September 19, 2024

คาดการณ์ธนาคารกลางสหรัฐฯ เริ่มลดดอกเบี้ยในการประชุมรอบนี้ ส่งผลบวกต่อทุกสินทรัพย์ในระยะยาว มองเดือนกันยายนเป็นจังหวะทยอยสะสม “หุ้นเทคโนโลยี – หุ้นไทย – บิทคอยน์” โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มเอไอที่ผลประกอบการไตรมาสล่าสุดเติบโตแทบทุกราย ส่วนบิทคอยน์มีสัญญาณบวกจากสถิติเดิม ปีที่เกิด Halving ราคาจะสิ้นสุดการพักฐานในเดือนกันยายนก่อนจะสร้างผลตอบแทนเป็นบวกสามเดือนติดต่อกัน ขณะที่หุ้นไทยเริ่มมีปัจจัยบวกหนุน

นายณพวีร์ พุกกะมาน นักลงทุนและผู้ก่อตั้ง Creative Investment Space (CIS) สถาบันให้ความรู้ด้านนวัตกรรมการลงทุนรูปแบบใหม่ เปิดเผยว่า ปัจจัยสำคัญที่นักลงทุนต้องจับตาในเดือนกันยายนนี้ คือการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาที่จะมีขึ้นในวันที่ 18 -19 กันยายนนี้ โดยประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ส่งสัญญาณมาก่อนหน้านี้แล้วที่การประชุมแจ็คสันโฮลว่านโยบายการเงินมีโอกาสที่จะเปลี่ยนทิศทางมาเป็นการลดดอกเบี้ยถ้าหากตัวเลขเศรษฐกิจอ่อนแอลง

ทั้งนี้ การประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร (Non-Farm Payroll) สัปดาห์ที่ผ่านมาออกมาต่ำกว่าที่คาดค่อนข้างมาก ทำให้ตลาดมีความกังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะถดถอยจนต้องลดดอกเบี้ยในอัตรา 0.5% ในการประชุมเดือนนี้ทันที จึงเกิดแรงเทขายในตลาดหุ้นและสินทรัพย์อื่น ๆ

อย่างไรก็ตามคาดว่าตลาดได้ซึมซับกับข่าวและความน่าจะเป็นที่จะใช้ยาแรงด้วยการลดดอกเบี้ย 0.5% ไปแล้ว ถ้าหากการประกาศตัวเลขเงินเฟ้อ หรือ CPI Index ในสัปดาห์นี้ออกมาต่ำกว่าที่คาดมากก็ไม่น่าจะสร้างความตกใจให้กับตลาดได้มากกว่านี้

“ในระยะกลาง การที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ เริ่มที่จะลดดอกเบี้ยลงจะเป็นผลดีต่อตลาดการลงทุนทั้งหมด แต่ในระยะสั้นอาจยังมีความผันผวน ถึงอย่างไรการที่ตลาดหุ้นและสินทรัพย์การลงทุนอื่นปรับฐานลงมาในช่วงเดือนกันยายน ถือเป็นโอกาสในการทยอยเข้าสะสม เพราะจากสถิติทุกปี เดือนกันยายนตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะให้ผลตอบแทนต่ำที่สุด แต่หลังจากนั้นในไตรมาสที่สี่จะสามารถสร้างผลตอบแทนได้เป็นอย่างดี”

โดยเฉพาะดัชนี Nasdaq หากมีการปรับฐานลงมา มองเป็นโอกาสในการเข้าลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีไม่ว่าจะเป็นกลุ่มหุ้นขนาดใหญ่ทั้ง 7 ตัว รวมถึงหุ้นที่เกี่ยวข้องกับเอไออื่น ๆ เพราะภาพรวมของการประกาศผลประกอบการของหุ้นที่เกี่ยวข้อง

กับเอไอ ยังคงทำได้ดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดทั้งหมด รวมทั้งยังมองการเติบโตต่อในไตรมาสต่อไป แต่ราคาหุ้นปรับตัวลงมาเป็นไปตามภาวะตลาด

อาทิ หุ้น Nvidia ที่มีรายได้เพิ่มขึ้น 122% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของไตรมาสที่ผ่านมา กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่า และรายได้จากธุรกิจศูนย์ข้อมูลของ Nvidia ซึ่งรวมถึงโปรเซสเซอร์ AI เพิ่มขึ้น 154% จากปีที่ผ่านมา เป็นแรงหนุนสำคัญให้กับหุ้นเทคโนโลยีอื่น ๆ

ขณะที่หุ้น Tesla นักลงทุนกำลังมองข้ามยอดขายของรถยนต์ไฟฟ้าที่เติบโตลดลง และให้ความสำคัญกับการเปิดตัวธุรกิจใหม่ คือ Robotaxi หรือ แท็กซี่แบบไร้คนขับ ซึ่งถูกคาดหมายว่าจะเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้และทำกำไรให้กับ Tesla ในยุคต่อไป

ด้านสินทรัพย์อื่น ๆ ที่จะได้ประโยชน์จากการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะเริ่มลดดอกเบี้ยในช่วงเดือนกันยายนสามารถที่จะทยอยเข้าลงทุนได้ เช่น ทองคำ และบิทคอยน์ จากสถิติที่ผ่านมา ปีที่เกิดการ Halving และมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ราคาบิทคอยน์จะจบการปรับฐานในเดือนกันยายนและจะให้ผลตอบแทนเป็นบวกตลอดสามดือนสุดท้ายของปี และยังมีโอกาสที่จะเป็นขาขึ้นต่อเนื่องในปี 2025 จึงสามารถทยอยเข้าสะสมได้ โดยมีแนวรับไม่ต่ำกว่า 49,000 ดอลลาร์

ทางด้านตลาดหุ้นไทย เริ่มมีปัจจัยบวกเข้ามาไม่ว่าจะเป็นการได้รัฐบาลใหม่ การตั้งกองทุนวายุภักษ์ จนทำให้ดัชนี SET Index ปรับตัวขึ้นค่อนข้างแรงในสัปดาห์ที่ผ่านมา ในแง่ทางเทคนิคมีโอกาสที่จะปรับตัวขึ้นแตะ 1,500 จุด ในปีนี้ เพราะมีแรงซื้อเข้ามาในหุ้นขนาดใหญ่เป็นหลัก มองว่าเป็นโอกาสในการเข้าลงทุนในรูปแบบของการเก็งกำไรไปจนถึงสิ้นปีนี้ได้ แต่หลังจากนั้นต้องจับตาการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจใหม่ว่าจะทำให้จีดีพีสามารถเติบโตได้ต่อเนื่อง หรือไม่

“คาดว่าช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ ตลาดการลงทุนมีโมเมนตัมที่ดีจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ มีโอกาสสูงที่จะเริ่มต้นลดดอกเบี้ย หลังจากนั้นต้องมาติดตามผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ว่าจะมีผลต่อสินทรัพย์ใดต่อไป”

SCB WEALTH เผยตั้งแต่ต้นปี 2566 เงินลงทุนทั่วโลกไหลเข้าตลาดเงิน (money market) สกุลดอลลาร์สหรัฐสูงที่สุด ตามด้วย ตราสารหนี้ภาคเอกชน พันธบัตรรัฐบาล และหุ้น โดย money market สกุลดอลลาร์สหรัฐ 5 ปีที่ผ่านมา เงินไหลเข้าประมาณ 3.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หากเฟดลดดอกเบี้ย เม็ดเงินใน money market สกุลดอลลาร์สหรัฐจะเคลื่อนย้ายไปลงทุนในสินทรัพย์อื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า แนะนักลงทุนหาจังหวะลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ ที่จะครบกำหนดไถ่ถอนในอีก 1-3 ปี เพื่อโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีและอาจได้รับผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาอีกด้วย ส่วนตลาดหุ้นแนะหาจังหวะช่วงปรับฐานทยอยสะสมหุ้นญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ด้านตลาดหุ้นสหรัฐและยุโรปสามารถลงทุนต่อได้แต่ผลตอบแทนอาจจะไม่สูงเหมือนปีที่ผ่านมา

นายศรชัย สุเนต์ตา, CFA รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Investment Office and Product กลุ่มธุรกิจ Wealth ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า ตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ ปรับลดลงช้ากว่าที่นักลงทุนคาดการณ์ ขณะที่ อัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ อยู่สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อติดต่อกัน 6 เดือน คาดว่า เงินเฟ้อสหรัฐฯ จะค่อยๆ ลดลงและเมื่อธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มั่นใจว่าสามารถควบคุมเงินเฟ้อให้อยู่ในกรอบเป้าหมายที่ 2%ได้ หลังจากนั้น Fed จะกลับมาให้ความสำคัญกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ และเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรก ซึ่งตลาดคาดว่าจะเกิดขึ้นในเดือน มิ.ย. 2567 และรวมทั้งปีนี้ คาดว่าจะมีการลดดอกเบี้ยประมาณ 3-4 ครั้ง โดยในช่วงที่ดอกเบี้ยเริ่มลดลง จะทำให้ผลตอบแทนของการถือครองเงินสดในสกุลดอลลาร์สหรัฐปรับลดลง และผลตอบแทนไม่ได้ดีกว่าสินทรัพย์อื่น

“ในปี 2566 ที่ผ่านมา การถือเงินสดในสกุลดอลลาร์สหรัฐให้ผลตอบแทนประมาณ 5.1% ดีกว่าการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ แต่อาจจะไม่ได้ให้ผลตอบแทนดีกว่าสินทรัพย์อื่นๆ ขณะที่ จากสถิติย้อนหลัง 30 ปี พบว่า เงินสดในสกุลดอลลาร์สหรัฐให้ผลตอบแทนได้ดีกว่าสินทรัพย์อื่นในปีที่เกิดวิกฤต แต่ในจังหวะที่เงินเฟ้อทรงตัว อัตราดอกเบี้ยมีทิศทางเป็นขาลง เศรษฐกิจยังขยายตัวได้ สินทรัพย์เสี่ยงจะให้ผลตอบแทนเป็นบวก ส่วนเงินสดในสกุลดอลลาร์สหรัฐจะไม่ได้ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าสินทรัพย์อื่น ดังนั้น เราจึงควรหาแนวทางไปลงทุนในสินทรัพย์อื่นก่อนจะตกรถ” นายศรชัย กล่าว

ทั้งนี้ นับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาจนถึงช่วงต้นเดือน มี.ค. 2567 เงินลงทุนทั่วโลกยังคงไหลเข้าไปในตลาดเงิน (money market) สกุลดอลลาร์สหรัฐสูงที่สุด ตามด้วย ตราสารหนี้ภาคเอกชน พันธบัตรรัฐบาล และหุ้น โดยในส่วนของ money market สกุลดอลลาร์สหรัฐ หากนับรวมตลอด 5 ปีที่ผ่านมา พบว่า มีเงินไหลเข้ามารวม 3.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ แล้ว หมายความว่า เมื่อถึงช่วงเวลาที่อัตราดอกเบี้ยเริ่มปรับลดลง เม็ดเงินใน money market สกุลดอลลาร์สหรัฐ ส่วนนี้มีแนวโน้มที่จะเคลื่อนย้ายไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ

สำหรับผู้ลงทุนที่นำเงินส่วนใหญ่พักไว้ใน money market สกุลดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากมองว่าการลงทุนในตราสารการเงิน ซึ่งมีระยะเวลาสั้นๆ ยังให้ผลตอบแทนได้ดี ทำให้ไม่เคลื่อนย้ายเงินลงทุนไปยังสินทรัพย์ใดนั้น ในอนาคตผลตอบแทนระยะสั้นมีแนวโน้มปรับลดลงอย่างรวดเร็ว ในขณะที่สินทรัพย์อื่นเริ่มปรับตัวดีขึ้นไปก่อนแล้ว ดังนั้น เพื่อโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่ดี ผู้ลงทุนควรมองหาช่องทางไปลงทุนในสินทรัพย์อื่นๆ ที่น่าสนใจ ได้แก่ ตราสารหนี้อายุประมาณ 1-3 ปี รวมถึงการเพิ่มโอกาสลงทุนในตลาดหุ้นที่มีความน่าสนใจในเอเชีย เช่น ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้

ทั้งนี้ การลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ มองว่า ตราสารหนี้ที่มีระยะเวลาครบกำหนดไถ่ถอนในอีก 1-3 ปีข้างหน้า ยังให้ผลตอบแทนสูง เป็นกลุ่มที่น่าสนใจ และอาจได้รับผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาในช่วงที่ดอกเบี้ยปรับลดลงในช่วง ไตรมาส 2-3 นี้ด้วย ส่วนการลงทุนในหุ้น พบว่า ช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว เช่น ตลาดหุ้นสหรัฐฯ และตลาดหุ้นยุโรป ล้วนมีผลการดำเนินงานที่ดี ด้วยอานิสงส์จากการปรับตัวขึ้นของหุ้นขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักในดัชนีค่อนข้างมาก เช่น ดัชนี S&P500 ของสหรัฐฯ นับตั้งแต่ต้นปี 2567 ( YTD) ปรับขึ้นมาประมาณ 7-8% ผลตอบแทนที่มาจากหุ้นขนาดใหญ่กลุ่ม 7 นางฟ้า ประมาณ 6% ส่วนที่เหลือไม่เกิน 2% เป็นผลตอบแทนของหุ้นอื่นๆ ในตลาด สะท้อนถึงการกระจุกตัวของผลตอบแทนที่มาจากหุ้นขนาดใหญ่ค่อนข้างชัดเจน ส่วนตลาดหุ้นยุโรป เมื่อดูจากดัชนี STOXX 600 พบว่า นับแต่ต้นปี 2567 (YTD) ปรับเพิ่มขึ้น 4.5% โดยเป็นผลการดำเนินงานจากหุ้นขนาดใหญ่ 7 ตัว เกือบ 4% มีเพียงส่วนน้อยที่เหลือที่มาจากหุ้นขนาดเล็ก

นายศรชัย กล่าวต่อไปว่า ที่ผ่านมาตลาดคาดหวังกับผลตอบแทนของหุ้นขนาดใหญ่ในตลาดหุ้นพัฒนาแล้วค่อนข้างมาก และให้ผลตอบแทนเป็นไปตามที่เป้าหมาย ซึ่งหุ้นเหล่านี้อาจมีการปรับฐาน จากการขายทำกำไร ขณะที่ปัจจัยพื้นฐานยังคงสนับสนุนให้เติบโตได้อีก และการปรับลดอัตราดอกเบี้ยยังเป็นผลบวกต่อหุ้นกลุ่มนี้ แม้นักลงทุนจะรับรู้ปัจจัยการลดดอกเบี้ยไปในราคาหุ้นแล้วก็ตาม ดังนั้น แนวโน้มในอนาคตอาจจะปรับขึ้นไม่มากอย่างที่ผ่านมา ทำให้มองว่า นักลงทุนสามารถถือลงทุนในตลาดหุ้นพัฒนาแล้วต่อไปได้ แต่ผลตอบแทนที่ได้รับอาจไม่สูงเช่นเดิม

สำหรับตลาดหุ้นในเอเชีย มองว่า ตลาดหุ้นญี่ปุ่น และตลาดหุ้นเกาหลีใต้ น่าสนใจ โดยตลาดหุ้นญี่ปุ่น นับแต่ต้นปี 2567 (YTD) ให้ผลตอบแทน 15-16% แต่ผลตอบแทนกระจุกตัวในหุ้นขนาดใหญ่กลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย และเทคโนโลยีเป็นหลัก ในส่วนของดัชนีตลาดหุ้นญี่ปุ่น แม้จะปรับตัวขึ้นมามาก แต่เมื่อเทียบกับการปรับขึ้นในรอบก่อนที่เคยทำสถิติสูงสุด พบว่า ราคาต่อกำไรต่อหุ้น (P/E) มีความแตกต่างกัน โดยในครั้งนี้มีระดับ P/E ที่ต่ำกว่า ขณะที่ ตลาดหุ้นญี่ปุ่นมีมาตรการในการปฏิรูปธรรมาภิบาล ส่งเสริมให้บริษัทนำเงินสดที่เก็บไว้จำนวนมากในงบดุล ออกไปซื้อหุ้นคืน ซึ่งจะช่วยให้ราคาหุ้นมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้น หนุนให้ EPS สูงขึ้น และสามารถจ่ายผลตอบแทนให้ผู้ถือหุ้นได้สูงขึ้น ก็จะช่วยให้ผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้น (ROE) ของตลาดหุ้นญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นได้ เมื่อเทียบกับปัจจุบันที่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯ และยุโรป ที่มี ROE มากกว่า 20% ส่วนภาพรวมเศรษฐกิจญี่ปุ่น เงินเฟ้อเริ่มปรับเพิ่มขึ้น การจ้างงานดีขึ้น โดยเฉพาะในภาคบริการ ส่วนค่าแรงปรับตัวขึ้นตามเงินเฟ้อ ซึ่งช่วยให้การบริโภคในญี่ปุ่นดีขึ้น และจะส่งผลให้เกิดการลงทุนที่มาจากนักลงทุนญี่ปุ่นมากขึ้นตาม ดังนั้น เราจึงมองว่า ตลาดหุ้นญี่ปุ่นน่าสนใจในระยะกลางถึงยาว เพียงแต่ในระยะสั้น ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับขึ้นมามาก อาจจะมีการปรับฐานบ้าง นักลงทุนอาจรอจังหวะที่ตลาดปรับฐานเพื่อกลับเข้าไปลงทุนอีกครั้ง

ส่วนตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ปัจจุบันยังมีอัตราส่วนราคาหุ้นต่อมูลค่าทางบัญชี (P/BV) ที่ต่ำมากเกือบทุกกลุ่มธุรกิจและมีเงินสดมากในงบดุล ซึ่งตลาดหุ้นเกาหลีใต้กำลังพยายามผลักดันการเพิ่มมูลค่าบริษัทคล้ายกับตลาดหุ้นญี่ปุ่น ผ่านการซื้อหุ้นคืน และการจ่ายเงินปันผลให้นักลงทุน นอกจากนี้ ROE ของตลาดหุ้นเกาหลีใต้มักจะเคลื่อนไหวสอดคล้องกับวัฏจักรของการส่งออกสินค้าของเกาหลีใต้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม อิเล็กทรอนิกส์ เซมิคอนดักเตอร์ ดังนั้น เมื่อเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวดีขึ้น การส่งออกเกาหลีใต้ก็น่าจะฟื้นตัว ทำให้ ROE ของตลาดหุ้นเกาหลีใต้ดีขึ้น ส่วนกำไรต่อหุ้นก็

น่าจะมีแนวโน้มดีขึ้นตามการส่งออก นอกจากนี้ ราคาต่อกำไรต่อหุ้น (P/E) ก็ยังถูกอยู่ โดย P/E ในระยะ 12 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ 10.6 เท่า หรือ -0.3 S.D. ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี ทำให้ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ เป็นตลาดที่น่าสนใจสำหรับการลงทุนใน Opportunistic Portfolio ซึ่งเป็นพอร์ตลงทุนส่วนเสริม สำหรับเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทน ในไตรมาสที่ 2 นี้

EXIM BANK ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ย Prime Rate สำหรับลูกค้าทั่วไปและ SMEs เทียบเท่า MRR ของธนาคารพาณิชย์ เหลือ 6.00% ต่อปี เพื่อช่วยลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจการค้าระหว่างประเทศของผู้ประกอบการไทย สนองนโยบายรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจจากการหดตัวของการส่งออกตามปริมาณการค้าโลกที่ชะลอลงจากสภาวะกีดกันทางการค้า

นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยว่า EXIM BANK ในฐานะสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐที่มีภารกิจสนับสนุนธุรกิจการส่งออก การนำเข้า และการลงทุน ขานรับทิศทางการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ด้วยความเล็งเห็นถึงความจำเป็นของการสนับสนุนผู้ประกอบการไทยให้ดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศในสภาวะที่ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้า จึงพร้อมช่วยแบ่งเบาภาระต้นทุนทางการเงินที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจให้แก่ลูกค้าทั่วไปและลูกค้า SMEs โดยปรับลดอัตราดอกเบี้ย Prime Rate ซึ่งเทียบเท่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ของธนาคารพาณิชย์ เหลือ 6.00% ต่อปี จากอัตราเดิม 6.125% ต่อปี โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน 2562 เป็นต้นไป

EXIM BANK พร้อมทำงานร่วมกับภาครัฐและเอกชน เพื่อช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ SMEs ให้สามารถเริ่มต้นหรือขยายธุรกิจการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศได้อย่างไม่สะดุด แม้ในภาวะความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก ซึ่งส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง” นายพิศิษฐ์กล่าว

 

X

Right Click

No right click