ttb #เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ จะมาไขข้อสงสัยเหล่านี้ให้กระจ่าง ช่วยให้คุณทำธุรกรรมออนไลน์ได้อย่างมั่นใจ ไร้กังวล ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจประเภทของบัญชีเงินฝากก่อนว่า มีกี่ประเภทและแต่ละประเภทต่างกันอย่างไร โดยสามารถแยก ประเภทของบัญชีเงินฝาก ได้ดังนี้

 

1. บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ (Savings Account)

บัญชีที่ให้ความยืดหยุ่นในการฝากถอนเงินได้ตลอดเวลา โดยสามารถใช้ร่วมกับบัตรเดบิต ได้รับอัตราดอกเบี้ยค่อนข้างต่ำ เหมาะสำหรับการทำธุรกรรมทางการเงินหลาย ๆ ครั้งเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น รับเงินเดือน จ่ายค่าสาธารณูปโภค หรือใช้จ่ายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์

2. บัญชีเงินฝากประจำ (Fixed Deposit Account)

บัญชีที่มีกำหนดระยะเวลาในการฝากถอนเงิน ซึ่งให้ดอกเบี้ยสูงกว่าบัญชีออมทรัพย์ แต่ไม่สามารถถอนเงินได้ก่อนครบกำหนด เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการออมเงินในระยะยาวเพื่อรับผลตอบแทนจากดอกเบี้ย

3. บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน (Current Account)

บัญชีที่ออกแบบมาเพื่อสำหรับการบริหารจัดการทางการเงิน เพื่อใช้ในธุรกิจและการค้าขาย โดยบัญชีเงินฝากกระแสรายวันนี้จะไม่มีสมุดคู่ฝาก แต่สามารถตรวจสอบยอดการทำธุรกรรมผ่านช่องทางออนไลน์และการแจ้งยอดบัญชีรายเดือน

เมื่อรู้จักถึงประเภทบัญชีเงินฝากทั้ง 3 ประเภทแล้ว มาดูกันว่าการเปิดบัญชีออนไลน์ จะมีข้อดี และข้อความระวัง หรือเคล็ดลับการเปิดบัญชีออนไลน์ให้ปลอดภัย ห่างไกลมิจฉาชีพกันเถอะครับ

ข้อดีของการเปิดบัญชีออนไลน์

การเปิดบัญชีออนไลน์ช่วยเพิ่มความสะดวกสบาย โดยไม่ต้องเสียเวลาต่อคิวที่ธนาคาร ไม่ต้องรอเวลาปิด-เปิดสาขาธนาคารที่จำกัด แค่ใช้แอปพลิเคชันของธนาคารก็สามารถเปิดบัญชีและจัดการธุรกรรมได้ นอกจากนี้ การทำธุรกรรมออนไลน์ยังเหมาะสำหรับผู้ที่อยู่ห่างไกลธนาคารและไม่สะดวกในการเดินทาง โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทที่อาจไม่มีสาขาธนาคารใกล้ ๆ รวมทั้งการขอรายการเดินบัญชีหรือทำธุรกรรมอื่น ๆ ก็สามารถทำได้ผ่านแอปพลิเคชันทันที ไม่ต้องรอหรือเก็บเอกสารแบบเดิม ๆ อีกต่อไป

 

เคล็ดลับเปิดบัญชีออนไลน์อย่างปลอดภัย ห่างไกลมิจฉาชีพ

1. เลือกธนาคารที่น่าเชื่อถือ ควรเลือกธนาคารที่มีระบบรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวดและมีนโยบายในการป้องกันและเยียวยาผู้ใช้บริการหากเกิดความเสียหายจากการโจรกรรมทางไซเบอร์

2. ใช้ระบบยืนยันตัวตนที่มีความปลอดภัยสูง ควรตรวจสอบว่าธนาคารที่ใช้มีระบบยืนยันตัวตนหลายชั้น เช่น การสแกนใบหน้า การสแกนม่านตา และการตั้งรหัสผ่านที่คาดเดายาก เพื่อลดความเสี่ยงจากการถูกแฮก

3. ตั้งรหัสผ่านอย่างรอบคอบ การตั้งรหัสผ่านต้องไม่ซ้ำกับรหัสอื่น ๆ ที่เคยใช้ หรือตั้งรหัสง่ายเกินไปจนมิจฉาชีพคาดเดาได้ง่าย หรือ ไม่ควรใช้ข้อมูลส่วนตัวในการตั้งรหัส เช่น วันเดือนปีเกิด หรือหมายเลขโทรศัพท์

4. ใช้อุปกรณ์ส่วนตัวและเครือข่ายที่ปลอดภัย เลือกทำธุรกรรมผ่านอุปกรณ์และ Wi-Fi หรือสัญญาณเครือข่ายส่วนตัว หลีกเลี่ยงการใช้ Wi-Fi สาธารณะที่อาจเสี่ยงต่อการถูกดักจับข้อมูล

5. เว็บไซต์และแอปพลิเคชันของธนาคารที่น่าเชื่อถือ มักจะให้กรอกข้อมูลเบอร์โทรศัพท์ อีเมลและรับแจ้งเตือนจากแอปพลิเคชันของธนาคารเอง ขั้นตอนการเปิดบัญชีออนไลน์จำเป็นต้องตรวจสอบง่าย แจ้งเตือนทุกความเคลื่อนไหวของการทำธุรกรรมการเงินออนไลน์แบบเรียลไทม์

สำหรับคนที่สนใจเปิดบัญชีออนไลน์กับ ทีทีบี สามารถทำได้ผ่านแอป ttb touch ทั้งสะดวกและปลอดภัย แจ้งเตือนทุกรายการ ไม่ว่าจะเป็นบัญชี ttb all free ที่มาพร้อมสิทธิประโยชน์มากมาย เช่น ส่วนลด

ร้านอาหาร ที่พัก และโค้ดส่วนลดแอปสั่งอาหารออนไลน์ พิเศษ! ฝากเงินตั้งแต่ 5,000 บาทขึ้นไป รับฟรีประกันอุบัติเหตุ คุ้มครองสูงสุด 3 ล้านบาท ไม่ต้องสำรองจ่าย

แม้การเปิดบัญชีออนไลน์อาจจะดูเป็นเรื่องใหม่สำหรับบางคน แต่ถ้าเรารู้จักใช้เทคโนโลยีอย่างถูกต้องและรู้เท่าทัน การทำธุรกรรมออนไลน์ก็จะกลายเป็นเรื่องง่าย สะดวกสบาย และปลอดภัย ไม่ว่าจะเปิดบัญชีออนไลน์หรือทำธุรกรรมอย่างอื่น ก็สามารถทำได้อย่างปลอดภัย ไร้กังวล และห่างไกลมิจฉาชีพ

ช่วงนี้นอกจากข้าวของแพง เงินทองหายากแล้ว ชีวิตยังต้องลำบากกับการรับมือกลโกงมิจฉาชีพที่ระบาดหนักขึ้นทุกวัน แถมรูปแบบการหลอกลวงก็มีความหลากหลายและแนบเนียนขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งช่องทางพื้นฐาน ไปจนถึงแพลตฟอร์มออนไลน์ โซเชียลมีเดีย และแอปพลิเคชันต่าง ๆ ทำให้ใครหลาย ๆ คน ถูกดูดเงินออกจากกระเป๋าไปง่าย ๆ เพียงเพราะความประมาท ขาดสติ และเท่าไม่ทันกลโกง วันนี้ fintips by ttb #เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ จึงอยากชวนรู้ทันกันโกงของเหล่านักโจรกรรมทางการเงิน เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ  

ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้เราสะดวกสบาย ไม่ต้องเดินทางไปธนาคารเพื่อทำธุรกรรมทางการเงิน แต่หากใช้อย่างไม่ระมัดระวัง ก็อาจทำให้เกิดปัญหาตามมาได้ ดังนั้น อย่าหลงเชื่อ เพราะเพียงแค่มีโลโก้ชื่อธนาคารหลอกให้ทำธุรกรรมปลอม หรือปล่อยสินเชื่อ  

โดยมีวิธีการตรวจสอบง่าย ๆ ดังนี้ 

  • กลโกงมิจฉาชีพ ปลอม! ระวังมิจฉาชีพปลอมเป็นเพจ หรือเว็บไซต์ แอบอ้างเป็นธนาคาร หลอกให้ทำธุรกรรมเท็จ หรือให้คลิกลิงก์เพื่อหลอกเอาข้อมูลส่วนตัว เพราะธนาคารไม่มีนโยบายส่งลิงก์ให้กับลูกค้าในการทำธุรกรรม 
  • กลโกงมิจฉาชีพ ปลอม! ระวังมิจฉาชีพปลอมเป็นพนักงานธนาคารหลอกให้โอนเงิน ก่อนได้รับการอนุมัติสินเชื่อ เพราะธนาคารไม่มีนโยบายให้ลูกค้าโอนเงินก่อนการพิจารณาสินเชื่อ 
  • กลโกงมิจฉาชีพ ปลอม! ระวังมิจฉาชีพปลอมเอกสารธนาคารเพื่อล่อลวงให้ขอสินเชื่อ ดอกเบี้ยต่ำ สุดท้ายมาหลอกให้โอนเงินในรูปแบบต่าง ๆ เช่น จ่ายค่าธรรมเนียม ค่าโอน ฯลฯ เพราะธนาคารไม่มีนโยบายเก็บค่าธรรมเนียมลูกค้าในการขออนุมัติสินเชื่อ 

เช็กให้ชัวร์! ก่อนตกเป็นเหยื่อ 

  1. ตรวจสอบให้ดีก่อนให้รายละเอียดหรือข้อมูลส่วนตัว หากเป็นเพจหรือแพลตฟอร์มออนไลน์ ให้สังเกตว่าเป็น official platform หรือไม่  2
  2. ธนาคารไม่มีนโยบายเรียกเก็บค่าธรรมเนียมก่อนได้รับอนุมัติสินเชื่อ 3
  3. หากได้รับเอกสารที่ไม่คุ้นเคย หรือไม่แน่ใจว่าเป็นพนักงานตัวจริงหรือตัวปลอม ควรตรวจสอบโดยตรงกับธนาคาร  

ยุคสมัยที่เทคโนโลยีพัฒนาไปไกล มิจฉาชีพก็ขยันหาวิธีหลอกลวงใหม่ ๆ มาใช้มากมาย โดยเฉพาะบนโลกออนไลน์ ซึ่งนอกจากปลอมเป็นธนาคารแล้ว ยังมีวิธีต่าง ๆ อาทิ ล่อด้วยของรางวัลน่าสนใจ และส่ง URL หลอกให้คลิกลิงก์ผ่านทางข้อความ SMS, E-mail ที่สามารถหลอกดูดเงินได้อีกหลายทาง หรือกลโกงอีกแบบที่น่ากลัวคือ แฝงตัวมาบนโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มต่าง ๆ แอบอ้างเป็นแบรนด์ดัง และทำการซื้อโฆษณาเพื่อเชื่อมโยงไปเว็บไซต์ปลอมเพื่อหลอกเอาข้อมูล หรือสามารถสวมรอยเพื่อดูดเงินในบัญชีได้ เป็นต้น 

หากไม่อยากตกเป็นเหยื่อของภัยทางการเงินป้องกันได้! อย่าเปิดโอกาสให้คนร้ายใช้จุดอ่อนมากระตุ้นให้หลงเชื่อ เพราะภัยที่เกิดขึ้นกับคนส่วนใหญ่มักเกิดจากอารมณ์ “โลภ” และ “กลัว” จนขาดสติ ดังนั้น ควรระมัดระวังและตั้งสติทุกครั้ง ไม่หลงเชื่อใครง่าย ๆ ท่องไว้ว่า อย่ากด อย่าโอน อย่าแชร์ข้อมูลให้ใคร จะช่วยเป็นเกราะป้องกันที่ดีที่สุด อย่ากลัวเทคโนโลยีที่เข้ามาอำนวยความสะดวกสบาย ขอแค่ให้ใช้อย่างสติ รับรองว่าห่างไกลภัยทางการเงินได้ไม่ยาก 

 

มนุษย์เงินเดือน หากจัดการเงินไม่เป็น ติดสไตล์สายเปย์ ก็มักจะหลงเข้าไปในวงจรการเงินแบบเดือนชนเดือน วันนี้ fintips by ttb #เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ ชวนคุณมาเปลี่ยน...จากมนุษย์เงินเดือนสายเปย์ไม่เลือก เป็นมนุษย์เงินเดือนสายเปย์แบบสมาร์ทให้คุณรู้จัก วางแผนใช้จ่าย เก็บออม และพร้อมลงมือทำ เพื่อการเงินที่ดีทั้งวันนี้และในอนาคต เริ่มต้นง่าย ๆ ด้วยการเปิดบัญชีเงินฝาก พร้อมตัวช่วยอย่าง “บัตรเดบิต”

บัตรเดบิต ตัวช่วยให้คุณไม่ต้องพกเงินสด ซึ่งแต่ละการใช้จ่าย ยอดจะถูกตัดจากเงินในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ที่ผูกกับบัตร ช่วยให้บริหารรายจ่ายได้ง่ายขึ้น ไม่เกินตัว เกินกำลัง ตามเงินที่มีอยู่ในปัจจุบัน แต่ก่อนจะทำบัตรเดบิตสักใบ มาดูกันกับ “5 เรื่องบัตรเดบิตต้องรู้”

  1. ศึกษาเงื่อนไขให้เข้าใจ

บัตรเดบิตของแต่ละธนาคารย่อมมีเงื่อนไขการใช้แตกต่างกัน ก่อนสมัครจึงควรทำความเข้าใจกับเงื่อนไขของแต่ละบัตรให้ดีเพื่อเลือกทำบัตรที่ตรงกับความต้องการ อาทิ มีค่าธรรมเนียมอย่างไร มีเงื่อนไขฝากขั้นต่ำครั้งแรกหรือไม่ ซึ่งบัตรเดบิต ttb all free เป็นบัญชีเงินฝากใหม่ที่ให้ฟรีสารพัดรายการไม่ว่าจะเป็น

  • ฟรีค่าธรรมเนียมเปิดบัญชี
  • ฟรีค่าธรรมเนียมบัตรเดบิต รูปแบบบัตรดิจิทัล ใช้จ่ายออนไลน์ได้สะดวก
  • ฟรีค่าธรรมเนียมกดเงินกับตู้เอทีเอ็ม
  • ฟรีค่าธรรมเนียมโอนเงินทั่วประเทศ
  • ฟรีค่าธรรมเนียม เติมเงิน และจ่ายบิล ทั้งผ่านตู้เอทีเอ็ม และ บนแอป ttb touch
  1. เลือกประเภทบัญชีที่ตอบโจทย์

บัตรเดบิตเป็นการทำบัตรกดเงินที่ผูกเข้ากับบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ เพราะฉะนั้นเมื่ออยากเปิดบัญชีเงินฝากให้ตรงกับความต้องการจึงควรเลือกดูทั้งเรื่อง ค่าธรรมเนียม เงินฝากขั้นต่ำ อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก เงื่อนไขในการถอนเงิน เพื่อเปรียบเทียบประเภทบัญชีเงินฝากที่ตอบโจทย์มากที่สุด โดยเฉพาะเมื่อต้องการเปิดบัญชีไว้ใช้จ่ายเป็นหลัก เก็บออมเป็นรอง ประเภทบัญชีออมทรัพย์ที่ให้ทำธุรกรรมต่าง ๆ ได้ฟรีอาจเป็นคำตอบที่ดีของใครหลายคน เช่น บัตรเดบิต ttb all free ที่สามารถใช้จ่ายได้อย่างอิสระ ไม่มีบวกเพิ่มค่าธรรมเนียมให้เป็นภาระการใช้จ่าย ใช้จ่ายบิล ซื้อของออนไลน์ หรือใช้จ่ายต่างประเทศก็ทำได้ ยิ่งถ้าเป็นคนชอบช้อปออนไลน์ ใช้จ่ายออนไลน์ หรือทำอะไรบนออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ บัตรเดบิต ttb all free ดิจิทัล จะช่วยตอบโจทย์ได้มาก ที่สำคัญไม่มีค่าธรรมเนียมออกบัตรและรายปี

  1. ติดตามยอดเงินบนบัตรเดบิตผ่านแอปธนาคารฯ หรือ โมบายแบงก์กิ้ง ได้ทุกที่ ทุกเวลา สะดวก และปลอดภัยขึ้นได้

ใส่ใจกับการทำบัญชีรายรับรายจ่าย ฝึกทักษะทางการเงิน และการรับผิดชอบตัวเอง พร้อมตรวจสอบ และติดตามยอดเงินบัตรเดบิตผ่านแอปธนาคารฯ จะได้รู้ตัวเองตั้งแต่เนิ่น ๆ ว่าเมื่อไหร่ใช้จ่ายเยอะเกินไป

  1. รู้วิธีเก็บบัตรเดบิตให้ปลอดภัย

เมื่อมีบัตรเดบิตเป็นของตัวเอง สิ่งสำคัญ คือ วิธีเก็บบัตรให้ปลอดภัย โดยเฉพาะในยุคที่มิจฉาชีพเกลื่อนเมืองแถมเข้าถึงตัวได้ทุกเมื่อ ดังนั้น จึงต้องระมัดระวังเรื่องของข้อมูลบัตรเดบิตเป็นพิเศษ ไม่ถ่ายรูปบัตรลงโซเชียลโดยเด็ดขาด รวมทั้งไม่บอกและไม่กรอกข้อมูลบัตรสุ่มสี่สุ่มห้า หากมีเหตุทำบัตรหล่นหาย หาบัตรไม่เจอ มีการแจ้งเตือนกดเงินที่ไม่ได้เป็นคนกดเอง

สิ่งที่ควรทำเป็นอย่างแรก คือ การอายัดบัตร โดยลูกค้าทีทีบีสามารถอายัดบัตรผ่านแอป ttb touch ด้วยขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้

  • เข้าหน้าหลักแอป ttb touch จากนั้นเลื่อนหาปุ่ม บัญชี ที่แถบเมนูด้านล่าง
  • เลือกเมนูเงินฝากที่ต้องการอายัดบัตร
  • เลือกแถบข้อมูลบัญชี
  • เลื่อนลงมาที่หัวข้อ การจัดการบัญชี เลือกเมนู บัตรเดบิต
  • เลือกประเภทบัตรเดบิตที่ต้องการอายัด
  • กดอายัดบัตร
  • อ่านรายละเอียด หากเข้าใจแล้วกดอายัดบัตร
  • ใส่ PIN เพื่อยืนยันการทำรายการ
  • ทำรายการอายัดบัตรเดบิตสำเร็จ
  1. เลือกบัตรเดบิตที่ให้สิทธิประโยชน์คุ้มกว่า

ข้อเปรียบเทียบสุดท้ายก่อนจะเลือกทำบัตรเดบิตสักใบคือเรื่องของความคุ้มค่า หลายคนจึงมองหาบัตรที่ให้สิทธิประโยชน์ที่คุ้มค่ากว่าการเก็บเงินไว้เฉย ๆ เช่น การเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ที่ฝากเงินไว้ครบตามเงื่อนไขก็จะได้รับประกันอุบัติเหตุฟรี และมีบัตรเดบิตที่คุ้มค่าในทุกการใช้จ่าย เช่น บัตรเดบิต ttb all free ฝากเงินไว้ได้ฟรีประกันอุบัติเหตุ เพียงเก็บเงินไว้ในบัญชีอย่างน้อย 5,000 บาท ก็ได้รับสิทธิ์เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ไม่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาก่อน

ง่าย ๆ เพียงแสดงบัตร all free E-Care Card ในแอปพลิเคชัน ttb touch สถานพยาบาลชั้นนำทั่วประเทศ คุ้มครองสูงสุด 3,000 บาท/อุบัติเหตุ ไม่จำกัดจำนวนครั้ง

จะเห็นได้ว่าบัตรเดบิตก็สามารถเป็นตัวช่วยในการจัดการเรื่องเงินให้ดีขึ้นได้ และเป็นได้มากกว่าบัตรเดบิต ด้วยสิทธิประโยชน์อื่น ๆ หรือการดูแลคุ้มครอง…รู้อย่างนี้แล้ว มาวางแผนการเงินให้ดีขึ้นได้ด้วย บัตรเดบิตที่ตอบโจทย์ชีวิตมนุษย์เงินเดือนด้วยกันเถอะ!

การวางแผน “ภาษี” เป็นเรื่องใกล้ตัวที่คนวัยทำงานต้องไม่ลืม เมื่อใกล้สิ้นปีแล้ว! ควรรีบคำนวณรายได้ปี 2566 ว่าต้องเสียภาษีเท่าไหร่ และควรใช้ตัวช่วยอะไรมาลดหย่อนภาษีให้ได้คุ้มค่า สำหรับใครที่นิยมซื้อกองทุน อย่าลืมว่านอกจาก SSF และ RMF ตัวช่วยที่คุ้ม 2 ต่อ ทั้งลดหย่อนค่าภาษีเซฟเงินในกระเป๋า และต่อยอดเงินลงทุนแล้ว ในปีนี้ยังมีตัวช่วยใหม่เพื่อการลดหย่อนภาษีอย่างยั่งยืนกองทุน “ThaiESG” เพิ่มมาอีกด้วย

วันนี้ fintips by ttb #เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ จะชวนมาทำความรู้จักกองทุนใหม่ ThaiESG พร้อมวิธีช่วยคำนวณในการซื้อกองทุนต่าง ๆ เพื่อลดหย่อนภาษีปลายปีกัน

รู้จักกองทุน ThaiESG

กองทุน ThaiESG หรือ กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thailand ESG Fund) มีนโยบายลงทุนในหลักทรัพย์ไทยที่เป็น ESG ประกอบด้วย ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental) สังคม (Social) ​และบรรษัทภิบาล (Governance) เป็นกองทุนลดหย่อนภาษีเช่นเดียวกับ SSF และ RMF แต่มีเงื่อนไขแตกต่างกัน โดยการลงทุนในกองทุน ThaiESG จะต้องลงทุนระยะยาว 8 ปีเต็มนับจากวันที่ซื้อ หรือ 10 ปีปฏิทิน ซื้อปีไหน ลดหย่อนได้ปีนั้น และไม่จำเป็นต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี สามารถลดหย่อนภาษีไม่เกิน 30% ของเงินได้ สูงสุด 100,000 บาท ซึ่งจะเป็นการแยกวงเงินออกจากกองทุน SSF และ RMF

ในขณะที่กองทุน SSF ลดหย่อนได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท และกองทุน RMF ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท แต่เมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน ประกันชีวิตบำนาญแล้ว ต้องรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท

พูดง่าย ๆ ก็คือ จะสามารถใช้ กองทุน ThaiESG ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท และเมื่อรวมกับกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุอื่น ๆ จะสามารถลดหย่อนได้สูงสุด 600,000 บาท

คำนวณดี ๆ รายได้เท่านี้ ควรซื้อกองทุนเท่าไหร่?

STEP 1 : คำนวณหาเงินได้สุทธิ

อันดับแรกต้องคำนวณหาเงินได้สุทธิเพื่อนำมาใช้ในการคำนวณภาษีก่อน โดยคำนวณจากการนำเงินได้ทั้งปี 2566 มารวมกัน แล้วหักด้วยค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อน

รายได้ทั้งปี - ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ

หากมีเงินเดือน 100,000 บาท รวมรายได้ทั้งปี 1,200,000 บาท จะสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท หักค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท และค่าลดหย่อนประกันสังคม 9,000 บาท เมื่อคิดเงินได้สุทธิแล้วจะอยู่ที่ 1,031,000 บาท

STEP 2 : คำนวณภาษีที่ต้องจ่าย

หลังจากคำนวณเงินได้สุทธิแล้วให้นำมาเทียบกับอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบขั้นบันได โดยนำเงินได้สุทธิคูณกับอัตราภาษีแต่ละขั้น เพื่อหาว่าต้องจ่ายภาษีท่าไหร่

[(เงินได้สุทธิ - เงินได้สุทธิสูงสุดของขั้นก่อนหน้า) x อัตราภาษี ]

+ ภาษีสะสมสูงสุดของขั้นก่อนหน้า = ภาษีที่ต้องจ่าย

จากจำนวนเงินได้สุทธิ 1,031,000 บาท จะอยู่ระหว่างฐาน 1,000,001 -  2,000,000 บาท อัตราภาษี 25% ทำให้จะต้องเสียภาษี (1,031,000 - 1,000,000) x 25% + 115,000 เท่ากับภาษีที่ต้องจ่าย 122,750 บาท

STEP 3 : คำนวณเงินที่ควรซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี

หากต้องการเปลี่ยนเงินที่ต้องจ่ายภาษีมาเป็นเงินออมไว้ใช้ในอนาคต สามารถเลือกลงทุนในกองทุนรวมลดหย่อนภาษีอย่าง SSF RMF และ ThaiESG ได้ ซึ่งจะคำนวณจาก

เงินได้สุทธิ – เงินได้สุทธิที่ได้รับการยกเว้น = เงินที่ซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีได้สูงสุด

ดังนั้น จำนวนเงินที่สามารถนำไปซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีให้พอดี จะคิดจากเงินได้สุทธิ 1,031,000 บาท หักเงินได้สุทธิที่ได้รับการยกเว้น 150,000 บาท จะได้เท่ากับ 881,000 บาท แต่เนื่องจากเงื่อนไขของกองทุน SSF และ RMF ซื้อได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้ และรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท ดังนั้น เมื่อรวมกับกองทุน ThaiESG อีก 100,000 บาท จะเท่ากับว่าสามารถซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีได้ทั้งหมด 600,000 บาทเท่านั้น

แล้วควรซื้อกองทุนไหนดี จำนวนเท่าไหร่บ้างนั้น ก็ให้ดูตามความเหมาะสม ได้แก่ เป้าหมายการลงทุนและความเสี่ยงที่รับได้ เช่น หากต้องการลงทุนระยะยาว 10 ปี ก็สามารถลงน้ำหนักไปที่กองทุน SSF จำนวน 200,000 บาท และกองทุน RMF อีก 300,000 บาท หรือหากต้องการลงทุนเพื่อเกษียณอายุก็สามารถลงน้ำหนักไปที่กองทุน RMF จำนวน 360,000 บาท แล้วที่เหลืออีก 140,000 บาท จึงนำไปซื้อ SSF ก็ได้เช่นกัน

สรุป หากซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี 600,000 บาท จะทำให้เหลือเงินได้สุทธิ (1,031,000 – 600,000) เท่ากับ 431,000 บาท ซึ่งจากเดิมจะเสียภาษีฐาน 25% มาเหลือเพียงฐาน 10% เท่านั้น และเมื่อคำนวณภาษีใหม่ จะเสียภาษี (431,000 - 300,000) x 10% + 7,500 เท่ากับ 20,600 บาท ซึ่งประหยัดได้ถึง 102,150 บาท เลยทีเดียว

จากตัวอย่างข้างต้น จะเห็นได้ว่าหากไม่มีตัวช่วยลดหย่อนภาษี จะทำให้มนุษย์เงินเดือนเสียภาษีหลักพันไปจนถึงหลักแสน แต่ถ้าย้ายเงินไปลงทุนในกองทุนลดหย่อนภาษี นอกจากจะช่วยเซฟเงินในกระเป๋าแล้ว ยังช่วยสร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีอีกด้วย

หากยังเลือกไม่ได้ ไม่รู้จะซื้อกองทุนไหนดี ทีทีบีคัดกองทุนลดหย่อนภาษีเด่น สร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่ดี พร้อมรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีมาให้แล้ว โดยมีให้เลือกหลากหลายทั้ง SSF และ RMF กับกองเด่นลดหย่อนภาษี ปี 2566 และยังมีกองทุน ThaiESG ตัวใหม่เพื่อการลดหย่อนภาษีอย่างยั่งยืน ที่คัดมาให้แล้ว คลิกดูรายละเอียดได้ที่ https://www.ttbbank.com/th/personal-invest

มาวางแผนลดหย่อนภาษีกันแต่เนิ่น ๆ ไปกับ “fintips by ttb” เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ เพื่อการเงินที่ดีขึ้นกัน!

fintips by ttb #เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ ชวนเช็กกันอีกรอบก่อนสิ้นปี! สำหรับเหล่ามนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มาสำรวจให้ดี ๆ ว่าปีนี้วางแผนภาษีล่วงหน้ากันครบถ้วนแล้วหรือยัง โดยเริ่มจากการคำนวณจำนวนภาษีที่ต้องเสียและหาตัวช่วยลดหย่อนภาษีรูปแบบต่าง ๆ

ยื่นภาษีเงินได้ผ่านช่องทางไหนได้บ้าง

การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปี 2567 สามารถทำได้หลายวิธี มีทั้งการยื่นภาษีแบบเอกสารกระดาษที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาใกล้บ้าน ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2567 หรือจะเลือกยื่นภาษีออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากรที่ www.rd.go.th สามารถทำได้ถึงวันที่ 8 เมษายน 2567

อัตราภาษีเงินได้เท่าไหร่ถึงต้องเสียภาษี

การคำนวณภาษีจะเป็นการคิดคำนวณแบบขั้นบันได ซึ่งจากข้อมูลอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2566

ผู้มีเงินได้สุทธิ 0 - 150,000 บาทแรก จะได้รับการยกเว้นภาษี และเงินได้สุทธิเกิน 150,000 บาทขึ้นไป จะเริ่มอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี โดยเริ่มที่ฐาน 5% รายละเอียดเกณฑ์อัตราภาษีสามารถดูได้จากภาพประกอบด้านล่าง

ภาษีเงินได้เกิน มีอะไรที่สามารถนำมาช่วยลดหย่อนได้บ้าง

"ค่าลดหย่อน" คือ สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ถูกกำหนดตามกฎหมาย กำหนดไว้ให้สามารถนำไปหักออกจากเงินได้หลังจากที่หักค่าใช้จ่ายแล้ว จะช่วยทำให้เราเสียภาษีน้อยลงหรืออาจจะไม่ต้องเสียภาษีเลยก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยในแต่ละปีอาจมีรายการลดหย่อนภาษีต่างกันออกไปเล็กน้อย เนื่องจากนโยบายของรัฐในช่วงนั้น ๆ โดยสำหรับปี 2566 มีรายการลดหย่อนภาษีแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มหลัก ได้แก่

ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว

  1. ลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
  2. คู่สมรส (จดทะเบียนสมรส - ไม่มีรายได้) 60,000 บาท
  3. บุตร คนละ 30,000 บาท หากเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย สามารถหักลดหย่อนได้ไม่จำกัดจำนวนคน แต่ถ้าเป็นบุตรบุญธรรม สามารถหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 3 คน โดยมีเงื่อนไขดังนี้
  • อายุไม่เกิน 20 ปี
  • หากอายุ 21 - 25 ปี ต้องศึกษาอยู่ในระดับ ปวส. ขึ้นไป
  • บุตรมีเงินได้ไม่ถึง 30,000 บาทต่อปี ในกรณีบุตรคนที่ 2 ขึ้นไปที่เกิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป จะสามารถลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท
  1. ค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร หักลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 60,000 บาท
  2. ค่าดูแลเลี้ยงดูพ่อแม่ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป คนละ 30,000 บาท โดยพ่อแม่ต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และสามารถหักลดหย่อนสำหรับพ่อแม่ของคู่สมรสได้อีกคนละ 30,000 บาท
  3. ค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ คนละ 60,000 บาท โดยผู้พิการต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และมีบัตรประจำตัวคนพิการ

ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มประกันและการลงทุน (ลำดับ)

  1. ประกันสังคมสูงสุด 9,000 บาท
  2. เบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่ของตัวเองและของคู่สมรส ลดหย่อนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท
  3. เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป หรือเงินฝากแบบมีประกันชีวิต (คุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป) ลดหย่อนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
  4. เบี้ยประกันสุขภาพตัวเอง ลดหย่อนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับประกันชีวิตทั่วไปแล้ว ต้องไม่เกิน 100,000 บาท
  5. เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนได้ 15% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท และอาจจะลดหย่อนได้สูงสุด 300,000 บาท ถ้ายังไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตทั่วไป โดยมีเงื่อนไขดังนี้
  • ระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป
  • จ่ายผลตอบแทนให้ผู้เอาประกันตั้งแต่อายุ 55 ปี ต่อเนื่องไปจนถึงอายุ 85 ปี หรือมากกว่านั้น
  1. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน ลดหย่อนได้ 15% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท และสำหรับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ลดหย่อนได้ 30% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
  2. กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ลดหย่อนได้สูงสุด 30% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท โดยมีเงื่อนไขดังนี้
  • ต้องถือหน่วยลงทุนไม่ต่ำกว่า 10 ปี นับจากวันที่ซื้อ
  • ไม่มีขั้นต่ำในการซื้อและไม่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี
  1. กองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ลดหย่อนได้สูงสุด 30% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท โดยมีเงื่อนไขดังนี้
  • ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี หรืออย่างน้อยปีเว้นปี
  • ต้องถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ซื้อครั้งแรก โดยนับเฉพาะปีที่มีการซื้อหน่วยลงทุน คือ ปีใดไม่ลงทุนจะไม่นับว่ามีการลงทุนในปีนั้น
  • ขายได้ตอนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
  1. กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุด 30,000 บาท

ทั้งนี้ กองทุน RMF, กองทุน SSF, กบข., กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน, กองทุนการออมแห่งชาติ และประกันชีวิตแบบบำนาญ เมื่อรวมกันทั้งหมด ต้องไม่เกิน 500,000 บาท

ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจ

  1. ดอกเบี้ยบ้าน ลดหย่อนได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท โดยมีเงื่อนไขดังนี้
  • เป็นดอกเบี้ยจากเงินกู้เพื่อซื้อบ้าน คอนโดมิเนียม หรือที่อยู่อาศัย โดยเราต้องอาศัยในบ้านหลังนี้ด้วย
  • ต้องเป็นการกู้เพื่อซื้อหรือสร้างที่อยู่บนที่ดินของตัวเอง หรือกู้เพื่อซื้อคอนโดมิเนียม
  • ต้องเป็นการกู้ยืมจากสถาบันการเงินภายในประเทศ
  • หากมีการกู้สำหรับที่อยู่อาศัยมากกว่า 1 แห่ง สามารถรวมกันได้ แต่ต้องไม่เกิน 100,000 บาท
  • กรณีกู้ร่วมกันหลายคน ให้แบ่งดอกเบี้ยคนละเท่า ๆ กัน
  1. เงินลงทุนวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) 100,000 บาท
  2. ช้อปดีมีคืน 40,000 บาท โดยมีเงื่อนไขดังนี้
  • ซื้อสินค้าและบริการทั่วไปที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) หนังสือ (รวมถึง e-book) และสินค้า OTOP ลงทะเบียนกับกรมพัฒนาชุมชนแล้ว
  • มีใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ลดหย่อนได้ 30,000 บาท
  • มีใบกำกับภาษีแบบอิเล็กทรอนิกส์ ลดหย่อนเพิ่มได้อีก 10,000 บาท
  • ใช้สำหรับการซื้อสินค้าในช่วงวันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2566

ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มเงินบริจาค

  1. บริจาคพรรคการเมือง 10,000 บาท
  2. เงินบริจาคเพื่อการศึกษา สนับสนุนกีฬา พัฒนาสังคมต่าง ๆ มูลนิธิด้านสาธารณสุข และโรงพยาบาลรัฐ ลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าของที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
  3. เงินบริจาคอื่น ๆ มูลนิธิและองค์กรสาธารณกุศล ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน

สำหรับใครที่มองหาวิธีเปลี่ยนเรื่องภาษีให้เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น ทีทีบีขอแนะนำ “My Tax” ฟีเจอร์ใหม่ บนแอป ttb touch ผู้ช่วยจัดการภาษีแบบครบวงจร ที่มาพร้อมฟีเจอร์ครบครันด้านภาษี ช่วยให้คุณวางแผนการเงินเพื่อประหยัดภาษีได้ล่วงหน้า…สะดวก ใช้งานก็ง่าย แถมไม่ต้องยุ่งยากกับเอกสารอีกด้วย

คลิก https://ttbbank.com/mytax เพื่อลองใช้งาน My Tax ผ่านแอป ttb touch

วางแผนลดหย่อนภาษีสามารถจัดการได้แต่เนิ่น ๆ

อ่านบทความฉบับเต็ม คลิกเลย! https://www.ttbbank.com/th/fintips-tax66-pr

หรือติดตามเคล็ดลับการเงินอื่น ๆ จาก fintips by ttb ได้ที่เว็บไซต์ทีทีบี เลือก “เคล็ดลับการเงิน”

คลิก https://www.ttbbank.com/th/fintips-097

 

Page 1 of 3
X

Right Click

No right click