January 22, 2025

แกร็บ ผู้นำซูเปอร์แอปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เผยรายงาน Travel Insights 2024 จากผลสำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้บริการใน 6 ประเทศที่สะท้อนพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวอาเซียน พบ 81% วางแผนเที่ยวต่างประเทศ แต่กว่าครึ่งต้องการเดินทางในประเทศใกล้ๆ ภายในภูมิภาค โดยไทยยังครองแชมป์อันดับ 1 ประเทศจุดหมายปลายทางยอดนิยม พร้อมเผยอินไซต์นักท่องเที่ยวในยุคดิจิทัลที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม พบ 86% ของนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ใช้เทคโนโลยีอย่าง AR VR หรือ AI เป็นตัวช่วยในการหาข้อมูลและวางแผนการเดินทาง 81% เลือกจองตั๋วเครื่องบิน-ที่พักแบบออนไลน์ด้วยตัวเอง ขณะที่ 78% ระบุว่ายอมจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน

นางสาวจันต์สุดา ธนานิตยะอุดม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานพาณิชย์และการตลาดแกร็บ ประเทศไทย กล่าวว่า “นักท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียนถือเป็นหนึ่งในตลาดหลักที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยแต่ละปีเป็นจำนวนมาก โดยในปี 2024 ที่ผ่านมา ประเทศไทยต้อนรับนักท่องเที่ยวจากประเทศเหล่านี้สูงถึง 10.6 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนถึง 30% ของนักท่องเที่ยวทั้งหมด[1]  ทั้งนี้ จากการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวและเดินทางของผู้ใช้บริการแกร็บใน 6 ประเทศ อันได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนามและไทย โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 11,074 คน พบว่า 81% วางแผนที่จะเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศ (เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ 72%) โดยกว่าครึ่ง (52%) ต้องการเดินทางภายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองลงมาคือประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก (44%) อย่างจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี โดยประเทศไทยยังคงครองอันดับ 1 จุดหมายปลายทางยอดนิยม ตามมาด้วยสิงคโปร์และมาเลเซีย ด้วยความสวยงามของแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และมนต์เสน่ห์ทางด้านวัฒนธรรมซึ่งถือเป็นซอฟต์พาวเวอร์ที่รัฐบาลพยายามส่งเสริมและผลักดัน รวมไปถึงการจัดงานอีเวนท์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เทศกาลอาหาร เทศกาลดนตรีและคอนเสิร์ต และประเพณีสำคัญอย่างเทศกาลสงกรานต์และลอยกระทง” 

ทั้งนี้ แกร็บยังได้เผย 5 อินไซต์สำคัญของนักท่องเที่ยวอาเซียนในยุคดิจิทัลที่สะท้อนพฤติกรรมและแนวโน้มการเดินทางที่น่าสนใจ ดังนี้

  • ใช้เทคโนโลยีเพิ่มความสะดวกสบาย: 86% ของนักท่องเที่ยวระบุว่าใช้เทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็น Augmented Reality (AR) Virtual Reality (VR) หรือปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางท่องเที่ยว ตั้งแต่การหาข้อมูล การพรีวิวที่พักหรือแหล่งท่องเที่ยว การเปรียบเทียบราคา ไปจนถึงการวางแผนตารางการเดินทางอย่างละเอียด
  • ชอบวางแผนการเดินทางด้วยตัวเอง: นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ (81%) เลือกวางแผนการเดินทางด้วยตัวเอง โดยเกือบสองในสามของนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้จะจองตั๋วออนไลน์ทุกอย่างด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น เครื่องบิน ที่พัก รวมถึงแหล่งท่องเที่ยว ขณะที่ 18% ยอมซื้อแพคเกจทัวร์เพื่อประหยัดเวลาในการวางแผน
  • มีการบริหารงบประมาณอย่างรอบคอบ: 82% ของนักท่องเที่ยวมีการวางแผนงบประมาณและกำหนดค่าใช้จ่ายต่อทริปล่วงหน้า แม้ว่ากว่าครึ่งของนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้มักใช้จ่ายเกินกว่างบที่ตั้งไว้ นอกจากนี้ ยังพบว่า 56% เพิ่มงบประมาณในการใช้จ่ายต่อทริปสูงขึ้นกว่าปีก่อนหน้า ขณะที่ 53% มีความกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อ
  • ให้ความสำคัญกับความปลอดภัย: โดยพบว่า 68% จะเลือกซื้อประกันที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง ไม่ว่าจะเป็น ประกันการเดินทางที่ครอบคลุมด้านความเสียหายหรือสูญหายของกระเป๋าเดินทาง ประกันการล่าช้าหรือการยกเลิกของเที่ยวบิน รวมถึงประกันสุขภาพ
  • ใส่ใจสิ่งแวดล้อม: นักท่องเที่ยวในปัจจุบันให้ความสำคัญกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดย 45% เลือกสนับสนุนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เช่น การใช้ยานยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การลดปริมาณการใช้พลาสติก รวมถึงการสนับสนุนผู้ประกอบการหรือชุมชนในท้องถิ่น ขณะที่ 78% ระบุว่ายินดีจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเพื่อสนับสนุนธุรกิจที่มีแนวคิดดังกล่าว


[1] อ้างอิง สถิตินักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย ม.ค. - ธ.ค. ปี 2567 โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

แกร็บ ผู้นำซูเปอร์แอปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เผยรายงาน Travel Insights 2024 จากผลสำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้บริการใน 6 ประเทศที่สะท้อนพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวอาเซียน พบ 81% วางแผนเที่ยวต่างประเทศ แต่กว่าครึ่งต้องการเดินทางในประเทศใกล้ๆ ภายในภูมิภาค โดยไทยยังครองแชมป์อันดับ 1 ประเทศจุดหมายปลายทางยอดนิยม พร้อมเผยอินไซต์นักท่องเที่ยวในยุคดิจิทัลที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม พบ 86% ของนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ใช้เทคโนโลยีอย่าง AR VR หรือ AI เป็นตัวช่วยในการหาข้อมูลและวางแผนการเดินทาง 81% เลือกจองตั๋วเครื่องบิน-ที่พักแบบออนไลน์ด้วยตัวเอง ขณะที่ 78% ระบุว่ายอมจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน

นางสาวจันต์สุดา ธนานิตยะอุดม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานพาณิชย์และการตลาด แกร็บ ประเทศไทย กล่าวว่า “นักท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียนถือเป็นหนึ่งในตลาดหลักที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยแต่ละปีเป็นจำนวนมาก โดยในปี 2024 ที่ผ่านมา ประเทศไทยต้อนรับนักท่องเที่ยวจากประเทศเหล่านี้สูงถึง 10.6 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนถึง 30% ของนักท่องเที่ยวทั้งหมด1 ทั้งนี้ จากการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวและเดินทางของผู้ใช้บริการแกร็บใน 6 ประเทศ อันได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนามและไทย โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 11,074 คน พบว่า 81% วางแผนที่จะเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศ (เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ 72%) โดยกว่าครึ่ง (52%) ต้องการเดินทางภายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองลงมาคือประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก (44%) อย่างจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี โดยประเทศไทยยังคงครองอันดับ 1 จุดหมายปลายทางยอดนิยม ตามมาด้วยสิงคโปร์และมาเลเซีย ด้วยความสวยงามของแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และมนต์เสน่ห์ทางด้านวัฒนธรรมซึ่งถือเป็นซอฟต์พาวเวอร์ที่รัฐบาลพยายามส่งเสริมและผลักดัน รวมไปถึงการจัดงานอีเวนท์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เทศกาลอาหาร เทศกาลดนตรีและคอนเสิร์ต และประเพณีสำคัญอย่างเทศกาลสงกรานต์และลอยกระทง”

ssssss

ทั้งนี้ แกร็บยังได้เผย 5 อินไซต์สำคัญของนักท่องเที่ยวอาเซียนในยุคดิจิทัลที่สะท้อนพฤติกรรมและแนวโน้มการเดินทางที่น่าสนใจ ดังนี้

· ใช้เทคโนโลยีเพิ่มความสะดวกสบาย: 86% ของนักท่องเที่ยวระบุว่าใช้เทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็น Augmented Reality (AR) Virtual Reality (VR) หรือปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางท่องเที่ยว ตั้งแต่การหาข้อมูล การพรีวิวที่พักหรือแหล่งท่องเที่ยว การเปรียบเทียบราคา ไปจนถึงการวางแผนตารางการเดินทางอย่างละเอียด

· ชอบวางแผนการเดินทางด้วยตัวเอง: นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ (81%) เลือกวางแผนการเดินทางด้วยตัวเอง โดยเกือบสองในสามของนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้จะจองตั๋วออนไลน์ทุกอย่างด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น เครื่องบิน ที่พัก รวมถึงแหล่งท่องเที่ยว ขณะที่ 18% ยอมซื้อแพคเกจทัวร์เพื่อประหยัดเวลาในการวางแผน

· มีการบริหารงบประมาณอย่างรอบคอบ: 82% ของนักท่องเที่ยวมีการวางแผนงบประมาณและกำหนดค่าใช้จ่ายต่อทริปล่วงหน้า แม้ว่ากว่าครึ่งของนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้มักใช้จ่ายเกินกว่างบที่ตั้งไว้ นอกจากนี้ ยังพบว่า 56% เพิ่มงบประมาณในการใช้จ่ายต่อทริปสูงขึ้นกว่าปีก่อนหน้า ขณะที่ 53% มีความกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อ

· ให้ความสำคัญกับความปลอดภัย: โดยพบว่า 68% จะเลือกซื้อประกันที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง ไม่ว่าจะเป็น ประกันการเดินทางที่ครอบคลุมด้านความเสียหายหรือสูญหายของกระเป๋าเดินทาง ประกันการล่าช้าหรือการยกเลิกของเที่ยวบิน รวมถึงประกันสุขภาพ

· ใส่ใจสิ่งแวดล้อม: นักท่องเที่ยวในปัจจุบันให้ความสำคัญกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดย 45% เลือกสนับสนุนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เช่น การใช้ยานยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การลดปริมาณการใช้พลาสติก รวมถึงการสนับสนุนผู้ประกอบการหรือชุมชนในท้องถิ่น ขณะที่ 78% ระบุว่ายินดีจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเพื่อสนับสนุนธุรกิจที่มีแนวคิดดังกล่าว

แกร็บ ประเทศไทย ขานรับนโยบายรัฐบาลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจปี 2568 ชวนพันธมิตรค้าปลีกชั้นนำและผู้ประกอบการรายย่อยตบเท้าร่วมแคมเปญ “GrabMart Easy E-Receipt 2.0” มอบสิทธิประโยชน์ทางภาษีเมื่อช้อปสินค้าที่ร่วมรายการผ่านบริการแกร็บมาร์ท (GrabMart) โดยผู้ใช้บริการสามารถขอรับใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบผ่านแอปพลิเคชันเพื่อนำมาใช้ลดหย่อนภาษีปี 25681 ตามที่จ่ายจริงได้สูงสุดถึง 30,000 บาท2 พร้อมส่งดีลพิเศษทริปเปิลความคุ้ม “ลดหย่อนง่าย คุ้มได้ 3 ต่อ” มอบส่วนลดสูงสุด 20% ตลอดแคมเปญ ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2568

นายจิรกิตต์ กว้างสุขสถิตย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานธุรกิจเดลิเวอรี แกร็บ ประเทศไทย เผยว่า “ในฐานะผู้นำแพลตฟอร์มเดลิเวอรียอดนิยม แกร็บพร้อมร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะมาตรการ ‘Easy E-Receipt 2.0’ ซึ่งเป็นการขยายผลจากมาตรการเดิมตามมติคณะรัฐมนตรีที่ประกาศเมื่อวันที่ 24 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยเราพร้อมอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการที่ซื้อสินค้าอุปโภคและบริโภคบนแกร็บมาร์ทสามารถขอใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์จากร้านค้าที่ร่วมรายการได้โดยตรง ซึ่งในปีนี้แกร็บได้ยกขบวนสินค้ามากกว่า 1.6 ล้านรายการจากร้านค้าพันธมิตร ไม่ว่าจะเป็น ผู้ประกอบการค้าปลีกและแบรนด์ชั้นนำ นำโดย ท็อปส์, โลตัส, กูร์เมต์ มาร์เก็ต, โฮมโปร, เบทาโกร, บิวเทรียม, บีทูเอส, บู๊ทส์, มัทสึโมโตะ คิโยชิ, มูจิ, มาร์คแอนด์สเปนเซอร์, ออฟฟิศเมท, โอเรียนทอล พริ้นเซส รวมถึงผู้ประกอบการร้านค้ารายย่อยจากทั่วประเทศอีกมากมาย” 

พร้อมกันนี้ แกร็บยังเอาใจเหล่านักช้อปด้วยโปรโมชัน “ลดหย่อนง่าย คุ้มได้ 3 ต่อ” โดยผู้ที่ซื้อสินค้าผ่านแกร็บมาร์ท จากร้านค้าที่ร่วมรายการ ระหว่างวันที่ 16 มกราคม - 28 กุมภาพันธ์ 2568 จะได้รับความคุ้มค่าแบบ 3 ต่อ ต่อที่หนึ่ง: รับสิทธิ์ในการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2568 จากการใช้จ่ายตามจริงสูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท ต่อที่สอง: พิเศษสำหรับผู้ใช้ใหม่ รับส่วนลดทันที 20% เพียงกรอกรหัส EASY20 (สูงสุด 350 บาท เมื่อซื้อสินค้าขั้นต่ำ 800 บาท) และ ต่อสุดท้าย: รับส่วนลดเพิ่มทันที 15% ในการสั่งซื้อครั้งถัดไป เพียงกรอกรหัส EASY15 (สูงสุด 300 บาท เมื่อสั่งซื้อสินค้าขั้นต่ำ 1,000 บาท) 

ทั้งนี้ ผู้ใช้บริการสามารถสั่งซื้อสินค้าผ่านบริการแกร็บมาร์ทพร้อมใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีตามมาตรการ “Easy E-Receipt 2.0”  ได้ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2568 โดยสามารถติดตามรายละเอียดของแคมเปญฯ ขั้นตอนการขอใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และเงื่อนไขเพิ่มเติมได้ทาง https://www.grab.com/th/blog/grabmart-easy-e-receipt


1 อ้างอิงข้อมูลจากทำเนียบรัฐบาล วันที่ 26 ธันวาคม 2567

2 เงื่อนไขการลดหย่อนภาษีเป็นไปตามข้อกำหนดของกรมสรรพากร

 

แกร็บ ประเทศไทย เดินหน้าปลุกพลังคนรุ่นใหม่ เสริมแรงบันดาลใจให้ Gen Z ผ่านการประกวดแผนธุรกิจ GrabSpark 2024 เปิดเวทีโชว์ศักยภาพในการนำเสนอไอเดียที่สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดธุรกิจให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี-บิ๊กดาต้าเสริมทักษะด้านธุรกิจและนวัตกรรม พร้อมปลูกฝังแนวคิดด้านความยั่งยืนซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการขับเคลื่อนธุรกิจยุคดิจิทัล เพื่อเตรียมความพร้อมให้คนรุ่นใหม่ก้าวสู่โลกธุรกิจอย่างมั่นใจ โดย 4 นิสิตจากรั้วจามจุรีสามารถฝ่าด่านการแข่งขันกับผู้สมัครนับพันจาก 32 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ จนคว้ารางวัลชนะเลิศด้วยแผนธุรกิจ “Ever Grow and Never Ending” นำเสนอโซลูชันที่ช่วยผลักดันให้บริการซูเปอร์แอปเติบโตแบบก้าวกระโดด พร้อมเชื่อมโยงคนในอีโคซิสเต็มเพื่อสร้างความแข็งแกร่งและยั่งยืนให้ธุรกิจ

นายวรฉัตร ลักขณาโรจน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย กล่าวว่า “นับเป็นปีที่สามแล้วที่ แกร็บ ประเทศไทย ได้จัดการประกวดแผนธุรกิจ GrabSpark โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของนิสิตนักศึกษาไทย ซึ่งถือเป็นตัวแทนของ Gen Z ที่จะมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต โดยเฉพาะเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งมีอัตราการเติบโตกว่า 2 เท่าของ GDP ในปีนี้[1]  โดย Gen Z เติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยีและโลกอินเทอร์เน็ต ทำให้ได้รับข้อมูลข่าวสารที่ฉับไว เห็นโลกกว้าง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ มองเห็นโอกาสใหม่ๆ และกล้าตัดสินใจอย่างรวดเร็ว ทั้งยังเป็นเจเนอเรชันที่ให้ความสำคัญกับการสร้างความเปลี่ยนแปลงทางสังคม (Social Impact) ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม  ซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจในการดำเนินธุรกิจของแกร็บที่มุ่งพัฒนาและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหา (Pain Point) และตอบสนองความต้องการให้กับผู้บริโภค ควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ การเปิดเวทีให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ได้แสดงศักยภาพผ่านการนำเสนอแผนธุรกิจถือเป็นอีกหนึ่งความตั้งใจที่แกร็บต้องการผลักดันให้พวกเขาได้ใช้ความรู้และทักษะที่มีคิดต่อยอดเพื่อพัฒนาโซลูชันใหม่ๆ โดยสามารถใช้ประโยชน์จากบิ๊กดาต้าและเทคโนโลยีดิจิทัลมาบูรณาการ ทั้งยังส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นทีม พร้อมปลูกฝังแนวคิดด้านความยั่งยืนซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของเศรษฐกิจและธุรกิจแห่งอนาคตอีกด้วย”

การประกวดแผนธุรกิจ  GrabSpark จัดขึ้นครั้งแรกในปี 2022 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ GrabCampus ที่มุ่งส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพให้กับกลุ่มนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย โดยในปีนี้แกร็บได้เปิดโอกาสให้เยาวชนจากทุกสถาบันเข้าร่วมการประกวดแผนธุรกิจภายใต้โจทย์ “The Next Chapter of Superapp: Unlocking Potential for Accelerated Sustainable Growth” เพื่อนำเสนอไอเดียและแผนการตลาดในการผลักดันบริการซูเปอร์แอปให้สามารถเติบโตได้แบบก้าวกระโดดและยั่งยืน โดยมีนิสิตนักศึกษากว่า 1,116 คนจาก 32 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศให้ความสนใจเข้าร่วมการแข่งขันเพื่อแสดงศักยภาพ และชิงเงินรางวัลรวมมูลค่ากว่า 100,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ และสิทธิพิเศษ Fast-track เพื่อเข้าร่วมโปรแกรม GrabIntern ซึ่งเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ฝึกงานที่ แกร็บ ประเทศไทย เพื่อสัมผัสประสบการณ์การทำงานในธุรกิจดิจิทัลแพลตฟอร์ม พร้อมต่อยอดสู่การพัฒนาทักษะในระดับมืออาชีพในโลกธุรกิจจริง

ทั้งนี้ หลังผ่านการประกวดที่เข้มข้นและการพิจารณาตัดสินจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารผู้มากประสบการณ์ และมีความเชี่ยวชาญในหลายสาขา ทีมที่สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศในการประกวดแผนธุรกิจ GrabSpark 2024 ไปครองคือ ทีม G Good จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่โดดเด่นด้วยแผนธุรกิจที่ชื่อ “Ever Grow and Never Ending” 

นางสาวคณิตา เนตรดวงมณี ตัวแทนจากทีม G Good กล่าวว่า “แผนธุรกิจของเรามุ่งเน้นไปที่การสร้างความสมดุลระหว่างการสนับสนุนพาร์ทเนอร์ร้านค้าของแกร็บและการตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้บริการ โดยเรามองเห็นโอกาสในการพัฒนาบริการ GrabFood และ GrabMart ซึ่งมีฐานลูกค้าแข็งแกร่งอยู่แล้ว พร้อมต่อยอดความสำเร็จที่มีอยู่เดิม โดยสำหรับ GrabFood เราได้วิเคราะห์และออกแบบโซลูชันที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพให้พาร์ทเนอร์ร้านค้า และพัฒนาฟีเจอร์ที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้อย่างรอบด้าน ตั้งแต่การเดินทางไปจนถึงการทานอาหารที่ร้าน ส่วน GrabMart เราเน้นการขยายพาร์ทเนอร์ในระบบเพื่อตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับการเลือกซื้อสินค้าคุณภาพ พร้อมสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้แก่พาร์ทเนอร์ร้านค้าอีกด้วย นอกจากนี้ เรายังเสนอการทำ Gamification ที่เชื่อมโยงบริการต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อสร้างความเพลิดเพลินและความผูกพันกับแบรนด์ในระยะยาว โดยเรามั่นใจว่าแผนธุรกิจนี้จะช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งกับพาร์ทเนอร์และผู้ใช้บริการ ผ่านกลยุทธ์ที่เน้นสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของแกร็บในการสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับสังคม”


[1]  อ้างอิงจาก ข่าวเว็บไซต์รัฐบาลไทย https://www.thaigov.go.th/news/contents/ministry_details/91333

แกร็บ ผู้นำซูเปอร์แอปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เผยข้อมูลสถิติ “ที่สุดแห่งปี 2024” ครอบคลุมทั้งธุรกิจการเดินทางและเดลิเวอรีในประเทศไทย โดยปีที่ผ่านมา บริการเรียกรถผ่านแอปฯ ยังคงได้รับความนิยมทั้งจากคนไทยและต่างชาติ โดยเฉพาะบริการใหม่อย่าง GrabCar SAVER ที่เติบโตขึ้นกว่า 400% พบกระแส “หมูเด้งฟีเวอร์” ดันยอดเรียกรถไปสวนสัตว์เขาเขียวเพิ่มขึ้น 267% ขณะที่นักท่องเที่ยวจีนและประเทศในอาเซียนติดท็อป 5 ใช้บริการมากที่สุด โดยเน้นเรียกรถไปห้างสรรพสินค้าและแหล่งช้อปปิ้ง ฟากบริการฟู้ดเดลิเวอรี เมนู “อาหารไทย” และ “อเมริกาโน่เย็น” ยังครองใจผู้ใช้บริการเป็นอันดับหนึ่ง กระแสไวรัลของหมีเนยดันยอด Butterbear พุ่งเป็นประวัติการณ์ ขณะที่ “ดูไบช็อคโกแลต” “ชาผลไม้พรีเมียม” และ “สมูตตี้เพื่อสุขภาพ” เป็นเมนูมาแรงแห่งปี

 บริการเรียกรถผ่านแอปพลิเคชัน ปี 2567 เรียกรถผ่านแอปฯ ยังคงเติบโต รับอานิสงส์ “ท่องเที่ยวคึกคัก-หมูเด้งฟีเวอร์-ไลน์อัพอีเวนท์”

· บริการเรียกรถผ่านแอปฯ ยังคงได้รับความนิยมจากคนไทยและต่างชาติ โดยมียอดใช้บริการสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะบริการใหม่อย่าง GrabCar SAVER ซึ่งเพิ่งเปิดตัวเพื่อนำเสนอทางเลือกใหม่สำหรับผู้โดยสารที่ต้องการเรียกรถในราคาที่ประหยัดลง โดยมีอัตราการเติบโตสูงถึงกว่า 400% ในหัวเมืองหลัก

· กระแส “หมูเด้ง” ที่กลายเป็นขวัญใจของคนทั่วโลก ไม่เพียงช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติให้เข้ามาเที่ยวในประเทศ แต่ยังดันยอดใช้บริการเรียกรถผ่านแอปฯ ที่เดินทางไปสวนสัตว์เปิดเขาเขียวให้เติบโตขึ้นกว่า 267%

· นโยบายรัฐบาลที่ผลักดันให้ประเทศไทยกลายเป็น “World Class Event Hub” ทำให้ปีนี้เราได้เห็นความคึกคักของวงการอีเวนท์ ไม่ว่าจะเป็น งานประชุมและนิทรรศการ งานแฟร์ รวมถึงการจัดคอนเสิร์ตของศิลปินไทยและเทศ ซึ่งส่งผลให้ยอดใช้บริการเรียกรถผ่านแอปฯ ไปงานเหล่านี้เติบโตขึ้นถึง 25% โดยเฉพาะการเดินทางไปราชมังคลากีฬาสถาน ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ อิมแพ็คอารีนา และไบเทค บางนา

ต่างชาติมั่นใจใช้บริการเรียกรถผ่านแอปฯ ไป “สนามบิน แหล่งช้อปปิ้ง และเที่ยวเมืองรอง”

· ด้วยบริการที่สะดวกสบายและราคาที่โปร่งใสทำให้บริการเรียกรถผ่านแอปฯ ยังคงได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว สะท้อนผ่านยอดใช้บริการที่สนามบินต่าง ๆ ซึ่งเติบโตขึ้นกว่า 67% โดย 5 ชาติที่ใช้บริการมากที่สุด คือ สิงคโปร์ มาเลเซีย จีน อินโดนีเซีย และเวียดนาม

· ห้างสรรพสินค้าและแหล่งช้อปปิ้งยังคงเป็นจุดหมายปลายทางหลักที่นักท่องเที่ยวต่างชาตินิยมเดินทางไป โดย 5 สถานที่ยอดฮิต คือ ไอคอนสยาม (ICONSIAM) เซ็นทรัลเวิลด์ (CentralWorld) สยามพารากอน (Siam Paragon) ถนนข้าวสาร และตลาดนัดจตุจักร นอกจากนี้ อีกหนึ่งห้างที่มาแรงที่สุด คือ เอ็มสเฟียร์ (EMSPHERE) ไลฟ์สไตล์มอลล์ใจกลางสุขุมวิท ซึ่งเพิ่งเปิดตัวในปีที่ผ่านมา

· จังหวัดเมืองรองยังได้รับความนิยมต่อเนื่องจากนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวของรัฐบาล สะท้อนผ่านยอดใช้บริการเรียกรถผ่านแอปฯ ที่เติบโตขึ้นกว่า 90% โดยเฉพาะใน 5 เมืองน่าเที่ยวอย่างเชียงราย ตาก อุดรธานี อุบลราชธานี และพิษณุโลก

ฟีเจอร์มาแรง “จองรถล่วงหน้า ใช้รถอีวี

· ฟีเจอร์จองรถล่วงหน้า (Advance Booking) กลับมาได้รับความนิยมหลังแกร็บประกาศปรับโฉมใหม่ โดยสามารถจองรถล่วงหน้าได้ถึง 7 วันและมีประกันคุ้มครองสูงสุดถึง 800,000 บาท โดยผู้ใช้บริการส่วนใหญ่นิยมใช้บริการเพื่อเดินทางไปสนามบิน ไม่ว่าจะเป็น สุวรรณภูมิ ดอนเมือง ภูเก็ต เชียงใหม่ และกระบี่

· คนไทยให้ความสำคัญกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น สะท้อนผ่านจำนวนผู้ใช้บริการที่ใช้ฟีเจอร์เลือกใช้รถอีวี (Grab EV Rides) เพิ่มขึ้นกว่า 200% โดยฟีเจอร์ดังกล่าวพัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มโอกาสค้นหารถ EV ในพื้นที่และช่วงเวลานั้นๆ เพื่อให้บริการเป็นตัวเลือกแรก

 

บริการฟู้ดเดลิเวอรี

“อาหารไทย” และ “อเมริกาโนเย็น” ครองใจคนไทยเป็นอันดับหนึ่ง

· อาหารไทยยังคงครองใจผู้ใช้บริการฟู้ดเดลิเวอรี โดยเฉพาะเมนูสั่งง่ายในราคาสบายกระเป๋า โดย 5 เมนูขายดีแห่งปี คือ ส้มตำ ไก่ทอด ข้าวมันไก่ หมูปิ้ง รวมถึงเมนูที่ทำจากหมูอย่าง “ไข่พะโล้” และ “ข้าวขาหมู” ซึ่งมียอดสั่งในเดือนกันยายนเติบโตขึ้นกว่า 38% จากอิทธิพลของ “หมูเด้ง” ฟีเจอร์

· ขณะที่กาแฟและชายังคงเป็นเมนูเครื่องดื่มขายดีตลอดปี นำโดย “อเมริกาโน่เย็น” กาแฟดำไม่ใส่น้ำตาลที่ตอบโจทย์คอกาแฟสายสุขภาพ โดยมียอดสั่งรวมทั้งปีถึง 5 ล้านแก้ว รองลงมา คือ “ชาไทย” โดยเฉพาะเมนู “เสลอปี้ชาไทย” สุดฮิตที่แทบทุกแบรนด์ส่งมาชิงตลาด ตามมาด้วยเอสเพรสโซ่เย็น ชาเขียวเย็น และชานมไข่มุก

กระแส “บัตเตอร์แบร์” แรงไม่หยุด “ดูไบช็อคโกแลต ชาผลไม้ สมูตตี้” เมนูมาแรงแห่งปี

· กระแสไวรัลของหมีเนยขวัญใจโซเชียลมาแรงไม่แผ่วตลอดทั้งปี ทำให้ยอดสั่งเมนูต่าง ๆ ของบัตเตอร์แบร์ (Butterbear) พุ่งเป็นประวัติการณ์โดยเติบโตกว่า 1,200%

· ชาผลไม้พรีเมียมแบรนด์ดังจากประเทศจีนที่ตบเท้าเข้ามาเปิดสาขาในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น เจี้ยนชา (JIAN CHA) ชาจี (CHAGEE) และ ไนซือ (NaiXue) ได้รับกระแสความนิยมจากคนไทยไม่ขาดสาย โดยมียอดขายเฉลี่ยเติบโตขึ้นถึง 10 เท่า โดยเฉพาะ “ชาองุ่นปั่นครีมชีส” ที่กลายเป็นไอเทมที่มาแรงที่สุดในปีนี้

· เมนูเพื่อสุขภาพยังคงเป็นที่นิยมในกลุ่มฟู้ดดี้สายเฮลท์ตี้ ไม่ว่าจะเป็น อาซาอิโบลว์ที่ดังต่อเนื่องข้ามปี สลัดแร็ปผักล้น ไปจนถึงสมูตตี้เพื่อสุขภาพที่เป็นกระแสจาก “น้ำปั่น Erawon” จนกลายเป็นอีกหนึ่งเมนูฮิตติดลมบน โดยเฉพาะ Oh! Juice แบรนด์น้องใหม่จากโอ้กะจู๋ ที่ปั่นทั้งกระแสและยอดขายไปอย่างถล่มทลายจนเติบโตขึ้นกว่า 400% ภายในระยะเวลา 3 เดือน

· ฟากของหวานอย่าง “ดูไบช็อกโกแลต” รวมถึงเมนูขนมหวานที่มีส่วนผสมของถั่วพิตาชิโอ กลายเป็นไอเท่มสุดฮอตแห่งปี โดยเฉพาะแบรนด์ The Rolling Pinn ที่มียอดขายถล่มทลายในช่วงครึ่งปีหลัง และทำให้ธุรกิจเติบโตขึ้นกว่า 20 เท่า

 ฟีเจอร์มาแรง “สั่งเป็นกลุ่ม กินที่ร้าน”

· ฟีเจอร์คำสั่งซื้อกลุ่ม (Group Order) ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นโดยมียอดสั่งอาหารเติบโตขึ้นสองเท่าหลังแกร็บฟู้ดอัปเกรดฟีเจอร์ให้สามารถสั่งอาหารร่วมกันได้สูงสุดถึง 10 คนและเพิ่มทางเลือกในการแบ่งจ่ายได้ถึง 3 ออปชัน

· เทรนด์การกินข้าวนอกบ้านดันให้ฟีเจอร์กินที่ร้าน (Dine Out) เติบโตขึ้น โดยมียอดใช้บริการเติบโตขึ้นกว่า 11 เท่าในไตรมาสสุดท้าย โดยเฉพาะในร้านบุฟเฟต์ ซึ่ง 3 ร้านที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ โม โม่พาราไดซ์ (Mo-Mo-Paradise) โคเอ็น (Kouen) และซูกิชิ (Sukishi)

Page 1 of 10
X

Right Click

No right click