January 22, 2025
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 6855

เคทีซีเปิดเวทีเสวนา “ทิศทางอุตสาหกรรมท่องเที่ยว พร้อมทะยานเวทีโลก” ฉายภาพการท่องเที่ยวแบบครบวงจร สายการบิน โรงแรม บริษัททัวร์ประสานเสียงท่องเที่ยวทั่วโลกเริ่มฟื้นเกือบเท่าก่อนเกิดโควิด-19 แนะภาครัฐปลดล็อคการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ลดผลกระทบต้นทุนอย่างเป็นรูปธรรม ด้านเคทีซีพร้อมสนับสนุนอุตสาหกรรมท่องเที่ยว มั่นใจยอดใช้จ่ายผ่านบัตรฯ เติบโตตามเป้า

นายโชติช่วง ศูรางกูร อุปนายกสมาคมไทยบริการท่องเที่ยว (TTAA) คาดว่า นปีนี้จะมีจำนวนนักท่องเที่ยวไทยเดินทางออกต่างประเทศประมาณ 7.5 ล้านคน ขณะที่สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) รายงานจำนวนเที่ยวบินระหว่างประเทศทั่วโลก (International Flight) ปีนี้จะขยายตัว 70% เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และคาดว่าจะเติบโตเท่ากับก่อนช่วงโควิด-19 ในปีหน้า พร้อมเสนอแนะเรื่องการคลายข้อจำกัดด้านการเก็บค่าเหยียบแผ่นดินที่จะเก็บจากนักท่องเที่ยวขาเข้าและการเก็บภาษีจากนักท่องเที่ยวขาออกจากประเทศ รวมถึงการจัดเก็บภาษีที่ซ้ำซ้อน (VAT on Outbound) ขณะที่นักท่องเที่ยวมีทางเลือกในการจองสถานที่ท่องเที่ยวได้ด้วยตัวเอง เพราะปัจจุบันแพลตฟอร์มสำหรับการท่องเที่ยวมีเพิ่มมากขึ้น ถ้ามองในแง่ดีจะเป็นการช่วยส่งเสริมให้ตลาดท่องเที่ยวใหญ่ขึ้นขณะที่ผลต่อ Online Travel Agency (OTA) และบริษัททัวร์มองว่าได้รับผลกระทบค่อนข้างน้อย

นายศึกษิต สุวรรณดิษฐกุล นายกสมาคมโรงแรมไทยภาคใต้และอุปนายกสมาคมโรงแรมไทย (THA) มองว่า จากตัวเลขของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาพบว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 – วันที่ 25 มิถุนายน 2566 จำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศไทยมีจำนวนทั้งสิ้น 12,464,812 คน ขยายตัวเพิ่มขึ้น 539% จากปีก่อนโดยจำนวนนักท่องเที่ยวจากประเทศ 5 อันดับแรก ได้แก่ มาเลเซีย จีน รัสเซีย เกาหลีใต้ และอินเดีย อย่างไรก็ตาม แม้การท่องเที่ยวปรับตัวดีขึ้นแต่ธุรกิจโรงแรมยังอยู่ในภาวะกำลังฟื้นตัวและยังเผชิญกับความท้าทายหลายปัจจัยโดยเฉพาะเรื่องการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ และอาจเป็นตัวแปรในการปรับขึ้นราคาห้องพัก รวมถึงการการจ้างงานที่ต้องเปลี่ยนรูปแบบ เช่น การใช้วิธีเหมาจ่ายตามปริมาณงาน หรือใช้เทคโนโลยีเข้ามาทดแทนแรงงานมากขึ้น รวมทั้งความผันผวนของเศรษฐกิจโลก อัตราแลกเปลี่ยน และสถานการณ์การเมืองในประเทศ ที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ โรงแรมขนาดใหญ่อาจมีการปรับราคาลงเพื่อกระตุ้นการเข้าพัก แต่โรงแรมขนาดเล็กไม่สามารถทำแบบนั้นได้ ถ้าเป็นแบบนี้อาจส่งผลให้เกิดสงครามราคาที่ผู้ประกอบการแย่งลูกค้ากันเอง

นายกรกฎ ชาตะสิงห์ ประธานเจ้าหน้าที่สายการบินพาณิชย์ (CCO) บริษัท การบินไทยจํากัด (มหาชน) กล่าวว่า การฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการบิน ยังต้องเผชิญกับความท้าทายหลายประการ ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจโลกที่เติบโตแบบชะลอตัว เศรษฐกิจไทยที่ยังมีความเสี่ยงหลายประการ ต้นทุนค่าใช้จ่ายสูงจากการปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน การแข่งขันในอุตสาหกรรมสายการบินจากการเพิ่มเที่ยวบินและเปิดเส้นทางใหม่มีมากขึ้น และสถานะการเงินของสายการบินยังค่อนข้างเปราะบางแม้จะเริ่มปรับตัวขึ้นจากรายได้ที่ฟื้นตัว ดังนั้นการส่งเสริมการเติบโตของอุตสาหกรรมสายการบินต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างรัฐบาล สายการบิน และผู้มีส่วนได้เสียในอุตสาหกรรม รัฐบาลไทยต้องวางตำแหน่งอุตสาหกรรมการบินให้สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีส่วนสนับสนุนการเติบโตและความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของประเทศ

นางสาวเพลินพิศ โกศลยุทธสาร ผู้อำนวยการส่วนกิจกรรมการตลาดด้านการท่องเที่ยว บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) มองว่า ธุรกิจท่องเที่ยวในปีนี้จะเติบโตอย่างมีนัยยะสำคัญส่งผลต่อสัญญาณการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการบินที่ค่อนข้างชัดเจน โดยคาดว่าการเดินทางโดยอากาศยานของภูมิภาคเอเชียจะกลับมาขยายตัวได้ 70 – 80 % เมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิด-19 อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมการบินของไทยยังต้องการการสนับสนุนจากภาครัฐใน 3 เรื่อง ประกอบด้วย 1. การส่งเสริมให้อุตสาหกรรมการบินแข็งแกร่งเพื่อเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำหรับการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศผ่านการเดินทางและขนส่งสินค้าทางอากาศ 2. ลดผลกระทบต้นทุนโดยภาครัฐควรกำหนดอัตราที่เหมาะสมของการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันเพราะมีผลต่อการตั้งราคาบัตรโดยสาร รวมทั้ง ลดค่าธรรมเนียมวีซ่าเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยว และ 3. แก้ปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรด้านบุคลากรการบิน ที่ได้รับผลกระทบจากการลดขนาดองค์กรช่วงโควิด-19 ทำให้อุตสาหกรรมการบิน ไม่สามารถกลับมาให้บริการได้เต็มความสามารถ เมื่อเทียบกับอุปสงค์ของการท่องเที่ยว

นายนิติกร คมกฤส ผู้จัดการส่วนพัฒนาธุรกิจ สายการบินไทยเวียตเจ็ท กล่าวว่า อุตสาหกรรมการบินกลับมาคึกคักและแข่งขันกันอีกครั้ง โดยการกำหนดราคาค่าโดยสารยังเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญ สะท้อนจากการงดออกแคมเปญโปรโมชันช่วงนอกฤดูท่องเที่ยว สำหรับปัญหาและอุปสรรคในอุตสาหกรรมการบินคือ เรื่องทรัพยากรบุคคลตามสนามบินต่างๆ ที่ไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติการแต่เชื่อว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของแต่ละประเทศกำลังพยายามสนับสนุนอุตสาหกรรมการบินให้กลับมาดำเนินการได้ ขณะที่สายการบินไทยเวียตเจ็ท มองเห็นโอกาสจากเส้นทางระหว่างประเทศรอง อาทิ ประเทศอินเดีย ซึ่งมีอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจสูงและนักเดินทางมีศักยภาพ และกลุ่มนักเดินทางช่วงนี้จะเป็น กลุ่มนักเดินทางอายุน้อย ในขณะที่จำนวนนักเดินทางเพื่อธุรกิจปรับลดลง

นางสาวพัทธ์ธีรา อนันต์โชติพัชร ผู้บริหาร KTC World Travel Service และการตลาดท่องเที่ยวหมวดสายการบิน “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ภาพรวมการใช้จ่ายในหมวดอุตสาหกรรมท่องเที่ยวผ่านบัตรเครดิตเคทีซีปรับตัวดีขึ้นตามการเติบโตของการท่องเที่ยวโดยครึ่งปีแรกขยายตัวเพิ่มขึ้น 90% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเติบโตขึ้น 25% จากช่วงปี2562 โดยยอดใช้จ่ายผ่านบัตรฯ สูงสุดแยกตามหมวด ได้แก่ สายการบิน เอเย่นต์ท่องเที่ยว (ทั้งออนไลน์และออฟไลน์) โรงแรม รถเช่า-รถไฟ-การเดินทางขนส่ง และแหล่งท่องเที่ยว/กิจกรรมสันทนาการ นอกจากนี้ หลังการเปิดรับนักท่องเที่ยวในหลายประเทศ ส่งผลให้สมาชิกวางแผนท่องเที่ยวต่างประเทศมากยิ่งขึ้น โดยเรียงลำดับประเทศยอดนิยมดังนี้ ญี่ปุ่น เกาหลี ฝรั่งเศส ฮ่องกง และเวียดนาม โดยยอดเฉลี่ยการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเคทีซีต่อสมาชิกในหมวดท่องเที่ยวอยู่ที่ 17,000 บาท

ทั้งนี้ KTC World Travel Service ศูนย์บริการการเดินทางและท่องเที่ยวสำหรับสมาชิกบัตรเครดิต เคทีซีเดินหน้ากลยุทธ์การตลาดภายใต้ 3 S ประกอบด้วย

1. Service: การให้บริการด้านการเดินทาง ท่องเที่ยว เน้นความสะดวกสบาย น่าเชื่อถือ โดยสร้างการรับรู้ผ่าน #บินเที่ยวครบจบที่ KTCWorldTravelService

2. Segmentation: การบริหารกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการที่แตกต่างด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์ท่องเที่ยวที่หลากหลาย รวมถึงการขยายช่องทางการสื่อสารในหลายรูปแบบ เพื่อให้เข้าถึงสมาชิกบัตรเครดิตและตอบโจทย์การเดินทางท่องเที่ยวได้มากที่สุด

3. Synergy: การทำงานร่วมกับพันธมิตรหลักครอบคลุมทั้งอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ตั้งแต่ต้นน้ำ ไปถึงปลายน้ำ ไม่ว่าจะเป็นองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศต่างๆ สายการบิน เอเย่นต์ทัวร์ โรงแรม รถเช่า สมาคมท่องเที่ยว และองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยว เพื่อสร้างความแตกต่างผ่านกิจกรรมการตลาดในหลากหลายรูปแบบ พร้อมมอบสิทธิประโยชน์ที่คุ้มค่าในการเดินทางท่องเที่ยวให้กับสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซี

สมาคมโรงแรมไทย สมาคมภัตตาคารไทย และ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ผสานพลังสร้างกลยุทธ์ สร้างการท่องเที่ยวมูลค่าสูงขับเคลื่อนเร็ว จับกระแส Maga Trend ส่งเสริม Soft Power อาหารไทย พร้อมร่วมมือจัดงาน Food & Hospitality Thailand 2023 ดึงผู้ผลิตสินค้า บริการและโซลูชั่นระดับโลก ร่วมโชว์ผลิตภัณฑ์ใหม่ นวัตกรรม-เทคโนโลยีล่าสุด คาดปีนี้มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 28,000 คน

ในงานเสวนาพิเศษ “รวมพลังสร้างกลยุทธ์เพิ่มมูลค่า เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย” ซึ่งร่วมกันจัดขึ้นโดย สมาคมโรงแรมไทย สมาคมภัตตาคารไทย และ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย พร้อมแถลงความร่วมมือการจัดงาน Food & Hospitality Thailand 2023 โดยเนื้อหาในการเสวนากล่าวถึงการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ขับเคลื่อนได้รวดเร็ว เป็นอีกกลยุทธ์สำคัญของการท่องเที่ยวไทย โดยต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ประกอบการในภาคท่องเที่ยวทั้งระบบ

นางมาริสา สุโกศล หนุนภักดี นายกสมาคมโรงแรมไทย กล่าวถึงแนวโน้มของกลุ่มนักท่องเที่ยวที่กำลังเติบโตขณะนี้ว่า เป็นกลุ่มการท่องเที่ยวพร้อมทำงาน (Work from Anywhere) ซึ่งเป็นวิถีชีวิตและการทำงานของคนรุ่นใหม่ที่ไม่ยึดติดกับสถานที่ คนเหล่านี้เรียกว่า Digital Nomad มักเลือกแหล่งท่องเที่ยวที่ใช้งานอินเตอร์เน็ตได้ ค่าครองชีพไม่สูง อากาศดี มาตรการวีซ่าไม่ยุ่งยาก และจะใช้เวลาการท่องเที่ยวนานกว่านักท่องเที่ยวปกติ ซึ่งไทยก็เป็นหนึ่งในจุดหมายของการท่องเที่ยวของคนกลุ่มนี้ ส่วนแนวโน้มการท่องเที่ยวของโลกนั้น การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainable Travel) กลายเป็นกระแสหลักที่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวตระหนักถึงและช่วยกันผลักดันให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าสู่ระบบนิเวศ (Ecosystem) เดียวกัน ดังนั้นภาครัฐและผู้ประกอบการไทยต้องเร่งส่งเสริมเรื่องนี้อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งการมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดขยะ ใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า รักษาแหล่งท่องเที่ยวและธรรมชาติให้สมบูรณ์ หากเราทำได้ดีก็จะมีแต้มต่อในการสนับสนุนการท่องเที่ยวไทยจากทั่วโลกและยังส่งผลดีต่อทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวด้วย

สำหรับการสนับสนุนและร่วมจัดงาน Food & Hospitality Thailand นั้น ถือเป็นวาระสำคัญของสมาคมฯ เพราะนอกจากจะได้ติดตามแนวโน้มการท่องเที่ยว พบกับสินค้าและบริการจากบริษัทชั้นนำแล้ว ปีนี้ยังเป็นปีพิเศษฉลองครบรอบ 60 ปี ของสมาคม พร้อมมีการจัดประชุมใหญ่ประจำปีและกิจกรรมให้ความรู้กับสมาชิกและผู้สนใจ โดยร่วมกับ มูลนิธิใบไม้สีเขียว ในหัวข้อเกี่ยวกับการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การคำนวณคาร์บอนในการเข้าพัก การลดการใช้ทรัพยากรและพลังงาน รวมถึงการจัด Hospitality Digital Day ที่พูดถึง Digital Marketing สำหรับธุรกิจโรงแรมทุกแง่มุม การแข่งขัน Thailand & AHRA ASEAN Hotel Bartenders’ Championships 2023 เพื่อพัฒนาทักษะพนักงานบาร์เทนเดอร์โรงแรมด้วย

 

นางฐนิวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทย กล่าวถึง การส่งเสริมอาหารไทยให้เป็น Soft Power ด้านการท่องเที่ยวไทยว่า อาหารไทย (Food) เป็นหนึ่งใน 5F ของ Soft Power เป้าหมายที่ ททท. วางไว้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านความอุดมสมบูรณ์ของวัฒนธรรมอาหารไทย หรือ การท่องเที่ยวเชิงอาหาร (Gastronomy Tourism) ซึ่ง 20% ของค่าใช้จ่ายที่นักท่องเที่ยวต่างชาติจ่ายในการท่องเที่ยวไทยมาจากอาหาร โดยในปี 2562 นักท่องเที่ยวต่างชาติมีการใช้จ่ายด้านอาหารในไทยสูงถึง 6 แสนล้านบาท ซึ่งในการการพัฒนาอาหารไทยให้เป็น Soft Power นั้น ต้องร่วมกันสร้างมาตรฐานพัฒนาทั้งระบบ ทั้งด้านสาธารณสุข ความสะอาด ปลอดภัย รสชาติ ฯลฯ รวมถึงประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อที่เข้าถึงง่าย อาทิ ภาพยนตร์ ซีรีย์ ดารานักร้อง รายการอาหาร และรางวัลอาหารระดับโลก อาหารไทยมีข้อได้เปรียบหลายด้าน ทั้งอาหารไทยแท้และเกิดจากการผสมผสานหลายวัฒนธรรมดัดแปลงร่วมกับวัตถุดิบท้องถิ่นจนมีรสชาติเป็นเอกลักษณ์ โดยปีนี้อาหารไทยติด 10 Best Rated Curries ถึง 5 อันดับ ได้แก่ แกงพะแนง ข้าวซอย แกงเขียวหวาน แกงมัสมั่น และแกงส้ม ความมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเป็นเสน่ห์ที่ชวนให้หลงไหลและทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาเพื่อสัมผัสกับรสชาติที่แท้จริงของอาหารเหล่านี้

ส่วนการจัดงาน Food & Hospitality Thailand นั้น สมาคมฯ ให้การสนับสนุนมาตลอด มีการเชิญสมาชิกให้เข้าร่วมงานเพื่อหาความรู้รับทราบแนวโน้มธุรกิจใหม่ๆ พร้อมร่วมประชุมและร่วมกิจกรรม โดยกิจกรรมที่น่าสนใจปีนี้ คือ การเชิญวิทยากรที่เป็นนักธุรกิจอาหาร ซึ่งประสบความสำเร็จ มาสร้างแรงบันดาลใจ แนะนำการบริหารและการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ จึงขอเชิญให้ผู้สนใจติดตามและเข้าร่วมกิจกรรมที่จะจัดขึ้นในครั้งนี้

นายสรรชาย นุ่มบุญนำ ผู้จัดการทั่วไป อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย กล่าวว่า งาน Food & Hospitality Thailand มีเป้าหมายการในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการให้เป็นกำลังสำคัญของธุรกิจท่องเที่ยว ซึ่งไทยเป็นจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวของโลก แต่เราจะสร้างความประทับใจ สร้างแรงดึงดูดใจ และรักษาตำแหน่งนี้ไว้ได้อย่างไร การจัดงาน Food & Hospitality Thailand แต่ละครั้งผู้จัดงานจึงต้องทำงานกันอย่างหนัก ทั้งรวบรวมฐานข้อมูลการจัดงานและผู้ประกอบการจากทั่วโลกมาประมวลผลสรุปเป็นแนวทางจัดงาน พร้อมนำเสนอแนวโน้ม ทิศทาง และโอกาสใหม่ๆ ของธุรกิจการท่องเที่ยวให้แก่ผู้เข้าร่วมงานได้รับทราบ เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่ธุรกิจก่อนเสมอ

สำหรับแนวคิดในการจัดงานฯ ครั้งนี้ คือ เชื่อมโยงสู่อนาคต (Connecting the Future) เนื่องจากปีนี้การท่องเที่ยวมีการเดินหน้าต่อเนื่องหลังฟื้นตัวจากช่วงโควิด ทำให้คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไทยถึง 30 ล้านคน ด้วยสัญญาณบวกนี้ส่งให้งานฯ ปีนี้มีความสำคัญมากขึ้น ผู้ประกอบการต่างมองหาผลิตภัณฑ์ บริการ และโซลูชั่นระดับพรีเมียมไว้รองรับและสร้างความพึ่งพอใจให้กับนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามามากขึ้นในช่วงปลายปีนี้และปีหน้า ทั้งยังเป็นการขานรับและดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกันกับกลยุทธ์ที่ทาง ททท. และ องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยววางไว้

ดังนั้นงาน Food & Hospitality Thailand 2023 จึงได้รับความสนใจจากผู้ผลิตสินค้าและบริการระดับพรีเมียมในการเข้าร่วมจัดแสดงงานกว่า 2,000 แบรนด์ จาก 20 ประเทศทั่วโลก ในโซนต่างๆ ของการจัดงานฯ ได้แก่ Coffee & Bakery Thailand (CBT), Restaurant & Bar Thailand (RBT) และ 2 โซนใหม่ Shop & Retail Thailand (SRT), และ Cleaning

Hygiene Thailand (CHT) ที่เกิดขึ้นครั้งแรก ส่วนความพิเศษในปีนี้ คือ การจับมือกับพันธมิตรรายใหญ่ยักษ์ใหญ่จากจีน ที่นำงาน Hotel & Shop Plus Thailand งานแสดงสินค้าและผลิตภัณฑ์สำหรับการออกแบบตกแต่งอาคาร โรงแรมและพื้นที่เชิงพาณิชย์ มาร่วมจัดแสดง นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมงานสัมมนา การประชุม เวิร์กชอป และการแข่งขันที่น่าสนใจมากมาย อาทิ สัมมนาพิเศษจาก ททท. หัวข้อ “โอกาสการเติบโตของธุรกิจอาหารออร์แกนิกและความเป็นคลังอาหารของประเทศไทย รวมถึงการเป็นผู้นำด้านการท่องเที่ยวเชิงอาหาร (Gastronomy Tourism)”, การแข่งขันทำอาหาร Thailand's 27th International Culinary Cup (TICC), การแข่งขัน Latte Art และ Coffee in Good Spirits, การทำเบเกอรี่ ไอศกรีม ศิลปะการตกแต่งอาหาร บาริสต้าและบาเทนเดอร์เวิร์กชอป ฯลฯ โดยการจัดงานฯ ครั้งนี้คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมชมงานกว่า 28,000 คน

โดยงาน Food & Hospitality Thailand 2023 มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 23-26 สิงหาคม 2566 ณ ฮอลล์ 1-3 ชั้น G ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ผู้สนใจรายละเอียดการจัดงานฯ สามารถติดตามข้อมูลได้ที่ www.fhtevent.com

ดีป้า เดินหน้าส่งเสริมภาคเอกชนพัฒนา Safe T Travel

 

                                                        

ผศ.ดร. กัลยา สว่างคง

คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม และ RDI  มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ปัจจุบันสังคมโลกเข้าสู่สังคมสูงวัย (Aging society) และสังคมคนพิการ (Disabled society) เนื่องจากประชากรโลกมีแนวโน้มเป็นผู้สูงอายุมากขึ้นและอายุที่เพิ่มมากขึ้นมีความสัมพันธ์กับการเกิดความพิการ

X

Right Click

No right click