December 21, 2024
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 810

ไบแนนซ์ ทีเอช บาย กัลฟ์ ไบแนนซ์ (BINANCE TH by Gulf Binance) บริษัทร่วมทุนระหว่าง ไบแนนซ์ แคปปิตอล แมเนจเมนท์ จำกัด บริษัทภายในเครือของไบแนนซ์ แพลตฟอร์มที่มีปริมาณการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดในโลก และ บริษัท กัลฟ์ อินโนวา จำกัด พาส่องเทรนด์โลกสินทรัพย์ดิจิทัล โดยนายนิรันดร์ ฟูวัฒนานุกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กัลฟ์ ไบแนนซ์ จำกัด ในหัวข้อ ‘คว้าโอกาสในโลกบิทคอยน์ ไปทางไหน’ ในงาน The Secret Sauce Summit 2024 มุ่งเจาะลึก 3 สัญญาณการเติบโตของบิทคอยน์ ทั้งในกลุ่มนักลงทุนระดับย่อยและนักลงทุนสถาบัน พร้อมเผยเทคนิคการเลือกแพลตฟอร์มซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีความปลอดภัย เพื่อสร้างความมั่นใจในการลงทุนที่มีความผันผวนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

3 สัญญาณการเติบโตของบิทคอยน์

1. การยอมรับการใช้งานสินทรัพย์ดิจิทัล

เทรนด์การลงทุนในยุคปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อก่อน จากเดิมที่เป็นการลงทุนในสินทรัพย์ที่จับต้องได้ อาทิ อสังหาริมทรัพย์ ทองคำ กระเป๋า หรือนาฬิกา แต่ตอนนี้ผู้คนทั่วโลกหันมานิยมลงทุนใน ‘สินทรัพย์ดิจิทัล’ โดยเฉพาะ บิทคอยน์ มากยิ่งขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนผ่านมูลค่าตลาดของบิทคอยน์ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนแตะระดับสูงสุด

(All Time High - ATH) ที่ 73,750 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อบิทคอยน์ เมื่อวันที่ 14 มีนาคมที่ผ่านมา รวมถึงยังเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดสูงสุดติด 10 อันดับแรกของโลกอีกด้วย

ทั้งนี้ หากมองย้อนกลับไปช่วงที่มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี 2555 สมัยบารัก โอบามา ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีในขณะนั้น ต่อเนื่องมาจนถึงสมัยของ โจ ไบเดน ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าบิทคอยน์มีมูลค่าเพิ่มขึ้นในทุกๆ 4 ปี ช่วงเวลาเดียวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐฯ คนใหม่ ซึ่งสำหรับการเลือกตั้งในปีนี้เอง ยังคงต้องจับตาดูอีกครั้งว่าแนวโน้มมูลค่าของบิทคอยน์จะเป็นอย่างไรต่อไป

กราฟแสดงมูลค่าของบิทคอยน์ (ดอลลาร์สหรัฐ) ระหว่างปี 2554 ถึง กลางไตรมาสที่ 2 ปี 2567 โดย ChartsBTC

2. สินทรัพย์ดิจิทัลกับการใช้งานในชีวิตจริง

 

นาย นิรันดร์ ฟูวัฒนานุกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กัลฟ์ ไบแนนซ์ จำกัด แสดงเส้นทางการใช้งานบิทคอยน์ในชีวิตจริงนับตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา

บิทคอยน์ ถูกใช้งานจริงครั้งแรกในวันที่ 22 พฤษภาคม 2553 เพื่อใช้ซื้อพิซซ่า ซึ่งทำให้ทุกวันที่ 22 พฤษภาคมของทุกปี ได้ถูกเรียกว่าเป็น ‘Bitcoin Pizza Day’ เพื่อตอกย้ำให้เห็นว่าเราสามารถนำบิทคอยน์มาซื้อสินค้าในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งหลังจากนั้นปรากฎการณ์การยอมรับบิทคอยน์ได้มีให้เห็นมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการเปิดตัว Bitcoin ATM เครื่องแรกต่อสาธารณะ ในปี 2556 ณ ร้านกาแฟในเมืองแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา รวมถึงการที่หลากหลายแบรนด์ชั้นนำยอมรับให้ซื้อสินค้าด้วยบิทคอยน์ ไม่ว่าจะเป็น Microsoft Dell และ PayPal รวมถึงแบรนด์หรู อย่าง Hublot เป็นต้น นอกจากนี้ ในปี 2564 เอลซัลวาดอร์ ยังถือเป็นประเทศแรกที่ยอมรับบิทคอยน์เป็นสกุลเงินที่สามารถนำมาชำระหนี้ (Legal Tender) และใช้แทนเงินสดได้ถูกต้องตามกฎหมายอีกด้วย

ล่าสุดในปี 2567 บิทคอยน์ยังคงเดินหน้าสู่การยอมรับในวงกว้างมากขึ้น เห็นได้ชัดจากที่หลายประเทศ เริ่มเล็งเห็นบิทคอยน์เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อนโยบายเศรษฐกิจและสังคมของชาติ ยกตัวอย่างเช่น

· ฮ่องกง เป็นประเทศที่ทางรัฐบาลตั้งเป้าผลักดันให้เป็นประเทศ ‘ศูนย์กลางคริปโตเคอร์เรนซีแห่งเอเชีย’ เชื่อมต่อระหว่างโลกเกมเข้ากับบิทคอยน์ พร้อมชูให้เป็นหนึ่งในนโยบายเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ

· รัสเซีย ประกาศทดลองใช้บิทคอยน์เป็นสกุลเงินที่สามารถนำมาชำระหนี้ และใช้แทนเงินสดได้ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อประยุกต์ใช้ในระบบการเงินของประเทศ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2567 เป็นต้นไป

· สหภาพยุโรป เริ่มยอมรับการใช้บิทคอยน์ภายในประเทศสมาชิกทั้ง 28 ประเทศ โดยมีผลบังคับใช้กฎระเบียบ MiCA (Markets in Crypto-Assets Regulation) เพื่อรับประกันเสถียรภาพทางการเงินในกลุ่มประเทศสมาชิกทั้งในแง่ของการเป็นเจ้าของ การซื้อขาย และการนำเสนอบริการที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล

3. การมาถึงของ Spot Bitcoin ETFs สู่การยอมรับของนักลงทุนสถาบัน

 

นาย นิรันดร์ ฟูวัฒนานุกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กัลฟ์ ไบแนนซ์ จำกัด เผยให้เห็นรายชื่อกลุ่มนักลงทุนสถาบันที่สนใจเข้ามาสู่ตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล

นับตั้งแต่การเปิดตัว Spot Bitcoin ETFs เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบัน Spot Bitcoin ETFs ได้มีมูลค่าการทำธุรกรรมมากถึง 55 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และส่งผลให้ตอนนี้ การลงทุนในบิทคอยน์ ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะกลุ่มนักลงทุนรายย่อยเท่านั้น แต่ได้มีผู้เล่นกลุ่มนักลงทุนสถาบันสนใจเข้ามาสู่ตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นจำนวนมาก อาทิ Morgan Stanley JPMorgan Chase & Co CitiBank Goldman Sachs และ Wells Fargo เป็นต้น

เริ่มต้นลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัล แพลตฟอร์มแบบไหน ใช่ที่สุด

ในประเทศไทย มีแพลตฟอร์มซื้อขายแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลมากมายให้เลือกลงทุน ดังนั้น สิ่งที่สำคัญสำหรับการตัดสินใจว่าจะเลือกลงทุนในแพลตฟอร์มใด ผู้ลงทุนจึงควรต้องศึกษารายละเอียดและฟีเจอร์ที่ให้บริการอย่างรอบคอบ แพลตฟอร์ม BINANCE TH by Gulf Binance ที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีและการปฏิบัติตามกฎข้อบังคับในประเทศ ให้บริการลูกค้าตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน และรองรับการใช้งานให้แก่ผู้ใช้งานคนไทยโดยเฉพาะ โดยผู้ใช้สามารถมีอิสระในการซื้อ-ขายสินทรัพย์ดิจิทัล ด้วยการดำเนินงานที่รวดเร็ว สะดวก ค่าธรรมเนียมต่ำ อีกทั้ง ผู้เริ่มต้นลงทุนด้านสินทรัพย์ดิจิทัลรายใหม่ยังสามารถทำความเข้าใจ และใช้งานแพลตฟอร์มได้โดยง่าย ที่สำคัญแพลตฟอร์ม BINANCE TH by Gulf Binance ยังรองรับการลงทุนของคนทุกกลุ่มทั้งนักลงทุนนิติบุคคล และนักลงทุนต่างชาติในประเทศไทย เพื่อมอบประสบการณ์ด้านการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลแบบครบวงจร สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของบริษัทฯ ที่มุ่งหวังส่งเสริมความเท่าเทียมทางการเงินให้แก่ทุกคน

กระแสของกัญชากลับมาเป็นที่พูดถึงอีกครั้ง หลังจากที่มีแนวโน้มว่าโฉมหน้ารัฐบาลชุดใหม่จะมีพรรคภูมิใจไทยรวมอยู่ในสมการนั้นด้วย หลังจากที่ชะงักไปบ้างเมื่อครั้งการจัดตั้งรัฐบาลของพรรคก้าวไกล ที่ใน MOU ระบุจะนำกัญชากลับไปอยู่ในบัญชียาเสพติดให้โทษโดยมีกฎหมายควบคุมและรองรับการใช้ประโยชน์จากกัญชา ซึ่งเท่ากับว่านโยบายกัญชาเสรี ของรัฐบาลชุดที่แล้วซึ่งผลักดันโดยพรรคภูมิใจไทยมีแนวโน้มว่าจะได้ไปต่อ

ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่า นโยบายการเปิดเสรีกัญชามีทั้งคุณและโทษ หลายเรื่องยังเป็นข้อถกเถียงที่ยังไม่ได้ข้อสรุปในสังคมไทย โดยเฉพาะประเด็นทางด้านสังคมและระบบสาธารณสุขที่ได้รับผลกระทบจากการปลดล็อกกัญชาโดยไม่มีการควบคุมและยังไม่มีมาตรการรองรับอย่างรอบด้าน  แต่หากพิจารณาในด้านเศรษฐกิจแล้ว กัญชาเป็นพืชที่สามารถทำรายได้ได้จริง จากข้อมูลของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ซึ่งมีการประเมินมูลค่าตลาดของอุตสาหกรรมกัญชา-กัญชง ณ ปี 2565 นับตั้งแต่ต้นน้ำถึงผลิตภัณฑ์ปลายน้ำ มีมูลค่ารวมถึงกว่า 28,000 ล้านบาท แบ่งเป็นผลิตภัณฑ์ต้นน้ำมูลค่า 9,615 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์กลางน้ำ 14,690 ล้านบาท ส่วนผลิตภัณฑ์ปลายน้ำ 3,750 ล้านบาท แบ่งเป็น ยารักษาโรคและอาหารเสริม มูลค่า 1,500 ล้านบาท อาหารและเครื่องดื่ม 1,200 ล้านบาท เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ส่วนบุคคล 800 ล้านบาท เครื่องนุ่งห่มและของใช้ส่วนตัว 250 ล้านบาท และยังมีการคาดการณ์ว่ามูลค่าตลาดในอีก 2 ปีข้างหน้า จะโตได้ 10-15% คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 42,800 ล้านบาท

 

และจากการเก็บรวบรวมข้อมูลในสังคมออนไลน์โดยใช้เครื่องมือ DXT360 ของ บริษัท ดาต้าเซ็ต จำกัด ที่มีการกล่าวถึงผลิตภัณฑ์ปลายน้ำของอุตสาหกรรมกัญชา-กัญชง ในช่วงวันที่ 1 กรกฎาคม – 8 สิงหาคม 2566 พบว่ามีการพูดถึงทั้งหมด 902 ข้อความ และได้รับการมีส่วนร่วม หรือ Engagement ถึง 12,358 ครั้ง ซึ่งเห็นได้ว่าผู้คนบนสังคมออนไลน์ให้ความสนใจกับผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับกัญชา-กัญชงไม่น้อย และถ้าดูจากสัดส่วนการโพสต์ลงบนโซเชียล แยกตามกลุ่มผลิตภัณฑ์ ดังนี้

· ผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกาย มีการโพสต์ขายสินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์ภายในประเทศและต่างประเทศ ที่ใช้ส่วนประกอบอย่างเส้นใยของกัญชามาช่วยปรับปรุงคุณภาพของสินค้าให้มีความแข็งแรงขึ้น โดยพบว่าผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้มีสัดส่วนการโพสต์บนโลกออนไลน์มากที่สุดคิดเป็น 57.43%

· ผลิตภัณฑ์ยา/การแพทย์ มีการโพสต์ส่วนใหญ่เป็นการใช้สารสกัดจากน้ำมันกัญชามาใช้เป็นส่วนประกอบของยาเพื่อการรักษาต่าง ๆ เช่น ประกอบการรักษาในผู้ป่วยโรคมะเร็ง รักษาอาการปวดท้อง และรักษาอาการปวดเรื้อรัง เป็นต้น โดยสัดส่วนการโพสต์สินค้าประเภทนี้มีถึง 27.05%

· ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง มีการโพสต์ขายผลิตภัณฑ์เพื่อความงามและการทำความสะอาดโดยใช้ส่วนประกอบเป็นสารสกัดน้ำมันจากเมล็ดกัญชง เช่น ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว สบู่ และยาสระผม เป็นต้น ซึ่งสัดส่วนการโพสต์สินค้าประเภทนี้มีมากที่สุดคิดเป็น 8.43%

· ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม พบว่ามีการนำกัญชามาเป็นส่วนผสมของอาหารและเครื่องดื่ม ไม่ว่าจะเป็นขนม ผงเครื่องดื่ม และเครื่องดื่มบรรจุขวด ซึ่งส่วนผสมที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นสารสกัดน้ำมันกัญชาและใบกัญชา โดยสัดส่วนการโพสต์สินค้าประเภทนี้มีมากที่สุดคิดเป็น 6.54%

· ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ นอกจากผลิตภัณฑ์ทั้ง 4 ข้างต้น พบว่ามีการโพสต์ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ 0.55% เช่น สินค้าประเภทวัสดุก่อสร้าง คือ อิฐ และ เฮมป์พาร์ทิเคิลบอร์ด หรือแผ่นกั้นผนังห้อง เป็นต้น ซึ่งในอนาคตอาจมีแนวโน้มว่าจะมีการนำสารสกัดจากกัญชาและกัญชงมาใช้แปรรูปหรือพัฒนาเป็นสินค้าหรือนวัตกรรมที่มีความหลากหลายในด้านของรูปแบบสินค้าและประเภทของสินค้ามากขึ้น

นอกจากนี้ เมื่อดูความคิดเห็นบนโซเชียล พบประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้

 

จากข้อมูลพบว่าผู้ใช้งานแพลตฟอร์มออนไลน์จะมีความคิดเห็นเชิงบวกต่อผลิตภัณฑ์ยา/การแพทย์ โดยมีการพูดถึงในเรื่องของการยอมรับการใช้กัญชามาประกอบการรักษามากขึ้นด้วย โดยเฉพาะการรักษาหรือบำบัดผู้ป่วยโรคมะเร็ง ถึงแม้ในความเป็นจริงจะยังไม่มีหลักฐานพิสูจน์ทางด้านวิทยาศาสตร์รองรับว่าสามารถรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งได้

แต่หากมองในมุมของผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารและเครื่องดื่มพบว่า ผู้คนบนโซเชียลได้มีการแสดงความคิดเห็นที่สื่อถึงความกังวลและความคิดเห็นไปในทิศทางเชิงลบ โดยเฉพาะความกังวลในเรื่องการบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีสารสกัดจากกัญชา-กัญชง ที่อาจได้รับเกินปริมาณที่กำหนดจนทำให้เกิดผลเสียร้ายแรงต่อสุขภาพ หรือนำไปสู่การเสพติดไปจนถึงทำให้เกิดการเสียชีวิตได้

กล่าวได้ว่า นับแต่มีการปลดล็อกกัญชาออกจากบัญชียาเสพติดให้โทษ ตั้งแต่วันที่ 9 มิ.ย. 2565 และแนวโน้มการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ที่น่าจะมีพรรคภูมิใจไทยเป็นหนึ่งในพรรคร่วมรัฐบาล การใช้กัญชาจึงยังคงอยู่ในสถานะที่ถูกเปิดช่องให้ใช้ได้อย่างเสรี โดยไม่ได้ถูกจำกัดเพียงการใช้ทางการแพทย์ ไปจนกว่า

จะมีการออกมาตรการเพื่อควบคุมการเข้าถึงและการใช้อย่างเหมาะสม เรื่องของกัญชาจึงได้กลายเป็นวาระในการถกเถียงของคนทุกระดับในสังคมไทย

CR :  Inforquest

ตลาดอีคอมเมิร์ซได้รับแรงกระตุ้นจากสถานการณ์โควิด ทำให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคการช้อปปิ้งออนไลน์อย่างรวดเร็ว และมีการขยายตัวอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค บริษัทอีคอมเมิร์ซจำเป็นต้องก้าวนำเทรนด์เสมอ ด้วยการพัฒนารูปแบบอุตสาหกรรมให้ทันยุคทันสมัย

แนวโน้มการพัฒนาของอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซในปี 2024 เป็นการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวก อาทิ การบูรณาการปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้วิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค เพื่อนำเสนอสินค้าและแคมเปญการตลาดที่เหมาะสม สร้างประสบการณ์การช้อปปิ้งออนไลน์ที่แตกต่างและกระตุ้นยอดขาย การเติบโตของการค้าด้วยเสียง เมื่อลำโพงอัจฉริยะแพร่หลาย ผู้บริโภคมักจะใช้ผู้ช่วยเสียงมากขึ้นในการซื้อ สั่งของชำ และค้นหาสินค้าออนไลน์ ทำให้เป็นที่นิยมโดยเฉพาะกับผู้บริโภคยุคใหม่ที่ต้องการประหยัดเวลา ปัจจุบันได้มีการพัฒนาการชำระเงินแบบใหม่ที่หลากหลาย อย่างการชำระเงินผ่านมือถือและกระเป๋าเงินดิจิทัล หรือสกุลเงิน cryptocurrency โดยบริษัทอีคอมเมิร์ซจะต้องหาวิธีรองรับการชำระเงินให้ครอบคลุมทุกรูปแบบ สร้างความยืดหยุ่นและความสะดวกสบายแก่ผู้บริโภคมากที่สุด

BEST SOFTWARE (เบสท์ ซอฟต์แวร์) ผู้ให้บริการซอฟท์แวร์โซลูชันด้านธุรกิจอีคอมเมิร์ซ และการจัดการคลังสินค้าแบบครบวงจร ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง โดยเชื่อมต่อกับระบบขนส่งพัสดุ เบสท์ เอ็กซ์เพรส (BEST Express) หรือบริษัทขนส่งทางเลือกอื่น ๆ ที่พร้อมให้บริการสำหรับธุรกิจทุกขนาด (เล็ก กลาง ใหญ่) ในประเทศไทย ภายใต้การดูแลของ BEST Inc. (เบสท์) ที่มากพร้อมด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซมากว่า 10 ปี และเป็นผู้ให้บริการร้านค้าออนไลน์อีคอมเมิร์ซทั่วโลกจำนวนกว่า 1 ล้านร้านค้า

บริการ BEST SOFTWARE (เบสท์ ซอฟต์แวร์) บริการโซลูชันดิจิทัลแบบครบวงจร ได้แก่

- ezOrder (อีซี่ออเดอร์) ซอฟต์แวร์จัดการคำสั่งซื้อสินค้า ในการพิมพ์ใบจัดส่งแบบอัจฉริยะ เชื่อมต่อโดยตรงกับแพลตฟอร์มหลักอย่าง Shopee, Lazada, Facebook live และอื่น ๆ

- ezShop (อีซี่ช้อป) เป็น ERP ที่ช่วยจัดการคำสั่งซื้อหลายช่องทางแบบครบวงจรในที่เดียวแบบ One-Stop Service เหมาะสำหรับกลุ่มอีคอมเมิร์ซร้านค้าออนไลน์ทุกขนาด ที่มีที่มีหลายแพลตฟอร์ม หลายร้านค้าออนไลน์ หลายช่องทาง หรือมีคลังสินค้าที่มากมาย และใช้บริการหลายโลจิสติกส์

- QuickWMS เป็นระบบการจัดการคลังสินค้าอีคอมเมิร์ซ ช่วยจัดการคลังสินค้า แก้ปัญหาความสับสนวุ่นวายของคลังสินค้าและลดข้อผิดพลาดในการจัดส่งได้ถึง 90% แก้ปัญหาการกระจายของ

สินค้า รายการที่ไม่เป็นระเบียบและการสูญหายที่เกิดขึ้นบ่อย สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้าได้มากถึง 50%

นอกจากนี้ การเติบโตของอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน เป็นอีกหนึ่งเทรนด์ที่น่าสนใจ ด้วยจำนวนผู้บริโภคที่ต้องการซื้อสินค้าจากตลาดต่างประเทศมากขึ้น อีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนจึงคาดว่าจะเติบโตอย่างทวีคูณ แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ให้ความสำคัญกับอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างมากในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า BEST Express มีบริการ BEST Cross border ที่มีเครือข่ายเชื่อมต่อในภูมิภาคเอาเชียตะวันออกเฉียงใต้และครอบคลุมทั่วเอเชีย ที่พร้อมให้บริการจัดส่งสินค้าจากประเทศจีนมาประเทศไทยโดยให้บริการในรูปแบบของธุรกิจ B2B และ B2C

เบสท์ (BEST Inc.) ที่เดียวจบครบทุกความต้องการด้านโลจิสติกส์และอีคอมเมิร์ซ สำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่สนใจ สามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์ได้ที่ https://www.best-inc.co.th/ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร 02-108-8000

 

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics วิเคราะห์ 15 ธุรกิจแนวโน้มสดใสโตตาม 5 เทรนด์เศรษฐกิจปี 2561

เทรนด์แรกที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง 2-3 ปีก่อน คือ เทรนด์การลงทุนภาครัฐ ที่คาดว่าจะมีเม็ดเงินก่อสร้างกว่า 7.7 แสนล้านบาท จากโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่ส่วนใหญ่อยู่ในระยะก่อสร้าง โครงการลงทุนและจัดซื้อตามงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2561 โดยภาครัฐฯ ได้เร่งการเบิกจ่ายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่ออัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบ ธุรกิจเด่นที่ได้รับอานิสงค์ คือ ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ธุรกิจที่ปรึกษาการก่อสร้าง/สิ่งแวดล้อม ธุรกิจขาย/ให้เช่าเครื่องจักรกลก่อสร้าง นอกจากนี้ยังมีการลงทุนภาคเอกชนที่มีแนวโน้มเร่งตัวขึ้น เพราะนโยบายพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก(EEC) ทำให้มีการลงทุนก่อสร้างโรงงาน สำนักงาน ที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น เป็นแรงหนุนธุรกิจกิจกลุ่มนี้อย่างต่อเนื่องในปีหน้า

เทรนด์ท่องเที่ยวไทย ปีจอยังคงกระแสดีอย่างต่อเนื่อง TMB Analytics คาดการณ์ไทยจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 37.0 ล้านคนในปีหน้า หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7  สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในพื้นที่จังหวัดท่องเที่ยวสำคัญ เช่น กรุงเทพฯ ภูเก็ต ชลบุรี สุราษฎร์ธานี ฯลฯ  ธุรกิจดาวเด่นที่ได้รับประโยชน์จากเทรนด์นี้คือ ธุรกิจที่พัก ร้านอาหาร ธุรกิจขนส่ง อย่างไรก็ตาม ความท้าทายที่รออยู่คือ ทำอย่างไรให้นักท่องเที่ยวนั้นท่องเที่ยวในไทยนานขึ้นและกระจายนักท่องเที่ยวสู่จังหวัดอื่นๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการบ้านที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬายังต้องคิดต่อไป

เทรนด์สังคมสูงวัยและใส่ใจสุขภาพ มีอิทธิพลต่อธุรกิจและเศรษฐกิจไทยมากขึ้นอย่างต่อเนื่องจากอัตราประชากรสูงอายุที่คาดว่าปีหน้า จะมีจำนวนกว่า 10.5 ล้านคน หรือร้อยละ 16.0 ของจำนวนประชากรทั้งหมด และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 12.3 ล้านคน ในอีก 5 ปีข้างหน้า นอกจากเม็ดเงินใช้จ่ายเพื่อการรักษาพยาบาลและดูแลสุขภาพที่เพิ่มตามจำนวนผู้สูงอายุแล้ว กระแสการดูแลสุขภาพ ออกกำลังกาย เล่นกีฬา เช่น การวิ่งออกกำลังกาย ฟิตเนส โยคะ แบดมินตัน ยังคงทำให้การใช้จ่ายด้านกีฬาและสันทนาการเพิ่มขึ้น ธุรกิจดาวเด่นตามเทรนด์นี้ คือ  ธุรกิจดูแลผู้สูงวัย ร้านขายยาและอาหารเสริม ธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์ออกกำลังกาย

เทรนด์เศรษฐกิจโลกฟื้นตัว เทรนด์ล่าสุด ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนจากการเติบโตของเศรษฐกิจยุโรป สหรัฐฯ และตลาดเกิดใหม่ในโซนเอเชีย ซึ่งคาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่อง ทำให้ยอดส่งออกของไทย 10 เดือนแรกขยายตัวได้สูงถึงร้อยละ 9.7 TMB Analytics คาดว่า ส่งออกไทยนี้ปี จะขยายตัวได้ร้อยละ 8 และคาดว่าจะเป็นแรงเหวี่ยงต่อเนื่องหนุนส่งออกไทยปีหน้าขยายตัวได้อีก ร้อยละ 4.8 ซึ่งธุรกิจที่คาดว่าจะได้รับผลดีส่งออกได้มากขึ้น คือ ธุรกิจส่งออกอาหารแปรรูป ธุรกิจส่งออกผัก/ผลไม้ และ ธุรกิจผลิตชิ้นส่วนยานยนต์

เทรนด์เศรษฐกิจดิจิทัล สร้างการเปลี่ยนแปลงต่อธุรกิจค้าส่ง/ค้าปลีกจากเดิมเข้าสู่การค้าผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น นอกจากพฤติกรรมการจับจ่ายของคนไทยจะเปลี่ยนมาซื้อสินค้าบริการผ่านอินเตอร์เน็ตแล้ว ระบบการชำระเงินผ่านบริการพร้อมเพย์(Prompt Pay) อินเตอร์เน็ตแบงก์กิ้ง(internet banking) แอปพลิเคชันบนมือถือ(mobile application) ที่เชื่อถือได้ ใช้งานได้ง่าย และประหยัด ยังมีส่วนช่วยเร่งการจับจ่ายผ่านระบบออนไลน์อีกทาง TMB Analytics คาดการณ์ว่า ปี 2561 มีมูลค่ากว่า  9.2 แสนล้านบาทและขยายตัวเป็น 3.0 ล้านล้านบาท ในอีก 5 ปีข้างหน้า หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 33 ต่อปี ธุรกิจที่ได้รับอานิสงค์โดยตรงจากการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้คือ ธุรกิจขายของออนไลน์(สินค้าอุปโภคบริโภค) ธุรกิจขนส่งสินค้า ธุรกิจบริการด้านไอที

X

Right Click

No right click