January 28, 2025

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ประเมินว่า ไทยมีความเสี่ยงจะถูกเพ่งเล็งจากมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ ภายใต้นโยบาย Trump 2.0 สูงเป็นอันดับที่ 2 ของอาเซียน จากการที่สหรัฐฯ เสียเปรียบทางการค้ากับไทยในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นการเกินดุลการค้าของไทยสูง ข้อได้เปรียบด้านต้นทุนจากการอ่อนค่าของค่าเงินบาท จำนวนคำสั่งมาตรการ AD และ CVD ในหลายประเภทสินค้าสูงกว่าคู่เทียบ โดยเฉพาะการจัดเก็บภาษีนำเข้าสินค้าเกษตรของไทยในอัตราที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับคู่ค้ารายอื่น ซึ่งอาจทำให้สหรัฐฯ นำมาเป็นข้อต่อรองในการพิจารณาขึ้นกำแพงภาษีนำเข้าระลอกใหม่ ส่งผลให้ไทยมีความเสี่ยงที่จะถูกกดดันให้เปิดตลาดนำเข้าสินค้าเกษตรที่สำคัญเพิ่มเติม อาทิ เนื้อสัตว์และเครื่องในสัตว์ ถั่วเหลือง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

ชี้ไทยอาจถูกเพ่งเล็งจากสหรัฐฯ หลังได้เปรียบการค้าสูงเป็นอันดับสองของอาเซียน

นับตั้งแต่สงครามการค้าระลอกแรก (Trump 1.0) ในปี 2561 อาเซียนกลายเป็นภูมิภาคที่น่าจับตามองอย่างมาก หลังได้อานิสงส์จากการที่จีนใช้อาเซียนเป็นฐานในการเปลี่ยนเส้นทางการค้า รวมถึงย้ายฐานการผลิตเพื่อส่งออกไปยังสหรัฐฯ มากขึ้น จึงทำให้หลายประเทศเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 1-2 เท่า เมื่อเทียบกับก่อนสงครามการค้าในปี 2560 โดยเฉพาะเวียดนามที่เกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ มากกว่า 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2566 หรือเพิ่มขึ้นถึงเกือบ 3 เท่า

สำหรับปี 2568 สงครามการค้าครั้งใหม่ที่กำลังจะมาถึงภายใต้ผู้นำสหรัฐฯ คนเดิมสมัยที่ 2 อย่างโดนัลด์ ทรัมป์ (นโยบาย Trump 2.0) คาดว่าจะสร้างความปั่นป่วนแก่ตลาดการเงินและการค้าโลกอีกระลอก โดยทรัมป์มีความมุ่งมั่นที่จะผลักดันเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็น การแก้ไขกฎหมายให้เอื้อต่อการแข่งขัน การลดภาษีบุคคลธรรมดาและภาษีนิติบุคคล การจัดการปัญหาแรงงานผิดกฎหมาย การกระตุ้นการลงทุนในอุตสาหกรรมหลักของประเทศ และที่สำคัญคือ การประกาศกีดกันทางการค้าผ่านการตั้งกำแพงภาษีนำเข้าสินค้าจากจีน 60-100% เมื่อเทียบกับสงครามการค้าระลอกแรกที่อัตราภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเฉลี่ย 21.5% อีกทั้งยังมีแผนจะขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าที่มาจากประเทศอื่น ๆ เพิ่มเติมอีก 10-20% จากเดิมที่เก็บในอัตราภาษีนำเข้าเฉลี่ยเพียง 3%

ttb analytics มองว่า การที่ทรัมป์ยังไม่ได้ส่งสัญญาณชัดเจนเกี่ยวกับมาตรการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าในพิธีสาบานตนเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2568 ที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งสหรัฐฯ อยู่ระหว่างแต่งตั้งคณะผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (The United States Trade Representative : USTR) แต่ก็สะท้อนท่าทีของทรัมป์ต่อมาตรการทางการค้า Trump 2.0 ว่าจะมีความแตกต่างจาก Trump 1.0 โดยสิ้นเชิง กล่าวคือ การที่ทรัมป์หยิบยกนโยบายขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าครอบคลุมทุกประเทศในช่วงหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อปูทางไปสู่ “การเจรจาต่อรองทางการค้าแบบเจาะจงเป็นรายประเทศและรายกลุ่มสินค้า” (Bilateral Agreement) เมื่อเทียบกับนโยบาย Trump 1.0 ที่พุ่งเป้าลดการขาดดุลการค้ากับจีนเป็นหลัก (เนื่องจากสหรัฐฯ ขาดดุลการค้ากับจีนมากที่สุด สูงถึง 4.2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ ขณะนั้น (ปี 2561))

 ทั้งนี้ ระดับความเข้มข้นของกรอบการเจรจาการค้าภายใต้นโยบาย Trump 2.0 ที่มีต่อประเทศคู่ค้าของสหรัฐฯ จะมีความแตกต่างกันไปตามความได้เปรียบทางการค้ากับสหรัฐฯ โดย ttb analytics ประเมินจาก 5 ด้านหลัก ได้แก่ 1) ระดับการเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ (Bilateral Trade Surplus) 2) ข้อได้เปรียบด้านต้นทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเทียบดอลลาร์สหรัฐ (Exchange Rate Adjusted Cost Advantage) 3) ส่วนต่างอัตราภาษีนำเข้าสินค้าของสหรัฐฯ กับประเทศคู่ค้าปลายทางในกลุ่มสินค้าเกษตร (MFN Tariff Excess on Agricultural Products) 4) ส่วนต่างอัตราภาษีนำเข้าสินค้าของสหรัฐฯ กับประเทศคู่ค้าปลายทางในกลุ่มสินค้าอื่น ๆ ที่ไม่ใช่สินค้าเกษตร (MFN Tariff Excess on Non-agricultural Products) และ 5) ระดับการปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศของสหรัฐฯ ผ่านจำนวนคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับมาตรการทุ่มตลาด (Anti-dumping : AD) และมาตรการตอบโต้การอุดหนุน (Countervailing Duty : CVD) ที่ได้รับรายงานจากคณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (US International Trade Commission : USITC)

ttb analytics ประเมินว่า ไทยมีแนวโน้มถูกเพ่งเล็งจากนโยบายการค้าของสหรัฐฯ ภายใต้ Trump 2.0 สูงเป็นอันดับที่ 2 ของกลุ่มประเทศอาเซียนรองจากเวียดนาม เนื่องจากสหรัฐฯ เสียเปรียบทางการค้ากับไทยในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็น การเกินดุลการค้าของไทยสูงและเพิ่มขึ้นอย่างมีนัย ข้อได้เปรียบด้านต้นทุนจากการอ่อนค่าของค่าเงินบาทระยะหลัง จำนวนคำสั่งมาตรการ AD และ CVD ในหลายประเภทสินค้า (เช่น เหล็กและโลหะ แผงโซลาร์ และเคมีภัณฑ์) สูงกว่าคู่เทียบ รวมถึงการจัดเก็บภาษีนำเข้าสินค้าเกษตรของไทยในอัตราที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับคู่ค้ารายอื่น นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของไทย ด้วยมูลค่าการส่งออกสูงถึง 4.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 17% ของมูลค่าส่งออกทั้งหมด คิดเป็นกว่า 9.4% ของจีดีพีไทย ทำให้การยกมาตรการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าสูงสุดถึง 20% ในระลอกนี้จะสร้างผลกระทบต่อภาคส่งออกของไทยอย่างมหาศาล ซึ่งจะเป็นการง่ายกับสหรัฐฯ ในการเรียกร้องสิทธิประโยชน์ทางการค้ากับไทย

คาดสหรัฐฯ อาจกดดันให้ไทยเปิดตลาดสินค้าเกษตรเพิ่มเติม หลังไทยพยายามลดการนำเข้ามาโดยตลอด

ที่ผ่านมา ไทยเป็นคู่ค้าในการส่งออกสินค้าเกษตรที่สำคัญของสหรัฐฯ เป็นอันดับที่ 16 เทียบกับคู่ค้าทั้งหมดกว่า 200 ประเทศ ด้วยมูลค่าส่งออกราว 1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2560 แต่ปัจจุบันมูลค่าส่งออกสินค้าเกษตรกลับเหลือเพียง 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือลดลงเฉลี่ยปีละ 6.8% จนทำให้อันดับของไทยในฐานะคู่ค้าสำคัญในหมวดสินค้าเกษตรตกลงมาอยู่ที่อันดับที่ 25 ซึ่งแม้ส่วนหนึ่งจากการที่บริษัทสัญชาติสหรัฐฯ หันมาตั้งโรงงานผลิตสินค้าเกษตรในไทยมากขึ้นแล้ว ยังมาจากการที่ไทยมีกลไกการปกป้องภาคการเกษตรซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของอุตสาหกรรมในประเทศ โดยกระทรวงพาณิชย์กำหนดมาตรการควบคุมการนำเข้าสินค้า ซึ่งมีผลบังคับใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน 23 รายการ เช่น นม ครีม และเครื่องดื่มประเภทนมปรุงแต่ง ผักและผลไม้ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าว ถั่วเหลือง น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กาแฟ และ ยาสูบ (ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง)

การถูกเพ่งเล็งจากสหรัฐฯ เรื่องการจัดเก็บอัตราภาษีนำเข้าสูงและจำกัดโควตาสินค้าเกษตรไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับไทย ยกตัวอย่างเช่น ในเดือนพฤศจิกายน 2563 ทรัมป์ได้ลงนามยกเลิกการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (GSP) เป็นครั้งที่ 2 กับสินค้าไทย 231 รายการ คิดเป็นมูลค่า 817 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยให้เหตุผลว่าไทยเปิดตลาดสินค้าและผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับหมูอย่างไม่เป็นธรรม (โดยสหรัฐฯ เคยตัดสิทธิ GSP ไทยครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายน 2563 จากการที่ไทยล้มเหลวเรื่องการคุ้มครองสิทธิแรงงานตามหลักสากลในอุตสาหกรรมประมง) ด้าน USITC ยังชี้ว่าไทยมีการบริหารจัดการอัตราภาษีในและนอกโควตาที่ไม่โปร่งใส การควบคุมใบอนุญาตนำเข้าโดยพลการ และมาตรฐานอาหารที่ไม่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล นอกจากนี้ ไทยยังคิดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าเกษตรเฉลี่ยค่อนข้างสูงอยู่ที่ 42% เมื่อเทียบกับการจัดเก็บภาษีนำเข้าสินค้าประเภทอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมวดสินค้าอาหารที่ไม่ผ่านการแปรรูป (Unprocessed Food) อาทิ ผลิตภัณฑ์นม เนื้อสัตว์ ผักและผลไม้สด ซึ่งทำให้

สหรัฐฯ เสียอัตราภาษีนำเข้าสูงสุดถึง 216% เทียบกับประเทศอื่นที่ไทยมีข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศซึ่งทำให้อัตราภาษีนำเข้าสินค้าเกษตรส่วนใหญ่ลดลงเหลือ 0% ส่งผลให้อัตราภาษีนำเข้าสินค้าเกษตรที่มาจากสหรัฐฯ ค่อนข้างสูง

คาดสหรัฐฯ อาจกดดันไทยให้เปิดตลาดนำเข้าสินค้าเกษตรที่สำคัญเพิ่มเติม เพื่อต่อรองกับการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าที่มาจากประเทศไทยในกลุ่มอื่น ๆ ซึ่งตลอดหลายปีที่ผ่านมา สหรัฐฯ พยายามเจรจาขอให้ไทย รวมถึงประเทศคู่ค้าอื่นนำเข้าสินค้าเกษตรหลายประเภท รวมถึงกดดันผ่านการตัดสิทธิประโยชน์ด้านการค้า การเรียกร้องให้แก้ไขกฎระเบียบการค้าขององค์การการค้าโลก ซึ่งคาดว่าแรงกดดันจาก Trump 2.0 จะส่งผลต่อท่าทีของไทยเกี่ยวกับการนำเข้าสินค้าเกษตรหลายประเภท อาทิ เนื้อสัตว์และเครื่องในสัตว์ ถั่วเหลือง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่สุดแล้ว ttb analytics มองว่า ไทยอาจจำเป็นต้องผ่อนปรนมาตรการทางการค้ากับสหรัฐฯ ในบางข้อ เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบจากมาตรการขึ้นกำแพงภาษีนำเข้าในครั้งนี้

โดยสรุป ท่ามกลางกติกาการค้าโลกที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง ผู้ประกอบการไทยควรกระจายความเสี่ยงผ่านการขยายช่องทางตลาดไปยังภูมิภาคอาเซียนมากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูป ซึ่งถือเป็นสินค้าที่ไทยมีศักยภาพในการผลิตและการส่งออกสูง ประกอบกับไทยมีสิทธิประโยชน์ทางการค้า FTA กับอาเซียน ซึ่งจะช่วยสร้างแต้มต่อทางการแข่งขันให้กับสินค้าเกษตรของไทยในตลาดโลก

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี จัดงานใหญ่แห่งปี “อัศจรรย์ เฟสติวัล” งานแรกประเดิมรับศักราชใหม่ที่รวมสุดยอดโปรโมชันจากพาร์ทเนอร์ชั้นนำ การบินไทย, โรงแรมในเครือดุสิตธานี, โรงแรมในเครือไมเนอร์, Global Union Express, Klook, Disney On Ice, Major Group, SEKI และอาร์ตทอยสุดแรร์ จาก Beast Kingdom โดยชวนทุกคนที่ร่วมงานมาเพิ่มประสบการณ์ความสนุก พร้อมพบดีลพิเศษที่หาไม่ได้จากงานไหน และพิเศษสำหรับลูกค้าบัตรเครดิต ttb และบัตรเดบิต ttb all free รับโปรโมชันพิเศษเพิ่ม ตลอด 4 วัน ในวันที่ 13  - 16 กุมภาพันธ์ 2568 นี้ ณ แฟชั่น ฮอลล์ ชั้น 1 สยามพารากอน โปรโมชันสุดพิเศษในงาน อาทิ 

  • การบินไทย จัดแพ็กเกจ พร้อมข้อเสนอพิเศษ รวมบัตรโดยสารและบัตรผ่านเข้า Disneyland ทั้ง 4 ประเทศ ได้แก่ ฮ่องกง โตเกียว เซี่ยงไฮ้ และปารีส
  • โรงแรมในเครือดุสิตธานี มอบโปรโมชันห้องพัก ห้องอาหาร สปาโรงแรม และรีสอร์ทในเครือดุสิตทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ ในราคาเริ่มต้น 990 บาท
  • โรงแรมในเครือไมเนอร์ พบกับห้องพักราคาพิเศษ เริ่มต้น 3,200 บาท สำหรับโรงแรมในเครือไมเนอร์ที่ร่วมรายการ
  • Global Union Express เสนอแพ็กเกจห้องพัก พร้อมตั๋วเครื่องบิน และแพ็กเกจทัวร์ต่าง ๆ ทั่วโลกราคาพิเศษ เส้นทางสุดฮิต อาทิ โตเกียว ฮ่องกง เซี่ยงไฮ้ ปารีส
  • Klook มอบโปรโมชันพิเศษ

1) ซื้อ 1 แถม 1 สำหรับกิจกรรมที่กำหนด (จำนวน 10 สิทธิ์/วัน) 

2) มอบโค้ดส่วนลดมูลค่า 500 บาท (จำนวน 40 สิทธิ์/วัน) ใช้ได้กับทุกกิจกรรมบน Klook 

3) เฉพาะลูกค้าใหม่รับโค้ดส่วนลดเพิ่ม 100 บาท (ไม่มีขั้นต่ำและไม่จำกัดจำนวน) 

4) ผู้ซื้อกิจกรรมผ่าน Klook ภายในงาน รับสิทธิ์จับ Lucky Draw เพิ่ม (1 สิทธิ์/ผู้ใช้) เพื่อลุ้นรับ Klook e-Voucher มูลค่าสูงสุด 300 บาท (รวมจำนวน 60 รางวัล/วัน) 

  • Disney On Ice มอบส่วนลดสุดพิเศษ 10% สำหรับซื้อบัตรชม Disney On Ice ภายในงาน เมื่อชำระด้วยบัตรเครดิต ttb และบัตรเดบิต ttb all free
  • Major Group มอบโปรโมชันพิเศษ

1) สมัครบัตร Member Blu-O & Sub Zero ราคาพิเศษเริ่มเพียง 1,600 บาท จากราคาปกติ 2,000 บาท

2) ซื้อแพ็กเกจ MPASS Voucher รับฟรีคูปอง Popcorn ขนาด 46 oz (มูลค่า 100 บาท)

3) ซื้อแพ็กเกจ Kid Cinema ราคาพิเศษเริ่มเพียง 800 บาท จากราคาปกติ 1,300 บาท 

  • SEKI มอบโปรโมชันพิเศษ

1) รับฟรี Ume Sashimi มูลค่า 899 บาท เมื่อซื้อคูปองแทนเงินสด มูลค่า 5,000 บาท 

2) รับฟรี Sushi 12 Kan มูลค่า 1,990 บาท เมื่อซื้อคูปองแทนเงินสด มูลค่า 10,000 บาท

  • Beast Kingdom มอบส่วนลดอาร์ตทอย 20% เมื่อชำระด้วยบัตรเครดิต ttb และบัตรเดบิต ttb all free

ทั้งนี้ สิทธิพิเศษเพิ่มเติมภายในงานที่คุ้มยิ่งกว่าสำหรับลูกค้าบัตรเครดิต ttb สามารถแลกคะแนนรับเครดิตเงินคืน 20% เมื่อใช้คะแนนแลกเท่ายอดใช้จ่ายภายในงาน และบัตรเดบิต ttb all free รับบัตร Starbucks มูลค่า 100 บาท เมื่อใช้จ่ายสะสมภายในงานตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป สูงสุด 500 บาท มากไปกว่านั้นเตรียมพบกับความสนุกจัดเต็มความบันเทิงจากศิลปินนักร้องแถวหน้าของเมืองไทยกับ Ally ในวันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 นี้ และวง PiXXiE ในวันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2568 

ทีทีบีเดินหน้าพัฒนาและสร้างสรรค์โซลูชันทางการเงินที่ยกระดับผลิตภัณฑ์และประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้น รวมถึงการจัดกิจกรรมและแคมเปญสำหรับลูกค้าทีทีบีอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมให้ลูกค้าทุกคนมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นในทุกมิติอย่างแท้จริง รายละเอียดเพิ่มเติมงาน “ทีทีบี อัศจรรย์ เฟสติวัล” สามารถคลิกได้ที่  https://www.ttbbank.com/th/promotion/detail/ttb-festival-jan25 


ทีทีบีส่งเสริมให้ลูกค้าบัตรเครดิตใช้จ่ายเท่าที่จำเป็นและชำระคืนได้เต็มจำนวนตามกำหนด จะได้ไม่เสียดอกเบี้ย 7 - 16% ต่อปี เพื่อชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นทั้งในวันนี้ และอนาคต

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี จัดแคมเปญ Megabangna Exclusive 2025” กิน – ช้อป สนุกสุดคุ้มได้มากกว่ากับผู้ถือบัตรเครดิต ttb และบัตรเครดิต ttb Global House ประเภทบุคคลธรรมดา รับสิทธิพิเศษมากมาย ณ ศูนย์การค้าเมกาบางนา ตั้งแต่วันที่ 6 มกราคม 2568 – วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568

  1. รับส่วนลดสูงสุด 50% หรือสิทธิพิเศษจากหมวดร้านอาหาร และหมวดร้านค้าที่ร่วมรายการ
  2. รับ MEGA VOUCHER มูลค่า 200 บาท เมื่อมียอดใช้จ่ายสะสมครบ 5,000 บาทขึ้นไปต่อวัน ณ ร้านอาหารและร้านค้าที่ร่วมรายการ จำนวน 1 สิทธิ์ / หมายเลขบัตร / วัน
  3. รับเพิ่ม! กระเป๋า Limited Edition ออกแบบโดยศิลปิน The Fairydust Spell มูลค่า 999 บาท เมื่อมียอดใช้จ่ายสะสมครบ 10,000 บาทขึ้นไปต่อวัน ณ ร้านอาหารและร้านค้าที่ร่วมรายการ ตั้งแต่วันที่ 6 มกราคม 2568 – วันที่ 31 มกราคม 2568 จำนวน 1 ใบ / หมายเลขบัตร / วัน

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมของโปรโมชัน ได้ที่ https://www.ttbbank.com/th/promotion/detail/-megabangna-jan25

ทีทีบีส่งเสริมให้ลูกค้าบัตรเครดิตใช้จ่ายเท่าที่จำเป็นและชำระคืนได้เต็มจำนวนตามกำหนด จะได้ไม่เสียดอกเบี้ย 7% -16% ต่อปี เพื่อชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นทั้งในวันนี้ และอนาคต

ในยุคปัจจุบันที่สภาพภูมิอากาศผันแปรอย่างรวดเร็ว อาจนำมาสู่การสูญพันธุ์ครั้งที่ 6 ของสิ่งมีชีวิต ทุกภาคส่วนจึงต้องตื่นตัว รวมถึงภาคธุรกิจ หากตระหนักและใส่ใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จะเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญและช่วยให้ธุรกิจยั่งยืนได้ finbiz by ttb จึงชวนผู้ประกอบการมาทำความเข้าใจและจัดเก็บข้อมูลเพื่อจัดการคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร ให้ธุรกิจสามารถจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างถูกต้องตรงจุด และเสริมภาพลักษณ์ที่แข็งแกร่งให้กับองค์กร

การสูญพันธุ์ครั้งที่ 6 สัญญาณเตือนที่ไม่ควรมองข้าม

โลกได้เผชิญกับการสูญพันธุ์มาแล้วถึง 5 ครั้ง ซึ่งในแต่ละครั้งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การปะทุของภูเขาไฟที่เป็นไปโดยธรรมชาติ และอีก 1 ครั้งจากการชนโลกของอุกกาบาตขนาดใหญ่ และในครั้งนี้ที่โลกกำลังเผชิญกับการสูญพันธุ์ครั้งที่ 6 ซึ่งจะมีอัตราการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตเร็วกว่าปกติถึง 100-1,000 เท่า และมีการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ของสภาพแวดล้อมเร็วกว่าการทำนายโดยสถิติที่เคยคาดการณ์ไว้ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รวดเร็วด้วยอัตราความเร่งที่สูงกว่าอดีต ซึ่งสาเหตุหลักมาจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การตัดไม้ทำลายป่าและการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล ปัญหานี้ไม่ได้กระทบเฉพาะธรรมชาติ แต่ยังส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจและการดำเนินธุรกิจอย่างชัดเจน ธุรกิจจึงต้องเริ่มปรับตัวตั้งแต่วันนี้ ก่อนที่จะต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่คาดไม่ถึงและกฎระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ที่จะมีเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต

พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป เมื่อความยั่งยืนของโลกคือสิ่งที่ลูกค้าต้องการ

อีกหนึ่งปัจจัยที่ธุรกิจต้องให้ความสนใจด้านสิ่งแวดล้อม คือ พฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของความยั่งยืนในธุรกิจมากขึ้น ผลสำรวจจาก Nielsen ในปี 2023 พบว่า 73% ของผู้บริโภคทั่วโลกยินดีจ่ายเงินเพิ่มเพื่อสนับสนุนแบรนด์ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะกลุ่ม Gen Z และ Millennials ที่มองว่าความยั่งยืนไม่ใช่แค่ “ตัวเลือก” แต่เป็น “มาตรฐาน” เช่น การตัดสินใจซื้อสินค้าจากแบรนด์ที่ลดการใช้พลาสติก หรือมีการชดเชยคาร์บอน (Carbon Offset) ธุรกิจที่ไม่ปรับตัวให้สอดคล้องกับแนวโน้มนี้ อาจเสี่ยงเสียส่วนแบ่งตลาดให้กับคู่แข่งที่นำเสนอมูลค่าด้านความยั่งยืนได้ดีกว่า

ความสมดุลระหว่าง ต้นทุน กำไร และความเสี่ยง คือหัวใจความยั่งยืนของธุรกิจ

การผสมผสานเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมเข้ากับกลยุทธ์ทางธุรกิจ ไม่ได้แค่สร้างภาพลักษณ์ที่ดีและมีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภค แต่ยังช่วยลดต้นทุนระยะยาว และรักษาสมดุลของต้นทุน กำไร และความเสี่ยง เช่น การใช้พลังงานทดแทนหรือการปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นเกราะป้องกันความเสี่ยงที่เกิดจากกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดขึ้น จึงเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้เป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม กลายเป็นความยั่งยืนทั้งของโลกและของธุรกิจ

ก๊าซเรือนกระจก 7 ชนิด ที่ธุรกิจต้องลดให้ได้

ก๊าซเรือนกระจกที่มีบทบาทสำคัญในการเพิ่มอุณหภูมิโลก ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ คิดเป็น 74% ของก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด มาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง มีเทน เกิดจากภาคเกษตรกรรมและการทิ้งขยะ ไนตรัสออกไซด์ มาจากปุ๋ยเคมีและการผลิตอุตสาหกรรม กลุ่มก๊าซเปอร์ฟลูออไรคาร์บอน เกิดจากกระบวนการถลุงอะลูมิเนียม และใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิต กลุ่มก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน ที่ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องทำความเย็น ไนโตรเจนไตรฟลูออไรด์ อยู่ในกระบวนการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ นำมาใช้เป็นฉนวนไฟฟ้าจากอุปกรณ์สวิตช์ไฟฟ้าแรงสูง หากธุรกิจสามารถวิเคราะห์และลดการปล่อยก๊าซเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การลดใช้พลังงานที่มาจากฟอสซิล ก็จะช่วยลดต้นทุนในกระบวนการผลิตและเพิ่มโอกาสทางธุรกิจในระยะยาวได้

ก๊าซเรือนกระจกในขอบเขตขององค์กร

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรสามารถแบ่งเป็น 3 Scope ที่สำคัญ ธุรกิจต้องทำความเข้าใจในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแต่ละ Scope จึงจะดูแลได้อย่างตรงจุด

  • Scope 1: การปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยตรง การปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกทางตรงจากกิจกรรมของธุรกิจเอง เห็นได้ง่าย ๆ คือ มีควันออกมาจากปล่อง มีการรั่วออกมาโดยตรง
  • Scope 2: การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมที่ถูกซื้อมา การปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงาน ที่องค์กรของเราซื้อหรือนำเข้ามาโดยที่องค์กรไม่ได้ผลิตเอง มีทั้งหมด 5 รายการ ได้แก่ ไฟฟ้า ไอน้ำ ความร้อน ความเย็น และ อากาศอัด
  • Scope 3: การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่น ๆ การปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่น ๆ เช่น จากซัพพลายเชนของธุรกิจ

 

คาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร สิ่งที่ทุกธุรกิจต้องใส่ใจ

การจัดการคาร์บอนองค์กร เช่น การตั้งเป้า Net Zero หรือการพัฒนาสินค้าคาร์บอนต่ำ ไม่เพียงสร้างความยั่งยืนในสายตาของผู้บริโภค แต่ยังเพิ่มความน่าสนใจให้กับนักลงทุนที่มองหาองค์กรที่มีเป้าหมายระยะยาวที่ชัดเจน บริษัทใหญ่หลาย ๆ บริษัทมีเป้าหมายที่ชัดเจน เช่น ตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากผลิตภัณฑ์ทุกชิ้นให้เป็นศูนย์ภายในปีที่กำหนด ซึ่งนอกจากจะเป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อมแล้วยังช่วยเสริมภาพลักษณ์ที่เข้มแข็งของธุรกิจในตลาดโลก ธุรกิจที่ตื่นตัวและเร่งใส่ใจด้านสิ่งแวดล้อม ไม่เพียงสร้างความเชื่อมั่นในระยะสั้นให้ผู้บริโภค แต่ยังช่วยปูทางสู่ความสำเร็จในอนาคตที่ยั่งยืนและเติบโตได้อย่างมั่นคง

ขั้นตอนสู่การจัดการคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร

ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดขอบเขตองค์กร แบบควบคุมทางการเงินและควบคุมการดำเนินงาน หรือ แบบปันส่วนตามกรรมสิทธิ์ และการกำหนดขอบเขตการดำเนินงานตาม 3 Scope

ขั้นตอนที่ 2 การระบุกิจกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในขอบเขตและ Value Chain ขององค์กร

ขั้นตอนที่ 3 การจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมและแหล่งที่มาของก๊าซเรือนกระจก

ขั้นตอนที่ 4 การคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ขั้นตอนที่ 5 วิเคราะห์ข้อมูลกิจกรรมและค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อปรับปรุงคุณภาพข้อมูล การจัดลำดับความสำคัญของกิจกรรมตามความเกี่ยวข้องและนัยยะสำคัญขององค์กร

ขั้นตอนที่ 6 รายงานและทวนสอบ จัดทำรายงานเพื่อแสดงแหล่งที่มาและกิจกรรมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการตรวจสอบโดยองค์กรภายนอกที่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

ขั้นตอนที่ 7 ขึ้นทะเบียน ผู้ตรวจสอบจะออกรายงานการทวนสอบ และถ้อยแถลงส่งมาที่องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ซึ่งจะพิจารณาอนุมัติขึ้นทะเบียนคาร์บอนฟุตพริ้นท์และออก Certificate เพื่อรับรองว่าองค์กรปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่าไหร่ในแต่ละ Scope

การจัดการคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรเป็นก้าวแรกของการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นธุรกิจที่ยั่งยืน เพื่อนำไปสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ เพื่อให้องค์กรรู้ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่แท้จริง และจัดการก๊าซเรือนกระจกได้ถูกต้องตรงจุด อันจะส่งผลระยะยาวกับความยั่งยืนของโลกและธุรกิจ ทั้งนี้ปัจจุบันมีแหล่งเงินทุนสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่ความยั่งยืนที่ธุรกิจสามารถเข้าถึงได้ง่าย เพื่อสร้างความยั่งยืนของโลกและให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี ร่วมกับ ปั๊มน้ำมันบางจาก จัดแคมเปญ “เติมสบาย รับชิล ๆ” ให้กับผู้ถือบัตรเครดิต ttb และบัตรเครดิต ttb Global House ทั้งบัตรหลักและบัตรเสริม ประเภทบุคคลธรรมดา รับเครดิตเงินคืนสูงสุด 5% เมื่อเติมน้ำมันครบ 600 บาทขึ้นไป / เซลล์สลิป ที่ปั๊มน้ำมันบางจากทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2568

  • บัตรเครดิต ttb reserve infinite และบัตรเครดิต ttb reserve signature จำกัดเครดิตเงินคืนสูงสุด 30 บาท / ครั้ง สูงสุด 4 ครั้ง หรือ 120 บาท / เดือน และสูงสุด 1,440 บาท / บัญชีบัตรหลัก ตลอดรายการส่งเสริมการขาย
  • บัตรเครดิต ttb และบัตรเครดิต ttb Global House จำกัดเครดิตเงินคืนสูงสุด 18 บาท / ครั้ง สูงสุด 4 ครั้ง หรือ 72 บาท / เดือน หรือสูงสุด 864 บาท / บัญชีบัตรหลัก ตลอดรายการส่งเสริมการขาย

สามารถลงทะเบียนภายในเดือนที่ทำรายการเพื่อรับสิทธิ์ผ่านแอป ttb touch หรือส่ง SMS พิมพ์ BKC เว้นวรรค ตามด้วยหมายเลขบัตรเครดิต 12 หลักสุดท้าย ส่งมาที่ 4899777 ลงทะเบียนเพียงครั้งเดียวรับสิทธิ์ตลอดรายการ สำหรับบัตรเครดิต ttb reserve สามารถรับสิทธิ์ได้โดยไม่ต้องลงทะเบียน ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมของโปรโมชัน ได้ที่ https://www.ttbbank.com/th/promotion/detail/bangchak-jan25

ทีทีบีส่งเสริมให้ลูกค้าบัตรเครดิตใช้จ่ายเท่าที่จำเป็นและชำระคืนได้เต็มจำนวนตามกำหนด จะได้ไม่เสียดอกเบี้ย 7-16% ต่อปี เพื่อชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นทั้งในวันนี้ และอนาคต

Page 1 of 68
X

Right Click

No right click