September 22, 2024

ไบแนนซ์ ทีเอช บาย กัลฟ์ ไบแนนซ์ (BINANCE TH by Gulf Binance) บริษัทร่วมทุนระหว่าง ไบแนนซ์ แคปปิตอล แมเนจเมนท์ จำกัด บริษัทภายในเครือของไบแนนซ์ แพลตฟอร์มที่มีปริมาณการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดในโลก และ บริษัท กัลฟ์ อินโนวา จำกัด พาส่องเทรนด์โลกสินทรัพย์ดิจิทัล โดยนายนิรันดร์ ฟูวัฒนานุกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กัลฟ์ ไบแนนซ์ จำกัด ในหัวข้อ ‘คว้าโอกาสในโลกบิทคอยน์ ไปทางไหน’ ในงาน The Secret Sauce Summit 2024 มุ่งเจาะลึก 3 สัญญาณการเติบโตของบิทคอยน์ ทั้งในกลุ่มนักลงทุนระดับย่อยและนักลงทุนสถาบัน พร้อมเผยเทคนิคการเลือกแพลตฟอร์มซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีความปลอดภัย เพื่อสร้างความมั่นใจในการลงทุนที่มีความผันผวนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

3 สัญญาณการเติบโตของบิทคอยน์

1. การยอมรับการใช้งานสินทรัพย์ดิจิทัล

เทรนด์การลงทุนในยุคปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อก่อน จากเดิมที่เป็นการลงทุนในสินทรัพย์ที่จับต้องได้ อาทิ อสังหาริมทรัพย์ ทองคำ กระเป๋า หรือนาฬิกา แต่ตอนนี้ผู้คนทั่วโลกหันมานิยมลงทุนใน ‘สินทรัพย์ดิจิทัล’ โดยเฉพาะ บิทคอยน์ มากยิ่งขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนผ่านมูลค่าตลาดของบิทคอยน์ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนแตะระดับสูงสุด

(All Time High - ATH) ที่ 73,750 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อบิทคอยน์ เมื่อวันที่ 14 มีนาคมที่ผ่านมา รวมถึงยังเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดสูงสุดติด 10 อันดับแรกของโลกอีกด้วย

ทั้งนี้ หากมองย้อนกลับไปช่วงที่มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี 2555 สมัยบารัก โอบามา ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีในขณะนั้น ต่อเนื่องมาจนถึงสมัยของ โจ ไบเดน ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าบิทคอยน์มีมูลค่าเพิ่มขึ้นในทุกๆ 4 ปี ช่วงเวลาเดียวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐฯ คนใหม่ ซึ่งสำหรับการเลือกตั้งในปีนี้เอง ยังคงต้องจับตาดูอีกครั้งว่าแนวโน้มมูลค่าของบิทคอยน์จะเป็นอย่างไรต่อไป

กราฟแสดงมูลค่าของบิทคอยน์ (ดอลลาร์สหรัฐ) ระหว่างปี 2554 ถึง กลางไตรมาสที่ 2 ปี 2567 โดย ChartsBTC

2. สินทรัพย์ดิจิทัลกับการใช้งานในชีวิตจริง

 

นาย นิรันดร์ ฟูวัฒนานุกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กัลฟ์ ไบแนนซ์ จำกัด แสดงเส้นทางการใช้งานบิทคอยน์ในชีวิตจริงนับตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา

บิทคอยน์ ถูกใช้งานจริงครั้งแรกในวันที่ 22 พฤษภาคม 2553 เพื่อใช้ซื้อพิซซ่า ซึ่งทำให้ทุกวันที่ 22 พฤษภาคมของทุกปี ได้ถูกเรียกว่าเป็น ‘Bitcoin Pizza Day’ เพื่อตอกย้ำให้เห็นว่าเราสามารถนำบิทคอยน์มาซื้อสินค้าในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งหลังจากนั้นปรากฎการณ์การยอมรับบิทคอยน์ได้มีให้เห็นมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการเปิดตัว Bitcoin ATM เครื่องแรกต่อสาธารณะ ในปี 2556 ณ ร้านกาแฟในเมืองแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา รวมถึงการที่หลากหลายแบรนด์ชั้นนำยอมรับให้ซื้อสินค้าด้วยบิทคอยน์ ไม่ว่าจะเป็น Microsoft Dell และ PayPal รวมถึงแบรนด์หรู อย่าง Hublot เป็นต้น นอกจากนี้ ในปี 2564 เอลซัลวาดอร์ ยังถือเป็นประเทศแรกที่ยอมรับบิทคอยน์เป็นสกุลเงินที่สามารถนำมาชำระหนี้ (Legal Tender) และใช้แทนเงินสดได้ถูกต้องตามกฎหมายอีกด้วย

ล่าสุดในปี 2567 บิทคอยน์ยังคงเดินหน้าสู่การยอมรับในวงกว้างมากขึ้น เห็นได้ชัดจากที่หลายประเทศ เริ่มเล็งเห็นบิทคอยน์เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อนโยบายเศรษฐกิจและสังคมของชาติ ยกตัวอย่างเช่น

· ฮ่องกง เป็นประเทศที่ทางรัฐบาลตั้งเป้าผลักดันให้เป็นประเทศ ‘ศูนย์กลางคริปโตเคอร์เรนซีแห่งเอเชีย’ เชื่อมต่อระหว่างโลกเกมเข้ากับบิทคอยน์ พร้อมชูให้เป็นหนึ่งในนโยบายเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ

· รัสเซีย ประกาศทดลองใช้บิทคอยน์เป็นสกุลเงินที่สามารถนำมาชำระหนี้ และใช้แทนเงินสดได้ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อประยุกต์ใช้ในระบบการเงินของประเทศ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2567 เป็นต้นไป

· สหภาพยุโรป เริ่มยอมรับการใช้บิทคอยน์ภายในประเทศสมาชิกทั้ง 28 ประเทศ โดยมีผลบังคับใช้กฎระเบียบ MiCA (Markets in Crypto-Assets Regulation) เพื่อรับประกันเสถียรภาพทางการเงินในกลุ่มประเทศสมาชิกทั้งในแง่ของการเป็นเจ้าของ การซื้อขาย และการนำเสนอบริการที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล

3. การมาถึงของ Spot Bitcoin ETFs สู่การยอมรับของนักลงทุนสถาบัน

 

นาย นิรันดร์ ฟูวัฒนานุกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กัลฟ์ ไบแนนซ์ จำกัด เผยให้เห็นรายชื่อกลุ่มนักลงทุนสถาบันที่สนใจเข้ามาสู่ตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล

นับตั้งแต่การเปิดตัว Spot Bitcoin ETFs เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบัน Spot Bitcoin ETFs ได้มีมูลค่าการทำธุรกรรมมากถึง 55 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และส่งผลให้ตอนนี้ การลงทุนในบิทคอยน์ ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะกลุ่มนักลงทุนรายย่อยเท่านั้น แต่ได้มีผู้เล่นกลุ่มนักลงทุนสถาบันสนใจเข้ามาสู่ตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นจำนวนมาก อาทิ Morgan Stanley JPMorgan Chase & Co CitiBank Goldman Sachs และ Wells Fargo เป็นต้น

เริ่มต้นลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัล แพลตฟอร์มแบบไหน ใช่ที่สุด

ในประเทศไทย มีแพลตฟอร์มซื้อขายแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลมากมายให้เลือกลงทุน ดังนั้น สิ่งที่สำคัญสำหรับการตัดสินใจว่าจะเลือกลงทุนในแพลตฟอร์มใด ผู้ลงทุนจึงควรต้องศึกษารายละเอียดและฟีเจอร์ที่ให้บริการอย่างรอบคอบ แพลตฟอร์ม BINANCE TH by Gulf Binance ที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีและการปฏิบัติตามกฎข้อบังคับในประเทศ ให้บริการลูกค้าตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน และรองรับการใช้งานให้แก่ผู้ใช้งานคนไทยโดยเฉพาะ โดยผู้ใช้สามารถมีอิสระในการซื้อ-ขายสินทรัพย์ดิจิทัล ด้วยการดำเนินงานที่รวดเร็ว สะดวก ค่าธรรมเนียมต่ำ อีกทั้ง ผู้เริ่มต้นลงทุนด้านสินทรัพย์ดิจิทัลรายใหม่ยังสามารถทำความเข้าใจ และใช้งานแพลตฟอร์มได้โดยง่าย ที่สำคัญแพลตฟอร์ม BINANCE TH by Gulf Binance ยังรองรับการลงทุนของคนทุกกลุ่มทั้งนักลงทุนนิติบุคคล และนักลงทุนต่างชาติในประเทศไทย เพื่อมอบประสบการณ์ด้านการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลแบบครบวงจร สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของบริษัทฯ ที่มุ่งหวังส่งเสริมความเท่าเทียมทางการเงินให้แก่ทุกคน

ส่งเสริมการสร้างอาชีพ - พัฒนาสิทธิประโยชน์ – ยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงาน

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการดูแลผู้ประกอบอาชีพในระบบแพลตฟอร์มดิจิทัล ระหว่าง นางโสภา เกียรตินิรชา อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน นายสมชาย มรกตศรีวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน นายเอกชาติ นาคาไชย รองผู้อำนวยการ รักษาการแทน ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และ นายวรฉัตร ลักขณาโรจน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย เป็นผู้ลงนาม ณ ห้องประชุม ชั้น 5 กระทรวงแรงงาน

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เผยว่า “แพลตฟอร์มดิจิทัลเป็นรูปแบบธุรกิจ ที่ช่วยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ อีกทั้งยังเป็นเสมือนตัวกลางที่อำนวยความสะดวกระหว่างผู้บริโภค ผู้ให้บริการ และผู้ประกอบอาชีพในระบบแพลตฟอร์มดิจิทัล ซึ่งรัฐบาล โดยกระทรวงแรงงานได้กำหนดนโยบาย ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างรากฐานทางเศรษฐกิจ พัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยการคุ้มครองแรงงานให้ได้รับการดูแลสภาพการจ้าง สภาพการทำงาน รวมทั้งความปลอดภัยในการทำงาน กระทรวงแรงงาน จึงมีแนวคิดในการจัดทำบันทึกความร่วมมือ ว่าด้วยการดูแลผู้ประกอบอาชีพในระบบแพลตฟอร์มดิจิทัล ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในสังกัดกระทรวงแรงงาน ร่วมกับ บริษัท แกร็บแท็กซี่ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อเป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในการดูแลผู้ประกอบอาชีพในระบบแพลตฟอร์มดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็น กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

ในการหาแนวทางยุติปัญหาที่เกิดขึ้น ระหว่างคนทำงานในระบบแพลตฟอร์มดิจิทัลกับผู้ให้บริการฯ หรือมีช่องทางในการบริหารจัดการกับปัญหาที่อาจจะนำไปสู่ความขัดแย้งที่ชัดเจน รวมถึงการสร้างงาน ให้กับผู้สูงอายุ ที่ต้องการเลือกประกอบอาชีพอิสระ หรือผู้ที่ต้องการหารายได้เสริม โดยได้ร่วมมือกับกรมการจัดหางาน ในการส่งตำแหน่งงานว่างเพื่อสร้างอาชีพ ตลอดจนส่งเสริมการทำงาน หรือสร้างมาตรฐานในการทำงาน ที่ปลอดภัย โดยร่วมกับสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) ซึ่งการลงนามร่วมกันในครั้งนี้จะส่งผลให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ประกอบธุรกิจบริการระบบแพลตฟอร์มดิจิทัลกับผู้ประกอบอาชีพในระบบแพลตฟอร์มดิจิทัล และเพิ่มโอกาสให้เข้าถึงอาชีพของ ผู้ว่างงานและผู้สูงอายุที่ประสงค์จะทำงานอีกด้วย”

 

นายวรฉัตร ลักขณาโรจน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย กล่าวว่า “ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาแพลตฟอร์มดิจิทัลได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนไทยมากขึ้นและกลายเป็นส่วนสำคัญ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งยังส่งเสริมให้เกิดการทำงานในรูปแบบใหม่ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต ของคนที่เปลี่ยนแปลงไป ในฐานะผู้นำแพลตฟอร์มดิจิทัลที่มุ่งมั่นยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คน ผ่านการใช้เทคโนโลยี แกร็บให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการดูแลพาร์ทเนอร์คนขับ ซึ่งใช้แพลตฟอร์มของเรา เป็นช่องทางในการหารายได้ โดยที่ผ่านมาแกร็บมุ่งเน้นการบริหารค่าตอบแทนที่เหมาะสมและสอดคล้อง กับระบบอุปสงค์อุปทาน ทั้งยังพัฒนาสิทธิประโยชน์ต่างๆ เพื่อสนับสนุนการทำงานของพาร์ทเนอร์คนขับ และสร้างมาตรฐานให้กับแรงงานบนแพลตฟอร์มดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็น การจัดทำประกันอุบัติเหตุเพื่อให้คุ้มครองระหว่างการให้บริการ การส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงินด้วยอัตราดอกเบี้ยที่เป็นธรรมและเป็นไปตามข้อกำหนดของ ธปท. รวมไปถึงการจัดทำคอร์สอบรมเพื่อให้ความรู้และพัฒนาทักษะที่จำเป็นผ่านโครงการ GrabAcademy เป็นต้น”

“การผนึกความร่วมมือกับกระทรวงแรงงานในครั้งนี้ถือเป็นการตอกย้ำความมุ่งมั่นของแกร็บในการร่วมผลักดันมาตรฐานการดูแลผู้ประกอบอาชีพในระบบแพลตฟอร์มดิจิทัลให้เป็นรูปธรรม โดยเราพร้อมสนับสนุนและ ให้ความร่วมมือกับกระทรวงแรงงานในการพัฒนาแนวทางในการคุ้มครองแรงงานบนแพลตฟอร์มดิจิทัล เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแพลตฟอร์มเพื่อหารายได้ ตลอดจนดูแลให้แรงงานเหล่านี้ได้รับสิทธิประโยชน์ และมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น” นายวรฉัตร กล่าวเสริม

 

ทั้งนี้ บันทึกความร่วมมือระหว่าง แกร็บ ประเทศไทย และ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กรมการจัดหางาน และสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในครั้งนี้มีเป้าหมายหลัก ที่จะส่งเสริมและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับแรงงานบนแพลตฟอร์มดิจิทัลผ่านการดำเนินงานใน 3 ส่วนสำคัญ คือ

· การส่งเสริมการให้สิทธิประโยชน์ที่เป็นมาตรฐานกับแรงงานบนแพลตฟอร์มดิจิทัล โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานและแกร็บจะร่วมหาแนวทางในการสนับสนุนและจัดทำมาตรการในการดูแลผู้ประกอบอาชีพในระบบแพลตฟอร์มดิจิทัลที่เหมาะสม ซึ่งรวมไปถึงการกำหนดสิทธิประโยชน์ที่เป็นมาตรฐาน ที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับแรงงานบนแพลตฟอร์มดิจิทัล โดยที่ผ่านมา แกร็บให้ความสำคัญกับการจัดสรรสิทธิประโยชน์อื่นๆ เพิ่มเติมให้กับพาร์ทเนอร์คนขับ นอกเหนือจาก การบริหารค่าตอบแทนที่เหมาะสม โดยเฉพาะ การจัดทำประกันอุบัติเหตุเพื่อให้ความคุ้มครองพาร์ทเนอร์

คนขับทุกคนตั้งแต่ก่อน ระหว่าง และหลังให้บริการแล้ว โดยมีวงเงินคุ้มครองสูงสุด 100,000 บาท ในกรณีเกิดอุบัติเหตุ และวงเงินชดเชยสูงสุด 200,000 บาท ในกรณีเสียชีวิต นอกจากนี้ ยังมีการให้บริการด้านสินเชื่อเพื่อสนับสนุนการประกอบอาชีพของพาร์ทเนอร์คนขับโดยมีวงเงินสูงสุด 100,000 บาท ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่เป็นธรรม โดยสามารถแบ่งชำระได้แบบรายวัน เป็นต้น

· การส่งเสริมการสร้างอาชีพและโอกาสในการหารายได้ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลให้กับผู้ที่ว่างงาน รวมถึงผู้สูงอายุ โดยแกร็บและกรมการจัดหางานจะร่วมกันส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์ จากแพลตฟอร์มของแกร็บในการหารายได้ ไม่ว่าจะเป็น การให้บริการเรียกรถผ่านแอปพลิเคชัน หรือ บริการด้านเดลิเวอรี ซึ่งที่ผ่านมา แกร็บเปิดโอกาสให้กับคนไทยหลายแสนคน สามารถเข้ามา เป็นพาร์ทเนอร์คนขับเพื่อหารายได้เสริม โดยไม่จำกัดเพศ วัย การศึกษา หรือแม้แต่ผู้ที่มีข้อจำกัด ทางด้านร่างกาย เช่น ผู้พิการทางการได้ยิน นอกจากนี้ ยังได้ริเริ่มโครงการ ‘แกร็บวัยเก๋า’ เพื่อเปิดโอกาสให้คนไทยวัยเกษียณสามารถหารายได้และส่งเสริมคุณค่าในตัวเองผ่านแพลตฟอร์มของแกร็บ โดยปัจจุบันมีพาร์ทเนอร์คนขับกลุ่มนี้มากกว่า 13,000 คน

· การพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยสำหรับแรงงานบนแพลตฟอร์มดิจิทัล โดยแกร็บและ สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานจะร่วมกันพัฒนาแนวทางปฏิบัติเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยในระหว่างการทำงานให้กับผู้ประกอบอาชีพในระบบแพลตฟอร์มดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็น การจัดอบรมเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยในการทำงาน หรือการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อป้องกันภัยต่างๆ เป็นต้น โดยที่ผ่านมา แกร็บให้ความสำคัญกับประเด็นด้านความปลอดภัย เป็นอันดับต้นๆ เพื่อสร้างความอุ่นใจให้กับทุกคนที่ใช้แพลตฟอร์มของแกร็บ โดยได้พัฒนาเทคโนโลยี และมาตรฐานด้านความปลอดภัยต่างๆ อย่างต่อเนื่อง อาทิ ระบบตรวจสอบการเดินทางแบบเรียลไทม์ ฟีเจอร์ Safety Centre ที่ทั้งผู้โดยสารและพาร์ทเนอร์คนขับสามารถแชร์ข้อมูลการเดินทางให้กับเพื่อน หรือครอบครัวได้แบบเรียลไทม์ รวมถึงสามารถขอความช่วยเหลือได้ในกรณีฉุกเฉิน และฟีเจอร์ Audio Protect ที่ช่วยบันทึกเสียงระหว่างการเดินทางเพื่อป้องกันเหตุร้ายและใช้เป็นหลักฐานหากเกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างการเดินทาง เป็นต้น

ดีลอยท์ ประเทศไทย เผยผลสำรวจการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของประเทศไทย ประจำปี 2566 ซึ่งเป็นการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับมุมมองและแนวโน้มการใช้งานดิจิทัลขององค์กรธุรกิจต่างๆ ในประเทศไทย 

การสํารวจการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในประเทศไทย (Thailand Digital Transformation Survey) เป็นการสำรวจที่ดีลอยท์ประเทศไทย ให้ความสำคัญและทำการศึกษาอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นปีที่สี่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติขององค์กรต่อการปรับตัวสู่ดิจิทัล (Digital transformation) ผลการสำรวจดังกล่าวสะท้อนแนวคิดและมุมมองของผู้บริหารระดับสูง (C-suite) และพนักงานระดับอื่นๆ ในห้ากลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมผู้บริโภค (Consumer) กลุ่มทรัพยากรพลังงานและอุตสาหกรรม (Energy Resources and & Industrials: ER&I) บริการการเงิน (Financial Services) ชีววิทยาศาสตร์และสุขภาพ (Life Science & Healthcare) และเทคโนโลยี สื่อ และ โทรคมนาคม (Technology, Media and Telecommunications: TMT) ผลการสำรวจในปีนี้สะท้อนถึงพัฒนาการของการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลภายใต้ 3 หัวข้อหลัก ดังนี้

1. การสำรวจยุคของดิจิทัล ดิสรัปชั่น

2. การปลดล็อกความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล

3. ภาพรวมอุตสาหกรรม

 

ตลอดช่วงเวลาในปี 2564-2566 ทัศนคติต่อผลกระทบของ ดิจิทัล ดิสรัปชั่น ส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในระดับปานกลาง โดยธุรกิจสามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทกว้าง ๆ ตามการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินงาน ได้แก่

· ธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีเป็นหลักในการดำเนินงาน: ธุรกิจเหล่านี้มีการดำเนินงานโดยใช้เทคโนโลยีเป็นหลัก มองว่าได้รับผลกระทบจาก ดิจิทัล ดิสรัปชัน น้อยกว่า เนื่องจากการดําเนินงานของธุรกิจเหล่านี้จําเป็นต้องติดตามและปรับตัวต่อการเปลี่ยนของนวัตกรรมดิจิทัลเป็นปกติอยู่เสมอ

· ธุรกิจแบบดั้งเดิม หรือไม่ได้ใช้เทคโนโลยีเป็นหลัก: ธุรกิจเหล่านี้มักจะนําเทคโนโลยีมาใช้อย่างจํากัด โดยอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัลการปรับปรุงกลไกภายในองค์กรเพื่อให้สามารถรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันในภาคธุรกิจได้

เมื่อพิจารณาในเชิงการวิเคราะห์การนำเทคโนโลยีดิจิทัลในแต่ละปี พบว่า ข้อมูลแต่ละปีแตกต่างกัน ในช่วงปี 2564-2566จากรายงานการสำรวจ ปี 2564 พบว่า องค์กรมีการปรับตัวสู่ดิจิทัลอย่างรวดเร็วในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในระยะแรก อย่างไรก็ตาม การขาดประสบการณ์และการดำเนินการปรับตัวสู่ดิจิทัลอย่างรวดเร็วนี้ทำให้ผลลัพธ์ไม่ได้เป็นไปตามที่คาดหวังในหลายธุรกิจ จากประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้ในปีที่ผ่านมาทำให้ร้อยละ 43 ของบริษัทยังคงอยู่ในระยะ "Doing Digital" เนื่องจากพวกเขาได้ปรับตัวเชิงกลยุทธ์และเลือกใช้แนวทางที่เหมาะกับองค์กรของตนมากขึ้น ส่งผลให้การปรับตัวสู่ดิจิทัลประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้นในปี 2565-2566 จากการสั่งสมประสบการณ์และการเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมมากขึ้น

เมื่อพิจารณาข้อมูลเชิงลึกในด้านธุรกิจ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ใช้แอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือและเว็บไซต์ในการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า โดยแอปพลิเคชันแชทและระบบส่งข้อความ (Instant Messaging) เป็นเครื่องมือการสื่อสารที่ได้รับความนิยม กลุ่มผู้ค้ามีแนวโน้มที่จะปรับโมเดลธุรกิจและเสริมทักษะในการเข้าใจลูกค้า ในขณะที่กลุ่มผู้ให้บริการ เน้นวิธีการให้บริการที่เน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ความปลอดภัยด้านไซเบอร์ และการพัฒนาระบบนิเวศทางดิจิทัล

เมื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในอุตสาหกรรม ธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีเป็นหลัก โดยเฉพาะในกลุ่มเทคโนโลยี สื่อและโทรคมนาคม (TMT) และกลุ่มผู้บริโภคที่ต้องแข่งขันเพื่อส่วนแบ่งในตลาด ประสบความสำเร็จในการปรับตัวสู่ดิจิทัลได้ดีกว่าอุตสาหกรรมอื่นๆ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างปี 2565 และ 2566 พบว่า องค์กรมีความสนใจที่จะลงทุนในเทคโนโลยีเป็นจำนวนมากขึ้น โดยเฉพาะเทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูล

ดร. นเรนทร์ ชุติจิรวงศ์ ผู้อำนวยการบริหาร Clients & Markets ดีลอยท์ ประเทศไทย กล่าวว่า “เมื่อองค์กรมีขนาดใหญ่ขึ้น องค์กรมักจะใช้เทคโนโลยีที่หลากหลายมากขึ้น โดยส่วนใหญ่เนื่องจากองค์กรขนาดใหญ่มีงบประมาณและความซับซ้อนในการบริหารจัดการภายในองค์กรสูงกว่าองค์กรขนาดเล็ก อย่างไรก็ตาม ทุกองค์กร ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็กหรือใหญ่ มีการนำเทคโนโลยีด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ”

การลดต้นทุนและเพิ่มผลิตภาพ เป็นผลสำเร็จสองอันดับแรกในการปรับองค์กรสู่ดิจิทัล อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้บริหารระดับสูงและพนักงานในระดับอื่นๆ มีมุมมองที่ต่างกันผลสำเร็จอันดับที่สาม โดยกลุ่มผู้บริหารระดับสูง มองว่า ความเสี่ยงในด้านการดำเนินการที่ลดลง เป็นอันดับที่สาม ในขณะที่พนักงานในระดับอื่นๆ มองว่าเป็นการยกระดับประสบการณ์ของลูกค้า เนื่องจากพวกเขาอาจมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าได้อย่างใกล้ชิดมากกว่า

เมื่อพิจาณาในส่วนความท้าทาย ร้อยละ 60 ของผู้ตอบแบบสอบถามมองว่าความสามารถของบุคลากรยังเป็นความท้าทายอันดับแรก โดยมีประเด็นด้านงบประมาณและทรัพยากรที่ไม่เพียงพอ และวัฒนธรรมองค์กรแบบดิจิทัลที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่ เป็นความท้าทายในอันดับรองลงมา ที่ร้อยละ 57 และ 47 ตามลำดับ ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำภายหลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้เกิดข้อจำกัดในการจัดสรรงบประมาณเพื่อใช้ดำเนินการปรับองค์กรสู่ดิจิทัล ทั้งนี้ มีแนวโน้มที่จะนำโซลูชั่นมาใช้ในอนาคต เช่น การเปิดใช้ระบบไอทีผ่านแพลตฟอร์มในคลาวด์ ที่ให้บริการโดยหน่วยงานภายนอกเพื่อช่วยลดต้นทุน นอกจากนี้ การบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ยังเป็นความท้าทายอีกประเด็นหนึ่ง เนื่องจากมีความกังวลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวของข้อมูลอีกด้วย

 

โกบินทร์ รัตติวรากร ผู้อำนวยการบริหาร ดีลอย์ คอนซัลติ้ง กล่าวว่า “ผลสำรวจแสดงให้เห็นว่าองค์กรที่มีความก้าวหน้าในดำเนินการปรับตัวสู่ดิจิทัล สามารถจัดการกับความท้าทายในด้านทรัพยากรได้ดีขึ้น พวกเขาจึงมุ่งให้ความสนใจกับการจัดการความท้าทายเกี่ยวข้องกับความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูล”

การปรับองค์กรสู่ดิจิทัล นับเป็นกระบวนการที่ยังคงเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ภาคธุรกิจจำต้องเปิดรับนวัตกรรมใหม่ๆ และปรับตัวให้เท่าทันกับเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ช่วงเวลานี้จึงเป็นเวลาเหมาะสมที่องค์กรต่างๆ จะเปิดรับโอกาสใหม่ๆ เพื่อเปิดทางไปสู่อนาคตที่ดีต่อธุรกิจมากยิ่งขึ้น และการปรับองค์กรสู่ดิจิทัลเป็นจุดเชื่อมโยงที่สำคัญ ระหว่างธุรกิจในปัจจุบันและธุรกิจแห่งอนาคต

การ์ทเนอร์คาดการณ์ ภายในปี 2568 ประมาณ 30% ขององค์กรธุรกิจข้ามชาติจะประสบกับการสูญเสียรายได้ ความเสียหายต่อแบรนด์หรือการดำเนินการทางด้านกฎหมาย อันเกิดจากความเสี่ยงอธิปไตยทางดิจิทัล (Digital Sovereign Risk) ที่ไม่ได้รับการจัดการ

ไบรอัน เพรนติส รองประธานฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “ช่วง 30 ปีที่ผ่านมาองค์กรธุรกิจข้ามชาติบริหารธุรกิจโดยประเมินความเสี่ยงสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศที่เข้ามาเปิดกิจการ แต่ปัจจุบันองค์กรเหล่านี้จำเป็นต้องขยายความเสี่ยงด้านอธิปไตย (หรือ Sovereign Risk) ให้ครอบคลุมด้านดิจิทัลเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น อันเนื่องมาจากการใช้งานดิจิทัลแบบต่างคนต่างใช้และกระจัดกระจายมากขึ้นทั้งในระดับประเทศและในระดับภูมิภาค”

การ์ทเนอร์ระบุว่าอธิปไตยทางดิจิทัล (หรือ Digital Sovereignty) คือ ความสามารถรัฐบาลในการตระหนักถึงนโยบายที่ไม่เป็นอุปสรรคอันเกิดจากกฎระเบียบดิจิทัลของรัฐบาลต่างประเทศที่มีผลโดยตรงต่อพลเมืองและธุรกิจที่มีภูมิลำเนาอยู่ รวมถึงนโยบายที่ดำเนินการผ่านบริษัทดิจิทัลรายใหญ่ภายใต้การควบคุมของกฎระเบียบ

ขณะที่หลากหลายประเทศดำเนินกลยุทธ์ Sovereign Digital มากขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาก็คือภาระผูกพันด้านกฎระเบียบข้ามเขตอำนาจศาล ข้อจำกัดด้านภาษี การห้ามนำเข้า/ส่งออก มาตรการทางเทคโนโลยีเฉพาะระดับประเทศและข้อกำหนดด้านเนื้อหาของท้องถิ่นที่ซับซ้อน เนื่องจากดิจิทัลมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ ผู้บริหารจึงต้องเข้าใจความเสี่ยงอธิปไตยทางดิจิทัล (Digital Sovereign Risk) และผลกระทบต่อเงื่อนไขทางธุรกิจ

การ์ทเนอร์ชูประเด็นสำคัญ 3 ประการที่ได้รับผลกระทบมาจาก Digital Sovereign Risk ซึ่งต้องจัดการเพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียรายได้ ความเสียหายต่อแบรนด์ หรือการดำเนินการทางกฎหมาย ไว้ดังนี้

1. ความเสี่ยงอธิปไตยทางดิจิทัลที่ส่งผลต่อลูกค้าองค์กรข้ามชาติของผู้ให้บริการเทคโนโลยี

การหยุดชะงักส่วนใหญ่เป็นผลมาจากกลยุทธ์ Sovereign Digital ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของผู้ให้บริการเทคโนโลยี โดยการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญกำลังส่งผลกระทบต่อภาคเทคโนโลยีและผู้ให้บริการเฉพาะ อาทิ ด้านข้อจำกัดของซัพพลายเออร์ 5G อย่าง Huawei หรือ Nokia ซึ่งอาจเป็นผลมาจากแรงกดดันด้านกฎระเบียบที่เพิ่มขึ้น เพื่อเปลี่ยนแปลงนโยบายระดับชาติ หรือรับมือต่อเหตุการณ์ฉับพลันทางภูมิรัฐศาสตร์

จากข้อมูลของการ์ทเนอร์ชี้ให้เห็นว่าวิธีการที่ผู้ให้บริการเทคโนโลยีรับมือกับความเสี่ยงอธิปไตยทางดิจิทัลจะสามารถส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการดำเนินงานขององค์กรธุรกิจข้ามชาติ โดยองค์กรต้องพิจารณาผู้ให้บริการเทคโนโลยีที่สำคัญไว้เป็นส่วนหนึ่งในห่วงโซ่อุปทานที่กว้างขึ้น และประเมินแบบเชิงรุกพร้อมลดความเสี่ยงอธิปไตยทางดิจิทัล

2. การสร้างสรรค์นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีดิจิทัลจะถูกขัดขวางหากไม่ได้รับการปรับให้เข้ากับท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ

เมื่อความมุ่งมั่นสู่ดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น ความพยายามในการผลิตเทคโนโลยี/นวัตกรรมดิจิทัลจะผลักดันองค์กรต่าง ๆ ไปสู่การสร้างผลิตภัณฑ์ดิจิทัลแบบแยกส่วน ซึ่งตลาดที่เผชิญกับผลิตภัณฑ์ดิจิทัลเหล่านี้บ่อยครั้งจะมีผลกำไรและขาดทุน (Profit & Loss) เป็นของตนเอง หากพบตลาดที่อื่น ๆ นอกเหนือจากประเทศต้นทางขององค์กร การ์ทเนอร์ขอแนะนำให้ใช้ขั้นตอนจัดการ Digital Sovereign Risk ที่เกี่ยวกับแต่ละผลิตภัณฑ์ดิจิทัล

จำเป็นต้องปรับแต่งผลิตภัณฑ์เป็นท้องถิ่นอย่างต่อเนื่องและปรับให้เข้ากับข้อกำหนดด้านกฎระเบียบ ควบคู่ไปกับด้านวัฒนธรรมและภาษาของลูกค้าในตลาดเฉพาะ เป็นไปในทิศทางที่ต่างกันตามมาตรฐานเทคโนโลยีในระดับประเทศ ระเบียบการที่รัฐสนับสนุน และกรอบการทำงานที่ภาครัฐฯ ส่งเสริม ซึ่งล้วนเพิ่มน้ำหนักการตัดสินใจที่จำเป็นในการผลิตผลิตภัณฑ์ดิจิทัลที่จะให้บริการในตลาดหลายแห่ง

3. ธุรกิจดิจิทัลจะอยู่ในสถานการณ์ลำบากท่ามกลางการแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์ดิจิทัล

ขณะที่องค์กรขยายเป้าหมายดิจิทัลและกลายเป็นธุรกิจดิจิทัล องค์กรจะต้องรับมือกับข้อขัดแย้งของตลาดเสรีดิจิทัลในวงกว้าง เช่นเดียวกับผู้ให้บริการเทคโนโลยี ทำให้อยู่ท่ามกลางการแข่งขันทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ดิจิทัล ซึ่งกระทบต่อกลยุทธ์ทางธุรกิจ

การ์ทเนอร์แนะนำให้ผู้บริหารระดับสูงด้านความเสี่ยง (Chief Risk Officers หรือ CRO) ทำความเข้าใจกับเทคโนโลยีดิจิทัล ไม่เช่นนั้นจะประสบปัญหาในการขยายขอบเขต วัตถุประสงค์ และผลกระทบการดำเนินงานจากปัจจัยต่าง ๆ ของ Digital Sovereign Risk ที่มีต่อองค์กร

จีดีเอส (GDS) ผู้พัฒนาและดำเนินการศูนย์ข้อมูลสมรรถนะสูงระดับแถวหน้าของเอเชีย และมีฐานนักลงทุนหลากหลายทั่วโลก ร่วมกับสำนักงานการลงทุนแห่งอินโดนีเซีย (Indonesia Investment Authority) หรือไอเอ็นเอ (INA) ซึ่งเป็นกองทุนความมั่งคั่งของอินโดนีเซีย ได้ประกาศผนึกกำลังเป็นพันธมิตร เพื่อพัฒนาและขยายภูมิทัศน์ศูนย์ข้อมูลในอินโดนีเซีย ทั้งสองฝ่ายต่างเล็งเห็นศักยภาพของอินโดนีเซียในฐานะตลาดศูนย์ข้อมูลที่กำลังมาแรง และมีวิสัยทัศน์เหมือนกันเกี่ยวกับบทบาทของศูนย์ข้อมูลในการส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของอินโดนีเซีย

ทั้งสองฝ่ายมีแผนจัดตั้งบริษัทร่วมทุนแบบร่วมหุ้น เพื่อเป็นช่องทางพัฒนาแพลตฟอร์มศูนย์ข้อมูลทั่วประเทศ โดยโครงการแรกที่จะดำเนินการให้แล้วเสร็จนั้นคือโครงการพัฒนาแคมปัสศูนย์ข้อมูลระดับไฮเปอร์สเกลที่นิคมดิจิทัลนองซา (Nongsa Digital Park หรือ NDP) ในเมืองบาตัม ซึ่งทางรัฐบาลอินโดนีเซียกำหนดให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZ) แคมปัสศูนย์ข้อมูลในเมืองบาตัมที่จะมีขึ้นนี้จะนำโซลูชันศูนย์ข้อมูลอัจฉริยะอันล้ำสมัยของจีดีเอสมาใช้ และเน้นใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียนในพื้นที่ พร้อมเข้ามากำหนดมาตรฐานใหม่ให้กับอุตสาหกรรมในภูมิภาคนี้

ความร่วมมือระหว่างจีดีเอสกับไอเอ็นเอมีขึ้นในช่วงเวลาสำคัญ เมื่ออุตสาหกรรมศูนย์ข้อมูลกำลังเติบโตอย่างแข็งแกร่ง โดยได้รับแรงหนุนจากเศรษฐกิจดิจิทัล เทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนด้วยไอโอที (IoT) ความนิยมในการเปลี่ยนไปประมวลผลบนคลาวด์ และความแพร่หลายของแอปพลิเคชันเอไอ (AI) ขณะที่ผลการศึกษาตลาดคาดการณ์เอาไว้ว่า ความจุในตลาดศูนย์ข้อมูลของอินโดนีเซียจะเพิ่มขึ้นจาก 514MW ในปี 2566 เป็น 1.41GW ภายในปี 2572 อินโดนีเซียกำลังเร่งใช้ประโยชน์จากความต้องการบริการศูนย์ข้อมูลที่เพิ่มขึ้นนี้ เพื่อดึงดูดการลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ พร้อมขับเคลื่อนอินโดนีเซียสู่เศรษฐกิจดิจิทัล

วิลเลียม หวง (William Huang) ประธานและซีอีโอของจีดีเอส กล่าวว่า “อินโดนีเซียกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ในฐานะทำเลทองเพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นของลูกค้าผู้มองหาบริการศูนย์ข้อมูลระดับพรีเมียม เรารู้สึกเป็นเกียรติที่ได้เป็นผู้พัฒนาและผู้ดำเนินการศูนย์ข้อมูลรายแรกที่ร่วมมือกับไอเอ็นเอ ซึ่งเรามองว่าเป็นการสนับสนุนอย่างแข็งแกร่งที่ทางการอินโดนีเซียมีต่อเรา ทั้งในด้านวิสัยทัศน์ระดับนานาชาติ ความเชี่ยวชาญระดับแถวหน้าของตลาด และการเติบโตอย่างรวดเร็วในระดับภูมิภาค ที่จีดีเอส เรามุ่งมั่นที่จะสร้างระบบนิเวศที่มีมูลค่าเพิ่มและส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในอินโดนีเซีย โดยเราบูรณาการโครงการแรกของเราที่เมืองบาตัมเข้ากับโครงการที่ทำงานร่วมกันในสิงคโปร์และยะโฮร์ เพื่อสร้างแพลตฟอร์มที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และออกแบบมาอย่างเหมาะสม เพื่อรองรับเศรษฐกิจดิจิทัลในอินโดนีเซียและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ความร่วมมือกับไอเอ็นเอจะเปิดโอกาสให้แพลตฟอร์มนี้ครอบคลุมทั่วอินโดนีเซียได้มากขึ้น”

ริธา วีระกุสุมะห์ (Ridha Wirakusuma) ซีอีโอของไอเอ็นเอ กล่าวว่า “ความร่วมมือของเรากับจีดีเอสนั้นเป็นมากกว่าการปรับกลยุทธ์ให้สอดรับกัน โดยสะท้อนให้เห็นศักยภาพทางดิจิทัลที่มีชีวิตชีวาของอินโดนีเซีย เศรษฐกิจของเรากำลังเติบโตอย่างรวดเร็วและมีความก้าวหน้าอย่างน่าทึ่งในเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล ประชากรวัยหนุ่มสาวของเราที่คุ้นเคยกับอินเทอร์เน็ตอยู่แล้วเป็นข้อพิสูจน์ถึงความพร้อมและศักยภาพด้านดิจิทัลของอินโดนีเซีย ซึ่งอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของแพลตฟอร์มดิจิทัลต่าง ๆ ชี้ให้เห็นโอกาสมากมายเบื้องหน้า เราต่างตระหนักถึงความจำเป็นในการพัฒนาศูนย์ข้อมูลในท้องถิ่น ความร่วมมือของเรากับจีดีเอสจึงไม่เพียงแต่มุ่งเป้าไปที่การขยายโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของเราเท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญกับการนำข้อมูลมาไว้ในประเทศและเพิ่มประสิทธิภาพการเชื่อมต่อข้อมูลด้วย”

การเดินทางสู่อนาคตดิจิทัลของอินโดนีเซียมีความต้องการทางดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นแตกต่างกัน โดยปริมาณการรับส่งข้อมูลมือถือของอินโดนีเซียเพิ่มขึ้น 40-50% ต่อปี [1] ขณะที่โครงสร้างพื้นฐานข้อมูลยังครอบคลุมไม่เพียงพอ ผู้ให้บริการศูนย์ข้อมูลรายใหญ่ ๆ เช่น จีดีเอส ตระหนักถึงศักยภาพของตลาดอินโดนีเซีย เพราะวงการศูนย์ข้อมูลในอินโดนีเซียมีแนวโน้มเติบโตสดใส ซึ่งได้รับแรงหนุนจากความต้องการกระแสข้อมูลที่ดีขึ้นและเร็วขึ้น ประกอบกับการที่องค์กรต่าง ๆ หันไปใช้บริการบุคคลที่สามมากขึ้น และมีความต้องการโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มขึ้น

ไอเอ็นเอมองเห็นช่องว่างภายในภูมิทัศน์ดิจิทัล จึงตัดสินใจอำนวยความสะดวกในการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศทั่วทั้งอินโดนีเซียอย่างจริงจัง โดยพุ่งเป้าเสริมความได้เปรียบทางการแข่งขันของบาตัม พร้อมดึงดูดความต้องการที่ล้นหลามจากสิงคโปร์ กลยุทธ์สิงคโปร์-ยะโฮร์-บาตัมของจีดีเอส สอดคล้องกับแนวทางของไอเอ็นเออย่างลงตัว เนื่องจากจะช่วยให้เกิดการเชื่อมต่อที่มีเวลาแฝงต่ำทั่วทั้งศูนย์ข้อมูลที่เชื่อมต่อระหว่างกันของจีดีเอสในอินโดนีเซีย สิงคโปร์ และมาเลเซีย ดังนั้นจึงสร้างโซลูชันบริการศูนย์ข้อมูลแบบองค์รวมที่ให้ความสำคัญกับกลุ่มลูกค้าที่หลากหลายของจีดีเอสทั้งในประเทศและต่างประเทศ จีดีเอสพร้อมใช้ประโยชน์จากความเชี่ยวชาญทางเทคนิคที่ไม่มีใครเทียบได้ และประวัติการบริการที่เป็นที่ยอมรับ เพื่อเสริมความได้เปรียบทางการแข่งขันของบาตัมในฐานะศูนย์กลางศูนย์ข้อมูลภายในภูมิภาคนี้

ความพยายามนี้นับเป็นการทุ่มลงทุนครั้งที่สามของไอเอ็นเอในภาคดิจิทัล ซึ่งเป็น 1 ใน 4 ภาคส่วนสำคัญ ไอเอ็นเอเป็นกองทุนแห่งชาติหนึ่งเดียวของอินโดนีเซีย เปิดตัวในปลายปี 2563 ด้วยเงิน 5 พันล้านดอลลาร์จากรัฐบาล ก่อนหน้านี้ ไอเอ็นเอเข้ามามีบทบาทในการเสนอขายหุ้น IPO ของมิตราเทล (Mitratel) และเป็นผู้ถือผลประโยชน์รายสำคัญของบริษัทเจ้าของเสาสัญญาณโทรคมนาคมรายใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รายนี้ นอกจากนี้ ไอเอ็นเอยังได้ร่วมมือกับพันธมิตรอย่างแบล็คร็อค (BlackRock) อลิอันซ์ โกลบอล อินเวสเตอร์ส (Allianz Global Investors) และโอไรออน แคปิตอล เอเชีย (Orion Capital Asia) ในการสนับสนุนแพลตฟอร์มการเดินทางชั้นนำของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างทราเวลโลก้า (Traveloka) ความเคลื่อนไหวเชิงกลยุทธ์ดังกล่าวตอกย้ำความมุ่งมั่นอันแน่วแน่ของไอเอ็นเอ ในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของอินโดนีเซีย

เมื่อรวมพลังกันแล้ว จีดีเอสและไอเอ็นเอพร้อมเข้ามาพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับศูนย์ข้อมูลที่ดีที่สุดทั่วประเทศ เพื่อตอบสนองความต้องการทางดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงไป และยกระดับภูมิทัศน์โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในอินโดนีเซียและที่อื่น ๆ

Page 1 of 8
X

Right Click

No right click